ซ ปเปอร แบงค ม.ร ตนบ ณฑ ต ล าส ด

คว่ำกม.ตรวจเงินแผ่นดิน ขวางเพิ่มอำนาจคตง.-หวั่นจับโกงฐานเสียง

เผยแพร่: 23 พ.ย. 2552 20:11 โดย: MGR Online

ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ (23 พ.ย.)โดยมีนายนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุม ซึ่งประชุมได้รับทราบกรอบการใช้จ่ายเงินกู้ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟู และเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 โดยเปิดโอกาสให้ ส.ว.ได้อภิปรายแสดงความเห็น ซึ่งหลายคนยังติติงว่าเป็นการโยกงบประมาณจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 1.5 แสนล้านบาท ที่เดิมจะนำไปชดใช้เงินคงคลังมาลงในโครงการไทยเข้มแข็ง ทั้งนี้ ส.ว.บางคนแสดงความเห็นว่า เป็นการใช้งบประมาณที่ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ เพราะเป็นการนำไปลงทุนในโครงการเล็กๆ กระจัดกระจายเป็นเบี้ยหัวแตก ทั้งที่การกู้เงินควรนำมาลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่าหากมีความจำเป็นต้องกู้เงิน ก็ควรจะเข้าตามตรอกออกตามประตู เพราะคำรับรองว่า ไม่มีการโกง ใครๆ ก็พูดได้ ด้านพล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ขณะนี้มีคนกลุ่มหนึ่งกำลังวิ่งเต้นให้การจัดซื้อจัดจ้างใน 3 หมวดไม่ต้องผ่านการประมูลทาง อี-อ็อกชั่น ด้านนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ชี้แจงว่ารัฐบาลไม่สามารถจะคิดในเชิงบวกไว้ก่อนว่าเศรษฐกิจในอนาคตจะไม่เลวร้าย จึงต้องเตรียมหาทางออกไว้ก่อน เหตุที่ไม่ออกเป็นงบประมาณกลางปี ก็เพราะงบประมาณรายจ่ายประจำปี 43 ได้ตั้งไว้เป็นงบขาดดุลซึ่งเหลือช่องไว้ให้กู้เงินอีกจำนวนไม่มาก ทั้งนี้ หลังจากที่ประชุมใช้เวลาแสดงความเห็นมานานกว่าสองชั่วโมง ประธานในที่ประชุม ได้แจ้งว่า ถือว่าที่ประชุมให้การรับทราบกรอบการใช้จ่ายเงินดังกล่าวแล้ว ในขณะที่ ส.ว.อีกหลายคน อาทิ นายอนุรักษ์ นิยมเวช นาย เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ฯลฯได้แสดงความจำนงที่จะไม่ขอรับทราบกรอบการใช้เงินกู้ดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเพราะไม่เห็นด้วยกับการใช้เงินกู้ในลักษณะนี้

