กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นการสืบทอดและสร้างเลียนแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาทั้งประติมากรรม สถาปัตยกรรม จิตรกรรม หัตถศิลป์ การฟื้นฟูงานศิลปะประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 2 ถึงรัชกาลที่ 3 มีการนำศิลปะจีนเข้ามาผสมผสานในงานศิลปกรรม ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา วัฒนธรรมตะวันตกก็ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อลักษณะของการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ของไทยด้วย ส่งผลให้งานศิลปะแบบดั้งเดิมเสื่อมความนิยมลง แต่ในปัจจุบันได้รับการรื้อฟื้นใหม่ในรูปของงานศิลปาชีพ ศิลปะประจำชาติ ตลอดจนงานภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ

สถาปัตยกรรมทางศาสนา ได้แก่

ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นมีรูปแบบการดำเนินรอยตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น การสร้างโบสถ์วิหารให้มีฐานโค้ง การสร้างหอไตรหรือหอพระไตรปิฎกกลางน้ำ เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีการทำมาค้าขายกับต่างชาติมากขึ้น จึงได้รับอิทธิพล ที่เห็นได้ชัด คือ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ได้รับอิทธิพลจากจีน

การเปลี่ยนแปลงวัดที่เห็นได้ชัด เช่น การนำช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ออกจากหลังคาโบสถ์ วิหาร แล้วเปลี่ยนมาเป็นก่ออิฐถือปูนโดยการใช้ลวดลายดินเผาเคลือบประดับหน้าแทนการใช้ไม้สลักแบบเดิม นิยมใช้เสาเป็นสี่เหลี่ยมทึบ ไม่มีเสาบัว วัดที่มีการผสมผสานสถาปัตยกรรมตะวันตก เช่น วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหารในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เป็นศิลปะแบบกอธิค

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังตามแบบกรุงศรีอยุธยา 3 แห่ง คือ พระบรมมหาราชวัง พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังบวรสถานพิมุข โดยทั้งตำแหน่งที่ตั้งนั้นยึดหลักยุทธศาสตร์เป็นสำคัญ ตามตำราพิชัยสงคราม คือ

“มีแม่น้ำโอบล้อมภูเขาหรือหากไม่มีภูเขา มีแม่น้ำเพียงอย่างเดียวก็ได้ เรียกว่า นาคนาม”ที่อยู่อาศัยของพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางไทยผู้สูงศักดิ์ในสมัยนั้น เรียกขานตามแต่บรรดาศักดิ์ ให้เห็นถึงบรรดาศักดิ์ที่ชัดเจน อาทิ พระตำหนัก พระที่นั่งพระวิมานหรือพระมหาปราสาท โดยเฉพาะพระวิมานและพระมหาปราสาท ใช้เฉพาะเรือนที่มีเจ้าของเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้น ส่วนที่ประทับของพระมหากษัตริย์หรือแม้จะเป็นพระมหาอุปราชเรียกว่าพระราชวัง เว้นแต่พระราชวังประทับถาวรของพระมหากษัตริย์เท่านั้น ที่เรียกว่าพระบรมมหาราชวัง และวังหลายแห่งเป็นจุดเริ่มต้นของศิลปะไทยแขนงต่าง ๆ เช่น ช่างสิบหมู่

ลักษณะของปราสาท พระราชวัง พระบรมมหาราชวัง ของพระมหากษัตริย์พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนาง แบ่งได้เป็น 3 สมัย คือ สมัยต้น (รัชกาลที่ 1 - 3) เป็นยุคสืบทอดสถาปัตยกรรมแบบกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมัยกลาง (รัชกาลที่ 4 - 6) ซึ่งประเทศไทยได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตก และสมัยหลัง (รัชกาลที่ 7 - ปัจจุบัน) เป็นยุคแห่งสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ภาพ : พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทและพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท เป็นสถาปัตยกรรมในรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะทำให้กรุงรัตนโกสินทร์เป็นเหมือนกรุงศรีอยุธยาแห่งที่สอง มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่สำคัญเลียนแบบกรุงศรีอยุธยา ส่วนบ้านพักอาศัย เรือนไทยที่คงเหลือจากสงครามก็ถูกถอดและนำมาประกอบใหม่

สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้น มีการสร้างอาคารรูปแบบต่าง ๆ เพื่อรองรับกิจกรรมทางธุรกิจนอกเหนือจากที่อยู่อาศัย และวัดวาอารามในอดีต ได้แก่ โรงงาน โรงสี โรงเลื่อย ห้างร้านและที่พักอาศัยของชาวตะวันตก นอกจากนี้การสร้างอาคารของทางราชการ กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวังที่มีรูปแบบตะวันตกผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทยในรูปแบบนีโอคลาสสิค เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น

สำหรับที่พักอาศัย ในการประยุกต์ยุคแรก ๆ เรือนไม้จะนำศิลปะตะวันตกมาประยุกต์เช่น เรือนปั้นหยา ซึ่งดัดแปลงมาจากเรือนไม้ของยุโรป สร้างขึ้นในพระราชวังก่อนแพร่หลายสู่บ้านเรือนประชาชน หลังคาเรือนปั้นหยาที่มุงด้วยกระเบื้องทุกด้านของหลังคาจะชนกันแบบปิรามิด ไม่มีหน้าจั่วแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิม จากนั้นได้วิวัฒนาการเป็นเรือนมะนิลา ในบางส่วนอาจเป็นหลังคาปั้นหยา แต่เปิดบางส่วนให้มีหน้าจั่ว หลังจากนั้นก็มีเรือนขนมปังขิง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากเรือนขนมปังขิงสมัยโบราณของตะวันตก ซึ่งมีการตกแต่งอย่างหรูหรา มีครีบระบายอย่างแพรวพราวโดยทั้งเรือนขนมปังขิงและเรือนมะนิลา เป็นศิลปะฉลุลายที่เฟื่องฟูมากในสมัยรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 6

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีการให้กรรมสิทธิ์ที่ดิน อีกทั้งเกิดย่านตลาดเป็นศูนย์กลางชุมชน ทำให้เกิดที่พักอาศัยและร้านค้าตามย่านหัวเมือง เรียกสถาปัตยกรรมเช่นนี้ว่า เรือนโรงมีลักษณะเป็นเรือนพื้นติดดิน ไม่ตั้งอยู่บนเสาสูง เช่น เรือนไทยในอดีต ตั้งอยู่ย่านชุมชนการค้าชาวจีนที่เข้ามาทำการค้าขาย โดยเปิดหน้าร้านสำหรับขายของ ส่วนด้านหลังไว้พักอาศัย สร้างเรียงรายกันเป็นแถว จึงกลายเป็นห้องแถวในเวลาต่อมา ถึงแม้ว่าเรือนไทยจะได้รับอิทธิพลตะวันตก แต่คนไทยก็ยังถือเรื่องคติการสร้างบ้านแบบไทย ๆ อยู่ เช่น การยกเสาเอกและการถือเรื่องทิศ ต่อมาสถาปนิกและนักตกแต่งซึ่งสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศได้กลับนำมาใช้ในการทำงาน ทำให้มีแนวโน้มนำเอารูปแบบสถาปัตยกรรมแบบอื่นมาด้วย

ในปัจจุบันสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะในเมืองหลวงหรือตามเมืองใหญ่ ๆ แทบไม่หลงเหลือรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยในอดีต สถาปัตยกรรมในยุคหลังอุตสาหกรรม ได้เน้นการสร้างความงามจากโครงสร้าง วัสดุ การออกแบบโครงสร้างให้มีความสวยงามในตัว เช่น ใช้เหล็กใช้กระจกมากขึ้น ผนังใช้อิฐและปูนน้อยลง ใช้โครงสร้างเหล็กมากขึ้น ออกแบบรูปทรงให้เป็นกล่องมีผนังเป็นกระจกโล่ง เป็นต้น

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ภาพ : พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งมีการสร้างในรูปทรงแบบยุโรป

ที่มา : https://mgronline.com/travel/detail/9590000026961

ประติมากรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์

เริ่มตั้งแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2325 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วฉับพลันมากกว่ายุคสมัยในอดีตที่ผ่านมาเนื่องจากอิทธิพลของความเจริญทางเทคโนโลยี อารยธรรมตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศอย่างรวดเร็วและมากมาย การติดต่อกับนานาประเทศทั่วโลก เป็นไปอย่างกว้างขวาง มีการสื่อสารที่ฉับพลัน มีส่วนอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย และการสร้างงานประติมากรรมกล่าวโดยสรุป ประติมากรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ ประติมากรรมแบบดั้งเดิม ประติมากรรมระยะปรับตัว และประติมากรรมร่วมสมัย

ประติมากรรมแบบดั้งเดิมในสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 การสร้างงานประติมากรรม ดำเนินรอยตามแบบประเพณีนิยมที่ทำกันมาแต่อดีตของไทย

สมัยรัชกาลที่ 1 เป็นยุคที่เริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นช่วงเวลาแห่งการสร้างบ้านเมืองใหม่ จึงมีการสร้างพระพุทธรูปน้อยมาก พระประธานที่สร้างในสมัยนี้ที่สำคัญ คือ พระประธานที่พระอุโบสถ และพระวิหาร วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ฝีมือพระยาเทวารังสรรค์เป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ จนดูเกือบคับอาคาร มีฐานชุกชีเตี้ย เป็นผลในการแสดงอำนาจราชศักดิ์ พระพุทธรูปส่วนใหญ่เคลื่อนย้ายมาจากสุโขทัย และจังหวัดทางภาคกลางที่องค์พระพุทธรูปเหล่านี้ ถูกทอดทิ้งอยู่ตามโบราณสถานที่ปรักหักพัง ต้องกรำแดด กรำฝน นำมาบูรณะใหม่กว่า 1,200 องค์และส่งไปเป็นพระประธานตามวัดต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ ที่เหลือนำมาประดิษฐานไว้ ณ ระเบียงวัด พระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร พันกว่าองค์ ทั้งชั้นนอก และชั้นใน ประติมากรรมอื่น ๆที่สำคัญ คือ หัวนาค และเศียรนาคจำแลง และยักษ์ทวารสำริดปิดทอง ประจำประตูทางเข้าพระมณฑป หอพระไตรปิฎก หลังปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดารามฝีมือครูดำช่างปั้นเอกสมัยรัชกาลที่ 1

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ภาพ : ยักษ์บนฐานปลายพลสิงห์ เหนือบันไดทางขึ้นพระมณฑป วัดพระศรีรัตนศาสดารามที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp6/pictures14/s14-110-2.jpg

สมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะศิลปสถาน และงานศิลปะอื่น ๆ โดยเฉพาะด้านประติมากรรมเป็นพิเศษ เช่น ทรงปั้นหุ่นพระยารักใหญ่ รักน้อย และรูปพระลักษณ์ พระราม ซึ่งเป็นหุ่นหลวงที่สวยงามมาก ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์ พระพุทธประธาน 2 องค์ คือ พระพุทธจุฬารักษ์ พระประธานพระอุโบสถวัดราชสิทธารามราชวรวิหาร และพระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร งานชิ้นที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง คือ ทรงร่วมสลักบานประตูพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร รูปพรรณพฤกษาซ้อน 3 ชั้น มีภาพสัตว์ ประเภทนก และกระต่ายประกอบ

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ภาพ : พระยารักใหญ่ พระยารักน้อย

ที่มา : https://farm2.staticflickr.com/1532/23947628289_dcac7513a1_o.jpg

สมัยรัชกาลที่ 3 ในรัชกาลนี้มีการสร้างหล่อพระประธานขนาดใหญ่ ตามวัดที่สร้างใหม่เช่น “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” พระประธานพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร และ“พระพุทธเสฏฐมุนี” พระประธานในศาลาการเปรียญวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร“พระเสฏฐตมมุนี” พระประธานพระอุโบสถวัดราชนัดดารามวรวิหาร และ “พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา” พระประธานพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร นอกจากนี้ยังทรงสร้างพระพุทธไสยาสน์ ยาว 90 ศอก ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร และพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องกษัตริยาธิราชเจ้า 2 องค์ เพื่อเป็นราชอนุสรณ์แด่พระอัยกา และพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งเป็นพระหล่อสัมฤทธิ์หุ้มทองคำ ประดับด้วยอัญมณีมีค่า ถวายพระนามว่า “พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก”และ “พระพุทธเลิศหล้านภาลัย” ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม การสร้างพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องปางห้ามญาติขนาดใหญ่นี้ นิยมสร้างไว้เป็นจำนวนมาก ถือเป็นพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ภาพ : พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา พระประธานพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

ที่มา : http://mapio.net/pic/p-94874421/

สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 เป็นยุคสมัยของการปรับตัว เปิดประเทศ ยอมรับอิทธิพลตะวันตก ยอมรับความคิดใหม่มาเปลี่ยนแปลงสังคม ระเบียบประเพณี เพื่อประคองให้ประเทศรอดพ้นจากภัยสงคราม หรือจากลัทธิล่าอาณานิคมตะวันตก ซึ่งหลายประเทศในซีกโลกเอเชียยุคนั้นประสบอยู่ การสร้างงานศิลปกรรมทุกสาขา รวมทั้งประติมากรรมก็ถูกกระแสการเมืองนี้ด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริปั้นรูปเหมือนแบบตะวันตกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย จึงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงเทพรจนา (พลับ) ซึ่งต่อมาเป็นพระยาจินดารังสรรค์ปั้นถวาย โดยปั้นจากพระองค์จริง และเลียนแบบรูปปั้นของพระองค์ ที่ฝรั่งปั้นจากรูปพระฉายที่ส่งมาถวายแต่ไม่เหมือน เมื่อทอดพระเนตรเห็นพระรูปที่หลวงเทพรจนาปั้นขึ้นใหม่ก็ทรงโปรด ต่อมานำพระรูปองค์นี้ประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาทในพระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี ปัจจุบันมีการหล่อไว้หลายองค์ ประดิษฐานที่พระตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ และหอพระจอมวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพฯ จากพระรูปองค์นี้ นับเป็นการเปลี่ยนศักราช ประติมากรรมไทย ที่เดิมปั้นรูปราชานุสรณ์ โดยใช้การสร้างพระพุทธรูป หรือเทวรูปแทน มาสู่การปั้นรูปราชานุสรณ์เหมือนรูปคนจริงขึ้น และจากจุดนี้เองส่งผลให้มีการปรับตัวทางประติมากรรมระยะปรับตัวไปสู่ประติมากรรมสมัยใหม่ การปั้นหล่อพระพุทธรูปในยุคนี้ ไม่ใหญ่โตเท่าสมัยรัชกาลที่ 3 มีพุทธลักษณะที่เป็นแบบฉบับของตนเอง มีลักษณะโดยส่วนรวมใกล้ความเป็นมนุษย์ มีการปั้นจีวรเป็นริ้ว บนพระเศียร ไม่มีต่อมพระเมาลี พระพุทธรูปที่สำคัญเหล่านี้ คือ พระสัมพุทธพรรณี พระนิรันตราย และพระพุทธสิหังคปฏิมา พระประธาน ในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ในรัชสมัยนี้ มีการสร้างพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติเช่นกัน แต่จีวรพระสมัยนี้เป็นริ้ว ใกล้เคียงธรรมชาติมากขึ้น ประติมากรรมที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง คือ “พระสยามเทวาธิราช” เป็นเทวรูปขนาดเล็กหล่อด้วยทองคำทั้งองค์สูง 8 นิ้วฟุต ลักษณะงดงามมาก เป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ภาพ : พระสยามเทวาธิราชที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/home/blog_data/220/15220/images/2_Travel/001_Bangkok/2011/Mueseam/SakThong/038.JPG

สมัยรัชกาลที่ 5 ระยะต้นรัชกาล อายุกรุงรัตนโกสินทร์จะครบ 100 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำนุบำรุงศิลปะแบบดั้งเดิมอย่างมาก มีการปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ปราสาทราชมณเฑียร โดยเฉพาะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เกิดงานประติมากรรมตกแต่งที่สวยงาม ในศาสนสถานแห่งนี้มากที่สุด งานประติมากรรมส่วนใหญ่เป็นฝีพระหัตถ์พระองค์เจ้าประดิษฐวรการทั้งสิ้น เช่น รูปสัตว์หิมพานต์ 7 คู่ บนชานชาลาไพที รอบปราสาทพระเทพบิดร รูปพระบรมราชานุสาวรีย์ประจำรัชกาลที่ 1, 2 และ 3 เป็นรูปบุษบกประดิษฐานพระราชลัญจกร บนพานแว่นฟ้า พร้อมช้างเผือกและฉัตร ตรงมุมด้านตะวันตกเฉียงเหนือของปราสาทพระเทพบิดรปั้นหล่อพระบรมรูป 3 รัชกาล คือ รัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 รวมทั้งปั้นแก้ไขรัชกาลที่ 4 ที่พระยาจินดารังสรรค์ปั้นไว้ พระบรมรูปทั้ง 4 รัชกาล ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในปราสาทพระเทพบิดรเป็นรูปเหมือนที่แปลกไปจากภาพเหมือนโดยทั่วไป เพราะเป็นศิลปะระยะปรับตัว เป็นการผสมระหว่างความต้องการที่จะให้รูปปั้นเหมือนรัชกาลนั้น ๆ กับการสร้างรูปให้มีความงามแบบพระหรือเทวรูป ที่ต้องการความเกลี้ยงเกลากลมกลึงของรูปทรง เป็นคุณค่าความงาม รูปเหมือนจึงแสดงความเหมือนบุคคลออกมา พร้อมกับให้อารมณ์ความรู้สึกแบบไทยด้วย

ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่เหมือนกัน ที่สำคัญ คือ พระพุทธนฤมลธรรโมภาส พระประธานวัดนิเวศธรรมประวัติ บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาฝีพระหัตถ์พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ นอกจากนี้ ยังมีการปั้นหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ซึ่งมีอยู่ครั้งเดียวในรัชกาลนี้ สร้างในระหว่าง พ.ศ. 2442 - 2444 ในคราวนั้นโกลาหลมาก เนื่องจากไม่มีการปั้นพระขนาดใหญ่มานาน แต่ก็สำเร็จลงด้วยดี พระพุทธรูปองค์นี้ คือ พระพุทธชินราชจำลองปั้นหล่อขึ้น เพื่อนำมาประดิษฐานเป็นพระประธานวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารต้องลงไปปั้นหล่อที่พิษณุโลก ผู้ปั้นหล่อจำลอง คือ หลวงประสิทธิปฏิมา

อยู่ในสมัยรัชกาลที่ 6 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน เป็นศิลปะที่มีผลสืบเนื่องมาจากความเจริญแบบตะวันตก ที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทย ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ในการสร้างสรรค์ศิลปะเพื่อสาธารณะประโยชน์ นอกเหนือจากการสร้างเพื่อศาสนาอย่างเดียว

สมัยรัชกาลที่ 6 ศิลปะตะวันตกเข้ามาสู่ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย และกำลังฝังรากลึกลงไปในสังคม และวัฒนธรรมไทย การตกแต่งวังเจ้านาย อาคารราชการ อาคารพาณิชย์สวนสาธารณะ และอาคารบ้านเรือนของคนสามัญ เริ่มตกแต่งงานจิตรกรรม และงานประติมากรรมภาพเหมือนมากขึ้น งานประติมากรรมไทยที่ทำขึ้นเพื่อศาสนา เช่น การสร้างศาสนสถาน ปั้นพระพุทธรูปที่เคยกระทำกันมาก็ถึงจุดเสื่อมโทรมลง แม้จะมีการทำกันอยู่ก็เป็นระดับพื้นบ้าน ที่พยายามลอกเลียนสิ่งดีงามในยุคเก่า ๆ ที่ตนนิยม ขาดอารมณ์ความรู้สึกทางการสร้างสรรค์ และไม่มีรูปลักษณะที่เป็นแบบแผนเฉพาะยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหันมาส่งเสริมศิลปะการช่างสมัยใหม่โดยตั้งโรงเรียนเพาะช่างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2456 จัดสอน ศิลปะการช่างทั้งแบบตะวันตก และแบบไทยการสร้างงานศิลปะระดับชาติ ได้จ้างฝรั่งมาออกแบบ ตกแต่งพระบรมมหาราชวัง หรือพระที่นั่งทรงเห็นความจำเป็นที่ต้องใช้ช่างทำรูปปั้นต่าง ๆ เช่น เหรียญตรา และอนุสาวรีย์ ซึ่งช่างไทยยังไม่ชำนาญงานภาพเหมือนขนาดใหญ่ จึงสั่งช่างปั้นมาจากประเทศอิตาลี ผู้ได้รับเลือก คือศาสตราจารย์ คอราโด เฟโรจี เข้ารับราชการเป็นประติมากร กรมศิลปากร กระทรวงวัง เมื่อวันที่14 มกราคม พ.ศ. 2466 ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์คอราโด เฟโรจี เข้าไปปั้นพระบรมรูปของพระองค์โดยใกล้ชิด เป็นพระบรมรูปเท่าพระองค์จริง ปัจจุบันประดิษฐานในปราสาทพระเทพบิดร นับเป็นงานภาพเหมือนที่สำคัญในรัชกาลนี้ ต่อมาศาสตราจารย์คอราโด เฟโรจี ได้โอนสัญชาติ และเปลี่ยนชื่อเป็นไทยว่า ศิลป พีระศรี ท่านผู้นี้ ต่อมามีความสำคัญต่อวงการศิลปกรรมไทยสมัยใหม่ทุกสาขาอย่างที่สุด

