จ นด ม ต.ใหม อ.โนนส ง จ.นครราชส มา

�� �� � � � � Disease Review " �Ѻ�����"��������

โนนสูง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา เดิมชื่อ อำเภอกลาง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอโนนวัด และอำเภอโนนสูงตามลำดับ เป็นอำเภอที่เป็นทางสัญจรสำคัญอำเภอหนึ่ง มีทั้งถนนมิตรภาพ ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ แม่น้ำมูล และแม่น้ำลำเชิงไกรไหลผ่าน และมีพื้นที่ติดกับอำเภอเมืองนครราชสีมา ประชากรส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเป็นชาวไทยโคราช และมีชาวไทยอีสานกับชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนน้อย ชาวอำเภอโนนสูงส่วนใหญ่จะมีนามสกุลลงท้ายด้วยคำว่า "กลาง" ซึ่งเป็นชื่อเดิมของอำเภอ เช่นเดียวกับอำเภออื่น ๆ ในจังหวัดนครราชสีมา ที่นิยมลงท้ายนามสกุลด้วยชื่ออำเภอ

ประวัติ[แก้]

  • พ.ศ. 2440 เมื่อได้สถาปนาเมืองนครราชสีมาขึ้นแล้วประมาณ 442 ปี ทางราชการ จึงได้รวบรวมตำบลต่างๆ อันประกอบไปด้วย ตำบลจันอัน ตำบลด่านคล้า ตำบลโนนสูง ตำบลขามเฒ่า ตำบลขามสะแกแสง (ปัจจุบันเป็นอำเภอขามสะแกแสง) ตำบลโนนวัด ตำบลเสลา (ปัจจุบันทั้งสองตำบลเป็นหมู่บ้านขึ้นกับตำบลพลสงคราม) ตำบลโตนด ตำบลทองหลาง ตำบลบิง และตำบลใหม่ ยกฐานะเป็นอำเภอ ใช้ชื่อว่า “อำเภอกลาง” โดยมีพระยากำธรพายัพทิศ (ดิษฐ์ โสฬส) เป็นนายอำเภอคนแรก เมื่อก่อนตำบลต่างๆ เหล่านี้ไปขึ้นกับท้องถิ่นอื่นๆ เช่น แขวงพิมาย แขวงบัวใหญ่ แขวงจอหอ (ปัจจุบันเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอเมือง) และแขวงท่าช้าง (ปัจจุบันคืออำเภอเฉลิมพระเกียรติ) ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอกลางอยู่ในเขตตำบลโนนสูงบริเวณวัดร้าง ซึ่งปัจจุบันคาดว่าเป็นชุมชนบ้านเพิ่ม สาเหตุที่ทางราชการตั้งชื่ออำเภอกลางนั้น ก็เพราะว่าเป็นชุมชนที่กึ่งกลางระหว่าง อำเภอเมือง ซึ่งเป็นเขตชั้นในกับแขวงบัวใหญ่ (ก่อตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2442) ที่อยู่รอบนอกมีสภาพเป็นชายแดนของจังหวัด หลังจากตั้งอำเภอขึ้นมาไม่นานทางราชการก็ตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น ใช้ข้าหลวงประจำจังหวัด (ผู้ว่าราชการจังหวัด) จึงให้ทุกอำเภอตั้งนามสกุลโดยมีชื่ออำเภอหรือชื่อท้องถิ่นเป็นคำอยู่ในนามสกุลโดยมีชื่ออำเภอหรือชื่อท้องถิ่นเป็นคำอยู่ในนามสกุลด้วย เพื่อประโยชน์ที่จะได้สืบหาถิ่นกำเนิดได้ง่าย ชาวอำเภอกลางจึงมีนามสกุลลงท้ายว่า “กลาง” ยิ่งกว่านั้นหลายตำบลยังกำหนดให้มีคำขึ้นต้นที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละตำบลด้วย เช่น ขอ,จง,มุ่ง,หวัง เป็นต้นโดยให้เอาคำที่เป็นชื่อแทนตำบลไว้คำแรกแล้วเอาคำว่ากลาง ซึ่งเป็นชื่ออำเภอไว้เป็นคำสุดท้าย เช่น ขอฝากกลาง จงสืบกลาง และหวังดีกลาง เป็นต้น ส่วนอำเภออื่นๆ ของจังหวัดนี้ก็ปฏิบัติ เช่นเดียวกัน ดังนั้น จังหวัดนครราชสีมาจึงเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ได้ยินชื่อ และนามสกุลแล้วสามารถบอกได้ว่าเป็นคนท้องถิ่นใดหรืออาจจะชี้ให้ลึกลงไปถึงระดับตำบลได้ด้วย
  • ใน พ.ศ. 2459 พระยากำธรพายัพทิศ นายอำเภอกลาง ได้พิจารณาเห็นว่าสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอทับที่วัดร้างอยู่ เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อสถานที่จึงได้เสนอขอเปลี่ยนชื่อจากอำเภอกลางเป็น “อำเภอโนนวัด” แต่มิได้เปลี่ยนนามสกุลของประชาชนที่ได้จัดตั้งไปแล้ว ตามชื่อใหม่ของอำเภอแต่อย่างใด รวมที่ใช้ชื่อ “อำเภอกลาง” 19 ปี
