Perfect for social media enthusiasts ม เมน อะไรบ าง

กลุ่มแฟนคลับ หรือ Fandom (แฟนด้อม) ที่คอยตามติดชีวิต และสนับสนุนผลงานศิลปิน ดารา นักร้องคนโปรดที่เขาชอบแบบทุ่มหมดใจ และพร้อมจะออกโรงปกป้องไอดอลที่เขารักสุดตัวไม่ว่าจะเกิดดราม่าใดๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในแวดวงการตลาด แต่เวลานี้พลังของแฟนด้อมมาแรงขึ้นเรื่อยๆ และขยายวงกว้างมากกว่าอุตสาหกรรมเพลงเกาหลี โดยปัจจุบันมีการแตกย่อยหลากหลายประเภทตามวัฒนธรรมกลุ่มย่อย เช่น แฟนด้อม E-Sports, แฟนด้อมวาย, แฟนด้อมกีฬา และแต่ละกลุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นหลายเท่าตัว จึงเปิดโอกาสให้แบรนด์และธุรกิจเข้าไปต่อยอดได้มากขึ้น

ทำไม “Fandom” ถึงมาแรง? มาร่วมถอดรหัส พร้อมกับเจาะลึกอินไซต์พฤติกรรมแฟนด้อมแต่ละกลุ่มที่มีอิทธิพลในเมืองไทยที่แบรนด์และนักการตลาดไม่ควรพลาดเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ จากงานวิจัย The Wall ประจำปี 2021 โดย FarEast FameLine DDB

ย้อนรอย “แฟนด้อม”

ปฏิเสธไม่ได้ว่า แฟนด้อมเป็นเรื่องที่มีมาทุกยุคสมัยที่ผู้บริโภคมีความคลั่งไคล้ศิลปิน ดารา นักร้อง หรือบางสิ่งบางอย่างจนเชื่อว่าศิลปินคนนั้นๆ หรือสิ่งของเหล่านั้นดีที่สุด โดยคำว่า “แฟน” (Fan) เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19 เป็นคำย่อของคำว่า “Fanatic” ความหมายในภาษาไทย หมายถึง ความคลั่งไคล้ ความรู้สึกรัก หลงใหลที่มีต่อบุคคล หรือความเชื่อใดความเชื่อหนึ่งอย่างไม่มีเหตุผลชัดเจน และความรู้สึกนี้ผลักดันให้เกิดพฤติกรรมในการติดตาม สนับสนุนอย่างใกล้ชิด

Perfect for social media enthusiasts ม เมน อะไรบ าง

ส่วนคำว่า Fandom เป็นคำควบจากคำว่า “Fan” และ “Kingdom” มีความหมายว่า “อาณาจักร” คำว่า Fandom จึงหมายถึง อาณาจักรหรือกลุ่มของผู้มีความรู้สึกรัก ชื่นชอบ หลงใหล คลั่งไคล้ จงรักภักดีในตัวผู้มีชื่อเสียง และยังสะท้อนถึงรูปแบบวัฒนธรรมย่อยภายในอาณาจักรนั้นที่เห็นถึงอารมณ์ร่วม กิจกรรมร่วม และมิตรภาพระหว่างกันของคนภายในกลุ่ม

ซึ่งในอดีตเรามักเรียกแฟนด้อมที่ติดตามลิเกกันว่า “แม่ยก” กระทั่งศิลปินเกาหลีเริ่มเข้ามาสร้างฐานแฟนคลับในไทย กลุ่มแฟนคลับไอดอลเกาหลีจึงเกิดขึ้น จนเกิดคำว่า “ติ่งเกาหลี” ตามมาและแพร่หลายมาอย่างต่อเนื่อง

กระทั่งมาถึงปัจจุบันที่โซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ขนาดของแฟนด้อมจึงใหญ่ขึ้นเมื่อเทียบกับทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากมีการเชื่อมต่อแฟนด้อมจากกลุ่มเล็กๆ เป็นระดับประเทศ ระดับทวีป และระดับโลก ทำให้การติดตาม การสนับสนุน ซื้อสินค้า และทำกิจกรรมโปรโมทโดยกลุ่มแฟน ทำได้ง่าย และรวดเร็วอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน และหากมองถึงคุณลักษณะที่ทำให้แฟนด้อมในยุคโซเชียลมีเดียเฟื่องฟูต่างจากยุคก่อนๆ พบว่า มี 4 คุณลักษณะ ดังนี้

1.Gift Economy (เศรษฐกิจของกำนัล) โดยปกติการให้ของกำนัลกับบุคคลที่แฟนด้อมนั้นๆ ติดตามถือว่าเป็นวิถีปฏิบัติอยู่แล้วตั้งแต่ในอดีต แต่ในปัจจุบันการให้นั้นขยายผลไปถึงการให้ หรือการแลกเปลี่ยนของกำนัลระหว่างสมาชิกด้วยกัน ซึ่งอาจจะเป็นของสะสม หรือสินค้าพิเศษที่ทำขึ้นมาเองเพื่อโปรโมทศิลปิน ซึ่งมูลค่าของเศรษฐกิจของกำนัลนี้ต่อปีมีมูลค่ามหาศาล

2.Crowdfunding (การระดมทุนทางอินเตอร์เน็ต) เป็นการระดมทุนสมาชิกในแฟนด้อมนั้นๆ ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ เพื่อทำกิจกรรมพิเศษสนับสนุนผู้ที่แฟนด้อมติดตาม ตั้งแต่กิจกรรมเล็กๆ เช่น ซื้อของขวัญวันเกิด ซื้อสื่อ ทำบุญ บริจาค สร้างโรงเรียนในนามศิลปินหรือผู้มีชื่อเสียงนั้นๆ ไปจนถึงทำโปรเจกต์เพื่อระดมทุนหาเงินช่วยค้ำจุนช่วยเหลือบริษัทเอ็นเตอร์เทนเมนต์ที่ศิลปินสังกัดอยู่เพื่อไม่ให้ขาดทุน จนกระทั่งต้องยุบวงหรือศิลปินนั้นต้องตกงาน

3.Fan Creation (การสร้างสรรค์ชิ้นงาน หรือผลงานของสมาชิกแฟนด้อม) เมื่ออาณาจักรของแฟนด้อมอยู่บนโซเชียลมีเดีย จึงเปิดโอกาสให้บรรดาแฟนคลับที่มีความคิดสร้างสรรค์ หรือมีความสามารถพิเศษด้านใดด้านหนึ่ง นำความสามารถส่วนตัวมาสร้างสรรค์ผลงานโปรโมทศิลปิน หรือบุคคลที่ชื่นชอบ เช่น การวาดรูปเหมือน การทำภาพการ์ตูน การตัดต่อภาพ หรือวีดีโอสร้างมีม การเลียนแบบอิริยาบท หรือการแสดง เช่นการเต้นโคฟเวอร์ เพื่อให้เกิดกระแสและเพิ่มความนิยมของศิลปินนั้นให้มากขึ้น และสิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นมา สามารถจำหน่ายออกไปเป็นการเพิ่มมูลค่าทางการตลาดของแฟนด้อมนั้นได้

