ดี ล ส ปา ensogo

  • DEALS
ดีลโปรโมชั่น Spa กับ Ensogo @โรงแรม อมารี วอเตอร์เกต เพียง 1,780 บาท

By

Peeraphon J.

-

2011-04-28

เหน็ดเหนื่อยกับการงาน ลองมาทำสปาเพื่อผ่อนคลายกันมั้ย…พร้อมปรนนิบัติผิวคุณให้สวยใส กับ Ensogo @ โรงแรม อมารี วอเตอร์เกต และ อมารี เรสซิเดนซ์เพียง 1,780 บาท จากราคาปกติ 4,472 บาท

รายละเอียด

• สามารถเริ่มใช้คูปองได้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม จนถึง 30 มิถุนายน 2554
• ลูกค้า 1 ท่าน สามารถซื้อคูปองได้สูงสุดจำนวน 3 ใบ
• สามารถใช้คูปองสูงสุด 3 ใบต่อท่าน
• กรุณาโทรนัดล่วงหน้า ก่อนการเข้ารับบริการ ที่หมายเลข
– อมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ: 02-653-9000, 02-653-9000
– อมารี เรสซิเดนซ์ กรุงเทพฯ: 02-308-5900 , 02-308-5900
• สามารถใช้คูปองได้ทุกวัน จันทร์-อาทิตย์ เวลา 12.00-22.00 น.
• รายละเอียดทั่วไป
– คูปองนี้สามารถให้ผู้อื่นใช้แทนหรือมอบเป็นของขวัญได้
– ราคานี้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าบริการแล้ว
– มูลค่าที่เหลือจากการใช้ในคูปองนี้ไม่สามารถแลกคืนเป็นเงินสดหรือเครดิตได้
– คูปองนี้ไม่สามารถใช้ร่วมกับส่วนลด หรือโปรโมชั่นอื่นๆ ได้

ที่มา: www.Ensogo.com

ดี ล ส ปา ensogo

  • TAGS
  • คูปองส่วนลด
  • นวดน้ำมัน
  • นวดผ่อนคลาย
  • ผิวสวยใส
  • สปา
  • อมารี วอเตอร์เกต
  • อมารี เรสซิเดนซ์
  • โปรโมชั่น

Facebook

LINE

Previous articleดีลห้องพัก กับ Ensogo @ APK Resort&Spa หาดป่าตอง ภูเก็ต เพียง 890 บาท

Next articleดีล เค้กอร่อยนุ่มๆ กับ [email protected] เพียง 98 บาท

Peeraphon J.

ข่าว สคบ ประกาศให้ Ensogo ล้มละลายและแจ้งให้เจ้าหนี้นับพันรายไปยื่นสิทธิ์พิทักษ์ทรัพย์นั้น ทำให้ชื่อของอดีต  Daily Deal  ยักษ์ใหญ่ถูกพูดถึงอีกครั้ง  นั่นทำให้เป็นโอกาสที่ดี ที่เราจะย้อนกลับไปมองว่าเราสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้างจากเคสนี้ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นแต่กับ  “Ensogo” เท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับ Startup ระดับโลกที่มีโมเดลคล้ายคลึงกันอย่าง “Groupon” ด้วยเช่นกัน ซึ่งน่าจะเป็นการพิสูจน์ว่าโมเดลธุรกิจ แบบ Daily Deal ที่เน้นการแข่งขันเรื่องราคา โดยไม่สร้างคุณค่านั้น ไม่น่าจะส่งผลดีกับฝ่ายใด และ ไม่น่าใช่โมเดลธุรกิจที่ยั่งยืน

เข้าใจ Groupon เข้าใจ Ensogo

ดี ล ส ปา ensogo

Groupon คือเว็บขายดีลลักษณะคล้ายกับ “Ensogo” ก่อตั้งโดย แอนดรูว์ เมสัน ที่จบปริญาด้านดนตรี จาก มหาวิทยาลัยนอร์ทเวิสเทิร์น โดย เมสัน และ ผู้ร่วมก่อตั้ง เริ่มให้บริการ Groupon เป็นครั้งแรกในเดือน พฤศจิกายน 2008 ที่ ชิกาโก้

