จดทะเบียนบริษัท คนเดียว 2564

จดทะเบียนบริษัท คนเดียว 2564

ในช่วงที่ผ่านมา คนที่ตัดสินใจจดทะเบียนบริษัทมักจะมีข้อจำกัดเรื่องของการที่ต้องมีหุ้นส่วนไม่น้อยกว่า 3 คน
ประกอบกับความรู้สึกไม่มั่นใจว่าจะจดดีไหม วันนี้ถือว่าโอกาสมาแล้วครับ เพราะว่าทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้
ออกร่างพระราชบัญญัติบริษัทจำกัดคนเดียวฉบับล่าสุดมาให้เราได้ให้ความเห็นกัน (สำหรับคนที่อ่านบทความใน
ตอนนี้ ต้องบอกว่าน่าเสียดายมากๆ ครับ เพราะว่าการให้ความเห็นเรื่องนี้สิ้นสุดไปตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้วครับ)
แต่ไม่เป็นไรครับ ไม่ว่าจะอย่างไร ผมก็ยังทำหน้าที่เหมือนเช่นเดิม คือ สรุปหลักการจดทะเบียนบริษัทคนเดียวมา
ฝากกันแบบง่ายๆ โดยอ้างอิงจากร่างกฎหมายที่เปิดให้ความเห็นฉบับล่าสุดนี้ เอาละ! ถ้าพร้อมแล้ว เริ่มกันเลย
ดีกว่าครับผม

1. เจ้าของคนเดียวก็จดทะเบียนได้ แต่จดได้แค่บริษัทเดียวนะ
โดยร่างกฎหมายฉบับนี้เขียนไว้ตามมาตรา 11 ว่า บริษัทจำกัดคนเดียวคือบริษัทที่ตั้งขึ้นด้วยความประสงค์จะแสวง
หากำไรโดยมีเจ้าของทุนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียวซึ่งรับผิดจำกัดไม่เกินทุนจดทะเบียนของบริษัท ซึ่งหลักการ
ตรงนี้เหมือนกันกับการจดบริษัทจำกัดทั่วไปครับ
ส่วนมาตรา 12 ระบุไว้ว่า บุคคลจะเป็นเจ้าของทุนในบริษัทเกินกว่าหนึ่งบริษัทในเวลาเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นไป
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง นั่นแปลว่า คนหนึ่งคนจะมีได้เพียงแค่หนึ่งบริษัทเท่านั้น
ถ้าหากจะมีบริษัทใหม่ก็ต้องปิดบริษัทเดิมก่อนครับ
จะเห็นว่า ประโยชน์ของการมีบริษัทจำกัดคนเดียวนั้น ทำให้สามารถจดทะเบียนได้ง่ายขึ้นครับ และลดปัญหา
การทะเลาะกันหรือตกลงกันไม่ได้ระหว่างผู้ถือหุ้น รวมถึงจูงใจให้คนเข้าสู่ระบบภาษีได้อย่างถูกต้องมากขึ้นอีกด้วยครับ

2. จดแล้วจะได้รับชื่อว่า บริษัท...จำกัด (คนเดียว)
การจดทะเบียนแบบเจ้าของคนเดียวนั้น เราสามารถตั้งชื่อบริษัทยังไงก็ได้ครับ แต่จะมีคำลงท้ายในชื่อบริษัทจำกัด
(คนเดียว) อย่างเช่น นาย A อยากจดบริษัทของตัวเองขึ้นมา แล้วตั้งชื่อว่า บริษัท A จำกัด (คนเดียว) แบบนี้ก็ได้
เลยครับผม

3. ทุนของบริษัทไม่จำกัด จะเป็นเงินหรือทรัพย์สินก็ได้
ทุนของบริษัทจะเป็นแบบไหนยังไงก็ได้ครับ ทั้งเงินหรือทรัพย์สิน แต่ถ้าเป็นเงินต้องมีการชำระเต็มจำนวนเท่านั้น
ส่วนถ้าเป็นทรัพย์สิน ทางเจ้าของต้องมีการตีราคาตามเกณฑ์ที่ถูกต้องด้วยครับ
เนื่องจากมาตรา 14 ระบุไว้ว่า กรณีชำระทุนจดทะเบียนเป็นตัวเงิน เจ้าของทุนต้องชำระเต็มจำนวนก่อนการขอ
จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ซึ่งกรณีชำระทุนจดทะเบียนเป็นทรัพย์สินอื่นนอกจากตัวเงิน เจ้าของทุนต้องโอนทรัพย์สิน
นั้นให้แก่บริษัทภายใน 90 วันนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทอีกด้วยครับ ซึ่งถ้าหากทำไม่ถูกต้อง
ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ก็อาจจะมีปัญหาได้ครับผม