4.Brandom (แบรนด์ด้อม) เมื่อศิลปิน หรือนักกีฬามีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก มีแฟนด้อมขนาดใหญ่ จึงเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจเข้ามาต่อยอดทางการตลาด เพื่อเข้าถึงสมาชิกแฟนด้อมที่เป็นกลุ่มคนจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว และอย่างใกล้ชิด โดยเปิดโอกาสให้แบรนด์เข้าไปมีกิจกรรม หรือเสนอสินค้าพิเศษที่สนับสนุนศิลปินกับสมาชิกแฟนคลับเหล่านี้ โดยส่วนใหญ่ก็จะได้ผลตอบรับที่ดี และทำให้แบรนด์ได้อ้างอิงภาพลักษณ์ของศิลปิน และชื่อเสียงทางการตลาดนั้นๆ ไปด้วย

แฟนด้อม “ศิลปินไทย” มากสุดในไทย

สำหรับการสำรวจในครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาผู้บริโภคจำนวน 650 คน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า แฟนด้อมของศิลปินคนไทยมากสุดถึง 34% ศิลปินต่างชาติ 20% ศิลปินสายวาย 18% และผู้มีชื่อเสียงวงการกีฬาอีก 12% และอีก 16% ไม่เป็นแฟนคลับใดๆ เลย โดยศิลปินดาราไทยที่แฟนคลับชอบมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อั้ม พัชราภา 23% ใหม่ ดาวิกา 8% และชมพู่ อารยา 7% ส่วนนักร้องหรือวงดนตรีไทยที่ชอบมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ Bodyslam 15% ดา เอ็นโดฟิน 5% และนุ๊ก-ปาย 5%

Perfect for social media enthusiasts ม เมน อะไรบ าง

ขณะที่ดาราต่างชาติที่แฟนคลับชอบมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ Xiao Zhan 16% Jackie Chan 4% และ Emma Watson 4% ส่วนนักร้องหรือวงดนตรีต่างชาติที่แฟนคลับชอบมากที่สุด 3 อันแรก ได้แก่ Black Pink-Lisa 13% Got7 12% และ BTS 8% ด้านซีรีส์วายที่แฟนคลับชอบมากที่สุดคือ ไบร์ท-วิน 57% ตามด้วย หยิ่น-วอร์ 13% และ ออฟ-กัน 8% ส่วนนักกีฬาที่แฟนคลับโปรดปรานที่สุด อันดับแรกคือ Liverpool 13% Cristiano Ronaldo 11% Manchester United 9%

เมื่อมาดูประเภทแฟนด้อม นอกจากการแบ่งตามความชอบแล้ว ผลวิจัยครั้งนี้ยังสามารถแบ่งระดับแฟนคลับในไทยได้เป็น 5 ระดับคือ Casual Fan, Avid Fan, Dedicated Fan, Devoted Fan และ Die-hard Fan โดยมากกว่า 50% เพิ่งเริ่มเป็นแฟนคลับไม่เกิน 3 ปี โดยเฉพาะแฟนด้อมสายวายจะเป็นแฟนคลับประเภท Casual Fan มากที่สุด ในขณะที่แฟนด้อมสายกีฬามีจำนวนแฟนที่ติดตามมานานกว่า 7 ปี เป็น Die-hard Fans มากกว่าแฟนด้อมกลุ่มอื่น

Perfect for social media enthusiasts ม เมน อะไรบ าง

Perfect for social media enthusiasts ม เมน อะไรบ าง

สำหรับเป้าหมายการเป็นแฟนคลับของทุกแฟนด้อมนั้น พบว่า 46% อยากสนับสนุนคนที่ชื่นชอบ รองลงมา 40% ต้องการให้ศิลปินรู้จัก ได้สัมผัส ให้ของกับมือ หรือจดจำได้ และ 10% อยากให้บุคคลที่ชื่นชอบประสบความสำเร็จ โดยปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจเป็นแฟนคลับบุคคลที่ตนชื่นชอบคือ รูปร่างหน้าตา ความสามารถในสาขาอาชีพ ตัวตนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของบุคคลนั้นๆ และนิสัยใจคอความประพฤติ

ที่น่าสนใจคือ กลุ่มที่เป็น Die-hard Fan จะให้ความสำคัญในเรื่องความสามารถในอาชีพ กับตัวตนที่เป็นเอกลักษณ์ของบุคคลนั้นค่อนข้างสูงกว่ากลุ่มอื่น เมื่อแฟนคลับมีการพัฒนาจากระดับ Casual Fan ขึ้นสู่ระดับ Avid Fan จะมีการให้เวลา และใช้จ่ายกับศิลปินมากขึ้นอย่างชัดเจน และเมื่อพัฒนาสู่ระดับสูงสุดอย่าง Die-hard Fan นอกจากกลุ่มนี้จะใช้เวลาทั้งวันธรรมดาและวันหยุดในการติดตามแล้ว ยังเป็นกลุ่มที่สมัครเป็นสมาชิกแบบออฟฟิเชียลของแฟนด้อมนั้นๆ มากกว่าแฟนคลับประเภทอื่นอย่างมีนัยสำคัญ

แม้ว่าเป้าหมายของทุกแฟนด้อมต้องการสนับสนุนคนที่ตนเองชื่นชอบ แต่หากเจาะลึกพฤติกรรมใน 4 แฟนด้อมนี้ จะพบว่า แต่ละแฟนด้อมมีความแตกต่างกันในหลายมิติ ดังนี้

1.แฟนด้อมศิลปินไทย: แฟนพันธุ์แท้ Engage น้อย แต่รักนาน

ประชากรแฟนด้อมของกลุ่มศิลปินดารา นักร้อง หรือผู้มีชื่อเสียงคนไทย มีลักษณะ Funnel เป็นรูปนาฬิกาทราย คือ มีสัดส่วนกว้างด้านบนที่เป็นกลุ่ม Casual Fan และกว้างอีกทีด้านล่างสุดที่เป็นกลุ่ม Die-hard Fan บ่งบอกถึงจำนวนแฟนคลับที่ติดตามดารา นักร้องที่เกิดใหม่จำนวนมากและค่อยๆ หายไปตามเวลาหรือตามกระแสที่เปลี่ยนไป หันมาติดตามดารานักร้องคนอื่นแทน แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นแฟนคลับตัวจริง ติดตามยาวนาน แม้ศิลปินดาราเหล่านั้นจะไม่ได้มีผลงานเป็นปีๆ ก็ตาม

