ม.เอเช ยก บ ม.กร งเทพธนบ ร พ นท ป

ทั้งนี้ มีโรงพยาบาลในกลุ่มที่ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางบก ทางน้ำและทางอากาศ จาก CAMTS จำนวน 13 แห่ง คือ 1.โรงพยาบาลกรุงเทพ 2.โรงพยาบาลสมิติเวชสุขุมวิท 3.โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ 4.โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ 5.โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา 6.โรงพยาบาลกรุงเทพอุดร 7.โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต 8.โรงพยาบาลสิริโรจน์ อินเตอร์ 9.โรงพยาบาลกรุงเทพสมุย 10.โรงพยาบาลกรุงเทพสนามจันทร์ 11.โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา 12.โรงพยาบาลพญาไท 2 และ 13.โรงพยาบาลพญาไท 3

  • โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เปิดคลินิกป้องกันโรคหัวใจและลดไขมัน (Preventive Heart and Lipid Clinic) เพื่อค้นหาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและป้องกันก่อนที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันในอนาคต โดยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันให้น้อยที่สุด รวมไปถึงการให้ข้อมูลความรู้แบบองค์รวมในการดูแลและป้องกันก่อนที่จะเกิดโรคหัวใจ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาคุณภาพการบริการและการวินิจฉัยให้ได้มาตรฐานวิชาชีพระดับนานาชาติ และเพื่อเก็บข้อมูลวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในอนาคต โดยจุดเด่นของคลินิกนี้ คือ
  • One-stop service for heart check-up and preventive program ให้การค้นหาโรคหัวใจตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม และให้การป้องกันโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการเกิดตะกรัน (Plaque) ที่เกาะผนังหลอดเลือดหัวใจหรือเส้นเลือดตามร่างกาย
  • Personalized Medicine เป็นจุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพหัวใจยุคใหม่ ที่ทุกคนจะมีแนวทางปฏิบัติเป็นของตัวเองการเลือกยาที่ตรงกับพันธุกรรมของตนเอง การเลือกชนิดอาหารที่เหมาะสมกับตนเอง รวมไปถึง โปรแกรมการออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่แตกต่างตามสาเหตุและความเสี่ยงของตนเอง
  • Registry and monitoring ข้อมูลสุขภาพ ผลการตรวจเลือด พยาธิสภาพหลอดเลือดของผู้ป่วย จะถูกเก็บเข้าเป็นระบบในฐานข้อมูลคลินิกป้องกันโรคหัวใจและลดไขมัน พร้อมทั้งมีการเตือนถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและเฝ้าติดตามรอยโรคเป็นระยะๆ
  • โรงพยาบาลกรุงเทพได้นำเทคนิคการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปากโดยไร้แผล (Scarless Thyroidectomy) มาใช้ในการรักษาผู้ป่วย โดยข้อดีของการผ่าตัดวิธีนี้ คือไม่มีแผลเป็นที่คอและซ่อนแผลไว้ในปาก สามารถมองเห็นเส้นเสียงด้วยขนาดที่ขยายจากกล้อง ทำให้เห็นได้ชัดเจนมากขึ้นและลดโอกาสการบาดเจ็บต่อเส้นเสียง ภาวะแทรกซ้อนน้อย แผลหายเร็ว เสียเลือดน้อย เจ็บน้อย ใช้เวลาในการผ่าตัดไม่นาน
  • BDMS และโรงพยาบาลในเครือจัดงานประชุมวิชาการ “BDMS ACADEMIC ANNUAL MEETING 2018” เมื่อวันที่ 14-17 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ภายใต้แนวคิด “Excellent Healthcare Network : Medical Advances Meet Compassion” โดยเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสหสาขาจากโรงพยาบาลชั้นนำของโลก มาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ให้แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักกายภาพบำบัด และบุคคลากรทางการแพทย์กว่า 1,500 คนที่เข้าร่วมงาน

รางวัล

  • บริษัทได้รับรางวัล "Thailand's Top Corporate Brand Values 2018" หมวดธุรกิจการแพทย์ เป็นปีที่ 4 ติดต่อกันด้วยมูลค่าแบรนด์องค์กร 271,065 ล้านบาท จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมอบรางวัลดังกล่าวให้แก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดในทุกหมวดธุรกิจของอุตสาหกรรมในประเทศไทย ประจำปี 2561
  • บริษัทได้รับรางวัลกิจการดีเด่นของไทยในระดับเอเชียด้านธุรกิจการแพทย์ “Most Outstanding Company in Thailand - Healthcare Sector” ในงาน Asia’s Outstanding Companies Poll 2018 ซึ่งจัดขึ้นโดยนิตยสาร Asiamoney ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อมอบรางวัลให้แก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีผลงานทางการเงินดีเด่นมีคณะผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม ตลอดจนมีกิจกรรมด้านนักลงทุนสัมพันธ์ที่ดี
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้รับรางวัล Global Health and Travel Awards 2018 จากงานประชุมด้านการดูแลสุขภาพและการท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิก 2018 (The Asia Pacific Healthcare and Medical Tourism Summit 2018) ซึ่งจัดขึ้น ณ ประเทศเวียดนามรวมทั้งสิ้น 5 รางวัลได้แก่ 1. Hospital of The Year in Thailand เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน 2. Hospital of the Year in Asia Pacific 3. Orthopaedic Service Provider of the Year in Asia Pacific 4. Transplant Service Provider of the Year in Asia Pacific และ 5. Neurology Service Provider of the Year in Asia Pacific
  • บริษัทได้รับรางวัล The Best Managed Healthcare Company in Asia ในงาน Asia’s Best Companies 2018 ซึ่งจัดขึ้นโดยนิตยสาร FinanceAsia เพื่อมอบรางวัลให้แก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีผลงานทางการเงินดีเด่น มีคณะผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม ตลอดจนมีกิจกรรมด้านนักลงทุนสัมพันธ์และด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • บริษัทได้รับรางวัลองค์กรนวัตกรรมยอดเยี่ยมประจำปี 2561 (Top Innovative Organization Award) ในงานสัปดาห์นวัตกรรมไทย 2561 โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดขึ้นเพื่อมอบรางวัลให้แก่องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ งานวิจัย และการสร้างนวัตกรรม
  • บริษัทได้รับรางวัลบริษัทจดทะเบียนด้านนักลงทุนสัมพันธ์ดีเด่น (Outstanding Investor Relations Awards) ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงกว่า 100,000 ล้านบาท จากโครงการ SET Awards 2018 โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • โบริษัทได้รับ 5 รางวัลยอดเยี่ยมด้านนักลงทุนสัมพันธ์ จากงาน IR Magazine Forum & Awards - South East Asia 2018 ซึ่งจัดขึ้นโดยนิตยสาร IR Magazine ที่ประเทศสิงคโปร์เพื่อมอบรางวัลให้แก่บริษัทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความโดดเด่นด้านนักลงทุนสัมพันธ์ 1. Best Overall IR (large capitalization) 2. Best IR Officer (large capitalization) 3. Best in Country - Thailand 4. Best in Sector - Healthcare 5. Best Corporate Governance & Disclosure

ความร่วมมือทางการแพทย์

  1. Oregon Health & Science University (OHSU) บริษัทร่วมกับ Oregon Health & Science University (OHSU) เปิดตัว BDMS-OHSU International Health Alliance เพื่อมุ่งสู่ความเป็นศูนย์กลางระดับนานาชาติและพัฒนายกระดับเป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการแพทย์ในทุกๆ ด้าน เช่น ด้านอาชีวอนามัย (Occupational Health) กุมารเวชศาสตร์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู Clinical Simulation และ Preventive Cardiology ในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  2. Sano Hospital บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ได้ลงนามร่วมกับ Sano Hospital ประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมมือในด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับโรคระบบทางเดินอาหาร โดยมี ความร่วมมือด้านนวัตกรรมการส่องกล้อง ระบบทางเดินอาหารและมะเร็งกระเพาะอาหาร เพื่อยกระดับทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องรวมถึงการจัดตั้งระบบส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสองโรงพยาบาลตามความเหมาะสมของโรค
  3. MD Anderson บริษัทร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในการเป็น “สถาบันพี่สถาบันน้อง” (Sister Institution) กับศูนย์มะเร็ง เอ็มดี แอนเดอร์สัน แห่งมหาวิทยาลัยเทกซัส สหรัฐอเมริกา (University of Texas MD Anderson Cancer Center) ภายใต้ Global Academic Programs ของ MDACC เป็นความร่วมมือระหว่างสามสถาบันโดยองค์กรแพทย์ภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา เพื่อส่งเสริมงานวิจัยทั้งที่เป็นงานวิจัยพื้นฐานและการพัฒนา วิธีการรักษาใหม่ๆ ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพรวมถึงแลกเปลี่ยนเรียนรู้กรณีศึกษาระหว่างภูมิภาคเพื่อการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง รวมถึงการรักษาให้หายหรือมีชีวิตอย่างมีคุณภาพและมีความสุข
  4. Stanford University ศูนย์กระดูกและข้อกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ และแผนกศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ลงนามความร่วมมือในโครงการแลกเปลี่ยนความรู้ และทักษะทางการแพทย์ด้านออร์โธปิดิกส์ เพื่อมุ่งเน้นความเป็นเลิศในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทางกระดูกและข้อ โดยมุ่งพัฒนาความรู้ผ่านการศึกษาวิจัยตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาดังกล่าว การลงนามครั้งนี้ จะนำมาซึ่งความร่วมมือในการศึกษา การวิจัย และการประชุมสัมมนาทางการแพทย์เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์
  5. ความร่วมมือกับศัลยแพทย์ด้านสมองระดับแถวหน้าของโลก บริษัทได้ร่วมมือกับนายแพทย์คีธ แอล แบล็ค ผู้อำนวยการสถาบันศัลยกรรมระบบประสาท แมกซีน ดันนิทซ์, ซีดาร์-ไซไนน์ เมดิคัล เซ็นเตอร์ (Maxine Dunitz Neurosurgical Institute at Cedars - Sinai in USA) ในการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถการรักษาโรคทางสมองและระบบประสาท ทำให้บริษัทก้าวสู่การเป็นสถาบันการรักษาด้านสมองและระบบประสาท (ประสาทวิทยาศาสตร์) ที่ทันสมัยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  6. Heavy Ion Therapy (อนุภาคบำบัด) โรงพยาบาลวัฒโนสถ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยที่เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคมะเร็งแบบครบวงจร ได้ต่อสัญญาบันทึกความเข้าใจเรื่อง การฉายรังสีด้วยไอออนหนัก (Heavy Ion Therapy) กับ กลุ่มบริษัท Chrismon จากประเทศญี่ปุ่น การฉายรังสีด้วยไอออนหนัก (Heavy Ion Therapy) เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถเป็นการรักษาเด่นที่ชูศักยภาพของการเป็นศูนย์กลางของการรักษาโรคมะเร็งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยประสิทธิภาพในการรักษาที่ใช้ระยะเวลาที่สั้นลงและผลข้างเคียงน้อย การฉายรังสีด้วยไอออนหนักสามารถทำให้มีผลการรักษามีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น สำหรับผู้ป่วยรายที่ไม่เหมาะกับการฉายรังสีทั่วไป หรือสำหรับผู้ป่วยที่รักษาด้วยการฉายรังสีแบบเดิมแล้วไม่ได้ผล และจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่เหมาะกับการผ่าตัด ประโยชน์ของการรักษาด้วยการฉายรังสีด้วยไอออนหนัก คือ มีความแม่นยำสูง สามารถทำลายเซลล์มะเร็งในเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกด้วยปริมาณรังสีที่เหมาะสม เนื่องจากลำแสงของรังสีจะช่วยลดพลังงานส่วนใหญ่ในตำแหน่งที่ต้องการรักษา เพื่อให้ปริมาณไอออนไหลผ่านเข้าไปในร่างกายแล้วมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  7. Nagoya University

    บริษัทลงนามในความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Nagoya ประเทศญี่ปุ่น ในประเด็นสำคัญ 2 เรื่องคือ

    1. ความร่วมมือทางการศึกษา โดยมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางการแพทย์ระหว่าง 2 สถาบัน ในการฝึกอบรมทุกๆ แขนงทางการแพทย์
    2. การแนะนำและส่งต่อผู้ป่วยระหว่างมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาล ในกรณีที่ผู้ป่วยจะมีการเดินทางมาประเทศไทย (และประเทศเพื่อนบ้าน) หรือ เดินทางไป Nagoya (และสถานที่ใกล้เคียง) จึงถือว่าเป็นโอกาสอันดีในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ของไทย เพื่อการให้บริการที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลยิ่งขึ้น โดยมีตัวแทนจากสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยร่วมเป็นสักขีพยานความร่วมมือในครั้งนี้
  8. ความร่วมมือกับบริษัท Straumann ศูนย์ทันตกรรมโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้ร่วมมือกับบริษัท สตรอแมนน์ (Straumann) ผู้เชี่ยวชาญด้านรากฟันเทียมระดับโลก พัฒนาศักยภาพในการฝึกอบรมทันตแพทย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาฟันด้วยรากเทียมเพื่อการบดเคี้ยวได้ดีขึ้น ช่วยรองรับการดูแลปัญหาสุขภาพในช่องปาก โดยได้รับการแต่งตั้งเป็น Straumann Partner Center Thailand
  9. Doernbecher Children’s Hospital บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ได้เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรร่วมกับ โรงพยาบาลเด็กที่มีชื่อเสียง “Doernbecher Children’s Hospital” รัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รางวัลชนะเลิศ ในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลเด็ก ประจำปี 2557 จาก University Health System Consortium of Hospitals for Pediatric Quality และได้เปิดตัว “โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช” ทั้งแคมปัส สุขุมวิทและศรีนครินทร์เข้าด้วยกัน และพัฒนาให้เป็น Excellent Center โดย โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนนโยบายและทิศทางของประเทศไทยที่จะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของเอเชีย (Medical Hub) ต่อไป
  10. สถาบันออร์โธปิดิกส์รัฐมิสซูรี่ มหาวิทยาลัยมิสซูรี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัทและสถาบันออร์โธปิดิกส์ รัฐมิสซูรี่ (Missouri Orthopaedic Institute) ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการในการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะทางการแพทย์ด้านออร์โธปิดิกส์ด้วยการจัดกิจกรรมวิชาการต่างๆ เช่น การประชุมสัมมนาทางการแพทย์ เพื่อมุ่งพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อส่งเสริมงานด้านการศึกษาและวิจัยด้านออร์โธปิดิกส์และความร่วมมือทางการแพทย์อื่นๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านกระดูกและข้อในโรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  11. โรงเรียนแพทย์ฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี บริษัทและภาควิชาออร์โธปิดิกส์และศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ โรงเรียนแพทย์ฮันโนเวอร์ (Hannover Medical School) ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการในการแลกเปลี่ยนความรู้ และทักษะทางการแพทย์ด้านออร์โธปิดิกส์และศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ ด้วยการจัดกิจกรรม วิชาการต่างๆ เช่น การประชุมสัมมนาทางการแพทย์ รวมทั้งการส่งบุคลากรทั้งแพทย์และพยาบาลเข้ารับการฝึกอบรมทั้งระยะสั้น และระยะยาว ณ โรงเรียนแพทย์ฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี เพื่อมุ่งพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อส่งเสริมงานด้านการศึกษาและวิจัยด้านออร์โธปิดิกส์และศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านนี้ในโรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  12. โรงพยาบาลทากัตสึกิ ประเทศญี่ปุ่น โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชในเครือบริษัท กับโรงพยาบาลทากัตสึกิ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมลงนามในสัญญาเป็นพันธมิตร นำความเชี่ยวชาญการดูแลรักษาด้านกุมารเวชและห้องอภิบาลทารกแรกเกิด (NICU) ร่วมกันพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อต่อยอดศักยภาพความสามารถของสมิติเวช ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็ก พร้อมบริการอย่างครบวงจรตามมาตรฐานสากล
  13. บริษัท เอ็น เฮลท์ พยาธิวิทยา จำกัด ร่วมกับราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย บริษัท เอ็น เฮลท์ พยาธิวิทยา จำกัด ร่วมกับราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการ Inter-hospital Renal Clinicopathological Conference ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา เปิดโอกาสให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไตและพยาธิแพทย์ และแพทย์ประจำบ้านกว่า 50 ท่าน จากโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลต่างๆ ในประเทศไทย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัยอาการ และเป็นแนวทางในการรักษาต่อไป โดยกำหนดให้มีการประชุมวิชาการโรคไตปีละ 3 ครั้ง

