การ สะท อน เร องสมบ ต ของจำนวนเต ม

เผยแพร่: 16 พ.ย. 2559 00:08 โดย: MGR Online

ก.อตฯจับมือโรงงาน ซื้อข้าวจากชาวนา เล็งร่วมมือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพาณิชย์ หาแนวทางช่วยเหลือ เผยภาคการผลิตซื้อแล้ว 807 ตัน

นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการสั่งซื้อข้าวตรงจากชาวนาภายใต้ชื่อ“โครงการอุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยชาวนาไทยขายข้าว” ว่า ได้มีพิธีลงนามสัญญาซื้อข้าวของโรงงานขนาดใหญ่ สภาอุตสาหกรรมและสมาคมต่างๆ ในจังหวัดสมุทรปราการ รวม 25 ราย มีคำสั่งซื้อข้าวจำนวนทั้งสิ้น 32 ตัน นอกจากนี้ได้นำข้าวอีก 14 ตัน มาขายแก่พนักงานในสวนอุตสาหกรรมเทพารักษ์ (เอ็ม.ไทย เอสเตท) อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ เช่น ข้าวหอมมะลิ ขายในราคาเพียงกิโลกรัมละ 30 บาท และยังมีข้าวขาวและข้าวเหนียวมาจำหน่ายในงานด้วย

จากการสรุปข้อมูลวันที่ 2-15 พฤศจิกายน 2559 มีโรงงานภายนอกนิคมฯ จำนวน 167 โรงจาก 30 จังหวัด ได้สั่งซื้อข้าวแล้วรวมทั้งสิ้น 807.6 ตัน และยังมียอดคำสั่งซื้อจากโรงงานทั่วประเทศทยอยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ที่ซื้อขายและส่งมอบข้าวไปยังโรงงานแล้วมีจำนวน 154.1 ตัน คิดเป็นเงินประมาณ 3.45 ล้านบาท ยังไม่รวมตัวเลขของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ที่มีเป้าหมายในการรับซื้อข้าวให้ได้อย่างน้อย 5,000 ตัน หรือประมาณการว่าสามารถช่วยกันซื้อข้าวได้โรงงานละ 1 ตัน ล่าสุดได้มียอดสั่งซื้อข้าวแล้ว จำนวน 145 ตัน

“ตามปกติภาคอุตสาหกรรมสั่งซื้อข้าวเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า ซึ่งจากฐานข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) มีผู้ผลิตประมาณ 2,102 ราย พบว่า มีโรงงานที่ประกอบกิจการทำอาหารจากแป้ง จำนวน 1,338 ราย เช่น โรงงานทำเส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ ขนมจีน โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับแป้งข้าวเจ้าสำหรับทำขนม มีจำนวน 11 ราย และโรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับอาหารสัตว์ จำนวน 753 ราย โดยแต่ละรายใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบตั้งแต่ 5-450 ตัน จึงไม่สามารถสั่งซื้อตรงจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าว หรือสหกรณ์การเกษตรได้ เนื่องจากติดข้อจำกัด 3 ประการ คือ 1) ปริมาณการสั่งซื้อ เพราะโรงงานซื้อแต่ละครั้งเป็นจำนวนมาก 2) คุณภาพ ที่ต้องผ่านการควบคุมให้ตรงกับความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรม และ 3) ความแน่นอนในการส่งมอบ ดังนั้น ภาคอุตสาหกรรมจึงสั่งซื้อผ่านโรงสี หรือตัวแทนจำหน่ายที่เป็นพ่อค้าคนกลาง จึงไม่สามารถสั่งซื้อตรงจากชาวนาได้” นางอรรชกา กล่าว

อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมสามารถช่วยชาวนาได้ในหลายรูปแบบ ได้แก่ 1. โรงงานขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ซื้อข้าวเป็นอาหารกลางวันแก่พนักงาน หรือ ร้านอาหารในโรงอาหารของโรงงาน ที่ขายในราคาถูกกว่าร้านข้างนอก เพื่อเป็นสวัสดิการแก่พนักงาน และลดค่าใช้จ่ายภาระค่าครองชีพ เช่น โรงงานโตโยต้าอำนาจเจริญ ซื้อข้าวหอมมะลิ ปีละ 4 ตัน บริษัท ทัศนาการศิลา จำกัด ประกอบกิจการโรงโม่หิน ซื้อข้าวหอมมะลิเดือนละ 1.5 ตัน บริษัท จีเอฟพีทีนิชิเร (ประเทศไทย) ผู้ผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูปจากเนื้อไก่ ได้ซื้อข้าวขาว 5% เดือนละ 30 ตัน บริษัทไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม ผู้ผลิตน้ำตาลทรายซื้อข้าวขาว เดือนละ 1.5 ตัน เป็นต้น

2. โรงงานรับเป็นสื่อกลางสั่งซื้อข้าวถุงมาส่งที่โรงงานเพื่อให้พนักงานซื้อข้าวถุงในราคาถูก กลับไปบริโภคที่บ้าน เช่น สวนอุตสาหกรรมบางกะดี ซึ่งสั่งซื้อข้าวตรงจากสหกรณ์การเกษตรสุรินทร์ จำนวน 14 ตันมาจำหน่าย

3. การเปิดจุดให้ชาวนาซื้อขายข้าวในทุกนิคม/เขต/สวนอุตสาหกรรม รวมประมาณ 89 แห่ง กระจายอยู่ใน 17 จังหวัด ซึ่งมีการทยอยจัดกิจกรรมไปบ้างแล้ว เช่น จ.ปทุมธานี เปิดโรงงานไทยสแตนเลย์ ขายข้าวจำนวน 6 ตันหมด จ.สระบุรี เปิดพื้นที่กลุ่มโรงงานปูนฯ อนุญาตให้นำข้าวมาขายในช่วงเงินเดือนออก และที่จัดกับหน่วยงานของจังหวัด อาทิ เพชรบูรณ์ พิจิตร อุทัยธานี อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด กาญจนบุรี สุรินทร์ เป็นต้น

4. การซื้อเป็นของชำร่วย หรือของแจกช่วงปีใหม่ เช่น สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันในเครือข่ายสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซื้อข้าวถุงละ 1 กิโลกรัม รวม 1 ตัน ฯลฯ

5. การเปิดพื้นที่ของโรงงานให้ชาวนาได้ตากข้าว เพื่อลดความชื้น เช่น โรงสีต่างๆ หรือบริการช่วยอบข้าวฟรี โดย โรงสีเจียเม้ง จ.นครราชสีมา เปิดให้อบข้าวฟรี 7,500 ตันเป็นเวลา 15 วัน มีกำลังผลิตรับได้วันละ 500 ตัน คาดว่าสามารถช่วยชาวนาได้ 2,500-3,000 ราย

นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมโดยอุตสาหกรรมจังหวัดทุกจังหวัด ยังได้สำรวจข้อมูลความต้องการเครื่องจักรกลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าว เช่น เครื่องสีข้าว เครื่องอบข้าว เครื่องซีลสูญญากาศ เครื่องคัดแยกข้าว และเครื่องทำการเกษตรแบบน้ำหยด เพื่อหาแนวทางหรือมาตรการช่วยเหลืออื่น โดยอาจร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อพิจารณาหาแนวทางช่วยเหลือ

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับรายงานว่า มีโรงงานฯ จากทุกจังหวัดเต็มใจซื้อข้าวตรงจากชาวนา เพื่อเป็นการช่วยเหลือชาวนาจริงๆ และมียอดความต้องการซื้อของโรงงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวัน ซึ่งกระทรวงฯ จะช่วยเป็นตัวกลางในการประสานสั่งซื้อ ซึ่งมั่นใจว่า 1.ราคาเป็นธรรมกับผู้ซื้อ ถูกกว่าห้างขายส่งเนื่องจากไม่ได้ผ่านพ่อค้าคนกลาง 2.ต้องซื้อจากหน่วยงาน สหกรณ์ที่สั่งซื้อข้าวตรงจากชาวนาเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นการซื้อข้าวข้ามเขตจังหวัด เนื่องจากภายในจังหวัดไม่มีการปลูกข้าว เช่น พื้นที่ภาคใต้ ก็อาจมีต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้นบ้าว

อัยการสูงสุด ไม่ฟ้อง ยิ่งลักษณ์ สะท้อนภาวะง่อนแง่น-ไม่น่าเชื่อถือ !?