Perfect for social media enthusiasts ม เมน อะไรบ าง

อีกลักษณะสำคัญของแฟนด้อมกลุ่มนี้คือ การรวมกลุ่ม การมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ และการมีอารมณ์ร่วมกับศิลปินดาราที่ตนติดตาม มีสัดส่วนน้อยกว่าแฟนด้อมกลุ่มอื่น แต่ 75% ของแฟนด้อมกลุ่มนี้ รู้สึกว่าแบรนด์สินค้ามีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นเมื่อศิลปินดาราที่ตนติดตามเป็นพรีเซนเตอร์ และ 50% สนใจซื้อสินค้านั้นๆ จึงมองได้ว่าบทบาทของศิลปินดาราไทยคือ การสร้าง Awareness และความน่าเชื่อถือให้แบรนด์มากกว่าใช้ศิลปินเป็นสะพานเชื่อม Engage กับผู้บริโภคหรือแฟนคลับ

ซึ่งในมุมของนักการตลาด ศิลปินดาราคือ สินค้าอย่างหนึ่งที่ต้องมีคุณลักษณะโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นหน้าตา ความสามารถ หรือความคิด จึงจะเป็นที่จดจำได้ในวงการ รวมถึงต้องมีแผนการสร้างแบรนด์หรือสร้างตัวตน และสื่อสารโปรโมท เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ปัจจัยอะไรที่ทำให้คนๆ หนึ่งมีกลุ่มผู้ติดตามมากมาย

1.จังหวะ เวลาและกระแสสังคม ที่ไม่ได้ตั้งใจและควบคุมไม่ได้ เหล่าศิลปินดารามากมายที่อยู่ในวงการมาเกือบ 10 ปี แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมรู้จัก กลับดังเป็นพลุแตกชั่วข้ามคืนด้วยละครเรื่องหนึ่ง การไลฟ์ครั้งนึงที่คนเอาไปปั่นต่อจนเป็นกระแส หรือแม้กระทั่งการออกมาแสดงจุดยืน และความคิดเห็นทางการเมือง

2.เวทีต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้ศิลปินดาราแสดงความสามารถและตัวตนที่แท้จริง จนเข้าไปครองใจผู้ชมได้ หรือการจัดลำดับ Top Chart บน Platform ต่างๆ ที่คะแนนส่วนหนึ่งมาจากการโหวตและยอด streaming คำว่าเวทีต่างๆ ในกรณีนี้รวมไปถึงเวทีทาง Social Network ที่ทำให้ศิลปินดาราได้ทักทายพูดคุยกับเหล่าแฟนคลับเพื่อกระชับความสัมพันธ์ง่ายขึ้น เรียกได้ว่าเป็นการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ CRM ด้วย

3.ค่ายหรือผู้จัดที่ดูแลศิลปินดาราอย่างมืออาชีพ แผนงานผลักดันป้อนงานให้ เพื่อทำให้ศิลปินดาราในสังกัดไม่ห่างหายไปจากหน้าจอ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องคอยหาศิลปินดาราหน้าใหม่ป้อนเข้าวงการอย่างต่อเนื่อง

จาก 3 ปัจจัยข้างต้น เปรียบเสมือนป๋าดันที่ช่วยกระพือปีกให้ศิลปินดารามีผลงานออกสู่สาธารณะชน และเมื่อพิจารณาจากลักษณะ funnel รูปนาฬิกาทรายที่ระดับการมีส่วนร่วม หรือลงทุนในตัวศิลปินดาราแต่ละคน จะค่อยๆ ลดลง และกลับมาขยายกว้างอีกครั้งในระดับที่เรียกว่า Die-hard Fan คือปัจจัยที่เกิดจากตัวศิลปินดาราเองแทบทั้งสิ้น ที่สามารถบริหารจัดการเสน่ห์กับกลุ่มแฟนคลับหรือในมุมการตลาด คือ CRM ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยทักทายผ่าน Social Media ของตน การจัด Exclusive Thank You Party หรือการนัดทานข้าวกับเหล่าแฟนคลับที่ติดตามกันมาตั้งแต่เข้าวงการ โดยไม่มีการรับสปอนเซอร์

เมื่อเป็นเช่นนี้ แล้วปัจจัยอะไรที่ทำให้ศิลปินดาราบางกลุ่ม บางคน มีกลุ่มแฟนคลับที่ Loyalty สูง ไม่ทิ้งกันง่ายๆ คำตอบคือ เนื้อแท้ของศิลปิน (Genuineness) และคุณค่าความดี (Goodwill)

จากปรากฏการณ์หน้ากากจิงโจ้ บนเวที The Mask Singer Season 1 ที่ทำให้ “เป๊ก ผลิตโชค” ดังเป็นพลุแตกนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าคือ ความสามารถทางการร้องเพลงและการแสดงบนเวที ที่ทำให้ทะลุเข้ารอบลึกขึ้นเรื่อยๆ ได้ แต่อีกส่วนคือ ตัวตนที่แท้จริง ความน่ารัก ที่เด่นทะลุหน้ากากจนครองใจคนทั้งประเทศ และกลายเป็นอีกหนึ่งดาราห้างแตกเมื่อถอดหน้ากาก โดยตัวตนที่แท้จริง ความจริงใจ และความ Empathy ที่เป๊กแสดงให้เห็นทุกครั้ง ในการปรากฏตัวสู่สาธารณะชน ก่อเกิดเหล่านุช นุชเชส ที่เป็นแฟนคลับคุณภาพกลุ่มใหญ่จากทั่วประเทศและไม่มีแนวโน้มว่าจะลดพลังการติดตามลงได้เลย ดังจะเห็นได้จากการที่เหล่านุช นุชเชสรวมตัวกัน Crowdfunding เพื่อจัด Project Birthday ล่าสุด

ไม่เพียงแค่นั้น เพราะการที่ศิลปินดาราคนหนึ่งจะอยู่ได้นานในวงการ และมีแฟนคลับสนับสนุน ยังต้องมี “Goodwill” ความดีที่สร้างและสั่งสมมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเสมือนภูมิคุ้มกันอย่างดี ที่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด โดนโจมตี จะมีกลุ่ม Die-hard Fan ออกมาปกป้องอัตโนมัติ

สร้างมูลค่าที่แลกเปลี่ยนเป็นเงินได้

นอกจากพลังแฟนด้อมจะสามารถปกป้องศิลปินดาราคนโปรดได้แล้ว ศิลปินไอดอลจำนวนมากยังสามารถต่อยอดความคลั่งไคล้จนกลายเป็นสินค้าแบรนด์ตัวเองที่ขายความเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและเปลี่ยนเป็นเงินได้ด้วย เช่น วิตามิน อาหารเสริม เครื่องสำอาง น้ำหอม เครื่องหอม ร้านกาแฟ ร้านตัดผม ชุดออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งแพลตฟอร์มสำหรับชอปปิ้งออนไลน์ของชมพู่ อารยา www.hausofabbi.com ซึ่งแฟชั่นในร้านเป็นการ Collab ระหว่างแม่ชมกับเหล่า Thai Designers

นอกจากนี้ ยังมีการเปิด Channel ช่องทางยูทูปของตัวเองโปรโมทงานของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น ใบเฟิร์น เบลล่า หรือมิวนิษฐา ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเทคโนโลยีทำให้ใครก็เป็น Youtuber ได้ และอีกส่วนคือพฤติกรรมผู้บริโภค ที่บริโภคสื่อออนไลน์มากขึ้น การมีช่องทางเป็นของตัวเอง ก็เป็นอีกทางที่ทำให้เหล่าศิลปินดารายังอยู่ในกระแสความนิยมด้วย

รวมไปถึงการทำชิ้นงานศิลปะทางดิจิทัล หรือ NFT (Non-Fungible Token) อย่างภาพวาด เพลง GIF หรือกระทั่ง VDO โดยใช้ cryptocurrency ในการซื้อขาย ซึ่งผู้ซื้อสามารถตรวจสอบได้ว่าใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือไอเท็มในเกมต่างๆ ที่มีความเฉพาะตัวสูง และเริ่มใช้กันในวงการ Youtuber และ Streamer เพื่อรับสิทธิ์ในการเข้าห้องแฟนคลับแบบ Exclusive ในเมืองไทย ซึ่งตอนนี้เริ่มเห็นกลุ่มศิลปินดาราไทย นักวาดภาพศิลปะนิยมทำมากขึ้น

2.แฟนด้อมอินเตอร์: The Super Organized Fans

ความรักไม่มีพรมแดนฉันใด ความติ่งก็ไม่มีพรมแดนฉันนั้น จึงเป็นโอกาสของแบรนด์ที่จะหยิบศิลปินจากหลากหลายประเทศ ทั้งเกาหลี จีน ญี่ปุ่น ยุโรปและอเมริกามาเสริมภาพลักษณ์แบรนด์ให้ดูอินเตอร์ และสามารถเจาะกลุ่มแฟนด้อมที่พร้อมเปลี่ยนมูลค่าความรักในตัวพรีเซนเตอร์เป็นเงินสนับสนุนก้อนโตให้กับแบรนด์นั้นๆ ด้วยความภาคภูมิใจ

โดยสิ่งสำคัญอันดับแรกเลย แบรนด์ต้องรู้ก่อนว่า แฟนด้อมอินเตอร์นั้นเป็นใคร? สำหรับแฟนด้อมกลุ่มนี้ 40% เป็นพนักงานสาวโสดอายุ 20 – 29 ปี ทำงานในเมือง ส่วนใหญ่มีเงินเดือนน้อยกว่า 5,000 ถึง 20,000 บาท โดย 70% ใช้เงินเดือนเป็นงบสนับสนุนศิลปินที่ตนชื่นชอบ และ 51% ใช้เวลาติดตามศิลปินเป็นเวลา 0 – 3 ปี

Perfect for social media enthusiasts ม เมน อะไรบ าง

แฟนด้อม เกาหลี จีน ญี่ปุ่น ยุโรปและอเมริกา ต่างกันอย่างไร

เมื่อจำแนกกลุ่มแฟนด้อมตามประเทศของศิลปิน ผลสำรวจพบว่า แฟนด้อมญี่ปุ่นมีจำนวนน้อยสุดคิดเป็น 1.5% จากแฟนด้อมอินเตอร์ทั้งหมด กลุ่มที่มีแฟนคลับมากที่สุดคือแฟนด้อมเกาหลีอยู่ที่ 67% รองลงมาคือ แฟนด้อมยุโรปและอเมริกา 20% และแฟนด้อมจีน 11% ตามลำดับ ขณะที่แฟนด้อมจีนมีรายได้มากที่สุด โดย 58% มีรายได้อยู่ที่ 20,000 บาทขึ้นไป

ในด้านระดับการติดตามศิลปิน พบว่า แฟนด้อมจีน แฟนด้อมยุโรป และอเมริกาอยู่ในระดับ Avid Fan ซึ่งเป็นระดับการติดตามที่มีจำนวนคนมากที่สุดของแฟนด้อมอินเตอร์ คิดเป็น 25% ของทั้งหมด ขณะที่แฟนด้อมเกาหลีเป็น Devoted Fan มากสุด ซึ่งนอกจากจะชอบติดตาม ซื้อสินค้าและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับศิลปินแล้ว ยังพร้อมกางปีกปกป้องเมื่อศิลปินที่รักโดนทำร้ายอีกด้วย

ระดมทุนในแฟนด้อม (Crowdfunding)

สำหรับกิจกรรมยอดนิยมของชาวแฟนด้อมอินเตอร์ คงหนีไม่พ้นการดูคอนเสิร์ตของศิลปินคนโปรด แต่ที่น่าสนใจคือ อีกหนึ่งกิจกรรมที่พบเจอได้มากในปัจจุบันคือ การร่วมบริจาคเงินในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้ศิลปินที่รัก ทั้งการ Donate เพื่อสนับสนุนผลงาน สนับสนุนให้ได้รับรางวัล ซื้อของขวัญให้ จัดกิจกรรมการกุศลให้ในนาม และจัดกิจกรรมโปรโมท เพราะพวกเขา “รู้สึกภูมิใจและมีความสุข ทุกครั้งที่เห็นบุคคลนั้นประสบความสำเร็จหรือมีคนชื่นชม” จึงมักเห็นเหล่าแฟนคลับทำป้ายสุขสันต์วันเกิดหรือป้ายแสดงความยินดีในวันสำคัญต่างๆ ตามสื่อโฆษณาใน MRT ลามไปจนถึงการทำ Wrap รถไฟฟ้าทั้งคัน ซึ่งเงินค่าใช้จ่ายในการใช้สื่อต่างๆ มาจากการระดมทุนกันภายในเหล่าแฟนด้อม ทั้งแบบที่ได้รับสิ่งของตอบแทนและไม่ได้รับ เรียกได้ว่าทำด้วยใจ (และเงินในกระเป๋าตังค์) ล้วนๆ

Perfect for social media enthusiasts ม เมน อะไรบ าง

จาก แฟนด้อม สู่ แบรนด์ด้อม

จากผลสำรวจพบว่า 100% ของแฟนคลับเมื่อโดนตกเข้าด้อมแล้วจะเข้าร่วมกิจกรรมหรือซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับศิลปินคนโปรด โดย 66% เป็นกลุ่ม Die-hard Fan ที่ติดตาม เข้าร่วมกิจกรรม/ซื้อสินค้า แนะนำ และปกป้องเมนของตัวเอง ส่วนปัจจัยที่ทำให้พวกเขาติดตามศิลปินคนโปรด 77% มาจากความประทับใจในความสามารถในอาชีพของเหล่าศิลปิน และ 75% เป็นเรื่องบุคลิกและรูปลักษณ์ เช่น หน้าตา รูปร่าง

Perfect for social media enthusiasts ม เมน อะไรบ าง

ขณะเดียวกัน ยังพบว่า การที่เมนตัวเองได้เป็นพรีเซนเตอร์ให้กับแบรนด์นั้น 44% รู้สึกสนใจแบรนด์นั้นมากขึ้น 52% ซื้อแบรนด์นั้นมาทดลองใช้ และ 3% เปลี่ยนจากแบรนด์ที่ใช้ประจำมาใช้แบรนด์นั้นๆ โดยระดับการสนับสนุนขึ้นอยู่กับ Awareness และ Preference ที่มีต่อแบรนด์ก่อนหน้าที่เมนจะมารับงาน หากเป็นแบรนด์ที่รู้จักหรือเคยใช้มาก่อน จะได้รับการสนับสนุนที่ดีกว่าแบรนด์ที่เลิกใช้ไปแล้วหรือแบรนด์ที่ไม่ชอบ โดยเมื่อศิลปินคนโปรดมาเป็นพรีเซนเตอร์ให้ พวกเขารู้สึก “ชื่นชอบและภูมิใจที่ได้ใช้สินค้าแบรนด์นั้น” รวมถึงมองว่า “แบรนด์มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น” และมักจะแนะนำแบรนด์ให้เพื่อนหรือครอบครัวเสมอ โดยกิจกรรมที่อยากให้แบรนด์ทำร่วมกับศิลปินมากที่สุดคือ Mini Concert และ Meet & Greet

ขายสินค้าให้เกิดในจีน ต้องใช้พรีเซนเตอร์

ส่วนแฟนด้อมจีน ผลสำรวจพบว่า แฟนคลับชาวไทยเลือกติดตามดาราจีนที่โด่งดังมาจากซีรีส์จีนมากที่สุด 16% คือ Xiao Zhan ที่เป็นนักแสดงนำในซีรีส์ปรมาจารย์ลิทธิมาร ส่งผลให้แฟนด้อมกลุ่มนี้ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมงานเปิดตัวหนัง หรืองานเปิดตัวสินค้ามากที่สุดถึง 55% และ 64% อยากให้แบรนด์จัด Meet & Greet หรืองานแจกลายเซ็นของศิลปินจีนที่เป็นพรีเซนเตอร์ต่างจากแฟนด้อมเกาหลีที่อยากให้แบรนด์จัด Mini Concert

ประเด็นที่น่าสนใจคือ แฟนด้อมจีนให้คะแนนสูงถึง 4.14 จากคะแนนเต็ม 5 ในการสนับสนุนแบรนด์ที่เลิกใช้แล้วหรือแบรนด์ที่ไม่ค่อยชอบ ถ้าแบรนด์นั้นมีดาราจีนที่ชื่นชอบเป็นพรีเซนเตอร์ โดย 100% พร้อมจ่ายเงินซื้อสินค้าต่อครั้งในมูลค่าตั้งแต่ 1-1,000 บาท

Perfect for social media enthusiasts ม เมน อะไรบ าง

สร้างภาพลักษณ์ด้วยพรีเซนเตอร์สายฝอ.

การใช้ซูเปอร์สตาร์ระดับโลกทั้งฝั่งยุโรปและอเมริกาสำหรับแบรนด์ในประเทศไทย ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยพบเจอมากนัก ส่วนใหญ่พวกเขาจะอยู่ในรูปแบบของการเป็น Global Brand Presenter ในภาพโฆษณาที่ใช้ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งซูเปอร์สตาร์ส่วนใหญ่จะถูกใช้ในการถ่ายโฆษณาเท่านั้น ไม่มีการเดินทางหรือจัดกิจกรรมที่ได้พบปะกับแฟนคลับอย่างใกล้ชิด อาจจะด้วยข้อจำกัดในหลายๆ อย่าง เช่น ราคาค่าตัวที่สูง ข้อจำกัดในการรับงาน หรือ ระยะทางในการเดินทางที่ไกล

Perfect for social media enthusiasts ม เมน อะไรบ าง

จากผลสำรวจพบว่า 100% ของแฟนด้อมสายฝรั่ง มีการติดตามและซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับศิลปินคนโปรด โดย 50% เป็น Die-hard Fan และติดตามมานานกว่า 7 ปีขึ้นไป แต่มีโอกาสเลิกติดตามสูงถึง 8% อย่างไรก็ตาม มีเพียง 46% ซื้อสินค้าที่เมนของตัวเองเป็นพรีเซนเตอร์ โดยยอมจ่ายอยู่ที่ต่ำกว่า 500 บาทต่อครั้ง

สรุปได้ว่าซูเปอร์สตาร์ระดับโลกสามารถสร้าง Brand Awareness และ Brand Image ได้ แต่ยังไม่อิมแพคมากพอสำหรับเหล่าแฟนด้อมสายฝอ.ในการสร้างยอดขาย เมื่อเทียบกับแฟนด้อมเกาหลีและจีน

3.แฟนด้อมสายวาย: The Naive Worshipper

ยุคนี้ กระแสวายมาแรงสุดๆ ไม่ว่าจะหันไปทางไหนเราก็มักเห็นโฆษณาที่มีพรีเซนเตอร์เป็นนักแสดงซีรีส์วายหลายสินค้า โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ที่มีสาวกมากมายออกตัวเป็น “ติ่งวาย” และปั่นกระแสแสดงความรักผ่าน Hashtag กันอย่างดุเดือดใน Twitter โดยคำว่า “วาย” หรือ Y มีที่มาจากภาษาญี่ปุ่น Yaoi (やおい อ่านว่า ยาโอย) หมายถึง ชายรักชาย และ Yuri (百合 อ่านว่า ยูริ) หมายถึง หญิงรักหญิง ซึ่งในประเทศไทยกลุ่ม Yaoi จะได้รับความนิยมเป็นหลัก

ในอดีตคอนเทนต์วายในไทยมักเป็นที่นิยมอยู่ในวงจำกัด แต่ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมาการเติบโตของกระแสวายสูงขึ้นก้าวกระโดด จนกล่าวได้ว่า “ประเทศไทย” คือ ศูนย์กลางของ “ซีรีส์วาย” ระดับเอเชียและระดับโลก เพราะซีรีส์วายมีลักษณะพิเศษในการต่อยอดมูลค่าด้านรายได้อย่างมหาศาล

แม้ซีรีส์วายจะได้รับความนิยมแพร่หลายในวงกว้างมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากคิดว่าผู้นิยมชมชอบซีรีส์วายสายคู่จิ้นต่างๆ จะต้องเป็นกลุ่มเพศทางเลือกและกระจุกตัวในกลุ่มเมืองหลวงเท่านั้น แต่ผลการวิจัย ซึ่งทำแบบสำรวจในกลุ่มชายและหญิง อายุตั้งแต่ 13-59 ปี ทั่วประเทศ จำนวน 118 คน พบตัวเลขที่น่าสนใจ ดังนี้

#ติ่งวาย ไม่ใช่สายเกย์อย่างที่ใครหลายคนคิด

87% ของกลุ่มคนดูหลัก คือ ผู้หญิงหรือที่เรียกกันว่า “สาววาย” กระจายตัวอยู่ทั้งในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองต่างจังหวัดในสัดส่วนไม่ต่างกัน ซึ่งในกลุ่มสาววายนี้เป็นเด็กสาววัยมัธยม ถึงมหาวิทยาลัย (อายุ 13-19 ปี) สัดส่วนมากถึง 35% และที่น่าสนใจคือ กลุ่มสาววายที่อายุมากกว่า 40 ปี มีสูงถึง 17%

Perfect for social media enthusiasts ม เมน อะไรบ าง

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า 81% เลือกติดตามนักแสดงคนนั้นให้เป็น “เมน” ของตัวเอง เพราะหน้าตารูปลักษณ์เป็นหลัก รองลงมา 76% จะให้ความสำคัญกับ “นิสัยและความประพฤติดี” และตามด้วยเรื่องความสามารถในอาชีพ 69%

โดย 86% มีความคิดว่าการเป็นติ่งวายทำให้พวกเขามีความสุขทางจิตใจ มีกำลังใจในการใช้ชีวิต เพราะแค่ได้เห็นเมนของตัวเองประสบความสำเร็จ เห็นรอยยิ้มก็เป็นเหมือนการเติมพลัง แต่สำหรับติ่งวายพันธุ์แท้ที่ติดตามมานาน 4 ปีขึ้นไป แม้ไม่คาดหวังมากแต่ก็อยากให้เมนจดจำตัวเองได้

#ติ่งวายสายเปย์ มัธยมแล้วไงพร้อมจ่ายก็แล้วกัน!

แม้ติ่งวายส่วนใหญ่เป็นสาวน้อยวัยมัธยมไปจนถึงสาววัยทำงาน แต่เรื่องของ “กำลังซื้อ” จัดเต็มไม่แพ้ใคร เพราะกลุ่มอายุที่ยอมเสียเงินให้กับสินค้าทุกประเภทที่เกี่ยวข้องมากที่สุด คือ 20-29 ปี (71%) รองลงมาคือกลุ่มอายุ 13-19 ปี (61%) โดยเงินสนับสนุนเทียบต่อรายได้ส่วนตัวจะมีที่มา 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่ใช้จ่ายมากกว่า 21% จะเป็นเงินจากผู้ปกครอง และกลุ่มที่ใช้จ่ายไม่เกิน 10% จะเป็นเงินเดือนจากการทำงาน

โดยแฟนคลับสายวายเมื่อเลือกติดตามแล้ว 100% พร้อมสนับสนุนนักแสดง ทั้งการทุ่มซื้อสินค้าจากแบรนด์โดยตรง สนับสนุนสินค้า Resell ของพรีเมียมจากแบรนด์ใน Facebook Group ต่างๆ รวมไปถึงการเปย์ติ่งด้วยกันเอง (Gift Economy) เช่น สุ่มแจก Fan Art ให้กับใครก็ตามที่ Retweet ผลงานของเมน

สำหรับการซื้อสินค้าจากแบรนด์นั้น 78% ของติ่งวายเลือกซื้อสินค้าของแบรนด์ที่มีเมนของตัวเองเป็นพรีเซนเตอร์ ซึ่งยอดซื้อต่อครั้งในการซื้อสินค้าของแบรนด์โดยเฉลี่ยจะไม่เกิน 500 บาท และซื้อผ่านช่องทางร้านสะดวกซื้อเป็นหลัก เพราะค่อนข้างสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มอายุ 13-29 ปี

Perfect for social media enthusiasts ม เมน อะไรบ าง

ด้านกิจกรรมสนับสนุนอื่นๆ หากเป็นกิจกรรมชนิดไม่มีค่าใช้จ่าย ส่วนใหญ่ 72% จะเน้นกิจกรรม Vote ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการโหวตเพื่อให้เมนของตัวเองติด Trend ใน Twitter หรือการโหวตเพื่อผลักดันให้ได้รับรางวัลต่างๆ และหากเป็นกิจกรรมที่ต้องมีค่าใช้จ่าย 53% ชอบกิจกรรมประเภทงาน Concert/Fan Meet เป็นหลัก รองลงมาจะเป็นกิจกรรม Crowdfunding ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรวมเงินเพื่อ Donate สนับสนุนผลงาน ประชาสัมพันธ์ศิลปิน หรือเพื่อบริจาคในนามศิลปิน

เพราะความรัก คือ การลงทุน “ด้านเวลา”

สำหรับติ่งวาย การติดตามเมนคือการเติมพลังชีวิต ดังนั้น 84% จึงติดตามข่าวสารในทุกช่องทางและทุกวัน โดยใช้เวลาเฉลี่ย 4 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน ผ่าน Instagram เป็นช่องทางในการติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอายุ 13-19 ปี มีการติดตามผ่าน Instagram มากถึง 93% นับว่าสูงสุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอายุอื่นๆ รองลงมาคือการติดตามผ่าน Twitter 61% YouTube 52% Facebook 42% และ TikTok 30%

นอกจากนี้ ไม่ว่าเมนไปทางไหน ติ่งวายพร้อมตามไปทางนั้น หากเมนเป็นพรีเซนเตอร์แบรนด์ไหน ติ่งวายก็พร้อมเปลี่ยนตามไปใช้เช่นกัน อีกทั้งยังยินดีแนะนำ บอกต่อ และรู้สึกชื่นชมแบรนด์ มีความรู้สึกดีต่อแบรนด์นั้นๆ อีกด้วย ซึ่งพลังของหนุ่มสาววายที่มีต่อแบรนด์นั้นไม่ธรรมดา เพราะแบรนด์จะได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายทันที 100% แบ่งเป็นสนใจแบรนด์นั้นมากขึ้นแต่ยังไม่ถึงขั้นซื้อหรือเปลี่ยนมาใช้ 36% สนใจและซื้อแบรนด์นั้นมาทดลองใช้ 55% สนใจและเปลี่ยนจากแบรนด์ที่ใช้ประจำมาใช้แบรนด์นั้น 8%

แต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าจะเป็นแบรนด์ไหนมาใช้พรีเซนเตอร์สายวายแล้วจะได้ผลเต็มที่เสมอไป เพราะผลสำรวจพบว่า หากเป็นแบรนด์ที่ไม่มี Awareness เป็นที่รู้จักมาก่อนเลย หรือเป็นแบรนด์ที่เคยใช้แล้วมีประสบการณ์ไม่ดีด้วย ระดับการสนับสนุนของแฟนคลับก็จะค่อนข้างต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และต่ำกว่าเมื่อเทียบกับแบรนด์ที่รู้จักชื่อเสียงมาก่อน เคยใช้มาก่อน หรือกำลังใช้อยู่

และที่น่าสนใจคือ หากแบรนด์หยุดจ้างพรีเซนเตอร์คนนั้นๆ จากผลสำรวจพบว่า “เกือบครึ่ง” (48%) ของติ่งวายก็พร้อมที่จะเลิกใช้ Brand นั้นๆ ไปด้วยทันที

4.แฟนเข้มสายกีฬา: The Classic Fanatics

ปัจจุบัน “แฟนกีฬา” ในประเทศไทยมีความหลากหลายทั้งในแง่ประเภทกีฬาที่เชียร์ กลุ่มช่วงอายุ และเหตุผลในการเชียร์กีฬาที่แตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้วกีฬามหาชนของคนไทยก็ยังคงหนีไม่พ้น กีฬาประเภทหลักๆ ที่คนไทยให้ความนิยมกันมานานเช่น ฟุตบอล วอลเลย์บอล และมวยสากล ซึ่งสาเหตุหลัก 3 อันดับ ที่แฟนกีฬาให้ความสนใจกับประเภทกีฬานั้นๆ มักมาจากการที่แฟนกีฬาชื่นชอบในความสามารถของนักกีฬาถึง 70% ตามมาด้วยทีมมีชื่อเสียง คว้าถ้วยแชมป์ได้หลากหลาย 45% และเป็นทีมดังในอดีต มีประวัติอันยาวนาน 41%

Perfect for social media enthusiasts ม เมน อะไรบ าง

ผู้ชายชอบดูกีฬา ผู้หญิงชอบดูนักกีฬา

โดยผลการวิจัยพบว่า แฟนคลับติดตามนักกีฬา 61% มากกว่าทีมกีฬา 39% แต่พอลงรายละเอียดไปในเชิงเพศเพื่อหาความต่างระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง คำตอบของผู้ชายส่วนใหญ่เลือกคำตอบไปในทางของ “ทีมกีฬา” ที่ตนเองเชียร์ ในขณะที่ผู้หญิงเลือกเจาะจงไปที่ชื่อ “นักกีฬา” โดยตรง

ถึงแม้ระดับการติดตามของแฟนกีฬาในผลวิจัยนี้จะอยู่ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน แต่เมื่อวิเคราะห์ลงไปถึงเรื่องเพศ จะเห็นชัดว่ายิ่งระดับความจริงจังในการติดตามมีมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งเป็นผู้ชายมากขึ้น โดยสัดส่วนของผู้ชายตั้งแต่ระดับของ Dedicated Fan จนถึง Die-hard Fan มีจำนวนที่มากกว่าผู้หญิงอย่างชัดเจน โดยสื่อหลัก 3 อันดับแรกของแฟนกีฬาที่ใช้ในการรับชมหรือติดตามข่าวสารคือ Facebook (71%) YouTube (64%) และ โทรทัศน์ (46%) โดยระยะเวลาในการติดตามข่าวสารหรือรับชมต่อวัน จะยิ่งมากขึ้นตามระดับของแฟนกีฬา โดยเฉพาะกลุ่ม Devoted Fan และ Die-hard Fan ที่ใช้เวลากว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน

Perfect for social media enthusiasts ม เมน อะไรบ าง

นักกีฬาตัวท็อป ก็มีคนชอบไม่ต่างกับดารา

ในปัจจุบัน การเลือกใช้ทีมกีฬาหรือนักกีฬาเป็น Presenter ให้กับแบรนด์พอมีให้เห็นในไทยอยู่บ้าง ส่วนใหญ่อยู่ในหมวดกีฬาที่เป็นที่นิยมของไทย เช่น ฟุตบอล มวย หรือวอลเลย์บอล และมักใช้นักกีฬาเป็นรายบุคคลมากกว่าการว่าจ้างเป็นทีม สาเหตุที่แบรนด์หันมาใช้นักกีฬาเป็น Presenter แทนการใช้ดารา อาจจะมาจากกระแสของนักกีฬาคนนั้นๆ กำลังเป็นที่นิยม บวกกับยอดผู้ติดตามใน Social Media ต่างๆ มีจำนวนไม่แพ้ดาราดังๆ ทำให้แบรนด์เริ่มสนใจ เห็นโอกาสในการใช้นักกีฬามาแทนศิลปินหรือดาราเพื่อมาเป็น Presenter โดยยังสามารถสร้างความแปลกใหม่และแตกต่างให้กับแบรนด์อื่นๆ ได้อีกด้วย

นักกีฬาตัวท็อป สร้างการรับรู้ได้จริงแต่ไม่ถึงขั้นซื้อสินค้า

นอกจากนี้ ผลวิจัยยังพบว่า ภายหลังจากทีมหรือนักกีฬาที่ชื่นชอบมาเป็น Presenter ให้กับแบรนด์สินค้า 64% สามารถทำให้สนใจแบรนด์นั้นมากขึ้นแต่ยังไม่ถึงขั้นเชื่อหรือเปลี่ยนมาใช้แบรนด์นั้นในทันที โดยกิจกรรมการตลาดที่เกี่ยวกับกีฬาโดยตรง เช่น แจกตั๋วรับชมฟรีถึงขอบสนามหรือการแจกของรางวัล Official จากสโมสรกีฬา มักจะได้ความสนใจต่อกลุ่มผู้ชายมากกว่า ในทางตรงกันข้ามผู้หญิงจะให้ความสนใจกับตัวนักกีฬามากกว่า กิจกรรมแนว Meet & Greet หรือการพบเจอนักกีฬาตัวเป็นๆ เพื่อขอลายเซ็นหรือถ่ายรูป จึงมีแนวโน้มได้ความสนใจจากกลุ่มผู้หญิงมากกว่า