การขยายโรงพยาบาลเครือข่าย และธุรกิจที่ให้การสนับสนุนด้านการแพทย์

  • บริษัท เปาโล เมดิค จำกัด บริษัทย่อยที่BDMS ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ดำเนินกิจการโรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน และโรง พยาบาลเปาโล รังสิต ได้ทำการเข้าซื้อและรับโอนกิจการทั้งหมด (Entire Business Transfer) ของโรงพยาบาลเมโย (บริษัทเมโยโพลีคลีนิค จำกัด) แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2560 โดยชำระราคารับโอนกิจการทั้งหมดเป็นเงินสดทั้งจำนวนตามเงื่อนไขในสัญญาโอนกิจการที่เกี่ยวข้องทั้งนี้ บริษัท เปาโลเมดิค จำกัด ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 600 ล้านบาท เป็น 1,000ล้านบาท เพื่อชำระราคาค่าโอนกิจการดังกล่าว พร้อมทั้งได้เปลี่ยนชื่อกิจการ จาก โรงพยาบาลเมโย เป็น “โรงพยาบาลเปาโลเกษตร” นับเป็นโรงพยาบาลแห่งที่ 44 ของเครือ BDMS โรงพยาบาลเปาโลเกษตร เป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิขนาด 162 เตียง ซึ่งมีศักยภาพในการเติบโตสูง และตั้งอยู่ในทำเลที่ดีใกล้แนวรถไฟฟ้า สามารถเป็น Referral Network Hospital ให้กับโรงพยาบาลในเครือ และได้เข้าร่วมเป็นโรงพยาบาลประ กันสังคมในปี 2561
  • บริษัทโรงพยาบาลกรุงเทพสุราษฎร์ จำกัดซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นร้อยละ100 ได้เปิดให้บริการโรงพยาบาลกรุงเทพุราษฎร์ ที่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560 นับเป็นโรงพยาบาลแห่งที่ 45 ของ เครือ BDMS โรงพยาบาลกรุงเทพสุราษฎร์เป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิขนาด 150 เตียงโดยเปิดให้บริการในช่วงแรก จำนวน 31 เตียง
  • โรงพยาบาลกรุงเทพไชน่าทาวน์ ซึ่งตั้งอยู่บนถนนเยาวราช ได้เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ โดยเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลภายใต้การบริหารงานของกลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช เพื่อให้ บริการด้านการรักษาทางการแพทย์ที่ครบครัน รวมถึงการให้คำปรึกษา การวินิจฉัยโรคและการรักษา มีความพร้อมด้านการผ่าตัดโดยทีมศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์ตลอดรวมถึงทีมแพทย์ที่ให้บริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและโรคกระดูก เพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างเป็นระบบโดยทีมสหสาขาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
  • บริษัทจัดตั้ง BDMS Alarm Center โดยเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายโรงพยาบาลBDMS เพื่อให้บริการผู้ป่วยวิกฤตและฉุกเฉินอย่างครบวงจรตามมาตรฐานสากลพร้อมการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน โดยมีแพทย์ฉุกเฉินพยาบาลอาวุโสประจำคลินิก รวมถึงเครือข่ายด้านยานพาหนะที่ใช้ในการแพทย์ เพื่อให้การเข้าถึงและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเป็นไปอย่างรวดเร็วและด้วยวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลพร้อมให้บริการผู้ป่วยนานาชาติจากทั่วทุกมุมโลก

ด้านการแพทย์และรักษาพยาบาล

  • โรงพยาบาลวัฒโนสถ ได้นำวิวัฒนาการการฉายแสงที่มีความแม่นยำ (Precision Radiation Therapy) มาใช้กับการรักษาทางด้านรังสี ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวได้แก่ เครื่องฉายรังสี EDGE ที่มีความแม่นยำ รวดเร็ว ปลอดภัย ถูกต้องเฉพาะมะเร็งแต่ละชนิดเป็นมิติใหม่ทางการฉายแสงที่เรียกว่ารังสีศัลยกรรม หรือรังสีร่วมพิกัด (Radiosurgery) ซึ่งเป็นการฉายรังสีพลังงานสูงในเวลาอันสั้นเป็นทางเลือกแทนการผ่าตัดนอกจากนี้เครื่องฉายรังสี EDGE ยังมีประ สิทธิภาพในการควบคุมขอบเขตลำรังสีที่สอดรับกับรูปร่างหรือรูปทรงของก้อนมะเร็งทำให้อวัยวะข้างเคียงได้รับผลข้างเคียงน้อยจากปริมาณรังสี และยังสามารถให้รังสีในปริมาณสูงทำให้การฉายแสงแต่ละครั้งใช้ระยะเวลาน้อยลง เป็นการเพิ่มคุณ ภาพชีวิตผู้ป่วยดียิ่งขึ้น
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดตัวหน่วยการเคลื่อนไหวระบบทางเดินอาหาร (GI Motility Unit) พร้อมเทคโนโลยีช่วยตรวจรักษาโรคท้องผูกและกรดไหลย้อน เป็นคลินิกเฉพาะทางซึ่งให้บริการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวของ ระบบทางเดินอาหาร โดยใช้เทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัยและการรักษารูปแบบใหม่ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์เฉพาะทางและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ด้วยมาตรฐานการให้การดูแลรักษาในระดับสากล
  • ศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดเทคนิค Computer Guided ImplantSurgery กระบวนการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวางแผนและกำหนดตำแหน่งรากฟันเทียมในการรักษา โดยเทคโนโลยีทางภาพถ่ายรังสีแบบสามมิติ (Conebeam CT) และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยสามารถกำหนดตำแหน่งรากเทียมได้อย่างเหมาะสม ช่วยลดระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดสามารถฝังรากเทียมได้อย่างแม่นยำ และตรงจุด เพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนการรักษา และมีผลดีกับผู้ป่วย
  • ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่ากรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดเทคนิคผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแบบไม่ตัดกล้ามเนื้อด้วยเทคนิคซ่อนแผลผ่าตัด Bikini Incision ซึ่งทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว เจ็บปวดน้อยลงเคลื่อนไหวสะดวก ลดอัตราการเกิดข้อสะโพกหลุดหลังการผ่าตัด และคลายกังวล เรื่องแผลเป็นหลังการผ่าตัด
  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการ ประจำปี 2560 “BDMS ACADEMIC ANNUAL MEETING 2017” ของ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และโรงพยาบาลในเครือ ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ภายใต้แนวคิด “Global Partnership for Ex cellent Healthcare towards Thailand 4.0” เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของวงการแพทย์ไทยพร้อมร่วมเดินหน้าสู่ Thailand 4.0 พัฒนาประเทศด้วยการเพิ่มมูลค่าทางนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีทาง การแพทย์ที่ทันสมัยมีการเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลต่างประเทศชั้นนำในแต่ละด้าน เน้นการบริการที่ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ (Thailand Medical Hub) โดยในการประชุม แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อสร้างความร่วมมือใน การยกระดับมาตรฐานการวิจัย คุณภาพการรักษาพยาบาล การให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ดีขึ้นสู่ระดับสากล
  • ศูนย์โรคระบบทางเดินปัสสาวะกรุงเทพโรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดตัวเทคโนโลยีการผ่าตัดต่อมลูกหมากด้วยการส่องกล้องผ่านทางเดินปัสสาวะ เพื่อขูดต่อมลูกหมากและจี้ด้วยระบบไฟฟ้าและเลเซอร์
  • ศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดบริการลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคอ้วนและมีโรคแทรกซ้อน ด้วยวิธีผ่าตัดส่องกล้องแบบ Minimally Invasive Surgery (MIS) โดยการผ่าตัดส่องกล้องลดขนาด กระเพาะอาหาร เพื่อลดขนาดและลดการดูดซึมของกระเพาะอาหาร เป็นการผ่าตัดที่มีแผลขนาดเล็กฟื้นตัวเร็ว อีกทั้งยังช่วยลดอัตราการใช้ยาในการรักษาโรคหัวใจและเบาหวานในคนอ้วน โดยลดโอกาสการ เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
  • บริษัทได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือกับ4 ภาคี ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย วิริยะประกันภัย และแองเจิ้ลไลฟ์ในโครงการ "Tourism HealthcareEmergency System" เพื่อยกระดับความ ปลอดภัยนักท่องเที่ยวจีนในด้านการช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินแบบครบวงจรโดยได้เตรียมความพร้อมทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในเครือ และประสานเครือข่ายโรงพยาบาลพันธมิตรกว่า 45 แห่งเพื่อช่วยเติมเต็มโครงการ ตั้งแต่การให้คำ ปรึกษา แนะนำวิธีรักษาพยาบาลเบื้องต้นผ่านแอพพลิเคชั่นแองเจิ้ลการ์ด จนถึงบริการช่วยเหลือฉุกเฉินกรณีอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านศูนย์ BDMS Alarm Center รวมถึงบริการยานพาหนะ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่รวดเร็ว ทั้งทางบก เรือ และอากาศ
  • บริษัทได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง ร่วมกับ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ โดยมุ่งพัฒนาด้านงานวิชาการงานวิจัยและพัฒนา การฝึกอบรมทางการ แพทย์แก่บุคลากร เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนคนไทยและในกลุ่มประเทศอาเซียน ตลอดจนเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการให้บริการทางการแพทย์สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลตามระเบียบของราชการหรือตามสิทธิการรักษาของ ผู้ป่วยได้มากยิ่งขึ้น

รางวัล

  • บริษัทได้รับรางวัล "Thailand's Top Corporate Brand Values 2017" หมวดธุรกิจการแพทย์ เป็นปีที่ 3 ติดต่อกันด้วยมูลค่าแบรนด์องค์กร 255,714 ล้านบาทจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดพิธีมอบ รางวัลดังกล่าวให้แก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดในทุกหมวดธุรกิจของอุตสาหกรรมในประเทศไทย ประจำปี 2560 ในโอกาสนี้ แพทย์หญิงปรมาภรณ์ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่ม 1 เป็นผู้เข้ารับรางวัลจาก ศ.ดร.บัณฑิตเอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้รับ 3 รางวัลจากโครงการ Thailand ICT Excellence Awards 2017 โดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ได้แก่ - รางวัลระดับ Excellence สาขาโครงการนวัตกรรม (Innovation Project) สำหรับระบบ Health Passport - รางวัลระดับ Distinguished สาขาโครงการเพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน (Business Sustainability Project) สำหรับระบบเชื่อม โยงข้อมูลผู้ป่วยข้ามโรงพยาบาล (BeXchange)
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้รับรางวัล Best Medical Performance Award (การให้บริการทางการแพทย์ยอดเยี่ยม) กลุ่ม A จากงาน Allianz Ayudhya Hospital Service Awards 2017 เป็นรางวัลเกียรติยศด้านการบริการซึ่งมอบให้กับโรงพยาบาลที่มีผลรวมคะแนนการตรวจรักษา และความมีเหตุผลในการให้บริการทางการแพทย์สูงสุด
  • บริษัทได้รับรางวัลยอดเยี่ยมด้านนักลงทุนสัมพันธ์ Best in Sector : Healthcareจากงาน IR Magazine Awards–South East Asia 2017 จัดขึ้นโดยวารสาร IR Magazine ณ ประเทศสิงคโปร์ เป็นรางวัลที่มอบให้แก่บริษัทจดทะเบียน ที่มีความ โดดเด่นด้านนักลงทุนสัมพันธ์ จนเป็นที่ยอมรับจากนักลงทุนสถาบันในระดับภูมิภาคอาเซียน
  • โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ได้รับรางวัลระดับ Distinguished สาขาโครงการนวัตกรรม (Innovation Project) สำหรับระบบ SAMITIVEJ Utilization Management จากโครงการ Thailand ICT Excellence Awards 2017 โดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA)
  • โรงพยาบาลสมิตเวช สุขุมวิท ได้รับรางวัล Best Medical Performance Award (การให้บริการทางการแพทย์ยอดเยี่ยม) กลุ่ม B จากงาน Allianz Ayudhya Hospital Service Awards 2017
  • โรงพยาบาลเปาโล เกษตร ได้รับรางวัล Excellent Check Up Award (การให้บริการตรวจสุขภาพยอดเยี่ยม) กลุ่ม B จากงาน Allianz Ayudhya Hospital Service Awards 2017
  • ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือบริษัท ได้รางวัลชนะเลิศ The Winner of the Prestige ประเภท Service and Solution สำหรับผลงานโครงการเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่ ในงาน International Innovation Awards 2017 (IIA 2017)