รัชกาลที่ 7 - รัชกาลปัจจุบัน ระยะแรกศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นช่างปั้นที่สำคัญแต่ผู้เดียวในยุคนั้น ได้ดำเนินการปั้นรูปอนุสาวรีย์พระปฐมบรมราชานุสรณ์เป็นภาพเหมือนขนาดใหญ่ 3 เท่าคนจริงเป็นครั้งแรกในเมืองไทย ส่งไปหล่อทองแดงที่ประเทศอิตาลี เสร็จทันมาติดตั้งที่เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า เพื่อเปิดสะพาน และฉลองกรุงครบ 150 ปี เมื่อ พ.ศ. 2475

หลังจากการฉลองกรุงไม่กี่วันก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นในประเทศไทย โดยคณะทหารและพลเรือน อำ นาจการปกครองและการบริหารประเทศ จึงไม่ตกอยู่กับพระมหากษัตริย์อีกต่อไป การสร้างงานศิลปกรรม ซึ่งแต่เดิมอยู่ในความดูแลของราชสำนัก ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงส่งเสริมก็สิ้นสุดลง วิถีการดำเนินชีวิต ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป คณะรัฐบาลมุ่งพัฒนาประเทศทางด้านวัตถุมากกว่าการพัฒนาด้านจิตใจโดยเฉพาะทางศิลปะ การสร้างงานศิลปกรรมยุคต่อมา ล้วนต้องต่อสู้ดิ้นรนอยู่ในวงแคบ ๆแต่กระนั้นการต่อสู้ดิ้นรน เพื่อให้สังคมเห็นคุณค่าในงานศิลปะ ยังดำเนินต่อไป โดยมีศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นผู้นำ เพื่อทำให้ผู้นำประเทศและคนทั่วไปเห็นคุณค่า ท่านต้องทำงานอย่างหนักกล่าวคือ นอกจากงานปั้นอนุสาวรีย์ที่สำคัญแล้ว ท่านยังได้วางแนวทางการศึกษาศิลปะ โดยหาทางจัดตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรมขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2477 ซึ่งต่อมาขยายตัวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อ พ.ศ. 2486 จัดให้มีการเรียนการสอนทั้งด้านจิตรกรรม และประติมากรรม ซึ่งการศึกษาและการสร้างงานประติมากรรม ต่อมาเปลี่ยนไปตามการพัฒนาวัฒนธรรมของสังคม ที่ต้องการพึ่งพาพลังงานใหม่ ๆ ภายใต้อิทธิพลทางวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง และอื่น ๆ ซึ่งเป็นการก้าวหน้าแห่งยุค โดยเฉพาะในรัชกาลปัจจุบัน การสื่อสาร และการคมนาคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงเกือบทุกมุมโลก มีลัทธิทางศิลปะเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในยุโรป และสหรัฐอเมริกา และได้แพร่หลายเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยด้วย ประติมากรรมจึงเข้าสู่รูปแบบของศิลปะร่วมสมัย เป็นการแสดงออกทางด้านการสร้างสรรค์ที่มีอิสระ ทั้งความคิด เนื้อหาสาระ และเทคนิคการสร้างงาน สุดแต่ศิลปินจะใฝ่หา งานศิลปะที่แสดงออกมานั้น จึงเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่ง

งานจิตรกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์มีทั้งศิลปะไทยประเพณี ศิลปะไทยประยุกต์และศิลปะแบบตะวันตก

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สกุลช่างสมัยนี้พัฒนามาจากสกุลช่างธนบุรีและอยุธยาใช้สีหนักเป็นพื้นหลัง ส่วนใหญ่จะใช้สีโทนเย็น นิยมการปิดทองบนภาพมากขึ้น โดยเฉพาะสถานที่และบุคคลสำคัญ ตัวละครใช้สีแสดงฐานะทางสังคม

ลักษณะจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 1 มีแบบแผนการวางภาพที่นิยมกัน คือลวดลายเพดาน นิยมทำด้วยไม้จำหลัก ลงรักปิดทอง ประดับด้วยกระจก เป็นลายดาวจงกล หรือลายดาวดอกใหญ่อยู่ตรงกลาง ฝาผนังด้านหน้าพระประธานนิยมเขียนภาพมารผจญ ด้านหลังพระประธานเป็นภาพไตรภูมิ ด้านข้างทั้ง 2 ด้าน ตอนบนเป็นภาพวิทยาธร เทพชุมนุม ตอนล่างระหว่างช่องประตูหน้าต่าง เขียนภาพพุทธประวัติ หรือทศชาติชาดก บานประตูหน้าต่างเขียนภาพทวารบาล ผนังวงกบประตูหน้าต่างเป็นภาพทวารบาลหรือเชี่ยวกลาง หรือลายดอกไม้ร่วง บานประตูหน้าต่างด้านในมักเป็นรูปดอกไม้ร่วง ดอกไม้ประดิษฐ์หรือเครื่องแขวน

สมัยรัชกาลที่ 3 งานจิตรกรรมฝาผนังมีความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในด้านสถาปัตยกรรม คือ อิทธิพลจากศิลปะจีน ลักษณะการใช้สีมืดเป็นสีพื้นมีการใช้คู่สีระหว่างสีเขียวกับสีแดงให้โดดเด่นและเป็นคู่สีหลักกับการระบายพื้นด้วยสีมืดเป็นเอกลักษณ์ เช่น จิตรกรรมเครื่องมงคลอย่างจีนหรือเครื่องตั้งในพระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร วัดนาคปรกกับลักษณะงานที่ยังสืบทอดแบบประเพณี เช่น วัดสุวรรณารามราชวรวิหารช่างเขียนจิตรกรรมฝาผนังต้องเขียนภาพอิงความสมจริงตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของผู้คน เชื้อชาติ และอาชีพที่เป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริงในสังคมขณะนั้นหรืออาคารบ้านเรือนทั้งแบบจีนและฝรั่งที่เริ่มมีการกำหนดแสงเงาและใช้ลักษณะการถ่ายทอดที่แสดงความสมจริงของส่วนประกอบในฉาก เช่น ต้นไม้ น้ำทะเล ผสมลงไป

รัชกาลที่ 4 เริ่มมีอิทธิพลของตะวันตกเข้ามาผ่านผลงานจิตรกรรม คือ ภาพเขียน เป็นภาพ 3 มิติ มีการใช้สี แสง - เงา และแสดงทัศนียภาพในระยะใกล้ - ไกล จิตรกรคนสำคัญ คือ ขรัวอินโข่ง ซึ่งเป็นผู้วาดภาพปริศนาธรรมที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหารและวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการวาดภาพพระราชประวัติเขียนแบบจิตรกรรมประเพณีผสมกับทางตะวันตกและภาพเหมือนบุคคลไว้ที่ผนังพระที่นั่งทรงผนวช อยู่ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จิตรกรชาวยุโรปวาดพระบรมสาทิศลักษณ์พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ และพระบรมวงศานุวงศ์ที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ ประดิษฐานที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทและพระที่นั่งในพระราชวังต่าง ๆ ซึ่งการวาดภาพเหมือนและภาพทิวทัศน์เหล่านี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ประกอบกับในรัชกาลต่อมา คือ รัชกาลที่ 6 มีการจัดตั้งโรงเรียนสอนศิลปะแบบใหม่ เช่น โรงเรียนเพาะช่าง โรงเรียนช่างศิลป์ ทำให้มีจิตรกรชาวไทยที่มีความสามารถทั้งการวาดภาพจิตรกรรมแบบไทยและสากล

รัชกาลที่ 6 ยังนิยมการถ่ายภาพ ทำให้เกิดการบันทึกภาพบุคคลบ้านเมืองและเหตุการณ์ด้วยเทคโนโลยีแบบใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังปรากฏจากพระบรมฉายาลักษณ์พระฉายาลักษณ์และภาพถ่ายต่าง ๆ จำนวนมาก เป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ที่สำคัญ

รัชกาลที่ 9 - รัชกาลปัจจุบัน ในปัจจุบันภาพจิตรกรรมมิได้จำกัดจะมีอยู่แค่ในเฉพาะวัดกับวังเหมือนในอดีตที่ผ่านมา แต่ได้มีการนำไปประดับตกแต่งอาคารสถานที่เพื่อใช้ในการสื่อสารโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างแพร่หลายผ่านสื่อต่าง ๆ ภาพจิตรกรรมที่นำเสนอออกมา นอกจากจะเป็นภาพเกี่ยวกับศาสนาและเอกลักษณ์ไทยแล้ว ยังเสนอภาพที่มีแนวคิดสะท้อนสังคม หรือมีเรื่องราวที่ศิลปินมีความประทับใจ เช่น ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม บุคคล สถานที่ จินตนาการภาพนามธรรม (Abstract) ตลอดจนเทคนิคในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมก็มีความหลากหลายกว่าเดิมและนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการนำเสนอผลงานด้วย

วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์นี้เป็นการฟื้นฟูวรรณคดีไทยและจารีตการเขียนบันทึแบบเก่า คือ เป็นงานกวีนิพนธ์แบบร้อยกรองที่มีความสมบูรณ์ ต่อมาเริ่มเขียนแบบร้อยแก้ว เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและอิทธิพลจากภายนอก เป็นผลให้เกิดงานด้านวรรณกรรมรูปแบบใหม่ขึ้นเป็นจำนวนมากในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1) มีการฟื้นฟูบทประพันธ์ชนิดร้อยแก้วซึ่งเป็นบทประพันธ์ไทยแท้และมักเขียนเรื่องราวของประเทศใกล้เคียงกับไทย พระราชนิพนธ์ที่ทรงประพันธ์ขึ้นมีจุดมุ่งหมายในการปลุกขวัญประชาชนมีความกล้าหาญ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท แม้แต่เรื่อง สามก๊ก ราชาธิราช ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ก็มีจุดมุ่งหมายไปในทางเดียวกัน

วรรณคดีที่มีชื่อเสียงในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้แก่

1. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้แก่ เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดงบทละครเรื่องอุณรุท บทละครเรื่องรามเกียรติ์ กฎหมายตราสามดวง บทละครเรื่องดาหลังและอิเหนา

2. เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้แก่ สามก๊ก ราชาธิราช บทมโหรี เรื่องกากี ลิลิต-ศรีวิชัยชาดก ลิลิตพยุหยาตราเพชรทอง ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี

3. พระยาธรรมปรีชา (แก้ว) ได้แก่ ไตรภูมิโลกวินิจฉัย พระไตรปิฎก

4. พระเทพโมลี (กลิ่น) ได้แก่ ร่ายยาวมหาเวสสันดรกัณฑ์มหาพน นิราศตลาดเกรียบโคลงกระทู้เบ็ดเตล็ด

5. กรมพระราชวังหลัง ได้แก่ ไซ่ฮั่น

สมัยรัชกาลที่ 2 นับเป็นยุควรรณกรรมที่รุ่งเรืองที่สุด ราชสำนักได้ฟื้นฟูวรรณคดีทั้งเก่าและใหม่ไว้เป็นมรดกสำคัญ ทรงนิพนธ์บทละครไว้หลายเรื่อง แต่ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคือ บทละครเรื่องอิเหนา กวีเอกสมัยนี้ คือ สุนทรภู่ ซึ่งมีผลงานหลายประเภทด้วยกัน มีทั้งบทละครเสภา นิราศ บทเห่ และกลอน เช่น เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน นิราศภูเขาทอง กลอนสุภาษิตสอนหญิง ฯลฯ นอกจากนี้ สุนทรภู่ยังได้นำกลอนเพลงยาวมาแต่งนิยาย คือ พระอภัยมณี ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกนับเป็นเรื่องแรกของวรรณคดีไทยที่เป็นการผูกเรื่องเอง แทนที่จะแต่งเป็นสำนวนใหม่จากต้นเรื่องที่เป็นนิทาน นิยายหรือพงศาวดาร

สมัยรัชกาลที่ 3 - รัชกาลที่ 5 งานวรรณกรรมเริ่มกระจายไปสู่ประชาชน วรรณกรรมสมัยนี้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาบ้านเมืองให้ทันสมัย จึงเริ่มมีงานประพันธ์ด้านร้อยแก้ว อนึ่ง ได้มีการจัดตั้งหอสมุดแบบพระนคร “หอสมุดวชิรญาณ” รวบรวมรักษาเอกสารสำคัญของชาติ ผลงานสำคัญมีทั้งของรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฯลฯ

ครั้นเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 6 นับเป็นยุคทองของงานวรรณกรรมแบบใหม่ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป็นแบบตะวันตกมากขึ้น จากการเขียนแนวร้อยกรองมาเป็นร้อยแก้ว ซึ่งมีรูปแบบเนื้อหา แนวคิด มีการจัดวางมาตรฐานของผลงาน โดยจัดตั้งวรรณคดีสโมสร วรรณกรรมในยุคนี้เป็นวรรณกรรมแปลและแปลงเป็นส่วนใหญ่ จนสามารถกล่าวได้ว่าวรรณคดีและวรรณกรรมปัจจุบันเริ่มต้นจากสมัยนี้ และยังเป็นยุคเริ่มของแนวการเขียนนวนิยาย และเรื่องสั้นอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีผลงานของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ นายชิต บุรทัตพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสถียรโกเศศและนาคะประทีป

สมัยรัชกาลที่ 7 วรรณกรรมในยุคนี้จึงเริ่มเป็นของคนไทยมากขึ้น วรรณกรรมแปลและแปลงน้อยลง หนุ่มสาวหันมาสนใจงานเขียนมากขึ้น กล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น งานเขียนมีทั้งวรรณกรรมสร้างสรรค์และผลงานทั่วไปเป็นร้อยแก้ว เนื้อหามีหลากหลาย ทั้งด้านการเมืองอุดมการณ์ บทวิเคราะห์สถานการณ์ ตำราวิชาการ นิยายสะท้อนการเปลี่ยนแปลงในสังคม เรื่องแปล นิทานนานาชาติ วรรณกรรมสำหรับเด็ก ฯลฯ โดยเฉพาะสิบปีแรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจะเน้นในเรื่องชาตินิยม วงการวรรณกรรมพยายามยกระดับคุณภาพงานเขียน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรม เรื่อง “พระมหาชนก” ด้วยความประณีต และทรงตั้งพระทัยเผยแพร่อย่างกว้างขวางให้เป็นเครื่องเตือนใจประชาชน เข้าถึงจิตใจผู้คนเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจประชาชนผู้มีจิตศรัทธาให้เกิดความคิดในทางสร้างสรรค์ถึงความเพียร เพื่อที่จะฝ่าฟันทุกอุปสรรคให้ผ่านพ้นและก่อให้เกิดสัมมาทัศนะในการดำเนินชีวิต ในทิศทางการพัฒนาประเทศในพระราชปรารภหรือคำนำของพระราชนิพนธ์ คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พิมพ์ในโอกาสเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาล ให้เป็นเครื่องพิจารณาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของสาธุชนทั้งหลาย ดังนี้

1. ในยามวิกฤต ต้องคิดพึ่งตนเอง เทวดาจะช่วยผู้ที่ช่วยตัวเองเท่านั้น

2. ความเพียรอันบริสุทธิ์ หมายถึง ต้องพยายามอย่างถึงที่สุด เพื่อที่จะก้าวผ่านวิกฤตสร้างเศรษฐกิจจริงด้วยงานหรือความเพียรอันบริสุทธิ์

3. สร้างเศรษฐกิจด้วยการอนุรักษ์และเพิ่มพูนทรัพยากร

4. โมหภูมิและมหาวิชชาลัย หมายถึง มนุษย์จะสามารถปฏิรูปการเรียนรู้ของมนุษย์ต้องหลุดพ้นจากอวิชชา เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาอย่างแท้จริง

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงรับแบบอย่างจากสมัยอยุธยา โดยรัชกาลที่ 1โปรดเกล้าฯ ให้มีการฝึกหัดโขนขึ้นทั้งในวังหลวงและวังหน้า และให้ประชุมครูละคร เพื่อจัดทำตำราท่ารำขึ้นใหม่แทนตำราที่สูญหายไปเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 งานฟื้นฟูนาฏศิลป์มีความรุ่งเรืองมาก พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงแก้ไขบทละครและวิธีรำใหม่ให้ไพเราะและงดงาม นอกจากนี้ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งในการดนตรี โดยเฉพาะซอสามสายครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกงานนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ในพระบรมมหาราชวังเป็นผลให้ศิลปินต้องย้ายไปสังกัดกับขุนนางผู้มีฐานะที่รับอุปถัมภ์งานศิลปะแขนงดังกล่าว

การแสดงดนตรีไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ถือเป็นยุคสมัยของการก่อสร้างบ้านเมืองให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น อีกทั้งยังมีการส่งเสริมและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของชาติในทุกแขนงให้เจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะดนตรีไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับช่วงเวลาในรัชกาลต่าง ๆ ดังนี้

สมัยรัชกาลที่ 1 ดนตรีไทยในสมัยนี้ยังคงยึดถือรูปแบบและลักษณะมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์และวงมโหรี โดยมีการเพิ่มกลองทัดอีก 1 ลูก เข้าไปในวงปี่พาทย์ ส่วนวงมโหรีก็ได้เพิ่มระนาดเข้าไปอีก 1 ราง

สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นยุคสมัยที่การดนตรีไทยมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากสืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสนพระทัยในเรื่องดนตรีไทย อีกทั้งพระองค์ยังทรงพระปรีชาสามารถเป็นอย่างยิ่งในด้านดนตรีไทย นอกจากนี้ในสมัยรัชกาลที่ 2วงปี่พาทย์ได้นำไปใช้บรรเลงประกอบการขับเสภาเป็นครั้งแรก รวมทั้งได้มีการนำเอา “เปิงมาง”เข้ามาไว้ในวงปี่พาทย์ เพื่อตีประกอบจังหวะในการบรรเลงดนตรีขับเสภาวงมโหรีก็ได้เพิ่ม “ฆ้องวง”เข้าเป็นเครื่องดนตรีภายในวงอีกชนิดหนึ่งด้วย

สมัยรัชกาลที่ 3 วงปี่พาทย์ได้เปลี่ยนไปเป็น “วงปี่พาทย์เครื่องคู่” เพราะมีผู้คิดประดิษฐ์ระนาดเพิ่มเข้ามาในวงอีก 1 ราง ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าระนาดแบบเดิมและตีด้วยไม้นวมให้เสียงที่ต่ำกว่านั่น คือ “ระนาดทุ้ม” นอกจากนี้ยังสร้างฆ้องวงที่มีขนาดเล็กและให้เสียงสูงเรียกว่า“ฆ้องวงเล็ก” รวมทั้งการนำเอาปี่นอกเข้ามาผสมในวงปี่พาทย์ด้วย ดังนั้น เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์เครื่องห้า ที่ประกอบไปด้วย ปี่ใน ฆ้องวง ตะโพน กลองทัดระนาด และฉิ่ง จึงเปลี่ยนไปเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ ซึ่งมีเครื่องดนตรีในวง ดังต่อไปนี้ ระนาดเอกระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ปี่ใน ปี่นอก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ โหม่ง กลองสองหน้า

สมัยรัชกาลที่ 4 “วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่” ซึ่งเป็นแบบแผนของวงปี่พาทย์ที่ใช้มาจนปัจจุบัน สืบเนื่องจากรัชกาลที่ 4 ได้ทรงสร้าง “ระนาดทุ้มเหล็ก” และ “ระนาดเอกเหล็ก” เพิ่มเข้าไปในวงปี่พาทย์เครื่องคู่ จึงทำให้วงปี่พาทย์เครื่องคู่มีวิวัฒนาการไปเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ประกอบไปด้วย เครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ ดังนี้ คือ ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็กระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ โหม่ง

สมัยรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงคิดประดิษฐ์วงปี่พาทย์ขึ้นมาในอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อใช้บรรเลงประกอบการเล่นละครเรียกว่า “วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์” พระองค์ทรงนำเอาฆ้องชัย หรือ “ฆ้องหุ่ย” จำนวน 7 ลูก เพิ่มเข้ามา นอกจากนี้พระองค์ยังทรงตัดเครื่องดนตรีที่มีเสียงแหลมเสียงสูงและเสียงที่ดังมาก ๆ ออกไป ส่วนระนาดก็ให้ตีด้วยไม้นวม ดังนั้นวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์จึงมีเฉพาะเครื่องดนตรีที่บรรเลงแล้วมีเสียงเบา ไพเราะนุ่มนวลแตกต่างไปจากวงปี่พาทย์อื่น ๆ โดยเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ประกอบด้วยระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ซออู้ ขลุ่ยอู้ ขลุ่ยเพียงออ ฉิ่ง ฆ้องชัย หรือฆ้องหุ่ย ตะโพน กลองตะโพน

สมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยดนตรีไทยเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังทรงทำนุบำรุงและรักษาการดนตรีไทยอย่างมุ่งมั่นจริงจัง โดยพระองค์ทรงให้ตั้งกรมมหรสพขึ้นมา ประกอบไปด้วยกรมบัญชาการ กรมโขนหลวง กรมพิณพาทย์หลวงกองเครื่องสายฝรั่งหลวงและกรมช่างมหาดเล็ก เพื่อสร้าง ซ่อมแซม และรักษาสิ่งที่เป็นศิลปะทั้งหมดนับว่ายุคสมัยนี้ดนตรีไทยมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากและถือได้ว่าเป็นยุคทองของดนตรีไทยอีกยุคหนึ่งเช่นกัน

สมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยดนตรีไทยเป็นอันมาก และพระองค์ทรงตั้งวงเครื่องสายส่วนพระองค์ที่สมบูรณ์ที่สุดวงหนึ่งขึ้นมา โดยพระองค์ทรงสีซอด้วง ส่วนสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงสีซออู้ นอกจากนี้ยังมีเจ้านายอีกหลายพระองค์ที่เป็นสมาชิกในวงเครื่องสายนี้ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดนตรีไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ดนตรีไทยค่อย ๆ เสื่อมถอยลงเป็นลำดับจนแทบสูญสิ้นไป แต่ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2สิ้นสุดลง การฟื้นฟูดนตรีไทยจึงได้เริ่มต้นขึ้นใหม่อีกครั้ง และมีการพัฒนาดนตรีไทยให้เจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องมาจนถึงยุคสมัยปัจจุบัน

การแสดงโขน เป็นการแสดงท่ารำ เต้น มีดนตรีประกอบการแสดง มีบทพากย์และเจรจาตัวละครประกอบด้วยยักษ์ ลิง มนุษย์ เทวดา ผู้แสดงสวมหัวโขนจะไม่ร้อง และเจรจาเองแต่ปัจจุบันผู้แสดงเป็นมนุษย์เทวดาจะไม่สวมหัวโขน การแต่งกายแต่งแบบยืนเครื่องเหมือนละครในตามลักษณะตัวละคร ได้แก่ ตัวพระ ตัวนาง ยักษ์ ลิง และตัวประกอบ ศีรษะโขน ได้แก่ ศีรษะเทพเจ้า ศีรษะมนุษย์ ศีรษะยักษ์ ศีรษะลิง และศีรษะสัตว์ต่าง ๆ โขนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ ยุคที่ 1 เป็นโขน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุคที่ 2 เป็นโขน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุคที่ 3 เป็นโขน ในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง

โขนยุคที่ 1

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีและเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม สำหรับด้านการแสดงโขนทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เจ้านาย และขุนนางผู้ใหญ่ หัดโขนได้ โดยไม่ทรงห้ามปรามเพราะฉะนั้นเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จึงได้ฝึกหัดโขน เพื่อประดับเกียรติของตนการแสดงโขนจึงแพร่หลาย กว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ ยังโปรดให้ นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแต่งบทละครเรื่องรามเกียรติ์ สำหรับใช้เป็นบทแสดงโขนละคร โดยพระองค์ทรงตรวจตราแก้ไข ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งมีเรื่องราวและคำกลอนกระชับขึ้นเหมาะในการใช้บทสำหรับแสดงโขนละคร

โขนในยุคต้นรัตนโกสินทร์เจริญรุ่งเรือง เพราะเจ้านายหลายองค์ และขุนนางหลายท่านให้การสนับสนุน โดยให้มีการหัดโขนอยู่ในสำนักของตน เช่น โขนของกรมพระพิทักษ์เทเวศร์(ต้นสกุลกุญชร) โขนของ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) โขนของเจ้าพระยาบดินทรเดชา และโขนของเจ้าพระนคร (น้อย) เป็นต้น เมื่อเกิดมีโขนขึ้นหลายโรง หลายคณะแต่ละโรง แต่ละคณะ ก็คงจะประกวดประชันกัน เป็นเหตุให้ศิลปะการแสดงโขนในสมัยนั้นเจริญแพร่หลาย เป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป โขนของเจ้านายและขุนนางดังกล่าวนี้ เรียกว่า“โขนบรรดาศักดิ์”

ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงเอาพระทัยใส่ และทรงสนับสนุนการแสดงโขน โดยโปรดให้ฝึกหัดพวกมหาดเล็กแสดงโขน เรียกว่า “โขนสมัครเล่น” ผู้ที่ฝึกหัดโขนคณะนี้ล้วนเป็น โอรสเจ้านาย และลูกขุนนางมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทั้งสิ้นต่างเข้ามาฝึกหัดโขนด้วยความสมัครใจ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุงบทโขน และทรงควบคุมฝึกซ้อมบางครั้งก็ทรงแสดงด้วยพระองค์เอง โขนสมัครเล่นโรงนี้ มีชื่อเสียงว่าแสดงได้ดีและเคยแสดงในงานสำคัญ ๆ สมัยปลายรัชกาลที่ 5 หลายครั้ง

โขนยุคที่ 2

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติแล้วจึงโปรดให้ตั้งกรมมหรสพขึ้น และปรับปรุงกรม กอง ตลอดจนการบริหารงานต่าง ๆ เกี่ยวกับการมหรสพให้ดีขึ้น ทรงทำนุบำรุงส่งเสริม ศิลปะ และฐานะของศิลปินให้เจริญก้าวหน้าถึงขีดสุด ทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์แก่ศิลปินโขนผู้มีฝีมือ แม้แต่เจ้าหน้าที่ผู้รักษาเครื่องโขนก็โปรดให้มีบรรดาศักดิ์ด้วย นอกจากนี้โปรดให้ตั้งโรงเรียนฝึกหัดศิลปะการแสดงโขนละคร ดนตรีปี่พาทย์ขึ้นในกรมมหรสพเรียกว่า โรงเรียนพรานหลวง โขนยุคที่ 2 ของกรุงรัตนโกสินทร์ นับเป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดทั้งศิลปะและฐานะของศิลปิน

โขนยุคที่ 3

โขนยุคที่ 3 เป็นยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาสู่ระบอบประชาธิปไตย เริ่มตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต โขนก็ตกต่ำลงทันที รัชกาลที่ 7 โปรดให้ยุบกรมมหรสพ เพราะทรงเห็นว่า เป็นการสิ้นเปลืองพระราชทรัพย์จำนวนมาก มีการดุลยภาพข้าราชการออกจากราชการ รวมทั้งข้าราชการกรมมหรสพด้วย แต่ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็โปรดให้ข้าราชการกรมมหรสพที่มีความสามารถรวมกันแล้วตั้งเป็นกอง เรียกว่า กองมหรสพ สังกัดกระทรวงวัง มีการฝึกหัดโขนขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โขนหลวง กระทรวงวัง สามารถออกโรงแสดงต้อนรับแขกเมืองในงานสำคัญ ๆ หลายงาน

ตั้งแต่การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีไทย เมื่อ พ.ศ. 2325 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2542) เป็นเวลา 217 ปี กวีไทยได้สร้างสรรค์วรรณคดีที่สมควรรักษาเป็นมรดกไทยไว้จำนวนมากซึ่งเป็นวรรณกรรมทั้งด้านร้อยแก้ว ได้แก่ สามก๊ก โคลนติดล้อ และ ด้านร้อยกรอง ได้แก่ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 บทละครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นต้น

สมัยรัตนโกสินทร์ ระบำ และรำ มีความสำคัญต่อราชพิธีต่าง ๆ ในรูปแบบของพิธีกรรมโดยถือปฏิบัติเป็นกฎมณเฑียรบาลมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (สมัยรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 4)

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดรวบรวมตำราฟ้อนรำ และเขียนภาพท่ารำแม่บทบันทึกไว้เป็นหลักฐาน มีการพัฒนาโขนเป็นรูปแบบละครใน มีการปรับปรุงระบำสี่บท ซึ่งเป็นระบำมาตรฐานตั้งแต่สุโขทัย ในสมัยนี้ได้เกิดนาฏศิลป์ขึ้นมาหลายชุด เช่น ระบำเมขลา - รามสูร ในราชนิพนธ์รามเกียรติ์

รัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นยุคของนาฏศิลป์ไทย เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงโปรดละครรำ ท่ารำงดงามตามประณีตแบบราชสำนัก มีการฝึกหัดทั้งโขนละครใน ละครนอก โดยได้ฝึกผู้หญิงให้แสดงละครนอกของหลวงและมีการปรับปรุงเครื่องแต่งกายยืนเครื่องแบบละครใน

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ยกเลิกละครหลวง ทำให้นาฏศิลป์ไทยเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่ประชาชน และเกิดการแสดงของเอกชนขึ้นหลายคณะศิลปินที่มีความสามารถได้สืบทอดการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่เป็นแบบแผนกันต่อมา

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีละครรำ ผู้หญิงในราชสำนักตามเดิมและในเอกชนมีการแสดงละครผู้หญิงและผู้ชาย ในสมัยนี้มีบรมครูทางนาฏศิลป์ ได้ชำระพิธีโขนละคร ทูลเกล้าถวายตราไว้เป็นฉบับหลวง และมีการดัดแปลงการรำเบิกโรงชุดประเริง มาเป็น รำดอกไม้เงินทอง

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยนี้มีทั้งการอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์ไทยเพื่อให้มีความทันสมัย เช่น มีการพัฒนาละครในละครดึกดำบรรพ์ พัฒนาละครรำที่มีอยู่เดิมมาเป็นละครพันทางและละครเสภา และได้กำหนดนาฏศิลป์เป็นที่บทระบำแทรกอยู่ในละครเรื่องต่าง ๆ เช่น ระบำเทวดา - นางฟ้า ในเรื่องกรุงพาณชมทวีป ระบำตอนนางบุษบากับนางกำนันชมสารในเรื่องอิเหนา ระบำไก่ เป็นต้น

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นศิลปะด้านนาฎศิลป์เจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์โปรดให้ตั้งกรมมหรสพขึ้น มีการทำนุบำรุงศิลปะทางโขน ละคร และดนตรีปี่พาทย์ ทำให้ศิลปะมีการฝึกหัดอย่างมีระเบียบแบบแผน และโปรดตั้งโรงเรียนฝึกหัดนาฏศิลป์ในกรมมหรสพ นอกจากนี้ ยังได้มีการปรับปรุงวิธีการแสดงโขนเป็นละครดึกดำบรรพ์ เรื่องรามเกียรติ์ และได้เกิดโขนบรรดาศักดิ์ที่มหาดเล็กแสดงคู่กับโขนเชลยศักดิ์ที่เอกชนแสดง

รัชสมัยสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีการจัดตั้งศิลปากรขึ้นแทนกรมมหรสพที่ถูกยุบไป ทำให้ศิลปะโขน ละคร ระบำ รำ ฟ้อน ยังคงปรากฏอยู่ เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาสืบต่อไป

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลพระอัฐมรามาธิบดินทร หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีของกรมศิลปากร ได้ก่อตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ขึ้นมา เพื่อป้องกันไม่ให้ศิลปะทางด้านนาฏศิลป์สูญหายไป ในสมัยนี้ได้เกิดละครวิจิตร ซึ่งเป็นละครปลุกใจให้รักชาติ และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนไทยหันมาสนใจนาฏศิลป์ไทย และได้มีการตั้งโรงเรียนนาฏศิลป์แทนโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ซึ่งถูกทำลายตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเป็นสถานศึกษานาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ของทางราชการ และเป็นการทำนุบำรุง เผยแพร่นาฏศิลป์ไทยให้เป็นที่ยกย่องนานาอารยประเทศ