ซึ่งในห้วงเวลานั้นเองยังเป็นช่วงคาบเกี่ยวกับการที่เศรษฐกิจของอเมริกายังบอบช้ำมาจากวิกฤตซับไพร์ม ที่เกือบล้มวอลสตรีท Solution ใหม่ๆอย่าง Sharing Economy ที่เปิดโอกาสให้คนหารายได้พิเศษอย่าง AirBNB และ Uber  หรือแม้แต่ โมเดลแบบ Daily Deal ที่ขายเรื่องการเปลี่ยนค่าโฆษณามาเป็นส่วนลดให้ลูกค้าอย่าง Groupon จึงตอบโจทย์ผู้บริโภคในยามฟืดเคือง

ทำให้หลังจากเปิดตัวได้ไม่นาน Groupon ก็กลายเป็นปรากฏการณ์ในวงการ Startup ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ถึงขนาดได้ชื่อว่าเป็น “Apple แห่งวงการ Startup” มันทำให้พวกเขากล้าปฏิเสธข้อเสนอซื้อกิจการมูลค่า 6 พันล้านเหรียญ ( 210,000 ล้านบาท ) จาก Google ที่เป็นความฝันของ Startup อื่นๆทั่วโลก เพื่อที่จะเลือกวิธี EXIT ที่ Sexy กว่า นั่นคือการแต่งตัวเข้าตลาดหุ้น NASDAQ ในเดือนพฤศจิกายนปี 2011

พร้อมกับสร้างความฮือฮาอีกครั้งด้วยการเป็น IPO บริษัทเทคโนโลยีลอตใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ที่ IPO ของ Google ในปี 2004  เพราะมีการประเมินกันว่ามูลค่าของ Groupon ในวันที่เข้าตลาดหุ้นนั้นสูงถึง 12.8 พันล้านเหรียญ หรือ 448,000 ล้านบาท
( * ขยายความ)

Startup นั้นจะประสบความสำเร็จได้ไม่ใช่แค่การได้ Funding แต่ต้องสามารถ EXIT ได้ ซึ่งการ EXIT ก็มีอยู่ 2 กรณีหลักๆคือ ขายให้บริษัทมี่ใหญ่กว่า หรือ ระดมทุนในตลาดหุ้น

ความสำเร็จที่เต็มไปด้วยคู่แข่ง

ปรากฏการณ์ของ Groupon ทำให้โมเดลธุรกิจแบบ Daily-Deal คึกคัก ประกอบกับ Barrier of Entry*  ของธุรกิจไม่สูงนัก จึงไม่แปลกที่จะมีธุรกิจลักษณะคล้ายๆกันเกิดขึ้นตามมาอย่างมากมายในช่วงเวลาดังกล่าว

ย้อนกลับไปในปี 2009 ประมาณหนึ่งปีหลังจาก Groupon เปิดตัว กลุ่ม LivingSocial ที่มีสำนักงานใหญ่ที่กรุง Washington DC ก็ได้เริ่มให้บริการ Daily-Deal เป็นครั้งแรกหลังจากควบรวมกิจการกับ BuyYourFreindADrink.com ได้สำเร็จ ก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งสำคัญของ Groupon ก่อนกลายร่างเป็นหนึ่งใน Unicorn* ตัวแรกๆของวงการ Strat Up

ซึ่งความคึกคักของธุรกิจ Daily Deal ก็ส่งผลมาถึงไทยด้วย เพราะในปี 2009  Ensogo ได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทย จากฝีมือการปลุกปั้นของสามพี่น้อง Tech Enterprenue ระดับตำนานของเมืองไทยที่ชื่อ “ทอม” “จอห์น” และ “พอล ศรีวรกุล”

( * ขยายความ)

Barrier of Entry = ความยากง่ายในการที่คู่แข่ง หรือคนอื่นเริ่มธุรกิจแบบเดียวกัน

Unicorn = บริษัท Startup ที่มีมูลค่าเกิน 1 พันล้านเหรียญ

Ensogo เปิดสุดยอด Daily Deal เมืองไทย

ดี ล ส ปา ensogo

Ensogo มาจาก ENtertainment + SOcial + GO

ความจริง Ensogo ไม่ใช่บริษัทแรกของ 3 พี่น้อง ลูกครึ่งไทย-ฟิลิปปินส์ คุณทอม คุณจอห์น และ คุณพอล ศรีวรกุล เพราะก่อนที่จะทำ Ensogo พวกเขาพึ่งขายหุ้นบริษัท แอ็ดแม็กซ์ เน็ตเวิร์ค ที่มูลค่ากว่า  250 ล้านบาท และ ก่อนหน้า แอ็ดแม็กซ์  พวกเขาก็เคย “ปั้นแล้วขาย” บริษัท “นิวมีเดีย” มาแล้ว

