เลือกตั้งนายก 2565 วัน ไหน

14 พ.ย. 2565 – ผู้สื่อข่าวจังหวัดสงขลารายงานว่า เมื่อวันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่เทศบาลนครสงขลา มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครสงขลา (แทนตำแหน่งที่ว่าง) โดยมีผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครสงขลา จำนวน 4 ราย คือ หมายเลข 1 นางภัสราภรณ์ พลฑา หมายเลข 2 นายสมศักดิ์ ตันติเศรณี หมายเลข 3 นายวันชัย ปริญญาศิริ และ หมายเลข 4 นางสาวพลอยรำไพ แก้วแสงอ่อน

Show
เลือกตั้งนายก 2565 วัน ไหน

หลังจากปิดหีบนับคะแนนทั้งหมด 94 หน่วยเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งเทศบาลนครสงขลา ผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครสงขลา (แทนตำแหน่งที่ว่าง) อย่างไม่เป็นทางการ ปรากฎว่า นายวันชัย ปริญญาศิริ หมายเลข 3 ชนะการเลือกตั้ง ได้ 12,790 คะแนน ขณะที่นายสมศักดิ์ ตันติเศรณี หมายเลข 2 ได้ 12,567 คะแนน เฉือนชนะกันเพียง 223 คะแนน โดยภาพรวมการเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย.

เลือกตั้งนายก 2565 วัน ไหน

Tagsกกต.ชนะเลือกตั้งนครสงขลาสร้างสรรค์วันชัย ปริญญาศิริสงขลาสมศักดิ์ ตันติเศรณีเลือกตั้งนายกเทศบาลสงขลา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เลขาฯชวน สมัครเข้า รทสช. มั่นใจโกยคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.ตรัง เขต 4

ที่ทำการพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ซ.อารีย์ 5 นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร และอดีต ส.ส.ตรัง เดินทางสมัครเป็นสมาชิกพรรค โดยเมื่อมาถึงนายสมบูรณ์ได้เขียนใบสมัครต่อหน้านายทะเบียน และดำเนินการตามขั้นตอนของพรรคก่อนที่จะให้สัมภาษณ์

เอาแล้ว! สนธิญาร้อง กกต.สอบนโยบายขายฝันเพื่อไทยผิดกฎหมาย

'สนธิญา' ร้อง กกต.สอบนโยบายเงินเดือน 2.5 หมื่นบาท - ค่าแรง 600 บาทของเพื่อไทย ชี้ขายฝันทำลายเศรษฐกิจ สร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่ ฉะอุ๊งอิ๊งค์ไม่สมควรเป็นนายกฯ

เลขาฯกกต. สั่งเร่งให้ข้อมูลประชาชนเข้าใจง่าย หวังช่วยเลือกตั้งสุจริตโปร่งใส

นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า ตนได้ฝากเป็นข้อคิดกับทางสำนักประชาสัมพันธ์ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี 2566 ว่า เงื่อนไขที่สำคัญในการเลือกตั้งที่มีผู้เกี่ยวข้อง กว่า 50 ล้านคน

บึ้มซ้ำรางรถไฟดับ3เจ็บ4 ขันนอตจนท.เข้มพื้นที่ศก.

เกิดเหตุระเบิดซ้ำสองรางรถไฟสงขลา ห่างจากจุดแรก 250 ม. เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 3  เจ็บ 4 ราย

ป่วนใต้! ระเบิดรางรถไฟซ้ำจุดเดิม จนท.ซ่อมบำรุงทางบาดเจ็บ 7 ราย

หลังเหตุรถไฟขบวนรถสินค้าบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ ขบวนที่ 707 หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ตกรางในพื้นที่บ้านท่าโพธิ์ ระหว่างคลองแงะ-สะเดา พื้น

มีสะดุ้ง! 'พี่ศรี’ นัด 6 ธ.ค. ร้อง กกต.ฟันพรรคการเมืองเอื้อตู้ห่าว

ในวันอังคารที่ 6 ธ.ค.65 เวลา 10.00 น. ศรีสุวรรณจะเดินทางไปยื่นคำร้องต่อ กกต. กรณีเกี่ยวกับตู้ห่าว เพื่อขอให้ไต่สวนและวินิจฉัยพรรคการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองหนึ่ง

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากว่าความเป็นนายกรัฐมนตรีของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังไม่สิ้นสุดลง เนื่องจากดำรงตำแหน่งยังไม่ครบ 8 ปี

