การประเมินน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ หมายถึง

                    ��á�����硷�������ص�ӡ��� 2 �Ǻ �е�ͧ���Ըա���Ѵ�������㹷�ҹ͹ �����������㹷�ҷ�������������´�ç ��ǹ����ЪԴ�Ѻ����Ѵ ������Ը�����͹����Ѵ��ǹ�������������ҪԴ�Ѻ������� 㹢�з�������� 2 �Ǻ���� ���١�Ѵ�е�ͧ�ʹ�ͧ��� �׹������Һ ��ҪԴ �״��ǵç��ǹ�ͧ����� ��ѧ �� ���� ����� ����������Ѵ ���ͧ�ç仢�ҧ˹�� �������͹����Ѵ��������ʡѺ����оʹ� �¤����ҹ��������´�֧ 0.1 ૹ������

ดัชนีบ่งชี้ที่ใช้ในการประเมินการเจริญเติบโต การใช้นํ้าหนักและส่วนสูงในการประเมินภาวะการเจริญเติบโต มี 3 ดัชนี คือ

  1. นํ้าหนักตามเกณฑ์อายุ (weight for age)
  2. ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ (height for age) และ
  3. นํ้าหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง (weight for height)

    ดัชนีแต่ละตัวจะให้ความหมายในการประเมินซึ่งมีข้อเด่นและข้อด้อยที่แตกต่างกันโดยเฉพาะเมื่อนําไปใช้ในการสํารวจภาคตัดขวาง (cross-sectional survey) จึงมีข้อพึงระวังในการแปลความหมายจากการประเมินได้ดังนี้

นํ้าหนักตามเกณฑ์อายุ (weight for age)

นํ้าหนักเป็นผลรวมของกล้ามเนื้อ ไขมัน นํ้า และกระดูก นํ้าหนักตามเกณฑ์อายุเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ของการเจริญเติบโตของนํ้าหนักที่เพิ่มขึ้นตามอายุของเด็ก เป็นดัชนีที่นิยมใช้แพร่หลาย ในการประเมินภาวะการขาดโปรตีนและพลังงาน

ข้อเด่น

  1. เป็นดัชนีที่ใช้ง่าย รวดเร็ว ไม่จําเป็นต้องใช้ผู้ที่มีความชํานาญเฉพาะด้านในการวัด
  2. สามารถสะท้อนขนาดของปัญหาการขาดโดยรวม ทั้งการขาดโปรตีนและพลังงานแบบเฉียบพลันที่ทําให้เด็กผอม หรือการขาดโปรตีนและพลังงานแบบเรื้อรังที่ทําให้เด็กตัวเตี้ย หรือปัญหาการบกพร่องทั้งสองด้าน ใช้สะท้อนผลกระทบโดยรวมของภาวะวิกฤตฉุกเฉินได้
  3. มีการเปลี่ยนแปลงเร็วพอจะเห็นได้ง่าย เป็นประโยชน์ในการศึกษาติดตามการเจริญเติบโตของเด็ก ซึ่งมีการวัดเป็นระยะ ๆ ในระบบเฝ้าระวังทางโภชนาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทารกและเด็กก่อนวัยเรียน

ข้อด้อย

  1. ในกรณีของเด็กที่มีนํ้าหนักน้อยกว่าเกณฑ์จะไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่านํ้าหนักน้อยเนื่องจากการขาดโปรตีนและพลังงานแบบฉับพลัน (ผอม) หรือแบบเรื้อรัง (เตี้ย) อย่างไรก็ตามสําหรับเด็กอายุตํ่ากว่า 2 ปี ซึ่งการขาดสารอาหารอย่างเรื้อรังยังไม่ปรากฏมากนัก นํ้าหนักตามเกณฑ์อายุที่ตํ่ากว่าเกณฑ์อ้างอิงยังใช้เป็นดัชนีของการขาดโปรตีนและพลังงานแบบฉับพลันได้
  2. เด็กที่มีรูปร่างค่อนข้างสูงหรือสูงมากเนื่องจากได้รับการเลี้ยงดูดีและมีพันธุกรรมสูงอาจจะมีนํ้าหนักตามเกณฑ์อายุมากกว่าเกณฑ์อ้างอิงและถูกเข้าใจว่าเป็นเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินทั้ง ๆ ที่มีนํ้าหนักเหมาะสมกับส่วนสูง (สมส่วน) ดังนั้นดัชนีนํ้าหนักตามเกณฑ์อายุจึงเป็นดัชนีบ่งชี้ที่ไม่เหมาะสมสําหรับการประเมินภาวะโภชนาการเกินในเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
  3. เด็กที่มีอายุเดียวกันและมีนํ้าหนักเท่ากันแต่มีส่วนสูงแตกต่างกัน ทําให้มีภาวะอ้วน – ผอมแตกต่างกันได้ คืออาจเป็นเด็กที่มีรูปร่างผอม หรือเด็กที่มีส่วนสูงปกติรูปร่างสมส่วน หรือเด็กที่อ้วนเตี้ย จะถูกประเมินว่ามีภาวะโภชนาการในระดับเดียวกันหมด
  4. เด็กที่มีปัญหาสุขภาพที่มีอาการบวม หรือเด็กที่ขาดสารอาหารโปรตีนและพลังงานอย่างรุนแรงจะมีอาการบวม ซึ่งทําให้มีนํ้าหนักเพิ่มขึ้น อาจแปลผลผิดว่าเป็นเด็กปกติ
  5. จําเป็นต้องทราบอายุที่แท้จริงของเด็ก


การใช้กราฟนํ้าหนักตามเกณฑ์อายุ

เป็นการนํานํ้าหนักมาเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของเด็กที่มีอายุเท่ากัน ใช้ดูนํ้าหนักของเด็กว่ามีนํ้าหนักมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์เมื่อเทียบกับเด็กที่มีอายุเท่ากันแต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเด็กอ้วนหรือไม่ แบ่งกลุ่มภาวะการเจริญเติบโตเป็น 5 ระดับ คือ

1) นํ้าหนักมาก (มากกว่า +2 SD) หมายถึง ยังบอกไม่ได้ว่าเด็กอ้วนหรือไม่ ต้องประเมิน
โดยใช้กราฟนํ้าหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง
2) นํ้าหนักค่อนข้างมาก (อยู่เหนือเส้น +1.5 SD ถึง +2 SD) หมายถึง นํ้าหนักอาจอยู่ในเกณฑ์
เสี่ยงต่อนํ้าหนักมาก ต้องประเมินโดยใช้กราฟนํ้าหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง
3) นํ้าหนักตามเกณฑ์ (อยู่ระหว่างเส้น -1.5 SD ถึง +1.5 SD) หมายถึง นํ้าหนักเหมาะสม
กับอายุ
4) นํ้าหนักค่อนข้างน้อย (อยู่ตํ่ากว่าเส้น -1.5 SD ถึง –2 SD) หมายถึง นํ้าหนักอยู่ในเกณฑ์
เสี่ยงต่อการขาดอาหาร
5) นํ้าหนักน้อย (อยู่ตํ่ากว่าเส้น –2 SD) หมายถึง นํ้าหนักอยู่ในเกณฑ์ขาดอาหาร

growth6_19year-weight-for-ageดาวน์โหลด

ที่มา : หนังสือคู่มือการใช้เกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 6 – 19 ปี สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

Guide-Using-the-Growth-Criteria-for-Children-Ages6_19ดาวน์โหลด

คะแนนความพึงพอใจ

บันทึกคะแนน

/ 5.

สาระความรู้เพิ่มเติม

สาระความรู้เพิ่มเติม

สาระความรู้เพิ่มเติม

34e610456ad3d8c5f2912b2dcd0b6741

34e610456ad3d8c5f2912b2dcd0b6741

การประเมินน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ หมายถึง

กิจกรรมขอเชิญชวนสร้างสรรค์คลิปวิดีโอ เข้าร่วมการประกวดคลิปสั้น

ข่าวสาร

การประเมินน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ หมายถึง

สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย ร่วมกับสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยและบริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา ประเทศไทย จัดเสวนา “Urbanization and Obesity” ชีวิตคนเมืองกับเรื่องโรคอ้วน

การประเมินส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ หมายถึงอะไร

2.) ส่วนสูง/อายุ (Height for age, H/A) การวัดส่วนสูงทำได้เที่ยงตรงยากโดยเฉพาะในเด็ก ในเด็กเล็กมักวัดความยาวโดยให้นอนวัด มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกจึงเป็นความยาว (Length) ในเด็กอายุ 0-3 เดือน และเป็นความสูง อายุ 2-18 ปี ส่วนสูงต่ออายุจะแสดงถึงสภาวะโภชนาการที่ผ่านมา เพราะส่วนสูงเปลี่ยนแปลงช้ากว่าน้ำหนัก ส่วนสูงมักเป็นผล ...

อายุ15น้ําหนักเท่าไร

อายุ 15-17 เดือน เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 77.5-79.7 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 9.6-10 กิโลกรัม ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 79.2-81.3 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 10.3-10.7 กิโลกรัม

เกณฑ์ที่ใช้ดูการเจริญเติบโตของทารกมีอะไรบ้าง

2.วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารกจากความยาว.
ในช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน เด็กหญิงควรตัวยาวขึ้น >/ 16 cm. เด็กชายควรตัวยาวขึ้น >/ 17 cm..
เด็ก 6-12 เดือนควรยาวเพิ่มขึ้นอีก >/ 8 cm. หรือเมื่ออายุ 1 ปีความยาวควรจะเป็น 1.5 เท่าของแรกเกิด.

น้ําหนักและส่วนสูงเป็นตัวบ่งชี้เรื่องอะไร

ดัชนีมวลกาย หรือ BMI ย่อมาจาก Body Mass Index เป็นค่าสากลที่ใช้เพื่อคำนวณเพื่อหาน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น และประมาณระดับไขมันในร่างกายโดยใช้น้ำหนักตัว และส่วนสูง การคำนวณดัชนีมวลกายไม่ใช่การวัดโดยตรงแต่ก็เป็นตัวชี้วัดไขมันในร่างกายที่ค่อนข้างเชื่อถือได้สำหรับคนส่วนใหญ่