ว่ากันว่าเป้าหมายการก่อตั้ง Ensogo คือการเป็นที่หนึ่งของธุรกิจในเมืองไทยให้ได้เร็วที่สุด เพื่อยึดหัวหาดก่อนที่ผู้เล่นระดับโลกในธุรกิจเดียวกันจะมาทำตลาดในประเทศไทย โดยมีโฟกัสไปที่ส่วนแบ่งการตลาด ( Marketshare ) มากกว่าผลประกอบการ

เล่ากันว่าในห้วงเวลานานบุคลากรสายออนไลน์ โดยเฉพาะ Sale มือดีจำนวนมาก ตบเท้าเข้าสู่เว็บดีลแห่งนี้ ด้วยค่าตอบแทนที่สูงจนน่าตกใจเพื่อระดมหา สินค้า และ บริการ มาออกดีลกับ Ensogo ให้มาก และ ครบที่สุด เพื่อให้ถูกใจผู้บริโภคที่หลากหลาย และ เป็นที่แรกที่คนล่าดีลต้องนึกถึง

ซึ่งการเติบโตแบบเน้นการเป็นเจ้าตลาด ที่มีเป้าหมายในการยึดครองตลาดไว้ให้หมด โดยยังไม่คำนึงถึงผลตอบแทน หรือ กำไรมากนัก นั้นไม่ได้ถูกใช้แค่ในธุรกิจแบบ DailyDeal เท่านั้น แต่ยังเป็น Staretygy ที่นิยมใช้ในบรรดา Startup มากมาย โดยเฉพาะรายที่  Volume มีความสำคัญต่อความสำเร็จอย่างเช่น AirBNB Uber หรือ GRAB

 

 

“ก้าวสู่เบอร์หนึ่ง และ จุดที่คุ้นเคย”

หลังจากที่ Ensogo ให้บริการได้ไม่นาน พวกเขาก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นเว็บดีลอันดับหนึ่งได้สำเร็จ หากยังพอจำกันได้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเมืองไทยก็ตกอยู่ในสภาวะ “คนตื่นดีล”  เมื่อการหาซื้อ สินค้า บริการ ต่างๆ กลายเป็นเรื่องง่าย สนุก และที่สำคัญ ถูก อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ว่ากันว่าในช่วงพีคๆนั้น พนักงานออฟฟิศหลายๆคน เข้า Ensogo บ่อยกว่า Email บริษัทด้วยซ้ำ

โดยการก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งในเมืองไทยของ Ensogo นั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่รุ่นใหญ่อย่าง Groupon และ LivingSocial กำลังขยายธุรกิจไปยังประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยที่พี่น้องศรีวรกุล ก็ขยาย Ensogo ออกไปยัง ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเชีย (DealKeren) ด้วยเช่นกัน และ เมื่อการขยายตัวของ Ensogo สามพี่น้อง Tech Enterprenue จึงพบกับสถานการณ์ที่คุ้นเคยอีกครั้ง….“ขายธุรกิจ”

Daily Deal ระดับโลก บุกเมืองไทย 

การ Tap In ในตลาดต่างประเทศของบริษัทข้ามชาตินั้นทำได้หลายวิธี โดยที่นิยมกันคือตั้งสาขาสร้างทีมในประเทศที่ต้องการเปิดตลาดใหม่ ( กรณี GRAB ) หรือ ถ้าไม่อยากเริ่มนับหนึ่งใหม่ก็ร่วมทุน ( กรณี Adcend กับ Alipay ) หรือ ซื้อกิจการในประเทศนั้นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ LivingSocial เลือก

