มารยาทในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟต์ หมายถึง

          มารยาทในการรับประทานอาหาร ทั้งแบบสากลและแบบไทยแท้ ๆ มีอะไรที่เราควรทราบไว้บ้าง เพื่อจะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม มาดูกันเลย

 

มารยาทในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟต์ หมายถึง
 
มารยาทในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟต์ หมายถึง
 
มารยาทในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟต์ หมายถึง

ว่าด้วยเรื่องการทานบุฟเฟต์ นอกจากกินได้ไม่อั้นแล้ว เราควรมีมารยาทในการทานด้วย เช่น ตักมาแต่พออิ่ม ทานไม่ให้เหลือ… หรือบางร้านอาจจะมีกฎระเบียบเฉพาะ ดังนั้น เวลาเข้าร้าน ลองสังเกตป้ายต่างๆ ให้ดี เพื่อผลประโยชน์ของตัวคุณเอง

อย่างร้านนี้ มีการขึ้นมารยาทในการทานบุฟเฟต์อย่างชัดเจน และละเอียด ว่าลูกค้าต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งมีมากถึง 9 ข้อเลยทีเดียว ดูเหมือนจะเยอะเนอะ แต่อย่าเพิ่งวีน มาดูรายละเอียดแต่ละข้อก่อน

 

มารยาทในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟต์ หมายถึง

 

ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ P’nid Jung บอกว่านี่เป็นมารยาทในการทานอาหารบุฟเฟต์ที่ร้าน เอเชีย บุฟเฟต์ ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร

โดยเธอถ่ายมาลงพร้อมแคปชั่นว่า ‘จะบอกว่าชอบจังเลย อิอิ…เรียนผู้บริหาร อยากให้ไปเปิดที่กรุงเทพด้วยค่ะ ลูกค้าแน่นแน่นอน’

1. ไม่วู่วามสั่งด้วยอารมณ์หิว เพราะมันจะทำให้เราเสียใจภายหลังได้

2. ค่อยๆ สั่งก็ได้ เพราะมีเวลา 2.30 ชม. เหลือเฟือ เพราะโต๊ะไม่มีที่จะวาง

3. ทานได้เต็มที่ ทานได้เท่าไหร่ ทางร้านไม่อั้นอยู่แล้ว อย่าทานทิ้งขว้าง ใจเขาใจเรา ถ้าเป็นร้านของเรา แล้วลูกค้าทานทิ้งขว้าง เราจะรู้สึกอย่างไร

4. อาหารบางรายการ ทางร้านเราจานค่อนข้างใหญ่ แนะนำสั่งอย่างละ 1 ก่อน ถ้าอร่อยชอบใจ สั่งเพิ่มเติมได้ เราไม่หวง

 

มารยาทในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟต์ หมายถึง

 

5. ถ้าทั้งโต๊ะเริ่ม ฉันไม่ได้สั่ง ให้หยุดสั่งทันที ไม่งั้นจะแก้ไขสถานการณ์ไม่ทัน ให้นั่นตัวตรงสัก 10 นาที อาจทานต่อได้

6. ถ้าทานไม่หมด รับสารภาพแต่โดยดี ทางร้านอาจจะให้อภัย (ห้ามหมก)

7. ไม่ต้องสั่งเผื่อให้กัน โตแล้วสั่งเองได้

8. ถ้าทานไม่หมด โดนทางร้านปรับ เราต้องไม่โกรธ แต่ควรโทษตัวเราเอง

9. เหลือท้องไว้ทานของขวานบ้างนะ ข้าวเหนียวมะม่วงร้านนี้อร่อยมาก

 

มารยาทในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟต์ หมายถึง

 

เป็นไงล่ะ อ่านเพลินเลยสิ เรียกได้ว่าเป็นมารยาทการทานบุฟเฟต์ ที่หลายคนถูกใจมาก

จริงๆ นี่ไม่ใช่แค่มารยาทการทานบุฟเฟต์ แต่ในแต่ละข้อ มีข้อแนะนำให้ลูกค้าด้วย ว่าควรทำยังไงในสถานการณ์ต่างๆ เช่น แบบไหน ถึงจะเรียกว่าอิ่ม อิ่มแล้วต้องทำยังไง ทานเหลือต้องทำยังไง เป็นต้น

ส่วนตัว #เหมียวขี้ส่อง ถูกใจข้อ 5 … เมื่อไหร่ก็ตามที่คนบนโต๊ะบอก ‘ไม่ได้สั่ง’ เมื่อนั้นแหละ เราควรหยุดสั่ง 5555

ด้วยความที่คนไทยถือเรื่องกินเป็นรื่องใหญ่ จึงทำให้ธุรกิจเกี่ยวกับร้านอาหารเปิดตัวกันเป็นว่าเล่นราวกับว่าไม่กลัว "เจ๊ง" คงคิดกันว่าขายได้อยู่แล้ว ขอเพียงทำเลดีหน่อยบวกกับกลยุทธ์ที่ต้องงัดกันออกมาประกวดประชัน โชว์กลเม็ดเด็ดพรายเพื่อดึงและดูด (เงิน) ลูกค้าให้ได้มากที่สุด และกลยุทธ์อีกอย่างหนึ่งที่นิยมใช้กันเห็นได้ชัดทั่วไปคือ "บุฟเฟ่ต์" พูดกันง่ายๆ ว่า กินให้ตายกันไปข้างหนึ่ง
          ทั้งนี้ทุกอย่างในโลกล้วนมีกฎ กติกา มารยาท ทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่เรื่องรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ ซึ่งวันนี้ผมอยากจะมาแนะนำ มาแบ่งปันความรู้ให้กับท่านผู้อ่าน ในสิ่งที่เราควรปฏิบัติ เมื่อรับประทานอาหารสไตล์บุฟเฟ่ต์ด้วยเทคนิค กฎ กติกา มารยาท ซึ่ง โค้ชโด่ง-ฐาณัท โชติรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องมารยาทการรับประทานทั้งตะวันออกและตะวันตกได้แนะนำคือ
          1. รอเจ้าภาพ ถ้าหากเป็นงานเลี้ยงสไตล์บุฟเฟ่ต์ควรอดใจรอสักนิด ให้เจ้าภาพเปิดงานหรือรอให้พิธีกรกล่าวเริ่มก่อนที่จะรี่เข้าไปตักอาหาร
          2. เดินสำรวจ ก่อนที่จะตักอาหารควรเสียเวลาสักนิดในการเดินสำรวจว่าในไลน์บุฟเฟ่ต์มีอาหารอะไรบ้าง เพราะส่วนใหญ่เราก็อยากทานไปเสียหมด หากไม่เดินสำรวจเสียก่อน เราอาจอิ่มก่อนที่จะมาเจอของโปรดก็ได้
          3. อย่าหยิบจานให้ผู้อื่น เนื่องจากคนไทยเราเป็นคนจิตใจดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่คนอื่นเสมอเราจึงนึกถึงผู้อื่นแต่อย่าเอาความมีน้ำใจไปหยิบจานให้ผู้อื่นโดยเด็ดขาดเมื่อรับประทานอาหารสไตล์บุฟเฟ่ต์ เนื่องจากคอนเซ็ปต์ในการรับประทานอาหารสไตล์บุฟเฟ่ต์คือ การบริการตนเอง (Self Service) และที่สำคัญคือ ในเรื่องของความสะอาดและถูกสุขลักษณะซึ่งเราอาจไม่เคยคิด เพราะเรามีความตั้งใจดี แต่คนอื่นเขาอาจคิดเพียงแค่เขาไม่พูด
          4. อดทนรอ เนื่องจากเป็นการบริการตนเองทุกคนจะมาเข้าแถวกันยาวเหยียด ดังนั้นจึงควรเข้าใจธรรมชาติอย่าหงุดหงิดง่ายหรือแสดงอาการอารมณ์เสียเมื่อคนที่อยู่หน้าท่านนั้นช้าไปสักนิด และเช่นเดียวกันหากท่านตักอาหารอยู่โปรดเห็นใจคนข้างหลังหน่อย เร่งมือสักนิดคงดี อย่าใช้เวลา "พิจารณา" อาหารนานเกินเหตุ ที่สำคัญอย่าแซงคิวเป็นอันขาด มิฉะนั้นอาจเกิดสงครามอาหารย่อมๆ ได้ และเมื่อมีคนตักอาหารอยู่ อย่าไปตักอาหารร่วมด้วย รอให้เขาตักให้เสร็จเสียก่อน
          5. ห้ามชิม โดยเด็ดขาด เราอาจคิดว่า ต้องยืนชิมก่อน ไม่อร่อยจะได้ไม่ตัก ไม่เสียของ ไม่ต้องชิม ถ้าเห็นแล้วอยากทานก็ตักมานิดหน่อย พอประมาณ แล้วเดินต่อไป อย่ายืนชิมในไลน์บุฟเฟ่ต์ดูไม่งาม ที่สำคัญขณะที่ชิม อาจมีน้ำลายกระเด็นจากปากของคุณลงไปในอาหารก็ได้
