ตัวอย่าง การ เขียน ประเมิน ตนเอง

ทำดีเสมอต้นเสมอปลาย เป็นสิ่งที่ใช้ได้เสมอกับทุกสิ่ง โดยเฉพาะกับการประเมินผลการทำงาน เพราะเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เราเห็นภาพการทำงานที่มีมาตลอดทั้งปีของเรา อีกทั้ง สิ่งที่เราทำ คือ สิ่งที่เพื่อนร่วมงานของเราเห็น เมื่อหัวหน้าของเราแอบมาถามเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับตัวเรา สิ่งที่เขาเห็น และเกิดขึ้นจริงเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยพิสูจน์เกี่ยวกับตัวเรา

การเตรียมความพร้อมในการประเมินผลงานตนเอง ให้ลองตั้งคำถาม 3 ข้อนี้กับตัวเองดูก่อนว่า ที่ผ่านมาเราทำงานออกมาเป็นที่น่าพอใจเพียงใด แล้วเรายังพอมีเวลาให้เราสามารถปรับตัว ให้เป็นพนักงานคนเก่งได้หรือไม่

  1. ผลงานที่ผ่านมาของเราดีแค่ไหน? (Good)

ลองหยุดคิดแล้วถามตัวเองว่า ที่ผ่านมาเราทำงานเป็นอย่างไร? ผลงานที่ดีที่สุดคืออะไร? มีผลงานชิ้นไหนบ้างที่เราภูมิใจเป็นพิเศษ? เมื่อสามารถตอบคำถามดังกล่าวได้แล้ว ให้ลองตั้งเป้าหมายในการทำงานของปีต่อไป ว่าควรมีรูปแบบอย่างไร? โดยให้เรารวบรวมผลงานที่ดี ในปีที่ผ่านมาของเรามาเป็นแบบอย่าง แล้วนำไปพัฒนาต่อยอดต่อไป เพื่อให้การทำงานของเราดีขึ้นเรื่อย ๆ และเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เราทำ จะสร้างประโยชน์ให้กับบริษัท แล้วตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่

  1. มีงานไหนบ้างที่ทำออกมาไม่ดี? (Bad)

ลองฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของคนอื่นเกี่ยวกับ งาน ของเรา เพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ คิดเห็นเกี่ยวกับงานของเราว่าเป็นอย่างไรบ้าง? แต่การจะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนั้น ให้เราเปิดใจให้กว้าง ให้คิดว่าสิ่งที่เขาพูดออกมานั้น เป็นโอกาสที่เราจะได้นำไปปรับปรุงตัว แล้วทำให้เราสามารถทำงานได้ดีขึ้น อย่าคิดว่าเพื่อนกำลังใส่ร้ายเรา หรือกำลังกล่าวถึงข้อเสียของเราอย่างไม่มีเหตุผล เมื่อรู้ว่าคนอื่นมีความเห็นเกี่ยวกับงานของเราว่าเป็นอย่างไรแล้ว ให้รวบรวมความคิดเห็นเหล่านั้น มาปรับปรุง เพื่อให้การทำงานของเราดีขึ้น

  1. วางแผนที่จะทำอะไรต่อไป? (Try)

แม้ว่าการทำงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา จะทำให้เราเห็นภาพรวมบ้างแล้ว ว่าการทำงานของเราเป็นอย่างไร แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรมองข้าม คือ การ วางแผนการทำงาน เพราะจะทำให้เราสามารถทำงานได้สะดวกมากขึ้น และมองเห็นแนวทางว่าการทำงานของเรา จะเป็นไปในทิศทางใด แม้ว่าตำแหน่งหน้าที่การงานของเราอาจจะไม่ได้เปลี่ยนแปลง เรายังคงทำงานในตำแหน่งเดิม แต่ควรคิดเพิ่มด้วยว่า เราจะทำอย่างไรให้งานตำแหน่งเดิมของเรามีคุณค่า และมีความหมายมากกว่าเดิม หรืออยากลองทำอะไรใหม่ ๆ เพื่อเสริมให้งานของเรามีความน่าสนใจมากขึ้น บางคนอาจจะมองไปถึง การทำงานในตำแหน่งงานใหม่ เพื่อค้นหาความหมายให้กับชีวิตการทำงานของตนเอง ว่าจริง ๆ แล้วงานแบบใดที่เหมาะกับตัวเรา

การประเมินผลงานประจำปี เป็นช่วงที่ทำให้เราได้ใช้เวลาคิดทบทวนถึงการทำงานตลอดปีที่ผ่านมา เพื่อให้เราได้มีโอกาสสำรวจการทำงานของตัวเองดูว่า ทำออกมาได้ดีมากน้อยเพียงใด และยังเป็นโอกาสที่จะทำให้เราได้พัฒนาฝีมือในการทำงานให้ออกมาได้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นการทำให้พนักงานคนเก่า ได้กลายเป็นพนักงานคนเก่ง ที่มีมาตรฐานในการทำงานที่ดีขึ้น และทำงานที่เป็นประโยชน์กับบริษัทต่อไป

