แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

Just for you: FREE 60-day trial to the world’s largest digital library.

The SlideShare family just got bigger. Enjoy access to millions of ebooks, audiobooks, magazines, and more from Scribd.

Read free for 60 days

Cancel anytime.

Uploaded by

Ws Bozz

0% found this document useful (1 vote)

21K views

14 pages

Copyright

© Attribution Non-Commercial (BY-NC)

Available Formats

DOCX, PDF, TXT or read online from Scribd

Share this document

Did you find this document useful?

Is this content inappropriate?

Report this Document

0% found this document useful (1 vote)

21K views14 pages

วิชาบัญชีเบื้องต้น 2

Uploaded by

Ws Bozz

Full description

 1.  ความหมายของสินค้า

     สินค้า (Goods or Merchandise) หมายถึงสินทรัพย์หมุนเวียน ที่มีตัวตนหรือสิ่งของที่กิจการมีไว้เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ซื้อ   หรือลูกค้าเพื่อหวังผลกำไรจากการจำหน่ายสินค้า  ดังนั้นกิจการมีรายได้หลักจากการขายสินค้าตามลักษณะของการประกอบธุรกิจ  เช่น ร้านมะขามทอง  การไฟฟ้า มีสินค้าดังนี้  เครื่องปรับอากาศ  พัดลม   ตู้เย็น  คอมพิวเตอร์  โทรทัศน์  เครื่องซักผ้า และห้างสรรพสินค้ามะขามป้อม มีสินค้าประเภทอาหารสำเร็จรูป เสื้อผ้า เครื่องดื่ม  ผลไม้ เครื่องสำอาง ไว้จำหน่ายในกิจการ  เป็นต้น

2.  ประเภทของธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า

     ธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าที่มีกิจกรรมในการประกอบธุรกิจการค้า แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

     2.1  ธุรกิจพาณิชยกรรม(Merchandise  Business)  หรือธุรกิจซื้อมาขายไป    หมายถึงธุรกิจที่ซื้อสินค้าสำเร็จรูปมาขายขายอีกทอดหนึ่งเพื่อหวังผลกำไร    ดังนั้นรายได้หลักของกิจการ   จึงเป็นรายได้จากการขายสินค้า  และมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับต้นทุนสินค้าที่ขาย   และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเช่น ธุรกิจขายรถยนต์ สินค้าของกิจการคือ รถยนต์ อุปกรณ์เกี่ยวกับรถยนต์  หรือธุรกิจขายเครื่องใช้ไฟฟ้าสินค้าของกิจการคือ ตู้เย็น พัดลม เครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์  เป็นต้น

     2. 2  ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing Business) หมายถึง ธุรกิจที่ซื้อวัตถุดิบมาเพื่อทำการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป แล้วนำไปจำหน่าย ดังนั้นรายได้หลักของกิจการเป็นรายได้จากการขายสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตเสร็จ เช่น โรงงานผลิตน้ำอัดลม โรงงานผลิตเก้าอี้หวาย โรงงานผลิตรองเท้า โรงงานผลิตเสื้อผ้าสตรี โรงงานทอผ้า เป็นต้น

3.  การซื้อขายสินค้าและเอกสารที่เกี่ยวข้อง  

     3.1   ความหมายการซื้อขายสินค้า หมายถึง การดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า มีรายการค้าที่เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าได้แก่

               การซื้อสินค้าเป็นเงินสด

                -  การซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ

              -  การส่งคืนสินค้าที่ซื้อด้วยเงินสด

              -  การส่งคืนสินค้าให้กับเจ้าหนี้  

               การขายสินค้าเป็นเงินสด

                การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ

               การรับคืนสินค้าที่ขายด้วยเงินสด

              -  การรับคืนสินค้าจากลูกหนี้ 

     3.2   เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้า   การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าจำเป็นต้องมีเอกสารใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี ซึ่งกิจการอาจเป็นผู้จัดทำเอกสารขึ้นใช้เอง   หรือเป็นเอกสารที่กิจการได้รับจากบุคคลภายนอก    เช่น ใบขอซื้อสินค้า ใบสั่งซื้อสินค้า ใบกำกับสินค้า ใบรับสินค้า ใบส่งคืนสินค้า ใบเสร็จรับเงิน มีดังนี้

             3.2.1 ใบขอซื้อ (Purchase Requisition) คือ เอกสารที่แผนกคลังสินค้าจัดทำขึ้นเพื่อแจ้งว่าสินค้าชนิดใด ประเภทใดของกิจการใกล้จะหมด และต้องการสั่งซื้อเพิ่มปริมาณเท่าไร โดยจัดทำใบขอซื้อสินค้า ส่งไปให้แผนกจัดซื้อดำเนินการต่อ

 4.   เงื่อนไขเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า

      เงื่อนไขเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า   คือข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าเพื่อให้

การซื้อขายสินค้าดำเนินไปด้วยดี มีความเข้าใจตรงกันจนพึงพอใจและเกิดประโยชน์สูงสุดทั้ง 2 ฝ่าย เงื่อนไขเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า ประกอบด้วย เงื่อนไขเกี่ยวกับส่วนลด  และ เงื่อนไขเกี่ยวกับค่าขนส่งสินค้า เช่น

                     4.1  เงื่อนไขเกี่ยวกับส่วนลด (Discount)  เป็นเงื่อนไขที่ผู้ขายให้ส่วนลดกับผู้ซื้อ เพื่อ

เป็นการจูงใจให้ผู้ซื้อ ซื้อสินค้าครั้งละจำนวนมาก  หรือจูงใจให้ผู้ซื้อชำระหนี้โดยเร็ว เงื่อนไข

เกี่ยวกับส่วนลด แบ่งเป็น 2 ประเภท  ได้แก่

                           4.1.1  ส่วนลดการค้า (Trade Discount)  เป็นส่วนลดที่ผู้ขายกระตุ้น   หรือจูงใจให้        ผู้ซื้อ ซื้อสินค้าครั้งละจำนวนมาก ๆ โดยผู้ขายตั้งเกณฑ์ไว้ เพื่อให้ผู้ซื้อตัดสินใจ เช่นซื้อสินค้า  5  ชิ้น               ขึ้นไป แถม  1 ชิ้น    หรือซื้อสินค้า 500 บาท  ลดให้ 5%      แต่ถ้าซื้อสินค้าตั้งแต่  501 – 1,000  บาท  ลดให้ 10%     หรือกำหนดอัตราส่วนลดเป็นร้อยละจากราคาที่กำหนดไว้ในใบแสดงรายการสินค้า

ส่วนลดการค้า ผู้ขายจะลดให้ผู้ซื้อในขณะที่ซื้อขายสินค้า  ผู้ขายเรียกส่วนลดนี้ว่า  “ส่วนลดการค้า   ส่วนลดการค้านี้จะไม่นำมาบันทึกบัญชี   แต่จะนำไปหักออกจากราคาซื้อขายสินค้า เพื่อหาราคาสุทธิ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะบันทึกบัญชีในราคาสุทธิ

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

2.การบันทึกรายการเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าสำหรับกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7  จะต้องนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากรายได้และค่าใช้จ่ายมาคำนวณหาจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเพิ่มเติม หรือการใช้สิทธิในการขอคืนภาษีที่กิจการได้จ่ายไปเป็นรายเดือนตามปีปฏิทินเดือนละ 1 ครั้ง ทุก ๆ สิ้นเดือนผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องจัดทำรายงานภาษีและรายงานภาษีขายที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน และจะต้องยื่นแบบแสดงรายการ (แบบภ.พ. 30) ส่งกรมสรรพากรเป็นรายเดือนไม่ว่าการขายสินค้าหรือบริการจะเกิดขึ้นในเดือนภาษีหรือไม่ เพื่อนำภาษีส่งหรือขอคืน โดยยื่นกรมสรรพากรภายในวันที 15 ของเดือนถัดไป การขอคืนภาษีจะขอคืนเป็นเงินสดหรือเครดิตยกจำนวนไปหักออกจากภาษีที่ต้องชำระในเดือนถัดไปก็ได้ ในวันสิ้นเดือนผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม0  จะบันทึกรายการปิดบัญชีภาษีซื้อและภาษีขายแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้

3.6.1  กรณีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ                                                                                                                                                                                                                                               ในเดือนที่ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ  ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากร ดังตัวอย่างต่อไปนี้                                                                                 เดือนมีนาคม 25X6 กิจการค้าขายสินค้าไปทั้งสิ้น 120,000 บาท และซื้อสินค้ามาเพื่อขายจำนวน 80,000 บาท การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นดังนี้

ภาษีขาย             =          120,000 x 7%        =          8,400  บาท

ภาษีซื้อ               =            80,000 x 7%        =          5,600  บาท

ภาษีมูลค่าเพิ่ม   =     ภาษีขาย – ภาษีซื้อ

                         ดังนั้นเดือน มี.ค. กิจการจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากร  =8,400 - 5,600 = 2,800 บาท และภายในวันที่ 15 เม.ย. 25X6 จะต้องนำเงินภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 2,800 บาท ไปยื่นชำระที่กรมสรรพากร

การบันทึกรายการปิดบัญชีภาษีซื้อและภาษีขาย

1. โอนปิดบัญชีภาษีซื้อ ภาษีขายไปบัญชีเจ้าหนี้-กรมสรรพากร

เดบิต   ภาษีขาย..............................................8,400
เครดิต  ภาษีซื้อ.....................................................5,600
    เจ้าหนี้-กรมสรรพากร................................2,800

2. ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป จะต้องนำเงินภาษีมูลค่าเพิ่มไปชำระให้กรมสรรพากร

เดบิต   เจ้าหนี้-กรมสรรพากร...........................2,800
เครดิต  เงินสด.....................................................2,800

3.6.2  กรณีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย

           ในเดือนที่ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย  ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร ดังตัวอย่างต่อไปนี้

           เดือนพฤษภาคม 25X6 กิจการค้าขายสินค้าไปทั้งสิ้น 120,000 บาท และซื้อสินค้ามาเพื่อขายจำนวน 180,000 บาท การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นดังนี้

ภาษีขาย             =          120,000 x 7%        =        8,400  บาท

ภาษีซื้อ               =          180,000 x 7%       =       12,600  บาท

ภาษีมูลค่าเพิ่ม   =     ภาษีขาย – ภาษีซื้อ

                         ดังนั้นเดือนพ.ค. กิจการมีสิทธิ์ที่จะยื่นขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร  = 8,400 - 12,600 = 4,200 บาท และภายในวันที่ 15 มิ.ย. 25X6 สามรถไปยื่นขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 4,200 บาท                                                                                                                                                                                                                                               ดังนั้นภายในวันที่ 15 มิ.ย. 25X6 สามารถไปยื่นขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 4,200 บาท

การบันทึกรายการปิดบัญชีภาษีซื้อและภาษีขาย

1. โอนปิดบัญชีภาษีซื้อ ภาษีขายไปบัญชีลูกหนี้-กรมสรรพากร

เดบิต   ภาษีขาย..............................................8,400

   ลูกหนี้-กรมสรรพากร...........................2,800

เครดิต  ภาษีซื้อ.....................................................12,600
   

2. ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป สามารถขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร

เดบิต   เงินสด...................................................2,800
เครดิต  ลูกหนี้-กรมสรรพากร...................................2,800

ตัวอย่างที่ 16
              ต่อไปนี้เป็นรายการค้าของร้านฟ้า ในเดือนมิถุนายน 25X6
25X6
มิ.ย.             1    นำเงินสดมาลงทุน 200,000 บาท

1    ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อให้นายประเทือง 3,852 เป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

7    ซื้อสินค้าเป็นเงินสด  15,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

8    ส่งคืนสินค้าที่ซื้อเมื่อวันที่ 7 เนื่องจากชำรุด 1,000 บาท

                  10   ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อจากร้านทะนงศักดิ์ 20,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
                  12   ขายเป็นเงินสด 8,560 บาทเป็นราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
                  19   รับคืนสินค้าที่ขายเมื่อวันที่ 12 เนื่องจากสินค้าชำรุด 700 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 49 บาท
                  20  ส่งคืนสินค้าที่ขายเมื่อวันที่ 10 เนื่องจากผิดขนาด 1,100 บาท
                  30  ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ ให้นายประกอบ 7,800 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
                         จ่ายเงินเดือน 24,000 บาท และจ่ายค่ารับรอง 2,900 บาท

