วัยรุ่นกับการ เจริญ เติบโต ตามเกณฑ์มาตรฐาน ม 1 ppt

งานนำเสนอเรื่อง: "การเจริญเติบโตของวัยรุ่น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเจริญเติบโตของวัยรุ่น

2 แนวทางการปฏิบัติตนเพื่อพัฒนา การเจริญเติบโตให้สมวัย
เราจะสังเกตได้ว่าเพื่อนร่วมชั้นเรียนของเรามีขนาดร่างกายใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ถึงแม้อายุจะเท่ากันหรือต่างกันเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะการเจริญเติบโตตามวัย ดังนั้นจึงต้องปฏิบัติเพื่อสร้างเสริมภาวะการเจริญเติบโตให้แก่ตนเองดังนี้

3

4 1. อาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เนื่องจากอาหารทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ให้พลังงาน และความอบอุ่นต่อร่างกาย และอาหารช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายให้เป็นปกติ คนเราจึงรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เพราะการรับประทานอาหารถูกสัดส่วน จะทำให้ร่างกายแข็งแรง และเจริญเติบโตสมวัย

5 2. การดื่มนม ควรดื่มนมวันละ 1 – 2 แก้ว (แก้วละ ซีซี) เป็นประจำ เพราะนมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง คือ มีโปรตีน แคลเซียม แคลเซียมในนมช่วยให้มีรูปร่างเจริญเติบโต สูงใหญ่และแข็งแรง

6 3. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นการใช้พลังงานและทำให้ร่างกายแข็งแรงมีการเจริญเติบโตดี การออกกำลังกายด้วยการเล่นกีฬา จะทำให้สนุกสนาน เพลิดเพลิน การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ควรออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน

7 4. การพักผ่อน คือ ช่วงเวลาที่ว่างหรือพักจากการทำงาน การเรียน การเล่น เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด อาจจะฟังเพลง อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ ฯลฯ การพักผ่อนที่ดีที่สุด คือ การนอนหลับ ในขณะที่นอนหลับ การทำงานของอวัยวะภายในมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ และการหายใจจะช้าลง จึงทำให้อวัยวะและระบบการทำงานของร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ สิ่งสำคัญสำหรบการนอนในวัยรุ่น คือ เมื่อหลับสนิทสมองส่วนหน้าจะผลิตโกรทฮอร์โมน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยทำให้ร่างกายเจริญเติบโตมากขึ้น มีส่วนสูงเพิ่มขึ้น ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในวัยเรียนควรนอนอย่างน้อย ชั่วโมงต่อวัน

8

การเพิ่มน้ำหนัก

แม้ว่าความผอมจะไม่ทำให้เกิดความวิตกกังวลได้เท่ากับความอ้วน แต่ความผอมก็ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพได้เช่นกัน ดังนั้นหากบุคคลใดที่ผอมจึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มน้ำหนัก ดังนี้

1.ปรับค่านิยมและความเชื่อผิดๆที่ว่าคนที่มีรูปร่างปกติคือคนที่มีรูปร่างผอมเพราะแท้ที่จริงการมีน้ำหนักน้อยเกินไปนั้น

เป็นสาเหตุของการทำให้ร่างกายอ่อนแอ เกิดโรคได้ง่าย

2.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานที่ว่าคนที่มีรูปร่างปกติคือคนที่มีรูปร่างผอมเพราะแท้ที่จริงการมีน้ำหนักน้อยเกินไปนั้นเป็นสาเหตุของการทำให้ร่างกายอ่อนแอ เกิดโรคได้ง่าย

3.การออกกำลังกายควรออกกำลังกายทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที

4.สร้างสุขภาพจิตที่ดีโดยการทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ รวมถึงนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่หมกมุ่น หรือวิตกกังวลเรื่องใดมากเกินไป

การควบคุมน้ำหนัก

เป็นวิธีการรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่คงที่ อยู่ในระดับที่เหมาะสม

1.ด้านโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภค

•รับประทานอาหารให้ตรงเวลาและครบทั้ง 3 มื้อ

•รับประทานให้พออิ่มและเคี้ยวช้าๆ

•รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นผักและผลไม้ที่มีใยอาหารและแป้งไม่ขัดขาวในมื้ออาหาร

•หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และไขมัน รวมถึงอาหารสำเร็จรูป

•ควรดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ เช่น น้ำอัดลม ชา กาแฟ เป็นต้น

•ควรมีการคำนวณพลังงานในการรับประทานอาหาร

2.ด้านการออกกำลังกาย

•ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที โดยเลือกให้เหมาะสมกับ เพศและวัย

•หากไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย ควรทำกิจกรรมอื่นทดแทน

•กำหนดตารางเวลาในการออกกำลังกายอย่างเคร่งครัด

การส่งเสริมและพัฒนาตนเองให้เจริญเติบโตสมวัย

การรู้จักพฤติกรรมของมนุษย์การเรียนรู้ ค่านิยม เจตคติแรงจูงใจ ฯลฯ ต่อพัฒนาการของคน จะช่วยทำให้เราเข้าใจถึงธรรมชาติและพฤติกรรมที่แสดงต่อกัน ทั้งในพฤติกรรมที่ดีและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ดียิ่งขึ้น

การรู้จักตนเองและผู้อื่นการเข้าใจตนเอง การรู้จักปรับปรุงแก้ไขตนเอง การพัฒนาบุคลิกภาพ การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น ฯลฯ เป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้เราสามารถเข้าใจตนเองและผู้อื่น ตลอดจนยอมรับผู้อื่นได้

การทำงานร่วมกันนอกจากจะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาตนเองให้อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้แล้ว ยังเป็นการช่วยพัฒนาบุคคลในสังคมให้เกิดการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

การพัฒนากายและจิตต้องพัฒนากายและจิตควบคู่กัน ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี การออกกำลังกาย การหลีกเลี่ยงสารเสพติด เป็นต้น

สุขบัญญัติแห่งชาติเพื่อการเจริญเติบโตที่สมวัย

แนวทางการปฏิบัติตนตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ

หลักสุขบัญญัติแห่งชาติมีทั้งหมด 10 ประการด้วยกัน ซึ่งในแต่ละประการก็มีแนวทางการปฏิบัติตนตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติกำหนดไว้

1.ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด

•อาบน้ำให้สะอาดทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และสระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

•ตัดเล็บมือ เล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ

•ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน

•ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น และเหมาะสมกับสภาพอากาศ

•จัดเก็บของใช้ให้เป็นระเบียบ

2.รักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง

•แปรงฟันและลิ้นให้สะอาดอย่างทั่วถึง อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งหลังตื่นนอน และก่อนเข้านอน

•บ้วนปากให้สะอาดทุกครั้งหลังกินอาหาร

•ล้างแปรงสีฟันให้สะอาดทุกครั้งหลังการแปรงฟัน และตั้งหรือแขวนไว้ในที่อากาศถ่ายเท

•กินผัก ผลไม้เป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างฟันให้แข็งแรง

•ตรวจสุขภาพในช่องปากด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ และไปพบทันตแพทย์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

•หลีกเลี่ยงการกินลูกอม ทอฟฟี่ หรือขนมหวานที่เหนียว

•ไม่ใช้ฟันกัด ขบของแข็งๆ หรือใช้ฟันผิดหน้าที่

3.ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังขับถ่าย

•ล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธี ด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งจนเป็นสุขนิสัย ทั้งก่อน-หลัง เตรียม/ปรุง กินอาหาร และการสัมผัสผู้ป่วย

•ล้างมือทุกครั้งหลังการใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม หลังหยิบจับสิ่งสกปรก จับต้องสัตว์ทุกชนิด และหลังกลับจากโรงเรียน ทำงาน หรือกลับจากนอกบ้าน

•ห้ามใช้มือที่ยังไม่ได้ล้าง จับต้องบริเวณใบหน้าเพราะจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุจมูกและตา รวมทั้งทำให้ใบหน้าสกปรก มีโอกาสเกิดสิวได้

4.กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตรายและหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด

•เลือกซื้ออาหารที่สะอาดปลอดภัย

•กินอาหารที่สุก สะอาด โดยหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่สุกๆ ดิบๆ

•กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

•กินผักและผลไม้เป็นประจำ

•ดื่มนมให้เหมาะสมกับวัย สำหรับผู้ที่แพ้นมวัว สามารถดื่มนมธัญพืช นมงา หรือน้ำเต้าหู้แทนได้ โดยเด็กควร ดื่มนมวันละ 2-3 แก้ว ผู้ใหญ่ควรดื่มนมพร่องมันเนย วันละ 1-2 แก้ว

•ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

•หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด อาหารหมักดอง และอาหารที่มีสารเคมี แต่งสี แต่งรส แต่งกลิ่น

5.หลีกเลี่ยงบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ

•หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และเสพสารเสพติด

•ไม่เล่นการพนัน •สร้างเสริมค่านิยม รักเดียวใจเดียว รักนวลสงวนตัว ไม่ชิงสุกก่อนห่าม (มีคู่ครองเมื่อถึงเวลาอันควร)

6.สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น

•พยายามหาโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน โดยสร้างบรรยากาศในการอยู่ร่วมกันให้สนุกสนาน และมีความสุขเสมอ

•สมาชิกในครอบครัวช่วยกันทำงานบ้าน เพื่อสานสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้อบอุ่น

•มีเวลาให้กันอยู่เสมอ โดยอาจจัดให้มีวันพิเศษสำหรับครอบครัว

•มีน้ำใจ เป็นห่วงเป็นใย ถนอมน้ำใจ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน

•เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ควรพูดคุยปรึกษาหารือ และช่วยกันแก้ไขปัญหา

7.ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท

•จัดวางของเล่น ของใช้ อุปกรณ์ต่างๆ ให้เป็นระเบียบ

•จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอภายในบริเวณบ้าน

•ระมัดระวังเมื่ออยู่ในบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น บันได ระเบียง พื้นกระเบื้องที่เปียกน้ำ เป็นต้น

•เก็บของมีคม ยา วัตถุไวไฟ หรือสารมีพิษ ให้เป็นที่และพ้นมือเด็ก

•ปิดสวิตช์ ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า และปิดวาล์วแก๊สหุงต้มทุกครั้งหลังใช้งาน

•ระมัดระวังตนเองในการเดินทาง การทำกิจกรรมในสถานที่ต่างๆ และพยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่เสี่ยงอันตราย เช่น บริเวณที่มีการก่อสร้าง บริเวณที่สูง เป็นต้น

•ฝึกทักษะเบื้องต้นในการดูแลตนเอง หลีกเลี่ยงการกระทำที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย และอุบัติเหตุ

8.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี

•ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย และสภาพร่างกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที

•เคลื่อนไหวออกแรงในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินขึ้นลงบันไดอย่างน้อยวันละ 30 นาที การทำงานบ้าน เป็นต้น

•ตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี

9.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ

•มองโลกในแง่ดี คิดในแง่บวก รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักการให้อภัย

•แบ่งเวลาในแต่ละวันให้เหมาะสม จัดเวลาสำหรับคลายเครียดและพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอในแต่ละวัน

•รู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง และฝึกการจัดการหรือควบคุมอารมณ์ตนเอง

•จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน ห้องนอน หรือที่ต้องอยู่เป็นประจำให้น่าอยู่

•เมื่อเกิดความเครียด หรือมีปัญหา ต้องหาทางผ่อนคลาย อย่าเก็บไว้คนเดียว ควรปรึกษาพ่อแม่ ครู ญาติผู้ใหญ่ เพื่อน หรือคนสนิทที่ไว้ใจได้

•หมั่นหากิจกรรมที่แปลกใหม่ เพื่อสร้างเสริมความร่าเริงสดใสให้ตนเอง

•ศึกษาธรรมะ และนำหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต

10.มีสำนึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์สังคม

•ช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน บ้าน ที่ทำงานชุมชน และที่สาธารณะต่างๆ

•อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้อย่างประหยัดและคุ้มค่า หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุอุปกรณ์ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โฟม พลาสติก สเปรย์ เป็นต้น

•แยกขยะ เพื่อลดปริมาณขยะ และนำวัสดุบางอย่างหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่

•มีสำนึกในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค เช่น สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเป็นหวัด ใช้ส้วมอย่างถูกสุขลักษณะ ทิ้งขยะในภาชนะที่รองรับ กำจัดน้ำทิ้ง และกำจัดขยะอย่างถูกต้อง

•ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ยินดีสละทรัพย์สินความคิด แรงกาย เวลา และความสุขสบายส่วนตัว เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมตามกำลังและความสามารถ

ประโยชน์และคุณค่าของสุขบัญญัติแห่งชาติต่อสุขภาพ

•สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงให้เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ต่อสุขภาพที่ควรปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

•สามารถนำมาใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพของตนเองครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ

•เป็นการสร้างความตระหนัก และการมีจิตสำนึกในการรู้จักพึ่งตนเองทางสุขภาพ

•เป็นการปลูกฝังการเรียนรู้ทางสุขภาพอย่างต่อเนื่องในทุกเพศทุกวัย

•เป็นการเสริมสร้างและปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง นำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม