การขออน ม ต เข าทำงานในมาเลเซ ยระด บ expatriate

FWCMS หรือ Foreign Workers Centralized Management System เป็นระบบข้อมูลออนไลน์ที่เชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศมาเลเซีย เช่น หน่วยงานภาครัฐมาเลเซีย นายจ้างมาเลเซีย บริษัทจัดหางานเอกชน สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียที่ประจำในประเทศนั้นๆ และแรงงานต่างชาติ รวมถึงสถานพยาบาล เพื่อบริหารจัดการระบบแรงงานต่างชาติที่มาทำงานในประเทศมาเลเซียให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเกี่ยวข้องกับการตรวจสุขภาพ การขอ Visa การขอ Work Permit การคุ้มครองแรงงาน และการจัดสวัสดิการแก่แรงงานต่างชาติ

ใครต้องใช้ระบบ FWCMS บ้าง

แรงงานต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในประเทศมาเลเซียทุกคน ใน 6 ภาคประกอบการ ได้แก่ ภาคการเพาะปลูก ภาคการก่อสร้าง ภาคการเกษตร ภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม และผู้ช่วยแม่บ้าน (ยกเว้นแรงงาน ประเภท Expatriate และแรงงานตำแหน่งผู้ประกอบอาหารในร้านอาหารประเภทต้มยำ ซึ่งขอใบอนุญาตทำงานแบบ 3 เดือน) โดยแรงงานต่างชาติต้องมีอายุระหว่าง 18-45 ปี (ยกเว้นตำแหน่งพนักงานนวด ต้องมีอายุตั้งแต่ 21-45 ปี)

ผู้จะไปทำงานที่มาเลเซียต้องทำอย่างไรบ้าง

แรงงานไทยที่ได้รับติดต่อจากนายจ้างให้เดินทางไปทำงานที่ประเทศมาเลเซียต้องดำเนินการ ดังนี้

1. เข้ารับการตรวจสุขภาพ ณ โรงพยาบาลที่ติดตั้งระบบ FWCMS 2. โรงพยาบาลแจ้งผลการตรวจสุขภาพให้แรงงานทราบ และส่งผลดังกล่าวทางออนไลน์สู่ระบบ FWCMS ของมาเลเซีย

กรณีผ่านการตรวจสุขภาพ ให้แรงงานไทยส่งสำเนา Passport ให้นายจ้าง เพื่อดำเนินการขอหนังสืออนุมัติวีซ่า (Calling Visa) และส่ง Calling Visa ให้แรงงานไทย

1 นายจ้างจะต้องยื่นขอโควต้าจำนวนแรงงานต่างชาติจากกระทรวงมหาดไทยของมาเลเซีย (Ministry of Home Affairs) โดยทางการมาเลเซียจะพิจารณาจำนวนแรงงานต่างชาติ จากประเภทและขนาดของแต่ละกิจการ และชำระค่าธรรมเนียมแรงงานต่างชาติ (Levy)

2. เมื่อได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยแล้ว นายจ้างจัดหาแรงงานตามจำนวนโควต้าที่ได้รับ ซึ่งนายจ้างอาจติดต่อแรงงานโดยตรง ติดต่อบริษัทจัดหางานในประเทศไทย หรือมอบอำนาจให้สำนักงานแรงงาน ในประเทศมาเลเซีย (สนร. มาเลเซีย) เป็นผู้ประสานให้ความช่วยเหลือ

3. เมื่อได้รายชื่อแรงงานแล้ว ให้แรงงานเข้ารับการตรวจประวัติจากระบบ Immigration Security Clearance (ISC) ของมาเลเซีย โดยประเทศไทยดำเนินการกับบริษัท VFS Global Thailand ที่อาคาร เดอะเทรนดี้ ชั้น 8 สุขุมวิท ซอย 13 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร เบอร์โทร. 0 2168 7743 โดยแรงงานไทยต้องไปดำเนินการด้วยตัวเองพร้อมนำหนังสือเดินทางที่มีอายุไม่กว่า 12 เดือน และมีค่าดำเนินการ จำนวน 1,006 บาท

4. ให้แรงงานเข้ารับการตรวจสุขภาพ ณ โรงพยาบาลที่ติดตั้งระบบ Foreign Workers Centralized Management System (FWCMS) เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 3 แห่ง ได้แก่

(1)โรงพยาบาลนอร์ทอีสเทอร์นวัฒนา เลขที่ 70/7-8 ถ.ศุภกิจจรรยา ต. หมากแข้ง อ. เมือง จ. อุดรธานี 41000 โทร. +66883125624 และ +6642241956

(2)โรงพยาบาลเอกชัย เลขที่ 99/9 หมู่ 4 ถนนเอกชัย ต. โคกขาม อ. เมือง จ. สมุทรสาคร 74000 โทร. +66818956451 และ +6634417900

(3)โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล โชคชัย 4 เลขที่ 1 ถนนโชคชัย 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230 โทร. +662 514 4140-9 โทรสาร. +662 514 4413

5. โรงพยาบาลแจ้งผลการตรวจสุขภาพให้แรงงานทราบ และส่งผลดังกล่าวทางออนไลน์สู่ระบบ FWCMS ของมาเลเซีย

5.1กรณีผ่านการตรวจสุขภาพ ให้แรงงานไทยส่งสำเนา Passport ให้นายจ้าง เพื่อดำเนินการขอหนังสืออนุมัติวีซ่า (Calling Visa) จากกรมการตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว นายจ้างส่ง Calling Visa ให้แรงงานไทย