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งบัลลังก์เมื่อ 30 ก.ย. เพื่ออ่านคำวินิจฉัย โดยสรุปใจความสำคัญได้ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามมาตรา 158 วรรคสี่ ต้องเริ่มนับตั้งแต่ 6 เม.ย. 2560 อันเป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ. ประยุทธ์ ไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสอง และมาตรา 158 วรรคสี่

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมาถือเป็นการยุติข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นในหมู่นักกฎหมายและนักการเมือง ซึ่งตีความเอาไว้ 3 แนวทาง นั่นทำให้ พล.อ. ประยุทธ์ วัย 68 ปี ยังมีอายุทางการเมืองเหลืออยู่อีก 3 ปี

เป็นเวลา 37 วันที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องระงับการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อรอฟังคำวินิจฉัยคดี "นายกฯ 8 ปี" ในที่สุด ก.ย. นี้ คำตอบปรากฏแล้วว่า พล.อ. ประยุทธ์ ได้ไปต่อ

บีบีซีไทยรวบรวมต้นตอของคดีนี้ และประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอด 37 วันที่ พล.อ. ประยุทธ์ จำต้องถอยห่างจากเก้าอี้นายกฯ จนถึงฉากทัศน์ที่จะเกิดขึ้นหลังสิ้นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 30 ก.ย.

จุดเริ่มต้นคดี "นายกฯ 8 ปี"

17 ส.ค. นพ. ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภา นำคณะ ส.ส. ฝ่ายค้าน 171 คน ยื่นคำร้องต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ส่งเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ฝ่ายค้านมองว่า พล.อ. ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งครบ 8 ปีแล้ว ในวันที่ 24 ส.ค. 2565 ด้วยวิธีนับวาระดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. 2557 ที่ พล.อ. ประยุทธ์ ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หลังก่อรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557

มาตรา 158 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญปี 2560 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

นพ. ชลน่าน ศรีแก้ว ผู้นำฝ่ายค้านในสภา นำทีมยื่นเรื่องผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาส่งต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความการดำรงตำแหน่งนายกฯ ครบ 8 ปี ที่รัฐสภา 17 ส.ค.

51 คณาจารย์คณะนิติศาสตร์จาก 15 มหาวิทยาลัย ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยตั้งประเด็นวินิจฉัยและเสนอความเห็นต่อศาลไว้ 3 ข้อ ดังนี้

1. เห็นว่า พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ตามมาตรา 158 วรรคสี่ และภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 จะดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 8 ปี ดังนั้นหาก พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกฯ เกินวันที่ 24 ส.ค. 2565 ก็ต้องพ้นตำแหน่งทันทีในวันถัดไป

2. เห็นว่า รัฐธรรมนูญ 2560 มิได้ยกเว้นไม่ให้มาตรา 158 วรรคสี่ ใช้บังคับกับนายกฯ ที่ดำรงตำแหน่งมาก่อนรัฐธรรมนูญประกาศใช้ พล.อ. ประยุทธ์ จึงเป็นนายกฯ ได้ถึงวันที่ 24 ส.ค. 2565 เท่านั้น

3. ยกเจตนารมณ์ของมาตรา 158 วรรคสี่ ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) มาย้ำว่า การตีความเรื่องการห้ามมิให้นายกฯ ดำรงตำแหน่งเกิน 8 ปี เป็นเรื่องการควบคุมนายกฯ ไม่ให้อยู่ในอำนาจนานเกินไปจน "เกิดการผูกขาดอำนาจในทางการเมือง" จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติที่เขียนไว้โดยเคร่งครัด เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ดำรงตำแหน่งนายกฯ ได้ไม่เกิน 8 ปี และไม่มีข้อยกเว้นให้ จึงต้องนำระยะเวลาดำรงตำแหน่งก่อนรัฐธรรมนูญประกาศใช้รวมกันเข้าไปด้วย

ต่อมาฝ่ายค้านได้นำความเห็นของนักวิชาการด้านกฎหมายทั้ง 51 คนนี้ ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมผ่านทางประธานสภา เพื่อประกอบการพิจารณา

ศาลรัฐธรรมนูญรับตีความ สั่งนายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่

22 ส.ค. 2565 คำร้องของฝ่ายค้านส่งถึงสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

24 ส.ค. 2565 ที่ประชุมศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้อง ก่อนมีมติดังนี้

  • มติ 9:0 รับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัย โดยให้ผู้ถูกร้อง (พล.อ. ประยุทธ์) ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง
  • มติ 5:4 ให้ผู้ถูกร้อง (พล.อ. ประยุทธ์) หยุดปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ 24 ส.ค. 2565 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

พล.อ. ประยุทธ์ ประกาศผ่านโฆษกรัฐบาลว่า เคารพผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ โดยหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. 2565 แต่จะยังคงปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง รมว.กลาโหม ต่อไปตามปกติ

ตลอดการทำหน้าที่นายกฯ สมัยที่ 2 ในช่วงเวลา 3 ปีเศษ พล.อ. ประยุทธ์ ต้องเผชิญกับการตรวจสอบอย่างเข้มข้นจากทั้งฝ่ายค้าน และนักเคลื่อนไหวภาคประชาชนเจ้าของสมญาว่า "นักร้อง" ตั้งแต่เรื่องคำพูด ตำแหน่ง ยันบ้านพักอาศัย และมีคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญโดยตลอด โดย 1 คดี ศาลไม่รับตีความ ส่วนอีก 2 คดี เขารอดพ้นมาได้ด้วยมติเอกฉันท์

สำหรับคดี "นายกฯ 8 ปี" ถือเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับนายกฯ วัย 68 ปี คดีที่ 4 ที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

ด้วยเหตุนี้ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลำดับ 1 วัย 77 ปี จึงได้ปฏิบัติราชการแทนนายกฯ โดยมีอำนาจตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 237/2563 ที่ออกไว้แต่ดั้งเดิม

คำสั่งดังกล่าวระบุว่า ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกฯ ผู้รักษาราชการแทนจะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกฯ ได้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกฯ เสียก่อน

ต่อมา 30 ส.ค. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้แก้คำสั่งนายกฯ ดังกล่าว เพื่อมอบอำนาจเต็มให้ พล.อ. ประวิตร โดยตัดประโยคที่ว่า "ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกฯ เสียก่อน" ออกไป เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่ พล.อ. ประวิตร มาดำรงตำแหน่งรักษาการแล้ว หากมีการแต่งตั้งโยกย้ายหรือมีเรื่องงบประมาณจะต้องไปปรึกษา พล.อ. ประยุทธ์ ซึ่งอยู่ระหว่างหยุดปฏิบัติหน้าที่

ในระหว่างทำหน้าที่รักษาการนายกฯ สื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ต่างตั้งข้อสังเกตว่าบุคคลิกภาพของ พล.อ. ประวิตร กระฉับกระเฉงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และไม่หลบเลี่ยงในการตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนด้วยคำว่า "ไม่รู้ ๆ" แบบเมื่อครั้งเป็นรองนายกฯ

6 ส.ค. 2565 ช่วงที่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังพิจารณาคดี "นายกฯ 8 ปี" มีเอกสารหลุดลายฉบับที่เผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เริ่มจากเอกสารที่อ้างว่าเป็นความเห็นของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่ตีความว่าการนับวาระนายกฯ ต้องเริ่มตั้งแต่ 6 เม.ย. 2560

เอกสารดังกล่าวคือ บันทึกการประชุม กมธ. ครั้งที่ 500 มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. นายสุพจน์ ไข่มุกด์ รองประธาน กรธ. และกรรมการคนอื่น ๆ รวม 30 คนเข้าร่วม เนื้อหาที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางคือบทสนทนาระหว่างประธานและรองประธานนั่นเอง

  • มีชัย : ผู้ที่เป็นนายกฯ อยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้บังคับ สามารถนับรวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกฯ ดังกล่าวเข้ากับวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 หรือไม่
  • สุพจน์ : หากนายกฯ ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้บังคับ เมื่อประเทศไทยยังคงมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ควรนับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว รวมเข้ากับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ด้วย
  • มีชัย : (หยิบยกบทเฉพาะกาลในมาตรา 264 วรรคหนึ่ง มาอ้างถึง) ก่อนชี้ว่า การบัญญัติในลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า แม้จะดำรงตำแหน่งนายกฯ อยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญ 2560 ใช้บังคับ ก็สามารถนับรวมระยะเวลาดังกล่าวรวมกับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ได้ ซึ่งเมื่อนับรวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกฯ ต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 8 ปี

เอกสารความเห็นของนายมีชัย ทำให้เลขาธิการการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญต้องออกมาตั้งโต๊ะแถลงปฏิเสธข่าวลือว่ามีการตัดสินคดีแล้ว ยืนยันความเป็นอิสระของตุลาการทั้ง 9 คน พร้อมเปิดเผยว่าประธานศาลรัฐธรรมนูญกังวลใจกรณี "เอกสารหลุด" จึงสั่งตรวจสอบข้อเท็จจริง

