บทความการประกันคุณภาพการศึกษา 2562

ตามกฎกระทรวง “การประกันคุณภาพการศึกษา” พ.ศ.2561  กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลมีหน้าที่ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และแนะนำสถานศึกษาเพื่อให้การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อได้รับรายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาแล้ว ให้หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษาจัดส่งรายงานดังกล่าวพร้อมกับประเด็นต่างๆ ที่ต้องการให้มีการประเมินผลและติดตามตรวจสอบซึ่งรวบรวมได้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาแห่งนั้น ให้แก่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) เพื่อใช้เป็นข้อมูลและแนวทางในการประเมินคุณภาพภายนอกต่อไป

               การจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา เป็นการรายงานผลการดำเนินงานในรอบปีการศึกษาของสถานศึกษาในการเขียนรายงานต้องสะท้อนให้เห็นภาพความสำเร็จที่เกิดขึ้นตามบริบทของโรงเรียนตามมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ดังนั้น เพื่อให้โรงเรียนเอกชนมีความชัดเจนในการจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาตามแนวการประกันคุณภาพแนวใหม่ ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลมีข้อมูลในการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และแนะนำสถานศึกษา และใช้ข้อมูลรองรับการประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจึงจัดทำเอกสารเล่มนี้ขึ้น

โรงเรียนเอกชน

[embeddoc url=”https://www.krupatom.com/wp-content/uploads/2019/03/sar-2-1.docx” download=”all” viewer=”microsoft”]

โรงเรียนสามัญ

ระดับการศึกษาขั้นปฐมวัยและขั้นพื้นฐาน 2559 CLICK ที่นี่

[embeddoc url=”https://www.krupatom.com/wp-content/uploads/2019/03/sar2559.doc” download=”all” viewer=”microsoft”]

ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Instructional Leadership of School Administrators Affecting the Effectiveness of Internal Quality Assurance of School Under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1

ผู้แต่ง
ปิยพร บุญใบ, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ
Author
Piyaporn Boonbai, Ploenpit Thummarat, Ruethaisap Dokkham

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการยกระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 340 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 70 คน ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา จำนวน 70 คน และครูผู้สอน จำนวน 200 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .987 และประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .953 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเอฟ (F - test) แบบการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดของโรงเรียน โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์ในตำแหน่งโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีจำนวน 4 ด้านที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา (L7) ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (L4) ด้านการวัดและประเมินผล (L6) และด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียน (L1) โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 89.10 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของพยากรณ์เท่ากับ ± 0.15623

7. แนวทางการยกระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มีจำนวน 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียน ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

Abstract

The purposes of this research were to: examine, compare, identify the predictive power, and establish the guidelines for developing the instructional leadership administrators affecting the effectiveness of internal quality assurance (IQA) in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The samples, obtained through multi-stage random sampling, consisted of a total of 340 participants including 70 school administrators, 70 teachers in charge of IQA, and 200 teachers working in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the 2019 academic year. The research instrument included a five point - rating scale questionnaire concerning leadership administrators with the reliability of 0.987 and the effectiveness of the schools’ IQA with the reliability of 0.953. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, One-Way ANOVA, Pearson Product-Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The findings were as follows:

1. The instructional leadership of school administrators, as a whole and each aspect were at a high level.

2. The effectiveness of the schools’ IQA, as a whole and each aspect were at a high level.

3. The instructional leadership of school administrators as perceived by participants classified by positions and school sizes, as a whole indicated a statistically significant difference at the .01 level. There was also a significant difference at the level of .05 in terms of work experiences.

4. The effectiveness of the schools’ IQA as perceived by participants classified by positions and work experiences, as a whole indicated a statistically significant difference at the .05 level. There was also a significant difference at the level of .01 in terms of school sizes.

5. The instructional leadership of school administrators had a positive relationship with the effectiveness of  the schools’ IQA at a high level with the statistical significance of the .01 level.

6. The instructional leadership of school administrators comprised four aspects which were able to predict the effectiveness of the schools’ IQA at the statistical significance of the .01 level. The said factors comprised four factors: School IQA Development (L7), Learning Resource Development (L4), Measurement and Evaluation (L6), Determination of School Missions (L1). The predictive power of all said factors reached 89.10% with the standard error of estimate ± 0.15623.

7. The guidelines for developing the instructional leadership of school administrators affecting the effectiveness of the schools’ IQA involved five aspects: School IQA system, Learning Resource Development, Measurement and Evaluation, Determination of School Missions, and Internal Supervision

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, การประกันคุณภาพภายใน

Keyword

Instructional leadership, School Internal Quality Assurance