**คว่ำร่าง พ.ร.บ.ตรวจเงินแผ่นดิน ต่อมาเมื่อ เวลา 12.30 น. ที่รัฐสภาที่ประชุมวุฒิสภาได้พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินในวาระ 2 และ 3 ต่อจากการประชุมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ต้องปิดประชุมกลางคัน เพราะองค์ประชุมไม่ครบ ซึ่งเป็นการพิจารณาต่อในมาตรา 116 ว่าด้วยเรื่องของบทเฉพาะกาล ที่ระบุไว้ว่า มิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามดำรงตำแหน่งเกินหนึ่งวาระมาใช้กับผู้ที่เคยเป็นกรรมการ คตง. ซึ่งวุฒิสภามีมติเลือกให้เป็นกรรมการ เมื่อปีพ.ศ.2540 โดยที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบกับร่างของกรรมาธิการฯ ที่ไม่ได้มีการแก้ไข ด้วยคะแนนเสียง 65 ต่อ 58 งดออกเสียง 11 จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาต่อจนครบทั้ง 121 มาตรา ซึ่งนายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ส.ว.นครศรีธรรมราช และนางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ เสนอให้มีการลงคะแนนลับ ในวาระที่ 3 โดยให้เหตุผลว่าเป็นเพราะส.ว.สรรหา ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการลงมติใน ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะเกิดความอึดอัดใจ เพราะเกรงจะกระทบต่อวาระการดำรงตำแหน่งของตัวเอง จึงขอเสนอญัตติให้ลงคะแนนเป็นการลับ ขณะที่น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี แสดงความไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า ส.ว.ทุกคนควรมีความกล้าหาญที่จะตัดสินใจ เพราะในอดีตไม่เคยมีลงมติกฎหมายใดๆ ด้วยวิธีลับ จึงเสนอให้มีการลงคะแนนโดยเปิดเผย ทั้งนี้หลังจากที่ประชุมได้ลงมติ ปรากฏว่าเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการลงมติโดยเปิดเผย จากนั้นจึงเข้าสู่การลงมติในวาระ 3 ทั้งฉบับทันที ผลปรากฏว่า ที่ประชุมลงมติเห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินเพียง 70 เสียง ต่อ 53 เสียง งดออกเสียง 16 ไม่ลงคะแนน 2 เสียง ซึ่งถือว่าได้เสียงเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่งของที่ประชุม คือ 75 เสียง ทำให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินไม่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมวุฒิสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับขั้นตอนต่อไป ประธานวุฒิสภา จะต้องแจ้งผลการลงมติดังกล่าวต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกัน ของทั้งสองสภาฯ ขึ้นมาพิจารณาศึกษารายละเอียดอีกครั้ง ก่อนจะนำไปขอความเห็นชอบจากที่ประชุมของแต่ละสภาฯ ในขั้นตอนต่อไป ซึ่งหากวุฒิสภายังยืนยันไม่เห็นด้วยกับ ร่าง พ.ร.บ. ที่กรรมาธิการร่วมกันแก้ไข สภาผู้แทนราษฎร ก็สามารถยืนยันร่างที่สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอ เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ ลงพระปรมาภิไธยประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ทันที สำหรับเนื้อหาสาระที่สำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ต้องการยกระดับ คตง.และสตง. ให้เทียบเท่าองค์กรอิสระอื่นๆ เพราะเดิมเมื่อ คตง.ตรวจสอบแล้ว ต้องส่งเรื่องไปยัง ป.ป.ช. เมื่อป.ป.ช.รับเรื่องก็ต้องตั้งกรรมการไต่สวนอีก สตง. ก็ต้องไปให้ปากคำอีก จึงเกิดความซ้ำซ้อน ร่างกฎหมายฉบับนี้จึงให้ คตง.เดินให้สุดทาง โดยล้อวิธีการเดินของ ป.ป.ช. คือเรื่องต้องไปที่อัยการก่อน หากอัยการไม่เห็นด้วย ก็ตั้งคณะกรรมการร่วมกัน หากยังไม่เห็นพ้องกัน คตง. ก็ฟ้องศาลที่อยู่ในเขตอำนาจเองได้ และยังให้อำนาจ คตง. ตรวจสอบลงไปถึงในระดับท้องถิ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นฐานเสียงของนักการเมืองด้วย

**ยอมรับโหวตชนะแต่ไม่ถึงเกณฑ์ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน วุฒิสภา กล่าวว่า น่าเสียดายที่ วุฒิสภามีเสียงเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่งตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ อย่างไรก็ดีขั้นต่อไปสภาผู้แทนราษฎร สามารถหยิบยกร่างกฎหมายดังกล่าวขึ้นมายืนยันได้ทันที เพราะเป็นร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงิน ซึ่งขึ้นกับสภาจะพิจารณา เมื่อถามว่า คะแนนโหวตของเสียงไม่เห็นด้วย รวมกับผู้ที่งดออกเสียง ห่างกับผู้ที่เห็นชอบเพียง 1 คะแนน แสดงว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวมีปัญหาจริงตามที่ ส.ว.ทักท้วง นายไพบูลย์ กล่าวว่า ตนยังมองว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่มีปัญหา และดีแล้ว และสภาผู้แทนราษฎร ก็แก้ไขอย่างละเอียดประมาณ 50 มาตรา วุฒิสภาจึงไม่ได้แก้ไข และเห็นว่าปัญหาคอร์รัปชั่น วันนี้ยิ่งพุ่งสูงมากขึ้น ถ้าใครคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวที่จะกระทบหากกฎหมายฉบับนี้ออกไป ตนก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร อย่างไรก็ดี คะแนนโหวตเห็นชอบยังมากกว่าผู้ไม่เห็นชอบ เพียงแต่ไม่ถึงเกณฑ์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดเท่านั้น ส่วนผู้ที่งดออกเสียงไม่มีนัยยะอะไร งดออกเสียงอาจไปข้างเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ได้ เป็นการไม่แสดงเสียงออกมาเท่านั้น อาจกลัวบางฝ่ายต่อว่า ว่าทำไมถึงไปเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายฉบับนี้ และกลัวมีปัญหาต่อกัน เป็นต้น

**เปิดรายชื่อผู้โหวตรับ-ไม่รับ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการลงมติร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ…. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแล้วร่าง พ.ร.บ.นี้ตกไป สำหรับรายชื่อส.ว.ที่เห็นด้วยมี 70 คน คือ 1.พันโทกมล ประจวบเหมาะ ส.ว.สรรหา 2.พล.ต.ต.เกริก กัลยาณมิตร ส.ว.สรรหา 3.พล.อ. เกษมศักดิ์ ปลูกสวัสดิ์ ส.ว.สรรหา 4.นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา 5.นายจารึก อนุพงษ์ ส.ว.สรรห 6.นางจิราวรรณ จงสุธนามณี วัฒนศิริธร ส.ว.เชียงราย 7.นายเจตน์ ศิริธรานนท์ ส.ว.สรรหา 8.นายชรินท์ หาญสืบสาย ส.ว.ตาก 9.นายชลิต แก้วจินดา ส.ว.สรรหา 10. พล.อ.อ.ณพฤษภ์ มัณฑะจิตร ส.ว.สรรหา 11.นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี 12.นางตรึงใจ บูรณสมภพ ส.ว.สรรหา 13.นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา 14.นายถนอม ส่งเสริม ส.ว.อุบลราชธานี 15.นายถาวร ลีนุตพงษ์ส.ว.สรรหา 16.นายทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต ส.ว.สรรหา 17.นางกีระณา สุมาวงศ์ ส.ว.สรรหา 18.นายธนู กุลชล ส.ว.สรรหา 19.นายธวัช บวรวนิชยกูร ส.ว.สรรหา 20.นายธีระจิตต์ สถิโรตมวงศ์ ส.ว.สรรหา 21.นางนิลวรรณ เพชระบูรณิน ส.ว.สรรหา 22.นายบรรชา พงศ์อายุกูล ส.ว.พิจิตร 23.นายบุญชัย โชควัฒนา ส.ว.สรรหา 24.นายประสงค์ นุรักษ์ ส.ว.สรรหา 25.นายประสาน มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา 26.นายประเสริฐ ชิดพงษ์ ส.ส.สงขลา 27. ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ส.ว.สรรหา 28.นายพรพจน์ กังวาล ส.ว.ระนอง 29.นางพรพรรณ บุญรัตนพันธุ์ ส.ว.สรรหา 30.นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ส.ว.พิษณุโลก 31.นายพิชัย อุตมาภินันท์ ส.ว.สรรหา 32.นายพิเชต สุนทรพิพิธ ส.ว.สรรหา 33.นายไพบูลย์ ซำศิริพงษ์ ส.ว.ปทุมธานี 34.นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา 35. ร.ท.ภูมิศักดิ์ หงษ์หยก ส.ว.สรรหา 36.นายมงคล ศรีคำแหง ส.ว.จันทบุรี 37.นายมณเฑียร บุญตัน 38.นายมานพ น้อยวานิช ส.ว.พังงา 39.นายยุทธนา ไทยภักดี ส.ว.สรรหา 40.นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. 41.นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา 42. พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ ส.ว.สรรหา 43.นายวรวิทย์ วงษ์สุวรรณ ส.ว.ลพบุรี 44.นายวรวุฒิ โรจนพานิช ส.ว.สรรหา 45.นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา 46.นายวันชัย แสงสุขเอี่ยม ส.ว.สรรหา 47.นายวิทวัส บุญญสถิตย์ ส.ว.สรรหา 48.นายวิรัติ พาณิชย์พงษ์ ส.ว.สรรหา 49.พ.ต.อ.สนธยา แสงเภา ส.ว.สรรหา 50.นายสมชาติ พรรณพัฒน์ ส.ว.นครปฐม 51. นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา 52.นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ ส.ว.สรรหา 53.นายสมัคร เชาวภานันท์ ส.ว.สรรหา 54 .นายสาย กังกเวคิน ส.ว.ระยอง 55. พล.ท.สุจินดา สุทธิพงศ์ สรรหา 56. พล.ต.อ. สุนทร ซ้ายขวัญ ส.ว.สรรหา 57. นายสุพจน์ โพธิ์ทองคำ ส.ว.สรรหา 58.นางสาวสุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี 59.นายสุรจิต ชิรเวทย์ ส.ว.สมุทรสงคราม 60. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา 61 .นายสุรเดช จิรัฐติเจริญ ส.ว.ปราจีนบุรี 62. พล.ร.อ.สุรศักดิ์ ศรีอรุณ ส.ว.สรรหา 63.นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ ส.ว.สรรหา 64.นายอนุรักษ์ นิยมเวช ส.ว.สรรหา 65.นายอนุศักดิ์ คงมาลัย ส.ว.สรรหา 66.นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล ส.ว.สรรหา 67.นางอัจฉรา เตชฤทธิพิทักษ์ ส.ว.สรรหา 68.พล.ต.อ. อำนวย เพชรศิริ ส.ว.สรรหา 69 นายอิทธิพล เรืองวรบูรณ์ ส.ว.สรรหา 70. นางอุไร คุณานันทกุล ส.ว.สรรหา