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

มีชัย ฤชุพันธุ์ ตอบรับการทำหน้าที่ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2560โดยให้เหตุผลว่า "เพื่อทดแทนคุรแผ่นดิน"

อีกเอกสารที่สังคมให้ความสนใจ และเป็นเอกสารหลุดเพียง 1 วัน ก่อนวันประชุมศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาคดีนี้ต่อเนื่องในวันที่ 8 ก.ย. คือ คำชี้แจงของ พล.อ. ประยุทธ์ ต่อศาลรัฐธรรมนูญ มีเนื้อหา 30 หน้า

เหตุผลสำคัญที่ชี้แจงในเอกสารคือ การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 ทำให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีจากการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2557 เป็นอันสิ้นสุดลง นับตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย. 2560 ส่งผลให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก "ขาดตอน" เพราะการดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย. 2560 หลังรัฐธรรมนูญบังคับใช้นั้น เป็นการดำรงตำแหน่งตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่หลังการเลือกตั้งในปี 2562

ดังนั้น การเป็นนายกรัฐมนตรีหลังรัฐธรรมนูญบังคับใช้ จึงเป็นการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใหม่ตามบทเฉพาะกาล และได้ขาดตอนจากการเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรกไปแล้ว

หากพิจารณาจากคำชี้แจง หมายความว่า พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ในสถานะที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • การดำรงตำแหน่งครั้งที่ 1 ตั้งแต่ 24 ส.ค. 2557 ตามรัฐธรรมนูญ 2557
  • การดำรงตำแหน่งเฉพาะกาล ตั้งแต่ 6 เม.ย. 2560 ตามรัฐธรรมนูญ 2560 บทเฉพาะกาล
  • การดำรงตำแหน่งครั้งที่ 2 ตั้งแต่ 9 มิ.ย. 2562 ตามรัฐธรรมนูญ 2560

นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ อธิบายถึงขั้นตอนการพิจารของศาล ดังนี้

  • ถ้าข้อเท็จจริงพยานหลักฐานต่าง ๆ เพียงพอต่อการพิจารณา ก็ให้ศาลยุติการแสวงหาพยานหลักฐาน
  • กำหนดประเด็นวินิจฉัย
  • ศาลนัดอ่านคำแถลงของตุลาการแต่ละคนในที่ประชุม ปรึกษาหารือ และลงมติ
  • ถ้าเป็นคำร้องที่มีคู่กรณี โดยประเพณีปฏิบัติ ศาลจะลงมติในช่วงเช้า และอ่านในช่วงเย็นหรือบ่าย "การที่ศาลจะอ่าน ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในระหว่างการไต่สวน ศาลจะนัดล่วงหน้า โดยมีกรอบเวลาขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 7 วัน ให้คู่ความมาฟังศาลอ่านคำวินิจฉัย"

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

14 ก.ย. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ได้ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาคดีการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ. ประยุทธ์ โดยอภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยแล้วเห็นว่า คดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ และกำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติ และอ่านคำวินิจฉัยให้คู่กรณีฟัง ในวันที่ 30 ก.ย. 2565 เวลา 15.00 น.

วิธีที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. 2557 ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ภายหลังก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นชอบ ตามด้วยการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในวันที่ 24 ส.ค. 2557 หากนับด้วยวิธีนี้ พล.อ. ประยุทธ์ จะดำรงตำแหน่งครบ 8 ปี ในวันที่ 23 ส.ค. 2565

วิธีที่ 2 เริ่มนับวันที่ 6 เม.ย. 2560 หรือวันที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2560 และให้ถือว่าการดำรงตำแหน่งก่อนหน้านี้เป็นการดำรงตำแหน่งเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญชั่วคราว หากนับด้วยวิธีนี้ พล.อ. ประยุทธ์ จะดำรงตำแหน่งต่อไปได้ถึงวันที่ 5 เม.ย. 2568

วิธีที่ 3 เริ่มนับวันที่ 9 มิ.ย. 2562 หลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2562 รัฐสภามีมติเมื่อ 5 มิ.ย. 2562 เห็นชอบแต่งตั้ง พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามด้วยการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในวันที่ 9 มิ.ย. 2557 หากนับด้วยวิธีนี้ พล.อ. ประยุทธ์ จะดำรงตำแหน่งต่อไปได้ถึง 8 มิ.ย. 2570