ทำให้มิถุนายน ปี 2011 LivingSocial บริษัท Daily Deal ระดับโลกตกลงซื้อกิจการ Ensogo และ DealKeren จาก ทอม จอห์น และ พอล ศรีวรกุล ตัวเลขที่ได้รับการเปิดเผยในดีลครั้งนั้นคือ 2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 70 ล้านบาท LivingSocial ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่จากศูนย์ในการเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยและ AEC ขณะที่ Ensogo เองก็สามารถ Exit ในจังหวะที่เหมาะสม เพราะการต่อสู้กับผู้เล่นระดับโลกอาจไม่ใช่เรื่องน่าสนุกนัก และหลังจากดีลนี้ไม่นาน คู่แข่งของ LivingSocial อย่าง Groupon ก็เริ่มเข้ามาให้บริการในประเทศไทยเมื่อปี 2012

เมื่อมีผู้เล่นระดับโลกเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น ทำให้ดูเหมือนว่าธุรกิจ Daily Deal ที่คึกคักอยู่แล้ว  น่าจะยิ่งเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ความจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะแม้จะมีความคึกคักในช่วงแรกๆ … แต่สิ่งที่ตามมานั้นกลับตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง

Daily Deal ถดถอยทั่วโลก –  ปิดฉากเว็บดีลในเมืองไทย

ดี ล ส ปา ensogo

ถ้าดูกันตามสถิติแล้ว ยุครุ่งเรืองของ Daily Deal คือช่วง 2009-2010 หนึ่งปีหลังจาก Groupon เริ่มให้บริการในชิคาโก้ ช่วงเวลาเดียวกับตอนที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวดีทำให้คนจำนวนมากยังมองหาของราคาถูก เป็นจังหวะที่ Google ยื่นข้อเสนอ 6 พันล้านเหรียญเพื่อเข้าซื้อกิจการของ Grouponคาบเกี่ยวกับตอนที่ LivingSocial เริ่มหันมาลุยธุรกิจนี้แบบจริงจัง

แต่จริงๆ แล้วมีสัญญานที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เชื่อมั่นถึงความยั่งยืนของโมเดลนี้มาก่อนแล้วในยุครุ่งเรือง ก่อนหน้า IPO ของ Groupon ด้วยซ้ำ เมื่อหลายฝ่ายตั้งคำถามถึงความ Sustainable ของโมเดลนี้  โดยเฉพาะ  “คุณค่า” ( Value ) ที่ธุรกิจนี้มอบให้กับทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

แต่ Groupon และ LivingSocial ที่มัวแต่ยุ่งอยู่กับการขยายกิจการ ( Scale Up) ดูเหมือนว่าจะไม่มีเวลาสนใจความกังวลเหล่านี้ และ ไม่สามารถ ( หรือ พยายาม ) ที่ตอบคำถามเหล่านี้ได้ กลับปล่อยให้มูลค่าหุ้นที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นคำตอบแทน

โดยในช่วงกลางปี 2012 เพียงแค่ 6 เดือน หลังจาก IPO มูลค่ากิจการของ Groupon ลดลงกว่า 55% พวกเขามีมูลค่าน้อยกว่าข้อเสนอที่ Google เคยยื่นให้ในปี 2010 ด้วยซ้ำ ขณะที่ในประเทศไทยเอง Groupon  ก็ไม่ได้เปรี้ยงปร้างเท่าไหร่  อาจเพราะมีเบอร์หนึ่งอย่าง Ensogo ของค่าย LivingSocial ยึดหัวหาดไว้ก่อนแล้ว ทำให้ในที่สุดเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2015 Groupon จึงตัดสินใจ หยุดให้บริการ และ ถอนตัวออกจากประเทศไทย เป็นการตัดสินใจแบบเดียวกับที่ Groupon ทำใน กรีซ ตุรกี เปรู โมรอคโค และ อีกกว่าสิบประเทศทั่วโลก

เมื่อปราศจากคู่แข่ง ทุกอย่างน่าจะเข้าทาง Ensogo แต่คนเริ่มไม่ตื่นดีลเหมือนเมื่อก่อน ขณะที่บริษัทแม่อย่าง SocialLiving ก็ประสบความถดถอยไม่ต่างจากคู่แข่ง “การยึดหัวหาดให้ได้มากที่สุด” ทีเคยทำให้ได้เปรียบ ก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่ต้องจ่าย และ เริ่มแสดงผลชัดขึ้นเรื่อยๆมีข่าวว่าหลังจาก SocialLiving ซื้อ Ensogo ไปไม่นานนักก็มีการปรับโครงสร้างบริษัทให้เหมาะสมกับการสร้างผลกำไรมากขึ้น