4. สามารถแปรสภาพเป็น ‘บริษัทจำกัด’ ในอนาคตได้
หากต้องการมีหุ้นส่วนเพิ่ม ก็สามารถแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดได้ แต่องค์ประกอบต้องครบตามเงื่อนไขของ
บริษัทจำกัดตามกฎหมายครับ โดยมาตรา 38 ระบุไว้ว่า บริษัทอาจแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดได้โดยแบ่งทุนเป็น
หุ้นมีมูลค่าเท่าๆ กัน และจัดให้มีผู้จองหุ้นให้ครบเป็นองค์ประกอบในการจัดตั้งบริษัทจำกัดครับ และต้องมีหนังสือ
บอกกล่าวไปยังบรรดาผู้ซึ่งบริษัทรู้ว่าเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท บอกให้ทราบถึงความประสงค์ที่จะแปรสภาพอีกด้วยครับ
และหากแปรสภาพจากบริษัทจำกัดคนเดียวเป็นบริษัทจำกัดแล้ว ให้บริษัทเดิมหมดสภาพไปได้เลย และตัว
บริษัทจำกัดจะได้ทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของบริษัทเดิมทั้งหมดเลยครับ (ตามมาตรา 43)

5. จดแล้วต้องทำบัญชี สอบบัญชี และมีการส่งงบการเงินตามกฎหมาย
ร่างกฎหมายยังระบุให้ต้องมีการจัดทำบัญชี สอบบัญชี และนำส่งงบการเงินตามกฎหมายเหมือนกับบริษัทจำกัด
ทั่วไปเลยครับ โดยมีการเปิดช่องไว้เล็กๆ ในมาตรา 28 และ 29 ในกรณีที่จะมีข้อยกเว้นไม่ต้องนำส่งได้ แต่ตรงนี้
ต้องดูแนวปฏิบัติและข้อบังคับของกฎหมายอีกทีหนึ่งครับ
นอกจากนั้น ตัวเจ้าของบริษัทจำกัดคนเดียว สามารถกำหนดให้มีผู้จัดการดูแลกี่คนก็ได้ครับ ทั้งจะบริหารจัดการเอง
แต่งตั้งคนอื่นบริหารร่วม หรือให้คนบริหารร่วมกันอีกกี่คนก็ได้ครับ (มาตรา 22 และ 23)

โดยรวมแล้วในมุมมองของผม คิดว่ามีประโยชน์กับทางนักบัญชีในแง่หนึ่งตรงที่เป็นการเพิ่มโอกาสใน
การหาลูกค้าและยกระดับการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลไทย อย่างไรก็ดี เราต้องรอกฎหมายฉบับเต็ม
ออกมาอีกทีหลังจากผ่านร่างแล้วว่าจะเป็นอะไรยังไงแบบไหน ซึ่งถ้าหากมีอะไรใหม่ๆ ผมจะรีบมาแจ้ง
ให้ทราบกันนะครับ 



ภาษี : Tax Knowledge : TAXBugnoms
วารสาร : CPD&ACCOUNT มกราคม 2562
จดทะเบียนบริษัท คนเดียว 2564

จดทะเบียนบริษัท คนเดียว 2564

คำถามสำคัญที่คนมักสงสัยกันคือ หากจะเริ่มก่อตั้งบริษัท หรือ จดบริษัทใช้เงินเท่าไหร่ แล้วถ้าหากไม่มีเงินสักบาทจดบริษัทได้หรือไม่ คำตอบแบบสั้นๆ ก็คือ “ได้ค่ะ”

 

หาก “กำไร” คือหัวใจของการทำบริษัท ส่วน “ทุน” จะถือว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงบริษัทก็คงไม่ผิดนัก ซึ่ง “ทุน” ในที่นี่หมายถึง ทุนจดทะเบียนบริษัท หรือเงินที่ผู้ก่อตั้งบริษัททั้งหมดตกลงกันว่าจดบริษัทใช้เงินเท่าไหร่ในการลงทุนก้อนแรก เพื่อเริ่มดำเนินกิจการ รวมถึงต้องแจ้งข้อมูลไว้ตอนจดทะเบียนบริษัท โดยตัวเลขของทุนจดทะเบียนดังกล่าวก็จะมีปรากฏอยู่บนหนังสือรับรองบริษัทของเราด้วย นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า บริษัทมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ยิ่งทุนจดทะเบียนสูงความน่าเชื่อถือก็สูงตามไปด้วย