          6. อย่าถึงกับขนาด ยัด สั่น แน่น พูน ล้น ตักแต่พอควรให้ดูสวยงามอย่าเนรมิตภูเขาหิมาลัยบนจานอาหาร ทำให้ไม่น่าดู เมื่ออาหารที่ตักมาแล้วหมด และหากติดใจกลับไปตักใหม่ได้ ไม่ผิดกติกาแล้วเขาไม่คิดเงินเพิ่ม อีกอย่างคือ อย่าตักสองสามจานในเวลาเดียวกัน แล้วบอกคนที่รอคิวข้างหลังว่า "เอาไปให้เพื่อน"มุกนี้เขาไม่ใช้กันแล้ว ทุกคนต้องมาตักเอง
          7. ใช้จานใหม่ตักทุกครั้ง เมื่อต้องการตักอาหารเพิ่มควรเดินไปตัวเปล่า ไม่ต้องเอาจานที่ใช้แล้วไปตักอีก พนักงานบริการจะมาเก็บจานที่ใช้แล้วบนโต๊ะเอง ไม่ว่าคุณจะรักษ์โลกมากเพียงไดก็ตาม การนำจานที่ใช้แล้วไปตักอาหารเพิ่มจะดูไม่งาม ไม่ถูกสุขลักษณะ และอีกอย่างเรื่องจานคือจานใหญ่ใช้กับอาหารหลัก อาหารคาว จานเล็กไว้ใช้กับของหวานและผลไม้ อย่าใส่จานสลับกัน การเอาจานใหญ่ไปใส่ของหวานและผลไม้แล้วบอกว่าเอาไปเผื่อเพื่อนมุกนี้เลิกเถอะ
          8. อย่าเริ่มต้นด้วยของหวาน เนื่องจากคำนวณดูแล้วว่า แถวยาว อีกนานคงได้ตักอาหาร เลย "หัวหมอ" ไปตักของหวานและผลไม้ก่อน โดยทั่วไปแล้วการเตรีมอาหารแบบบุฟเฟ่ต์นั้น ทางโรงแรมหรือเจ้าภาพ จะเตรียมอาหารจานหลัก อาหารคาวมากกว่าของหวานและผลไม้ เนื่องจากแขกที่มาส่วนใหญ่อิ่มจากของคาว อาหารจานหลักพอสมควรแล้ว ดังนั้นจะเตรียมอาหารหวานและผลไม้มาในปริมาณ ที่น้อยกว่า มิฉะนั้นทำให้อาหารเหลือบานเบอะ แต่ถ้าเราไปตักผลไม้หรือของหวานก่อน อาจทำให้ผลไม้หรือของหวานไม่เพียงพอแน่นอน หากแต่คนสองคนไปตักผลไม้หรือของหวานก่อนก็ไม่เป็นปัญหาอะไร หากแต่ถ้าเป็นจำนวนมากจะเกิดปัญหาเรื่องของไม่พอแน่นอน
          9. อย่าห่อกลับบ้าน อาหารบุฟเฟ่ต์นั้นเป็นอาหารประเภทหนึ่งอิ่ม หนึ่งมื้อเท่านั้น ดังนั้นไม่มีการขอถุงหรือห่อกลับบ้านโดยเด็ดขาด ถึงแม้เป็นอาหารที่คุณตักมาแล้วและทานไม่หมดก็ตาม ไม่ต้องกลัวเขาว่าตักมาทิ้งและห้ามแอบห่อทิชชูแล้วใส่กระเป๋าด้วย อย่าลืมว่า กำแพงมีหู ประตูมีช่อง และมีตาเป็นสับปะรดด้วย คุณมีตาแค่คู่เดียวแต่อีหลายสิบคู่ดูคุณอยู่ อย่าให้พนักงานมาทัก คุณจะอายเขาเปล่าๆ
          10.สินน้ำใจ หรือทิป หลายคนไม่ให้ความสำคัญ เพราะถือว่าเป็นบุฟเฟ่ต์ต้องบริการตนเอง แต่อย่าลืมว่าพนักงานบริการต้องคอยเก็บจานที่ใช้แล้ว แล้วเมื่อคุณกลับบ้านไปด้วยความอิ่มแปร้พนักงานบริการนี่แหละต้องตาม ล้าง ตามเช็ด ทำคามสะอาดบนโต๊ะอาหารของคุณ หลายคนคิดว่า มีค่าเซอร์วิสชาร์จ อยู่แล้วไม่ต้องให้ก็ได้ พนักงานบริการเขาเงินเดือนน้อย อยู่ได้ด้วยทิปด้วยสินน้ำใจของท่านนี้แหละ
          กฎ กติกา มารยาท 10 ข้อ ในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์รับรองว่าหากคุณทำได้ทั้ง 10 ข้อ คุณจะเพลิดเพลินในการรับประทานอาหาร โดยไม่ต้องกังวลต่อสายตาผู้ร่วมรับประทานอาหารท่านอื่นอย่างแน่นอน (Fanpage :Coachdoengdotcom และ http://www.facebook.com/coachdoengdotcom)