เผยแพร่: 7 ก.ย. 2557 20:52 โดย: MGR Online

**กลายเป็นอีกครั้งสำคัญที่สำนักงานอัยการสูงสุด โดยเฉพาะอัยการสูงสุดกำลังถูกจับตามองด้วยความไม่ไว้วางใจจากสังคมขึ้นมาอีก หลังจากยังไม่สั่งฟ้อง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตาม มาตรา 157 และความผิดตามกฎหมายป.ป.ช. หลายมาตรา ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตทุกขั้นตอน ในโครงการรับจำนำข้าว สร้างความเสียหายแก่รัฐจำนวนมหาศาล เหตุผลที่อัยการสูงสุดยังไม่สั่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อ้างว่า "สำนวนที่ป.ป.ช.ส่งมา ยังไม่สมบูรณ์" จึงให้ตั้งคณะกรรมการร่วมพิจารณาสำนวนใหม่ภายใน 14 วัน แน่นอนว่านี่คือการพิจารณาของอัยการสูงสุดตามกฎหมาย ตามอำนาจหน้าที่ ที่สามารถทำได้ และถือเป็นดุลพินิจของอัยการฯ อย่างไรก็ดี อีกด้านหนึ่งในความรู้สึกของสังคมที่เฝ้ามองเรื่องดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ย่อมต้องมองว่าเป็น "เรื่องผิดปกติ" และช่วยไม่ได้ที่ต้องมองย้อนกลับไปพิจารณาถึงการทำงานในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่อัยการสูงสุดคนก่อน ก่อนที่มาถึงยุคของอัยการสูงสุดคนปัจจุบันคือ ตระกูล วินิจนัยภาค ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำงานของอัยการสูงสุดที่ผ่านมา ถูกวิจารณ์อย่างหนักจากสังคม ทั้งในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน การเข้าไปเป็นกรรมการบอร์ดในบางรัฐวิสาหกิจแล้วเกิดปัญหาการทุจริต แต่เมื่อการพิจารณาสำนวนในชั้นอัยการกลับเกิดข้อสงสัยในการทำหน้าที่ มีการสั่งไม่ฟ้อง จนบางครั้งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ต้องฟ้องเอง และต่อมาศาลก็ตัดสินความผิด ** ล่าสุดสดๆร้อนๆไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา อัยการสูงสุดคนก่อนก็เพิ่งถูกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปลดพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งอัยการสูงสุดคนปัจจุบันเข้ามาทำหน้าที่แทน ขณะเดียวกันทางป.ป.ช. โดย วิชา มหาคุณ ในฐานะเป็นเจ้าของสำนวน และดูแลคดีดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น รวมทั้งป.ป.ช.ทั้งคณะ ก็ย่อมรู้สึกเสียหน้า เพราะต้องไม่ลืมว่าการชี้มูลความผิดดังกล่าวเป็น "มติเอกฉันท์" การที่อัยการสูงสุดมาตัดบทว่า "สำนวนไม่สมบูรณ์" มันก็ย่อมเสียความรู้สึกเป็นธรรมดา และปฏิกิริยาจาก วิชา มหาคุณ ที่ "แรง" ที่ระบุว่า อัยการสูงสุด"กำลังมีสถานะง่อนแง่น" โดยเชื่อมโยงไปถึงอัยการสูงสุดก่อนหน้านี้ ที่เพิ่งถูกปลด และย้ำว่าที่ผ่านมาเคยมีการหารือกันแล้วว่า หากเห็นว่าหลักฐานบางอย่างไม่สมบูรณ์ ก็สามารถประสานงานขอมาได้ แต่การที่จู่ๆ กลับมาบอกว่า "ไม่สมบูรณ์" หน้าตาเฉย มันก็ช่วยไม่ได้ที่จะทำให้หลายคนวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานา และแน่นอนว่าวิจารณ์อัยการสูงสุดไปในทางลบมากกว่าบวก ** เพราะสังคมมองเห็นแล้วว่า โครงการรับจำนำข้าวเต็มไปด้วยการทุจริต สร้างความเสียหายกับรัฐ จากตัวเลขของฝ่ายรัฐเอง เช่น อนุกรรมการตรวจสอบบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ที่มีรองปลัดกระทรวงการคลัง สุภา ปิยะจิตติ ก็เคยสรุปออกมาแล้วว่าเสียหายไม่น้อยกว่า สามแสนล้านบาท และล่าสุดเพิ่งมีการสรุปตามมาอีกว่า เสียหายไม่น้อยกว่า 5 แสนล้านบาท มีชาวนาต้องฆ่าตัวตายไปนับสิบราย นี่คือเครื่องยืนยันถึงความเสียหาย และการทุจริตอย่างมโหฬาร อย่างไรก็ดี แม้ว่าการวิจารณ์ในแง่ลบอาจเร็วไปบ้าง เพราะถึงอย่างไรยังอยู่ในขั้นตอน และอำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด และเป็นดุลพินิจ สามารถตั้งคณะกรรมการร่วมพิจารณาสำนวนร่วมกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามขั้นตอนได้ อีกทั้งเพื่อความละเอียดรอบคอบ ทำให้สำนวนมีความรัดกุมรอบคอบขึ้น เนื่องจากเป็นคดีสำคัญ และไม่ให้หลุดรอดในชั้นศาล หากมองในมุมนี้ก็ยังสามารถฟังได้ **เพราะถึงอย่างไร ไม่ว่าอยู่ในขั้นตอนไหน สังคมก็ต้องจับตามองวันยังค่ำ สั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ก็ต้องถูกวิจารณ์หนักแน่ เพียงแต่ว่ามันต้องมีเหตุผลอธิบายให้สังคมยอมรับได้เท่านั้นเอง แต่ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมาหากย้อนกลับไปพิจารณาจากการทำงานของอัยการสูงสุด โดยเฉพาะในระยะหลังถูกวิจารณ์หนักในทำนองว่า รับใช้การเมือง หรือเป็นเครื่องมือของกลุ่มการเมือง โดยเฉพาะผลประโยชน์กับระบอบทักษิณ การทำหน้าที่ถูกวิจารณ์ในเรื่อง "การขัดกันแห่งผลประโยชน์" การสั่งคดีขัดสายตาของสังคม และปฏิเสธไม่ได้ว่าถูกวิจารณ์ในทางลบมากขึ้น ถึงขนาดมีเสียงเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการทำงานของอัยการฯ เสียใหม่ ไม่ต่างจากกระบวนการยุติธรรมในหน่วยงานอื่น เช่น ตำรวจ เป็นต้น สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความไม่ปกติ เห็นได้ชัดก็คือ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปลดอัยการสูงสุดคนก่อนอย่างกระทันหัน ทั้งที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการอัยการได้ไม่นาน **ดังนั้นหากพิจารณาในความหมาย "ง่อนแง่น" ตามที่ วิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช.ได้ระบุถึงอัยการสูงสุดคนปัจจุบัน มันก็เป็นไปได้เหมือนกันหากพิจารณาจากความหมายในเรื่อง "สถานะ" แต่นอกเหนือจากนั้นก็คือ ความรู้สึกของสังคมที่กลับมาไม่ไว้วางใจมากขึ้น และจะกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดการปฏิรูปสำนักงานอัยการสูงสุดทันที ไม่ต่างจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อย่างแน่นอน !!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง