พล.ต.อ จ กรท พย ช ยจ นดา สม ยหน ม

มติ ป.ป.ช. แจ้งข้อกล่าวหา “พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ” อดีต ผบ.ตร. กับพวกรวม 46 ราย คดีจัดซื้อรถยนต์ไฟฟ้าตรวจการณ์อัจฉริยะ 260 คัน วงเงินกว่า 900 ล้าน ปีงบ 61-62 หลัง “บิ๊กโจ๊ก” ร้องสอบ

วันที่ 14 มี.ค. 2566 นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้สัมภาษณ์ยืนยันถึงกระแสข่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ มีมติแจ้งข้อกล่าวหาแก่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) กับพวกรวม 46 ราย คดีจัดซื้อรถยนต์ไฟฟ้าตรวจการณ์อัจฉริยะ จำนวน 260 คัน วงเงิน 900 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2561-2562 แล้วจริง โดยการแจ้งข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย

เลขาฯ ป.ป.ช. กล่าวอีกว่า ขั้นตอนหลังจากนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาตามกฎหมาย กำหนดระยะเวลาภายใน 15 วัน ภายหลังได้รับแจ้งข้อกล่าวหา และสามารถยื่นหนังสือเข้ามาขอเลื่อนชี้แจงได้ โดยเป็นดุลพินิจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ว่า จะอนุญาตให้เลื่อนชี้แจงหรือไม่

คดีดังกล่าวเมื่อเดือน พ.ค. 2565 ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ มีมติเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการกลั่นกรองเรื่องกล่าวหาประจำสำนักไต่สวนการทุจริตภาครัฐ 1 เสนอให้มีการแต่งตั้งองค์คณะไต่สวน (มีกรรมการ ป.ป.ช. 9 รายเป็นองค์คณะ) โดยมี น.ส.สุภา ปิยะจิตติ เป็นกรรมการผู้รับผิดชอบสำนวน

สำหรับประเด็นการไต่สวนเรื่องนี้ มีทั้งกรณีการอนุมัติให้ใช้วิธีการจัดซื้อโดยวิธีคัดเลือก ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างฯ 2560 หรือไม่ การจัดซื้อโดยวิธีคัดเลือกเป็นเหตุให้ไม่มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมหรือไม่ การกำหนดราคากลางชอบหรือไม่ แพงเกินจริงหรือไม่ และการไม่คิดค่าปรับและแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทเอกชนคู่สัญญาหรือไม่

ส่วนโครงการจัดซื้อรถยนต์ไฟฟ้าตรวจการณ์อัจฉริยะ จำนวน 260 คัน วงเงินกว่า 900 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2561-2562 ดังกล่าว มีบริษัท จีเนียส ทราฟฟิค ซิสเต็ม จำกัด เป็นคู่สัญญา เคยปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนช่วงต้นปี 2563 ว่า เป็นโครงการที่ 2 ต่อจากโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์บุคคลโดยเทคโนโลยี Biometrics ระยะที่ 1 วงเงิน 2.1 พันล้านบาท

ที่ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งปรึกษาพิเศษ สำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาเปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ถูกคนร้ายลอบยิงรถยนต์เมื่อคืนวันที่ 7 ม.ค. 2562 โดยเชื่อว่าเกิดจากสมัยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสำนักตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ผบช.สตม.) และสั่งการให้มีการตรวจสอบโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์บุคคลโดยเทคโนโลยี Biometrics ระยะที่ 1 พร้อมกับมีหนังสือถึง ผบ.ตร.ยุคนั้นคือ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ให้ยกเลิกโครงการดังกล่าว เนื่องจากเกิดความล่าช้า และส่งงานไม่ทัน พร้อมกับยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบ

พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผบช.น. (คนกลาง) นำะข้าราชการตำรวจที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภายในบริเวณ ที่ทำการ บช.น. เนื่องในโอกาสมารับตำแหน่งใหม่ เมื่อ 09.09 น. ของ 1 ต.ด. 2564

การขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการของ 2 นายตำรวจใหญ่ในวัยไม่ถึง 50 ปี เป็นเรื่องที่สังคมตำรวจจับตา

ด้วยอายุราชการที่เหลืออีกกว่า 10 ปี ของทั้งสอง จึงก่อให้เกิดการคาดการณ์ในวงการตำรวจว่าไม่ใช่เรื่องยากที่เพื่อนร่วมรุ่นนักเรียนตำรวจสามพราน (นรต.) 2 คนนี้จะผลัดกันนั่งในตำแหน่งสูงสุดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

นักวิเคราะห์มองว่า หากไม่มี "อุบัติเหตุ" ใด พล.ต.ท. สำราญ นวลมา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช. น.) ที่มีกำหนดเกษียณราชการปี 2576 จะได้ขึ้นครองตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ. ตร.) ก่อน พล.ต.ท. จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช. ก.) ผู้เหลืออายุราชการถึงปี 2579 แม้ทั้งคู่เป็นเพื่อนร่วมรุ่น นรต.50

  • โรมจี้ “2 ป.” รับผิดชอบปล่อยให้มี “ตั๋วช้าง” แทรกแซงตั้ง ตร.
  • พล.ต.ท. ต่อศักดิ์ สุขวิมล น้องชายเลขาธิการพระราชวัง ผู้คว้าตำแหน่ง ผบช.ก.
  • ผบ.ทบ. คนใหม่ กับภารกิจรับไม้ต่อ "ฉก.คอแดง"

พล.ต.อ จ กรท พย ช ยจ นดา สม ยหน ม

ที่มาของภาพ, Facebook/กองบัญชาการตำรวจนครบาล

สองดาวรุ่ง พุ่งทะยาน

ผู้สื่อข่าวสายตำรวจหลายคนตั้งข้อสังเกตว่าทั้ง จิรภพและ สำราญใช้เวลาเพียง 24 ปีในชีวิตราชการก็ไต่เต้ามาถึง พล.ต.ท. ในวันที่ 1 ต.ค. 2564 ขณะที่เพื่อนร่วมรุ่นคนหนึ่งที่เคยก้าวนำรุ่น ขึ้นเป็นผู้กำกับการ ติดยศ พ.ต.อ. คนแรกของรุ่นเมื่อสิบกว่าปีก่อน วันนี้ ก็ยังก้าวมาได้เพียงรองผู้บังคับการ ครองยศ พ.ต.อ. อยู่เหมือนเดิม

ระหว่างการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายประจำปีเมื่อ ส.ค. ที่ผ่านมา ทั้งคู่มีอาวุโสอยู่ใน 2 ลำดับสุดท้ายบัญชีรองผู้บัญชาการทั่วประเทศ โดย สำราญ อยู่ลำดับที่ 124 ส่วน จิรภพ ลำดับที่ 125 แต่ทั้งสองได้กลายเป็นผู้บัญชาการที่อาวุโสน้อย อนาคตไกล นั่งกุมบังเหียนหน่วยงานสำคัญ ที่ลูกน้องระดับรองผู้บัญชาการ ผู้บังคับการ หรือแม้แต่รองผู้บังคับการ และผู้กำกับการส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นรุ่นพี่ พล.ต.ท.สำราญ มีผู้ใต้บังคับบัญชา ระดับรองผู้บัญชาการ ที่เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นพี่ห่างกันถึง 12 ปี ขณะที่ พล.ต.ท.จิรภพก็มีผู้ใต้บังคับบัญชาระดับรองผู้บัญชาการทีเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นพี่ห่างกัน 10 ปี ถึง 2 นาย

ในวัยไม่ถึง 46 ปีบริบูรณ์ พล.ต.ท.จิรภพ (เกิด 2 ธ.ค. 2518) ขึ้นเป็น ผบช.ก. ที่อายุน้อยที่สุด นับแต่ก่อตั้งหน่วยมาเมื่อปี 2494 สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เรืองอำนาจ เขาทำลายสถิติที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ทำไว้เมื่อปี 2540 ด้วยอายุ 49 ปี

ในตำแหน่ง ผบช.ก. พล.ต.ท.จิรภพ คือนายตำรวจที่กุมอำนาจสอบสวนคดีอาญาชากรรมทั่วประเทศไว้ในมือ

ส่วน พล.ต.ท.สำราญ ด้วยวัย 48 ปีเศษ (เกิด 14 มิ.ย. 2516) ก็ทำสถิติเป็น ผบช.น. ที่อายุน้อยที่สุดในรอบ 48 ปี นับตั้งแต่ พล.ต.อ.ณรงค์ มหานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ทำไว้เมื่อปี 2516 ด้วยอายุ 46 ปี คนที่ทำสถิติอายุได้ใกล้เคียง พล.ต.อ.ณรงค์ คือ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา อดีต ผบ. ตร. ด้วยอายุ 49 ปีเศษ เมื่อปี 2552 และเป็นที่น่าสังเกตว่าคนที่เติบโตเป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาลในวัย 40 ปีเศษ หรือไม่ถึง 40 ปี ล้วนแต่ก้าวถึงอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติทุกคน

ตัวอย่างเช่น พล.ต.อ.เผ่า ที่ได้รับแรงส่งจาก พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ผู้เป็นพ่อตา และหัวหน้าคณะรัฐประหาร 2490 ให้โอนจากกองทัพบกมากรมตำรวจ ก่อนก้าวเป็น ผบช.น. ในวัยเพียง 39 ปี ส่วน พล.ต.อ.หลวงชาติตระการโกศล เป็น ผบช.น. ในวัย 42 ปี และ พล.ต.อ.มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น ในวัย 49 ปี

  • ทำความรู้จัก "กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ"
  • โปรดเกล้าฯ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการในพระองค์
  • สองปีที่ผกผัน ก่อนนายกฯ ตั้ง "บิ๊กโจ๊ก" กลับเข้ารับราชการตำรวจ

พล.ต.อ จ กรท พย ช ยจ นดา สม ยหน ม

ที่มาของภาพ, Facebook/กองบัญชาการตำรวจนครบาล

คำบรรยายภาพ,

ส่วนหนึ่งของพิธีส่งมอบตำแหน่งระหว่าง พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผบช.น. (ซ้าย) ผู้ครบวาระและพ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุ และ พล.ต.ท. สำราญ นวลมา ผบช. น. คนใหม่ (ขวา) เมื่อ 30 ก.ย.

สำราญ : "เด็กวัด" เพชรบุรี สู่ นายใหญ่นครบาล

สื่อมวลชนหลายแขนงรายงานว่า พล.ต.ท สำราญ มาจากครอบครัวชาวบ้านธรรมดา เคยเป็นเด็กวัด คอยเดินตามพระวัดโตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี อาศัยข้าวก้นบาตรเลี้ยงชีพ จึงปลูกฝังนิสัยอ่อนน้อมถ่อมตน ด้วยความมุ่งมั่น สอบเข้าเรียนต่อเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 34 นักเรียนนายร้อยตำรวจสามพรานรุ่น 50

เมื่อปี 2547 หลังจบโรงเรียนนายร้อยตำรวจมาได้ 7 ปี ขณะมียศเป็น ร.ต.อ.รองสารวัตร ได้รับตำแหน่งสำคัญ ขึ้นเป็นสารวัตรสายตรวจปฏิบัติการพิเศษ ที่เพิ่งเพิ่มตำแหน่งเป็น 3 คน แบ่งกันคุมพื้นที่สืบสวนปราบปรามอาชญากรรม "เหนือ-ใต้-ธนฯ" ใหม่ เพราะก่อนหน้านั้นมีสารวัตรเพียงคนเดียว ที่เรียกกันติดปากชาวนครบาลว่า "สืบพิเศษ"