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) นาฏศิลป์ ละคร ฟ้อน รำ ได้อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาล ได้มีการส่งเสริมให้ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยคิดประดิษฐ์ท่ารำ ระบำชุดใหม่ ได้แก่ ระบำพม่าไทยอธิษฐาน ปัจจุบันได้มีการนำนาฏศิลป์นานาชาติมาประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์ท่ารำ รูปแบบของการแสดง มีการนำเทคนิคแสงสี เสียง เข้ามาเป็นองค์ประกอบในการแสดงชุดต่าง ๆ ปรับปรุงลีลาท่ารำให้เหมาะสมกับฉาก บนเวทีการแสดงมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัย ทั้งระบบม่าน ฉาก แสง ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์มีระบบเสียงที่สมบูรณ์ มีเครื่องฉายภาพยนตร์ประกอบการแสดงและเผยแพร่ศิลปกรรมทุกสาขานาฏศิลป์ และสร้างนักวิชาการและนักวิจัยในระบบสูง โดยมีการเปิดสอนนาฏศิลป์ไทยในระดับปริญญาเอกอีกหลายแห่ง

การแสดงพื้นเมืองที่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นศิลปะการร่ายรำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค สามารถแบ่งได้ตามภูมิภาคได้ ดังนี้

5.1 การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ

การแสดงพื้นเมืองทางภาคเหนือ เป็นศิลปะการรำและการละเล่น นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน มีลีลา ท่ารำที่งดงามอ่อนช้อย มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่น โอกาสที่แสดงมักเล่นในงานประเพณี ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหม และฟ้อนเจิง การฟ้อนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมในกลุ่มนี้ในเวลาต่อมาเมื่อราชสำนักสยามเข้าปกครองราชอาณาจักรล้านนาไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวล้านนาจึงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากราชสำนัก โดยเอาแบบแผนการรำของภาคกลางมาปรับปรุงการฟ้อนแบบดั้งเดิม ตั้งแต่ลีลาการรำ กระบวนการจัดแถวรำ การเดินสลับแถวและการใช้ดนตรีประกอบการฟ้อน

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ภาพ : ฟ้อนรำ ทางภาคเหนือ

ที่มา : https://fonnthai.files.wordpress.com/2014/03/2342013826dsc_1414.jpg

5.2 การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชาวภาคกลางส่วนใหญ่จะมีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับวิถีชีวิตทางด้านเกษตรกรรม และยังส่งผลต่อความบันเทิง สนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากฤดูเก็บเกี่ยว เช่น การแสดงเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทน หรือ รำวง รำเถิดเทิง รำกลองยาว มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง ศิลปะการเล่นกลองยาว เริ่มปรากฏในเมืองไทยอย่างมีแบบแผนในสมัยรัชกาลที่ 4ในการแสดงละคร เรื่องพระอภัยมณี โดยร่วมแสดงผสมผสานกับวัฒนธรรมหลวงเป็นครั้งแรก

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ภาพ : รำกลองยาว ภาคกลาง

ที่มา : https://sites.google.com/site/sinlapakarnsadangnattasin/kar/phakh-klang

5.3 การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เพื่อตอบสนองผลทางจิตใจที่มีต่อการนับถือลัทธิความเชื่อต่าง ๆ และการนับถือพุทธศาสนา ดังนั้น การแสดงศิลปะในภูมิภาคนี้จึงเน้นที่การระบำ รำฟ้อนเพื่อการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และการเฉลิมฉลองเทศกาลอันเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ซึ่งแบบแผนดั้งเดิมของการรำฟ้อน ได้แก่ ฟ้อนผู้ไทย หรือรำซ่วยมือ เซิ้งบั้งไฟ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการรำ ได้แก่ แคน และกลองหาง เป็นหลัก นอกจากนี้ยังมี พิณ กลองตุ้ม (ตะโพน) หมากกลิ้งกล่อม (โปงลาง) สิ่ง (ฉิ่ง) แสง (ฉาบ) หมากกั๊บแก็บ (กรับ) ฆ้องโหม่งและพังฮาด (ฆ้องโบราณไม่มีปุ่ม) ผู้บรรเลงดนตรีเป็นชาย

นอกจากนี้ศิลปะการแสดงที่จัดเป็นการละเล่นดั้งเดิมของชาวอีสานที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ หมอลำ และหนังตะลุงอีสาน ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ ได้แก่ ระนาดเอก ซออู้ แคน กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง ฉาบ

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ภาพ : การแสดงรำฟ้อนทางภาคอีสาน หมอลำ

ที่มา : https://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9480000159535

5.4 การแสดงพื้นเมืองภาคใต้

การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ มีความแตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจและสังคม ก่อให้เกิดการแสดงอารมณ์อย่างเรียบง่าย ประสมประสานไปกับภาพสะท้อนของการทำงานและการต่อสู้ในชีวิต การละเล่นจึงมีความเด่นในด้านการสื่อความคิดการใช้ภาษาที่ขับร้องด้วยบทกลอน เน้นที่ลำนำและจังหวะ เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการละเล่นไม่เน้นเครื่องดีด สี เหมือนภาคอื่น ๆ ลีลาการร่ายรำมีจังหวะฉับไว

การรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้ เป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนาและวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง)และสิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปืด โทน ทับ กรับพวง โหม่งปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน

ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นสิ่งแสดงให้เห็นวัฒนธรรมความเจริญรุ่งเรืองของชาติพระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงทรงฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีที่ถือปฏิบัติมาช้านานตั้งแต่สมัยอยุธยา อาจกล่าวโดยสังเขป ดังนี้

  1. ประเพณีเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (พิธีขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์) พระราชพิธีโสกันต์ (พิธีโกนจุกของพระราชวงศ์) พระราชพิธีพระเมรุมาศ (พิธีเผาศพ) พระราชพิธีฉัตรมงคล (พิธีฉลองพระเศวตฉัตรในวันคล้ายวันบรมราชาภิเษก) พระราชพิธีสมโภชช้างเผือก ฯลฯ
  1. ประเพณีเกี่ยวกับบ้านเมือง มีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พระราชพิธีอาพาธพินาศ (พิธีปัดเป่าโรคภัยมิให้เบียดเบียน) พระราชพิธีพืชมงคล (พิธีปลูกพืชเอาฤกษ์ชัย) ฯลฯ
  1. ประเพณีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พิธีวิสาขบูชา พิธีอาสาฬหบูชา พิธีมาฆบูชาพิธีเข้าพรรษา - ออกพรรษา พิธีบวชนาค เทศน์มหาชาติ สวดภาณยักษ์ ฯลฯ
  1. ประเพณีพราหมณ์ พิธีโล้ชิงช้า พิธีวางศิลาฤกษ์ พิธีโกนจุก ฯลฯ
  1. ประเพณีชาวบ้าน พิธีในโอกาสสำคัญ ๆ เช่น แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ทำขวัญนาคเผาศพ พิธีตรุษสงกรานต์ พิธีสารท การละเล่นต่าง ๆ เช่น การเล่นเพลงสักวา เพลงเรือ เพลงฉ่อย ลิเก ลำตัด ฟ้อนเล็บ หนังตะลุง หมอลำ

พระราชพิธีสิบสองเดือนเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. 2431 ตีพิมพ์ในนิตยสารวชิรญาณรายสัปดาห์ จากนั้นนำมารวบรวมเป็นเล่มพระราชนิพนธ์เล่มนี้นับเป็นวรรณคดีชิ้นเอกเล่มหนึ่งของไทย

พระราชพิธีสิบสองเดือน เป็นความเรียง เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระราชพิธีต่าง ๆ ที่กระทำในแต่ละเดือนตลอดทั้งปี ทรงอธิบายตำราเดิมของพระราชพิธีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือเลิกพิธีเพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชพิธีตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายปี ยกเว้นพิธีเดือน 11 ที่มิได้รวมไว้ เนื่องจากติดพระราชธุระจนไม่ได้แต่งต่อจวบสิ้นรัชสมัย ทรงศึกษาค้นคว้าข้อมูลทั้งจากตำราและจากคำบอกเล่าของบุคคล เช่น พระมหาราชครูพราหมณ์ผู้ทำพิธี และจากการสังเกตเหตุการณ์ที่ทรงคุ้นเคย นับได้ว่าหนังสือเล่มนี้มีคุณค่าทางด้านสังคมศาสตร์ ทรงใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและเขียนอธิบายตามลำดับจากง่ายไปสู่ยาก จากอดีตมาสู่ปัจจุบันเหมาะสมกับการเป็นคำอธิบายให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และมีผู้นิยมนำพระราชพิธีสิบสองเดือนมาวาดเป็นรูปภาพลงบนฝาผนังตามวัดต่าง ๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์

พระราชพิธีสิบสองเดือน เป็นหนังสือที่อ่านได้ไม่ยาก มีรายละเอียดของพระราชพิธีในส่วนต่าง ๆ อย่างครบถ้วน นอกจากทรงเล่าถึงพระราชพิธีตามตำรับโบราณแล้ว ยังทรงมีพระราชวินิจฉัยในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างแยบยล พระราชนิพนธ์เล่มนี้เป็นแบบอย่างของการเขียนความเรียงและตำราอ้างอิงที่สำคัญเกี่ยวกับพระราชพิธีของไทย เมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งวรรณคดีสโมสรขึ้น พระราชนิพนธ์ พระราชพิธีสิบสองเดือนก็ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของความเรียงอธิบาย”

7. ด้านการแต่งกายและอาหาร

การแต่งกาย การใช้ผ้าเป็นเครื่องแต่งกายนั้น เดิมครั้งกรุงศรีอยุธยาคงมีอยู่ระยะหนึ่งที่มีระเบียบเคร่งครัดว่า คนชั้นไหนใช้ผ้าชนิดใดได้บ้าง หรือชนิดไหนใช้ไม่ได้ ต่อมาระเบียบนี้ละเว้นไปไม่เคร่งครัด จึงปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โปรดให้ออกพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการแต่งกายการใช้ผ้า บังคับและห้ามไว้ใหม่ อีกครั้งหนึ่ง