 

ณ วัน จดบริษัทใช้เงินเท่าไหร่

โดยปกติเมื่อกิจการตัดสินใจเปิดบริษัท ส่วนใหญ่จะนิยมใช้บริการสำนักงานบัญชีให้ช่วยดำเนินการประสานงานให้ เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ทำให้ทุกขั้นตอนรวมถึงเรื่องเงินทุนง่ายขึ้น ซึ่งตอนยื่นขอจดบริษัทนั้นางกรมพัฒน์ไม่ได้ใจร้ายถึงขนาดที่ว่า เราต้องมีทุนจริงเท่ากับทุนจดทะเบียนที่ตั้งไว้ตั้งแต่วันแรก แต่จดบริษัทใช้เงินเท่าไหร่ จะมีกำหนดไว้ว่า ณ วันจัดตั้งบริษัทต้องชำระเงินทุนเข้ามาในบริษัท เบื้องต้นอย่างน้อย 25% ของทุนทั้งหมด สมมุติแจ้งทุนจดทะเบียนไว้ 1,000,000 บาท ก็ต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 25% เป็นจำนวนเงิน 250,000 บาท

 

จดบริษัทใช้เงินเท่าไหร่ ถ้าไม่มีเงินสักบาทจดบริษัทได้หรือไม่

เวลาที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร จะไม่ได้มีการเช็กเงินสด หรือเงินฝากธนาคารที่ชำระทุนเข้าบริษัทจริง แต่จะขอดูเอกสารใบรับชำระค่าหุ้น ณ ตอนส่งเอกสาร เพราะฉะนั้น จดบริษัทใช้เงินเท่าไหร่ หรือแม้ว่าจะไม่มีเงินสักบาทเลยก็ตาม เราก็สามารถขอจดทะเบียนบริษัทได้ค่ะ (ทั้งนี้ยังต้องมีค่าธรรมเนียมในการจดบริษัทนะ อยู่ที่ประมาณ 6 พันบาท)  

 

แต่ในกรณีที่ทุนจดทะเบียนเกิน 5,000,000 บาท หรือมีชาวต่างชาติร่วมถือหุ้นในบริษัทด้วย จะต้องมีเงินทุนจริงๆ ตั้งแต่ ณ วันจดบริษัท เนื่องจากถ้าเข้าตามเกณฑ์ข้างต้น จะมีการตรวจสอบเงินทุนที่ชำระ โดยผู้ขอจดทะเบียนจะต้องยื่นหลักฐานว่ามีเงินจริงตามที่จดทะเบียน เพื่อป้องกันการแอบอ้างจดทะเบียนบริษัทด้วยทุนหลายร้อยล้านบาทให้ดูมีความน่าเชื่อถือ แล้วไปหลอกลวงประชาชน จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบ

 

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะไม่มีการตรวจสอบทุนจริง ณ ตอนขอจดทะเบียน แต่ก็ควรมีทุนจริงตามที่แจ้งขอไป เพราะนอกจากต้องใช้เงินทุนในการดำเนินกิจการของบริษัทแล้ว ก็อาจมีการตรวจสอบทุนดังกล่าวจากผู้ตรวจสอบบัญชีภายหลังจากปิดงบสิ้นปีด้วยเช่นกันค่ะ

 

ควรจดบริษัทด้วยทุนเท่าไหร่

จดบริษัทใช้เงินเท่าไหร่ เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะตัวเลขเงินทุนที่จะขอจดทะเบียน ถึงแม้จะไม่ต้องมีเงินทุนจริงเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบก็ตาม แต่การแจ้งเงินทุนจดทะเบียนที่สูงมากเกินไป แล้วไม่มีเงินทุนอยู่จริง ก็จะส่งผลให้ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยทุนจดทะเบียนบริษัทที่เหมาะสม ควรจะตั้งทุนจดทะเบียนเท่าไรดีนั้น โดยหลักๆ จะแบ่งออกเป็น  

 