ให้ทำ   1. บันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป และโอนปิดบัญชีภาษีซื้อและภาษีขาย

            2. ผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภททั่วไป

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

3.การบันทึกรายการเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าสำหรับกิจการที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.  การบันทึกรายการในกรณีไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม

การบันทึกรายการในกรณีไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหลักการบันทึกบัญชี

ในสมุดรายวันทั่วไป ดังนี้

  1.1 การซื้อขายสินค้า แบ่งออกเป็น 4 กรณี ได้ดังนี้

        1)  ซื้อสินค้าเป็นเงินสด บันทึกบัญชีโดย

  เดบิต    ซื้อสินค้า                               xxx

                             เครดิต     เงินสด                      xxx

        2)  ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ บันทึกบัญชีโดย

  เดบิต    ซื้อสินค้า                               xxx

                             เครดิต    เจ้าหนี้- ร้าน........                      xxx

       3) ขายสินค้าเป็นเงินสด บันทึกบัญชีโดย

  เดบิต    เงินสด                                  xxx

                             เครดิต    ขายสินค้า                      xxx

       4) ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ บันทึกบัญชีโดย

  เดบิต    ลูกหนี้- ร้าน......                   xxx

                             เครดิต    ขายสินค้า                     xxx

1.2  การส่งคืนสินค้าและการรับคืนสินค้า แบ่งออกเป็น 4 กรณี ได้ดังนี้

       1)      การส่งคืนสินค้าที่ซื้อเป็นเงินสด บันทึกบัญชีโดย

          เดบิต    เงินสด  xxx

                           เครดิต   ส่งคืนสินค้า    xxx

       2)     การส่งคืนสินค้าที่ซื้อเป็นเงินเชื่อ บันทึกบัญชีโดย

          เดบิต    เจ้าหนี้ – ร้าน .......  xxx

                           เครดิต   ส่งคืนสินค้า    xxx

       3)      การรับคืนสินค้าที่ขายเป็นเงินสด บันทึกบัญชีโดย

             เดบิต   รับคืนสินค้า  xxx

    เครดิต   เงินสด  xxx

       4)     การส่งคืนสินค้าที่ซื้อสินค้าเป็นเงินสด บันทึกบัญชีโดย

             เดบิต    รับคืนสินค้า  xxx

         เครดิต   ลูกหนี้ – ร้าน ......  xxx

2. การบันทึกรายการในกรณีที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม

การบันทึกรายการในกรณีที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหลักการบันทึกบัญชีใน

สมุดรายวันทั่วไป ดังนี้

  2.1  การซื้อขายสินค้า แบ่งออกเป็น 4 กรณี ได้ดังนี้

         1)   ซื้อสินค้าเป็นเงินสด บันทึกบัญชีโดย

  เดบิต    ซื้อสินค้า        xxx

  ภาษีซื้อ        xxx

  เครดิต    เงินสด          xxx

         2)    ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ บันทึกบัญชีโดย

  เดบิต    ซื้อสินค้า        xxx

  ภาษีซื้อ        xxx

  เครดิต    เจ้าหนี้ – ร้าน.........  xxx

3)     ขายสินค้าเป็นเงินสด บันทึกบัญชีโดย

  เดบิต    เงินสด         xxx

  เครดิต    ขายสินค้า  xxx

                ภาษีขาย   xxx

  4)     ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ บันทึกบัญชีโดย

  เดบิต    ลูกหนี้ – ร้าน........          xxx

  เครดิต    ขายสินค้า  xxx

                ภาษีขาย   xxx

2.2  การส่งคืนสินค้าและรับคืนสินค้า แบ่งออกเป็น 4 กรณี ได้ดังนี้

                   1)    การส่งคืนสินค้าที่ซื้อเป็นเงินสด บันทึกบัญชีโดย

  เดบิต    เงินสด        xxx

               เครดิต    ส่งคืนสินค้า              xxx

             ภาษีซื้อ                                  xxx

           2)    การส่งคืนสินค้าที่ซื้อเป็นเงินเชื่อ    บันทึกบัญชีโดย

  เดบิต    เจ้าหนี้        xxx

               เครดิต    ส่งคืนสินค้า              xxx

           ภาษีซื้อ                                  xxx

       3)   การรับคืนสินค้าที่ขายเป็นเงินสด บันทึกบัญชีโดย

  เดบิต    รับคืนสินค้า   xxx

              ภาษีขาย    xxx

              เครดิต   เงินสด            xxx

                      4)    การรับคืนสินค้าที่ขายเป็นเงินเชื่อ บันทึกบัญชีโดย

  เดบิต    รับคืนสินค้า  xxx

              ภาษีขาย  xxx

              เครดิต   ลูกหนี้ – ร้าน .........            xxx

               โอนปิดบัญชีภาษีซื้อ และบัญชีภาษีขายโอนปิดบัญชีภาษีซื้อ และบัญชีภาษีขาย

        1.  กรณีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ผลต่าง คือ จำนวนเงินค่าภาษีที่กิจการจะต้อง  นำส่งกรมสรรพากรการบันทึกบัญชีจะเป็น ดังนี้ 

             1.1 โอนปิดบัญชีภาษีขาย และบัญชีภาษีซื้อไปยังบัญชีเจ้าหนี้ – กรมสรรพากร

  บันทึกบัญชีโดย

          เดบิต    ภาษีขาย                                  xxx

                  เครดิต    ภาษีซื้อ              xxx

               เจ้าหนี้ – กรมสรรพากร  xxx

                1.3  การชำระค่าภาษี บันทึกบัญชีโดย

       เดบิต    เจ้าหนี้ – กรมสรรพากร                       xxx

                   เครดิต    เงินสด                                         xxx

2.  กรณีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ผลต่าง คือ จำนวนเงินค่าภาษีที่กิจการจะสามารถขอคืนจากการกรมสรรพากรได้ การบันทึกบัญชีจะเป็น ดังนี้

               2.1   โอนปิดบัญชีภาษีซื้อ  และบัญชีภาษีขายไปยังบัญชี

ลูกหนี้ – กรมสรรพากร บันทึกบัญชีโดย

         เดบิต    ภาษีขาย                                         xxx

                 ลูกหนี้ – กรมสรรพากร                xxx

                  เครดิต    ภาษีซื้อ                                  xxx

            2.2   ได้รับคืนเงินค่าภาษี บันทึกบัญชีโดย

      เดบิต    เงินสด                                          xxx

                            เครดิต    ลูกหนี้ – กรมสรรพากร                       xxx

3.  การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภททั่วไป

การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภททั่วไป  เมื่อได้บันทึกรายการค้าใน

  สมุดรายวันทั่วไปแล้ว มีขั้นตอนต่อไปนี้

  3.1    เปิดบัญชีแยกประเภท  โดยเขียนชื่อบัญชีเลขที่บัญชี โดยดูชื่อบัญชีจาก

สมุดรายวันทั่วไป

  3.2    ช่อง วัน เดือน ปี ให้เขียน วันเดือน ปี ตามที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันทั่วไป

  3.3    ช่องรายการ ให้นำชื่อบัญชีด้านตรงกันข้ามของรายการค้าที่บันทึกไว้ใน

สมุดรายวันทั่วไปมาบันทึก

  3.4    ช่องจำนวนเงิน ด้านซ้ายมือ และด้านขวามือจากสมุดรายวันทั่วไป ให้นำ

จำนวนเงินของช่องเดบิตและเครดิตมาบันทึกในบัญชีแยกประเภททั่วไป

  3.5    ช่องหน้าบัญชี หน้าบัญชีของบัญชีแยกประเภททั่วไปจะใช้อักษรย่อ

คือ ร.ว. 1 (สมุดรายวันทั่วไป หน้า 1) เรียงตามลำดับหน้าบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป

แบบฟอร์มของบัญชีแยกประเภทแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

          1.  บัญชีแบบมาตรฐาน (Standard account form) เป็นบัญชีแยกประเภทที่แบ่งออกเป็น 2 ด้าน มีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ

             1.1 ชื่อบัญชี (Title of account) ของบัญชีแยกประเภทแต่ละบัญชี

             1.2 ด้านซ้ายของบัญชี เรียกว่า ด้านเดบิต (Debit side)

             1.3 ด้านขวาของบัญชี เรียกว่า ด้านเครดิต (Credit side)

          บัญชีแยกประเภทมาตรฐานจะเห็นได้ว่า มีลักษณะคล้ายตัว T จึงเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า T – Account ดังนี้

                                                        ชื่อบัญชี

4.การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป

สมุดรายวันขั้นต้น (Book of Original Entry) หรือ สมุดรายวัน (Journal) หมายถึงสมุดบัญชีที่จะใช้จดบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นขั้นแรก โดยการจดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นนั้น จะจดบันทึกโดยเรียงตามลำดับก่อนหลังของการเกิดรายการค้า
ประเภทของสมุดบัญชีขั้นต้น (Types of Books of Original Entry) แบ่งออกได้เป็น ประเภท
         1.  สมุดรายวันเฉพาะ(Special Journal)คือ สมุดรายวันหรือสมุดบัญชีขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ
                    1.1  สมุดรายวันรับเงิน (Cash Received Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการรับเงินเท่านั้น เช่น การรับรายได้ การรับชำระหนี้ เป็นต้น
                    1.2  สมุดรายวันจ่ายเงิน (Cash Payment Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินเท่านั้น เช่น จ่ายค่าใช้จ่าย ซื้อสินทรัพย์ จ่ายเงินชำระหนี้ เป็นต้น
                    1.3 สมุดรายวันซื้อ ( Purchases Journal ) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการซื้อสินค้าเป็น เงินเชื่อเท่านั้น
                    1.4 สมุดรายวันขาย (Sales Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อเท่านั้น
                    1.5 สมุดรายวันส่งคืนสินค้า (Purchases Returns and Allowance Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการส่งคืนสินค้าที่ซื้อมาเป็นเงินเชื่อเท่านั้น
                    1.6 สมุดรายวันรับคืนสินค้า (Sales Returns and Allowance Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการรับคืนสินค้าที่ขายเป็นเงินเชื่อเท่านั้น
         2.  สมุดรายวันทั่วไป (General Journal) คือ สมุดบัญชีขั้นต้นหรือสมุดรายวันที่ใช้จดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นทุกรายการ ถ้ากิจการนั้นไม่มีสมุดรายวันเฉพาะ แต่ถ้ากิจการนั้นมีการใช้สมุดรายวันเฉพาะ สมุดรายวันทั่วไปก็จะมีไว้เพื่อบันทึกรายการค้าอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นและไม่สามาถนำไปบันทึกในสมุดรายวันเฉพาะเล่มใดเล่มหนึ่งได้
ผังบัญชี (Chart of Accounts)
         การกำหนดเลขที่บัญชีหรือ “ผังบัญชี” ซึ่งจะกำหนดอย่างมีระบบตามมาตรฐานโดยทั่วไปแล้ว เลขที่บัญชีจะถูกกำหนดตามหมวด บัญชี ซึ่งแบ่งออก 5 หมวด ดังนี้
หมวดที่  1 หมวดสินทรัพย์   รหัสบัญชีคือ 1
หมวดที่  2 หมวดหนี้สิน รหัสบัญชีคือ 2
หมวดที่ 3  หมวดส่วนของเจ้าของ รหัสบัญชีคือ 3
หมวดที่ 4  หมวดรายได้ รหัสบัญชีคือ 4
หมวดที่ 5  หมวดค่าใช้จ่าย  รหัสบัญชีคือ 5
          เลขที่บัญชีจะมีจำนวนกี่หลักนั้น ขึ้นอยู่กับกิจการแต่ละแห่ง ถ้าเป็นกิจการขนาดเล็กที่มีจำนวนบัญชีต่าง ๆไม่มาก ก็อาจจะใช้เลขที่ บัญชี จำนวน 2 หลัก แต่ถ้าหากเป็นกิจการขนาดใหญ่และบัญชีต่าง ๆ เป็นจำนวนมากก็อาจจะกำหนดเลขที่บัญชีให้มีหลายหลัก อาจจะเป็น 3 หรือ 4 หลักหรือมากกว่านั้น
         เลขที่บัญชีหลักแรก แสดงถึงหมวดของบัญชี และหลักหลังแสดงถึงบัญชีต่าง ๆ ในหมวดนั้น ๆ ซึ่งในแต่ละหมวดจะถูกกำหนดด้วยหลักเกณฑ์แตกต่างกันไป โดย
- หมวดสินทรัพย์ หลักหลังของเลขที่บัญชีจะเรียงตามสภาพคล่องของสินทรัพย์ โดยเรียงจากสภาพคล่องมากไปสภาพคล่องน้อย เช่น เลขที่บัญชีของเงินสด จะมาก่อนเลขที่บัญชีของลูกหนี้ เป็นต้น 
- หมวดหนี้สินก็จะเรียงตามสภาพคล่องของหนี้สิน เช่น เลขที่บัญชีของเจ้าหนี้จะมาก่อนเลขที่บัญชีของเงินกู้ระยะยาว เป็นต้น
- หมวดส่วนของเจ้าของ หลักหลังของเลขที่บัญชีจะเรียงตามการเกิดขึ้นก่อนหลัง เช่น การที่นำสินทรัพย์มาลงทุนทำให้เกิดบัญชีทุนก่อนที่เจ้าของ กิจการจะมีการถอนใช้ส่วนตัว จึงทำให้เลขที่บัญชีทุนมาก่อนเลขที่บัญชีถอนใช้ส่วนตัว
- หมวดรายได้ หลักหลังของเลขที่บัญชีจะเรียงความสำคัญของรายได้
-หมวดค่าใช้จ่าย หลักหลังของเลขที่บัญชีจะเรียงความสำคัญของค่าใช้จ่าย
แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย
หลักการบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป
         1.  หลักการบัญชีเดี่ยว (Single-entry book-keeping)  เป็นหลักการบันทึกบัญชีอย่างง่ายเพียงแค่จดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นเท่านั้น เช่น นายดำรงนำเงินสดมาลงทุน 50,000 บาท ก็สามารถบันทึกตามรายการนี้ได้เลย ซึ่งทำให้ไม่สามารถทราบว่ากิจการมีผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินเป็นอย่างไรบ้าง ดังนั้นหลักการบัญชีเดี๋ยวจึงเป็นหลักการบัญชีที่ไม่นิยมใช้และถือเป็นหลักการบัญชีที่ไม่สมบูรณ์แบบ
         2.  หลักการบัญชีคู่ (Double-entry  book - keeping)  เป็นหลักการบัญชีที่สมบูรณ์แบบ และใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน รวมถึงเป็นหลักการบัญชีที่ใช้ในการศึกษาวิชาบัญชีต่าง ๆ
                    1.  ด้านเดบิต (Debit) จะใช้ตัวย่อว่า Dr. คือด้านซ้ายของสมการบัญชี ดังนั้นด้านเดบิตจึงเป็นด้านที่ใช้บันทึกรายการบัญชีที่ทำให้ด้านซ้ายของสมการบัญชีเพิ่มขึ้นหรือรายการบัญชีที่ทำให้ด้านขวาของสมการบัญชีลดลง คือการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ การลดลงของหนี้สินและการลดลงของส่วนของเจ้าของ
                    2.  ด้านเครดิต (Credit)  จะใช้ตัวย่อว่า Cr. คือ ด้านขวาของสมการบัญชี ดังนั้นด้านเครดิตจึงเป็นด้านที่ใช้บันทึกรายการบัญชีที่ทำให้ด้านขวาของสมการบัญชีเพิ่มขึ้นหรือรายการบัญชีที่ทำให้ด้านซ้ายของสมการบัญชีลดลง คือ การลดลงของสินทรัพย์ การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และการเพิ่มขึ้นของส่วนของเจ้าของ
แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

         การบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่ในสมุดรายวันทั่วไป
รายการค้าที่บันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 
         1. รายการเปิดบัญชี (Opening Entry) 
         2. รายการปกติของกิจการ (Journal Entry)
                   1. การบันทึกรายการเปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป
รายการเปิดบัญชี (Opening Entry) หมายถึง รายการแรกของการบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งอาจจะเกิดจากมีการลงทุนครั้งแรก หรือเมื่อมีการ เริ่มรอบระยะเวลาบัญชีใหม่
                             1.1 การลงทุนครั้งแรกมี 3 กรณี ดังนี้
         กรณีที่ 1 การนำเงินสดมาลงทุนเพียงอย่างเดียว
         ตัวอย่างที่ 1 นายอยู่สุขเปิดกิจการอู่ซ่อมรถ โดยเริ่มกิจการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550 และนำเงินสดมาลงทุนในกิจการจำนวน 100,000 บาท
แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

         กรณีที่ 2 การนำเงินสด และสินทรัพย์อื่นมาลงทุน
         ตัวอย่างที่ 2 นายแดน เปิดกิจการร้านเสริมสวย "แดนบิวตี้" เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550 โดยนำเงินสด 80,000 บาท เงินฝากธนาคาร 140,000 บาท อุปกรณ์ 80,000 บาท มาลงทุน

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

        กรณีที่ 3 การนำเงินสด สินทรัพย์อื่น และหนี้สินมาลงทุน

       ตัวอย่างที่ 3 นางสาวลาล่า เปิดร้านสปาเพื่อสุขภาพ ในวันที่ 1 มกราคม 2550 ได้นำเงินสดจำนวน 70,000 บาท เงินฝากธนาคาร 30,000 บาท อุปกรณ์ 60,000 บาท อาคาร 400,000 บาท และเจ้าหนี้การค้า 40,000 บาท มาลงทุน

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

                             1.2 เริ่มรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ (งวดบัญชีใหม่)
            การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปเหมือนกรณีการลงทุนครั้งแรก คือต้องบันทึกในสมุดรายวัน ทั่วไปแบบรวม (Compound Journal Entry) โดยเขียนเงินสด สินทรัพย์อื่นให้หมดก่อน แล้วจึงเขียนหนี้สินให้ หมด (ถ้ามี) ตามด้วยทุนเป็นลำดับสุดท้ายและขียนคำอธิบายรายการว่าบันทึกสินทรัพย์ หนี้สินและทุนที่มีอยู่ ณ วันเปิดบัญชี
           การบันทึกรายการเปิดบัญชี เมื่อเริ่มรอบระยะเวลาบัญชีใหม่นี้ อาจจะใช้สมุดรายวันทั่วไปและบัญชี แยกประเภทเล่มเดิม เพื่อบันทึกรายการต่อไป หรือจะใช้สมุดเล่มใหม่ก็ได้ แล้วแต่กิจการ
           รอบระยะเวลาบัญชี หมายถึง ช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ต้องแสดงผลการดำเนินงานและฐานะทาง การเงินของกิจการ เช่น 3 เอือน 6 เดือน หรือ 12 เดือน ก็ได้ ขึ้นอยู่กับกิจการแต่ละแห่ง
           ตัวอย่างที่ 4 ต่อไปนี้เป็นรายการค้าของร้านนครชัยการช่าง ระหว่างเดือนมกราคม 2550

ม.ค.

1

นายนครเปิดร้านบริการซ่อมวิทยุ โทรทัศน์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ โดยนำเงินสด 40,000 บาท เงินฝากธนาคาร 60,000 บาท อาคาร 400,000 บาท อุปกรณ์การซ่อม 50,000 บาทและ เจ้าหนี้ 60,000 บาท มาลงทุน

5

รับเงินค่าซ่อมโทรทัศน์ 3,000 บาท

8

ซื้ออุปกรณ์ในการซ่อมเป็นเงินเชื่อ จากร้านโกมล 12,000 บาท

11

จ่ายค่าเช่าอาคารเพิ่มเติมเนื่องจากพื้นที่คับแคบ 12,000 บาท

15

ซ่อมพัดลมให้โรงเรียนเก่งวิทยา 35,000 บาท ยังไม่ได้รับเงิน

20

รับชำระหนี้จากโรงเรียนเก่งวิทยาตามรายการวันที่ 15 ม.ค.

25

จ่ายชำระหนี้ให้ร้านโกมล 12,000 บาท

28

กู้เงินจากธนาคารไทย 80,000 บาท

29

นายนครถอนเงินไปใช้ส่วนตัว 14,000 บาท
31 จ่ายเงินเดือนให้คนงาน 28,000 บาท

ให้ทำ บันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

                  

                  2. การบันทึกรายการปกติของกิจการในสมุดรายวันทั่วไป

                  รายการปกติของกิจการ (Journal Entry) เป็นการบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากมีการลงทุน หรือเริ่มระยะเวลาบัญชีใหม่แล้ว ในแต่ละวัน โดยการบันทึกรายการค้าปกติของกิจการจะบันทึกโดยเรียงตามลำดับ ก่อนหลังของการเกิดรายการค้า ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนกับการ บันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปตัวอย่างที่ 4 ข้างต้น

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

Up

5.การผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

          บัญชีแยกประเภท หมายถึง บัญชีที่รวบรวมการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นไว้เป็นหมวดหมู่ หลังจากการบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป เรียบร้อยแล้ว จัดเรียงลำดับผังบัญชีของกิจการ เช่น บัญชีเงินสด เป็นบัญชีที่รวบรวมรายการค้าที่เกี่ยวกับเงินสด  บัญชีลูกหนี้ เป็นบัญชีที่รวบรวม รายการค้าที่เกี่ยวกับลูกหนี้  การบันทึกรายการในแต่ละบัญชี จะบันทึกไม่ปะปนกันเพื่อให้ตรงตามข้อเท็จจริง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสะดวก ในการค้าหาหรือแก้ไขข้อผิดพลาด

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

          ทุกครั้งที่มีรายการค้าเกิดขึ้น จะทำให้สินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ เปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลทำให้ฐานะทางการเงินของกิจการ เปลี่ยนแปลง ถ้ากิจการจัดทำงบดุลขึ้นทุกครั้งก็จำไม่สะดวกและเสียเวลา ดังนั้นกิจการจะบันทึกรายการค้าในสมุดบันทึกรายวันทั่วไป ก่อน จากนั้นก็จะจำแนกรายการค้าออกเป็นหมวดหมู่ โดยผ่านรายการจากสมุดรายวันทั่วไปไปบัญชีแยกประเภท ตามหลักบัญชีคู่ ทำให้กิจการสามารถนำข้อมูลมาจัดทำงบการเงิน รายงานทางการเงินได้สะดวกและรวดเร็วดังนั้นความสำคัญของบัญชีแยกประเภท สรุปดังนี้

1.จำแนกรายการค้าออกเป็นหมวดหมู่
2.ค้นหาและแก้ไขข้อมูลได้ง่าย
3.ไม่ต้องจัดทำงบดุลขึ้นทุกครั้งที่มีรายการค้าเกิดขึ้น
4.สะดวกในการหายอดคงเหลือและจัดทำงบและรายงานต่าง ๆ เช่น งบทดลอง กระดาษทำการ เป็นต้น
5.ใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง

สมุดบัญชีแยกประเภท (Ledger) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

          1. สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger)  เป็นสมุดที่รวบรวมหรือคุมยอดของบัญชีแยกประเภททุกบัญชี ซึ่งใช้บันทึก การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ (ทุน) ต่อจากการบันทึกลงในสมุดรายวันทั่วไป ได้แก่ บัญชีแยกประเภท สินทรัพย์ เช่น บัญชีเงินสด  บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินค้า บัญชีวัสดุสำนักงาน บัญชีอาคาร เป็นต้น  บัญชีแยก ประเภทหนี้สิน เช่น บัญชีเจ้าหนี้การค้า บัญชีเงินกู้ บัญชีเจ้าหนี้อื่น ๆ เป็นต้น  บัญชีแยกประเภทส่วนของเจ้าของ เช่น บัญชีทุน บัญชีรายได้  (Income)  บัญชีค่าใช้จ่าย (expense) และบัญชีถอนใช้ส่วนตัว

          2.  สมุดบัญชีแยกประเภทย่อย (Subsidiary Ledger) เป็นที่รวบรวมของบัญชีแยกประเภทย่อยของบัญชีคุมยอด (Controlling Accounts) ในสมุดแยกประเภททั่วไป เช่น สมุดบัญชีแยกประเภทลูกหนี้รายตัว บัญชีเจ้าหนี้รายตัว ซึ่งยอดรวมของบัญชีแยกประเภท รายตัวทั้งหมดจะเท่ากับยอดรวมในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป

          รูปแบบของบัญชีแยกประเภท ที่นิยมใช้กันทั่วไปมี 2 แบบ

           1.  แบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (แบบมาตรฐาน) มีลักษณะคล้ายตัวอักษรภาษาอังกฤษ คือตัว T ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ทางด้านซ้ายมือคือด้านลูกหนี้หรือเดบิต (Debit)  ทางด้านขวามือคือด้านเจ้าหนี้หรือด้านเครดิต (Credit)

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

          2.  แบบบัญชีแยกประเภทย่อย (แบบแสดงยอดดุล) มีลักษณะคล้ายกับรูปแบบของสมุดรายวันทั่วไป แต่มีช่องยอดคงเหลือ เพิ่มขึ้นมา เพื่อแสดงรายการคงเหลือทุกครั้งที่มีการบันทึกรายการและเมื่อต้องการทราบยอดคงเหลือ

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

          การผ่านรายการ (Posting) หมายถึง การนำรายการค้าที่บันทึกไว้ในสมุดขั้นต้นไปบันทึกไว้ในบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง ตามลักษณะรายการค้าที่บันทึกไว้ ในสมุดขั้นต้นเมื่อผ่านรายการเสร็จแล้วต้องอ้างอิงหน้าบัญชีของสมุดขั้นต้นและเลขที่บัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบว่ารายการเดบิตหรือเครดิตที่บันทึกไว้ใน บัญชีแยกประเภทเป็นการผ่านรายการมาจากสมุดขั้นต้นประเภทใด หน้าบัญชีใด และรายการในสมุดขั้นต้นที่บันทึกได้ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทบัญชีใด และเลขที่บัญชีอะไร

         การบันทึกรายการค้าในบัญชีแยกประเภท 
1.  เปิดบัญชีแยกประเภททั่วไปและให้นำชื่อบัญชีที่เดบิตสมุดรายวันทั่วไปมาตั้งเป็นชื่อของบัญชีแยกประเภทและบันทึกไว้ทางด้านเดบิต โดยเขียน พ.ศ. เดือน วันที่ ตามที่ปรากฏในสมุดรายวันทั่วไป เขียนชื่อบัญชีที่เครดิตลงในช่องรายการและเขียนจำนวนเงินตามที่ปรากฏในสมุดรายวันทั่วไปลงในช่องจำนวนเงินที่เดบิต
2.  การผ่านรายการด้านเครดิตให้ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับด้านเดบิตแต่เปลี่ยนมาบันทึกทางด้านเครดิตของบัญชีแยกประเภททั่วไป
3.  ในช่องรายการให้เขียนคำอธิบาย                                 3.1  ถ้าเป็นรายการเปิดบัญชีหรือการลงทุนครั้งแรก เช่น กิจการนำสินทรัพย์หลายอย่างมาลงทุน และเจ้าหนี้ ให้เขียนในช่องรายการว่า “สมุดรายวันทั่วไป” แต่ถ้าเป็นการนำเงินสดมาลงทุนอย่างเดียวให้เขียนในช่องรายการเป็นชื่อบัญชีแยกประเภทตรงกันข้าม
                                3.2  ถ้าเป็นรายการเปิดบัญชีโดยเริ่มรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ ในช่องรายการให้เขียนคำว่า “ยอดยกมา” ซึ่งหมายความว่าเป็นยอดคงเหลือยกมาจากรอบระยะเวลาบัญชีก่อน
                                3.3  ถ้ารายการระหว่างเดือน ในช่องรายการให้เขียนชื่อบัญชีแยกประเภทตรงข้ามกัน
                                การบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปทางด้านเดบิตและเครดิต ถ้ามีการบันทึกบัญชีมากกว่า 1 บัญชีแล้ว รายการค้าลักษณะนี้เรียกว่า “รายการรวม” (Compound Entries)
                                การผ่านรายการจากสมุดรายวันทั่วไปไปบัญชีแยกประเภททั่วไปนั้น ในสมุดรายวันทั่วไปจะต้องใส่เลขบัญชีตามประเภทบัญชีนั้น ๆ ที่ได้บันทึกไว้ในสมุดรายวันทั่วไปในช่อง “เลขที่บัญชี” และในช่อง “หน้าบัญชี” ของบัญชีแยกประเภท จะใส่หน้าบัญชีของสมุดรายวันทั่วไปที่ผ่านรายการมา ซึ่งเรียกว่า “การอ้างอิงการผ่านรายการ (Posting Reference)”

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

          การผ่านรายการค้าไปบัญชีแยกประเภท ดังนี้

          ตัวอย่างที่ 1   วันที่ 1 มกราคม 2552 นาย ก. นำเงินสดมาลงทุนในร้านซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า 80,000 บาท

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย
แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย
          การบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป
แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย
       1. เมื่อวิเคราะห์รายการค้าแล้ว เราก็จะนำมาบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป โดยยังไม่ต้องใส่เลขที่บัญชี นะครับ.... จากนั้นเราก็
      2. ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท โดย กรอกรายละเอียดให้เรียบร้อยใส่เลขที่บัญชีให้ถูกต้องตรงหมวดบัญชี การเขียนในช่องรายการให้เขียนชื่อบัญชี ตรงกันข้ามและยอดเงินตามที่ปรากฏในช่องเดบิต หรือเครดิต ของบัญชี การใส่หน้าบัญชีให้ดูตามรายการว่านำมาจากรายการค้าที่อยู่หน้าบัญชีใด
               มาดูการผ่านแยกประเภทกัน

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

          3.  จากนั้นไปใส่ เลขที่บัญชีในสมุดรายวันให้ถูกต้อง

........ต่อมาในวันที่ 5 มกราคม 2552 นาย ก. กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย 50,000 บาท มาใช้ในกิจการ

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

การบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

......เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2552 ซื้อรถยนต์จากบริษัท โตโยต้า มาใช้ในกิจการราคา 680,000 บาทจ่ายเงินสดทันที 200,000 บาท ที่เหลือขอชำระในภายหลัง

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

6.รายการปรับปรุงและปิดบัญชีเมื่อสิ้นงวดบัญชี

กิจการได้ดำเนินงานต่างๆ  ผลของการดำเนินการจะดูที่งบกำไรขากทุน  และฐานะทางการเงินก็จะดูได้จากงบแดงฐานะการเงินซึ่งเป็นรายงานทางการเงินที่กิจการต้องมี  การที่เราจะรับรู้ได้นั้นจะต้องนำรายการมาผ่านกระบวนการทางบัญชี  เพื่อให้ได้รายงานทางการเงินเป็นบทสรุป  ดังนั้นแล้วเราจะเป็นที่จะต้องกำหนดระยะเวลาในการสรุปในรอบเวลานั้นเรียกว่า “งวดบัญชี”  เพื่อให้การดำเนินงานของกิจการได้สรุปผลออกมาและนำข้อมูลที่ได้จากรายงานทางการเงินกำหนดการบริหารในอนาคต  รวมถึงการคิดค่าภาษีเงินได้ที่ต้องชำระอีกด้วย  แต่มีบางรายการที่ได้เงินหรือค้างชำระตามงวดนั้นไม่ได้เป็นจริงตามระยะเวลาของงวด  ซึ่งในเกณฑ์คงค้างจะต้องทำการปรับปรุงเมื่อสินงวด
การปรับปรุงรายการบัญชี  จะใช้ในกิจการที่ใช้เกณฑ์คงค้าง  โดยการนำงบทดลองที่ได้จากการปิดบัญชีแล้วนั้นเรียกว่างบทดลองก่อนปรับปรุง  หลังจากที่ได้ทำการปรับปรุงบางรายการที่ไม่เกิดขึ้นในระยะเวลาในงวดบัญชี  เราต้องมีการปรับปรุงให้คำนึงถึงระยะเวลาไม่ต้องใช้เงินสดแต่มีความแน่นอนว่ารายการจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต  รายการปรับปรุงจะต้องทำทุกสิ้นงวด  หลังจากปรังปรังแล้วจะกลายเป็นงบทดลองหลังปรับปรุงก่อนที่จะไปแสดงในยอดงบกำหรขากทุนและงบแสดงฐานะทางการเงิน  ซึ่งจะทำในกระดาษทำการ

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

                 ได้รับค่าบริการทำความสะอาดล้วงหน้า 5,000 บาท เป็นค่าทำความสะอาด  4 เดือนได้รับในวันที่ 1 พฤศจิกายน  เมื่อสิ้นงวดในเดือนธันวาคมจะพบว่า 5,000 บาทเป็นจ่ายใช้จ่ายในระยะเวลา 4 เดือนและเป็นค่าใช้จ่ายในเดือนงวดถัดไปอีกด้วยดังนั้นแล้วสิ้นงวดแล้วจะต้องตัดจำนวนให้เป็นค่าใช้จ่ายตามระยะเวลาของวด  เพื่อที่เราจะได้รับรู้ยอดเงินนำไปปรับปรุง

                รายการปรับปรุง (Adjusting Entries) เป็นการปรับปรุงยอดบัญชีที่เป้ฯทั้งรายได้และจ่ายใช้จ่ายในงวดบัญชีให้ถูกต้องตามเกณฑ์คงค้างโดยรายการที่ต้องปรับปรุง 7 รายการคือ

  1. ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
  2. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
  3. รายได้รับล่วงหน้า
  4. รายได้ค้างรับ
  5. วัสดุสำนักงานใช้ไป
  6. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
  7. ค่าเสื่อมราคาสะสม

1.ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses) 

                ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า  คือ กิจการได้ชำระค่าใช้จ่ายไปแล้วในงวดบัญชีปัจจุบัน  แต่กิจการยังไม่ได้รับประโยชน์จากที่ได้ใช้จ่ายไป  ตัวอย่างเช่น  ค่าเช่าล่วงหน้า  เงินเดือนจ่ายล่วงหน้า  ค่าทำความสะอวดจ่ายล่วงหน้า
ในการปรับปรุงนั้น  ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าจะแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดปัจจุบัน  และส่วนที่เหลือจะเป็นของงวดถัดไป  ซึ่งส่วนที่เหลือจะเป็นลักษณะของลูกหนี้ที่อยู่ในหมวกสินทรัพย์หมุนเวียนจะแสดงในงบแสดงฐานะการเงินด้วย  โดยจะมีการลงบัญชีได้ 2 วิธีคือ 1.ลงไว้เป็นค่าใช้จ่าล่วงหน้า(สินทรัพย์)  2.ลงเป็นค่าใช้จ่าย
ตัวอย่าง  กิจการจ่ายค่าเช่าล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 1 ปี  จำนวนเงิน 120,000 บาท เป็นค่าเช่าอาคาร  ได้จ่ายในวันที่ 1 กันยายน  2558
จากตัวอย่างเราจะต้องพิจารณาว่าค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในระยะเวลางวดปัจจุบันเท่าไหร่  และค่าใช้จ่ายที่เป็นส่วนของล่วงหน้าในงวดถัดไปเท่าไหร่

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

                 จะเห็นได้ว่า  120,000 บาทนั้น  เป็นค่าเช่าล้วงหน้า 1 ปี  จ่ายไปวันที่ 1 กันยายน 2558   เมื่อสินงวดในเดือนธันวาคม  จะเป็นค่าใช้จ่ายตามระยะเวลา  4 เดือนคือ  เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม  ส่วนที่เหลืออีก 8 เดือนคือ  มกราคมถึงสิงหาคมเป็นค่าเช่าล่วงหน้า  เมื่อเราได้ระยะเวลาที่ถูกแบ่งเป็นสองส่วนแล้ว  ก็มาคำนวณยอดของทั่งสองส่วน  โดยการนำจำนวนมาเฉลี่ยในแต่ละเดือนก่อน  ด้วยการนำ 120,000/12  = 10,000 ต่อเดือน

                ดังนั้น  ยอดที่ได้คือ  ค่าใช้จ่ายงวดนี้ 40,000(10,00*4) และเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้าอีก 80,000(10,000*8)  เมื่อได้ยอดที่สรุปได้จะนำไปลงบัญชีซึ่งค่าใช้จ่ายล่วงหน้าสามารถบันทึกได้ 2 วิธีคือ

                1.ลงบันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้า  เดินจะถูกบรรทุกไว้เป็นค่าใช้ล่วงหน้าทั้งหมด 120,000 บาท

                                Dr. ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า        120,000
Cr. เงินสด                              120,000
ต่อมาเราได้ทราบยอดเพื่อปรับปรุงรายการ  ค่าใช้จ่ายล่วงหน้างวดต่อไปเป็นเงิน 80,000 บาท  และเป็นค่าใช้จ่ายในงวดนี้ 40,000  เราจึงนำยอดที่เป็นค่าใช้จ่ายในงวดนี้คือ 40,000 บาทไปหักลดยอดค่าใช้จ่าล่วงหน้าและให้เป็นค่าเช่าไปในงวดนี้