ความร่วมมือทางการแพทย์

  1. Sano Hospital บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ได้ลงนามร่วม กับ Sano Hospital ประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมมือในด้านการศึกษาวิจัย และพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับโรคระบบทางเดินอาหาร รวมถึง การจัดตั้งระบบส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสองโรงพยาบาลตามความเหมาะสม ของโรค
  2. MD Anderson บริษัท ร่วมมือกับคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย มหิดล ในการเป็น "สถาบันพี่สถาบันน้อง” (Sister Institution) กับศูนย์มะเร็ง เอ็มดี แอนเดอร์สัน แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐ อเมริกา (University of Texas MD Anderson Cancer Center) ภายใต้ GAP ของ MDACC นับเป็นครั้งแรกของความร่วมมือระหว่าง สามสถาบันโดยองค์กรแพทย์ภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศไทย กับสหรัฐอเมริกา เพื่อส่งเสริมงานวิจัยทั้งที่เป็นงานวิจัยพื้นฐานและ การพัฒนา วิธีการรักษาใหม่ๆ ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รวมถึง แลกเปลี่ยนเรียนรู้กรณีศึกษาระหว่างภูมิภาค เพื่อการป้องกันการ เกิดโรคมะเร็ง รวมถึงการรักษาให้หายหรือมีชีวิตอย่างมีคุณภาพ และมีความสุข
  3. Stanford University ศูนย์กระดูกและข้อกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงาน ใหญ่ และแผนกศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ลงนามความร่วมมือในโครงการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะ ทางการแพทย์ด้านออร์โธปิดิกส์ เพื่อมุ่งเน้นความเป็นเลิศในการดูแล รักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทางกระดูกและข้อ โดยมุ่งพัฒนาความรู้ผ่าน การศึกษาวิจัยตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มี ปัญหาดังกล่าว การลงนามครั้งนี้ จะนำมาซึ่งความร่วมมือในการ ศึกษา การวิจัย และการประชุมสัมมนาทางการแพทย์เพื่อพัฒนา ศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์
  4. Oregon Health & Science University (OHSU) บริษัท ร่วมกับ Oregon Health & Science University (OHSU) เปิดตัว BDMSOHSU International Health Alliance เพื่อมุ่งสู่ ความเป็นศูนย์กลางระดับนานาชาติและพัฒนายกระดับเป็นศูนย์ ความเป็นเลิศด้านการแพทย์ในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะด้านอาชีวอนามัย (Occupational Health) และกุมารเวชศาสตร์ในระดับภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก
  5. Heavy Ion Therapy (อนุภาคบำบัด) โรงพยาบาลวัฒโนสถ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกของ ประเทศไทยที่เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคมะเร็งแบบครบวงจรได้ต่อสัญญาบันทึกความเข้าใจเรื่อง การฉายรังสีด้วยไอออนหนัก (Heavy Ion Therapy) กับ กลุ่มบริษัท Chrismon จากประเทศญี่ปุ่น และมีความเห็นพ้องกันในเรื่องการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยแผนงานโครงการระยะที่ 2 จะได้มีการจัดตั้งศูนย์ฉายรังสีด้วยไอออนหนัก ในอีก 1 ปีข้างหน้า การฉายรังสีด้วยไอออนหนัก (Heavy Ion Therapy) เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถเป็นการรักษาเด่นที่ชูศักยภาพของการเป็นศูนย์กลางของการรักษาโรคมะเร็ง ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยประสิทธิภาพในการรักษาที่ใช้ระยะเวลาที่สั้นลงและผลข้างเคียงน้อย การฉายรังสีด้วยไอออนหนัก สามารถทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นสำหรับผู้ป่วยรายที่ไม่เหมาะกับการฉายรังสีทั่วไปหรือสำหรับผู้ป่วยที่รักษาด้วย การฉายรังสีแบบเดิมแล้วไม่ได้ผล และจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่เหมาะกับการผ่าตัด ประโยชน์ของการรักษาด้วยการฉายรังสีด้วยไอออนหนัก คือ ความแม่นยำสูง สามารถทำลายเซลล์มะเร็งในเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกด้วยปริมาณรังสีที่เหมาะสมเนื่องจากลำแสงของรังสีจะช่วยลดพลังงานส่วนใหญ่ในตำแหน่งที่ต้องการรักษา เพื่อให้ปริมาณไอออนไหลผ่านเข้าไปในร่างกายแล้วมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  6. Nagoya University บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามในความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Nagoya ประเทศญี่ปุ่น ในประเด็นสำคัญ 2 เรื่องคือ 1. ความร่วมมือทางการศึกษา โดยมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางการแพทย์ระหว่าง 2 สถาบัน ในการฝึกอบรมทุกๆ แขนงทางการแพทย์ 2. การแนะนำและส่งต่อผู้ป่วยระหว่างมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาล ในกรณีที่ผู้ป่วยจะมีการเดินทางมาประเทศไทย (และประเทศเพื่อนบ้าน) หรือเดินทางไป Nagoya (และสถานที่ใกล้เคียง)
  7. บริษัท ได้ร่วมมือกับศัลยแพทย์ด้านสมองระดับแถวหน้าของโลก นพ.คีธ แอล แบล็ค ผู้อำนวยการสถาบันศัลยกรรมระบบประสาท แมกซีน ดันนิทซ์, ซีดาร์ไซไนน์ เมดิคัล เซ็นเตอร์ (Maxine Dunitz Neurosurgical Institute at Cedars Sinai in USA) ในการวิจัย และพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถการรักษาโรค ทางสมองและระบบประสาท ทำให้บริษัทก้าวสู่การเป็นสถาบัน การรักษาด้านสมองและระบบประสาท (ประสาทวิทยาศาสตร์) ที่ ทันสมัยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  8. ความร่วมมือกับบริษัท Straumann ศูนย์ทันตกรรมโรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ ได้ร่วมมือ กับบริษัท สตรอแมนน์ (Straumann) ผู้เชี่ยวชาญด้านรากฟันเทียม ระดับโลก เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาฟันด้วยรากเทียมเพื่อการ บดเคี้ยวได้ดีขึ้น ช่วยรองรับการดูแลปัญหาสุขภาพในช่องปาก โดย ได้รับการแต่งตั้งเป็น Straumann Partner Center Thailand
  9. Doernbecher Children’s Hospital บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ได้เซ็นสัญญา เป็นพันธมิตรร่วมกับ โรงพยาบาลเด็กที่มีชื่อเสียง "Doernbecher Children’s Hospital” โอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รางวัล ชนะเลิศ ในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลเด็ก ประจำปี 2557 จาก University Health System Consortium hospitals for pediatric quality และได้เปิดตัว "โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล” ทั้งแคมปัส สุขุมวิทและศรีนครินทร์เข้าด้วยกัน และพัฒนาให้เป็น Excellent Center โดย โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล จะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนนโยบาย และทิศทางของประเทศไทยที่จะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางการ แพทย์ของเอเชีย (Medical Hub) ต่อไป
  10. สถาบันออโธปิดิกส์รัฐมิสซูรี่ มหาวิทยาลัยมิสซูรี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัท และสถาบันออร์โธปิดิกส์รัฐมิสซูรี่ (Missouri Orthopaedic Institute) ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ในการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะทางการแพทย์ด้านออร์โธปิดิกส์ ระหว่างศูนย์ กระดูกและข้อกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กับสถาบันออร์โธปิดิกส์รัฐมิสซูรี่ มหาวิทยาลัยมิสซูรี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยการจัดกิจกรรมวิชาการต่างๆ เช่น การประชุมสัมมนาทางการแพทย์ เพื่อมุ่งพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อส่งเสริมงานด้านการ ศึกษาและวิจัยด้านออร์โธปิดิกส์และความร่วมมือทางการแพทย์อื่นๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านกระดูกและข้อในโรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  11. โรงเรียนแพทย์ฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และภาควิชาออร์โธปิดิกส์และศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ โรงเรียนแพทย์ฮันโนเวอร์ Hannover Medical School) ประเทศเยอรมนี ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการในการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะทางการ แพทย์ด้านออโธปิดิกส์และศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ ด้วยการจัดกิจกรรมวิชาการต่างๆ เช่น การประชุมสัมมนาทางการแพทย์ รวมทั้งการส่งบุคลากรทั้งแพทย์และพยาบาลเข้ารับการฝึกอบรมทั้งระยะสั้นและระยะยาว ณโรงเรียนแพทย์ฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี เพื่อ มุ่งพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อส่งเสริมงานด้านการศึกษาและวิจัยด้านออโธปิดิกส์และศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านนี้ ในโรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  12. โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชร่วมมือกับโรงพยาบาลทากัตสึกิประเทศญี่ปุ่น โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชในเครือบริษัท ร่วมมือกับโรงพยาบาลทากัตสึกิ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมลงนามในสัญญาเป็นพันธมิตรนำความเชี่ยวชาญการดูแลรักษาด้านกุมารเวชและห้องอภิบาลทารกแรกเกิด (NICU) ร่วมกันพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อต่อยอดศักยภาพความสามารถของสมิติเวช ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็ก พร้อมบริการอย่างครบวงจรตามมาตรฐานสากล
  13. บริษัท เอ็น เฮลท์ พยาธิวิทยา จำกัด ร่วมกับราชวิทยาลัย บริษัท เอ็น เฮลท์ พยาธิวิทยาร่วมกับราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทยจัดประชุมวิชาการ Interhospital Renal Clinicopathological Conference ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา โดยเปิดโอกาสให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไตและพยาธิแพทย์ และแพทย์ประจำบ้านกว่า 50 ท่าน จากโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลต่างๆ ในประเทศไทย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ case study ที่น่าสนใจ เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัยอาการ และเป็นแนวทางในการรักษาต่อไป โดยกำหนดให้มีการประชุมวิชาการโรคไตปีละ 3 ครั้ง

ด้านคุณภาพการให้บริการ

ณ สิ้นปี 2560 บริษัทเป็นกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่ได้รับการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลในหลายระดับ อาทิ การรับรองคุณภาพสถานพยาบาลระดับประเทศ (Hospital AccreditationThailandHA) และการรับรองคุณภาพระดับสากล (Joint Commission InternationalJCI) นอกจากนี้ โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ยังได้รับประกาศนียบัตรรับรองกระบวนการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลขั้นก้าวหน้า (Advanced HA)

การขยายโรงพยาบาลเครือข่าย และธุรกิจที่ให้การสนับสนุนด้านการแพทย์

  • บริษัท รอยัลบางกอกเฮลธ์แคร์ จำกัด ซึ่งเป็นย่อยที่บริษัท ถือหุ้นร้อยละ 100 ได้เข้าซื้อหุ้นส่วนที่เหลือทั้งหมดของบริษัท กรุงเทพ- เฮลิคอปเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด (BHS) จากบริษัท เซาท์อีสท์แอร์ จำกัด ทำให้เครือ BDMS เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100 ใน BHS และ BHS ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 100 ล้านบาท เป็น 300 ล้านบาทโดยปัจจุบัน BHS ให้บริการเฮลิคอปเตอร์-Sky ICU (การเคลื่อน ย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยเฮลิคอปเตอร์) จำนวน 2 ลำ ประกอบด้วยเฮลิคอปเตอร์ BHS1 (รุ่น EC145) และ เฮลิคอปเตอร์ BHS2 (รุ่น H145) ซึ่งพร้อมปฏิบัติงาน 24 ชั่วโมงเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน เสมือนได้รับการรักษาในห้อง ICU ตั้งแต่เริ่มเดินทางถึงโรงพยาบาลปลายทาง
  • บริษัท กรุงเทพ เฮลิคอปเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด บริษัทย่อยของบริษัท เข้าทำสัญญาเช่าเครื่องบินรุ่น ATR72 จากบริษัท การบิน กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สัญญามีระยะเวลา 3 ปี เพื่อใช้เป็นอากาศยานในการเคลื่อนย้ายและรักษาผู้ป่วยของโรงพยาบาลใน เครือ BDMS และเป็นการเสริมศักยภาพในการรักษาและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ผู้ติดตาม ทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ ทางอากาศ ด้วยความรวดเร็วทั้งในและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • บริษัทได้จัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ ชื่อ บริษัท บีดีเอ็มเอส จัดการทรัพย์สิน จำกัด เพื่อบริหารจัดการทรัพย์สินของกลุ่มบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำเนินงานของโรงพยาบาล มีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท และบริษัท เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100
  • บริษัทได้ตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ชื่อบริษัท บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก จำกัด บริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 เพื่อซื้อที่ดินบริเวณโครงการ ปาร์คนายเลิศ ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวันจำนวนเนื้อที่รวมประมาณ 15 ไร่ และสิ่งปลูกสร้างซึ่งประกอบ ด้วยอาคารโรงแรมสวิสโฮเต็ล ปาร์คนายเลิศ อาคาร Promenade รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 10,800 ล้านบาท และงบประมาณ ลงทุนและปรับปรุงทรัพย์สินอีกเป็นจำนวนเงินประมาณ 2,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการศูนย์สุขภาพแบบครบวงจร BDMS Wellness Clinic ซึ่งเป็นธุรกิจด้านบริการสุขภาพ มุ่งดูแลให้ผู้ใช้บริการมีสุขภาพที่แข็งแรงในองค์รวมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงมีอายุยืนยาว (Longevity)
  • บริษัท เปาโลเมดิค จำกัด (“เปาโล”) บริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 ได้เข้าซื้อและรับโอนกิจการทั้งหมดของ บริษัท เมโยโพลีคลีนิค จำกัด (“เมโย”) เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนขนาด 162 เตียงภายใต้ชื่อ โรงพยาบาล เมโย ตั้งอยู่ที่ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ บริษัทเปาโลเมดิค จำกัดได้ชำระค่าโอนกิจการให้แก่บริษัท เมโยโพลี คลีนิค จำกัด เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,390 ล้านบาท และได้ทำรายการเสร็จสิ้นในเดือนมกราคม 2560 และบริษัท เปาโลเมดิค จำกัดได้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจำนวน 600 ล้านบาทเป็นทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท เพื่อชำระราคาโอนกิจการ ของบริษัท เมโยโพลีคลีนิค จำกัด
  • บริษัท สหแพทย์เภสัช จำกัด (Medicpharma) ในเครือกรุงเทพดุสิตเวชการหรือ BDMS เปิดโรงงานผลิตยาแห่งใหม่บนเนื้อที่ 15 ไร่ ในนิคมอุตสาหกรรมสินสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นโรงงานผลิตยาคุณภาพที่ครบครันด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาตรฐานสากล เพื่อตอบรับความต้องการภายในประเทศและต่างประเทศ พร้อมหนุนภาคสาธารณสุข เพิ่มโอกาสการเข้าถึง ยาคุณภาพ มั่นใจตอบโจทย์คนไทยและเอเชีย ด้วยเทคโนโลยีผลิตยาที่ทันสมัย คุณภาพและมาตรฐานทัดเทียมโรงงานยาใน ต่างประเทศ

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

  • BDMS ได้รับรางวัล The Best Managed Company Award for Thailand 2016 – Large Capitalization จากนิตยสาร Asiamoney ซึ่งมีการวัดผลจากคะแนนโหวตจากนักลงทุนและ นักวิเคราะห์ทั่วโลก โดยมีการจัดงานรับรางวัลในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 ที่โรงแรม Conrad ฮ่องกง
  • บริษัท สหแพทย์เภสัช จำกัด บริษัทในเครือ ได้รับรางวัล อ.ย. ควอลิตี้ อวอร์ด เป็นปีที่สามติดต่อกัน จากสำนักงานคณะกรรม การอาหารและยา รางวัลดังกล่าวเป็นรางวัลที่มอบให้แก่สถาน ประกอบการที่มีคุณธรรม และจริยธรรมในการผลิตผลิตภัณฑ์ สุขภาพที่มีมาตรฐานและปลอดภัย ภายใต้คำขวัญ “คุณภาพ ปลอดภัย ใส่ใจสังคม”
  • บริษัทได้รับรางวัล "Thailand's Top Corporate Brand 2016" สาขาการแพทย์เป็นปีที่ 2 ติดต่อกันด้วยมูลค่า แบรนด์องค์กร 192,677 ล้านบาท จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬา- ลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโอกาสนี้ แพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาท- ทองโอสถ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่ม 1 เป็นผู้เข้ารับรางวัลจาก ศ.นพ. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ ได้รับ 3 รางวัลจากสมาคม การจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จากโครงการ Thailand ICT Excellence Awards 2016 ได้แก่รางวัลยอดเยี่ยมโครงการ นวัตกรรม (Innovation Projects) รางวัลยอดเยี่ยมด้านโครงการ จัดการความรู้ (Knowledge Management Projects) และ รางวัลยอดเยี่ยม ด้านโครงการพัฒนากระบวนการหลักภายในรางวัลยอดเยี่ยม ด้านโครงการพัฒนากระบวนการหลักภายใน (Core Process Improvement Projects) ทั้ง 3 รางวัลนี้เป็น รางวัลแห่งความเป็นเลิศทางด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ไทยในการ พัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านการแพทย์และการรักษาพยาบาล

  • ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่ากรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ประกาศ ความสำเร็จกับเทคนิคใหม่ในการรักษาโรคกระดูกสะโพกเสื่อม ด้วย “เทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแนวใหม่แบบไม่ตัด กล้ามเนื้อ” (Direct Anterior Approach Total Hip Replacement) ซึ่งเป็นการผ่าตัดโดยการเข้าด้านหน้า ไม่ตัดกล้ามเนื้อ รอบข้อสะโพก เจ็บปวดน้อย แผลเล็ก เคลื่อนไหวสะดวก ภาวะ แทรกซ้อนน้อย ส่งผลให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ลดอัตราการเกิด ข้อสะโพกหลุดหลังผ่าตัด เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยมากขึ้น
  • โรงพยาบาลวัฒโนสถ เปิดตัวนวัตกรรมช่วยในการตรวจวินิจฉัย โรคมะเร็งด้วย เครื่องเพทซีที สแกนรุ่นใหม่ New PET/CT พร้อม ระบบ flow motion เป็นเครื่องมือที่สามารถตรวจวินิจฉัยมะเร็ง ได้รวดเร็วตั้งแต่มีขนาดเล็กและมีความแม่นยำ ตลอดจนเพิ่มโอกาส ในการรักษาโรคมะเร็งได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย โดยโรงพยาบาล วัฒโนสถได้นำเครื่อง PET/CT รุ่นใหม่ จำนวน 2 เครื่องที่ได้รับ การพัฒนาให้มีมาตรฐานสูงและความทันสมัยเพื่อรองรับอัตราที่ เพิ่มมากขึ้นของผู้ป่วยมะเร็งได้ดียิ่งขึ้น
  • โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่เปิด ศูนย์ตรวจการนอนหลับ และศูนย์ลมชักกรุงเทพ (Bangkok Sleep & Epilepsy Center) เป็นห้องตรวจ Sleep Lab เพื่อตรวจผู้ป่วยที่มีปัญหาผิดปกติใน ระหว่างการนอน อาทิ นอนกรน มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ง่วงนอนมากผิดปกติ และผู้ป่วยโรคลมชัก พร้อมแนะนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีสำหรับตรวจวินิจฉัยโรคอย่างแม่นยำ
  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็น องค์ประธานในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการประจำปี 2559 ของ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และโรงพยาบาล ในเครือ ได้แก่ กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลบีเอ็นเอช โรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลเปาโล โรงพยาบาลรอยัล และบริษัทในกลุ่มธุรกิจสนับสนุนโรงพยาบาล (Non-hospital) ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ภายใต้แนวคิด “Excellent Healthcare Network Through Research And Innovation” มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญชื่อดังหลากหลายสาขาจากทั่ว โลกและวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิของประเทศไทยร่วมถ่ายทอดความรู้ ในหัวข้อการบรรยาย การสัมมนา และการฝึกปฎิบัติการ ครอบ คลุมสาขาวิชาการต่างๆ ทางการแพทย์ ทันตกรรม เภสัชกรรม การพยาบาล งานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ เพื่อเป็นการ สร้างความร่วมมือในด้านการยกระดับมาตรฐานการวิจัย ด้านวิชา การทางการแพทย์ พยาบาล และ การให้บริการทางการแพทย์ และสาธารณสุข เพื่อก้าวเข้าสู่ระดับสากล และเพื่อคุณภาพการ รักษาพยาบาลที่ดีขึ้นในอนาคต
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดเทคนิคการวินิจฉัยโรคกระดูกและข้อได้ อย่างตรงจุดด้วยเครื่องเอกซเรย์ 3 มิติแบบเต็มตัว Biplane Imaging (EOS) เครื่องนี้จะช่วยให้ภาพเอกซเรย์ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า แบบองค์รวม หรือ Global Balance ในท่าที่ผู้ป่วยยืนลงน้ำหนัก ตัวตามธรรมชาติ ช่วยวินิจฉัยหาที่มาที่ไปของโรคกระดูกและข้อ ได้ดียิ่งขึ้น เป็นนวัตกรรมของเครื่องเอกซเรย์แบบต่อเนื่อง 2 แกน ที่สามารถสร้างภาพ 3 มิติได้ภายในการถ่ายภาพในครั้งเดียว ใช้ ปริมาณรังสีน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป 6-9 เท่า ซึ่งส่งผลให้ แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการป่วยของคนไข้ได้อย่างตรงจุด สามารถ วินิจฉัยเรื่องของแนวกระดูกและโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็น กระดูกคอ สันหลัง ไปจนถึงข้อเท้า
  • โรงพยาบาลพญาไท 1 ได้รับการรับรองให้เป็น“ศูนย์โรคหลอดเลือด สมองแบบครอบคลุม” หรือ “Comprehensive Stroke Center” จาก DNV-GL อันเป็นการรับรองมาตรฐานระดับสากลจากยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยโรคหลอดเลือดสมองนี้เป็นโรคร้ายแรง อันดับ 1 ที่คร่าชีวิตผู้คนในสังคมไทยปัจจุบัน
  • โรงพยาบาลพญาไท 1 ได้เปิดตัว “หน่วยรักษาอัมพาตเฉียบพลัน” หรือ “Mobile CT & Stroke Treatment Unit” นวัตกรรมการ รักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองคันแรกของเอเชีย ที่สามารถ รักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันได้รวดเร็วกว่ารถพยาบาล ทั่วไป เพื่อเสริมศักยภาพในการรักษาให้ครบครันและเป็นประโยชน์ สูงสุดต่อผู้ใช้บริการ