สำราญ เติบโตในหน่วย 191 หลายปี จนเป็นรองผู้กำกับการสายตรวจในปี 2551 เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ไม่พรวดพราด ครองตำแหน่งครบกำหนดระยะเวลา ก็เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ช่วงนี้เองที่เขาได้รับการจับตามองว่าจะเติบโตนำรุ่น เพราะอยู่ในหน่วยสำคัญของนครบาล

สำราญ นั่งเก้าอี้รองผู้กำกับการ 4 ปีเต็ม ทั้งที่ 191 และศูนย์สืบสวนนครบาล ก็ขยับขึ้น ผกก.สน.ดอนเมือง เมื่อปี 2555 ก่อนโยกกลับมาเป็นผู้กำกับการสายตรวจ อยู่จนครบเป็นรองผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษเมื่อปี 2559 จากนั้นเริ่ม "ได้แรงหนุนดี" ได้รับการยกเว้นหลักเกณฑ์ขึ้นเป็นผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษในปี 2561 หลังนั่งเก้าอี้รองผู้บังคับการได้เพียง 2 ปี ซึ่งไม่ครบหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) กำหนดไว้ 5 ปี

"ฐานเศรษฐกิจ" รายงานว่า ระหว่างดำรงตำแหน่งผู้บังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ 191 เขาได้ปฏิบัติงาน การถวายอารักขาและถวายความปลอดภัยแด่องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ และสั่งการให้ตำรวจสายตรวจรถยนต์ออกตรวจตรา ตั้งจุดตรวจ จุดสกัดจับ เน้นการควบคุมอาชญากรรมให้ได้มากที่สุด และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างตำรวจกับประชาชน

จนปี 2562 เขาได้ครองตำแหน่ง รอง ผบช.น. แล้วขึ้นเป็น ผบช.น. เมื่อ 1 ต.ค. ปีนี้

พล.ต.อ จ กรท พย ช ยจ นดา สม ยหน ม

ที่มาของภาพ, อนุสรณ์งานฯนางรสสุคนธ์ ภูริเดช/ข่าวสด

จิรภพ : ลูกผู้บัญชาการการกองเรือ

จิรภพ ก็คือ "ลูกไม้ใต้ต้น" ของบ้าน "ภูริเดช" ที่สมาชิกครอบครัวล้วนมีการศึกษาสูงและมีหน้าที่การงานดี

บิดา คือ พล.ร.อ.สมภพ ภูริเดช ดำรงตำแหน่งนายทหารราชองครักษ์พิเศษ หลังเกษียณราชการจากกองทัพเรือ ในตำแหน่งผู้บัญชาการกองเรือภาค 3 นอกจากนี้เขาคือ ต้นแบบและแรงบันดาลใจให้ลูก ๆ

มารดา คือ นางรสสุคนธ์ ภูริเดช อดีตข้าราชการกรมสรรพากร และอดีตวุฒิสมาชิกผู้ล่วงลับ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพเมื่อ 7 ส.ค. 2560

จิรภพ เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 34 นรต. 50 จบปริญญาโทด้านการบริหารข้อมูลสารสนเทศ จากมหาวิทยาลัยเซ็นทรัลมิชิแกน สหรัฐฯ จบปริญญาเอกวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ จบหลักสูตรเอฟบีไอรุ่นที่ 271 จากสหรัฐฯ

เขาเข้ารับราชการตำรวจติดตรากองปราบปรามที่แขนเสื้อมาตั้งแต่ต้น มีพี่เขย คือ พล.ต.ท.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ปัจจุบันคือ พล.อ.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ รองผู้บัญชาการหน่วยถวายความปลอดภัยรักษาในพระองค์

พี่ชายคนที่ 2 คือ พล.อ.จักรภพ ภูริเดช นายทหารที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทด้วยความซื่อสัตย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ และผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์

