Hull and liability insurance ไม ม ความค มครอง

กรุงเทพประกันภัย ขอมอบความคุ้มครองตัวเรือจากเหตุการณ์ร้ายๆ ที่ไม่คาดคิด เช่น เรือชนกัน เรือขับชนหิน ไฟไหม้เรือ ฟ้าผ่าเรือ ฯลฯ

คุ้มครองทุกความเสียหาย

ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนใดของตัวเรือ ไม่ว่าตัวเรือจะทำด้วยเหล็ก หรือวัสดุใดๆ โดย แบ่งเป็น

1. ตัวเรือ (Hull) คือส่วนที่เป็นโครงสร้างของเรือ ทำด้วยไม้ เหล็ก หรือวัสดุอื่นๆ รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ เช่น รอกยกของ อุปกรณ์ พัสดุ สัมภาระ เรือบนเรือใหญ่ ปั้นจั่น พวงมาลัยและอื่นๆ

2. เครื่องจักร (Machinery) คือส่วนที่ให้พลังงานในการเดินเรือและให้แสงสว่าง ความร้อน ความเย็น เช่น หม้อน้ำ เครื่องจักรใหญ่ เครื่องทำความเย็น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเครื่องจักรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในการประกันภัย เงื่อนไขความคุ้มครองและข้อยกเว้น ตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัย

1. Institute Time Clauses- Hulls Total Loss Only (Including Salvage, Salvage Charges, Sue and Labour) ให้ความคุ้มครองเรือและเครื่องจักรที่ติดตั้งอยู่ในเรือที่เอาประกันภัยที่ได้รับความสูญเสียทั้งหมด อันเนื่องมาจากไฟไหม้ ระเบิด ชนกัน จม รวมทั้งการกู้ซากเรือ หรือค่าใช้จ่ายในการกู้ซากเรือ หรือค่าใช้จ่ายในการบรรเทาภัย

2.Institute Time Clauses - Hulls Total Loss Only, General Average, Collision Liability (Including Salvage, Salvage Charges, Sue and Labour) ให้ความคุ้มครองเรือและเครื่องจักร ที่ติดตั้งอยู่ในเรือที่เอาประกันภัยที่ได้รับความสูญเสียทั้งหมด อันเนื่องมาจากไฟไหม้ ระเบิด ชนกัน จม ความเสียหายร่วม และความรับผิดต่อ คู่กรณีเนื่องจากเรือชนกัน รวมทั้งการกู้ซากเรือ หรือค่าใช้จ่ายในการกู้ซากเรือ หรือค่าใช้จ่ายในการบรรเทาภัย

3.Institute Time Clauses - Hulls ความคุ้มครองเหมือนกับ ข้อ (1) + (2) รวมถึงค่าซ่อมเรือที่เอาประกันภัย

การประกันภัยเครื่องบิน - การประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิดของตัวอากาศยาน และการประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลที่สาน (หรือบุคคลภายนอก) โดย บมจ.ทิพยประกันภัย เป็นบริษัทประกันภัยที่รับงานประกันภัยเครื่องบินมานานกว่า 30 ปีแล้ว ยินดีให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการธุรกิจการบิน ไม่ว่าเล็ก กลาง หรือใหญ่ จะเป็นการบริการในหรือนอกประเทศ โปรดติดต่อ 095 - 952 6514 พร้อมแจ้งความต้องการของธุรกิจของท่าน และข้อมูลจำเพาะของธุรกิจ ข้อมูลนั้นจะแปรเป็นข้อเงื่อนไขในการให้ความคุ้มครองแก่กิจการของท่านได้ครอบคลุมมากที่สุดการประกันภัยสำหรับการบิน มีรูปแบบหลักๆ ดังนี้

1.การประกันภัยการเสี่ยงภัยทุกชนิดของลำตัวอากาศยาน และความรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม Hull and Liability Insurance

  • คุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นต่อลำตัวอากาศยานที่ทำให้อากาศยานเสียหายทางกายภาพ หรือสูญเสียโดยสิ้นเชิง กรณีอากาศยานส่วนตัว เจ้าของอาจไม่ทำประกันภัยในส่วนลำตัวอากาศยาน เช่น ผู้มีฐานะดีทั้งหลายที่ขับขี่พาหนะราคาแพง การดูแลทรัพย์สินของตนถือว่าอยู่ในระดับเยี่ยมจึงขอรับความเสี่ยงไว้เอง กฎหมายไม่ได้มีการบังคับว่าต้องทำประกันภัย ส่วนอากาศยานที่เช่ามานั้น ในสัญญาเช่าต้องมีการกำหนดให้มีการประกันภัยลำตัวอากาศยานไว้อย่างแน่นอน
  • คุ้มครองความรับผิดชอบตามกฎหมายต่อบุคคลที่สาม ทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกอากาศยาน จากอุบัติเหตุที่เกิดจากอากาศยานและก่อให้เกิดความบาดเจ็บต่อร่างกาย และ/หรือ ความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อื่น และ บุคคลที่สามในที่นี้จะไม่รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือกรมธรรม์/ผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าในฐานะกรรมการ ลูกจ้าง ลูกเรือ
  • คุ้มครองความรับผิดชอบตามกฎหมายต่อผู้โดยสาร ในขณะที่เข้ามาอยู่ในความดูแลของผู้ถือกรมธรรม์/ผู้เอาประกันภัยรวมทั้งสัมภาระต่างๆ ผู้โดยสารในที่นี้มีความหมายในเชิงพาณิชย์ ไม่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือกรมธรรม์/ผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าในฐานะกรรมการ ลูกจ้าง ลูกเรือ (บุคคลเหล่านี้หากมีตั๋วผู้โดยสารจะถือว่าเป็นผู้โดยสาร) 2.การประกันภัยสงครามต่อลำตัวอากาศยาน Hull War Insurance ปัจจุบัน ภัยก่อการร้ายในรูปแบบต่างๆสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าที่ใด ดังนั้นอากาศยานโดยเฉพาะที่มีการเช่ากับสถาบันการเงิน มักมีเงื่อนไขให้จัดทำประกันภัยสงครามต่อลำตัวอากาศยาน เพื่อลดความเสี่ยงภัยให้กับผู้ให้กู้ กรมธรรม์ดังกล่าว คุ้มครองความสูญเสีย / เสียหายของลำตัวอากาศยานจากภัยสงครามและการก่อการร้าย และการข่มขู่ การจี้ปล้นอากาศยาน 3.การประกันภัยความรับผิดชอบต่อบุคคลที่สามจากภัยสงคราม (ส่วนที่เกินจากกรมธรรม์หลัก) Aviation War, Hi-Jacking and Other Perils Excess Liability Insurance การประกันภัยประเภทที่ 1 ความรับผิดชอบจะเกิดจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการปกติและไม่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย แต่จะมีวงเงินจำกัดความรับผิดเรื่องภัยการก่อการร้ายอยู่ส่วนหนึ่ง แต่การประกันภัยประเภทที่ 2 จะรับผิดชอบเฉพาะลำตัวอากาศยานจากเหตุการณ์ก่อการร้าย ดังนั้นความรับผิดชอบของการประกันภัยประเภทที่ 3 นี้ จะเป็นความรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม ส่วนที่เกินจากวงเงินจำกัดความรับผิดชอบการก่อการร้ายในกรมธรรม์ประเภทที่ 1 แต่จะเป็นวงเงินจำกัดความรับผิดจำนวนเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ถือกรมธรรม์ หรือผู้ให้เช่า หรือสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่ออุดช่องโหว่ของความรับผิดทั้งหมดจากภัยก่อการร้าย 4.การประกันภัยอุบัติเหตุของนักบินและลูกเรือ Personal Accident Insurance for air crews การประกันภัยในประเภทที่ 1 -3 จะไม่คุ้มครองนักบินและลูกเรือของผู้ประกอบการ ขอบเขตความคุ้มครองขึ้นอยู่กับความประสงค์ของเจ้าของสายการบิน หรือเจ้าของอากาศยาน หรือเจ้าของธุรกิจ อาจจะเป็นช่วงระหว่างปฏิบัติหน้าที่ หรือคุ้มครอง 24 ชั่วโมง ความคุ้มครองหลักจะเป็นการสูญเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ ตลอดจนค่ารักษาพยาบาล 5.การประกันภัยการสูญเสียใบอนุญาตการบิน Loss of Licence Insurance ธุรกิจการบินในปัจจุบันมีการจัดทำประกันภัยประเภทนี้เป็นสวัสดิการให้แก่กลุ่มนักบิน โดยสายการบินเป็นผู้ดำเนินการและออกค่าใช้จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยทั้งหมด หรือออกค่าใช้จ่ายบางส่วนและให้นักบินสมทบอีกบางส่วน ในบางประเทศสมาคมนักบิน หรือสหภาพนักบินได้ร่วมมือกันจัดประกันภัยในกลุ่มของตนเอง อนึ่งนักบินสามารถซื้อประกันภัยเดี่ยวเพื่อเป็นหลักประกันของตนเองก็ได้ ความคุ้มครองหลักจะเป็นการชดเชยตามทุนประกันภัย กรณีนักบินถูกถอดถอนใบอนุญาตการบินจากการไม่สามารถปฏิบัติการบินได้ ไม่ว่าจากเหตุความเจ็บป่วย หรือจากอุบัติเหตุก็ตาม 6.การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลที่สามสำหรับผู้ให้บริการด้านการบิน Aviation Premises, Hangarkeepers and Products Liability Insurance ผู้ให้บริการด้านการบิน ได้แก่ ผู้บริหารสนามบิน เจ้าของสนามบิน ผู้ให้บริการการจราจรทางอากาศ ผู้ให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงการบิน ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ความคุ้มครองหลัก จะเป็นความรับผิดชอบตามกฎหมายต่อบุคคลที่สามจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานนั้น โดยจะรับผิดชอบตามวงเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในการทำประกันภัย