Adobe Animate CC เครื่องมือ

ส่วนประกอบของโปรแกรม Adobe Flash CS4     

เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Flash CS4 จะพบหน้าจอที่มีส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งเราสรุปการใช้งานได้ดังนี้

Adobe Animate CC เครื่องมือ

รูปที่ 1.9 ส่วนประกอบของโปรแกรม Flash CS4

    เมนูบาร์เป็นแถบที่รวบรวมคำสั่งในการใช้งานทั้งหมดเกี่ยวกับการสร้างชิ้นงาน และการสร้างมูฟวี่ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการตั้งค่าเกี่ยวกับการใช้งานในโปรแกรม

Adobe Animate CC เครื่องมือ

รูปที่1.10  เมนูบาร์ (Menu Bar)

2. สเตจ (Stage) และพื้นที่ทำงาน (Pasteboard) 

     เราเรียกพื้นที่สีขาวตรงกลางหน้าจอที่ใช้จัดวางออกเจ็กต์ต่างๆ ที่ต้องการแสดงให้เห็นในชิ้นงานว่า “สเตจ (Stage) หรือ Document Window” ส่วนบริเวณสีเทาล้อมรอบนั้นเราจะใช้วางวัตถุที่ยังไม่ต้องการให้แสดงว่า “พื้นที่ทำงาน (Pasteboard)”

ซึ่งเราอาจเปลี่ยนสเตจได้เหมือนเป็นเวที และพื้นที่ทำงานเป็นพื้นที่หลังเวทีที่ผู้ชมมองไม่เห็น แต่เราวางองค์ประกอบต่างๆ ที่จะนำไปแสดงบนสเตจได้   เราสามาเปิด/ปิดพื้นที่การทำงานได้โดยใช้คำสั่ง View> Pasteboard ให้มีเครื่องหมายถูก เพื่อเปิดพื้นที่การทำงาน และใช้คำสั่ง View> Pasteboard  อีกครั้ง เพื่อยกเลิกเครื่องหมายถูกเพื่อปิดพื้นที่การทำงาน (จะกดคีย์ลัด++W ก็ได้)

     ไทมไลน์หรือเส้นเวลา จะใช้สำหรับสร้างและกำหนดรายละเอียดของการเคลื่อนไหวโดยเอาองค์ประกอบที่จะเคลื่อนไหว   (เรียกองค์ประกอบต่างๆ ในชิ้นงานว่าออบเจ็กต์หรือวัตถุ)  มาจัดวางต่อกันทีละภาพในแต่ละช่วงเวลา (เรียกว่าเฟรม : frame) ที่จะแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยเราจะกำหนดเส้นเวลาให้เล่นภาพเคลื่อนไหวซ้ำๆ หรือเล่นแล้วหยุดก็ได้

Adobe Animate CC เครื่องมือ

รูปที่1.11  ไทมไลน์ (Timeline) 

เราแบ่งไทมไลน์เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่

    1. ส่วนแสดงเลเยอร์ (Layer) ซึ่งแต่ละเลเยอร์เปรียบเหมือนแผนใสที่สามารถวางภาพหรือออบเจ็กต์ได้ โดยแต่ละเลเยอร์นั้นแยกเป็นอิสระต่อกัน แต่ประกอบกันเป็นชิ้นงานเดียว

Adobe Animate CC เครื่องมือ

รูปที่1.12  ส่วนแสดงเลเยอร์ (Layer)

    2. ส่วนเฟรม (Frame) ที่แสดงช่องเฟรมต่างๆ ซึ่งทำงานเหมือนกับเฟรมที่ประกอบกันเป็นภาพยนตร์โดยเมื่อมีการนำเฟรมเหล่านี้มาแสดงอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหว ทั้งนี้ Frame จะแสดงผล ทีละเฟรม โดยจะมีหัวอ่าน (Playhead) ที่เป็นเส้น

สีแดงคอยบอกตำแหน่งว่ากำลังทำงานอยู่ที่เฟรมใด

Adobe Animate CC เครื่องมือ

                                                                             รูปที่1.13  ส่วนเฟรม (Frame)
4. พาเนล (Panels)่

    พาเนลคือหน้าต่างทีรวบรวมเครื่องมือต่างๆ สำหรับใช้ในการปรับแต่งออบเจ็กต์ ซึ่งใน Flash ได้มีการจัดพาเนลต่างๆ ไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ตามหน้าที่ของมันให้เราเรียกใช้ได้ พาเนลสำคัญที่ควรรู้จักดังนี้

          4.1 Properties Inspector เป็นพาเนลที่ใช้แสดงคุณสมบัติต่าง ๆ ของออบเจ็กต์ที่เราคลิกเลือก ซึ่งเราสามารถปรับแต่ง                         คุณสมบัติเหล่านี้ได้ ทั้งนี้รายละเอียดที่ Property Inspector จะเปลี่ยนไปตามออบเจ็กต์ที่เลือก โดยเราสามารถเรียกเปิด                 ใช้งาน Property Inspector ด้วยคำสั่ง Window > Properties หรือกดคีย์ลัด

Adobe Animate CC เครื่องมือ

รูปที่ 1.14  Properties Inspector 

      4.2  พาเนล color และพาเนล swatches   เป็นพาเนลที่ใช้เลือกสีและผสมสีตามที่ต้องการซึ่งจะนำไปใช้ปรับแต่งสีให้กับทั้ง                ภาพวาดและตัวอักษรได้อย่างง่ายดาย โดย color จะใช้ผสมสีเองตามต้องการ และ swatches จะใช้เลือกสีจากจานสีตาม                ที่โปรแกรมกำหนดมาให้ โดยเราสามารถเรียกเปิดใช้งานพาเนล color ด้วยคำสั่ง window>color เพื่อเรียกแท็บ color และ              ใช้คำสั่ง window> swatches เพื่อเรียกแท็บ swatches

Adobe Animate CC เครื่องมือ
   

Adobe Animate CC เครื่องมือ

รูปที่ 1.16  พาเนล swatches 

     4.3 พาเนล library  เป็นพาเนลที่ใช้สำหรับเก็บองค์ประกอบที่จะใช้กับชิ้นงานนั้น ๆ เช่น ซิมบอล ภาพกราฟิก และมูฟวี่หรือ               ไฟล์ชนิดต่าง ๆ เช่น ไฟล์วีดีโอ ไฟล์เสียง ซึ่งสามารถจัดเก็บองค์ประกอบเหล่านี้ได้อย่างระเบียบในโฟลเดอร์ (ที่เราสร้าง                เอง) โดยเราสามารถเรียกเปิดใช้งานพาเนล library ด้วยคำสั่ง Windows > library หรือกดคีย์ลัด Ctrl + L

Adobe Animate CC เครื่องมือ

     4.3 พาเนล actions  เป็นพาเนลที่ใช้สำหรับ สร้างโค้ด actionScript  (ภาษาที่ใช้งาน Flash) เพื่อให้ชิ้นงานนั้นสามารถโต้ตอบ              กับผู้ใช้งานได้ เช่น สร้างปุ่มที่ให้ผู้ใช้คลิกเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง ทำเกมและเว็บที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยเราสามารถ              เรียกเปิดใช้งานพาเนล actions ด้วยคำสั่ง Windows > Actions หรือ กดคีย์ลัด F9

Adobe Animate CC เครื่องมือ


     แถบเครื่องมือหรือทูลบาร์(Toolbar) ประกอบด้วยคำสั่งที่จัดเป็นปุ่มไอคอนซึ่งเราสามารถคลิกเรียกได้ทันที โดยไม่ต้องหาในแถบเมนู เราเลือกเปิด/ปิดแถบเครื่องมือได้โดยเลือก Windows > Toolbar ชื่อแถบเมนูที่ต้องการ (ให้มีเครื่องหมายถูกหน้าชื่อ

เพื่อให้แสดงแถบเครื่องมือ และใช้คำสั่งเดียวกันยกเลิกเครื่องหมายถูกหน้าชื่อแถบเครื่องมือที่ต้องการให้ซ่อนไว้) ใน Flash มีแถบเครื่องมืออยู่ 3 ชุด ดังนี้

    - แถบเครื่องมือหลัก (Main Toolbar) จะรวบรวมคำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ 

    - แถบเครื่องมือควบคุมการแสดงผล (Controller) ใช้สำหรับควบคุมการแสดงภาพเคลื่อนไหว หรือมูฟวี่ที่เราสร้าง 

    - แถบเครื่องมือแก้ไข (Edit Bar) ใช้สำหรับแก้ไขสเตจ โดยจะมีปุ่มคำสั่งเพิ่มเติมและเมนูสำหรับใช้ย่อ/ขยายสเตจ 

     ทูลบ็อกซ์เป็นกล่องที่รวบรวมเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในกานสร้าง และปรับแต่งอ็อบเจ็กต์ต่างๆ โดยจะเรียงเครื่องมือต่างๆ เป็นแถวเดียวกันลงมา เครื่องมือแต่ละชิ้นทูลบ็อกซ์จะมีลักษณะเป็นไอคอนรูปภาพที่เราสามารถคลิกเพื่อเรียกใช้งานได้ ซึ่งมีการแบ่งเครื่องมือต่างๆ เป็น 4 กลุ่มดังนี้

         6.1  กลุ่มเครื่องมือ Tools เกี่ยวกับการเลือก คือ Selection Tool  

Adobe Animate CC เครื่องมือ
 และ Subselection Tool 
Adobe Animate CC เครื่องมือ

         6.2  กลุ่มเครื่องมือ Edit เกี่ยวการวากและการตกแต่งภาพ เช่น Pencil Tool 

Adobe Animate CC เครื่องมือ
 , Brush Tool 
Adobe Animate CC เครื่องมือ
 , Eraser Tool 
Adobe Animate CC เครื่องมือ
 ,

                Free Transform Tool  

Adobe Animate CC เครื่องมือ

         6.3  กลุ่มเครื่องมือ View เกี่ยวกับการมองภาพในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Hand Tool  

Adobe Animate CC เครื่องมือ
  , Zoom Tool 
Adobe Animate CC เครื่องมือ

         6.4  กลุ่มเครื่องมือ Colors ใช้ในการเลือกสีให้กับเส้นและสีพื้น เช่น Eavesdropper 

Adobe Animate CC เครื่องมือ

โดยเมื่อเลือกปุ่มเครื่องมือเหล่านี้ เราสามารถปรับแต่งเพิ่มเติม (Options) ทางด้านล่างของทูลบ็อกซ์ได้ เราสามารถเปิด/ปิด         ทูลบ็อกซ์นี้ได้โดยใช้คำสั่ง Window > Tools ให้มีเครื่องหมายอยู่หน้าคำว่า Tools เพื่อเปิดทูลบ็อกซ์ และใช้คำสั่ง Window > Tools  อีกครั้งยกเลิกเครื่องหมายถูกเพื่อปิดทูลบ็อกซ์