จุด ด้อย ของการศึกษาฟินแลนด์

ผมไม่ได้จบปริญญาระดับใดๆ ในด้านการศึกษา แต่ชีวิตก็ต้องมาทำงานด้านการศึกษา......และแม้ว่าการศึกษาที่ผมเกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย แต่ส่วนหนึ่งของงานที่ทำก็ต้องไปเชื่อมโยงสัมพันธ์กับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการอาชีวศึกษา........

จึงกล่าวได้ว่าพอจะมีความรู้และความเข้าใจในปัญหาและความเป็นไปเรื่องการศึกษาไทยอยู่ในระดับหนึ่ง....และจึงถูกแต่งตั้งมอบหมายจากหลายระดับ ทั้งระดับชาติ สถานศึกษา และท้องถิ่นท้องที่ ให้รับหน้าที่ทำนั่นทำนี้ด้านการศึกษา ทั้งจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน จนทำแทบไม่ทันก็ว่าได้.....เข้าข่ายพอจะเรียกตัวเองได้ว่า.....เป็นนักการศึกษาเทียม.......

ทำงานไปทำงานมาก็รู้ว่าไม่ง่ายที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาไทย เพราะมีกับดักและอุปสรรคมากมายคอยเป็นตัวขวางกั้น......

เราชื่นชมกันว่าการศึกษาของประเทศฟินแลนด์อยู่ในขั้นชั้นแนวหน้า เป็นอันดับหนึ่งในด้านการศึกษาของโลก....จากประสบการณ์การทำงานในด้านการศึกษาของไทย และได้ติดตามความเป็นไปพร้อมทั้งเคยไปศึกษาดูงานด้านการศึกษาของฟินแลนด์มา เคยสรุปไว้ในใจที่วันนี้ขอเปิดเผยว่าเราน่าจะทำได้สัก 20% หรืออย่างมากไม่เกิน 30% ของการศึกษาในฟินแลนด์ ที่เหลือส่วนใหญ่ 70-80% การศึกษาไทยจะเป็นไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม......

การศึกษาในฟินแลนด์เขาเป็นอย่างไรโปรดดูในภาพข้างล่าง และลองหลับตานึกดูว่าการศึกษาไทยเป็นไปในทางตรงกันข้ามตามที่ผมว่าหรือไม่.......

ท่านที่จบปริญญาด้านการศึกษามาตรงๆ ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นนักการศึกษาแท้ อาจเห็นแย้งเห็นต่าง และอาจเอนเอียงเข้าข้างระบบการศึกษาไทยว่าเดินหน้าไปไกลมากแล้ว ก็เป็นสิทธิ์ที่จะคิดเห็นได้ แต่ในสายตานักการศึกษาเทียมอย่างผมและผู้คนที่สนใจทางด้านการศึกษาอีกมากมาย เท่าที่ได้ถกแถลงและวิเคราะห๋กันมาคงให้น้ำหนักความเหมือนและความต่างได้....ไม่ไกลจากที่ผมว่าไว้นี้แหละครับ......

เพราะสิ่งที่ระบบการศึกษาของฟินแลนด์เชื่อ ก็คือ เราไม่สามารถใช้ข้อสอบเดียวในการวัดผลคุณภาพของเด็กได้ทุกคน

ดังนั้น การจัด Ranking ของโรงเรียนจึงไม่มีในฟินแลนด์
ซึ่งทำให้โรงเรียนจะไม่ถูกแบ่งงบประมาณตามความเก่งของแต่ละโรงเรียน

อย่างไรก็ตาม การประเมินยังคงมีอยู่ ซึ่งจะให้ครูที่โรงเรียนมีหน้าที่ในการประเมินเด็กแต่ละคน

จุด ด้อย ของการศึกษาฟินแลนด์
Cr. thisisFINLAND

สิ่งที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ
กระทรวงศึกษาธิการของฟินแลนด์มีบทบาทที่ต่างจากประเทศอื่น

ถ้าเราคิดว่าครูจะมีหลักเกณฑ์จากกระทรวงศึกษา
และเอาหลักเกณฑ์นั้นไปประเมินเด็กตามที่กระทรวงต้องการ
“เราอาจคิดผิด”

เพราะครูในฟินแลนด์ จะมีอิสระอย่างมากในการออกแบบหลักสูตร วิธีการประเมิน และรูปแบบการสอน

ดังนั้น การศึกษาของฟินแลนด์จะเป็นรูปแบบ นักเรียน > ครู > กระทรวง
มากกว่า กระทรวง > ครู > นักเรียน
ซึ่งจะเป็นการยัดเยียดสิ่งที่กระทรวงต้องการมากกว่าสิ่งที่นักเรียนต้องการ