อย่างไรก็ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนญอาจไม่ได้ระบุชัดเจนว่าการนับวาระดำรงตำแหน่งนายกฯ ของ พล.อ. ประยุทธ์ต้องใช้สูตรไหน เพราะในคำร้องของฝ่ายค้านถามเพียงว่าการดำรงตำแหน่งนายกฯ ของ พล.อ. ประยุทธ์ ถือว่าครบวาระ 8 ปี เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2565 หรือไม่ จึงมีความเป็นไปได้ว่าศาลอาจวินิจฉัยประเด็นนี้ประเด็นเดียว ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ต้องไปรอลุ้นอีกทีในคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการทั้ง 9 คน

ฉากทัศน์ 1 : หาก ประยุทธ์ ไม่ได้ไปต่อ

หากผลการตัดสินคดี "นายกฯ 8 ปี" ไม่ออกมาตามที่ พล.อ. ประยุทธ์ และมือกฎหมายของเขาปรารถนา โดยมีคำสั่งให้ พล.อ. ประยุทธ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 158 วรรคสี่

เขาจะยังมีสถานะรักษาการนายกรัฐมนตรี แต่อาจเลือกที่จะไม่ทำหน้าที่รักษาการก็ได้ ส่วนคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทั้งคณะยังมีอำนาจเต็ม จนกว่าจะมี ครม. ชุดใหม่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ต่อ

จากนั้นต้องเข้าสู่กระบวนการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ตามบทเฉพาะกาล มาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งกำหนดให้ ส.ว. ร่วมกับ ส.ส. ให้ความเห็นชอบแต่งตั้งนายกฯ ในช่วง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญ 2560 โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

การเลือกนายกฯ ให้เลือกจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตอนเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 ซึ่งขณะนี้เหลือบุคคลที่ยังมีคุณสมบัติครบถ้วน และยังไม่แจ้งความประสงค์ขอถอนตัว ประกอบด้วย นายชัยเกษม นิติสิริ จากบัญชีพรรคเพื่อไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล จากบัญชีพรรคภูมิใจไทย และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากบัญชีพรรคประชาธิปัตย์

มีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือ 48 คน จาก ส.ส. ที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ 478 คน

การลงคะแนนเลือกนายกฯ ต้องกระทำโดยเปิดเผย ลงมติด้วยการขานชื่อ และต้องได้รับเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ 364 คน จากสมาชิกรัฐสภาที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ 727 คน (ส.ส. 478 คน และ ส.ว. 249 คน)

หากไม่สามารถเลือกนายกฯ ในบัญชีของพรรคการเมืองได้ ให้สมาชิกทั้งสองสภารวมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ หรือ 364 คน เข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา ขอให้มีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเลือกนายกฯ ในบัญชีได้ โดยต้องใช้มติไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ 484 คน

จากนั้นเข้าสู่กระบวนการเลือกนายกฯ คนใหม่ โดยจะเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ ในบัญชีพรรคการเมือง หรือนอกบัญชีพรรคการเมืองก็ได้

ฉากทัศน์ 2 : หาก ประยุทธ์ ได้ไปต่อ

พล.อ. ประยุทธ์ กลับมาดำรงตำแหน่งต่อจนกว่าสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 จะครบวาระในเดือน มี.ค. 2566 หรือมีการประกาศรยุบสภาเพื่อจัดการเลือกตั้งทั่วไป โดยเขายังมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อให้เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีในบัญชีพรรคการเมืองได้อีก แต่ทั้งนี้ต้องรอดูการตีความจากศาลรัฐธรรมนูญว่า พล.อ. ประยุทธ์ดำรงตำแหน่งนายกฯ ไปกี่ปีแล้ว เพราะนี่ย่อมมีผลต่อการตัดสินใจของทั้งพรรคการเมืองและประชาชน

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศไทม์ไลน์การเลือกตั้งในกรณีสภาผู้แทนราษฎร ครบวาระในวันที่ 23 มี.ค. 2566 ตามที่รัฐธรรมนูญ กำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 45 วัน

เบื้องต้น กำหนดให้เลือกตั้งในวันที่ 7 พ.ค. 2566 ซึ่งเป็นวันครบ 45 วัน นับแต่ครบวาระนั่นเอง

อย่างไรก็ดี กกต. ระบุว่า ยังไม่กำหนดแผนการเลือกตั้งหากเกิดการยุบสภาก่อนครบกำหนดวาระ 23 มี.ค. 2566 ซึ่งจะต้องกำหนดวันเลือกตั้งหลังยุบสภาภายใน 45-60 วันนับแต่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภา กกต. ต้องประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง และวันสมัครรับเลือกตั้งในราชกิจจานุเบกษาต่อไป