ความร่วมมือทางการแพทย์

  1. Sano Hospital บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ได้ลงนามร่วม กับ Sano Hospital ประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมมือในด้านการศึกษาวิจัย และพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับโรคระบบทางเดินอาหาร รวมถึง การจัดตั้งระบบส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสองโรงพยาบาลตามความเหมาะสม ของโรค
  2. MD Anderson บริษัท ร่วมมือกับคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย มหิดล ในการเป็น "สถาบันพี่สถาบันน้อง” (Sister Institution) กับศูนย์มะเร็ง เอ็มดี แอนเดอร์สัน แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐ- อเมริกา (University of Texas MD Anderson Cancer Center) ภายใต้ GAP ของ MDACC นับเป็นครั้งแรกของความร่วมมือระหว่าง สามสถาบันโดยองค์กรแพทย์ภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศไทย กับสหรัฐอเมริกา เพื่อส่งเสริมงานวิจัยทั้งที่เป็นงานวิจัยพื้นฐานและ การพัฒนา วิธีการรักษาใหม่ๆ ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รวมถึง แลกเปลี่ยนเรียนรู้กรณีศึกษาระหว่างภูมิภาค เพื่อการป้องกันการ เกิดโรคมะเร็ง รวมถึงการรักษาให้หายหรือมีชีวิตอย่างมีคุณภาพ และมีความสุข
  3. Stanford ศูนย์กระดูกและข้อกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงาน ใหญ่ และแผนกศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ลงนามความร่วมมือในโครงการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะ ทางการแพทย์ด้านออร์โธปิดิกส์ เพื่อมุ่งเน้นความเป็นเลิศในการดูแล รักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทางกระดูกและข้อ โดยมุ่งพัฒนาความรู้ผ่าน การศึกษาวิจัยตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มี ปัญหาดังกล่าว การลงนามครั้งนี้ จะนำมาซึ่งความร่วมมือในการ ศึกษา การวิจัย และการประชุมสัมมนาทางการแพทย์เพื่อพัฒนา ศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์
  4. OHSU บริษัท ร่วมกับ Oregon Health & Science University (OHSU) เปิดตัว BDMS-OHSU International Health Alliance เพื่อมุ่งสู่ ความเป็นศูนย์กลางระดับนานาชาติและพัฒนายกระดับเป็นศูนย์ ความเป็นเลิศด้านการแพทย์ในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะด้านอาชีวอนามัย (Occupational Health) และกุมารเวชศาสตร์ในระดับภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก
  5. Heavy Ion Therapy (อนุภาคบำบัด) โรงพยาบาลวัฒโนสถ ร่วมลงนามความร่วมมือกับ Universal Strategy Institute Limited Liability Company สร้างศูนย์ฉาย รังสีด้วยเทคโนโลยี "Heavy Ion Therapy” เพื่อเตรียมความพร้อม เป็นศูนย์กลางการรักษาโรคมะเร็งในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งถือเป็นเทค- โนโลยีทางด้านรังสีรักษาที่ให้ประสิทธิผลในผู้ป่วยมะเร็งและเนื้องอก ที่ทันสมัย โดยใช้ระยะเวลาในการรักษาสั้น มีผลข้างเคียงน้อย ใช้ ได้กับผู้ป่วยที่ไม่เหมาะกับการฉายรังสีแบบเดิม หรือรับการรักษา แบบเดิมแล้วไม่เป็นผล ข้อดีของการรักษาด้วยอนุภาคบำบัดคือมี ความแม่นยำสูง ลำรังสีสามารถเข้าไปทำลายเซลซ์มะเร็งในความลึก และตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างแม่นยำในปริมาณรังสีที่เหมาะสม เนื่องจากลำรังสีจะคลายพลังงานเกือบทั้งหมดในตำแหน่งที่กำหนด จึงทำให้ปริมาณรังสีที่ผ่านเข้าสู่ร่างกายนั้นก่อผลกระทบกับเซลล์ ปกติน้อยมาก
  6. Nagoya บริษัท ร่วมลงนามในความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Nagoya ประเทศญี่ปุ่น ในประเด็นสำคัญ 2 เรื่อง คือ 1. ความร่วมมือทาง การศึกษา โดยมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางการแพทย์ระหว่าง 2 สถาบัน ในการฝึกอบรมทุกๆ แขนงทางการแพทย์ 2. การแนะนำ และส่งต่อผู้ป่วยระหว่างมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาล ในกรณีที่ ผู้ป่วยจะมีการเดินทางมาประเทศไทย (และประเทศเพื่อนบ้าน) หรือ เดินทางไป Nagoya (และสถานที่ใกล้เคียง) จึงถือว่าเป็นโอกาส อันดีในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ของไทย เพื่อ การให้บริการที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลยิ่งขึ้น โดยมีตัวแทนจาก สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยร่วมเป็นสักขีพยานความร่วมมือ ในครั้งนี้
  7. บริษัท ได้ร่วมมือกับศัลยแพทย์ด้านสมองระดับแถวหน้าของโลก นพ.คีธ แอล แบล็ค ผู้อำนวยการสถาบันศัลยกรรมระบบประสาท แมกซีน ดันนิทซ์, ซีดาร์-ไซไนน์ เมดิคัล เซ็นเตอร์ (Maxine Dunitz Neurosurgical Institute at Cedars - Sinai in USA) ในการวิจัย และพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถการรักษาโรค ทางสมองและระบบประสาท ทำให้บริษัทก้าวสู่การเป็นสถาบัน การรักษาด้านสมองและระบบประสาท (ประสาทวิทยาศาสตร์) ที่ ทันสมัยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  8. ความร่วมมือกับบริษัท Straumann ศูนย์ทันตกรรมโรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ ได้ร่วมมือ กับบริษัท สตรอแมนน์ (Straumann) ผู้เชี่ยวชาญด้านรากฟันเทียม ระดับโลก เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาฟันด้วยรากเทียมเพื่อการ บดเคี้ยวได้ดีขึ้น ช่วยรองรับการดูแลปัญหาสุขภาพในช่องปาก โดย ได้รับการแต่งตั้งเป็น Straumann Partner Center Thailand
  9. Doernbecher Children’s Hospital บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ได้เซ็นสัญญา เป็นพันธมิตรร่วมกับ โรงพยาบาลเด็กที่มีชื่อเสียง "Doernbecher Children’s Hospital” โอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รางวัล ชนะเลิศ ในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลเด็ก ประจำปี 2557 จาก University Health System Consortium hospitals for pediatric quality และได้เปิดตัว "โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล” ทั้งแคมปัส สุขุมวิทและศรีนครินทร์เข้าด้วยกัน และพัฒนาให้เป็น Excellent Center โดย โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล จะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนนโยบาย และทิศทางของประเทศไทยที่จะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางการ แพทย์ของเอเชีย (Medical Hub) ต่อไป
  10. สถาบันออโธปิดิกส์รัฐมิสซูรี่ มหาวิทยาลัยมิสซูรี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัท และสถาบันออร์โธปิดิกส์รัฐมิสซูรี่ (Missouri Orthopaedic Institute) ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ในการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะทางการแพทย์ด้านออร์โธปิดิกส์ ระหว่างศูนย์ กระดูกและข้อกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กับสถาบันออร์โธปิดิกส์รัฐมิสซูรี่ มหาวิทยาลัยมิสซูรี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยการจัดกิจกรรมวิชาการต่างๆ เช่น การประชุมสัมมนาทางการแพทย์ เพื่อมุ่งพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อส่งเสริมงานด้านการ ศึกษาและวิจัยด้านออร์โธปิดิกส์และความร่วมมือทางการแพทย์อื่นๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านกระดูกและข้อในโรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  11. โรงเรียนแพทย์ฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี บริษัท และโรงเรียนแพทย์ฮันโนเวอร์ (Hannover Medical School) ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการในการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะทางการแพทย์ด้านออร์โธปิดิกส์และศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ ระหว่าง ศูนย์กระดูกและข้อกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กับ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์และศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ โรงเรียนแพทย์ฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี ด้วยการจัดกิจกรรมวิชาการต่างๆ เช่นการประชุมสัมมนาทางการแพทย์ รวมทั้งการส่งบุคลากรทั้งแพทย์ และพยาบาลเข้ารับการฝึกอบรมทั้งระยะสั้น และระยะยาว ณ โรงเรียนแพทย์ฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี เพื่อมุ่งพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อส่งเสริมงานด้านการศึกษาและวิจัยด้านออร์โธ- ปิดิกส์และศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านนี้ ในโรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  12. โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชร่วมมือกับโรงพยาบาลทากัตสึกิประเทศญี่ปุ่น โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชในเครือบริษัท ร่วมมือกับโรงพยาบาลทากัตสึกิ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมลงนามในสัญญาเป็นพันธมิตร นำความเชี่ยวชาญการดูแลรักษาด้านกุมารเวชและห้องอภิบาลทารกแรกเกิด (NICU) ร่วมกันพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนประสบ- การณ์เพื่อต่อยอดศักยภาพความสามารถของสมิติเวช ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็ก พร้อมบริการอย่างครบวงจรตามมาตรฐานสากลที่วงการแพทย์ทั่วโลก
  13. บริษัท เอ็น เฮลท์ พยาธิวิทยา จำกัด ร่วมกับราชวิทยาลัย พยาธิแพทย์แห่งประเทศไทยจัดประชุมวิชาการ Interhospital Renal Clinicopathological Conference บริษัท เอ็น เฮลท์ พยาธิวิทยาร่วมกับราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทยจัดประชุมวิชาการ Inter-hospital Rental Clinicopathological Conference ร่วมกับราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทยจัดประชุมวิชาการ Inter-hospital Rental Clinicopathological Conference 1/2016 เปิดโอกาสให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไตและพยาธิแพทย์ และแพทย์ประจำบ้านกว่า 50 ท่าน จากโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลต่างๆ ในประเทศไทยแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ case study ที่น่าสนใจ เพื่อเพิ่มความเชียวชาญในการวินิจฉัยอาการ และเป็นแนวทางในการรักษาต่อไป โดยกำหนดให้มีการประชุมวิชาการโรคไตทุก 2 เดือน

ด้านคุณภาพการให้บริการ

ณ สิ้นปี 2559 บริษัทเป็นกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่ได้รับการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลในหลายระดับ อาทิ การรับรองคุณภาพสถานพยาบาลระดับประเทศ (Hospital Accreditation Thailand-HA) จำนวน 31 โรงพยาบาล และได้รับการรับรอง คุณภาพระดับสากล (Joint Commission International-JCI) จำนวน 14 แห่ง นอกจากนี้ โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ยังได้รับ ประกาศนียบัตรรับรองกระบวนการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลขั้นก้าวหน้า (Advanced HA)

การขยายโรงพยาบาลเครือข่าย และธุรกิจที่ให้การสนับสนุนด้านการแพทย์

  • บริษัท เปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์ที่ใช้ในการซื้อขายหลักทรัพย์ จาก เดิม "BGH” เป็น "BDMS”
  • บริษัทโรงพยาบาลกรุงเทพระยอง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ถือหุ้นร้อยละ 100 ได้เปิดให้บริการโรงพยาบาลศรีระยอง อย่าง เป็นทางการเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2558 โรงพยาบาลศรีระยอง เป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาด 195 เตียง ตั้งอยู่ที่ ตำบลเชิงเนิน อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เพื่อให้บริการลูกค้าประกันสังคมใน จังหวัดระยอง
  • บริษัท รอยัล บางกอก เฮ็ลธ์แคร์ จำกัด ("RBH”) ซึ่งเป็นบริษัท ย่อยที่บริษัทถือหุ้นอยู่ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 100 ลงทุนซื้อ หุ้นบริษัท เยเนอรัล ฮอสปิตัล โปรดัคส์ จำกัด (มหาชน) ("GHP”) ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตน้ำยาปราศจากเชื้อสำหรับฉีดเข้าหลอด โลหิตดำ (Intravenous Solutions) ได้แก่ น้ำเกลือ น้ำตาลกลูโคส และเวชภัณฑ์อื่นๆ โดยปัจจุบันบริษัท ถือหุ้น GHP ผ่าน RBH และ บริษัท สหแพทย์เภสัช จำกัด คิดเป็นร้อยละ 44.67 ของทุน ชำระแล้วของ บริษัท เยเนอรัล ฮอสปิตัล โปรดัคส์ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท สมิติเวช ชลบุรี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้น ร้อยละ 100 ได้เปิดให้บริการโรงพยาบาลสมิติเวชชลบุรี อย่าง เป็นทางการในวันที่ 1 มิถุนายน 2558 โรงพยาบาลสมิติเวชชลบุรี เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดกลางจำนวน 57 เตียง ตั้งอยู่ที่ ถนนสุขุมวิท ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เพื่อรอง รับผู้รับบริการในจังหวัดชลบุรี
  • บริษัทโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ถือหุ้นร้อยละ 100 ได้เปิดให้บริการโรงพยาบาลดีบุก อย่างเป็น ทางการในวันที่ 9 กรกฎาคม 2558 โรงพยาบาลดีบุก เป็นโรง- พยาบาลเอกชนขนาด 32 เตียง ตั้งอยู่ที่ ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เพื่อดูแลกลุ่มลูกค้าประกัน ชีวิต ประกันอุบัติเหตุ พรบ. และโรคที่ไม่ซับซ้อน (ทุติยภูมิ) คน ทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการได้ในราคาที่คุ้มค่าในจังหวัดภูเก็ต
  • บริษัทจัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ ในนาม บริษัท โรงพยาบาล กรุงเทพเชียงราย จำกัด เพื่อลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนใน จังหวัดเชียงราย โดยมีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ซึ่งบริษัท เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนของ บริษัท โรง- พยาบาลกรุงเทพเชียงราย จำกัด
  • บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพเมืองราช จำกัด เป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ถือหุ้นประมาณร้อยละ 100 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้ง หมด เข้าซื้อและรับโอนกิจการทั้งหมดของบริษัท ก. วสุพล จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดราชบุรีภายใต้ชื่อ โรงพยาบาลเมืองราช โดยชำระเป็นค่าตอบแทนเป็นเงินสดจำนวน 1,427,030,155.50 บาท พร้อมรับโอนหนี้สินทั้งหมด ซึ่งมีอยู่ไม่ เกิน 47 ล้านบาท แล้วเสร็จในวันที่ 1 กันยายน 2558

ด้านการแพทย์และการรักษาพยาบาล

  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรง เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการร่วม บริษัท กรุงเทพ- ดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ประจำปีพุทธศักราช 2558 ซึ่ง ประกอบไปด้วยกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลบีเอ็นเอช โรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลเปาโล และโรงพยาบาลรอยัล ในหัวข้อ "Global Alliance to Excellent Health Care” ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล
  • โรงพยาบาลสมิติเวชสุขุมวิท เปิด Critical Care Complex ศูนย์ การแพทย์ล้ำสมัยรักษาผู้ป่วยครบวงจรในระดับ State of the Art ประกอบด้วย ห้องผ่าตัดใหม่ 8 ห้อง ห้องคลอด 5 ห้อง หน่วย ทารกแรกเกิดภาวะวิกฤติ และห้องไอซียูใหม่จำนวน 16 ห้อง ทั้ง หมดนี้ถูกออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ ศัลยแพทย์และทีมพยาบาลให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็ม ศักยภาพอีกทั้งห้องผ่าตัดใหม่ทั้ง 8 ห้องยังประกอบไปด้วยเครื่องมือ แพทย์อันทันสมัย เพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วย ได้อย่างดีเยี่ยม

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

  • บริษัทได้รับรางวัล "Thailand's Top Corporate Brand 2015" สาขาการแพทย์ด้วยมูลค่าแบรนด์องค์กร 178,000.29 ล้านบาท สูงเป็นอันดับที่ 5 จาก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬา- ลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโอกาสนี้ นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เป็นผู้ เข้ารับรางวัลจาก ศ.นพ. ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี จุฬา- ลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัล "นักบริหารโรงพยาบาลดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2557" จาก ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในการ ประชุมสัมมนาวิชาการประจำปี 2558 ณ สถาบันบำราศนราดูร กระทรวงสาธารณสุข โดยสมาคมนักบริหารโรงพยาบาลประเทศไทย คัดเลือกนักบริหารโรงพยาบาลที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่สาธารณชนรวม ไปถึงองค์กรด้านสาธารณสุข
  • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยร่วมกับวารสารการเงินธนาคาร มอบรางวัล "บริษัทจดทะเบียนด้านนักลงทุนสัมพันธ์ดีเด่น (Outstanding Investor Relations Awards)” ประจำปี 2558 สำหรับ บริษัทจดทะเบียนที่มี Market Capitalization มากกว่า 100,000 ล้านบาทให้แก่บริษัท
  • โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ได้รับประกาศนียบัตรรับรอง กระบวนการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล ขั้นก้าวหน้า "Advanced HA” ตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี” จากกระ- ทรวงสาธารณสุข ในงานพิธีเปิด HA National Forum ครั้งที่ 16 ที่ซึ่งสถานพยาบาลผ่านการรับรองในขั้นนี้แล้ว 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลภูมิพล และโรงพยาบาลกรุงเทพ
  • โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ ได้รับรางวัล TQM-Best Practices in Thailand จากการนำเสนอผลงานที่เป็นแบบอย่าง ที่ดี (TQM-Best Practices) เรื่องแนวทางการจัดการสารสนเทศ ในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นการนำการบริหารระบบสารสนเทศเข้ามา สนับสนุนการทำงานในโรงพยาบาล ในด้านการจัดการสารสนเทศ สำหรับการดูแลผู้ป่วยหนัก Critical Care Information System (CCIS) สำหรับสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน (EMR system) การบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ
  • โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี เครือโรงพยาบาลกรุงเทพได้รับรางวัล Thailand Energy Awards 2015 ด้านการอนุรักษ์พลังงาน ประเภท อาคารควบคุมดีเด่น จาก กระทรวงพลังงาน
  • บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัทได้รับรางวัลดังนี้
    • รางวัลสุดยอดองค์กรธุรกิจ "Thailand Top Company Awards 2015” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการเพื่อสุขภาพ เป็นรางวัลเกียรติยศที่มอบให้กับบริษัทที่มีผลการดำเนินงาน ยอดเยี่ยมด้านการแพทย์บริการสุขภาพ โดยใช้หลักธรรมาภิบาล เป็นตัวอย่างในการดำเนินธุรกิจ จาก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ นิตยสาร Business
    • รางวัลความเป็นเลิศในการบริหารจัดการโดยรวม สำหรับองค์กร ขนาดกลางที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท/ปี (TMA-SASIN Management Excellence Awards) จากสมาคมการจัดการ ธุรกิจแห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำโครงการ Thailand Corporate Excellence Awards เพื่อประกาศเกียรติคุณแก่องค์กร ที่มีความเป็นเลิศในการบริหารจัดการธุรกิจ โดยโครงการนี้ได้ รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • บริษัท เอ.เอ็น.บี. ลาบอราตอรี่ (อำนวยเภสัช) จำกัด และ บริษัท สหแพทย์เภสัช จำกัด บริษัทในเครือ ได้รับรางวัล อ.ย. ควอลิตี้ อวอร์ด เป็นปีที่สองติดต่อกัน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา รางวัลดังกล่าวเป็นรางวัลที่มอบให้แก่สถานประกอบการ ที่มีคุณธรรม และจริยธรรมในการผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีมาตรฐาน และปลอดภัย ภายใต้คำขวัญ "คุณภาพ ปลอดภัย ใส่ใจสังคม”

ความร่วมมือทางการแพทย์

  1. Sano Hospital บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ได้ลงนามร่วม กับ Sano Hospital ประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมมือในด้านการศึกษาวิจัย และพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับโรคระบบทางเดินอาหาร รวมถึง การจัดตั้งระบบส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสองโรงพยาบาลตามความเหมาะสม ของโรค
  2. MD Anderson บริษัท ร่วมมือกับคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย มหิดล ในการเป็น "สถาบันพี่สถาบันน้อง” (Sister Institution) กับศูนย์มะเร็ง เอ็มดี แอนเดอร์สัน แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐ- อเมริกา (University of Texas MD Anderson Cancer Center) ภายใต้ GAP ของ MDACC นับเป็นครั้งแรกของความร่วมมือระหว่าง สามสถาบันโดยองค์กรแพทย์ภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศไทย กับสหรัฐอเมริกา เพื่อส่งเสริมงานวิจัยทั้งที่เป็นงานวิจัยพื้นฐานและ การพัฒนา วิธีการรักษาใหม่ๆ ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รวมถึง แลกเปลี่ยนเรียนรู้กรณีศึกษาระหว่างภูมิภาค เพื่อการป้องกันการ เกิดโรคมะเร็ง รวมถึงการรักษาให้หายหรือมีชีวิตอย่างมีคุณภาพ และมีความสุข
  3. Stanford University ศูนย์กระดูกและข้อกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงาน ใหญ่ และแผนกศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ลงนามความร่วมมือในโครงการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะ ทางการแพทย์ด้านออร์โธปิดิกส์ เพื่อมุ่งเน้นความเป็นเลิศในการดูแล รักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทางกระดูกและข้อ โดยมุ่งพัฒนาความรู้ผ่าน การศึกษาวิจัยตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มี ปัญหาดังกล่าว การลงนามครั้งนี้ จะนำมาซึ่งความร่วมมือในการ ศึกษา การวิจัย และการประชุมสัมมนาทางการแพทย์เพื่อพัฒนา ศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์
  4. Oregon Health & Science University (OHSU) บริษัท ร่วมกับ Oregon Health & Science University (OHSU) เปิดตัว BDMS-OHSU International Health Alliance เพื่อมุ่งสู่ ความเป็นศูนย์กลางระดับนานาชาติและพัฒนายกระดับเป็นศูนย์ ความเป็นเลิศด้านการแพทย์ในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะด้านอาชีวอนามัย (Occupational Health) และกุมารเวชศาสตร์ในระดับภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก
  5. Heavy Ion Therapy (อนุภาคบำบัด) โรงพยาบาลวัฒโนสถ ร่วมลงนามความร่วมมือกับ Universal Strategy Institute Limited Liability Company สร้างศูนย์ฉาย รังสีด้วยเทคโนโลยี "Heavy Ion Therapy” เพื่อเตรียมความพร้อม เป็นศูนย์กลางการรักษาโรคมะเร็งในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งถือเป็นเทค- โนโลยีทางด้านรังสีรักษาที่ให้ประสิทธิผลในผู้ป่วยมะเร็งและเนื้องอก ที่ทันสมัย โดยใช้ระยะเวลาในการรักษาสั้น มีผลข้างเคียงน้อย ใช้ ได้กับผู้ป่วยที่ไม่เหมาะกับการฉายรังสีแบบเดิม หรือรับการรักษา แบบเดิมแล้วไม่เป็นผล ข้อดีของการรักษาด้วยอนุภาคบำบัดคือมี ความแม่นยำสูง ลำรังสีสามารถเข้าไปทำลายเซลซ์มะเร็งในความลึก และตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างแม่นยำในปริมาณรังสีที่เหมาะสม เนื่องจากลำรังสีจะคลายพลังงานเกือบทั้งหมดในตำแหน่งที่กำหนด จึงทำให้ปริมาณรังสีที่ผ่านเข้าสู่ร่างกายนั้นก่อผลกระทบกับเซลล์ ปกติน้อยมาก
  6. Nagoya University บริษัท ร่วมลงนามในความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Nagoya ประเทศญี่ปุ่น ในประเด็นสำคัญ 2 เรื่อง คือ 1. ความร่วมมือทาง การศึกษา โดยมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางการแพทย์ระหว่าง 2 สถาบัน ในการฝึกอบรมทุกๆ แขนงทางการแพทย์ 2. การแนะนำ และส่งต่อผู้ป่วยระหว่างมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาล ในกรณีที่ ผู้ป่วยจะมีการเดินทางมาประเทศไทย (และประเทศเพื่อนบ้าน) หรือ เดินทางไป Nagoya (และสถานที่ใกล้เคียง) จึงถือว่าเป็นโอกาส อันดีในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ของไทย เพื่อ การให้บริการที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลยิ่งขึ้น โดยมีตัวแทนจาก สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยร่วมเป็นสักขีพยานความร่วมมือ ในครั้งนี้
  7. บริษัท ได้ร่วมมือกับศัลยแพทย์ด้านสมองระดับแถวหน้าของโลก นพ.คีธ แอล แบล็ค ผู้อำนวยการสถาบันศัลยกรรมระบบประสาท แมกซีน ดันนิทซ์, ซีดาร์-ไซไนน์ เมดิคัล เซ็นเตอร์ (Maxine Dunitz Neurosurgical Institute at Cedars - Sinai in USA) ในการวิจัย และพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถการรักษาโรค ทางสมองและระบบประสาท ทำให้บริษัทก้าวสู่การเป็นสถาบัน การรักษาด้านสมองและระบบประสาท (ประสาทวิทยาศาสตร์) ที่ ทันสมัยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  8. ความร่วมมือกับบริษัท Straumann ศูนย์ทันตกรรมโรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ ได้ร่วมมือ กับบริษัท สตรอแมนน์ (Straumann) ผู้เชี่ยวชาญด้านรากฟันเทียม ระดับโลก เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาฟันด้วยรากเทียมเพื่อการ บดเคี้ยวได้ดีขึ้น ช่วยรองรับการดูแลปัญหาสุขภาพในช่องปาก โดย ได้รับการแต่งตั้งเป็น Straumann Partner Center Thailand
  9. Doernbecher Children’s Hospital บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ได้เซ็นสัญญา เป็นพันธมิตรร่วมกับ โรงพยาบาลเด็กที่มีชื่อเสียง "Doernbecher Children’s Hospital” โอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รางวัล ชนะเลิศ ในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลเด็ก ประจำปี 2557 จาก University Health System Consortium hospitals for pediatric quality และได้เปิดตัว "โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล” ทั้งแคมปัส สุขุมวิทและศรีนครินทร์เข้าด้วยกัน และพัฒนาให้เป็น Excellent Center โดย โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล จะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนนโยบาย และทิศทางของประเทศไทยที่จะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางการ แพทย์ของเอเชีย (Medical Hub) ต่อไป

ด้านคุณภาพการให้บริการ

ณ สิ้นปี 2558 บริษัทเป็นกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่ได้รับการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลในหลายระดับ อาทิ การรับรองคุณภาพ สถานพยาบาลระดับประเทศ (Hospital Accreditation Thailand-HA) จำนวน 22 โรงพยาบาล และได้รับการรับรองคุณภาพระดับสากล (Joint Commission International-JCI) จำนวน 12 แห่ง (11 โรงพยาบาลและ 1 คลินิก) นอกจากนี้ โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ ยังได้รับ ประกาศนียบัตรรับรองกระบวนการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล ขั้นก้าวหน้า (Advanced HA) ซึ่งปัจจุบันมีเพียง 3 แห่งใน ประเทศที่ได้รับการรับรอง คือ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลภูมิพล และโรงพยาบาลกรุงเทพ

  • ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2557 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2557 ได้มีมติอนุมัติให้บริษัทเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ของบริษัท จากเดิมหุ้นละ 1 บาท เป็นหุ้นละ 0.10 บาท ซึ่งจะส่งผลให้จำนวนหุ้นสามัญจดทะเบียนของบริษัทเพิ่มขึ้นจากเดิม 1,700,004,771 หุ้น เป็น 17,000,047,710 หุ้น โดยที่สัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมจะไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ดังกล่าวแต่อย่างใด และทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วของบริษัทจะยังคงมีจำนวนเท่าเดิมโดยบริษัทได้ดำเนินการและมีผลตั้งแต่ 25 เมษายน 2557
  • ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2557 ของบริษัท มีมติอนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ (convertible bonds) ประเภทไม่ด้อยสิทธิ และไม่มีประกัน ซึ่งผู้ถือหุ้นกู้ สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของบริษัทได้ตลอดอายุของหุ้นกู้ ในวงเงินจำนวนไม่เกิน 10,000 ล้านบาท หรือในเงินสกุลอื่นในจำนวนเทียบเท่า ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2557 บริษัทได้ขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ในวงเงินรวม 10,000 ล้านบาท ให้แก่ผู้ลงทุนในต่างประเทศทั้งจำนวน โดยกำหนดอัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้แปลงสภาพ (convertible bonds) เป็นประเภทไม่มีดอกเบี้ย (zero-coupon) ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2562 และได้ดำเนินการจดทะเบียนซื้อขายหุ้นกู้แปลงสภาพ ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (Singapore Exchange Securities Trading Limited) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2557 (รายละเอียดหุ้นกู้แปลงสภาพในส่วนที่ 2 เรื่องข้อมูลหลักทรัพย์และผู้ถือหุ้น.)
  • ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2557 มีมติอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 100,691,217.40 บาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 1,549,095,654 บาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่ 1,649,786,871.40 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 1,006,912,174 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 0.10 บาท แบ่งเป็น
    1. หุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อรองรับการแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพจำนวนไม่เกิน 542,183,478หุ้น เป็นการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 542,183,478 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 0.10 บาท (คิดเป็นร้อยละ 3.5 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัท) เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพ และ
    2. หุ้นสามัญเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จำนวนไม่เกิน 464,728,696 หุ้น การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไปแบ่งเป็นจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 232,364,348 หุ้น คิดเป็นร้อยละ1.5 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัทเพื่อเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป และ จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 232,364,348 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.5 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัทเพื่อเสนอขายให้แก่บุคคลในวงจำกัด โดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือทั้งสองวิธีรวมกันแล้วจะไม่เกินร้อยละ 1.5 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัท ณ วันที่คณะกรรมการมีมติให้เพิ่มทุน หรือคิดเป็นจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 232,364,348 หุ้น

การขยายโรงพยาบาลเครือข่ายและธุรกิจที่ให้การสนับสนุนด้านการแพทย์

  • เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2557 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดแพรคลุมป้าย โรงพยาบาลกรุงเทพไชน่าทาวน์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชน ขนาด 59 เตียง ตั้งอยู่ที่ถนนเยาวราช โดยโรงพยาบาลดังกล่าวได้เปิดให้บริการกับประชาชนวันแรกในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2557
  • บริษัทโรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 ได้เปิดให้บริการ โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2557 โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ เป็น โรงพยาบาลเอกชนขนาด 185 เตียง ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • บริษัทได้จัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ภายใต้ชื่อบริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพสนามจันทร์ จำกัด ซึ่งมีทุนจดทะเบียนจำนวน 3,655 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 365,500,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยบริษัทเป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนประมาณร้อยละ 99.99 เพื่อเข้าซื้อและรับโอนกิจการทั้งหมดของบริษัท โรงพยาบาลสนามจันทร์ จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในนาม โรงพยาบาลสนามจันทร์ ที่จังหวัดนครปฐม และเป็นเจ้าของอาคาร โรงพยาบาลเมืองเพชร ที่จังหวัดเพชรบุรี โดยดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2557 ณ วันโอนกิจการ บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพสนามจันทร์ จำกัด ได้รับโอนกิจการโรงพยาบาลสนามจันทร์ และโรงพยาบาลเมืองเพชร นอกจากนี้ยังได้รับโอนหุ้นสามัญของบริษัท โรงพยาบาลเทพากร จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 44.5 และหุ้นสามัญของ บริษัท ก. วสุพล จำกัด ซึ่งประกอบกิจการโรงพยาบาลเมืองราช ที่จังหวัดราชบุรี ในสัดส่วนร้อยละ 25
  • บริษัทได้ตั้งบริษัทย่อย ในนาม บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ตอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีทุนจดทะเบียนจำนวน 3,610,000,000 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 361,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ10 บาท โดยบริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 เพื่อเข้าซื้อและรับโอนกิจการทั้งหมดของบริษัท ภูเก็ตอินเตอร์เนชั่นแนลฮอสปิตอล จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในนาม "โรงพยาบาลสิริโรจน์” ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดเตียง 151 เตียง ในจังหวัดภูเก็ต
  • บริษัทโรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 ได้เปิดให้บริการโรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น เป็นโรงพยาบาลเอกชน ขนาด 140 เตียง ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
  • Phnom Penh Medical Services Co., Ltd. ซึ่งบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 ได้เปิดโรงพยาบาลรอยัล พนมเปญ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 โรงพยาบาลรอยัล พนมเปญ เป็นโรงพยาบาลเอกชน ขนาด 100 เตียง ตั้งอยู่ที่เมืองพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
  • บริษัท ได้ตั้งบริษัท กรุงเทพเซฟดรัก จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนจำนวน 450,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 45,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยบริษัทเข้าถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 เพื่อลงทุนซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท เซฟดรัก เซ็นเตอร์ จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายและค้าปลีกสินค้าประเภทยา อาหารเสริม เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ภายใต้ชื่อทางการค้า SAVE DRUG ผ่านร้านค้าและสาขารวมทั้งสิ้นประมาณ 107 สาขาทั่วประเทศ

ด้านการแพทย์และการรักษาพยาบาล

  • โรงพยาบาลกรุงเทพ ยกระดับอีกขั้นเพื่อการรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มศักยภาพ เปิดตัว "เทคโนโลยีผ่าตัดผ่านกล้อง แผลเล็ก3 มิติ” ที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัด ให้แพทย์เห็นรายละเอียดเชิงลึกได้ชัดเจน มีระยะความลึกภาพเสมือนผ่าตัดอยู่ในท้องของผู้ป่วย ทำให้แผลผ่าตัดเล็ก อาการเจ็บปวดของบาดแผลน้อยกว่าการผ่าตัดเปิดแบบเดิม และฟื้นตัวเร็ว โดยนำร่องให้บริการ 3 ศูนย์หลัก ได้แก่ คลินิกศัลยกรรมทั่วไป, ศูนย์สุขภาพสตรีกรุงเทพ และศูนย์โรคทางเดินปัสสาวะกรุงเทพ ขยายขอบเขตการรักษาถึงโรคมะเร็งบางชนิด อาทิ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล นวมินทร์ ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ศูนย์การแพทย์ไทย จำกัด (มหาชน) ได้เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาล เป็น โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ และได้มีการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการและมาตรฐานทางการรักษาพยาบาล โดยมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และเพิ่มเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย พร้อมให้การดูแลรักษาโรคที่มีความซับซ้อน เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกับเครือโรงพยาบาลพญาไท เพื่อเป็นการสร้างบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ และก่อประโยชน์สุงสุดแก่ผู้รับบริการ
  • โรงพยาบาลกรุงเทพได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการศูนย์บริการฉุกเฉิน (Bangkok Emergency Services; BES) และโครงการ OPD Patient Flow ในประเภทโครงการพัฒนากระบวนการหลัก (Core Process Improvement Project ) จาก Thailand ICT Excellence Awards 2013 โดย สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย เพื่อยกย่องหน่วยงานที่มุ่งเน้นปรับปรุงพัฒนาการกระบวนการภายในองค์กร ลดความซ้ำซ้อนขั้นตอนการทำงาน ลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพิ่มความรวดเร็วและลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงานภายในองค์กร
  • โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพเปิดห้องผ่าตัดไฮบริด (Hybrid OR) เป็นห้องผ่าตัดที่เคลื่อนตัวได้อย่างอิสระ 360 องศา พร้อมระบบการนำภาพเอกซเรย์แบบ Flex move Heart Navigator และ Software Heart Navigator ซึ่งสามารถถ่ายภาพหัวใจได้ทุกมุมอย่างละเอียด มีศักยภาพในการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจทางสายสวนหรือการซ่อมลิ้นหัวใจหรือใส่ขวดเลือดในเส้นเลือดใหญ่โดยใช้เครื่อง Fluoroscopy ที่มีประสิทธิภาพ จุดเด่นของห้องผ่าตัดไฮบริด คือนำศักยภาพของห้องสวนหัวใจและห้องผ่าตัดหัวใจและเส้นเลือดมารวมกันไว้ในห้องเดียว ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาแทรกซ้อนก็สามารถทำการผ่าตัดได้ทันที โดยไม่ต้องย้ายเตียงหรือย้ายห้อง
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิด"บ้านศูนย์สมอง Brain Power สมองฟิตชีวิตเฟิร์ม” โดยแพทย์สหสาขาจาก 5 คลินิก ได้แก่ คลินิกป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, คลินิกลมชัก, คลินิกความจำ, คลินิกปวดศีรษะ และคลินิกพาร์กินสันและการเคลื่อนไหวผิดปกติ ให้บริการดูแลสุขภาพสมองคนไข้เต็มรูปแบบ.
  • บริษัท เนชั่นแนล เฮ็ลธ์แคร์ ซิสเต็มส์ จำกัด(Nhealth) บริษัทในเครือ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และงานสนับสนุนการบริการทางการแพทย์ โดยใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของ Nhealth กระตุ้นการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์ วัสดุ และการบริการทางการแพทย์ ให้เกิดประสิทธิภาพ และผลักดันให้เกิดการใช้งานจริงกับโรงพยาบาลชั้นนำทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อลดการนำเข้าและหวังให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบริการด้านสุขภาพ (Medical Hub) เพื่อรองรับการเติบโตในภูมิภาคอาเซียน
  • ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ได้รับการรับรองจากองค์กรระดับนานาชาติ AO Foundation ให้เป็น "ศูนย์วิจัยทางคลินิก AO Clinical Study Site (AOCSC)” เพื่อรับรองความสามารถในการทำวิจัยทางคลินิก ในการอบรมบุคลากร และมีบทบาทสำคัญในการควบคุมคุณภาพงานวิจัยทางคลินิกในด้านศัลยศาสตร์ออร์โธปีดิกส์และด้านรักษาการบาดเจ็บและความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อในประเทศไทยให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกันกับนานาชาติ
  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดประชุมวิชาการร่วม บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ประจำปี 2557 ประกอบด้วย 6 กลุ่มโรงพยาบาล คือ โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลบีเอ็นเอช โรงพยาบาลพญาไท และโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล และโรงพยาบาลรอยัล ในประเทศกัมพูชา ในหัวข้อ "Get Healthy Get Ready for ASEAN Community” เพื่อทรงส่งเสริมการประสานความร่วมมือในการดูแลสุขภาพอนามัยประชาชนชาวไทยทุกเพศทุกวัย พร้อมกับพัฒนาด้านวิชาการทางการแพทย์ และการสาธารณสุขไทยให้เกิดการบูรณการในด้านต่างๆ อีกทั้งเผยแพร่ศักยภาพด้านการแพทย์และความพร้อมทางสาธารณสุขของประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียน AEC และศูนย์กลางทางการแพทย์นานาชาติ งาน World Heart Day ในวันที่ 26 กันยายน 2557
  • บริษัท ยกระดับมาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์อีกขั้น จัดงานแถลงข่าวเปิดตัว "B-eXchange : ระบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้านเวชระเบียนระหว่างโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ” นำร่องใช้ในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลบีเอ็นเอช โรงพยาบาลพญาไท และโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล เพื่อเพิ่มคุณภาพในการรักษาพยาบาล ลดความผิดพลาดทางการรักษา เพื่อวางรากฐานสู่การก้าวขึ้นเป็นเมดิเคิลฮับของอาเซียนอย่างเต็มตัว

ความร่วมมือทางการแพทย์

  1. Sano Hospital ในวันที่ 9 กรกฏาคม 2557 บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) ลงนามร่วมกับ Sano Hospital ประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมมือในด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับโรคระบบทางเดินอาหาร รวมถึงการจัดตั้งระบบส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสองโรงพยาบาลตามความเหมาะสมของโรค
  2. MD Anderson ในวันที่ 1 สิงหาคม 2557 บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ MD Anderson (University of Texas: MD Anderson Cancer Center – MDACC) ได้ลงนามความร่วมมือเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาสู่ระดับ Global Academic Program (GAP) ซี่งเป็นความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัย รวมถึง MD Anderson Cancer Network Associate Project ซึ่งเป็นความร่วมมือทางด้านการรักษาพยาบาล ต่อมาในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2557 โรงพยาบาลวัฒโนสถ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับเลือกเป็น Sister Institute ภายใต้ GAP ของ MDACC โดยที่ทางบริษัทยังดำเนินการเพื่อมุ่งสู่ความร่วมมือทางด้านการรักษาพยาบาลในอนาคต
  3. Stanford University ในวันที่ 6 สิงหาคม 2557 ศูนย์กระดูกและข้อกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ และแผนกศัลยศาสตร์ออโธปิดิกส์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ลงนามความร่วมมือในโครงการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะทางการแพทย์ด้านออโธปิดิกส์ เพื่อมุ่งเน้นความเป็นเลิศในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทางกระดูกและข้อ โดยมุ่งพัฒนาความรู้ผ่านการศึกษาวิจัยตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาดังกล่าว การลงนามครั้งนี้ จะนำมาซึ่งความร่วมมือในการศึกษา การวิจัย และการประชุมสัมมนาทางการแพทย์เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์
  4. Oregon Health & Science University (OHSU) ในวันที่ 1 ตุลาคม 2557 บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ Oregon Health & Science University (OHSU) เปิดตัว BDMS-OHSU International Health Alliance เพื่อมุ่งสู่ความเป็นศูนย์กลางระดับนานาชาติและพัฒนายกระดับเป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการแพทย์ในทุกๆด้านโดยเฉพาะด้านอาชีวอนามัย (Occupational Health) และกุมารเวชศาสตร์ในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  5. Heavy Ion Therapy (อนุภาคบำบัด) ในวันที่ 9 ตุลาคม 2557 โรงพยาบาลวัฒโนสถ ร่วมลงนามความร่วมมือกับ Universal Strategy Institute Limited Liability Company สร้างศูนย์ฉายรังสีด้วยเทคโนโลยี "Heavy Ion Therapy” เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นศูนย์กลางการรักษาโรคมะเร็งในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีทางด้านรังสีรักษาที่ให้ประสิทธิผลในผู้ป่วยมะเร็งและเนื้องอกที่ทันสมัย โดยใช้ระยะเวลาในการรักษาสั้น มีผลข้างเคียงน้อย ใช้ได้กับผู้ป่วยที่ไม่เหมาะกับการฉายรังสีแบบเดิม หรือรับการรักษาแบบเดิมแล้วไม่เป็นผล ข้อดีของการรักษาด้วยอนุภาคบำบัดคือมีความแม่นยำสูง ลำรังสีสามารถเข้าไปทำลายเซลซ์มะเร็งในความลึกและตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างแม่นยำในปริมาณรังสีที่เหมาะสม เนื่องจากลำรังสีจะคลายพลังงานเกือบทั้งหมดในตำแหน่งที่กำหนด จึงทำให้ปริมาณรังสีที่ผ่านเข้าสู่ร่างกายนั้นก่อผลกระทบกับเซลซ์ปกติน้อยมาก
  6. Nagoya University บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามในความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Nagoya ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 31 มกราคม 2558 ในประเด็นสำคัญ 2 เรื่องคือ 1. ความร่วมมือทางการศึกษา โดยมีการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางการแพทย์ระหว่าง 2 สถาบัน ในการฝึกอบรมทุกๆแขนงทางการแพทย์ 2. การแนะนำและส่งต่อผู้ป่วยระหว่างมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาล ในกรณีที่ผู้ป่วยจะมีการเดินทางมาประเทศไทย (และประเทศเพื่อนบ้าน) หรือ เดินทางไป Nagoya (และสถานที่ใกล้เคียง)

ด้านคุณภาพการให้บริการ

  • ณ สิ้นปี 2557 บริษัทเป็นกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่ได้รับการรับรองคุณภาพระดับประเทศ (Hospital Accreditation Thailand-HA) เป็นจำนวน 19 โรงพยาบาล
  • และได้รับการรับรองคุณภาพระดับสากล (Joint Commission International –JCI) จำนวน 12 โรงพยาบาล และ 1 คลินิก ได้แก่ ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ (ประกอบด้วย 3 โรงพยาบาล คือ โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ และโรงพยาบาลวัฒโนสถ) โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต โรงพยาบาลกรุงเทพสมุย โรงพยาบาลกรุงเทพหัวหิน โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา โรงพยาบาลบีเอ็นเอช และคลินิกเวชกรรมเกาะช้างอินเตอร์เนชั่นแนล

• บริษัทได้ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิการเช่าที่ดินระยะยาว ที่ถนนเยาวราช พื้นที่รวม 1-0-99 ไร่ พร้อมอาคารขนาด 12,000 ตารางเมตร บนที่ดินดังกล่าว จากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องเบสท์ ฟอร์จูน เป็นระยะเวลา 30 ปี เพื่อลงทุนปรับปรุงเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งใหม่ในนาม "โรงพยาบาลกรุงเทพไชน่าทาวน์" โดยโรงพยาบาลดังกล่าวจะมีศักยภาพทางการรักษาแบบ selected tertiary care services และให้การรักษาแบบ Advanced Emergency and Intermediate Care คาดว่าจะเริ่มเปิดให้บริการได้ภายในปี 2557

• บริษัทได้จัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ ในนาม บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น จำกัด มีทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำระแล้ว จำนวน 600 ล้านบาท โดยบริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 เพื่อเข้าซื้ออาคารโรงพยาบาลเวชประสิทธิ์ ที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และทำการปรับปรุงเพื่อเปิดให้บริการใหม่ ภายใต้ชื่อ "โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น" ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเปิดให้บริการได้ภายในปี 2557

• ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2556 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2556 ของบริษัทได้มีมติอนุมัติขยายระยะเวลาการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จำนวนไม่เกิน 154,545,888 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท โดยจะต้องดำเนินการภายในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีของบริษัทในครั้งถัดไป หรือภายในวันที่กฎหมายกำหนดให้ต้องจัดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีในครั้งถัดไป ทั้งนี้แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน

• ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2556 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2556 ของบริษัทได้มีมติอนุมัติการเข้าลงทุนซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหมดของบริษัท สหแพทย์เภสัช จำกัด ซึ่งเดิมเป็นบริษัทร่วมที่บริษัทถือหุ้นร้อยละ 49 ภายหลังการเสนอซื้อหุ้นดังกล่าว ทำให้บริษัทถือหุ้นในบริษัทสหแพทย์เภสัช จำกัดเพิ่มขึ้นจากเดิม 1,050,000 หุ้น หรือ ร้อยละ 49 เป็น 1,862,000 หุ้น หรือร้อยละ 86.89 ของทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วของบริษัท สหแพทย์เภสัช จำกัด

• บริษัท รอยัลบางกอก เฮลธ์แคร์ จำกัด (RBH) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 ได้ลงทุนซื้อหุ้นโรงพยาบาลกรุงธน (KDH) จากผู้ถือหุ้นเดิมบางรายเป็นการเฉพาะเจาะจง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.94 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ KDH ในขณะนั้น ในราคาหุ้นละ 55 บาท เป็นผลให้ RBH ต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของ KDH ในราคาเดียวกัน ภายหลังการทำคำเสนอซื้อหุ้นเสร็จสิ้น RBH ได้ถือหุ้น KDH ทั้งสิ้น จำนวน 3,750,859 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.01เมื่อรวมกับหุ้น KDH เดิมที่ถือโดยบริษัท จำนวน 3,002,029 หุ้น หรือร้อยละ 20.01 ทำให้กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพถือหุ้น KDH ทั้งสิ้นรวมร้อยละ 45.02 และบริษัท โรงพยาบาลกรุงธน จำกัด (มหาชน) ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อกิจการเป็น "บริษัท ธนบุรี เมดิเคิล เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)" (Trading Name : KDH)และเปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลสมิติเวชธนบุรีซึ่งถือเป็น โรงพยาบาลเครือข่ายแห่งที่ 30 ของเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ

• ต่อมาที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2556 ของ KDH ได้มีมติอนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียน จากเดิม 150 ล้านบาท อีกจำนวน 75 ล้านบาท รวมเป็นทุนจดทะเบียนทงั้ สนิ้ 225 ล้านบาท โดยการออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ผู้ถือหุ้นเดิม (Right Offering) จำนวน 7.5 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 80 บาท ในอัตราส่วน 2 หุ้นสามัญเดิมต่อ 1 หุ้นสามัญใหม่ โดยผู้ถือหุ้นเดิมทุกรายไม่มีสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนเกินสิทธิ ผลการเสนอขายหุ้น มีผู้ใช้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนเพียง จำนวน 4,384,226 หุ้น และกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพได้จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสิทธิทั้งจำนวน เป็นผลให้กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพมีสัดส่วนการถือหุ้นใน KDH เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 55.3 ของทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วภายหลังการเพิ่มทุน (193.84 ล้านบาท)

• บริษัทได้จัดตั้งบริษัทย่อย ในนาม บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพพิษณุโลก จำกัด มีทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำระแล้ว จำนวน 600 ล้านบาท และบริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 โดยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2556 บจก. โรงพยาบาลกรุงเทพพิษณุโลกได้เข้าซื้อและรับโอนกิจการทั้งหมดของ บริษัท โรงพยาบาลรัตนเวช จำกัด ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชน ที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยมีราคาซื้อและรับโอนกิจการทั้งหมด 576 ล้านบาท และเปิดให้บริการใหม่ภายใต้ชื่อ "โรงพยาบาลกรุงเทพพิษณุโลก" ซึ่งถือเป็นโรงพยาบาลเครือข่ายแห่งที่ 31 ของเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ในการนี้บริษัทได้เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จำนวนรวม 3,636,771 หุ้น ให้แก่กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท โรงพยาบาลรัตนเวช จำกัด ซึ่งเป็นการเสนอขายให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ในราคา 127.22 บาทต่อหุ้น รวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 463 ล้านบาท ทำให้บริษัทมีทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วเพิ่มขึ้นจาก 1,545,458,883 บาท เป็น 1,549,095,654 บาท

• บริษัทได้จัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ ในนาม บริษัท สมิติเวช ชลบุรี จำกัด โดยมีทุนจดทะเบียนจำนวน 600 ล้านบาท และบริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 เพื่อรองรับการเปิดให้บริการโรงพยาบาลเอกชนในนาม โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี ที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

• บริษัทได้จัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ในนาม บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพสุราษฎร์ จำกัด โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก จำนวน 300 ล้านบาท และบริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 เพื่อรองรับการเปิดให้บริการโรงพยาบาลเอกชนในนาม โรงพยาบาลกรุงเทพสุราษฎร์ ที่อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

• บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.69 ได้ลงทุนสร้างโรงพยาบาลแห่งที่สอง ในนาม โรงพยาบาลดีบุก มีมูลค่าลงทุนประมาณ 627 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเปิดให้บริการได้ภายในปี 2557

• บริษัทได้จัดตั้ง Holding Company ในประเทศสิงคโปร์ ในนาม BDMS Inter Pte. Ltd. สำหรับรองรับการลงทุนของกลุ่มในต่างประเทศ โดยมีทุนจดทะเบียน จำนวน 40,000 เหรียญสหรัฐและ N Health Asia Pte. Ltd. สำหรับการลงทุนในธุรกิจห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Lab) ของกลุ่มในต่างประเทศ โดยมีทุนจดทะเบียน จำนวน 40,000 เหรียญสหรัฐ นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทได้มีมติจัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่อีก 4 แห่ง เพื่อลงทุนสร้างโรงพยาบาลเอกชนและลงทุนด้านห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และเครื่องมือแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน โดยเป็นการลงทุนผ่านบริษัทย่อยที่เป็น Holding Company ในประเทศสิงคโปร์ ได้แก่ 1. จัดตั้งบริษัทย่อยที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อลงทุนสร้างโรงพยาบาลที่หลวงพระบางด้วยทุนจดทะเบียน เทียบเท่าจำนวน 10 ล้านบาท โดย BDMS Inter Pte. Ltd. (ประเทศสิงคโปร์) ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 2. N Health Myanmar Co., Ltd. มที นุ จดทะเบยี น 500,000 เหรยี ญสหรฐั ฯ ถอื หุ้น โดย N Health Asia Pte. Ltd. ในสัดส่วนร้อยละ 60 3. N Health Laos Co., Ltd. ทุนจดทะเบียน 200,000 เหรียญสหรัฐฯ ถือหุ้นโดย N Health Asia Pte. Ltd. ในสัดส่วนร้อยละ 70 4. N Health Cambodia Co., Ltd. ทุนจดทะเบียน 320,000 เหรียญสหรัฐฯ ถือหุ้นโดย N Health Asia Pte. Ltd. ในสัดส่วนร้อยละ 100

บริษัทลงทุนซื้อหุ้นสามัญบริษัทโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) เพิ่มเติม จำนวน 70,522,600 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.66 ของทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) ทำให้ปัจจุบันบริษัทถือหุ้นในบริษัทโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) จำนวนทั้งสิ้น 174,350,200 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.88 ของทุนที่ออกจำหน่ายและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

ที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2555 ได้อนุมัติให้บริษัทลดทุนจดทะเบียนจำนวน 7,932,525 บาท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 1,553,391,408 บาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่จำนวน 1,545,458,883 บาท และมีมติให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จำนวน 154,545,888 บาท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 1,545,458,883 บาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่จำนวน 1,700,004,771 บาท เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการระดมทุนของกิจการ อย่างไรก็ตามปัจจุบันบริษัทยังมิได้มีการเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไปดังกล่าว

บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ได้ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด (มหาชน) "PYT" เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ PYT ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ภายหลังเสร็จสิ้นการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ บริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด (มหาชน) ได้เพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555 และบริษัทมีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด (มหาชน) ทั้งสิ้นร้อยละ 98.32

บริษัทได้จัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ ในนาม บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ จำกัด โดยบริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 เพื่อรองรับการก่อสร้างโรงพยาบาลขนาด 200 เตียง ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่โดยมีทุนจดทะเบียน จำนวน 1,000 ล้านบาท และเรียกชำระแล้ว จำนวน 250 ล้านบาท

บริษัทได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ ในนามบริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพอุดร จำกัด โดยบริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 เพื่อดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ขนาด 120 เตียง ที่ถนนทองใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีทุนจดทะเบียนเรียกชำระเต็มจำนวน 500 ล้านบาท โดยบริษัทย่อยดังกล่าวได้เข้าลงทุนซื้อกิจการโรงพยาบาลเดิมจากโรงพยาบาลอุดรปัญญาเวช และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการภายใต้ชื่อ "โรงพยาบาลกรุงเทพอุดร" ในวันที่ 12 ธันวาคม 2555 ซึ่งถือเป็นโรงพยาบาลแห่งที่ 29 ของเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ

เครือโรงพยาบาลกรุงเทพมีวิสัยทัศน์นำหน้าด้านเทคโนโลยี นำนวัตกรรม ROBO DOCTOR คุณหมอหุ่นยนต์ หรือ Remote Presence System จากประเทศสหรัฐอเมริกา เพิ่มประสิทธิภาพการให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย โดยผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้อย่างใกล้ชิดและทันท่วงที เพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและได้มาตรฐาน มาใช้กับ 3 โรงพยาบาลนำร่อง ได้แก่ โรงพยาบาลกรุงเทพ (ซอยศูนย์วิจัย) โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เพิ่มประสิทธิภาพการส่งต่อผู้ป่วย การเข้าถึงการรักษาอย่างทันท่วงทีโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง สามารถซักถาม และโต้ตอบกันแบบเห็นหน้าผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลการรักษา นับเป็นการเสริมประสิทธิภาพการรักษาพยาบาลให้ผู้ป่วยและเพิ่มความมั่นใจให้กับคนไข้ที่มารับบริการมากยิ่งขึ้น

ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับประกาศนียบัตร FIFA Medical Centre of Excellence หรือ "ศูนย์เพื่อความเป็นเลิศทางการแพทย์ของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ" จาก ประธานฝ่ายแพทย์ของฟีฟ่า นายแพทย์ จีรี โวด์แรค (Jiri Dvorak, FIFA Chief Medical Officer) ซึ่งถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและอาเซียน และเป็นแห่งที่สามของเอเชีย (ประเทศญี่ปุ่น กาตาร์ ไทย และซาอุดิอาระเบีย) โดยในปัจจุบันมีสถาบันทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรองทั่วโลกอยู่ 26 สถาบันเท่านั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นการดำเนินงานในด้าน "เวชศาสตร์การกีฬา" ว่าทางศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพได้มีบทบาทและให้ความสำคัญเป็นอย่างดีมาโดยตลอด โดยได้เป็นผู้รับผิดชอบดูแลสุขภาพของนักฟุตบอลทีมชาติ นักฟุตบอลประจำทีมสโมสรฟุตบอลชั้นนำในไทยพรีเมียร์ลีก ทั้งในเรื่องของการดูแลรักษานักกีฬาที่เกิดการบาดเจ็บ การฟื้นฟูและมุ่งเน้นในเรื่องของการเพิ่มสมรรถภาพด้านร่างกาย เทคนิคการเตรียมความพร้อม เทคนิคการเล่นกีฬาเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดอีกทั้งยังรวมถึงงานด้านโภชนาการ และจิตวิทยาการกีฬา ได้อย่างมีมาตรฐาน

โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิด "สถาบันเวชศาสตร์การกีฬาและออกกำลังกายกรุงเทพ" หรือ Bangkok Academy of Sports and Exercise Medicine (BASEM) อย่างเต็มรูปแบบ เพิ่มความแข็งแกร่ง ยกระดับความก้าวหน้าด้านการบริการและการแพทย์ ด้วยมูลค่าลงทุนกว่า 70 ล้านบาท เพื่อตอบโจทย์ผู้นำด้านการดูแลสุขภาพ ตอบสนองไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่เน้นออกกำลังกายและเล่นกีฬา ให้บริการทางด้านการรักษาอาการบาดเจ็บและวิเคราะห์ผู้ที่มีปัญหาด้านการเล่นกีฬา ทั้งในเรื่องของการดูแลรักษานักกีฬาที่เกิดการบาดเจ็บ การฟื้นฟูและมุ่งเน้นในเรื่องการเพิ่มสมรรถภาพด้านร่างกาย เทคนิคการเตรียมความพร้อม เทคนิคการเล่นกีฬาเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งยังรวมถึงงานด้านโภชนาการ และจิตวิทยาการกีฬาได้อย่างมีมาตรฐาน เสริมทัพเมดิคัลฮับ ปักธงเป็นสถาบันด้านเวชศาสตร์การกีฬาชั้นนำในอาเซียน

บริษัทย่อย "บริษัท กรุงเทพพรีเมียร์นายหน้าประกันชีวิต จำกัด" (Bangkok Premier Life Insurance Broker) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองดูแลสุขภาพในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ผสานความร่วมมือกับบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ยกระดับคุณภาพชีวิตและการดูแลสุขภาพ ด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต การประกันสุขภาพและบริการผ่านช่องทางที่หลากหลาย เพื่อยกระดับและดูแลคุณภาพชีวิตในการพัฒนารูปแบบกรมธรรม์ใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคให้เข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ โดยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายยามเจ็บป่วย

เครือโรงพยาบาลพญาไท และ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ผนึกกำลังรุกตลาด เปิดศูนย์หัวใจแห่งใหม่ "ศูนย์หัวใจพญาไท 3 โดยโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ" ทุ่มงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท มุ่งขยายฐานลูกค้าฝั่งธนบุรี ตอกย้ำความเป็นผู้นำโรงพยาบาลหัวใจที่สมบูรณ์แบบได้มาตรฐานระดับสากล ชูเทคนิคการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยหัวใจไม่หยุดเต้น (Off-Pump CABG) พร้อมให้บริการด้านสุขภาพและโรคหัวใจอย่างครบครัน ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยและทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจครบทุกสาขา พร้อมเสริมศักยภาพความแข็งแกร่งในทุกด้าน ยกระดับความก้าวหน้าของคุณภาพการรักษาสู่มาตรฐานสากล (JCI) เพื่อดูแลหัวใจประชาชนฝั่งธนบุรีในมาตรฐานเดียวกับ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ โดยมีการให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างครบครัน ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น การตรวจด้วยอุปกรณ์พิเศษ การดูแลและการป้องกันโรคหัวใจ การรักษา การผ่าตัด การติดตามดูแลในห้องพักฟื้นผู้ป่วยหัวใจ ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีอันทันสมัยได้มาตรฐานสากล ไม่ว่าจะเป็นห้องผ่าตัด และเครื่องมือตรวจพิเศษหัวใจ

เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ผนึกกำลังครั้งสำคัญกับ เครือโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล พัฒนาเทคโนโลยีและบริการทางการแพทย์ เปิด "ศูนย์มะเร็ง" โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล โดย โรงพยาบาลวัฒโนสถ เพื่อตอบสนองความต้องการและไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้บริการได้อย่างตรงจุดและครอบคลุมมากที่สุด โดยให้บริการด้านการป้องกันและดูแลรักษา "โรคมะเร็ง" แบบครบวงจร ตั้งแต่การตรวจหามะเร็งในระยะแรก การวางแผน การรักษาเมื่อตรวจพบ จนกระทั่งถึงการรักษาแบบการฉายรังสีเพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเซลมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

สถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ประกาศความสำเร็จกับเทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่ของไทย ด้วยการผ่าตัดรักษาโรคปวดหลัง แบบแผลเล็กข้างลำตัว โดยไม่เลาะกล้ามเนื้อหลัง หรือ Direct Lateral Interbody Fusion (DLIF) ช่วยรักษาอาการโรคปวดหลัง ปวดขาจากกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หรือ กระดูกสันหลังคด โดยจุดเด่นคือ การผ่าตัดโดยไม่เลาะทำลายกล้ามเนื้อหลัง เสียเลือดน้อย แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว กลับบ้านได้เร็วกว่าเดิม โดยเทคนิคนี้ อาศัยเครื่องมือ ติดตามการทำงานของระบบประสาทขณะผ่าตัด หรือ IOM (Intraoperative Neuromonitoring) ส่งผ่านท่อขนาดเล็กประมาณ 1 นิ้ว เพื่อติดตามการทำงานของเส้นประสาทและไขสันหลัง และ นำใส่อุปกรณ์หนุนหมอนรองกระดูกไปแทนที่หมอนรองกระดูกที่เป็นปัญหาเดิม ทำให้กระดูกสันหลังข้อนั้นแข็งแรงขึ้น รับน้ำหนักร่างกายได้ดีขึ้น การปวดหลังจึงลดลง นอกจากนี้ ยังสามารถแก้ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนไปด้านหน้า (Spondylolisthesis) หรือ ภาวะกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) ในผู้ป่วยสูงอายุอย่างได้ผล โดยไม่จำเป็นต้องเลาะกล้ามเนื้อหลังยาวตลอด ซึ่งจะช่วยลดปัญหาปวดหลังเรื้อรัง ภาวะพังผืดเกาะเส้นประสาท ภาวะสกรูหลุดหลวม หรือ ภาวะสูญเสียกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งอาจเกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัดแบบเดิมได้

โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โรงพยาบาลวัฒโนสถ และโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล นวมินทร์ ผนึกกำลัง 3 โรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันจัดให้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "โครงการส่งต่อผู้ป่วยนอกเพื่อรับบริการรังสีรักษา" รักษาผู้ป่วย "มะเร็ง" โดยรังสีรักษา โดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยร่วมกันให้บริการผู้ป่วย เพื่อเพิ่มศักยภาพการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยเทคโนโลยีรังสีรักษา ให้กับผู้ป่วยทุกกลุ่ม