เขาเริ่มรับราชการตำแหน่งแรกเป็นรองสารวัตรฝ่ายปฏิบัติการ 3 กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (บก.ปปป.) เป็นรองสารวัตร แผนก 2 กก. 1 บก.ป. ก่อนติดยศ พ.ต.ต. เป็นสารวัตรตำรวจท่องเที่ยว จ.ภูเก็ต จากนั้นก็ขึ้นเป็นรอง ผกก.ท่องเที่ยวภูเก็ต และได้ขึ้นเป็น ผกก.ท่องเที่ยวภูเก็ต ต่อมาได้ย้ายกลับถิ่นเก่ามาเป็น ผกก.1 บก.ป. เมื่อปี 2557 ขึ้นเป็นรอง ผบก.ป.เมื่อ มิ.ย. 2560

ไม่ถึง 2 เดือน ก่อนอายุครบ 43 ปีบริบูรณ์ เขาทำพิธีรับมอบตำแหน่งผู้บังคับการกองปราบจาก พล.ต.ต.ไมตรี ฉิมเฉิด เมื่อ 18 ต.ค. 2561

  • พล.อ. จักรภพ - พล.ต.ต. จิรภพ สองพี่น้องแห่งสกุล "ภูริเดช"
  • พล.ต.ท. ต่อศักดิ์ สุขวิมล: "ไม่เป็นไร... ให้ ตร. เป็นคนชี้แจง"
  • พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ข้าราชบริพารผู้ถวายงานด้วยความซื่อสัตย์

พล.ต.อ จ กรท พย ช ยจ นดา สม ยหน ม

ที่มาของภาพ, กองบังคับการกองปราบปราม

พล.ต.ต.จิรภพ มีผลงานจับกุมคดีใหญ่ ๆ ระดับประเทศมากมาย เช่น คดียักยอกเงินของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง, คดีปล้นรถขนเงิน บริษัทโพรเกรส กันภัย จำกัด คดียิงนายสมยศ สุธางค์กูร เจ้าพ่อพระราม 9 คาเฟ่, คดีจับ "หญิงไก่" แอบอ้างเบื้องสูง, คดีฆ่าโบกปูนชาวอิสราเอลซุกไว้บ้านพักบางบัวทอง เป็นต้น

อีกผลงานเด่น คือ การตั้งทีม "หนุมานกองปราบ" เมื่อ พ.ย. 2562 หลังจากที่ จิรภพ รับตำแหน่งผู้บังคับการกองปราบปราม มีประสงค์ให้กองปราบปรามมีชุดปฏิบัติการของหน่วยตัวเอง เพื่อจะได้เรียกใช้สำหรับภารกิจต่าง ๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ หน่วยคอมมานโด ซึ่งเคยสังกัดกองปราบปราม ได้แยกตัวไปอยู่ในสังกัดกองบังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904

การเติบโตของ จิรภพ ในช่วงต้น เริ่มมาตามปกติ แม้จะเร็วกว่าเพื่อนหลายคน แต่ก็ไม่ได้เร็วกว่าคนอื่นๆ เพราะเขาใช้เวลา 8 ปี ก่อนจะได้เป็นสารวัตร ขณะที่ สำราญ และเพื่อนบางคน ใช้เวลา 7 ปี และจะเห็นได้ว่าจังหวะและก้าวย่างช่วงเริ่มต้น จิรภพ ช้ากว่า สำราญ 1 ขั้น เป็นรองสารวัตรปี 2540 ปี 2548 ก้าวเป็นสารวัตร ปี 2553 เป็นรองผู้กำกับการ หลังสำราญ 2 ปี

จิรภพ มาไล่ทัน สำราญ เมื่อเป็นผู้กำกับการ พร้อมกัน ในปี 2555 ซึ่ง จิรภพ เริ่มเร่งตัวขึ้นมา แม้ครองตำแหน่งรองผู้กำกับการไม่ครบหลักเกณฑ์ แต่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ จนเติบโตในกองปราบปราม มาตั้งแต่เป็นรองสารวัตร จนก้าวมาถึงผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