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ขั้นตอนการวางแผนประเมินผลงานประจำปี

คุณพร้อมกับการประเมินผลงานประจำปีแล้วหรือยัง

ความอยู่ดีมีสุขในที่ทำงาน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

เผลอแป๊บเดียวเราก็เดินทางมาถึงช่วงปลายปีกันอีกครั้ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คนเริ่มนั่งทบทวนสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปีไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องงาน เพื่อเตรียมวางแผนและตั้งเป้าหมายต่อไปสำหรับปีหน้า ซึ่งการที่เราจะตั้งเป้าหมายที่ดีได้เราก็ต้องรู้จักตัวเองก่อน การประเมินตนเองช่วงปลายปีจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราได้รู้ศักยภาพที่แท้จริง และได้ทบทวนผลงานที่ผ่านมาตลอดปีว่าเป็นยังไง

และนี่คือ 6 ขั้นตอนการประเมินตนเอง ที่ JobThai อยากนำมาบอกต่อเพื่อให้คุณสามารถนำไปตั้งเป้าหมายได้ต่อไป

1. บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา

ใช้เวลาในการคิดทบทวนและมองย้อนกลับไปว่าตลอดทั้งปีนี้มีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง ทั้งเรื่องที่เราทำสำเร็จ คำชมที่ได้รับจากหัวหน้า และข้อผิดพลาดที่อยากกลับไปแก้ไข สิ่งเหล่านี้อาจถูกจดบันทึกในสมุดส่วนตัว หรือบน Social Media ก็ได้ ซึ่งมันจะช่วยให้เราเห็นภาพช่วงเวลาสำคัญต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในปีต่อ ๆ ไปพอเรากลับมาเปิดสมุดบันทึกเล่มเดิม หรือเฟซบุ๊กแจ้งเตือนโพสต์จากปีก่อน ๆ ขึ้นมาให้เราได้ย้อนอ่านสิ่งที่เคยเขียนไว้ เราก็จะเห็นเส้นทางการเติบโตของตัวเองในแต่ละปีว่ามาจนถึงตอนนี้เรามีความเปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้าง

2. ประเมินตัวเองอย่างเป็นกลาง

นำบันทึกเหตุการณ์ที่เขียนมาเริ่มประเมินตนเองอย่างเป็นกลางและตรงไปตรงมาให้มากที่สุด โดยการประเมินแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

การประเมินตนเองในรูปแบบความเห็น

ลองมองตัวเราเองเป็นเหมือนพนักงานคนนึงในออฟฟิศ แล้วเขียนคำแนะนำในการทำงานให้กับเขาดูว่าตลอดทั้งปีมีจุดไหนที่ควรปรับแก้บ้าง เช่น เราคิดว่าตัวเองน่าจะแสดงความเห็นในห้องประชุมให้มากกว่านี้นะ เราควรต้องออกไปหาลูกค้าให้บ่อยกว่าเดิม หรือ เราควรทำงานให้ละเอียดมากขึ้น

การประเมินทักษะโดยให้คะแนนเป็นตัวเลข

เขียนทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเป็นข้อ ๆ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการขาย หรือ ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และเริ่มให้คะแนนตัวเองในช่วงตัวเลข 1 – 5 โดยที่ เลข 1 หมายถึง “ต้องพัฒนาอย่างจริงจัง” และ เลข 5 หมายถึง “ทำได้ดีมาก”

3. เปรียบเทียบผลงานที่ทำกับผลการประเมินตนเอง

พอได้ผลการประเมินออกมาแล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่ามันเชื่อถือได้ และการให้คะแนนของเรานั้นเป็นกลาง เหมาะสม คำตอบคือให้เอาผลการประเมินมาเปรียบเทียบกับเนื้องานจริงที่ทำออกมา เช่น ตัวเลขรายรับที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนที่ลดลง หรือจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้จะแสดงให้เห็นว่าคะแนนที่เราประเมินตนเองนั้นสอดคล้องไปกับผลลัพธ์หรือไม่

4. เปรียบเทียบผลงานที่ทำกับเป้าหมายที่เคยตั้งไว้

นำเป้าหมายที่ตั้งไว้เมื่อตอนต้นปีมาเปรียบเทียบกับผลงานที่ทำจริงว่าตลอดปีมีเป้าหมายไหนที่เราทำสำเร็จ หรือเป้าหมายไหนที่ล้มเหลวบ้าง ถ้างานไหนล้มเหลวก็มองให้ลึกลงไปว่างานนั้นล้มเหลวเพราะอะไร เป้าหมายบางอย่างอาจไม่สำเร็จตามที่ตั้งเอาไว้เพราะความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และปัจจัยอื่น ๆ ที่เข้ามาแทรกแซงและส่งผลกระทบกับเนื้องานจนทำให้ต้องตัดสินใจละทิ้งเป้าหมายนั้นไป

ถ้าความล้มเหลวไม่ได้เกิดขึ้นจากเรา ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะเคยตั้งเป้าว่าเราจะทำให้จำนวนลูกค้าของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นในปีนี้ แต่ปรากฏว่าการระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงทำให้การออกไปพบปะผู้คนเป็นไปได้ยาก ซึ่งทุกคนในทีมต่างก็เจอกับปัญหาแบบเดียวกัน สิ่งที่ดีที่สุดที่พอจะทำได้ก็คือการรักษาฐานลูกค้าเก่าเอาไว้แทน ถ้าเจอสถานการณ์ที่คล้าย ๆ กันแบบนี้ให้ลองถามตัวเองดูว่า “เราทำงานในส่วนของเราดีพอรึยัง?” ถ้าเราทำเต็มที่ที่สุดแล้วก็ไม่จำเป็นต้องโทษตัวเอง ถ้าเหตุผลของเราหนักแน่นพอ ยังไงคนเป็นหัวหน้าก็ต้องพยายามเข้าใจเราอยู่แล้ว

5. สอบถามคนใกล้ตัว

บางครั้งเราอาจจะเผลอประเมินผลแบบเข้าข้างตัวเอง หรืออาจให้คะแนนตัวเองต่ำเกินไป เพราะฉะนั้นการสอบถามจากคนใกล้ตัว เช่น การถามความคิดเห็นหรือการขอคำแนะนำจากเพื่อนร่วมทีมก็จะช่วยให้เรามองเห็นตัวเองได้ชัดขึ้น พยายามฟังทุกคำแนะนำอย่างเปิดรับ ไม่มีอคติ และนำมาประเมินอีกครั้งว่ามันสอดคล้องกับผลการประเมินตัวเองที่เราทำเอาไว้ทีแรกรึเปล่า

6. วางแผนและตั้งเป้าหมายในปีหน้า

เมื่อเราเห็นภาพรวมของตัวเองตลอดปีนี้แล้ว ก็ได้เวลาตั้งเป้าหมายของปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง โดยดูว่าเราจะปรับปรุงจุดอ่อนที่มีและพัฒนาจุดแข็งต่อไปได้ยังไง คะแนนการประเมินตนเองจะช่วยทำให้เราเข้าใจศักยภาพที่มีในตัว และสามารถตั้งเป้าหมายของปีถัดไปให้ออกมาท้าทายความสามารถในระดับที่กำลังดี ไม่ง่ายไม่ยากจนเกินไป

ในปีหน้าอาจคอยสังเกตการทำงานของตัวเองอยู่เรื่อย ๆ และจดบันทึกเอาไว้โดยเฉพาะในเหตุการณ์สำคัญที่มีผลกับเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ แล้วเมื่อเดือนธันวาคมวนกลับมาอีกครั้งเราก็จะเห็นว่าอะไรคือตัวแปรที่ทำให้เราประสบผลสำเร็จ และสิ่งที่คอยรั้งเราไม่ให้ไปถึงเป้าหมายคืออะไร

แบบประเมินตนเอง เขียนยังไง

หลักที่ใช้ในการเขียนแบบประเมินตนเอง คือ การเขียนเนื้อหาที่กระชับ ตรงประเด็น และสะท้อนการเรียนรู้ขององค์กร ตามหัวข้อในมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพของ สรพ. – เรื่องที่บรรยายควรสะท้อนการเปลี่ยนแปลงในแนวคิดและขั้นตอนการดำเนินงานของแต่ละกระบวนงาน ไม่นำสิ่งที่ทำปกติงานประจำมาเขียนพรรณนา

การประเมินตัวเอง มีอะไรบ้าง

บทเรียนที่ 8 - การประเมินตนเอง Self Assessment.

ความรับผิดชอบต่อตนเอง.

ค่านิยม.

ความรับผิดชอบด้านการเงิน.

ทักษะความสามารถ.

เป้าหมายชีวิต.

ความต้องการจำเป็น.

สุขภาพ.

ความสนใจ.

ประเมินตนเอง ยังไงดี

6 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการประเมินตัวเองปลายปี เพื่อความสำเร็จในปีหน้า.

บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา.

ประเมินตนเองอย่างเป็นกลาง.

เปรียบเทียบผลงานที่ทำกับผลการประเมินตนเอง.

เปรียบเทียบผลงานที่ทำกับเป้าหมายที่เคยตั้งไว้.

สอบถามคนใกล้ตัว.

วางแผนและตั้งเป้าหมายของปีหน้า.

วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีอะไรบ้าง

1. วัดตามเป้าหมายของการปฏิบัติงาน ... .

2. ให้คะแนนตาม Job Description. ... .

3. วัดจากประสิทธิภาพในการทำงาน ... .

4. ให้พนักงานให้คะแนนความพึงพอใจในงานของตนเอง ... .

5. วัดจากผลงานของทีม ... .

6. วัดจากความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน ... .

7. วัดจากความคุ้มค่า ... .

8. วัดจากการขาด ลา มาสาย.