จดทะเบียนบริษัท คนเดียว 2564

  • บริษัทจำกัด
    หุ้นจะต้องมีราคาไม่น้อยกว่าหุ้นละ 5 บาท ต่อ 1 หุ้น และหุ้นจดทะเบียนอย่างน้อยต้องมี 3 คน ดังนั้น ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำสุดของบริษัทก็คือ 15 บาท สามารถจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้ แต่เพื่อความน่าเชื่อถือ ควรมีเงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 100,000-1,000,000 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ
  • ห้างหุ้นส่วน
    เนื่องจากกฎหมายไม่ได้กำหนดทุนขั้นต่ำสำหรับห้างหุ้นส่วน ทำให้ผู้ขอจดทะเบียนแบบห้างหุ้นส่วน สามารถตั้งทุนจดทะเบียนเท่าไรก็ได้ ซึ่งอาจลงทุนด้วยเงิน ทรัพย์สินและแรงงานเป็นทุนจดทะเบียน แต่การลงทุนด้วยแรงงานจะต้องเป็นการลงทุนแบบไม่จำกัดความรับผิดชอบ หมายความว่าหากมีหนี้เกิดขึ้นระหว่างการประกอบธุรกิจ หุ้นส่วนที่ลงทุนแบบไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดชอบในหนี้ทั้งหมดของห้าง แต่ถ้าลงทุนแบบจำกัดความรับผิดชอบ ต้องลงทุนด้วยเงินและทรัพย์สินเท่านั้น โดยรับผิดชอบหนี้ที่เกิดขึ้นไม่เกินจำนวนเงินที่ตนเองได้ลงทุนไป

 

ไม่มีเงินทุนจริง ส่งผลกระทบยังไงบ้าง

โดยปกติแล้วหากเงินทุนจดทะเบียนไม่มีอยู่จริง เวลาลงบันทึกบัญชี นักบัญชีจะลงบันทึกรายการว่า “เจ้าของนำเงินสดมาลงทุนในบริษัทครบตามที่จดทะเบียน” (อย่างน้อย 25% ของทุนจดทะเบียน)

 

แต่หากในทางปฏิบัติเราไม่มีเงินทุนเข้าบริษัทมาเลย หรือมีชำระเข้ามาไม่ถึง 25% ตามที่กฎหมายกำหนด ข้อมูลในทางบัญชีจะถูกรายงานว่า “บริษัทให้กรรมการกู้ยืมเงินออกไป” เนื่องจาก ณ วันจดบริษัทเราบันทึกเงินทุนที่ 25%

 

ดังนั้น การให้กรรมการกู้ยืมเงินของบริษัทลักษณะนี้ (แม้ไม่มีการยืมเงินกันจริงๆ แต่เราไม่มีเงินทุนตั้งแต่แรก) ต้องมีการคิดดอกเบี้ย และดอกเบี้ยนี้เองถือเป็นรายได้ที่จะถูกนำไปรวมเป็นรายได้ของบริษัท และต้องนำไปเสียภาษีเมื่อถึงสิ้นปีการจ่ายภาษีของบริษัท ทำให้ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น

 

สุดท้ายนี้ขอเน้นย้ำว่า เหล่าผู้ประกอบการที่มีความสามารถ มีไอเดีย แต่อาจจะยังไม่มีเงินทุน สามารถประกอบกิจการในรูปแบบบริษัทได้ถึงแม้ไม่มีเงินทุนอยู่จริง ณ วันจัดตั้งบริษัท แต่อย่างไรก็ตามในระยะยาวเราแนะนำว่า ควรชำระเงินทุนเข้าบริษัทให้สอดคล้องตามเงินทุนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงภาระดอกเบี้ยที่ไม่จำเป็นนั่นเองค่ะ

PrevPreviousรายได้เกิน 1.8 ล้าน เพิ่งรู้ตัว… ทำไงดี?

Nextวงเงินคุ้มครองเงินฝาก ลดเหลือ 1 ล้านบาท สิทธิประโยชน์ที่ควรรู้Next

จดทะเบียนบริษัท คนเดียว 2564

OUR STORY

เรามีชื่อในการช่วยเหลือเจ้าของธุรกิจในเรื่องบัญชีและภาษีเพื่อให้เจ้าของธุรกิจมั่นใจว่าบัญชีและภาษีที่ทำออกมานั้นถูกต้องอีกทั้งเรายังให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่กำลังเติบโต ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจต่างๆ

ไม่ว่าจะเรื่องจำนวนคนหรือเวลาที่มีน้อยกว่าบริษัทระดับ Corporate หรือความรู้ในการบริหารจัดการภาษีซึ่งเราก็มีผู้ตรวจสอบบัญชี CPA คอยให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจทุกท่าน