พล.ต.อ จ กรท พย ช ยจ นดา สม ยหน ม

ใครบ้าง จะเป็น ผบ. ตร. ในช่วง 10 ปี จากนี้

30 ก.ย. 2565 พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ. ตร. คนปัจจุบัน จะเกษียณอายุราชการ ผู้สืบทอดจากเขาจะเป็นการชิงตำแหน่งของ 3 ผู้แข่งขัน คือ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ (นรต.38) พล.ต.อ.วิสนุ ปราสาททองโอสถ (ผู้ไม่ได้จบจาก ร.ร. นายร้อยตำรวจสามพราน) และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ (นรต.40) ที่ได้รับการผลักดันขึ้นเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในครั้งนี้ แต่เก้าอี้ ผบ.ตร. ปีหน้า ยังมีเงื่อนไขของ พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผช.ผบ.ตร. ที่ว่ากันว่าถูกวางไว้เป็น ผบ.ตร. ในอนาคตด้วย

แต่ด้วยความที่ พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ จะเกษียณในปี 2567 พร้อม พล.ต.อ.รอย ทำให้คาดการณ์ว่าปี 2565 พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ จะถูกดันข้ามอาวุโส ขึ้นเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อไปชิงเก้าอี้ ผบ.ตร.ในปี 2566 เพื่อครองตำแหน่ง 1 ปีก่อนเกษียณอายุราชการ สูตรนี้มีความเป็นได้สูงยิ่ง แม้เจ้าตัวจะเคยออกตัวไว้หลายครั้งว่าไม่ต้องการเดินไปสู่จุดนั้น

แต่เส้นทางและการเติบโตแบบก้าวกระโดดในช่วงสุดท้ายของชีวิตราชการ ทำให้เขาถูกจับตามองเป็นพิเศษ

พล.ต.อ จ กรท พย ช ยจ นดา สม ยหน ม

ที่มาของภาพ, กองสารนิเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

คำบรรยายภาพ,

พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. รับมอบที่ดินราชพัสดุ (บางปิ้ง สมุทรปราการ) จากนายยุทธนา หยิมการุณ อธิบดีกรมธนารักษ์

หากหมากเกมถูกวางไว้เช่นนี้ เก้าอี้ ผบ.ตร. ต่อจาก พล.ต.อ.สุวัฒน์ อาจจะเหลือแค่ 2 คน คือ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ และ พล.ต.อ.วิสนุ เพราะต่างเกษียณในปี 2566 พร้อมกัน เพื่อเปิดทางโล่งให้ พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ไว้ล่วงหน้า ซึ่งเท่ากับปิดโอกาสของ พล.ต.อ.รอย ไปในทันที เพราะเขาจะไปเกษียณพร้อม พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ในปี 2567แม้จะครองอาวุโสกว่า พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ ก็ตาม แต่ พล.ต.อ.รอย ก็มีแรงสนับสนุนส่วนตัวไม่น้อยเหมือนกัน ทำให้การต่อสู้ชิงเก้าอี้ ผบ.ตร. ปีหน้าน่าจับตาอย่างยิ่ง

ผ่านศึกปี 2565-2567 ไปแล้ว คู่ชิง ผบ.ตร.ก็น่าเข้าสู่เส้นทางของ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ. ตร. ที่เชื่อว่าเวลานั้น น่าจะเป็นคู่ชิงตำแหน่ง ผบ.ตร.ไปแล้ว แม้ 2567 อาจจะต้องหลีกทางให้รุ่นพี่หลายคนที่มีจังหวะชิงเก้าอี้กันหลายคน เช่น พล.ต.ท.ไกรบุญ ทรวดทรง (นรต.39) พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ( นรต.39) และ พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ (นรต.41) ที่จะเกษียณปี 2568 พล.ต.ท.ธนา ชูวงษ์ (นรต.42) พล.ต.ท.กิตติ์รัฐ พันธ์เพ็ชร์ ( นรต.41) ที่จะไปเกษียณปี 2569

