การใช คำไม ซ ำก นแต ม คว มหมายเด ยวก น

การใช คำไม ซ ำก นแต ม คว มหมายเด ยวก น

การใช คำไม ซ ำก นแต ม คว มหมายเด ยวก น

พยัญชนะ คือ ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงแบบหนึ่งในภาษา ออกเสียงให้แตกต่างได้จากลักษณะของอวัยวะออกเสียงในช่องปาก และลักษณะอื่นๆ เช่น การพ่นลม หรือเสียงก้อง ไม่ก้อง นอกจากนี้ยังหมายถึงตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะด้วย ขณะที่ผู้ใช้ภาษาทั่วไปมักจะเข้าใจว่า 'พยัญชนะ' คือตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะเพียงอย่างเดียว พยัญชนะไทย คือ ตัวอักษร หรือ ตัวหนังสือ (สำหรับภาษาอื่นอาจนิยามรวมไปถึง รูปร่างลักษณะ และ สัญลักษณ์) พยัญชนะไทย มีทั้งหมด 44 ตัว ได้แก่

ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช

ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด

ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ

ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส

ห ฬ อ ฮ

การใช คำไม ซ ำก นแต ม คว มหมายเด ยวก น
พยัญชนะไทย แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ รูปพยัญชนะ และ เสียงพยัญชนะ
การใช คำไม ซ ำก นแต ม คว มหมายเด ยวก น
พยัญชนะไทย มี ๔๔ รูป แต่มีเสียงเพียง ๒๑ เสียง เพราะบางรูปจะมีเสียงซ้ำกันดังนี้
การใช คำไม ซ ำก นแต ม คว มหมายเด ยวก น

พยัญชนะหลัก พยัญชนะซ้ำ เสียงที่ออกใกล้กัน ก ก กอ ค ข ฃ ค ฅ ฆ ขอ หรือ คอ ง ง งอ จ จ จอ ช ช ฌ ฉ ชอ ซ ซ ส ศ ษ ซอ หรือ สอ ด ด ฎ (ฑ)ในบางคำ ดอ ต ต ฎ ตอ ท ท ธ ฑ ฒ ถ ฐ ทอ น น ณ นอ บ บ บอ ป ป ปอ พ พ ภ ผ พอ หรือ ผอ ฟ ฟ ฝ ฟอ หรือ ฝอ ม ม มอ ย ย ญ ยอ ร ร รอ (กระดกลิ้น) ล ล ฬ ลอ (ไม่กระดกลิ้น) ว ว วอ ฮ ฮ ห ฮอ หรือ หอ อ อ ออ

การใช คำไม ซ ำก นแต ม คว มหมายเด ยวก น
พยัญชนะ ทั้ง ๔๔ รูป แบ่งออกเป็น ๓ หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ได้แก่

๑. อักษรกลาง คือพยัญชนะที่สามารถผันวรรณยุกต์ได้ครบทั้ง ๕ เสียง มีทั้งหมด ๙ ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ ๒. อักษรสูง คือพยัญชนะที่ ผันได้ไม่ครบทั้ง ๕ เสียง มี ๑๑ ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห ๓. อักษรต่ำ คือ พยัญชนะที่ผันได้ไม่ครบ ๕ เสียง มีทั้งหมด ๒๔ ตัว โดยแบ่งเป็น ๒ พวกคือ - อักษรต่ำคู่ คืออักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี ๑๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ช ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ซ ฮ - อักษรต่ำเดี่ยว คือ อักษรต่ำที่มีเสียงต่างกับอักษรสูง มี ๑๐ ตัว คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ฬ ว การแบ่งพยัญชนะออกเป็น ไตรยางศ์ หรือ อักษร ๓ หมู่ เพื่อเป็น ประโยชน์และง่ายแก่การผันเสียงวรรณยุกต์

การใช คำไม ซ ำก นแต ม คว มหมายเด ยวก น
๑. ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น เสียงพยัญชนะทั้ง ๒๑ เสียง สามารถอยู่ต้นพยางค์ หรือ ต้นคำได้ทั้งหมด
การใช คำไม ซ ำก นแต ม คว มหมายเด ยวก น
พยัญชนะต้นแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทคือ ๑.๑ พยัญชนะต้นตัวเดียว ( พยัญชนะต้นเดี่ยว ) หมายถึง พยางค์หรือคำที่มีพยัญชนะต้นเพียงตัวเดียว เช่น ก้อย รัก โดม มาก จะมี ก , ร , ด , ม, เป็นพยัญชนะต้น ๑.๒ พยัญชนะต้นสองตัว ( พยัญชนะต้นคู่ ) หมายถึงพยางค์หรือคำที่มีพยัญชนะ ต้น ๒ ตัว แบ่งเป็น ๑.๒.๑ อักษรควบ หมายถึงพยางค์หรือคำ ที่มีพยัญชนะ ๒ ตัวควบกัน ( ตัวที่มาควบได้แก่ ร , ล , ว ) แบ่งเป็น - อักษรควบแท้ คือ พยางค์ หรือ คำ ที่มีพยัญชนะ ๒ ตัวเป็นพยัญชนะต้น ตัวหลังเป็น เป็น ร , ล หรือ ว ประสมด้วยสระเดียวกันอ่านออกเสียง พร้อมกันทั้ง ๒ ตัว เช่น ครู กวาด พริก ขวักไขว่ ครื้นเครง ปลุกปลอบ ควาย ขวิด กวาง ฯลฯ - อักษรควบไม่แท้ คือ พยางค์ หรือ คำ ที่มีพยัญชนะต้น ๒ ตัว ตัวหลัง เป็น ร ประสมสระเดียวกัน แต่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้าตัวเดียว หรือ ออกเสียงเป็นเสียงพยัญชนะตัวอื่น เช่น
การใช คำไม ซ ำก นแต ม คว มหมายเด ยวก น
ออกเสียงตัวเดียว ได้แก่ จริง ( จิง ) เศร้า ( เส้า ) สร้อย ( ส้อย ) ฯลฯ
การใช คำไม ซ ำก นแต ม คว มหมายเด ยวก น
ออกเสียงเป็นเสียงอื่น ได้แก่ ทราบ ( ซาบ ) ไทร ( ไซ )
การใช คำไม ซ ำก นแต ม คว มหมายเด ยวก น
ทรุดโทรม (ซุดโซม ) อินทรีย์ ( อินซี ) ๑.๒.๒. อักษรนำ – อักษรตาม หมายถึง คำ ที่มีพยัญชนะต้น ๒ ตัว ประสมด้วย สระเดียวกัน แต่ อ่านออกเสียงเป็น ๒ พยางค์ พยางค์หน้า หรือ อักษรนำ ออกเสียงสระ อะ กึ่งมาตรา พยางค์หลัง หรือ อักษรตาม ออกเสียงตาม สระที่ประสมอยู่ เช่น สนุก ( สะ – หนุก ) ขนม ( ขะ – หนม ) ไฉน ( ฉะ – ไหน ) ตลาด ( ตะ – หลาด ) จรัส (จะ-หรัด)
การใช คำไม ซ ำก นแต ม คว มหมายเด ยวก น
ข้อสังเกต อักษรนำ – อักษรตามที่มีอักษรสูง ( ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห ) หรืออักษรกลาง ( ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ ) นำอักษรต่ำเดี่ยว ( ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ ) จะอ่านออกเสียงพยางค์ที่ ๒ เหมือนมี ห นำ ข้อยกเว้น ๑. อ นำ ย เช่น อย่า อยู่ อย่าง อยาก ๒. ห นำ ย ญ เช่น หย่า ใหญ่ หญ้า ๓. ห นำ ร ล ว เช่น หรูหรา หลาย แหวน ให้อ่านออกเสียงพยางค์เดียว ๒. ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ ( ตัวสะกด ) พยัญชนะ ๔๔ รูป ใช้เป็นตัวสะกดได้เป็นส่วนมาก ( ที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกดได้แก่ ฉ ฌ ผ ฝ ห อ ฮ ) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด มี ๘ มาตราหรือ ๘ แม่คือ ๑. เสียง ง หรือ แม่กง ใช้ ง เป็น ตัวสะกด เช่น จริง ซุง คลอง ๒. เสียง ม หรือ แม่กม ใช้ ม เป็นตัวสะกด เช่น ชม คลุม โดม ๓. เสียง ย หรือ แม่เกย ใช้ ย เป็นตัวสะดก เช่น สวย เลย กาย ๔. เสียง ว หรือ แม่เกอว ใช้ ว เป็นตัวสะกด เช่น หิว ขาว เขย ๕. เสียง ก หรือ แม่ กก ใช้ ก กร ข ค คร ฆ เป็นตัวสะกด เช่น ปาก จักร เลข ๖. เสียง บ หรือ แม่ กบ ใช้ บ ป ปร ฟ พ ภ เป็นตัวสะกด เช่น เก็บ กราฟ โลภ ภพ ๗. เสียง ด หรือ แม่กด ใช้ ด จ ช ชร ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ฒิ ต ตร ตุ ติ ถ ท ทร ธ ธิ ศ ศร ษ ส เช่น โดด เพชร วุฒิ ครุฑ กบฎ ๘. เสียง น หรือ แม่กน ใช้ น ญ ณ ร ล ฬ เช่น กิน หาญ นคร กาฬ
การใช คำไม ซ ำก นแต ม คว มหมายเด ยวก น
ข้อสังเกต พยัญชนะที่ประสมด้วยสระแล้วไม่มีตัวสะกด เช่น ปลา ไป ที่ สระ น้ำ คำ เหล่านี้ เรียกว่า แม่ ก.กา ๓. ทำหน้าที่เป็นตัวการันต์ ตัวการันต์ คือพยัญชนะท้ายพยางค์ที่มีเครื่องหมาย ทัณฑฆาต กำกับ ไม่ต้องอ่านออกเสียง เช่น บัลลังก์ จันทร์ สิทธิ์ พันธ์ พระลักษณ์ ฯลฯ

การใช คำไม ซ ำก นแต ม คว มหมายเด ยวก น
http://www.dekteen.com/เรียนไทย-พยัญชนะ.html/ http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/g1/goy1/page2.html

การใช คำไม ซ ำก นแต ม คว มหมายเด ยวก น