**ส.ว.ที่ไม่เห็นด้วย 53 คน 1. นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร 2. พลตำรวจตรี ขจร สัยวัตร์ ส.ว.หนองคาย 3. นายขวัญชัย พนมขวัญ ส.ว.แพร่ 4. นายจตุรงค์ ธีระกนก ส.ว.ร้อยเอ็ด 5. นายจรัล จึงยิ่งรุ่งเรือง ส.ว.สระบุรี 6. พ.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ส.ว.มุกดาหาร 7. นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ 8.นางจิตร์ธนา ยิ่งทวีลาภา ส.ว.ชัยนาท 9. นายเจริญ ภักดีวานิช ส.ว.พัทลุง10 .นายชูชัย เลิศพงศ์อดิศร ส.ว.เชียงใหม่ 11. นายฐิระวัตร กุลละวณิชย์ ส.ว.สรรหา 12. นายต่วนอับดุลเล๊าะ ดาโอ๊ะมารียอ ส.ว.ยะลา 13. นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง ส.ว.บุรีรัมย์ 14.นายธันว์ ออสุวรรณ ส.ว.ประจวบคีรีขันธ์ 15. นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ 16.นายบวรศักดิ์ คณาเสน ส.ว.อำนาจเจริญ 17. นายบุญส่ง โควาวิสารัช ส.ว.แม่ฮ่องสอน 18. นายประดิษฐ์ ตันวัฒนะพงษ์ ส.ว.สกลนคร 19. นายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี 20. พล.ท.พงศ์เอก อภิรักษ์โยธิน ส.ว.พะเยา 21.นายพรชัย สุนทรพันธุ์ ส.ว.สรรหา 22. พล.ต.ท.พิชัย สุนทรสัจบูลย์ ส.ว.อุดรธานี 23. นายพีระ มานะทัศน์ ส.ว.ลำปาง 24. นายไพโรจน์ ถัดทะพงษ์ ส.ว.สรรหา 25. นายภิญโญ สายนุ้ย ส.ว.กระบี่ 26. นายยุทธนา ยุพฤทธิ์ ส.ว.ยโสธร 27. นางรสสุคนธ์ ภูริเดช ส.ว.สรรหา 28. พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา 29. นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา 30. นายวิทยา อินาลา ส.ว.นครพนม 31. นายวิระ มาวิจักขณ์ ส.ว.สรรหา 32. นายแวดือราแม มะมิงจิ ส.ว.สรรหา 33. นายศุภวัฒน์ เทียนถาวร ส.ว.สิงห์บุรี 34. นายสมศักดิ์ บุญเปลื้อง ส.ว.ลำพูน 35.นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว.อุทัยธานี 36. นายสิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล ส.ว.กาฬสินธุ์ 37. นายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ส.ว.นครศรีธรรมราช 38. นายสุโข วุฑฒิโชติ ส.ว.สมุทรปราการ 39. นายสุพจน์ เลียดประถม ส.ว.ตราด 40.นายสุเมธ ศรีพงษ์ ส.ว.นครราชสีมา 41.นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี 42. นายสุรพงษ์ ตันธนศรีกุล ส.ว.กาญจนบุรี 43. นายสุริยา ปันจอร์ ส.ว.สตูล 44. นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล ส.ว.สมุทรสาคร 45. นายสุอำภา คชไกร ส.ว.สุโขทัย 46. นายโสภณ ศรีมาเหล็ก ส.ว.น่าน 47. พล.ต.ต. องอาจ สุวรรณสิงห์ ส.ว.เลย 48. นายอนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ส.ว.สุรินทร์ 49. พล.อ.อ. อาคม กาญจนหิรัญ ส.ว.สรรหา 50. นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธุ์ ส.ว.ขอนแก่น 51. พ.ต.อ.พายัพ ทองชื่น ส.ว.สรรหา 52.นางสมพร จูมั่น ส.ว.เพชรบูรณ์ 53. นางสาวศรีสกุล มั่นศิลป์ ส.ว.ครสวรรค์