นอกจากนี้ สิ่งที่ระบบการศึกษาของฟินแลนด์เชื่อ คือ เด็กทุกคนต้องมีความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษา ไม่ว่าฐานะทางบ้านจะแตกต่างกันเท่าไหร่ก็ตาม

ดังนั้น เด็กกว่า 97% ในประเทศฟินแลนด์จะถูกดูแลอยู่ภายใต้โรงเรียนที่บริหารงานโดยรัฐบาล ไม่ใช่กลุ่มของนักการเมือง หรือกลุ่มทุนกลุ่มใดเป็นพิเศษ

เด็กนักเรียนที่มีฐานะต่างกันจะได้เรียนหนังสือด้วยกัน และพวกเขาจะโตขึ้นมาด้วยกัน เป็นเพื่อนกัน ดังนั้นพวกเขาจะเข้าใจความหลากหลาย และเรื่องนี้สามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำได้

แล้วระบบการศึกษาของฟินแลนด์แบ่งเป็นอย่างไรบ้าง?

1. Early childhood ช่วงก่อนเข้าเรียน
เด็กในฟินแลนด์จะใช้ช่วงเวลานี้กว่า 6 ปีของชีวิต เรียนรู้ผ่านการ “เล่น”
โดยจุดประสงค์หลักคือ ไม่ใช่การเตรียมเด็กเข้าสู่การเรียนทางวิชาการ
หากแต่เป็น การส่งเสริมให้เด็กเกิดการพัฒนาทางด้านสังคมและสุขภาพมากกว่า
โดยทำผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ

จุด ด้อย ของการศึกษาฟินแลนด์
Cr. Culture Trip

2. Basic education ซึ่งเป็นภาคบังคับ สำหรับเด็กอายุ 7-16 ปี

จุด ด้อย ของการศึกษาฟินแลนด์
Cr. Morocco World News

3. Upper education เด็กสามารถเลือกได้ว่าอยากเรียนภาคทั่วไป หรือ อาชีวศึกษา

จุด ด้อย ของการศึกษาฟินแลนด์
Cr. Luovi

4. Higher education ถ้าเทียบกับบ้านเราคือระดับมหาวิทยาลัย

จุด ด้อย ของการศึกษาฟินแลนด์
Cr. Education Technology

อ่านมาถึงตรงนี้
ถ้าลองมองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย เราจะเห็นได้ว่ารูปแบบ หรือระดับชั้นของการเรียน เราแทบไม่ต่างกันเลยกับฟินแลนด์

ที่มี ชั้นอนุบาล, ประถม, มัธยม และมหาวิทยาลัย

แต่สิ่งที่ต่างอย่างเห็นได้ชัด คือ วิธีการในการสอนนักเรียน

ถ้าให้เปรียบ ระบบการศึกษาของเราเป็นเหมือน “ตะแกรง”
และนักเรียนเป็นเหมือน “ก้อนหิน” ที่มีขนาดต่างกัน

เรากำลังเอาตะแกรงไซซ์ที่รัฐบาลกำหนด มาร่อนเด็กออกไป โดยมองว่าเด็กเหล่านั้นไม่ใช่ก้อนหินที่รัฐบาลต้องการ

ฟินแลนด์ถูกยกย่องว่ามีการศึกษาที่ติดอันดับต้น ๆ ของโลกมาโดยตลอด ซึ่งระบบการศึกษาฟินแลนด์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด ล่าสุด สำนักข่าวต่างประเทศได้ระบุว่า ฟินแลนด์ยังเตรียมที่จะปรับการเรียนการสอนจากเรียนเป็นวิชา ไปเป็นเรียนตามหัวข้อด้วย

โดยนักเรียนที่นั่นจะไม่ต้องเรียน สังคม คณิตศาสตร์อย่างละชั่วโมง แต่จะเป็นการเรียนรู้เช่น ชั่วโมงนี้เรียนด้านการบริการในร้านอาหาร เด็ก ๆ ก็จะได้ใช้ความสามารถแบบผสมผสาน ทั้งใช้การคิดเงิน การสื่อสารกับลูกค้า และการจัดการอารมณ์ด้วย

Sophia Faridi นักการศึกษาจากสหรัฐฯ ได้เข้าไปดูระบบการศึกษาของฟินแลนด์ และพบว่า 13 ข้อที่ทำให้การศึกษาฟินแลนด์ประสบความสำเร็จก็คือ

 

จุด ด้อย ของการศึกษาฟินแลนด์

 

1. การเรียนที่ฟินแลนด์เน้นไปที่การเล่น เพราะคิดว่าเด็กสามารถเรียนรู้ได้ดีผ่านการเล่นและการค้นพบด้วยตนเอง ครูจึงไม่เพียงแต่อนุญาตให้เล่นได้แต่ยัง สนับสนุนให้เด็กๆ เล่นด้วย จึงไม่แปลกที่แม้จะอยู่ระดับมัธยมศึกษาแล้ว ยังจะเห็นเด็กโตนั่งเล่นวิดีโอเกมส์ที่ student center

 

2. การสอบไม่ได้เป็นไปแบบเอาเป็นเอาตาย โรงเรียนที่นั่นเชื่อว่า หากต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือจนไม่มีเวลา จะทำให้ไม่เวลาคิดอย่างอิสระ แต่จะมีการประเมินความรับผิดชอบของเด็กตลอดการเรียนการสอนแทน

 

3. ความเชื่อใจ เป็นสิ่งที่ Faridi เห็นว่าแตกต่างที่สุดจากประเทศอื่น ๆ เพราะรัฐบาลของฟินแลนด์เชื่อมั่นในเขตการปกครองย่อย ๆ ของตนเอง และหน่วยปกครองย่อยก็เชื่อมันในโรงเรียน ลงไปถึงครู ครูก็ไว้ใจนักเรียนตัวเอง ในทางกลับกัน ผู้ปกครองจะก็เชื่อมั่นในครูมาก เทียบเท่ากับอาชีพแพทย์เลย

 

4.แต่ละโรงเรียนไม่แข่งกันเอง ไม่มีการจัดลำดับโรงเรียน เพราะเชื่อว่าทุกโรงเรียนนั้นดีเท่ากัน

 

5. การคัดเลือกก่อนที่จะเป็นครูนั้นเข้มงวด เหตุผลหนึ่งที่ครูได้รับความไว้วางใจมากเพราะการคัดเลือกนั้นเข้มงวดมาก ต้องเป็นระดับหัวกะทิเท่านั้นถึงจะได้เป็นครู และไม่ใช่ว่าแค่ได้คะแนนทดสอบสูงเท่านั้น ต้องผ่านการสัมภาษณ์ด้านศีลธรรมรวมถึงถามถึงแรงบัลดาลใจในการเป็นครูด้วยและจะต้องจบปริญญาโทเท่านั้น

 

6.เวลาส่วนตัวของเด็กนั้นสำคัญ เพราะทุก ๆ 45 นาที เด็กจะมีสิทธิ์พักส่วนตัว 15 นาทีตามกฎหมาย เพราะเชื่อว่าการเรียนรู้นั้น จะสำเร็จได้หากผู้เรียนได้รับการผ่อนคลายเป็นช่วงเวลา

 

7.น้อยแต่ดี เด็กจะไม่ต้องเข้าโรงเรียนจนถึงอายุ 7 ขวบ และระยะเวลาเรียนระหว่างวันยังสั้นอีกด้วย เช่นเรียนประมาณ 4-5 ชั่วโมงต่อวัน ในระดับประถมศึกษา

 

จุด ด้อย ของการศึกษาฟินแลนด์

 


8.เน้นที่คุณภาพชีวิต ระบบการศึกษาฟินแลนด์เชื่อว่า ครูที่มีความสุขคือครูที่ดีและครูที่ทำงานหนักเกืนไปจะไม่ใช่ครูของพวกเขา ซึ่งจะมีชั่วโมงสอนประมาณ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

 

9.เรียนสายไหนก็ได้รับการยอมรับ เมื่อหลังจากอายุ 16 ปีเด็กสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนสายสามัญหรืออาชีพ แต่ทั้งสองสายได้รับการยอมรับสูงในสังคมฟินแลนด์ และสามารถต่อมหาวิทยาลัยได้

 

10.ระบบการศึกษามีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนตามหลักสูตร โดยแล้วแต่ครูจะสร้างสรรค์ค์ แต่ยังอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ

 

11.จะไม่มีการตัดสินเกรดจนถึง ป.4 เพราะเน้นการเรียนรู้มากกว่า

 

12.จริยธรรมจะถูกสอนตั้งแต่ยังเล็ก แม้เด็กเล็กจะเรียนจริยธรรมจากห้องเรียนสอนศาสนาอยู่แล้ว แต่ก็จะมีนักเรียนบางส่วนที่ไม่ได้นับถือศาสนา ก็จะต้องเข้าเรียนวิชาจริยธรรม

 

13. มีสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนความร่วมมือกัน โดยแต่ละห้องเรียนนั้นอาจมารวมกันในพื้นที่หนึ่งๆ เพื่อที่จะให้เด็กต่างระดับชั้นได้เรียนร่วมและแลกเปลี่ยนกันโดยไม่แบ่งแยก รวมถึงครูยังได้ร่วมกันช่วยเป็นที่ปรึกษาให้เด็กเหล่านี้ด้วย