  • ระหว่าง พ.ศ. 2460-2461 พระบริรักษ์นครเขต เป็นนายอำเภอ พิจารณาเห็นว่าสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอไม่เหมาะสม จึงได้ย้ายมาจัดสร้างขึ้นใหม่ในบริเวณที่ตั้งปัจจุบัน (อาคารที่ว่าการอำเภออยู่ตรงบริเวณสวนป่าหน้าอาคารแผนกทะเบียนราษฎร) โดยก่อสร้างเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น หันมุขไปทางทิศเหนือและยังคงใช้ชื่อว่าอำเภอโนนวัดอยู่ตามเดิม
  • ใน พ.ศ. 2461 ทางราชการโดย “พระยาสุริยราชวราภัย (ศิริ วิเศษโกสิน)” ได้ตั้งโรงเรียนประจำอำเภอขึ้น คือ โรงเรียนศรีธานี เป็นโรงเรียนมัธยมอันดับที่ 3 ของจังหวัด ใช้รหัส (ปักอักษรติดอกเสื้อนักเรียนว่า น.ม.3) นอกจากนั้นอำเภอโนนสูงยังเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนกสิกรรมชื่อ "โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคอีสาน"(ต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แล้วย้ายอีกครั้งไปตั้งที่ตำบลแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ จนถึงปัจจุบันและยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย)
  • วันที่ 15 มีนาคม 2480 จัดตั้งเทศบาลตำบลโนนสูง ในพื้นที่ตำบลโนนสูง
  • พ.ศ. 2487 นายชม วัลลิภากร เป็นนายอำเภอโนนวัด กระทรวงมหาดไทยได้ตราพระราชฎีกาปรับปรุงเขตการปกครองอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เสียใหม่นายอำเภอโนนสูงจึงได้โอนบางหมู่บ้านของตำบลทองหลาง ไปขึ้นกับอำเภอท่าช้าง และโอนบางหมู่บ้านไปขึ้นตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอจอหอ พร้อมกันนั้นก็ให้ยุบตำบลเสลา และตำบลโนนวัดรวมกันแล้วตั้งเป็นตำบลพลสงครามและได้เปลี่ยนชื่ออำเภอโนนวัดเป็นอำเภอ “โนนสูง” มาจนถึงปัจจุบัน รวมเวลาที่ใช้ชื่ออำเภอโนนวัด 28 ปี ในขณะที่เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอโนนสูง มีเขตการปกครอง 11 ตำบล ปัจจุบันมีตำบลที่ตั้งขึ้นใหม่ได้แก่ ดอนชมพู มะค่า ธารปราสาท เมืองปราสาท หลุมข้าว ลำคอหงษ์ ลำมูล และดอนหวาย ส่วนตำบลที่ถูกยุบและโอนไป ได้แก่โนนวัด เสลา ทองหลาง ขามสะแกแสง
  • วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2493 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลโนนสูง และ ตั้งตำบลธารปราสาท โดยรวมท้องที่ที่เคยเป็นพื้นที่ของเทศบาลตำบลโนนสูง (ตำบลโนนสูง) เนื่องจากมีการปรับพื้นที่ให้เล็กลง
  • วันที่ 19 ธันวาคม 2495 ตั้งตำบลเมืองนาท แยกออกจากตำบลขามสะแกแสง และ ตำบลพลสงคราม
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลมะค่า ในท้องที่บางส่วนของตำบลพลสงคราม (ในขณะนั้น)
  • วันที่ 25 พฤศจิกายน 2511 แยกพื้นที่ตำบลขามสะแกแสง และตำบลเมืองนาท อำเภอโนนสูง ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอขามสะแกแสง ขึ้นกับอำเภอโนนสูง
  • วันที่ 1 กันยายน 2513 ตั้งตำบลมะค่า แยกออกจากตำบลพลสงคราม ตั้งตำบลดอนชมพู แยกออกจากตำบลบิง และ ตั้งตำบลหลุมข้าว แยกออกจากตำบลธารปราสาท
  • วันที่ 3 มิถุนายน 2514 จัดตั้งสุขาภิบาลตลาดแค ในท้องที่บางส่วนของตำบลธารปราสาท
  • วันที่ 29 มิถุนายน 2516 ยกฐานะเป็น อำเภอขามสะแกแสง
  • ปี พ.ศ. 2521 นายสมบัติ สืบสมาน นายอำเภอโนนสูง เห็นว่าอาคารที่ว่าการอำเภอโนนสูงหลังเดิมซึ่งเป็นไม้เก่าแก่ ชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา จึงประสานขอรับงบประมาณจากกรมการปกครอง ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอเป็นอาคารตึก 2 ชั้น ที่ตั้งอยู่หลังที่ว่าการอำเภอหลังใหม่นี้ ปัจจุบันใช้เป็นห้องเก็บวัสดุครุภัณฑ์ของส่วนราชการ