**งดออกเสียง 16 คน 1. พล.ต.กลชัย สุวรรณบูรณ์ ส.ว.ชุมพร 2. นางสาวเกศสิณี แขวัฒนะ ส.ว.อยุธยา 3.พล.ร.อ.ณรงค์ ยุทธวงศ์ ส.ว.สรรหา 4. นางสาวทัศนา บุญทอง ส.ว.สรรหา รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 5. นางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย ส.ว.ภูเก็ต 6. นายนิคม ไวยรัชพานิช ส.ว.ฉะเชิงเทรา รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม 7. นายประวัติ ทองสมบูรณ์ ส.ว.มหาสารคาม 8.นายประสพสุข บุญเดช ส.ว.สรรหา ประธานวุฒิสภา 9. พล.ต.ท.มาโนช ไกรวงศ์ ส.ว.สุราษฎร์ธานี 10. นายรุสดี บินหะยีสะมะแอ ส.ว.สรรหา 11. นายวรวิทย์ บารู ส.ว.ปัตตานี 12. นายวิเชียร คันฉ่อง ส.ว.ตรัง 13. นายสงคราม ชื่นภิบาล ส.ว.สรรหา 14. นางสุกัญญา สุดบรรทัด ส.ว.สรรหา 15. นายธวัชชัย บุญมา ส.ว.นครนายก 16. นางพรทิพย์ จันทร์รัตนปรีดา ส.ว.ชัยภูมิ

**ไม่ลงคะแนนเสียง - 2 1.นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี 2. นายรักพงษ์ ณ อุบล ส.ว.อุบลราชธานี **ไม่อยู่ในห้องประชุม 9 คน 1. นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ส.ว.สรรหา 2. พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ ส.ว.อ่างทอง 3.นายจำนงค์ สวมประคำ ส.ว.สรรหา 4. นายโชติรัส ชวนิชย์ ส.ว.สรรหา 5. ศาสตราภิชานพินิจ กุลละวณิชย์ ส.ว.สรรหา 6. นายมูหามะรอสดี บอตอ ส.ว.นราธิวาส 7. นางยุวดี นิ่มสมบุญ ส.ว.สรรหา 8. พล.ต.ต.สุเทพ สุขสงวน ส.ว.สรรหา 9. นายอนันต์ วรธิติพงศ์ ส.ว.สรรหา

สำหรับการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว ที่สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบแล้ว และส่งมาให้วุฒิสภาพิจารณา โดยมีสาระสำคัญมีสาระสำคัญที่ มาตรา 3 ซึ่งบัญญัติให้ไม่สามารถยกเลิกตำแหน่ง