Fan Token และ NFT อีกระดับแห่งสัญลักษณ์ของแฟนตัวยง

สมัยก่อนรายได้ของสโมสรหรือทีมกีฬาจะมาจาก 2 ส่วน เรียกว่ารายได้หลักและรายได้รอง รายได้หลักมักจะมาจากการจำหน่ายค่าตั๋วเข้าชม (Tickets), ขายชุดแข่งขัน (Kits), ทำสินค้าของที่ระลึก (Merchandising), การหาสปอนเซอร์ (Sponsorship) และส่วนแบ่งจากค่าลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดสด (TV Rights) ในขณะที่รายได้รองจะมาจากการจัดทัวร์ (Stadium Tour), การทำกิจกรรมทางการตลาด (Marketing Activity), การหารายได้จากช่องทางโซเชียลมีเดีย

Perfect for social media enthusiasts ม เมน อะไรบ าง

จนกระทั่งการมาถึงของ Fan Token และ NFT ที่ได้เปลี่ยนโฉมการแสดงออกของแฟนกีฬาไปอีกระดับ โดย Fan Token และ NFT คือสินทรัพย์ทางดิจิทัลที่แฟนกีฬาสามารถครอบครองได้แต่เพียงผู้เดียวผ่านระบบ Blockchain และ Cryptocurrency ที่ในบางครั้งเงินจริงๆ ไม่สามารถซื้อได้ เช่น ประสบการณ์, รางวัลพิเศษ หรือคอนเทนต์พิเศษ (Exclusive Content) ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายสโมสรที่เปิดให้ซื้อขาย Fan Token กันอย่างแพร่หลาย

โดยสิทธิพิเศษหลักๆ ในการครอบครอง Fan Token ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Reward และ Vote ในส่วนของ Reward นั้น แฟนกีฬาสามารถใช้ Fan Token ไปแลกสินค้าหรือประสบการณ์ที่เงินจริงอาจไม่สามารถทำได้ เช่น ประสบการณ์ VIP ถึงขอบสนาม, เสื้อพร้อมลายเซ็นครบทั้งทีมที่ไม่มีจำหน่าย หรือแม้กระทั่งสิทธิ์ในการซื้อตั๋วเข้าชมการแข่งขันก่อนรอบการเปิดขายจริง ในขณะที่ Vote คือ การที่ให้อำนาจแฟนกีฬาในการตัดสินใจเรื่องภายในทีมกีฬาหรือสโมสรแบบเบ็ดเสร็จ เช่น ร่วมโหวตลายเสื้อในฤดูกาลหน้า ลายรถบัสของทีม รวมถึงประเทศที่อยากให้ทีมไปเตะในช่วงก่อนเริ่มฤดูกาล เป็นต้น

ดังนั้น ถ้าเปรียบ Fan Token คือสินทรัพย์ทางดิจิทัลที่เน้นใช้ ส่วน NFT คือสินทรัพย์ทางดิจิทัลที่เน้นสะสม โดย NFT คือ Token รูปแบบหนึ่งที่เน้นการแสดงออกถึงความเป็นเจ้าของ มีจำนวนจำกัดและไม่สามารถแลกเปลี่ยนหรือมีอะไรมาทดแทนได้ ซึ่ง NFT สามารถเป็นได้หลากหลาย แล้วแต่กีฬาแต่ละประเภทจะสรรหามาจำหน่าย เช่น NFT Moment ดังๆ ในกีฬาบาส NBA, Post สุดท้ายบน Twitter ของ Kobe Bryant นักกีฬาบาสเก็ตบอลผู้ล่วงลับ, การ์ดนักกีฬา Online ในเกมฟุตบอล, เสื้อนักกีฬาพร้อมลายเซ็นในรูปแบบดิจิทัล หรือรูปพิกเซลอาร์ตของนักกีฬาที่ขายกันได้เป็นหลักหลายล้านดอลลาร์

แน่นอนว่า ในเชิงการตลาดทั่วไปการทำให้แบรนด์หนึ่งแบรนด์เป็นทางเลือกของผู้บริโภคนั้น ก็จะสร้างทางเลือก Stimuli ในเชิงของความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ความแตกต่างด้านราคา ความแตกต่างในเรื่องชื่อเสียง หรือภาพลักษณ์ของแบรนด์ผ่านการสร้างบุคลิกภาพที่แตกต่าง ซึ่งการสร้างทางเลือกที่ใช้พรีเซนเตอร์ที่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง หรือศิลปินที่มีแฟนด้อมเป็นการสร้างทางเลือกที่เรียกว่า ทางเลือกที่รัก (Affective Priming) เมื่อมีการนำศิลปินหรือบุคคลที่ชื่นชอบมาผูกติดเชื่อมโยงกับสินค้า สินค้านั้นก็จะได้ความรักของแฟนด้อมที่มีต่อศิลปินนั้นผูกติดเป็นกำไรตามไป ทำให้โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการทำให้คนในแฟนด้อมนั้นมาซื้อสินค้าก็สูงตามไปด้วย

แต่แบรนด์เองต้องไม่มองข้ามด้วยว่า แต่ละแฟนด้อมนั้นมีความเชื่อมโยงกับแบรนด์แตกต่างกัน รวมถึงแบรนด์ต่างๆ ก็มีวัตถุประสงค์ในการศิลปินไอดอลมาทำการตลาดต่างกันออกไป ดังนั้น การที่แบรนด์จะสร้างให้เกิด Brandom ของแบรนด์ตัวเอง จึงมีข้อแนะนำสำหรับแบรนด์ 4 ข้อ ได้แก่

1.สร้างคุณค่าร่วม แฟนจะรู้สึกว่าได้รับการยอมรับ

2.เข้าไปอยู่ในห้องเดียวกับแฟน ร่วมทุกข์ ร่วมสุขตลอด ไม่ใช่เฉพาะตอนขายของ ให้แฟนนำ ไม่ใช่แบรนด์นำ

3.สร้างโอกาสทางการตลาดกับแฟนด้อมผ่านการใช้กลยุทธ์ของกำนัล ช่วยระดมทุน มี Engagement กับงานที่แฟนสร้างสรรค์ขึ้น และควรตรวจสอบความรู้สึกของแฟนด้อมและรู้ว่าแบรนด์ควรแสดงบทบาทในช่วงไหน แบรนด์ต้องอ่านเทรนด์ จับกระแสได้ตลอดเวลา

4.ประเมินคุณค่าของแฟนด้อม และ Celebrity ด้วยดัชนีการตลาดที่วัดได้ และรีบต่อยอด Monetizing เพื่อเก็บเกี่ยว ROI จาก Brandom ให้มากที่สุด