พระพุทธรูปปางมารวิชัย ข้อคิด

พระพุทธรูปปางมารวิชัย ข้อคิด

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้ชม 1,427

[16.4880015, 99.520214, พระพุทธรูปปางมารวิชัย]

ลักษณะ
           พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งสมาธิราบบนฐานหน้ากระดานเรียบ ลักษณะพระพักตร์แสดงเอกลักษณ์ทางศิลปกรรมของช่างฝีมือกำแพงเพชรโดยเฉพาะ คือ พระนลาฏกว้าง พระหนุเสี้ยม พระขนงโก่งต่อกันเหนือสันพระนาสิก พระเนตรเรียวและเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่งปลายงุ้มเล็กน้อย ขอบพระโอษฐ์ด้านบนบาง ฝีพระโอษฐ์ล่างหนาเต็มอิ่ม อมยิ้มเล็กน้อยแฝงพระเมตตาก่อให้เกิดความรู้สึกสงบร่มเย็นต่อผู้พบเห็น พระกรรณยาว ปลายพระกรรณโค้งงอนเล็กน้อย ขมวดพระเกศาเล็ก พระอุษณีษะทำเป็นต่อมนูนใหญ่ทรงมะนาวตัด พระรัศมีรูปเปลวเพลิง ส่วนยอดของเปลวรัศมีชำรุดหักไปเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นหระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายจีวรบนพระอังสาซ้ายได้ยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายชายจีวรตัดตรง พระหัตถ์ซ้ายวางหงายเหนือพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชงฆ์ ปลายนิ้วพระหัตถ์ชี้ลงเบื้องล่างเพื่อเรียกพระแม่ธรณีมาเป็นพยานว่า ในชาติก่อนๆ พระองค์ได้สั่งสมบำเพ็ญบารมีมาเพียงพอที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาตินี้ แม่พระธรณีจึงบีบมวยผมหลั่งน้ำออกมาไหลท่วมเหล่ามาร

การเดินทาง
           ตั้งงอยู่ระหว่างโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม กับพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ (เรือนไทย)  ฝั่งตรงข้ามกับวัดพระธาตุ  ตำบลในเมือง  อำเภอเมืองกำแพงเพชร  จังหวัดกำแพงเพชร  ภายในเขตเมืองเก่ากำแพงเพชร

ราคา/ค่าเข้าชม/ค่าทำเนียม
            ชาวไทย 20 บาท  ชาวต่างชาติ 100 บาท  ยกเว้นนักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ  นักบวชทุกศาสนา  คนพิการ  และผู้สูงอายุ  (60 ปีขึ้นไป)

วันและเวลาทำการ
            09.00-16.00 น.  วันพุธ – วันอาทิตย์  (หยุดวันจันทร์  วันอังคาร  และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

หน่วยงานที่รับผิดชอบ
            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร

ภาพโดย :   http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet

คำสำคัญ : พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ที่มา : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระพุทธรูปปางมารวิชัย. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=335&code_db=610012&code_type=01

พระพุทธรูปปางมารวิชัย ข้อคิด

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=335&code_db=610012&code_type=01

 เมื่อเราสามารถเอาชนะกิเลสมารได้ เราจะกลายเป็นคนไม่เห็นแก่ตัว คนที่ไม่เห็นแก่ตัว ย่อมทำงานเพื่อส่วนรวมได้มากขึ้น สังคมก็จะสงบสุขเพราะมีคนเห็นแก่ตัวน้อย พระพุทธเจ้า พระเยซู และอีกมากมายในประวัติศาสตร์ คือบุคคลเหล่านั้นที่เคยใช้ชีวิตเป็นแบบอย่างแห่งความไม่เห็นแก่ตัว

��оط��ٻ�ҧ����Ԫ�� �Ѵ���વؾ� �����ѧ������ �Ҫ���������� ��ا෾��ҹ�� ��оط��ٻ����㹾�������Һ���зѺ ( ��� ) �Ѵ��Ҹ� ����ѵ������ҧ˧�º������� ( �ѡ ) ����ѵ�����ҧ����Ъҹ� ( ��� ) ���Ǿ���ѵ����ŧ��鹸ó� �ҧ��觷��ٻ����иóչ�觺պ��¼���Сͺ �������ҧ�繾�л�иҹ㹾�����ʶ

�������Ңͧ�ҧ����Ԫ��

��з���к��⾸��ѵ���зѺ � ⾸Ժ���ѧ�� ���������ѵ�ջ�зѺ����ѧ��ҧ����������٧ ��� �ª�� ¡�Ѿ�����¨з���¤������âͧ���ͧ�� ���������Ե��ҧ�٧�˭�����͹Ѻ�ѹ�����ʵ���ظ����� ��������ʹ�����ҡ����״�����ǴԹ ������Ǵҷ������˹����� ���к��⾸��ѵ��������Ҵ���� �ǡ��ëѴ��ʵ���ظ�������к��⾸��ѵ�� ����ʵ���ظ����ҹ�鹡����繺ػ����������� �������ѧ����Ƿ֡�ѡ��� �ѵ�����ѧ���繢ͧ�� ��к��⾸��ѵ�� �ç�������� �ѵ�����ѧ�����Դ�Ҵ��ºح�����ͧ�����������ҧ��͹ �����������иó��繾�ҹ ����иó���������¼��պ��� ��Ǵ�ط�ȼźح�ҡ��÷ӷҹ�ͧ��к��⾸��ѵ�������žѴ����������仨����

พระพุทธรูปปางมารวิชัย (ชนะมาร)

พระพุทธรูปปางมารวิชัย ข้อคิด

       พระพุทธรูปมารวิชัย หรือพระพุทธรูปชนะมาร หล่อด้วยสำริด ประทับขัดสมาธิเพชร พระบาททั้งสองไขว้กัน และเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฝ่าพระบาทเรียบเสมอกัน พระรัศมีเป็นเปลว พระศกขมวดเป็นก้นหอย มีเส้นขอบไรพระศก พระพักตร์กลม พระขนงโก่ง พระเนตรเรียว ฝังมุกและนิล พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เล็กหยักเป็นคลื่น พระวรกายอวบอ้วน พระอุระนูน บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายผ้าสังฆาฏิสั้นเป็นรูปหางปลาอยู่เหนือพระถัน ประทับเหนือฐานสามเหลี่ยม หน้าพระเพลามีชายจีวรคลี่เป็นแฉกคล้ายรูปพัด 

       จากรูปแบบศิลปกรรมสามารถกำหนดอายุว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง พุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ พระพุทธรูปศิลปะอยุธยากลุ่มนี้ สร้างขึ้นโดยได้รับอิทธิพลทางจากศิลปะสุโขทัยและล้านนา กล่าวคือ มีรัศมีเป็นเปลว แบบพระพุทธรูปสุโขทัย มีพระวรกายที่อวบอ้วน มีชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ขัดสมาธิเพชร และที่หน้าพระเพลามีชายจีวรคลี่เป็นรูปพัดแบบพระพุทธรูปล้านนา ในขณะเดียวกันมีลักษณะที่แสดงรูปแบบของพระพุทธรูปศิลปะอยุธยา คือ มีเส้นขอบพระเนตรกับพระขนงป้ายเป็นแผ่นวงโค้ง มีเส้นขอบไรพระศก และพระโอษฐ์หยักเป็นคลื่น ผสมผสานจนเกิดเป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธรูปศิลปะอยุธยา โดยสามารถศึกษาเปรียบเทียบกับกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาตอนกลาง ที่พบในพระอุระและพระพาหาของพระมงคลบพิตร ซึ่งพระพุทธรูปเหล่านั้น ล้วนสร้างขึ้นก่อนถูกนำมาบรรจุในพระอุระและพระพาหาขององค์พระมงคลบพิตรในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒  การพบรูปแบบพระพุทธรูปแบบศิลปกรรมสุโขทัยและล้านนา  ปรากฏในพระพุทธรูปสมัยอยุธยาองค์นี้ เป็นหลักฐานสำคัญว่าช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ อยุธยามีความสัมพันธ์กับหัวเมืองทางเหนือ ได้แก่ สุโขทัยและล้านนา

       สำหรับคติการสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย แสดงพุทธประวัติเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงสามารถชนะพระยามารที่ยกพลมาผจญพระองค์ และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งแสดงสัญลักษณ์โดยวางพระหัตถ์ขวาเหนือพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงสู่พระธรณีเป็นกิริยาเรียกพระแม่ธรณีขึ้นมาเป็นพยานในพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญมา พระแม่ธรณีจึงปรากฏกายขึ้นและบีบน้ำที่ทรงรดสรงในการบำเพ็ญทานในอดีตชาติ อันนับประมาณมิได้ จนท่วมทัพของพรยามารพ่ายแพ้ไป การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าถือเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ เหนือกว่าชัยชนะทั้งปวงของพระองค์  โดยนัย การบูชาพระพุทธรูปองค์นี้ จึงบูชาเพื่อชัยชนะทั้งทางโลกและทางธรรม ในทางโลกคือชัยชนะเหนือศัตรู ทางธรรมคือชัยชนะเหนือกิเลสทั้งปวง

 

เอกสารอ้างอิง

สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะอยุธยา, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๔๔.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์, พระพุทธรูปสำคัญและพุทธศิลป์ในดินแดนไทย, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๔.

(จำนวนผู้เข้าชม 17126 ครั้ง)