แต่ก็เหมือนว่าเป็นการประวิงเวลามากกว่าการแก้ปัญหาที่แท้จริง เพราะในที่สุด วันที่ 21 มิถุนายน 2016 ไม่ถึงหนึ่งปีหลังจาก Groupon โบกมือลาประเทศไทย Ensogo ได้ประกาศหยุดกิจการทั้งหมดใน อาเซียนพร้อมกับการลาออกของ คริส มาร์ซาเลก CEO คนปัจจุบัน

เป็นการปิดฉากเว็บดีล อันดับหนึ่งของประเทศไทย ที่ครั้งหนึ่งเคยครองส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกับการค่อยๆจางหายไปของโมเดลแบบ Daily Deal  ทิ้งไว้แต่เครื่องหมายคำถามตัวใหญ่ว่า “อะไรล่ะ … คือสิ่งที่ทำให้ โมเดลแบบ Daily Deal ต้องพบกับความล้มเหลว”

“เบื้องหลังความล้มเหลวของ Daily Deal”
เชื่อกันว่า ความล้มเหลวของ Daily Deal นั้นมาจากหลายส่วนตั้งแต่

“ผู้บริหาร”

ที่สนใจแต่การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มากกว่ามุ่งเน้นไปที่สร้างคุณค่าอย่างแท้จริง

“โมเดลธุรกิจ”

ที่ไม่มีความยั่งยืนตั้งแต่แรกเพราะมีการขอส่วนลดที่มากเกินไปถึง 50% เพราะ ใช้ส่วนลดเป็นจุดขายเพื่อดึงคนมาใช้งานเยอะๆแถม 50% ที่เหลือยังต้องเป็นการแบ่งกันเองระหว่าง Daily Deal กับร้านค้าเป็นส่วนลดที่มากไปสำหรับธุรกิจอาหาร

แม้เซลของ Ensogo หรือ Groupon จะพิชในมุมที่ว่าให้มองการใช้จ่ายทางการตลาดนี้เป็นงบโฆษณาที่สร้าง Awareness  ที่คุ้มค่ากว่าการที่แล้วๆมาเพราะเป็น Awarness + Trial แถมยังมีสถิติที่สนับสนุนว่า ผู้ที่ซื้อดีลส่วนใหญ่ จะใช้จ่ายเงินเพิ่มที่ร้านค้า 80 – 100 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าดีลที่พวกเขาซื้อ เหมือนเป็นการพาลูกค้ามาให้ผู้ประกอบการได้อัพเซลล์กันถึงที่

แต่จากการบอกเล่าของเจ้าของร้านอาหารที่เคยใช้บริการ พบว่า “ดีล” ถูกซื้อสะสมโดยกลุ่มคนเดิมๆ ไม่มีการกระจายออกไปในวงกว้างเพื่อสร้าง Awareness อย่างที่หวังไว้ นอกจากนี้กลุ่มลูกค้าที่ได้มาจำนวนไม่น้อยเป็น นักล่าดีล ( Deal Hunters ) ที่ไม่ได้มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์
จะซื้อก็ต่อเมื่อมีการลดราคาเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของกิจการต้องการ

แถมสิ่งที่ทางฝั่ง Daily Deal สัญญาไว้ ในเรื่องการมาใช้จ่ายเพิ่มนั้น หลายครั้งไม่ได้ตามเป้า บ่อยครั้งไม่เกิดขึ้นเลย มีเสียงบ่นถึงกรณีที่ผู้ใช้ดีลพยายามคำนวนการใช้บริการให้พอดีเป๊ะ ไม่สั่งเพิ่มแม้แต่น้ำเปล่าด้วยซ้ำ

“ร้านค้า”

ฝั่งร้านค้าเอง ก็มีส่วนเร่งความล้มเหลวของโมเดลธุรกิจนี้ให้เร็วขึ้น ร้านค้าหลายรายลดระดับคุณภาพของอาหาร หรือ บริการของผู้ซื้อดีลลง เพราะกำไรน้อย และ รู้สึกว่าไม่ได้กลุ่มลูกค้าอย่างที่ Daily Deal เจ้าต่างๆขายไว้ มากกว่านั้นร้านค้าหลายร้านแอบขายดีลโดยตรงกับลูกค้า เพื่อจะไม่ต้องแบ่งเปอร์เซ็นต์กับ Ensogo หรือ Groupon

ขณะที่ร้านที่ธุรกิจดีอยู่แล้วจำนวนไม่น้อยก็ไม่สนใจ หรือไม่ลงซ้ำ เพราะไม่ได้กลุ่มลูกค้าคุณภาพ ส่งผลต่อแบรนด์ เพราะช่วงหลังๆ เว็บ Daily Deal กลายเป็นที่หนีตายของร้านค้าที่ประสบปัญหาทางธุรกิจ เป็นการดิ้นเฮือกสุดท้าย ผู้ซื้อดีลหลายรายพบว่าเมื่อจะไปใช้บริการจริงๆ ร้านเหล่านั้นปิดกิจการไปแล้ว ซึ่งเป็นการทำลายความเชื่อใจที่มีต่อแบรนด์ Ensogo และ Groupon

เมื่อร้านดีๆค่อยๆ หายไปจาก Daily Deal เหลือแต่ร้านที่ไม่ค่อยดีนัก ยิ่งเป็นการตอกย้ำประสบการณ์ที่ผู้ใช้เว็บดีลให้แย่ลงเรื่อย

“ผู้ใช้”

เมื่อดีลหลายอันเริ่มมีปัญหา ผู้ใช้ที่พอจะจ่ายได้ที่เป็นลูกค้าที่ดีก็ไม่อยากเสี่ยงเจอประสบการณ์แย่ๆ ก็ค่อยๆโบกมือลาไปเรื่อยๆ ประกอบกับการที่เว็บดีลนั้นชูจุดขายที่เรื่องราคาตั้งแต่ต้น ทำให้มีแรงดึงดูดมากสำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่ที่อ่อนไหวเรื่องราคา และ ไม่ได้มีความจงรักภักดีกับแบรนด์ หรือ ร้านค้า จุดนี้ส่งผลให้ร้านดีๆ จำนวนมากมองว่าการโฆษณากับแพลตฟอร์ม Daily Deal นั้นไม่ใช่คำตอบสำหรับธุรกิจของพวกเขาอีกต่อไป

Social Media

ความเฟื่องฟูของ Social Media ทำให้ร้านค้าสามารถทำการโปรโมทพ่วงดีลลักษณะแบบเดียวกันให้กับผู้บริโภค โดยไม่มีความจำเป็นต้องใช้ตัวกลางอย่าง Ensogo อีกต่อไป ที่สำคัญ Social Media น่าจะช่วยในการ Engage กับลูกค้าที่จะส่งผลต่อการสร้างแบรนด์ และ Relatioship กับลูกค้าได้ดีกว่าด้วยซ้ำ

ซึ่งทั้งหมดที่ว่าเกี่ยวพันกัน เป็นวงจรที่ทำให้ธุรกิจ Daily Deal ตกต่ำลงเรื่อยๆ

“Taking too much ในวันของที่ Sharing เฟื่องฟู”

หลายคนวิเคราะห์กันว่า จริงๆแล้ว Daily Deal ไม่ได้สร้างคุณค่าอะไรเลยนอกจากเรื่องราคาแล้ว ก็เป็นการขยับสินค้า และ บริการมาใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีออนไลน์เท่านั้น การชูจุดขายเรื่อง “ราคาถูก” โดยไม่สร้างอะไรเพิ่มเติมนั้น ทำให้ไม่เกิดคุณค่า ในความสัมพันธ์ของทุกฝ่ายที่เชื่อมต่อกันผ่านทางโมเดลนี้

เป็นการ Taking ที่ตรงกันข้ามกับเทรนด์ Sharing Economy หรือ Sharing Resource ที่กำลังเฟื่องฟู เนื่องจาการเอาทรัพยากรที่เหลือมาใช้อย่างเกิดคุณค่ากับทุกฝ่ายมากที่สุด

และเมื่อมาคิดเป็นสมการง่ายว่าๆ การลดราคาทำให้ทำเงินน้อยลงอยู่แล้ว แต่กลับต้องมีคนมาแบ่งเงินเพิ่ม ขณะที่คุณค่าทางด้านการตลาด หรือ โฆษณาประชาสัมพันธ์ก็ไม่ชัดเจนนัก นั่นทำให้ Daily Deal เดินสวนทางกับความยั่งยืน และค่อยๆหายไปปล่อยให้เว็บ E-Comerce, Market Place หรือ Activation Platform ที่สามารถให้คุณค่าเรื่องอื่นๆ มี่มากกว่าราคา เริ่มค่อยๆ ขยับเข้ามาแทนที่

“ทางออกของ Daily Deal”

แม้ Daily Deal จำนวนไม่น้อยจะนั้นล้มเหลวไม่เป็นท่า และ ผู้เขียนย้ำบ่อยๆว่า การสู้ด้วยราคาไม่น่าเป็นตำตอบ แต่จริงๆแล้ว ทั้ง Daily Deal และ การลดราคา นั้นไม่ใช่เรื่องที่ผิด และ ยังเป็นเครื่องมือที่ดีหากถูกใช้อย่างเหมาะสม เหมือนกับที่หลายคนมองว่าจริงๆแล้ว Groupon หรือ LivingSocial ไม่ผิดอะไรเลย ที่ผิดคือ “ความคาดหวังที่สูงเกินจริง” ของใครหลายๆคนที่มีต่อโมเดลธุรกิจประเภทนี้ต่างหาก

มีการวิเคราะห์ว่า Daily Deal นั้นน่าจะยังมีประโยชน์อยู่ แต่อาจจะไม่ใช้กับธุรกิจอาหาร ที่ Margin ไม่มากพอที่จะทำให้ทุกฝ่ายแฮปปี้ เมื่อต้องหั่นราคาอย่างนักหน่วงเพื่อนำมาเป็นจุดขาย แต่ในธุรกิจอย่างสปา หรือ คอร์ทแบด ที่มาร์จิ้นสูงกว่ามาก หรือ เป็นสิ่งมีอยู่แล้วนั้น น่าจะตอบโจทย์มากกว่า ขณะที่ Daily Deal เองก็น่าจะสร้างคุณค่าให้ทางฝั่งร้านค้ามากขึ้น เช่นเอาช่วง Off Peak หรือ ช่วงที่มีผู้ใช้บริการน้อยมาเล่น เหมือนที่มีแอพหนึ่งในอเมริกาเอาช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้งานของร้านอาหาร มาเปลี่ยนเป็น Co-Working Space

ซึ่งนั่นเป็นการสร้างคุณค่าเพิ่มขึ้นให้กับทางฝั่งร้านค้า และ ผู้ใช้ เป็นการทำให้โมเดลธุรกิจมีคุณค่ามากพอที่จะอยู่ได้อย่างยั่งยืน

“บทเรียนที่ได้จากกรณี Ensogo Groupon และ LivingSocial”

ดี ล ส ปา ensogo

นอกจากได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ และ วิถีต่างของสตาร์ทอัพ หน้าหนึ่งของกรณีศึกษาแห่งโลกดิจิทัล ก็พาเรากลับมาสู่ทฤษฎีการตลาดดั้งเดิมที่พร่ำบอกว่า ความพอใจของผู้บริโภคนั้น ไม่ใช่ราคาเท่านั้น หากแต่เป็นคุณค่าที่ได้รับ ต่อให้ราคาถูกแค่ไหน แต่เป็นสินค้าที่ไม่ได้เรื่อง มันก็ไม่มีคุณค่าอะไรเลย หนำซ้ำยังเป็นการทำร้ายธุรกิจตัวเองด้วย เพราะการสู้ด้วยราคานั้นเป็นอะไรที่ไม่ยั่งยืน

กลับกันเราควรหันมาสร้างคุณค่าให้ธุรกิจของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นฝั่งร้านค้าหรือ แม้แต่ แพลตฟอร์ม หรือ ตัวกลาง อย่างเช่น AirBNB GRAB หรือ UBER ที่ล้วนแต่มีคุณค่าบางอย่างที่มากกว่าหารถ หรือ ห้องพัก เช่นการไม่ต้องเจอปฏิเสธ การเรียกรถมารอได้ไม่ต้องยืนโบก หรือ ได้ประสบการณ์จากโฮสต์ที่มากกว่าแค่ที่พัก ซึ่งคุณค่าเหล่านี้แหล่ะที่จะพัฒนาขึ้นไปเป็นความเชื่อใจ เป็นความสัมพันธ์ และ ความรักต่อแบรนด์ ที่นอกจะช่วยให้คุณอยู่รอดแล้ว ยังช่วยให้คุณได้กลุ่มลูกค้าที่มีคุณภาพด้วย