  • วันที่ 19 ธันวาคม 2524 ได้โอนหมู่ 1 (บ้านหนุก) และ หมู่ 16 (บ้านนามาบ) (ในขณะนั้น) จากตำบลขามเฒ่า อำเภอโนนสูง ไปขึ้นกับตำบลขามสะแกแสง อำเภอขามสะแกแสง
  • ในปี พ.ศ. 2528 ฯพณฯ วิรัช รัตนเศรษฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา เขต 3 (ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น) ได้กรุณาประสานงานกับกรม การปกครองขอรับการสนับสนุนเพื่อก่อสร้างอาคารหอประชุม
  • วันที่ 12 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลลำคอหงษ์ แยกออกจากตำบลขามเฒ่า
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2534 ตั้งตำบลเมืองปราสาท แยกออกจากตำบลด่านคล้า และ ตำบลจันอัด
  • วันที่ 1 มกราคม 2535 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลโนนสูง (ครั้งที่ 2)
  • วันที่ 15 กันยายน 2536 ตั้งตำบลดอนหวาย แยกออกจากตำบลโตนด และ ตั้งตำบลลำมูล แยกออกจากตำบลบิง และ ตำบลโตนด
  • ในปี 2539 ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ (ปัจจุบัน) ซึ่งนับว่าเป็นที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ที่สง่างาม เป็นศูนย์กลางในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ระดับหนึ่ง จะเป็นที่ให้บริการของรัฐให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ในการติดต่อราชการได้อย่างทั่วถึงต่อไป และท่านยังได้กรุณาสนับสนุนงบประมาณตามโครงการพัฒนาจังหวัด ของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ ตามข้อเสนอของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จัดซื้อครุภัณฑ์ สำหรับข้าราชการ โต๊ะประชุมเป็นแบบเหล็ก รวมเป็นเงิน 185,000 บาท
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลมะค่า และ สุขาภิบาลตลาดแค เป็น เทศบาลตำบลมะค่า และ เทศบาลตำบลตลาดแค
  • ในอดีตอำเภอโนนสูงเป็นอำเภอที่มีความเจริญสูงสุดอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา เพราะมีทางรถไฟผ่าน ทำให้การคมนาคมสินค้าเกษตรกรรม และหัตถกรรมเป็นไปด้วยความสะดวก คนจีนเข้ามาตั้งร้าน (โรงเจ็ก) ค้าขายสินค้า มีการก่อสร้างโรงสีไฟ (โรงสีข้าว)ขึ้นในเขตเทศบาล 2 โรง ราษฎรนำข้าวเปลือก สินค้าหัตถกรรมและของป่ามาขาย แล้วซื้อส่งของที่จำเป็นในการครองชีพจากตลาดออกไป นอกจากนั้นราษฎรที่มีฐานะดี และเห็นความสำคัญของการศึกษาได้ส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนศรีธานี (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนโนนสูงศรีธานี) อำเภอโนนสูงจึงมีความเจริญดังกล่าวแล้ว ต่อมาได้มีการตัดถนนสายใหม่เรียกชื่อว่าถนนมิตรภาพ การติดต่อกับอำเภอเมืองที่มีความเจริญสูงกว่า ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ถนนหนทางได้รับการพัฒนาอย่างกว้างขวาง การคมนาคมเปลี่ยนจากเดินเท้า ใช้เกวียนใช้รถจักรยาน (รถถีบ) ไปเป็นรถจักรยานยนต์ รถยนต์ ทั้งรถส่วนตัวและรถโดยสารประจำทาง ประกอบด้วยตำบลขามสะแกแสง ได้ยกฐานะเป็นอำเภอมีตลาดมีโรงเรียนประจำอำเภอ มีบริการทางการแพทย์ของตนเอง ปัจจุบัน อำเภอโนนสูงได้รับการคัดเลือกจากกรมการปกครองให้เป็นนายอำเภอมิติใหม่ โดยสนับสนุนการพัฒนาประสิทธิภาพการบริการประชาชนของอำเภอ จนมีมาตรฐานการบริการได้รับการยกย่องให้เป็นอำเภอตัวอย่าง

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอโนนสูงตั้งอยู่ทางตอนกลาง ค่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอขามสะแกแสงและอำเภอคง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพิมาย
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอจักราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอเมืองนครราชสีมา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโนนไทยและอำเภอขามสะแกแสง

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอโนนสูงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 16 ตำบล 195 หมู่บ้าน ได้แก่

1. โนนสูง (Non Sung) - หมู่บ้าน 2. ใหม่ (Mai) 16 หมู่บ้าน 3. โตนด (Tanot) 12 หมู่บ้าน 4. บิง (Bing) 12 หมู่บ้าน 5. ดอนชมพู (Don Chomphu) 13 หมู่บ้าน 6. ธารปราสาท (Than Prasat) 19 หมู่บ้าน 7. หลุมข้าว (Lum Khao) 17 หมู่บ้าน 8. มะค่า (Makha) 15 หมู่บ้าน 9. พลสงคราม (Phon Songkhram) 15 หมู่บ้าน 10. จันอัด (Chan-at) 8 หมู่บ้าน 11. ขามเฒ่า (Kham Thao) 15 หมู่บ้าน 12. ด่านคล้า (Dan Khla) 14 หมู่บ้าน 13. ลำคอหงษ์ (Lam Kho Hong) 12 หมู่บ้าน 14. เมืองปราสาท (Mueang Prasat) 13 หมู่บ้าน 15. ดอนหวาย (Don Wai) 7 หมู่บ้าน 16. ลำมูล (Lam Mun) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอโนนสูงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 18 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลโนนสูง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสูงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลมะค่า ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลมะค่า
  • เทศบาลตำบลตลาดแค ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลธารปราสาท
  • เทศบาลตำบลใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลใหม่ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลด่านคล้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลด่านคล้าทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลดอนหวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนหวายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโตนด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโตนดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบิงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนชมพู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนชมพูทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลธารปราสาท ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธารปราสาท (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลตลาดแค)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหลุมข้าวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมะค่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะค่า (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลมะค่า)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพลสงคราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพลสงครามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจันอัด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจันอัดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลขามเฒ่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขามเฒ่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำคอหงษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำคอหงษ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองปราสาท ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองปราสาททั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำมูล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำมูลทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

พระยาสุริยราชวราภัย, หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ, ชม ศุขปริมัตถ์, ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ชุมนุมช่าง, 2515, หน้า 90