จะเห็นได้ว่า การใช้ผ้า เครื่องประดับ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นการใช้ตามฐานะรวมถึงบรรดาศักดิ์ ตำแหน่งหน้าที่การงาน และตามสกุล ผ้าในสมัยนี้คงใช้สืบต่อแบบเดียวกับที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ ส่วนหนึ่งเป็นผ้าทอในประเทศ อีกส่วนหนึ่งเป็นผ้าสั่งเข้ามาจากต่างประเทศ ผ้าไทย ได้แก่ ผ้ายก ผ้าไหม ผ้าสมปัก ผ้ายกทองระกำไหม สมัยรัชกาลที่ 2 มีผ้าลาย ซึ่งเจ้านาย และคนสามัญนิยมใช้จะต่างกันตรงที่ลวดลายว่า เป็นลายอย่าง หรือผ้าลายนอกอย่าง(ผ้า ซึ่งคนไทยเขียนลวดลายเป็นแบบอย่าง ส่งไปพิมพ์ในต่างประเทศ โดยเฉพาะอินเดีย) ถ้าเป็นของเจ้านายชั้นสูง ผ้าลายจะเขียนลายด้วยสีทอง เรียกว่า ผ้าลายเขียนทอง ใช้ได้เฉพาะระดับพระเจ้าแผ่นดินถึงพระองค์เจ้าเท่านั้น ผ้าชนิดนี้นิยมใช้เช่นเดียวกับผ้ายก ผ้าที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของพวกเจ้านาย คือ ผ้าใยบัว ผ้ากรองทอง และผ้าโขมพัสตร์ พวกชาวบ้านทั่วไป มักจะใช้ผ้าตาบัวปอกผ้าดอก ส้มดอกเทียน ผ้าเล็ดงา ผ้าตามะกล่ำ ผ้าตาสมุก ผ้าไหมมีหลายชนิด เช่น ผ้าไหมตาตารางผ้าไหมตะเภา การเพิ่มความงามให้แก่เสื้อผ้าที่ใช้ นอกจากปักไหมเป็นลวดลายต่าง ๆ แล้ว ก็มีการปักด้วยทองเทศ ปักด้วยปีกแมลงทับ ซึ่งใช้ปักทั้งบนผ้าทรงสะพัก ผ้าสมรด หรือผ้าคาดเอว และเชิงสนับเพลาของเจ้านายผู้ชาย

การแต่งกายไทยในสมัยรัตนโกสินทร์นั้น แบ่งได้ตามสมัยในช่วงรัชกาลต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้

รัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 3

การแต่งกายของผู้หญิง : ผู้หญิงจะนุ่งผ้าจีบ ห่มสไบเฉียง ตัดผมไว้ปีกประบ่า กันไรผมวงหน้าโค้งหากเป็นชาวบ้านอาจนุ่งผ้าถุงหรือโจงกระเบน สวมเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ห่มตะเบงมานหรือผ้าแถบคาดรัดอก แล้วห่มสไบเฉียง

การแต่งกายของผู้ชาย : ผู้ชายจะนุ่งผ้าม่วง โจงกระเบน สวมเสื้อนอกคอเปิด ผ่าอกกระดุม 5 เม็ด แขนยาวหากเป็นชาวบ้านจะไม่สวมเสื้อการแต่งกายของชาววังและชาวบ้านจะไม่แตกต่างกันมากจะมีแตกต่างกันก็ตรงส่วนของเนื้อผ้าที่สวมใส่ซึ่งหากเป็นชาววังแล้วจะห่มผ้าไหมอย่างดี ทอเนื้อละเอียด เล่นลวดลายสอดดิ้นเงิน - ดิ้นทอง ส่วนชาวบ้านทั่วไปจะนุ่งผ้าพื้นเมือง หรือผ้าลายเนื้อเรียบ ๆ หากเป็นราษฎรทั่วไปที่มีอาชีพเกษตรกร ทำไร่ ทำนาแล้วจะนุ่งผ้าในลักษณะถกเขมร คือ จะนุ่งเป็นโจงกระเบนแต่จะถกสั้นขึ้นมาเหนือเข่า เพื่อความสะดวก ไม่สวมเสื้อหากอยู่บ้านจะนุ่งลอยชาย หรือโสร่งแล้วมีผ้าคาดพุง แต่ถ้าแต่งกายไปงานเทศกาลต่าง ๆ มักนุ่งโจงกระเบนด้วยผ้าแพรสีต่าง ๆ และห่มผ้าคล้องคอปล่อยชายทั้งสองยาวไว้ด้านหน้าการตัดผมของสตรีสาวจะตัดผมทรงดอกกระทุ่ม ปล่อยท้ายทอยยาวถึงบ่า หากเป็นผู้ใหญ่แล้วจะตัดผมปีกแบบโกนท้ายทอยสั้น

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ภาพ : การแต่งกายสมัยรัชกาลที่ 1 -รัชกาล 3

เนื่องจากสมัยโบราณคนไทยไม่นิยมสวมเสื้อแม้แต่เวลาเข้าเฝ้า ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า และทรงสนับสนุนให้มีการศึกษาภาษาอังกฤษ จึงทำให้มีการรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา การแต่งกายของสตรีจึงมีการเปลี่ยนแปลงไป

การแต่งกายของผู้หญิง : ผู้หญิงจะนุ่งผ้าลายโจงกระเบน หรือนุ่งผ้าจีบ ใส่เสื้อแขนยาวผ่าอก ปกคอตั้งเตี้ย ๆ (เสื้อกระบอก) แล้วห่มผ้าแพรสไบจีบเฉียงทับบนเสื้อ ตัดผมไว้ปีกเช่นเดิมแต่ไม่ยาวประบ่า

การแต่งกายของผู้ชาย : ผู้ชายจะนุ่งผ้าม่วงแพรโจงกระเบน สวมเสื้อเปิดอกคอเปิดหรือเป็นเสื้อกระบอกแขนยาว เรื่องของทรงผมผู้ชายยังไว้ทรงมหาดไทยอยู่ ส่วนรัชกาลที่ 4 จะไม่ทรงไว้ทรงมหาดไทย

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ภาพ : การแต่งกายสมัยรัชกาลที่ 4

ในสมัยรัชกาลที่ 5 นี้ ถือเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงการแต่งกายของคนไทยเนื่องจากรัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสยุโรปและมีการนำแบบอย่างการแต่งกายของชาวยุโรปกลับมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยอีก ทั้งในสมัยนี้ยังมีกำเนิดชุดชั้นในรุ่นแรกที่ดัดแปลงจากเสื้อพริ้นเซส ซึ่งต่อมาได้พัฒนาให้เป็นเสื้อชุดชั้นในที่เรียกว่า เสื้อคอกระเช้าที่ยังคงเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันนี้

การแต่งกายของหญิง : ผู้หญิงจะนุ่งผ้าลายโจงกระเบน เสื้อกระบอก แขนยาว ผ่าอก ห่มผ้าแพร จีบตามขวางสไบเฉียงทับบนเสื้ออีกชั้นหนึ่ง ถ้าอยู่บ้านจะห่มแต่สไบ ไม่สวมเสื้อ เมื่อมีงานพิธีจะนุ่งห่ม ผ้าตาด เลิกไว้ผมปี และหันมาไว้ผมยาวประบ่า

การแต่งกายของชาย : ผู้ชายจะนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบน สวมเสื้อราชปะแตน สวมหมวกหางนกยูง ถือไม้เท้าและไว้ผมรองทรง หากไปงานพิธีจะสวมถุงเท้าและรองเท้าด้วยการสวมเสื้อแพรสีจะสวมตามกระทรวงและหมวดต่าง ๆ ดังนี้

  1. ชั้นเจ้านาย สวมเสื้อสีไพล
  1. ชั้นขุนนางกระทรวงมหาดไทยสวมเสื้อแพรสีเขียวแก่
  1. ชั้นขุนนางกระทรวงกลาโหมสวมเสื้อแพรสีลูกหว้า
  1. ชั้นขุนนางกรมท่า (กระทรวงต่างประเทศ) เสื้อแพรสีน้ำเงิน (สีกรมท่า)
  1. ชั้นมหาดเล็กสวมเสื้อแพรสีเหล็ก
  1. พลเรือน สวมเสื้อปีก เป็นเสื้อคอปิดมีชายไม่ยาวมาก คาดเข็มขัดไว้นอกเสื้อ

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ภาพ : การแต่งกายสมัยรัชกาลที่ 5 ตอนต้น

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ภาพ : การแต่งกายสมัยรัชกาลที่ 5 ตอนกลาง

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ภาพ : การแต่งกายสมัยรัชกาลที่ 5 ตอนปลาย

การแต่งกายของหญิง : ผู้หญิงเริ่มมีการนุ่งผ้าซิ่นตามพระราชนิยม สวมเสื้อแพร โปร่งบาง หรือผ้าพิมพ์ดอกคอกว้างขึ้น หรือแขนเสื้อสั้นประมาณต้นแขน ไม่มีการสะพายแพร ส่วนทรงผมจะไว้ยาวเสมอต้นคอ ตัดเป็นลอน หรือเรียกว่า ผมบ๊อบมีการดัดผมด้านหลังให้โค้งเข้าหาต้นคอเล็กน้อยนิยมคาดผมด้วยผ้าหรือไข่มุก

การแต่งกายของชาย : ผู้ชายยังคงนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบน สวมเสื้อราชปะแตน แต่เริ่มมีการนุ่งกางเกงแบบชาวตะวันตกในภายหลัง แต่ประชาชนธรรมดาจะนุ่งกางเกงผ้าแพรของจีน สวมเสื้อคอกลมสีขาว (ผ้าบาง)

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ภาพ : การแต่งกายสมัยรัชกาลที่ 6

การแต่งกายของหญิง : ผู้หญิงเลิกนุ่งโจงกระเบน แต่จะนุ่งเป็นผ้าซิ่นแค่เข่า สวมเสื้อทรงกระบอก ไม่มีแขนไว้ผมสั้นดัดลอน ซึ่งจะดัดลอนมากขึ้น

การแต่งกายของชาย : ผู้ชายจะนุ่งกางเกงเป็นสีต่าง ๆ แต่ข้าราชการจะนุ่งผ้าม่วงหรือสีน้ำเงินสวมเสื้อราชปะแตน สวมถุงเท้าและรองเท้า แต่ในปี พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ทำให้อารยธรรมตะวันตกมีอิทธพลต่อการแต่งกายของคนไทยมากขึ้น ผู้ชายจึงจะมีการนุ่งกางเกงขายาวแทนการนุ่งผ้าม่วง แต่ถึงอย่างไรสามัญชนทั่วไปยังคงแต่งกายแบบเดิม คือ ผู้ชายสวมกางเกงแพรหรือกางเกงไทยสวมเสื้อธรรมดา ไม่สวมรองเท้าส่วนผู้หญิงสวมเสื้อคอกระเช้าเก็บชายไว้ในผ้าซิ่นหรือโจงกระเบนเวลาออกนอกบ้านจึงแต่งกายสุภาพ

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ภาพ : การแต่งกายสมัยรัชกาลที่ 7

โดยสรุปแล้วในสมัยนี้จะมีการแต่งกายที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นยุครัฐนิยมซึ่งจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กำหนดเครื่องแต่งกายออกเป็น 3 ประเภท

  1. ใช้ในที่ชุมชน
  1. ใช้ทำงาน
  1. ใช้ตามโอกาส

ผู้หญิงจะสวมเสื้อแบบไหนก็ได้ แต่ต้องคลุมไหล่มีการนุ่งผ้าถุง แต่ต่อมาจะเริ่มนุ่งกระโปรง หรือผ้าถุงสำเร็จสวมรองเท้า สวมหมวกและเลิกกินหมาก ส่วนผู้ชายจะสวมเสื้อมีแขน คอปิดหรือจะเปิดก็ได้

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ภาพ : การแต่งกายสมัยรัชกาลที่ 8

สมัยรัชกาลที่ 9 รัชกาลที่ 10 จนถึงปัจจุบัน

ผ้าไทยแม้จะเสื่อมความนิยมไปบ้างในบางเวลา แต่ก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบันกล่าวได้ว่า ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (ในรัชกาลที่ 9)ที่ทรงสนพระราชหฤทัยสนับสนุนการทอผ้าพื้นเมือง โดยเฉพาะการทอผ้ามัดหมี่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้แพร่หลาย เป็นที่รู้จักอย่างมาก ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เป็นผลให้เกิดการตื่นตัวที่จะอนุรักษ์ และพัฒนาการทอผ้าพื้นเมืองในภูมิภาคอื่น ๆ ของไทยเราให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น เป็นที่นิยมของคนไทย ซื้อหานำมาใช้โดยทั่วไปอีกด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ (ในรัชกาลที่ 9) ทรงสนพระราชหฤทัยสนับสนุนการทอผ้าพื้นเมือง โดยเฉพาะผ้ามัดหมี่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

ข้อความแต่โบราณที่ว่า “ผู้หญิงทอผ้า” นั้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนไทย เพราะแสดงถึงวัฒนธรรมอันสูงส่งที่ไทยเรามีบรรพบุรุษ ซึ่งปราดเปรื่อง คิดประดิษฐกรรมวิธีการทอผ้า ทั้งผ้าฝ้าย และผ้าไหมได้อย่างดีเลิศ และคิดวิธีได้หลากหลาย ไม่ว่าจะทอผ้าพื้น หรือทอให้เกิดลวดลายต่าง ๆ ด้วยวิธีที่เรียกว่า ยก จก ขิด มัดหมี่ และล้วง เป็นต้น และวัฒนธรรมนี้ ได้รับการสืบทอดต่อมา นานนับร้อยพันปีจนเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น

ชุดไทยแบบดั้งเดิมนั้นแทบจะสูญหายไป ชุดไทยพระราชนิยมเกิดจากพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ (ในรัชกาลที่ 9) เพื่อหาแบบชุดไทยที่ร่วมสมัยเพื่อทรงในระหว่างเสด็จประพาสยุโรป โดยศึกษาค้นคว้าจากภาพถ่ายเก่าและออกแบบปรับปรุงให้เข้ากับสมัยนิยมมีทั้งสิ้น 8 แบบ ดังนี้

  1. ไทยเรือนต้น ใช้แต่งในงานที่ไม่เป็นพิธี และต้องการความสบาย เช่น ไปเที่ยว
  1. ไทยจิตรลดา เป็นชุดไทยพิธีกลางวัน ใช้รับประมุขต่างประเทศเป็นทางการหรืองานสวนสนาม
  1. ไทยอมรินทร์ สำหรับงานเลี้ยงรับรองตอนหัวค่ำ อนุโลมไม่คาดเข็มขัดได้
  1. ไทยบรมพิมาน ชุดไทยพิธีตอนค่ำ คาดเข็มขัด
  1. ไทยจักรี คือ ชุดไทยสไบ
  1. ไทยดุสิต สำหรับงานพิธีตอนคํ่า จัดให้สะดวกสำหรับสวมสายสะพาย
  1. ไทยจักรพรรดิ เป็นแบบไทยแท้
  1. ไทยศิวาลัย เหมาะสำหรับเมื่ออากาศเย็น

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

ภาพ : การแต่งกายสมัยรัชกาลที่ 9 - รัชกาลที่ 10

อาหารไทยมีจุดกำเนิดพร้อมกับการตั้งชนชาติไทย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสมัยรัตนโกสินทร์มีการจำแนกความเป็นมาของอาหารไทยเป็น 2 ยุค คือ ยุคสมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และยุคสมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงปัจจุบัน

สมัยรัตนโกสินทร์ ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2394)

อาหารไทยในยุคต้นรัตนโกสินทร์ มีลักษณะเดียวกับยุคสมัยธนบุรี คือ นอกจากมีอาหารคาว และอาหารหวานแล้ว ยังมีอาหารว่าง เป็นอาหารที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลทางวัฒนธรรมอาหารของประเทศจีน ต่อมามีการปรับเปลี่ยนดัดแปลงจนกลายเป็นอาหารไทย นอกจากนี้ จดหมายความทรงจำของกรมหลวงรินทรเทวี ได้กล่าวถึงเครื่องตั้งสำรับคาวหวานของพระสงฆ์ในงานสมโภชพระพุทธมณีรัตนมหาปฏิมากร (พระแก้วมรกต) แสดงให้เห็นว่ารายการอาหารในยุคนี้ นอกจากจะมีอาหารไทย เช่น ผัก น้ำพริก ปลาแห้ง และหน่อไม้ผัด แล้วยังมีอาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศแบบอิสลาม มีอาหารจีนซึ่งใช้เนื้อหมูในการประกอบอาหาร สำหรับอาหารประเภทผัดผักที่ใช้ไฟแรงทุกชนิด คนไทยรับวัฒนธรรมการปรุงอาหารมาจากชาวจีน ที่อพยพเข้ามาอาศัยหรือเดินทางมาค้าขายในประเทศไทย ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยคนไทยสามารถหาซื้อกระทะเหล็กได้จากคนจีนที่นำสินค้ามาขายในประเทศไทยทางเรือ (สำเภาจีน) นอกจากนี้ การเผยแพร่วัฒนธรรมการรับประทานอาหารจากชาวตะวันตกที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนา ก็ทำให้คนไทยเริ่มรับประทานอาหารตะวันตก เช่น ขนมปัง ไข่ เนื้อ เนย และนม เป็นต้น

บทพระราชนิพนธ์ “กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน” ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงกล่าวถึงอาหารคาวและอาหารหวานหลายชนิด ซึ่งสะท้อนภาพของอาหารไทยในราชสำนักได้อย่างชัดเจนที่สุด และสามารถแสดงให้เห็นถึงลักษณะของอาหารไทยในราชสำนัก ที่มีการปรุงกลิ่นและรสอย่างประณีต โดยให้ความสำคัญกับรสชาติอาหารมากเป็นพิเศษและถือว่าเป็นยุคสมัยที่มีศิลปะการประกอบอาหารที่ค่อนข้างโดดเด่นที่สุด ทั้งในด้านรูป รส กลิ่น สี และการตกแต่งให้เกิดความสวยงาม รวมทั้งมีการพัฒนาอาหารนานาชาติ ให้เป็นอาหารไทยตัวอย่างอาหารคาว เช่น แกงชนิดต่าง ๆ เครื่องจิ้ม และยำทุกประเภท ตัวอย่างอาหารว่างคาว เช่น หมูแนม ล่าเตียง หรุ่ม รังนก และอาหารว่างหวาน เช่น ขนมดอกลำเจียก และขนมผิง รวมทั้งขนมที่รับประทานกับน้ำหวานและกะทิเจืออยู่ด้วย เช่น ซ่าหริ่ม และบัวลอย เป็นต้น

กร งร ตนโกส นทร ม กษ ตร ย ก พระองค

นอกจากนี้ วรรณคดีไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน จัดว่าเป็นวรรณคดีที่สะท้อนวิถีชีวิตของคน รวมทั้งสะท้อนถึงวัฒนธรรมการรับประทานอาหารชาวบ้าน ที่พบว่ามีความนิยมรับประทานขนมจีนน้ำยา และมีการรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักร่วมกับกับข้าวประเภทต่าง ๆ ได้แก่ แกง ต้ม ยำ และคั่ว โดยอาหารมีความหลากหลายมากขึ้นทั้งอาหารคาว และอาหารหวาน

สมัยรัตนโกสินทร์ ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2394 - ปัจจุบัน)

ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยมีการพัฒนาด้านความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก และมีการตั้งโรงพิมพ์ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ดังนั้น ตำรับอาหารการกินของไทยจึงเริ่มมีการบันทึกมากขึ้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้บอกเรื่องราว และลักษณะของอาหารไทยที่มีความหลากหลายในช่วงเวลาต่าง ๆ ทั้งที่เป็นวิธีการปรุงของราชสำนักและวิธีการปรุงแบบชาวบ้านที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้สมัยรัชกาลที่ 4 มีการตั้งโรงสีข้าวขึ้นทำให้เมล็ดข้าวมีสีขาว สวย และแตกหักน้อยลง คนไทยจึงค่อย ๆ เลิกตำข้าวกินเอง และหันมาซื้อข้าว จากโรงสีแทน ต่อมามีการเลี้ยงสัตว์ขายเป็นอาชีพ มีโรงฆ่าสัตว์ ทำให้การซื้อหาเนื้อสัตว์มาปรุงอาหารได้รับความนิยมมากขึ้น ส่งผลให้เนื้อสัตว์ใหญ่เข้ามามีบทบาทในสำรับอาหารไทย ในเวลาต่อมา การใช้เครื่องเทศหลายชนิด เพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหารก็เกิดขึ้นในช่วงนี้แม้คนไทยจะใช้เครื่องเทศบางอย่าง เช่น ขิง และกระชาย เพื่อดับกลิ่นคาวปลามานานแล้วก็ตาม แต่เมื่อมีการนำเนื้อสัตว์ประเภทวัว และควายมาปรุงอาหาร คนไทยจึงได้คิดและดัดแปลงการใช้เครื่องเทศหลายชนิดกับเนื้อสัตว์เหล่านั้น และสร้างสูตรอาหารใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย

รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 10 มีชื่อว่าอะไรบ้าง

พระมหากษัตริย์ไทย.

ร.1 ย้ายเมืองในวันที่อะไร

วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2564. วันสถาปนากรุงเทพมหานครฯ ครบรอบ 239 ปี นับแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2325 ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรี มาที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา

รัชกาลที่1มีผลงานอะไรบ้าง

กำหนดระเบียบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.

ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอุณรุท.

เริ่มงานสร้างพระนคร ขุดคูเมืองทางฝั่งตะวันออก สร้างกำแพงและป้อมปราการรอบพระนคร.

สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม.

พระราชกรณียกิจ รัชกาลที่5 มีอะไรบ้าง

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 5.

การเลิกทาส พระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ที่ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ก็คือ “การเลิกทาส” ... .

การปฏิรูประเบียบบริหารราชการ ... .

การศึกษา ... .

การศาล ... .

การคมนาคม ... .

การสุขาภิบาล ... .

การสงครามและการเสียดินแดน ... .

การเสด็จประพาส.