5.2กรณีไม่ผ่านการตรวจสุขภาพ จะไม่ได้รับการอนุมัติ Calling Visa

6. นายจ้างนำเอกสารสัญญาจ้างงานมาให้สำนักงานแรงงานในประเทศมาเลเซียประทับรับรอง พร้อมแนบเอกสารประกอบ ได้แก่

(1)สำเนาหนังสือจดทะเบียนบริษัท (Company registration form 9,24,49 หรือ form D)

(2) สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการ (Business License)

(3)สำเนาบัตรประจำตัวนายจ้าง

(4)Calling Visa

(5)สำเนาหนังสือเดินทางลูกจ้าง

(6)รูปถ่ายลูกจ้าง

(7)แผนที่สถานประกอบการ

(8)รูปถ่ายสถานประกอบการและที่พักของลูกจ้าง ซึ่งสนร. มาเลเซียอาจขอเข้าตรวจสอบสถานที่ทำงาน และที่พักแรงงานด้วย

7. นายจ้างส่ง Calling Visa และสัญญาจ้างที่ได้รับการรับรองให้คนงาน

8. แรงงานไทยนำ Calling Visa พร้อม Passport ตัวจริงและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปขอ Single Entry Visa (วีซ่า 3 เดือน) ที่สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซีย (กรุงเทพฯ) หรือสถานกงสุลมาเลเซีย (สงขลา)

9. แรงงานไทยแจ้งการเดินทางไปทำงานต่างประเทศที่จัดหางานจังหวัดที่มีภูมิลำเนา หรือที่กรมการจัดหางาน ถ. มิตรไมตรี ดินแดง กทม. พร้อมทั้งสมัครเป็นสมาชิกกองทุนช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ และรายงานตัวที่ด่านตรวจคนหางาน ณ สนามบินหรือด่านที่เดินทางออกจากประเทศ

10. แรงงานไทยเดินทางมาที่ประเทศมาเลเซีย โดยมีนายจ้างเป็นผู้มารับที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย และเข้ารับการตรวจสุขภาพอีกครั้งกับ FOMEMA (หน่วยงานตรวจสุขภาพแรงงานต่างชาติของมาเลเซีย) หากผ่านการตรวจสุขภาพ นายจ้างจึงจะขอให้กรมการตรวจตคนเข้าเมืองมาเลเซียออกใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ให้แรงงานเพื่อเริ่มทำงานต่อไป

การทำใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)

นายจ้างที่จะจ้างคนงานต่างชาติมีหน้าที่จะต้องทำใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ให้กับลูกจ้าง โดยจะต้องนำเอกสารไปยื่นที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ประเทศมาเลเซีย ดังต่อไปนี้ 1. หนังสือเดินทางของลูกจ้าง 2. ใบตรวจโรคจากสถานพยาบาล 3. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้วครึ่ง 4. สัญญาการจ้างงาน

อายุของใบอนุญาตทำงาน ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) โดยทั่วไปมีอายุ 1 ปี (ยกเว้นอาชีพทำงานในร้านอาหารประเภทต้มยำ ซึ่งอาจขอคราวละ 3 เดือน หรือ 1 ปี)

ขั้นตอนในการขอใบอนุญาตทำงาน 1. นายจ้างจะต้องยื่นขอโควต้าจำนวนคนงานต่างชาติจากกระทรวงมหาดไทยของมาเลเซีย (Ministry of Home Affairs) โดยทางการมาเลเซียจะพิจารณาจำนวนคนงานต่างชาติ จากประเภทและขนาดของแต่ละกิจการ และชำระค่าธรรมเนียมแรงงานต่างชาติ (levy) 2. เมื่อได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยแล้ว นายจ้างติดต่อคนงานตามจำนวนโควต้าที่ได้รับ ซึ่งนายจ้างอาจติดต่อคนงานโดยตรง ผ่านบริษัทจัดหางานในประเทศไทย หรือมอบให้สำนักงานแรงงานในประเทศมาเลเซียเป็นผู้ประสานให้ความช่วยเหลือ 3. เมื่อได้รายชื่อคนงานแล้ว นำหลักฐานประกอบด้วย สำเนาหนังสือเดินทางคนงาน ใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมฯ ไปขอ Calling Visa ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย กระทรวงมหาดไทย 4. นายจ้างนำเอกสารสัญญาจ้างมาให้สำนักงานแรงงานในประเทศมาเลเซียประทับรับรอง พร้อมเอกสารประกอบ ได้แก่ สำเนาหนังสือจดทะเบียนบริษัท (Company registration form 9,24,49 หรือ form D), สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการ (Business License), สำเนาบัตรประจำตัวนายจ้าง, Calling Visa, สำเนาหนังสือเดินทางลูกจ้าง, รูปถ่ายลูกจ้าง, แผนที่สถานประกอบการ, รูปถ่ายสถานประกอบการและที่พักของลูกจ้าง 5. คนงานนำ Calling Visa และสัญญาการจ้างงานที่รับรองแล้ว (ตามข้อ 3 และ 4) ไปขอวีซ่าชั่วคราว 3 เดือน (Single Entry visa) ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลมาเลเซียในประเทศไทย 6. คนงานแจ้งการเดินทางไปทำงานต่างประเทศที่จัดหางานจังหวัดที่มีภูมิลำเนา หรือที่กรมการจัดหางาน ถ. มิตรไมตรี ดินแดง กทม และรายงานตัวที่ด่านตรวจคนหางาน ณ สนามบินหรือด่านที่เดินทางออกจากประเทศ 7. เมื่อคนงานเดินทางมาแล้ว นายจ้างจะต้องดำเนินการขอทำใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ให้ลูกจ้าง ซึ่งจะต้องทำภายในเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศมาเลเซีย (1-3 เดือน)

36436