พล.ต.อ จ กรท พย ช ยจ นดา สม ยหน ม

ที่มาของภาพ, กองบังคับการกองปราบปราม

ช่วง 2 ปี นี้ไม่ใช่สงครามของ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หากแต่ปีที่ทรงความหมายยิ่งคือปี 2569 หากไม่มีอะไรสะดุดหรือที่เรียกกันติดปากในวงการสีกากีว่า "รถทัวร์คว่ำ" พล.ต.ท.สุรเชษฐ์จะกลายเป็นอาวุโสอันดับ 1 ที่อาจได้ครองเก้าอี้ ผบ.ตร.ยาวนาน 5 ปี เพราะคู่ต่อสู้อื่น ที่เป็นรุ่นพี่หลายคนที่มีโอกาสถึง พล.ต.อ.ขณะนี้ยังเป็นผู้บัญชาการเท่านั้น ทั้ง พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง (นรต.41) ก็เกษียณเร็วกว่านั้นอีกคือ 2569 พล.ต.ท.อัคราเดช พิมลศรี ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 (นรต.41) ที่เพิ่งขึ้นโผนี้ ก็เกษียณปี 2569 เช่นเดียวกัน

ส่วนกลุ่มที่ขึ้นหลังหรืออาวุโสระดับ รอง ผบ.ตร. ในอนาคตจะน้อยกว่า พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ แต่เป็นนักเรียนรุ่น กลุ่มนี้มีโอกาสเบียดแซงได้ แต่ก็ไม่ได้ทำให้โอกาสเป็น ผบ.ตร. ของ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์หายไป เพราะทั้ง พล.ต.ท.นิรันดร เหลื่อมศรี ผู้บัญชาการศึกษา นรต.43 และ พล.ต.ท.ณพวัฒน์ อารยางกูร จเรตำรวจ (นรต.42) จะไปเกษียณพร้อมกันในปี 2571 ขณะที่ดาวรุ่งอีก 2 คน คือ พล.ต.ท.ธนพล ศรีโสภา (นรต.45) ที่เที่ยวนี้ถูกขยับจากผู้บัญชาการสันติบาลไปเป็นจเรตำรวจ และ พล.ต.ท.อิทธิพล อัจฉริยะประดิษฐ์ (นรต.43) นักสืบมือดีที่ยังไม่ได้รับโอกาสแสดงฝีไม้ลายมือในระดับกองบัญชาการ เพราะยังเป็นจเรตำรวจติดต่อกันเป็นปีที่ 2 จะไปเกษียณพร้อมกันปี 2572

ถึงตอนนั้น เส้นทางของ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ก็โล่งโปร่งระหว่างปี 2572-2574

พล.ต.อ จ กรท พย ช ยจ นดา สม ยหน ม

จิรภพ มีเวลาอยู่ในราชการมากกว่าสำราญ 3 ปี โดย สำราญจะเกษียณปี 2576 ส่วน จิรภพ แม้เกิดหลังสำราญ 2 ปี คือ 2 ธ.ค. 2518 แต่ได้อานิสงส์เกิดหลัง 1 ต.ค. ตามปีงบประมาณแผ่นดิน กฎหมายให้ไปเกษียณในปีถัดไป ทำให้จิรภพ ไปเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 ก.ย. 2579

หากไม่เกิด "อุบัติเหตุใด ๆ" ผู้สื่อข่าวสายตำรวจส่วนใหญ่มองว่า ทั้งสองคนมีโอกาสไปถึงฝั่งฝันในตำแหน่งสูงสุดของตำรวจได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า ด้วยสูตร สำราญ 2574-2576 และ จิรภพ 2576-2579