Ar left ventricle ม preload ออกกำล งกายแล วหอบเหน อย

เคยเป็นไหม? รู้สึกเหนื่อยง่าย เดินหรือวิ่งนิดหน่อยก็เหนื่อยแล้ว ยิ่งตอนออกกำลังกายมักรู้สึกเหนื่อยหอบจนหายใจไม่ทัน ซึ่งหลายคนที่มีอาการแบบนี้มักเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติที่อัตราการเต้นของหัวใจจะต้องเร็วขึ้นเมื่อออกกำลังกายจึงไม่สงสัยอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาการเหนื่อยหอบตอนออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ต้องระวัง! เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของ “โรคหัวใจ” ที่กำลังลุกลาม

ดังนั้น หากสงสัยหรือมีอาการเกิดขึ้นบ่อยๆ ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองสุขภาพหัวใจด้วยการ “เดินสายพานหัวใจ” ซึ่งเป็นเทคนิคการค้นหาความผิดปกติของหัวใจขณะออกกำลังกาย ที่เรียกว่า EST (Exercise Stress Test) โดยผลตรวจที่ได้มีความแม่นยำสูง! ทั้งยังให้คำตอบได้ว่าการหายใจหอบเหนื่อยที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากความผิดปกติของหัวใจหรือเปล่า

การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายคืออะไร?

การตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกาย โดยปกติจะใช้สำหรับการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยผู้เข้ารับการตรวจจะออกกำลังกายด้วยการเดินบนสายพานหรือปั่นจักรยาน เพื่อวัดค่าการตอบสนองของหัวใจ เพราะขณะออกกำลังกายหัวใจก็จะเต้นเร็วขึ้น และจำเป็นต้องได้รับเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นด้วย หากผู้เข้ารับการตรวจมีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ เลือดจะไม่สามารถเดินทางมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก และหากมีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติก็จะมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจแสดงออกมาเป็นกราฟให้เห็น ซึ่งตลอดการทดสอบ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจจะควบคุมดูแลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย จึงไว้วางใจได้ว่าทุกขั้นตอนมีความปลอดภัยสูงมาก

EST เดินสายพานหัวใจ กับ ปั่นจักรยาน แบบไหนเหมาะกับใคร?

การออกกำลังกายเพื่อให้หัวใจเต้นแรงและทำงานหนักขึ้น หรือ EST นี้ โดยทั่วไปจะมีอุปกรณ์ให้เลือกใช้ 2 อย่าง คือ

  • แบบเดินสายพานไฟฟ้า (Treadmill) ซึ่งข้อดีคือ สามารถปรับตั้งโปรแกรมการทดสอบได้หลากหลาย ควบคุมทั้งความเร็วและความชันของลู่วิ่งได้สะดวกและตลอดเวลาการทดสอบได้ง่าย
  • แบบปั่นจักรยาน (Bicycle ergometer) เหมาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องการเดินหรือการทรงตัว

    การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายเหมาะกับใครบ้าง?

    1. ผู้ที่มีปัจจัยเสียงโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ผู้สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ขาดการออกกำลังกาย ตรวจพบไขมันในเลือดสูง เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเมื่อออกแรงหรือออกกำลังกาย
    2. ผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสียง แต่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
    3. ผู้ที่กลับมาออกกำลังกายหลังจากหยุดไปนาน
    4. ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่มีความกังวล หรือเคยเจ็บแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยผิดปกติขณะออกกำลังกาย

      ขั้นตอนการตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST

      ในขั้นตอนการตรวจ จะมีการต่อขั้วและสายนำไฟฟ้าบริเวณหน้าอกของผู้เข้ารับการทดสอบ 10 สาย เข้ากับเครื่องตรวจระบบคอมพิวเตอร์ ในขณะที่เดินหรือวิ่งอยู่บนสายพานลู่วิ่งนั้น เครื่องจะบันทึกและแสดงลักษณะของคลื่นนำไฟฟ้าหัวใจ พร้อมทั้งความดันโลหิตไว้ แพทย์ผู้ควบคุมการทดสอบจะมีการเพิ่มความเร็วและความชันของเครื่องเป็นระยะๆ ตามโปรแกรม โดยจะเลือกให้เหมาะกับผู้เข้าทดสอบแต่ละราย

      ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่จู่ ๆ วันหนึ่งเกิดเหนื่อยง่าย หอบขึ้นมา แถมเจ็บหน้าอกด้านซ้าย อาการเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณอันตรายของโรคหัวใจขาดเลือด

      แน่นหน้าอกแบบไหนคือหัวใจขาดเลือด

      ภาวะหัวใจขาดเลือดมักเกิดขึ้นฉับพลัน ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ผู้ป่วยบางรายตอนกลางวันใช้ชีวิตปกติ พอตกเย็นไปวิ่งออกกำลังกายแล้วเกิดอาการแน่นหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่าย ขาบวม หน้ามืด เป็นลม โดยอาการแน่นหน้าอกดังกล่าวเกิดขึ้นด้านซ้าย แล้วร้าวไปที่หัวไหล่และต้นแขนซ้าย หรือลงไปถึงลิ้นปี่ แต่ไม่ถึงสะดือ ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ขณะออกกำลังกายควรหยุดออกกำลังกายทันที รีบไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ และพิจารณารับการตรวจเพิ่มเติม

      สัญญาณเตือนหัวใจขาดเลือด

      ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำและนักกีฬาส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเหนื่อย หอบ หมดแรง หายใจติดขัด หรือแน่นหน้าอก อาจเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นจากการออกกำลังกายหักโหมหรือเสียเหงื่อมาก แต่บางครั้งอาการเหล่านี้คือสัญญาณเตือนภัยของโรคหัวใจขาดเลือด ผู้ที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองภาวะหัวใจขาดเลือด เช่น

      1. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ
      2. มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด เช่น เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่
      3. นักกีฬาอาชีพหรือผู้ที่ออกกำลังกายจริงจัง และนักวิ่งมาราธอน

      ดูแลอย่างไรให้ห่างไกล “โรคหัวใจขาดเลือด”

      • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรเลือกรับประทานโปรตีนจากปลา หรือเนื้อไก่ไม่ติดหนัง รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง อย่างผัก ผลไม้ และลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อแดง อาหารทอด
      • ออกกำลังกายแบบแอโรบิค ซึ่งเน้นการทำงานของปอดและหัวใจ ให้ได้อย่างน้อย สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 นาทีขึ้นไป
      • งดสูบบุหรี่
      • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
      • หมั่นมาตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปี

      แม้เทคโนโลยีทางการแพทย์จะเจริญก้าวหน้าและสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นก็ตาม แต่การดูแลตัวเองเบื้องต้นถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อเป็นเกราะป้องกันให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

      เมื่อออกกำลังกายจนเหนื่อยหอบร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

      โดยปกติแล้วการหายใจไม่ถูกต้องหรือผิดจังหวะในช่วงเล่นกีฬาหรือในระหว่างการออกกำลังกายและการหายใจที่ถี่เร็วเกินไป ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยและได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากการที่เราต้องพยายามหายใจถี่ๆ ส่งผลให้มีอาการหอบต้องหายใจทางปาก ในบางคนอาจมีอาการหน้ามืด หรือวูบร่วมด้วย

      ทำยังไงให้หายเหนื่อยหอบ

      วิธีหายใจลดอาการ หอบเหนื่อย หากตัวเรามีอาการหอบในช่วงระหว่างที่กำลังทำกิจกรรม ควรหยุดกิจกรรมนั้นทันที แล้วให้พักจัดท่าทางโดยโน้มลำตัวมาด้านหน้า เพื่อให้อวัยวะภายในช่องท้องดันความโค้งของกะบังลมให้ความยาวอยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับการทำงาน ช่วยให้หายใจได้ง่ายขึ้น และลดการทำงานของกล้ามเนื้อเสริมในการหายใจ

      อาการเหนื่อยหอบเกิดจากสาเหตุอะไร

      สาเหตุหลักของอาการเหนื่อยและหอบมาจาก “การเป็นโรค” และ “การไม่เป็นโรค” เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ , กำลังฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยหรือโรค , ความเครียด วิตกกังวล และไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เป็นต้น โดยแบ่งเป็น “เหนื่อยปัจจุบัน” คือมีอาการมาแล้ว 2-3 วัน และ “เหนื่อยเรื้อรัง” คือมีอาการสะสมมานาน