รูปแบบการสอนแบบactive learning ปฐมวัย

                         5. การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ในห้องเรียนการเรียนรู้แบบลงมือกระทําต้องสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก สังเกตและค้นหาความตั้งใจ ความสนใจของเด็ก ผู้ใหญ่ควรรับฟังเด็ก ส่งเสริมให้เด็กคิดและ ทําสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทํา เด็กจะเผชิญกับประสบการณ์สําคัญซํ้าแล้วซํ้าอีกในชีวิตประจําวันอย่างเป็นธรรมชาติ ประสบการณ์สําคัญเป็นกุญแจที่จําเป็นในการสร้างองค์ความรู้ของเด็กเป็นเสมือนกรอบความคิดที่จะทําความเข้าใจการเรียนรู้แบบลงมือกระทําเราสามารถให้คําจํากัดความได้ว่า ประสบการณ์สําคัญเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่เด็กจะต้องหามาให้ได้โดยการปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ คน แนวคิดและเหตุการณ์ สำคัญต่างๆ อย่างหลากหลาย ประสบการณ์สำคัญเป็นกรอบความคิดให้กับผู้ใหญ่ในการเข้าใจการเรียนรู้ของเด็ก สามารถวางแผนการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างเหมาะสม

แผนการสอน ปฐมวัย active learning แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดเสริมประสบการณ์ ระดับปฐมวัย แบบ active learning 3 ระดับ

โดย

rachasit

-

ตุลาคม 31, 2022

1223

Facebook

Twitter

Pinterest

LINE

แผนการสอน ปฐมวัย active learning แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดเสริมประสบการณ์ ระดับปฐมวัย แบบ active learning 3 ระดับ

แผนการสอน ปฐมวัย active learning แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดเสริมประสบการณ์ ระดับปฐมวัย แบบ active learning 3 ระดับ

รูปแบบการสอนแบบactive learning ปฐมวัย
รูปแบบการสอนแบบactive learning ปฐมวัย
แผน การสอน ปฐมวัย active learning แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดเสริมประสบการณ์ ระดับปฐมวัย แบบ active learning 3 ระดับ

ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนแบบ active learning หรือ การสอนแบบเชิงรุก ระดับปฐมวัย แบบ active learning 3 ระดับ
1. เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด
2. เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
3. ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน
5. เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิดอย่างลุ่มลึก ผู้เรียนจะเป็นผู้จัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
6. เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลข่าวสาร หรือสารสนเทศ และหลักการความคิดรวบยอด
7. ผู้สอนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
8. ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน
9. เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง
10. ผู้เรียนเรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

ดาวน์โหลดแผนการจัดการเรียนรู้ ชุดเสริมประสบการณ์ ระดับปฐมวัย อนุบาล 1 แบบ active learning คลิกที่นี่

ดาวน์โหลดแผนการจัดการเรียนรู้ ชุดเสริมประสบการณ์ ระดับปฐมวัย อนุบาล 2 แบบ active learning คลิกที่นี่

ดาวน์โหลดแผนการจัดการเรียนรู้ ชุดเสริมประสบการณ์ ระดับปฐมวัย อนุบาล 3 แบบ active learning คลิกที่นี่

ขอบคุณเนื้อหาจาก พ.ว.

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม รวมแผนการสอน active learning ไฟล์ doc 5 วิชาหลัก ป.1-6 ดาวน์โหลดแผนการจัดการเรียนรู้แบบ active learning ไฟล์ doc 5 วิชาหลัก ได้ที่นี่

รวมกิจกรรม Active Learning การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้

เรามี Set ตัวการ์ตูนน้องปลาดาวแบบพื้นหลังโปร่งใส เพื่อนำไปใช้ประกอบสื่อการเรียนรู้แบบ Active Learning

ดาวน์โหลดกันได้ที่นี่ค่ะ >>> คลิก <<<

(แจกฟรีสำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์นะคะ)

ช่วงนี้เรียกได้ว่าวงการการศึกษา เต็มไปด้วยแนวการเรียนรู้ที่หลากหลายมากขึ้น เพราะโลกที่พัฒนาทำให้ทุกๆ อย่างเปลี่ยนแปลงตามไปให้ทัน ซึ่งวันนี้ทางผู้เขียนจะมาพูดถึง Active Learning ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่เรียกได้ว่ามีการกล่าวถึงมากที่สุดในช่วงนี้ จะเป็นยังไงบ้าง ตามไปดูกันเลยค่ะ

ก่อนอื่นเราก็มาทำความรู้จักกับ Active Learning กันก่อนว่าคืออะไร

Active Learning คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป ซึ่งก็แปลได้ตรงตัวเลยก็คือ เป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ หรือ การลงมือทำซึ่งความรู้ ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์

ลักษณะของ Active Learning คือ

-       เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

-       เป็นการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

-       ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

-       ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน มีการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์กัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน

-       ผู้เรียนได้เรียนรู้ความผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทำงาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

-       เป็นกระบวนการที่จะสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียน อ่าน พูด ฟัง คิด

-       เป็นกิจกรรมที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง

-       เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลต่างๆ และหลักการสู่การสร้างความคิดรวบยอด

-       ผู้สอนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง

-       ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปบททวนของผู้เรียน

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคุณครูก็คือคนสำคัญที่จะทำให้กิจกรรมที่จัดนั้นสนุกสนาน เพราะฉะนั้นคุณครูจึงควรจะต้องมีการวางแผนการสอน และวางแผนการใช้สื่อกับเด็กๆ อาจจะมีการทดลองกับตัวเองก่อน หากได้ผลค่อยนำมาใช้สอนเด็กๆ ต่อ มีการให้อิสระทางความคิดและจินตนาการ เพื่อให้เด็กๆ ที่เรียนรู้มีความสนุกสนานกับเกมต่างๆ อีกทั้งยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความคิดและเสริมสร้างแนวทางการแก้ปัญหาอีกด้วย

นอกจากนี้คุณครูยังต้องสังเกตเพื่อดูความสามารถของเด็กแต่ละคน เพื่อส่งเสริมให้ได้ตรงความสามารถของเขา ซึ่งสิ่งที่จะทำให้เด็กๆ ได้เปรียบและสนุกกว่าการที่เราไม่รู้ว่าเด็กสนใจหรือชอบทำอะไรเป็นพิเศษนั้นเอง

ซึ่งโดยทั่วไปการเรียนรู้แบบ Active Learning สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ ซึ่งอาจารย์เยาวเรศ ภักดีจิตร อาจารย์สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ณ ขณะนั้น (ปี 2557) ได้นำเสนอถึงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning มาประยุกต์ใช้ ไว้ดังนี้

การเรียนรู้ผ่านการทำงาน : สิ่งนี้จะส่งเสริมให้เกิดพัฒนาการทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เนื้อหาสาระ การปฏิบัติจริง ฝึกฝนทักษะสังคม ทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพ และการพัฒนาทักษะชีวิตขั้นสูง โดยสถานบันการศึกษามักร่วมมือกับแหล่งงานในชุมชน รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดเนื้อหากิจกรรม และวิธีประเมินผลด้วยนั้นเอง

การเรียนรู้ผ่านโครงงาน : เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญ และปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์ คิดค้น โดยมีคุณครูเป็นผู้ให้ความรู้ และอำนวยความสะดวก เพื่อให้โครงการสำเร็จ สิ่งนี้จะช่วยให้เด็กๆ มีทักษะการเรียนรู้และการประกอบอาชีพ การสื่อสารและเทคโนโลยี การออกแบบโครงงานที่ดีจะกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือร้นและเด็กๆ จะได้ฝึกการใช้ทักษะเชิงวิพากษ์และแก้ปัญหาอีกด้วย

การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม : เป็นการเรียนโดยการปฏิบัติจริงๆ และแก้ปัญหาให้ได้ จึงถูกนำมาใช้ในการปฏิรูปการศึกษาของไทย โดยเด็กๆ จะได้เป็นผู้ปฏิบัติจริงๆ และมีคุณครูคอยเป็นเทรนเนอร์ โดยกิจกรรมที่จะเอามานั้นต้องเป็นกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมาย สนุกและน่าสนใจ ไม่ซ้ำซากจนก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย

การเรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหา : เป็นรูปแบบการเรียนอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมของเด็กๆ โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยแต่ก็ท้าทายผู้สอนมากที่สุด กระบวนการการเรียนรู้โดย ใช้ปัญหาเป็นฐาน จะจัดเด็กๆ เป็นกลุ่มย่อย ขนาดประมาณ 8 -10 คน โดยมีครูหรือผู้สอนประจำกลุ่ม 1 คน ทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนการการเรียนรู้

การเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีวิจัย : การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยถือได้ว่าเป็นหัวใจของบัณฑิตศึกษา เพราะเป็นการเรียนที่เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของเด็กๆ โดยตรง เป็นการพัฒนากระบวนการแสวงหาความรู้ และการทดสอบความสามารถทางการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน

ซึ่งการเรียนการสอนแบบ Active Learning นี้คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถทำได้นะคะ ไม่ใช่เฉพาะครูเท่านั้นที่ทำได้คนเดียว แต่เราก็ควรมีเวลาให้กับลูก เพื่อสังเกตว่าเขาชอบหรือถนัดอะไร จะได้ส่งเสริมได้ตรงจุด ซึ่งบางทีซื้อแค่แบบฝึกหัดมาให้ทำคงไม่พอ พ่อแม่ควรเข้ามาสร้างกิจกรรมกับลูกระหว่างลูกทำแบบฝึกด้วย หรือหากซื้อแบบฝึกหัดมาก็อาจจะดูวัตถุประสงค์ของแบบฝึกหัดนั้นว่าต้องการอะไร เราก็แค่เสริมกิจกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นให้ลูก โดยจะได้ไม่ต้องให้ลูกไปอ่านตัวหนังสือหรือเนื้อหาที่มากเกินไป พยายามให้เขาได้ลงมือทำจากกิจกรรมที่เราจัดเตรียมไว้ให้ เพียงเท่านี้เด็กๆ ก็จะเรียนรู้ผ่านการเล่นและปฏิบัติได้อย่างดีเลยทีเดียวค่ะ