                                Dr. ค่าเช่า              40,000
Cr. ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า        40,000

                ดังนั้นในบัญชีแยกประเภทในรายการที่เกี่ยวข้องในบัญชีค่าใช้จ่ายล่วงหน้าจะมียอดยกไป 80,000  ในงวดถัดไป  และเป็นค่าใช้จ่าย 40,000 ในงวดนี้

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

               2.ลงบันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่าย  เดิมทีจะมีการลงบัญชีไว้เป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด  120,000

                                Dr. ค่าใช้จ่าย…                        120,000
Cr. เงินสด               120,000

                ต่อมาจะมีการปรับปรุงจากยอดค่าใช้จ่ายที่ได้บรรทุกไว้  120,000  ให้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดนี้  40,000  เป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้า 80,000  โดยนำไปหักบัญชีค่าใช้จ่าย

                                                Dr. ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า            80,000
Cr. ค่าเช่า                 80,000

                แสดงในยอดบัญชีแยกประเภทของค่าใช้จ่ายที่หักออกและยังมีบัญชีค่าใช้จ่ายล่วงหน้าที่เพิ่มขึ้นมา

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

                เมื่อเหลือในส่วนของค่าใช้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้าจะอยู่ในหมวดหมู่สินทรัพย์หมุนเวียนจะแสดงในงบแสดงฐานะการเงิน 80,000

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

 2.ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) 

                ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายคือ  รายจ่ายที่เกิดขึ้นแล้วในงวดบัญชีปัจจุบัน  แต่ยังไม่ได้ชำระเงินเมื่อสิ้นงวดเราจึงตั้งให้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดปัจจุบัน  เนื่องจากกิจการได้ดำเนินและได้ใช้ประโยชน์ไปแล้ว  เช่น  ค่าเช่าค้างจ่าย  ดอกเบี้ยค้างจ่าย  ค่าไฟค้างจ่าย  เงินเดือนค้างจ่ายเป้ฯต้น  ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายนั้นมีลักษณะเป็นหนี้ของกิจการที่ต้องชำระคืนในอนาคต
ในรายการปรับปรุง  เราจะต้องรับรู้ยอดค่าใช้จ่ายตั้งแต่วันที่เรานำมาใช้ประโยชน์หรือเริ่มสัญญาณในงวดบัญชี  โดยจะเป็นค่าใช้จ่ายในงวดนี้ด้วย

                                                Dr. ค่าใช้จ่าย         XX
Cr. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย           XX

                ตัวอย่าง  กิจการได้กู้เงินเป็นจำนวน 100,000 บาท ในวันที่ 1 สิงหาคม  โดยมีอัตราดอกเบี้ยเป็น 6 % ต่อปี  มีกำหนดชำระทุก 6 เดือน
จากตัวอย่าง  เราได้กู้เงินมา 100,000 บาท  และมีดอกเบี้ยที่ต้องชำระในทุก 6 เดือน  ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม  พอสิ้นงวดในเดือนธันวาคม  เพื่อ 5 เดือนเท่านั้นจึงไม่ไม่ได้ได้จ่ายดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้แต่ทางกิจการจะต้องชำระและให้ตัดเป็นค่าใช้จ่ายไปในงวดนี้เท่ากับ 5 เดือน  คือเดือน สิงหาคม จนถึงเดือนธันวาคม  โดยการคำนวณดังนี้  100,000*6%  = 5,000  ดอกเบี้ยต่อปีจึงต้องแบ่งเป็น 12 เดือน 5,000/12 = 500 ต่อเดือน  ยอดทั้งหมดคือ 2,500(500*5)  หลังจากนั้นเราก็จะนำยอดไปปรับปรุงเป็นค่าใช้จ่ายในงวดนี้ด้วย 2,500

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

               ดังนั้นเมื่อเป็นค่าใช้จ่ายในงวดนี้ก็จะถูกนำไปลงไว้ที่บัญชีกำไรขาดทุนด้วย  และดอกเบี้ยค้างจากจะแสดงในภาวะหนี้สิ้นลงในงบแสดงฐานะการเงิน

  1. รายได้รับล่วงหน้า(Unearned Revenues)

                รายได้รับล่วงหน้าคือ  คือรายได้ที่กิจการรับมาแล้วแต่ยังไม่ได้ให้บริการกับลูกค้า  โดยจะได้รับในงวดปัจจุบันแต่ยังมีระยะเวลาที่ต้องให้บริการถึงงวดบัญชีหน้า  อย่างเช่น  ค่าเช่ารับล่วงหน้า  ดอกเบี้ยรับล่วงหน้า  เงินเดือนรับล่วงหน้า  เมื่อรับมาแล้วกิจการจะต้องดำเนินการให้กับลูกค้าจนกว่าจะครบกำหนดจึงถือเป็นบัญชีประเภทหนี้สินหมุนเวียน  ถ้าเงินที่ได้รับมาในงวดปัจจุบันก็ถือได้ว่าเป็นรายได้งวดปัจจุบันของกิจการ  จึงต้องทำการปรับปรุงเสียก่อน
รายได้รับล่วงหน้านั้นจะมีการปรับปรุง 2 วิธี  ขึ้นอยู่กับกิจการได้ลงบัญชีได้ 2 แบบโดยมีดังนี้
1. ลงไว้เป็นรายได้รับล่วงหน้า (หนี้สิน)
2. ลงไว้เป็นรายได้

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

                ตัวอย่าง  กิจการได้รับเงินค่าเช่าอาคารมา 180,000 บาท  เป็นค่าเช่ารับล่วงหน้าในระยะ 1 ปี  โดยรับเงินตั้งแต่ 1 ตุลาคม  2558
จากตัวอย่างกิจการรับเงินมาเมื่อ 1 ตุลาคม 2558  เมื่อสินงวดบัญชีในเดือนธันวาคมผ่ายไป 3 เดือนแสดงว่ามีรายได้เกิดขึ้นแล้ว 3 เดือนส่วนที่เหลือจะเป้ฯรายรับล่วงหน้าของปีถัดไป  ซึ่งเป็นจำนวน 9 เดือน

                 ดังนั้นแล้ว  ในงวดนี้จะเป็นรายได้  3 เดือน  และเป็นรายได้รับล่วงหน้า 9 เดือน  สามารถคำนวณยอดได้คือ  180,000/12 = 15,000  เป็นการคำนวณหามูลค่าในแต่ละเดือน  ถ้าจะเป็นรายได้งวดหน้า 45,000(15,000*3)  และเป็นรายได้รับล่วงหน้า  1350,00(15,000*9)  เมื่อเราทราบยอดแล้วจะทำการปรับปรุงตามวิธีลงที่กิจการได้ลงไว้

  1.   ลงไว้เป็นรายได้รับล่วงหน้า  เดิมทีลงไว้เป็นรายได้รับล่วงหน้าอยู่ 180,000 บาท  เมื่อสิ้นงวดจะต้องนำ 3 เดือนที่ผ่านมาแล้วน้ำยอดมาหักคือ 45,000  ไปหักในบัญชีในการปรับปรุง

                การลงบัญชีไว้เป็นรายได้รับล่วงหน้า

                                                Dr. เงินสด              180,000
Cr.ค่าเช่ารับล่วงหน้า            180,000

                เมื่อสินงวดจึงต้องมีการปรับปรุงยอดบัญชีดังนี้

                                                Dr. ค่าเช่ารับล่วงหน้า           45,000
Cr. ค่าเช่ารับ                          45,000

                เมื่อนำไปแสดงในบัญชีแยกประเภทจะมียอดยกไปเป็นค่าเช่ารับล่วงหน้า 135,000

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

                2.ลงไว้เป็นรายได้  ทางกิจการจะลงไว้เป็นรายได้ทั้งหมด 180,000  ตามจริงแล้วจะมีบางส่วนที่เป็นรายได้รับล่วงหน้าด้วย  จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงเพื่อตัดยอดออก 135,000 ที่เป็นรายได้ค่าเช่ารับล่วงหน้า

                เดิมบันทึกเป็นรายได้ทั้งหมด

                                                Dr. เงินสด              180,000
Cr. ค่าเช่ารับ          180,000

                ทำการปรับปรุงด้วยการนำยอด  135,000 ที่เป็นส่วนของรายได้รับล่วงหน้ามาปรับปรุง

                                                Dr. ค่าเช่ารับ         135,000
Cr. ค่าเช่ารับล่วงหน้า           135,000

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

                เมื่อรับยอดรายได้รับล่วงหน้าและยอดรายได้ในงวดนี้แล้วจะแสดงในบัญชีแยกประเภทดังนี้

 

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

                  เมื่อทำการปรับปรุงแล้ว  จะมียอดแสดงในงบแสดงฐานะการเงิน  ในส่วนหนี้สินและส่วนของเจ้าของ  และรายได้จะไปอยู่ที่งบกำไรขาดทุน

4.รายได้ค้างรับ (Accrued Revenues)
                รายได้ค้างรับ  คือ  การที่กิจการได้ดำเนินการหรือจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้าไปแล้วนั้นแต่ลูกค้ายังไม่ได้ชำระให้กับกิจการ  เช่นรายได้ค่าบริการค้างรับ  รายได้ค่าเช่ารับ  กอดเบี้ยค้างรับ  เนื่องจากิจการไม่ได้รับในงวดปัจจุบันจึงถือได้ว่าให้บริการและเป็นรายได้สำหรับงวดนี้แล้ว  รายได้ค้างรับอยู่ในฐานะลูกหนี้อยู่ในสินทรัพย์หมุนเวียน  สำหรับการลงบัญชีเพื่อปรับปรุงรายการเป็นดังนี้

                                                Dr. รายได้ค้างรับ  XX
Cr. รายได้              XX

                ตัวอย่าง  กิจการได้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลมูลค่า  1,200,000  ในวันที่ 1 พฤษภาคม  โดยมีอัตราดอกเบี้ย 6% ต่อปี  ซึ่งจะมีการจ่ายดอกเบี้ยทุกวันที่ 30 เมษายน  ของทุกปี
จากตัวอย่าง  กิจการได้ซื้อธนบัตรรัฐบาลมูลค่า 1,200,000 แล้วเราจะได้ดอกเบี้ยในอัตรา 6% ต่อปีจึงมียอดดอกเบี้ยที่จะได้รับ 1,500,000*6%  ซึ่งได้ 72,000ต่อปี  และ 6,000 ต่อเดือน  มีการชำระวันที่ 30 เมษายนของทุกปี  ซึ่งกิจการได้ปิดบัญชีสิ้นงวดเดือนธันวาคมแต่เรายังไม่ได้รับส่วนของเดือนพฤษภาคมเรื่อยมา  จึงถือได้ว่าเป็นดอกเบี้ยที่กิจการจะได้รับแล้วจึงมีการปรับปรุงดอกเบี้ยค้างรับของกิจการ

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

                การคำนวณก็จะได้ดอกเบี้ยที่ยังไม่ได้จ่ายให้กับเรา 8 เดือนเท่ากับ  48,000 เป็นยอดที่จะนำไปปรับปรุงดอกเบี้ยค้างรับ

                                                Dr. ดอกเบี้ยค้างรับ               48,000
Cr. ดอกเบี้ยรับ                      48,000

                ยอดจะนำไปลงในบัญชีแยกประเภทดังนี้

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

              และจะแสดงในงบกำไรขาดทุนในส่วนของรายได้อื่นเป็นดอกเบี้ยรับ  และดอกเบี้ยค้างรับจะแสดงในงบแสดงฐานะการเงินในสินทรัพย์หมุนเวียน

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

5.หนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful debta)
ในขณะที่กิจการกำลังดำเนินการไปนั้นจะมีลูกหนี้เกิดขึ้นเพราะจะมีการการชำระเงินสดเป็นบางส่วนอีกส่วนจะเป็นเงินเชื่อ  ซึ่งผู้ใช้บริการแบบเงินเชื่อก็จะเป็นลูกหนี้ของกิจการ  แต่มีกรณีที่ลูกหนี้ของกิจการ  แต่มีกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระเงินได้  หรือมีสถานะที่เสี่ยงต่อหนี้สูญ  เพื่อให้กิจการได้รับทราบค่าใช้จ่ายที่ใกล้เคียงจึงตั้งให้เป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในบางส่วนโดยการประมาณ  และมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสะสมเป็นยอดที่จะนำไปหักจากลูกหนี้และมีหนี้สงสัยจะสูญเป็นค่าใช้จ่าย