เดือนกุมภาพันธ์ 2554 บริษัทเข้าลงทุนซื้อหุ้นสามัญ บริษัทโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) โดย ณ สิ้นปี 2554 บริษัทถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวเป็นจำนวนทั้งสิ้น 103,827,600 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.25 ของทุนที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัทโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 บริษัทได้รับโอนกิจการทั้งหมดของบริษัท เฮลท์ เน็ตเวิร์ค จำกัด (มหาชน) เสร็จสิ้น ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นผลให้บริษัทถือหุ้นในบริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด (มหาชน) (เครือโรงพยาบาลพญาไท : โรงพยาบาลพญาไท 1-3 และโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ19.47 เป็น ร้อยละ 68.64 รวมทั้งได้ถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบกิจการเครือโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล อีก 4 แห่ง คือ บริษัท เปาโลเมดิค จำกัด (โรงพยาบาล เปาโลเมโมเรียล พหลโยธิน) ร้อยละ 100.0 บริษัท เปาโล สมุทรปราการ จำกัด (โรงพยาบาล เปาโลเมโมเรียล สุมทรปราการ) ร้อยละ 88.73 บริษัท การแพทย์สยาม จำกัด (โรงพยาบาล เปาโลเมโมเรียลโชคชัย 4) ร้อยละ 80.72 และ บริษัท ศูนย์การแพทย์ไทย จำกัด (มหาชน) (โรงพยาบาล เปาโลเมโมเรียล นวมินทร์) ร้อยละ 99.76 เป็นผลให้บริษัทมีโรงพยาบาลใน เครือทั้งหมดภายหลังการควบรวม เพิ่มขึ้นจากเดิม 19 แห่ง เป็น 27 แห่ง (โรงพยาบาลในประเทศ จำนวน 25 แห่ง และโรงพยาบาลในประเทศกัมพูชา จำนวน 2 แห่ง)

บริษัทได้ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด (มหาชน) "PYT” โดยมีระยะเวลารับซื้อหลักทรัพย์เป็นเวลาทั้งสิ้น 25 วันทำการ ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2554 ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2554 โดยเสนอค่าตอบแทนเป็น 2 ทางเลือก คือ เป็นเงินสดที่ราคา 3.71 บาท ต่อหุ้น หรือเป็นหุ้นสามัญของบริษัท "BDMS” ในอัตรา 10.1706 หุ้น PYT ต่อ 1 หุ้น BDMS โดยผู้ตอบรับคำเสนอซื้อจะต้องเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งเท่านั้น ภายหลังเสร็จสิ้นการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ บริษัทถือหุ้นในบริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด (มหาชน) เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 68.64 เป็นร้อยละ 97.10 ของทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วของ บริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด (มหาชน)

บริษัทได้ลงทุนซื้อหุ้นสามัญบริษัท อุดรพัฒนา (1994) จำกัด (โรงพยาบาลเอกอุดร) เพิ่มจำนวน 1,474,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.9 ทำให้บริษัทถือหุ้นทั้งหมดในบริษัทดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากเดิม 3,000,000 หุ้น หรือร้อยละ 10 เป็น 4,474,000 หุ้น หรือร้อยละ 14.9 ของทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วในบริษัท อุดรพัฒนา (1994) จำกัด และเมื่อรวมการถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวผ่าน บริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยและบริษัทร่วมตามลำดับ ทำให้บริษัทถือหุ้นในโรงพยาบาล เอกอุดร ทั้งสิ้นคิดเป็น ร้อยละ 28.17 ของทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วในบริษัทดังกล่าว

บริษัทได้ลงทุนจัดตั้งบริษัทย่อย "บริษัท กรุงเทพพรีเมียร์ นายหน้าประกันชีวิต จำกัด” โดยมีทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำระแล้ว จำนวน 4.0 ล้านบาท (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท)

บริษัทฯ ได้เปิดให้บริการโรงพยาบาลกรุงเทพ หัวหิน อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554 โดยโรงพยาบาลดังกล่าวเริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 บนเนื้อที่ 14 ไร่ ได้เปิดให้บริการในนามของคลีนิกเวชกรรมกรุงเทพหัวหิน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โรงพยาบาลกรุงเทพหัวหินเป็นอาคาร 5 ชั้น มีห้องสำหรับรับผู้ป่วยในได้ 60 ห้อง โดยชั้นที่ 1 เป็นห้องตรวจผู้ป่วยนอกและห้องตรวจผู้ป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุ ชั้นที่ 2 เป็นห้องผ่าตัดและ ICU ชั้นที่ 3 เป็นศูนย์ปฏิบัติการทางชีวโมเลกุล ฝ่ายธุรการ บริหารและฝึกอบรม ชั้นที่ 4 และ 5 เป็นอาคารผู้ป่วยใน มีพื้นที่ใช้สอยทั้งสิ้น 12,000 ตารางเมตร สำหรับชั้นที่ 6 เป็นลานจอดเฮลิคอปเตอร์ เพื่อใช้ในการลำเลียงผู้ป่วยหนักไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลในกรุงเทพ

โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้เปิด Bangkok Academy of Sports and Exercises Medicine (สถาบันเวชศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายกรุงเทพ) โดยนำวิทยาการด้านเวชศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายมาใช้ในการรักษาและพัฒนา เสริมสร้างสมรรถนะของร่างกายให้เต็มศักยภาพแก่นักกีฬา ทั้งอาชีพและสมัครเล่นทั้งในระดับทีมชาติและประชาชนทั่วไป เพื่อให้เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีการบาดเจ็บน้อยลง ตลอดจนการดูแลฟื้นฟูร่างกายภายหลังการเล่นกีฬา โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬาเป็นผู้ให้การดูแลและรักษา นอกจากนี้รพ.กรุงเทพ ยังเป็นผู้ให้การตรวจเช็คร่างกายนักกีฬาทีมชาติไทยที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์และโอลิมปิคเกมส์และเป็นผู้สนับสนุนหลักของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ดูแลสุขภาพให้แก่นักฟุตบอลทีมชาติไทย มากว่า 15 ปี

โรงพยาบาลวัฒโนสถ ได้นำความก้าวหน้าทางการแพทย์โดยการใช้เครื่อง PET/CT มาใช้ในการตรวจความเสื่อมของเซลล์สมอง เพื่อตรวจหาสาเหตุในระยะเริ่มแรกของโรคอัลไซเมอร์

โรงพยาบาลวัฒโนสถ ได้ลงทุนซื้อเครื่อง CT Simulator เพื่อให้สามารถเห็นรายละเอียดของภาพเอกซเรย์ในลักษณะ 3 มิติ ได้ชัดเจนขึ้น ทำให้ใช้ระยะเวลาในการวางแผนการรักษาสั้นลง

สถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ จัดการประชุมวิชาการการผ่าตัดกระดูกสันหลังครั้งใหญ่แห่งปี "Master Classes in Advanced Spine Surgery” โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรระดับโลก รองศาสตราจารย์นายแพทย์ริก ดีลามาเทอร์ (Dr. Rick Delamarter) และศาสตราจารย์นายแพทย์แดเนียล เค ริว (Dr. Daniel K. Riew) ศัลยแพทย์กระดูกสันหลังที่มีชื่อเสียงจากสหรัฐอเมริกา โดยมีนายแพทย์พุทธิพร เธียรประสิทธิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส สถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ พร้อมทีมแพทย์เข้าร่วมประชุมเสริมศักยภาพและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านกระดูกสันหลังอย่างคับคั่ง

สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลกรุงเทพ จัดพิธีลงนามเซ็นสัญญาความร่วมมือทางการแพทย์ระหว่างโรงพยาบาลกรุงเทพ และ โรงพยาบาลในประเทศญี่ปุ่น 10 แห่ง โดยมี ฯพณฯ เซอิจิ โคจิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เป็นประธานในการลงนาม ร่วมกับ นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ของบริษัท ตลอดจนตัวแทนจากโรงพยาบาลในประเทศญี่ปุ่นร่วมลงนามเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงพยาบาลในประเทศไทยกับโรงพยาบาลในประเทศญี่ปุ่น

โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิด เคาน์เตอร์ เซอร์วิสโรงพยาบาลกรุงเทพ ที่บริเวณด่านผู้โดยสารขาออก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่ออำนวยความสะดวกให้บริการกับผู้ป่วยชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามารักษาในโรงพยาบาล

โรงพยาบาลกรุงเทพได้เปิดให้บริการ อาคารบางกอก พลาซา (Bangkok Plaza) เพื่อเป็นศูนย์รวมร้านค้า ร้านอาหาร และธนาคาร ตลอดจนร้านสะดวกซื้อเปิดตลอด 24 ชั่วโมง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มาใช้บริการในโรงพยาบาลและประชาชนในย่านซอยศูนย์วิจัยเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554

บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพ ราชสีมา จำกัด ซึ่งเป็นบริษทย่อยที่บริษัทถือหุ้นร้อยละ 89.7 ได้เปิดให้บริการ "โรงพยาบาลกรุงเทพปากช่อง” ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา นับเป็นโรงพยาบาลแห่งที่ 28 ของเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ

บริษัทได้เข้าลงทุนในบริษัท โรงพยาบาลกรุงธน จำกัด (มหาชน) "KDH” ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนขนาด 150 เตียง โดยการเข้าซื้อหุ้นจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของ KDH ด้วยมูลค่าการลงทุนเริ่มแรกคิดเป็นร้อยละ 16.82 ของจำนวนทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำระแล้วของ KDH และภายหลังได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในบริษัทดังกล่าว เป็นร้อยละ 20.01 ของทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วของ KDH

บริษัทได้เพิ่มทุนในบริษัท กรีนไลน์ ซินเนอร์จี้ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 จากทุนจดทะเบียนเดิม 30 ล้านบาท เป็น 200 ล้านบาท เพื่อลงทุนปรับปรุงบริการด้านระบบสารสนเทศที่ให้บริการแก่เครือข่ายทั้งหมด

โรงพยาบาลวัฒโนสถ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง ได้ เปิด "ศูนย์โลหิตวิทยากรุงเทพ” (Bangkok Hematology Center) เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2553 เพื่อให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคเลือด โดยทีมแพทย์เฉพาะทางด้านโลหิตวิทยา รวมทั้งมีห้องปฏิบัติการเพื่อการวินิจฉัยที่ได้มาตรฐานระดับสูง และมีธนาคารเลือดในการสำรองและเก็บเลือด ศูนย์โลหิตวิทยากรุงเทพเน้นการให้บริการแบบองค์รวม เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บริษัทได้ปรับโครงสร้างธุรกิจของกลุ่ม โดยการโอนซื้อกิจการทั้งหมด (Entire Business Transfer) ของบริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพหัวหิน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 เพื่อโอนการดำเนินโครงการโรงพยาบาลกรุงเทพหัวหิน จากเดิมที่อยู่ภายใต้บริษัทย่อยมาดำเนินงานเองภายใต้บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) โดยถือเป็นสาขาหนึ่งของโรงพยาบาลกรุงเทพ ที่หัวหิน เพื่อประโยชน์ในด้านการลดค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อนของการบริหารจัดการ เพิ่มความคล่องตัวในการบริหารงานและจัดการทรัพยากรระหว่างกัน โดยเฉพาะการบริหารจัดการทรัพยากรทางการแพทย์ ซึ่งจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามนโยบายยิ่งขึ้น

โรงพยาบาลกรุงเทพหัวหิน เป็นโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มีมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น ประมาณ 850.0 ล้านบาท โดย ณ วันโอนกิจการทั้งหมด โรงพยาบาลกรุงเทพหัวหิน ยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ทั้งนี้ภายหลังการโอนทรัพย์สินทั้งหมดมายังบริษัทแม่ บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพหัวหิน จำกัด ได้จดทะเบียนเลิกกิจการเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 และปัจจุบันอยู่ในระหว่างขั้นตอนการชำระบัญชี

บริษัทได้เข้าเพิ่มทุนในบริษัท รอยัล บางกอก เฮ็ลธ์แคร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้น ในสัดส่วนร้อยละ 100 จากทุนจดทะเบียนเดิม จำนวน 1.0 ล้านบาท เป็น 736.0 ล้านบาท เพื่อนำเงินเพิ่มทุนดังกล่าวไปลงทุนซื้อหุ้นบริษัท เอ เอ็น บี แลบบอราตอรี่ส์ (อำนวยเภสัช) จำกัด ("ANB”) จากผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหมด เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2553 เป็นมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 734.0 ล้านบาท ทั้งนี้ ANB เป็นผู้ผลิตน้ำเกลือรายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายยาและวัสดุภัณฑ์ทางการแพทย์ โดยมี ยอดการส่งออกไปต่างประเทศ ประมาณร้อยละ 20 จากยอดขายรวมทั้งหมด

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท วาระพิเศษ ครั้งที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2553 ได้มีมติเห็นชอบการเข้าร่วมกิจการระหว่างบริษัทและบริษัท เฮลท์ เน็ตเวิร์ค จำกัด (มหาชน) (เครือโรงพยาบาลพญาไทและเปาโลเมโมเรียล) โดยให้บริษัทเข้าซื้อและรับโอนกิจการทั้งหมด (Entire Business Transfer) ของบริษัท เฮลท์ เน็ตเวิร์ค จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือหุ้นส่วนใหญ่โดยนายวิชัย ทองแตง และครอบครัว โดยรายการดังกล่าวจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทก่อนดำเนินการ

บริษัทได้ลงทุนซื้อ "เครื่อง Open MRI 1.0 T” เครื่องเดียวในประเทศไทย โดยในการใช้บริการ ผู้ป่วยไม่ต้องเข้าอุโมงค์เหมือนเครื่องรุ่นก่อน ซึ่งจะช่วยลดความอึดอัดของผู้ป่วยที่จะเข้าในที่แคบ และไม่ต้องดมยาสลบ

สถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ (Bangkok Spine Academy) นำเทคนิคการผ่าตัดแผลเล็กมาใช้ในการผ่าตัดกระดูกสันหลัง โดยการส่องกล้อง Microscope ลดความเจ็บปวดเสียเลือดน้อย และหายเร็ว

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพร่วมกับ Pacific Rim Electrophysiology Research Institute จัดตั้ง "สถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม โรงพยาบาลกรุงเทพ" และเปิด"คลินิกหัวใจเต้นผิดจังหวะ” นำทีมโดย นพ.กุลวี เนตรมณี แพทย์อเมริกันบอร์ด ด้านอายุกรรมและด้านสรีระไฟฟ้าหัวใจ ให้บริการด้านบริการตรวจและรักษาผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยการใช้สายสวนพิเศษจี้ทำลายจุดกำเนิดหรือวงจรที่ผิดปกติในห้องหัวใจการตรวจสรีระไฟฟ้าหัวใจและการฝังอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าหัวใจ

บริษัทได้ลงทุนซื้อ เครื่องตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือด (Bi-plane DSA) ใช้ในการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดทั่วร่างกาย โดยให้ภาพเสมือนจริง ด้วยภาพดิจิตอลคุณภาพสูง 2 ล้านพิกเซล และทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการสร้างภาพ 3 มิติ สามารถเห็นสายสวนหลอดเลือดที่ขนาดเล็กมากเท่าเส้นผมได้ชัดเจนแม่นยำยิ่งขึ้น

ม.กรุงเทพธนบุรี เป็นเอกชนไหม

“มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี” ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการอุดมศึกษาและผ่านการอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ให้เปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจาก “วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี” เป็น “มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี(มกธ.) หรือ Bangkokthonburi University (BTU)” ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๒

ม.กรุงเทพเปิดสอนคณะอะไรบ้าง

คณะที่เปิดรับ.

คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ.

คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์.

คณะนิติศาสตร์.

คณะนิเทศศาสตร์.

คณะบริหารธุรกิจ.

คณะบัญชี.

คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว.

คณะวิศวกรรมศาสตร์.

ม.เอเชียอาคเนย์ กพ รับรองไหม

สำเร็จปริญญาตรีทุกสาขาวิชา จากสถาบันศึกษาของรัฐและเอกชนทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่ ก.พ. รับรองมาตรฐาน

ม.กรุงเทพธนบุรี เป็นของใคร

ชีวิตส่วนตัว นายชาญชัยมีภรรยาคนแรกชื่อ นางวิไลพร ชัยรุ่งเรือง มีธิดา 2 คน ภรรยาคนคนต่อมา คือนางศิริพร (วงศ์สวัสดิ์) ชัยรุ่งเรือง ภายหลังการหย้าร้าง นายชาญชัยได้แต่งงานกับภรรยาคนล่าสุด คือ ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล ซึ่งเป็นแม่ม่าย เจ้าของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ทำให้นายชาญชัยได้เป็นประธานบริหารมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ใน ...