                                                                Dr. หนี้สงสัยจะสูญ              XX
Cr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ   XX

                โดยการประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสามารถทำได้ 2 วิธีได้แก่
1. การประมาณจากยอดขาย
2. การประมาณจากยอดลูกหนี้

                1.การประมาณจากยอดขาย  เป็นการประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดขาย  ซึ่งไม่ต้องคำหนึ่งถึงยอดสะสม  สามารถตั้งได้ตามยอดลูกหนี้ได้เลย

                ตัวอย่าง  กิจการมียอดขายเชื่อทั้งหมดในปี 2558  กิจการมีการประเมินค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดขายเชื้อทั้งหมด 2%

                ดังนั้น  การประมาณค่าจากยอดขายจะได้  3,000,000  * 2%  = 60,000  หลังจากนั้นจะทำการบันทึกได้เลย

                                                Dr. หนี้สงสัยจะสูญ              60,000
Cr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ        60,000

                2.การประมาณจากยอดลูกหนี้  เป็นการประมาณค่าจากยอดลูกหนี้ทั้งหมด  การประมาณค่านี้จะต้องได้ยอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่มีอยู่เดิมมารวมด้วย  หากมียอดเดิมอยู่เท่าไหร่ให้นำยอดเดิมนั้นมาหักยอดที่คำนวณได้แล้วจึงตั้งยอดที่ได้ผลลบนำมาตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในงวดนี้

                ตัวอย่าง  เดิมกิจการมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเดิมอยู่ 500  ที่เป็นยอดยกมาจากงวดที่แล้ว  แต่ต่อมามีลูกหนี้ 100,000 บาทจึงต้องการประเมินค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ  10%  จากยอดลุกหนี้

                จากตัวอย่างมียอดยกมาจากงวดที่แล้วอยู่ 500 บาทและได้คำนวณ 100,000  ค่าเผื่อหนี้สงสัยสูญ 10%  ยอดเท่ากับ    10,000 บาทคือยอก  100,000*10%   คือยอดที่เราต้องได้มาทั้งหมด 10,000 ดังนั้นแล้วเราต้องตั้งเพิ่มอีก 9,500  ซึ่งเกิดจาก 10,000 – 500

                                ยอดลุกหนี้ของวดนี้                               100,000
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 10%                 10,000
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของงวดก่อน      500
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ตั้งในงวดนี้     9,500

                                Dr. หนี้สงสัยจะสูญ              9,500
Cr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ   9,500

                ตัวอย่างในบัญชีแยกประเภทของค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

                การจำหน่ายหนี้สงสัยจะสูญ  กรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชะระหนี้จึงต้องตัดจำหน่ายยอดลูกหนี้  อาจจะเกิดจากลุกหนี้ล้มละลายหรือหนี้

                ต่อจากตัวอย่างเดิม  เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม  2558  พบว่าลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลายไม่สามารถชำระหนี้ได้  จึงต้องตัดจำหน่ายลุกหนี้ 1,000

                                                Dr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ   1,000
Cr. ลูกหนี้ (ชื่อของลูกหนี้)     1,000

                ถ้าลูกหนี้ถูกตัดนำหน่ายไปแล้วนำเงินมาชำระคืน  เมื่อนำมาชำระสามารถตั้งลูกหนี้ขึ้นมาใหม่ได้  ตัวอย่างถัดมาได้มีลุกหนี้นำเงินมาชำระคืน 1,000 บาท

                                                Dr. ลูกหนี้              1,000
Cr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ   1,000

                                                Dr. เงินสด              1,000
Cr. ลูกหนี้               1,000

                                หรือ
Dr.เงินสด               1,000
Cr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ   1,000

  1. วัสดุสำนักงานใช้ไป(Supplies  Used)

                วัสดุสำนักงาน  คือ  วัสดุต่างๆที่มีไว้ใช้ประโยชน์ของกิจการ  อย่างเช่น  ปากกา  กระดาษ  หมึกพิมพ์  เป็นต้น  วัสดุอย่างอื่นที่เมื่อใช้ไปแล้วก็จะหมดไปเรื่อยๆ  ซึ้งตอนแรกที่ซื้อมานั้นจะมีมูลค่าเต็มและเมื่อกิจการดำเนินการไปนั้น  วัสดุเหล่านี้ก็จะถูกใช้ไป  เมื่อถึงสิ้นงวดจะมีการตรวจนับยอดคงเหลือมูลค่าเท่าไหร่  หรือในระหว่างงวดจะมีการรวมกับกับต้นงวดนำมาหักยอดที่เหลือปลายงวด  ก็จะได้ยอดวัสดุใช้ไปจะมีการบัญชีดังนี้

                                                Dr. วัสดุสำนักงานใช้ไป        XX
Cr. วัสดุสำนักงาน                 XX

ต้นงวด + ซื้อเพิ่มระหว่างงวด – คงเหลือปลายงวด = วัสดุที่ใช้ไป

                ตัวอย่าง  มียอดคงเหลือวัสดุสำนักงานต้นไป 2557  จำนวน 1,000  บาท  ในวันที่ 1 มีนาคม  ซื้อวัสดุสำนักงานเพื่อเติมอีก 4,500  วันสินงวดมีการตรวจนับและตีราคาวัสดุสำนักงานได้  1,200

                จากตัวอย่าง          มียอดคงเหลือยกมา                              1,000
บวก  ซื้อระหว่างงวดวันที่ 1 มีนาคม    4,500
รวมวัสดุสำนักงานที่มีไว้ใช้                   5,500
หัก  ยอดคงเหลือปลายงวด                  1,200
วัสดุสำนักงานใช้ไป                               4,300

                การลงบัญชี

                                                Dr. วัสดุสำนักงานใช้ไป        4,300
Cr. วัสดุสำนักงาน                 4,300

                ในบัญชีแยกประเภทมีการแสดงยอดดังนี้

                                                                                                วัสดุสำนักงาน

                                                                ยอดยกมา              1,000      วัสดุสำนักงานใช้ไป               4,300
เงินสด                     4,500      ยอดยกไป                               1,200

                เมื่อปิดบัญชี  วัสดุสำนักงานใช้ไปจะนำไปหักในงบกำไรขาดทุนเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ  วัสดุสำหนักงานจะไปแสดงในงบแสดงฐานะการเงิน  ในหมวดสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นการแสดงยอดคงเหลือ

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

7.ค่าเสื่อมราคาสะสม (Accumulated  Depreciation)

                วัสดุสำนักงานใช้ไป  สินทรัพย์ถาวรก็มีค่าเสื่อมราคาเช่นกัน  สินทรัพย์  ไม่ว่าจะเป็นอาคาร  เครื่องจักรต่างๆ  เมื่อเราใช้ไปแล้วก็จะเกิดการเสื่อมค่าไปตามเวลาและระยะเวลาในการใช้งานมีการชำรุดและสุดท้ายอาจจะหมดอายุการใช้งานไปในที่สุดก็ได้  สินทรัพย์ยกเว้นที่ดินจึงมีค่าเสื่อมราคาและทำให้มูลค่าของสินทรัพย์ลดลง  เพื่อให้ได้มูลค่าที่ใกล้เคียงความเป็นจริง  จึงต้องปรับปรุงสินทรัพย์เหล่านี้ให้เป็นมูลค่าลดลง  โดยการตัดเป็นค่าเสื่อมราคาซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายประจำแต่ละงวดเพราะต้องตัดตามจริงในระยะเวลาต่องวดด้วย  ค่าเสื่อมราคาสะสมที่ตัดไปจะไปหัดยอดของสินทรัพย์ถาวรนั้นและจะจำไปหักก่อนที่จะจำหน่ายสินทรัพย์นั้นออกไปด้วย

                ตัวอย่าง  คอมพิวเตอร์ในสำนักงานที่ซื้อมามีอายุการใช้งาน 5 ปี  โดยได้ซื้อมาในราคา 50,000  บาท  ถ้าคิดค่าเสื่อมราคาก็จะได้ปีละ 10,000 บาท(50,000/5)  นั้นเองในกรณีที่จะไม่ระบุราคาซาก
มูลค่าซากก็คือ  สินทรัพย์ที่นำมาจำหน่ายได้เมื่อหมดอายุแล้ว  ซึ่งสามารถตีราคาเป็นมูลค่าได้  จากตัวอย่างข้างต้น  ปรากฏว่า  นำคอมพิวเตอร์ที่หมดอายุการใช้งานครบ 5 ปีแล้ว  ไปขายมีการตีราคาซากได้ 5,000  บาท  ดังนั้นจึงนำเอามูลซากไปคำนวณลดค่าเสื่อมสะสมในแต่ละปีด้วยตามสูตรการคำนวณดังนี้

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

                นั้นก็หมายถึงจะคิดค่าเสื่อมราคา  4,500 บาทต่อปี  ซึ่งเราเรียกวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาแบบนี้ว่าคิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง  นอกจากนั้นหากอุปกรณ์สำหนักงานหรือเครื่องใช้ต่างๆ  มีค่าขนส่งหรือค่าติดตั้งจะรวมเป็นราคาของสินทรัพย์นั้นทั้งหมด  และค่าเสื่อมราคาสามารถใช้ % ในการคิดอัตราได้

                การลงราการ

                                                                Dr. ค่าเสื่อมราคา…  XX
Cr. ค่าเสื่อมราคาสะสม…     XX

                ตัวอย่าง  กิจการใช้คอมพิวเตอร์จำนวน 10 เครื่อง  มีมูลค่า 120,000  บาท  พร้อมค่าติดตั้งระบบเครือข่าย 10,000 บาท  คอมพิวเตอร์มีอายุการใช้งาน 5 ปี  และมีราคาซากทั้งหมด  30,000 บาท  ดังนั้นแล้วต้องทำการรวม  มูลค่าเครื่องและค่าติดตั้งรวมกัน  120,000 + 10,000  = 130,000 บาท

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

ในปีที่ 1 – 4 จะมีการบันทึกโดยปกติทั่วไป

                                Dr. ค่าเสื่อมราคา – คอมพิวเตอร์        20,000
Cr. ค่าเสื่อมราคาคอมพิวเตอร์สะสม  20,000

                ส่วนในปีที่ห้าหรือปีสุดท้ายที่กิจการจะมีการจำหน่ายสินทรัพย์ออกไปตามราคาซาก  แต่ถ้าราคาที่จำหน่ายนั้นน้อยกว่าราคาที่เหลือจากมูลค่าซากที่ได้คำนวณในปีสุดท้ายจากที่ได้กำหนดไว้จะเป็นการขาดทุนจากการจำหน่ายซากถ้ามากกว่าก็จะเป็นกำไรจากการขายซาก

                ตัวอย่างสามารถขายราคาซากได้ 20,000 บาท

7.กระดาษทำการชนิด8ช่อง

การจัดทำกระดาษทำการ 8 ช่อง

การจัดทำกระดาษทำการ  8  ช่อง ขั้นตอนมีดังนี้                                                                                                                                                                                                    

  1.   จัดทำตารางแบบฟอร์มกระดาษทำการ 8 ช่อง                                                                                                                                                                                                                                                      2.   เขียนส่วนหัวของกระดาษทำการเขียนชื่อกิจการ..บรรทัดแรก คำว่า กระดาษทำการ บรรทัดที่ 2 และคำว่า สำหรับระยะเวลา......ปี สิ้นสุดวันที่..... เดือน.... พ.ศ..... บรรทัดที่ 3                                          3.  เขียนชื่อบัญชีและเลขที่บัญชี  และจำนวนเงินจากตัวเลขที่ปรากฏในงบทดลองแล้วรวมยอดด้านเดบิตและเครดิตต้องเท่ากัน                                                                                                                  4.  นำรายการปรับปรุงจากสมุดรายวันทั่วไป  ลงจำนวนเงินในช่องรายการปรับปรุงด้านเดบิตและเครดิต โดยหาชื่อบัญชีจากงบทดลอง ในกรณีไม่มีชื่อบัญชีที่ต้อง การให้เติมชื่อบัญชีต่อจากบรรทัดรวมเงินของงบทดลองซึ่งจำนวนเงินที่ปรากฏในช่องรายการปรับปรุงจะต้องมีหมายเลขกำกับเป็นคู่ เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบเมื่อนำมาครบทุกรายการให้รวมเงินในช่องปรับปรุง ยอดรวม 2 ด้านต้องเท่ากัน                                                                                                                                                                                                                                                                                                                              5.  นำจำนวนเงินในช่องงบทดลองไปบวกหรือหักกับช่องรายการปรับปรุง (กรณีอยู่ด้านเดียวกันให้บวกกันหากอยู่คนละด้านให้นำไปหักออก) แล้วผ่านไปแสดงในงบกำไรขาดทุน (2.5) และงบแสดงฐานะการเงิน (2.6) ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

6.  รวมยอดในช่องเดบิต และเครดิต ของงบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงิน

7.  หาผลต่าง ยอดรวมช่องเดบิต และเครดิตของงบกำไขาดทุน

     หาผลต่าง ยอดรวมช่องเดบิต และเครดิตของงบแสดงฐานะการเงิน ผลต่างทั้ง 2 รายการนี้ จะต้องเท่ากันเสมอ นำผลต่างไปเขียนใส่ด้านที่น้อยของงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินในงบกำไรขาดทุน หากด้านเดบิต (ค่าใช้จ่าย) น้อยกว่าด้านเครดิต (รายได้) ผลต่างนี้เรียกว่า กำไรสุทธิ (Net Profit) ตรงกันข้ามถ้าด้านเดบิต (ค่าใช้จ่าย) สูงกว่าด้านเครดิต (รายได้) ผลต่างนี้เรียกว่า ขาดทุนสุทธิ (Net Loss)

8. รวมตัวเลขช่องเดบิต และเครดิต ของงบกำไรขาดทุนต้องเท่ากันเสมอ และรวมตัวเลขด้านเดบิตและเครดิตของงบแสดงฐานะการเงินก็จะต้องเท่ากันเสมอ

ให้สังเกตว่า ผลต่างที่เป็นกำไรสุทธิ ในงบกำไรขาดทุน จะมาปรากฏในงบแสดงฐานะการเงินด้สนเครดิต เช่นเดียวกับทุน นั่นคือ การที่กิจการดำเนินการค้าแล้วมีกำไรสุทธิ จะทำให้กิจการมีทุนเพิ่มขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีต่อไป และหากผลต่างที่เป็นขาดทุนสุทธิในงบกำไรขาดทุน จะปรากฏในงบแสดงฐานะการเงินด้านเดบิต นั่นคือ การที่ดำเนินกิจการค้าแล้วเกิดขาดทุนสุทธิจะทำให้ทุนกิจการลดลง ในรอบระยะเวลาบัญชีต่อไป

ตัวอย่างที่ 1  กระดาษทำการ 8 ช่อง

ร้านอารียา มียอดคงเหลือของบัญชีต่าง ๆ ที่ปรากฏในงบทดลองเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 25X6 ดังนี้

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

แบบฝึกหัดบัญชีเบื้องต้น 2 พร้อมเฉลย

รายละเอียดเพิ่มเติมมีดังนี้

1.  สินค้าปลายปีตรวจนับและตีราคาได้ 11,400 บาท

2.  คิดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็น 5% ของลูกหนี้ปลายปี

3.  กิจการกู้เงินเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 25X6 กำหนดชำระดอกเบี้ยทุก 6 เดือน ปีนี้ยังไม่ได้จ่ายดอกเบี้ยเลย

4.  ค่าโฆษณาเป็นค่าใช้จ่ายของปีนี้ 1,200 บาท

5.  ค่าเบี้ยประกันเป็นระยะเวลา 1 ปี จ่ายเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 25X6

6.  คิดค่าเสื่อมราคาเครื่องใช้สำนักงานและรถยนต์ 20ต่อปี

7.  วัสดุสำนักงานคงเหลือปลายปี 4,100 บาท

8.  ในวันสิ้นปีมีรายได้ค่าเช่าค้างรับจำนวน 2,400 บาท

ให้ทำ     1.  ปรับปรุงบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป

     2.  กระดาษทำการสำหรับงวด 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X6

8.งบกำไรขาดทุน

งบกำไรขาดทุน หมายถึง งบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีที่กำหนดแต่จะต้องไม่เกิน 1 ปี เพื่อวัดผลการดำเนินงานของธุรกิจว่ามีรายได้และค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลานั้นเท่าใด และเมื่อนำรายได้หักด้วยค่าใช้จ่ายแล้ว จะเป็นกำไรสุทธิ(Net Income หรือ Net Profit) หรือขาดทุนสุทธิ (Net Loss)

งบกำไรขาดทุน คือ งบการเงินที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการสำหรับรอบระยะเวลาหนึ่ง อาจเป็น 3 เดือน หรือ 6 เดือน ประกอบด้วย

รายได้ หมายถึง สินทรัพย์ที่กิจการได้รับมาจากการประกอบกิจกรรม
ค่าใช้จ่าย หมายถึง มูลค่าต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดจากการขายสินค้า
กำไรสุทธิ หมายถึง ส่วนของรายได้ที่เกินกว่าต้นทุนขาย
ขาดทุนสุทธิ หมายถึง ส่วนของรายได้ที่ต่ำกว่าต้นทุนขาย
เขียนเป็นสมการได้ดังนี้

รายได้-ค่าใช้จ่าย = กำไร (ขาดทุน) สุทธิ
งบกระแสเงินสด หมายถึง งบที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงในกระแสเงินสดของกิจการ โดยบอกถึงที่มาและที่ไปของกระแสเงินสด ประกอบด้วย

1.กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน คือ เงินสดรับจ่ายจริงที่ได้จากการดำเนินกิจการ โดยไม่สนใจรายได้ที่ยังไม่ได้รับเงินและค่าใช้จ่ายที่ยังไม่ได้จ่ายเงิน

2.กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน คือ กระแสเงินสดรับจ่ายจริงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในการลงทุนของธุรกิจในส่วนของที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ เงินลงทุน หากมีการลงทุนเพิ่ม เช่น ซื้อเครื่องจักร แสดงว่ามีการใช้ไปของเงินสด ในทางตรงข้าม หากมีการขายสินทรัพย์ออกไป จะถือว่าเป็นแหล่งได้มาของเงินสด

3.กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหาเงิน คือ กระแสเงินสดรับจ่ายจริงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในแหล่งที่มาของเงินทุน ทั้งที่เป็นการกู้ยืมระยะสั้น และระยะยาว

การวิเคราะห์งบการเงินที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์

รูปแบบการวิเคราะห์งบการเงินเพื่อใช้ตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์

1.การวิเคราะห์โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน เป็นการนำรายการต่าง ๆ ในงบดุลและงบกำไรขาดทุนมาหาอัตราส่วนระหว่างกัน แล้วทำให้เกิดความหมายผลลัพธ์ที่ได้เรียกว่า อัตราส่วนทางการเงิน

2.การวิเคราะห์โครงสร้างงบการเงิน เป็นการวิเคราะห์ที่นำรายการในงบดุลและกำไรขาดทุนมานำเสนอในรูปร้อยละ หรือที่เรียกว่าอัตราส่วนตามแนวดิ่ง

3.การวิเคราะห์การเติบโตหรือแนวโน้ม เป็นกาวิเคราะห์โดยการนำข้อมูลในงบดุลและงบกำไรขาดทุน ตั้งแต่สองปีขึ้นไปมาเปรียบเทียบกัน

4.การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เราสามารถดูการเคลื่อนไหวของรายการเงินสด แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ แหล่งที่มาและใช้ไปของเงินสดในกิจกรรมต่างๆ สำหรับช่วงเวลาหนึ่ง

งบกำไรขาดทุน (Profit and loss Statement or Income Statement)

งบกำไรขาดทุน เป็นงบการเงินที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลของกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัทในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น หนึ่งปี สามเดือน หรือ หนึ่งเดือน โดยกำไรสุทธิเท่ากับรายได้หักด้วยค่าใช้จ่าย โดยรายได้แสดงถึงมูลค่าของสินค้า หรือบริการที่บริษัทให้ในขณะที่ค่าใช้จ่ายแสดงถึงความพยายามที่ใช้เพื่อทำให้เกิดรายได้

1 หลักการบัญชีเกี่ยวกับ รายได้ และค่าใช้จ่าย

รายได้ สำหรับคนทั่วไป รายได้หมายถึงจำนวนที่บริษัทได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการ แต่ความหมายในทางบัญชีจะกว้างกว่านั้นกล่าวคือ รายได้ หมายถึงการเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปของการได้รับหรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สินอันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ ดังนั้น ในความหมายของการบัญชีรายได้ อาจเกิดมาจากการขายสินค้าหรือบริการการที่สินทรัพย์ที่บริษัทถือไว้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นหรือจากการที่เจ้าหนี้ลดหนี้ให้ในการปรับโครงสร้างหนี้

ค่าใช้จ่าย หมายถึง การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีจากการจ่ายหรือการลดค่าของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สินอันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ ดังนั้น ในความหมายของการบัญชี ค่าใช้จ่าย จึงไม่ใช่มีเพียงต้นทุนของสินค้าหรือค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเท่านั้น แต่รวมถึงผลขาดทุนจากการที่สินทรัพย์หรือสินค้าที่บริษัทถือไว้มีมูลค่าลดลง หรือขาดทุนจากไฟไหม้ด้วย

การรับรู้รายได้ หลักการบัญชีกำหนดให้บริษัทรับรู้รายได้ในงบกำไรขาดทุนเมื่อบริษัทได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน และเมื่อบริษัทสามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ รวมทั้งต้องมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะเกิดรายการนั้นขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์สุทธิจากการขายสินค้าหรือบริการ และการลดลงของหนี้สินเนื่องจากเจ้าหนี้ยกหนี้ให้ โดยทั่วไปในการขายสินค้าหรือบริการ เงื่อนไขในการรับรู้รายได้จะครบถ้วนเมื่อบริษัทได้มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าแล้ว บริษัทส่วนใหญ่จึงรับรู้รายได้เมื่อมีการส่งมอบสินค้าหรือบริการแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการส่งมอบสินค้าหรือบริการแล้วแต่ถ้ายังไม่แน่นอนว่าจะเก็บเงินได้ บริษัทจะต้องไม่รับรู้รายได้เมื่อมีการส่งมอบ

แต่จะรับรู้รายได้เมื่อได้รับชำระเงิน
การรับรู้ค่าใช้จ่า ย ตามหลักการบัญชี บริษัทควรรับรู้ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของบริษัทลดลง เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และบริษัทสามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ ค่าใช้จ่ายให้รับรู้ในงบกำไรขาดทุนโดยใช้เกณฑ์ความเกี่ยวพันโดยตรงระหว่างต้นทุนที่เกิดขึ้นกับรายได้ที่ได้มาจากรายการเดียวกัน นั่นคือ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวพันโดยตรงกับรายได้จะต้องรับรู้ไว้ในงวดเดียวกับงวดที่มีการรับรู้รายได้ ตัวอย่างของค่าใช้จ่ายประเภทนี้ ได้แก่ ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่าย

ในการรับประกันสินค้า เมื่อบริษัทคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของรายจ่ายที่เกิดขึ้นในหลายรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทจะรับรู้รายจ่ายนั้นเป็นสินทรัพย์ และกระจายมูลค่าของสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนตามสัดส่วนของประโยชน์ที่ได้รับในงวดนั้นๆ ตัวอย่างของค่าใช้จ่ายประเภทนี้ ได้แก่ ค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์

สำนักงาน ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าตัดบัญชีสำหรับรายจ่ายที่มีประโยชน์เฉพาะงวดบัญชีนั้น ก็จะถือเป็นค่าใช้จ่าย

ของงวดนั้นทันที ตัวอย่างของค่าใช้จ่ายประเภทนี้ ได้แก่ เงินเดือนของพนักงานฝ่ายขายและบริหาร ค่าสาธารณูปโภคของสำนักงาน นอกจากนี้ ถ้ามีรายจ่ายเกิดขึ้นแต่มีความไม่แน่นอนถึงประโยชน์ที่จะได้รับในอนาคต บริษัทต้องรับรู้รายจ่ายเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดรายจ่ายนั้นทันที ตัวอย่างของค่าใช้จ่ายประเภทนี้ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายโฆษณา ค่าใช้จ่ายในการวิจัย__

2. รูปแบบและการจำแนกรายการในงบกำไรขาดทุน

เพื่อประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน การบัญชี กำหนดให้งบกำไรขาดทุนต้องแสดงหัวข้อที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้ กำไรจากการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง กำไร/ขาดทุนจากการยกเลิกส่วนงาน รายการพิเศษ

กำไรขาดทุนจากการดำเนินงานต่อเนื่อง เป็นการแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายจากกิจกรรมที่บริษัทคาดว่าจะยังคงดำเนินต่อไป แต่ถ้าบริษัทมีความตั้งใจที่จะเลิกดำเนินงานในส่วนงานใดส่วนงานหนึ่งจะต้องแยกแสดง กำไร หรือ

ขาดทุนจากการยกเลิกส่วนงานออกจากการดำเนินงานที่ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป
กำไรหรือขาดทุนพิเศษ เกิดจากเหตุการณ์ซึ่ง (1) ไม่เป็นปกติเมื่อเทียบกับกิจกรรมทั่วไปของบริษัท (2) ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำ และ (3) มีจำนวน ที่เป็นสาระสำคัญบริษัทจะต้องแยกแสดงรายการนี้ออกจากการดำเนินงาน ตามปกติเช่นกันผลการดำเนินงานของบริษัทสามารถจะแสดงได้หลายวิธี ดังนั้นรูปแบบของงบกำไรขาดทุนจึงแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าจะมีรายละเอียดมากน้อยแค่ไหนรวมทั้งการจัดลำดับของบัญชีต่าง ๆ ด้วย รายการที่มักปรากฏอยู่ในงบกำไรขาดทุน ได้แก่

รายได้หรือขาย แสดงถึงรายได้ที่มาจากการดำเนินธุรกิจหลักของบริษัทโดยทั่วไปแล้วคือการขายสินค้าและบริการทั้งหมดที่ขายให้กับลูกค้า รายได้ประเภทนี้จะแสดงด้วยมูลค่าหรือราคาขายก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ

รายได้อื่น เป็นรายได้ที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจหลักของบริษัท รายได้ประเภทนี้มักจะแสดงด้วยจำนวนที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับสุทธิจากต้นทุนที่เกี่ยวข้อง เช่น กำไรจากการขายเงินลงทุน กำไรจากการขายสินทรัพย์

ค่าใช้จ่าย คือ รายการที่หักออกจากรายได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักการรับรู้ค่าใช้จ่ายที่ได้กล่าวไปแล้ว ตัวอย่างเช่น ต้นทุนสินค้าที่ขาย ค่าใช้จ่ายในการขาย และบริหาร เป็นต้น

ต้นทุนขาย แสดงต้นทุนของสินค้าที่ซื้อมา หรือต้นทุนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป หรือต้นทุนค่าบริการ ซึ่งต้นทุนเหล่านี้จะเกี่ยวพันโดยตรงกับรายได้

ค่าเสื่อมราคา เป็นค่าใช้จ่ายซึ่งบางครั้งก็รวมไว้ในต้นทุนขาย แต่ บางครั้งก็แยกแสดงต่างหาก สำหรับผู้ผลิตสินค้าค่าเสื่อมราคาจะรวมอยู่ในต้นทุนขาย เพราะว่าสินทรัพย์ถาวรโดยเฉพาะโรงงาน และเครื่องจักร ส่วนมากจะใช้สำหรับการ ผลิตสินค้า ดังนั้นค่าเสื่อมราคาที่เกิดขึ้นจากโรงงาน และเครื่องจักรจึงถือเป็นต้นทุน ขายโดยตรงแต่สำหรับผู้ค้าปลีกและผู้ให้บริการจะรวมค่าเสื่อมราคาไว้ในค่าใช้จ่าย ในการขายและบริหารมากกว่าในต้นทุนขาย

ค่าใช้จ่ายในการขาย และบริหาร จะครอบคลุมรายการที่ไม่เกี่ยวกับการผลิตสินค้า เช่น เงินเดือนพนักงานขาย ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าวัสดุสำนักงาน เป็นต้น

กำไรขั้นต้น คือ ผลต่างระหว่างรายได้จากการขายกับต้นทุนขายของสินค้าหรือบริการ เป็นการวัดความสำเร็จของบริษัทในการรักษาส่วนต่าง ระหว่างรายได้กับต้นทุนการผลิต และ/หรือ ต้นทุนการซื้อสินค้าหรือบริการ

กำไรก่อนภาษี สะท้อนถึงกำไรของบริษัทหลังจากหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน บวกรายได้อื่น และหักรายจ่ายที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานของบริษัทแล้ว สำหรับบริษัท ที่มีผลการดำเนินงานขาดทุนไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

กำไรก่อนรายการพิเศษ (หากมีบัญชีรายการพิเศษ) แสดงผลกระทบของภาษีที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรปกติ

กำไรสุทธิ คือ รายได้ส่วนที่มากกว่าค่าใช้จ่าย ถ้าค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้ส่วนที่มากกว่าดังกล่าวจะเรียกว่า ขาดทุนสุทธิ

9.งบแสดงฐานะการเงิน

งบแสดงฐานะทางการเงิน หรือ งบดุล คืออะไร
         งบแสดงฐานะทางการเงิน หรือ งบดุล คืองบที่จะแสดงข้อมูลฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งของรอบบัญชี โดยจะแสดง สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆของ งบแสดงฐานะทางการเงิน ได้จาก สมการ

                   สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

                 สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่กิจการครอบครองอยู่และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต ซึ่งสินทรัพย์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
         1.สินทรัพย์หมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว หรือสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้ใช้ประโยชน์ภายในระยะเวลา 1 ปี
         2.สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่กิจการต้องถือไว้ยาวนานมากกว่า 1 ไม่ เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องน้อย เช่น ที่ดิน อาคาร เป็นต้น

          หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันของกิจการในปัจจุบัน เป็นภาระที่จะส่งผลให้กิจการเสียผลประโยชน์ทางทรัพยากรที่มีประโยชน์ในอนาคต แต่หนี้สินบางประเภทก็มีผลดีกับกิจการเช่น หนี้สินการค้า เพราะเป็นหนี้สินระยะสั้นไม่มีดอกเบี้ย ส่งผลทำให้กิจการมีประแสเงินสดหมุนเวียนในกิจการมากขึ้น โดยหนี้สินแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
         1.หนี้สินหมุนเวียน หมายถึง หนี้สินระยะสั้นที่ต้องชำระภายใน 1 ปี
         2.หนี้สินไม่หมุนเวียน หมายถึง หนี้สินระยะยาวที่ต้องใช้เวลาในหารชำระมากกว่า 1 ปี

          ส่วนของเจ้าของ หมายถึง ส่วนของเจ้าของกิจการที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินแล้ว

 ตัวอย่างงบแสดงฐานะทางการเงิน
         บริษัทดอยไทยดอทคอม มีสำนักงานราคา 500,000 บาท เงินสดอีก 1,000,000 บาท คอมพิวเตอร์และเฟอร์นิเจอร์ 250,000 บาท มีหนี้สินกับธนาคาร 550,000 บาท บริษัทดอยไทยดอทคอม จัดตั้งโดยมีหุ้นส่วน 2 คน โดยนายดอย และ นายไทย ร่วมหุ้นกันคนล่ะ 600,000 บาท

             สินทรัพย์ของบริษัทดอยไทยดอทคอม
                           สำนักงาน                                  500,000 บาท
                           เงินสด                                    1,000,000 บาท
                           คอมพิวเตอร์และเฟอร์นิเจอร์        250,000 บาท
                           รวม                                       1,750,000 บาท
             หนี้สิน
                           เงินกู้ธนาคาร                             550,000 บาท

          ส่วนของเจ้าของ
                           นายดอย                                  600,000 บาท
                           นายไทย                                  600,000 บาท
                           รวม                                      1,200,000 บาท

 แทนสูตรดูความสัมพันธ์

                          สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

แทนสูตร             1,750,000 = 550,000 + 1,200,000

            จากการแทนสูตรจะสังเกตได้ว่า หนี้สินรวมกับส่วนของเจ้าของ จะเท่ากับสินทรัพย์เสมอ

10.งบทดลองหลังปิดบัญชี

การปิดบัญชีและงบทดลองหลังปิดบัญชี


การปิดบัญชี (Closing  Entries)  หมายถึง  การโอนบัญชีที่เกี่ยวข้องกับบัญชีทุน  ซึ่งเป็นบัญชีชั่วคราว  ได้แก่  บัญชีถอนใช้ส่วนตัว ( หมวด 3 )

                        บัญชีรายได้ (หมวด 4)  และบัญชีค่าใช้จ่าย (หมวด 5)  ไปยังบัญชีทุน  เพื่อหายอดคงเหลือของบัญชีทุนที่ถูกต้อง ณ วันสิ้นงวดบัญชี

                        รวมทั้ง การหายอดคงเหลือของบัญชีสินทรัพย์  (หมวด 1 ) และบัญชีหนี้สิน  (หมวด 2 ) 

                                            ดังนั้น  หลังจากปิดบัญชีแล้ว  บัญชีที่เหลืออยู่ได้แก่  บัญชีสินทรัพย์  ( หมวด 1 )  บัญชีหนี้สิน  ( หมวด 2 ) และบัญชีทุน

                        ( หมวด 3 ) เพื่อยกไปยังงวดบัญชีถัดไป

การบันทึกรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป    

                          ทำในวันสิ้นงวดบัญชี   มี  4  ขั้นตอน   ดังนี้

              1.  โอนบัญชีรายได้ไปบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุน

              2.  โอนบัญชีค่าใช่จ่ายไปบัญชีสรุปผบกำไรขาดทุน

              3.  โอนกำไรสุทธิ/ขาดทุนสุทธิ  ( ผลต่างจากบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุน ) ไปบัญชีทุน

              4.  โอนบัญชีถอนใช้ส่วนตัวไปบัญชีทุน

การบันทึกรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป

              ขั้นตอนที่ 1                             Dr. รายได้                              xx

                                                                        Cr. สรุปผลกำไรขาดทุน                               xx

                                                     โอนบัญชีรายได้ ไปบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุน

              ขั้นตอนที่ 2                            Dr. สรุปผลกำไรขาดทุน           xx

                                                                        Cr. ค่าใช้จ่ายรายการที่ 1                              xx

                                                                                ค่าใช้จ่ายรายการที่ 2                              xx

                                                      โอนบัญชีค่าใช้จ่ายไปบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุน

                ขั้นตอนที่ 3                          Dr. สรุปผลกำไรขาดทุน (ขั้นตอนที่1 - ขั้นตอนที่2 )                 xx

                                                                       Cr. ทุนเจ้าของกิจการ                                                                                   xx

                                                      โอนกำไรสุทธิไปบัญชีทุน

                                          หรือ              Dr. ทุน -เจ้าของกิจการ (ขั้นตอนที่2 - ขั้นตอนที่1)                xx

                                                                      Cr. สรุปผลกำไรขาดทุน                                                                             xx

                                                      โอนกำไรสุทธิไปบัญชีทุน

                ขั้นตอนที่ 4                         Dr. ทุน- เจ้าของกิจการ                     xx

                                                                    Cr. ถอนใช้ส่วนตัว/เงินถอน - เจ้าของกิจการ                       xx

                                                      โอนบัญชีถอนใช้ส่วนตัว/เงินถอน - เจ้าของกิจการ       

งบทดลองหลังปิดบัญชี (Post - closing  trial  balance)  คือ  งบทดลองที่ทำขึ้นหลังจากที่กิจการปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว  ประกอบ

                                                            ด้วยบัญชีหมวดสินทรัพย์  หมวดหนี้สินและหมวดส่วนของเจ้าของ เท่านั้น  ซึ่งยอดคงเหลือที่ยกไปในงวดบัญชี

                                                             ถัดไป  งบทดลองหลังปิดบัญชีจะต่างจากงบทดลองก่อนปิดบัญชีตรงที่งบทดลองก่อนปิดบัญชีจะแสดง

                                                             รายการครบทั้ง  5  หมวด

วงจรบัญชี (Accounting  cycle)  หมายถึง  ขั้นตอนในการจัดทำบัญชีเรียงตามลำดับตั้งแต่ต้นจนจบ  การกำหนดวงจรบัญชี  นักบัญชีแต่ละคน                                                         อาจจะกำหนดขั้นตอนไม่เท่ากันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแนวคิดของแต่ละคน  ในที่นี้วงจรบัญชีจะแบ่งเป็น 8 ขั้นตอน  ดังนี้

11.สรุปวงจรบัญชี