ธุรกิจหลักทรัพย์ ภาษาอังกฤษ

ระบบเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ เดิมเรียกว่าตลาดกำลังพัฒนา แบ่งออกตามภูมิภาค 3 โซนด้วยกัน 1. ประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ไทย, เกาหลีใต้, จีน, อินเดีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย และปากีสถาน 2. ประเทศแถบละตินอเมริกา ได้แก่ อาร์เจนตินา, บราซิล, ชิลี, โคลัมเบีย, เม็กซิโก, เปรู และเวนาซูเอลา 3. ประเทศแถบยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลาง ได้แก่ สาธารณรัฐเชก, ฮังการี, โปแลนด์, รัสเซีย, อิสราเอล, จอร์แดน, โมร็อคโค, อียิปต์, แอฟริกาใต้ และตุรกี

หุ้นสามัญของบริษัทต่าง ๆ หุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เป็นต้น

กองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ซึ่งตราสารแห่งทุนหมายความถึงหุ้นสามัญของบริษัทต่าง ๆ หุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เป็นต้น

เป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนเป็นไปในทิศทางเดียวกับดัชนีอ้างอิง โดยดัชนีอ้างอิงมีทั้งที่เป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ (SET INDEX) , ดัชนีตราสารหนี้ รวมถึงดัชนีอ้างอิงราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ น้ำมัน ทั้งนี้ บลจ. จะนำหน่วยลงทุนไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนผ่านโบรกเกอร์ เช่นเดียวกับการซื้อขายหุ้น ที่ราคาซื้อขายปัจจุบัน (Real time) ในตลาด ณ ขณะนั้น และบลจ. จะทำการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกับผู้ลงทุนรายใหญ่ เรียก ว่า Participating Dealer (PD) ซึ่งอาจเป็นบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ โดยตรง โดย PD จะนำหลักทรัพย์หรือหุ้นที่อยู่ในกลุ่มดัชนีอ้างอิงมาแลกเปลี่ยนกับหน่วยลงทุน และจะมีผู้ลงทุนรายใหญ่อย่างน้อย 1 ราย ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่อง (market maker) เพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดรองสะท้อนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมได้อย่างใกล้เคียง

กองทุนรวมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เปิดให้ซื้อขายหน่วยลงทุนได้เสมือนหุ้น โดยผู้ลงทุนสามารถส่งคำสั่งซื้อหรือขายผ่านโบรกเกอร์ได้เหมือนการซื้อขายหุ้นทั่วไป และเป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่เน้นการสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงดัชนีอ้างอิง อาทิ ดัชนีราคาหุ้น ดัชนีราคาหุ้น SET50 ดัชนีราคาตราสารหนี้​กองทุนรวมตราสารหนี้  (Fixed Income Fund)กองทุนรวมที่นำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ (เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ภาคเอกชน)กลุ่มหลักทรัพย์ลงทุน (Portfolio)หลักทรัพย์ทั้งหมดในความครอบครองของผู้ลงทุนรายใดรายหนึ่ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยหลักทรัพย์จำนวนตั้งแต่ 2 ชนิด หรือ 2 บริษัทขึ้นไป วัตถุประสงค์ในการสร้าง Portfolio ของผู้ลงทุนก็เพื่อกระจายความเสี่ยงในการลงทุนด้วยการกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ของหลายกิจการ หรือหลายประเภทการจับคู่คำสั่งซื้อขายโดยอัตโนมัติ  (Automatic Order Matching : AOM)

เป็นวิธีการซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายส่งการเสนอซื้อและเสนอขายด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเข้ามายังระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ โดยที่ระบบคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์จะทำการเรียงลำดับ และจับคู่คำสั่งซื้อขายให้โดยอัตโนมัติ

1. การจัดเรียงลำดับคำสั่งซื้อขาย

เมื่อสามารถส่งคำสั่งซื้อขายเข้ามา ระบบการซื้อขายจะเก็บคำสั่งซื้อขายไว้ตั้งแต่เวลาที่ส่งคำสั่งซื้อขาย จนถึงสิ้นวันทำการ และจัดเรียงคำสั่งซื้อขายตามลำดับของราคาและเวลาที่ดีที่สุด (Price then Time Priority) โดยมีหลักการคือ

(1) คำสั่งซื้อที่มีราคาเสนอซื้อสูงที่สุดจะถูกจัดเรียงไว้ในลำดับที่หนึ่ง และถ้ามีราคาเสนอซื้อที่สูงกว่าถูกส่งเข้ามาใหม่จะจัดเรียงราคาเสนอซื้อที่สูงกว่าเป็นการเสนอซื้อในลำดับแรกก่อน และถ้ามีการเสนอซื้อในแต่ละราคามากกว่าหนึ่งรายการ ให้จัดเรียงตามเวลา โดยการเสนอซื้อที่ปรากฏในระบบการซื้อขายก่อนจะถูกจัดไว้เป็นการเสนอซื้อในลำดับก่อน

(2) คำสั่งขายที่มีราคาเสนอขายต่ำที่สุดจะถูกจัดเรียงไว้ในลำดับที่หนึ่ง และถ้ามีราคาเสนอขายที่ต่ำกว่าถูกส่งเข้ามาใหม่จะจัดเรียงราคาเสนอขายที่ต่ำกว่าเป็นการเสนอขายในลำดับแรกก่อน และถ้ามีการเสนอขายในแต่ละราคามากกว่าหนึ่งรายการให้จัดเรียงตามเวลา โดยการเสนอขายที่ปรากฏในระบบการซื้อขายก่อนจะถูกจัดไว้เป็นการเสนอขายในลำดับก่อน

2. การจับคู่การซื้อขาย (Matching)

เมื่อคำสั่งซื้อขายผ่านเข้ามาในระบบซื้อขายแล้ว ระบบซื้อขายจะตรวจสอบว่าคำสั่งนั้นสามารถจับคู่กับคำสั่งด้านตรงข้ามได้ทันทีหรือไม่ ถ้าคำสั่งนั้นสามารถจับคู่ได้ทันที ระบบก็จะทำการจับคู่ให้ แต่ถ้าคำสั่งนั้นไม่สามารถจับคู่ได้ ระบบจะจัดเรียงคำสั่งซื้อขายนั้นตามหลักการ Price then Time Priority ตามที่กล่าวข้างต้นเพื่อรอการจับคู่คำสั่งต่อไป

การซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ (Over the Counter)รูปแบบของการเจรจาเพื่อตกลงทำการซื้อขายรูปแบบหนึ่ง ทั้งนี้ ปริมาณของตราสาร และราคาที่ตกลงจะซื้อจะขายกันนั้น ขึ้นอยู่กับการตกลงกันเองระหว่างคู่ค้าทั้งสองฝ่ายการทำคำเสนอซื้อหุ้นต่อผู้ถือหุ้นทั่วไป (Tender Offer) การแจ้งแก่ผู้ถือหุ้นทุกรายถึงความต้องการที่จะซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้น โดยระบุจำนวนหุ้น ราคา และกำหนดเวลาที่ต้องการรับซื้อ โดยทั่วไปมักจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ทำคำเสนอซื้อมีวัตถุประสงค์ที่จะเข้าไปมีอำนาจควบคุมการบริหารงานของบริษัทการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชน (Public Offering)

 

การที่บริษัทมหาชนจำกัดนำหลักทรัพย์มาเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป โดยจะต้องกระทำผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้ประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter) รวมทั้งต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และต้องจัดทำหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดกำไรส่วนทุนจากการขายหลักทรัพย์  ​(Capital Gain)กำไรจากการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นจากการขายหลักทรัพย์ออกไปในราคาที่สูงกว่าราคาที่ซื้อมา

​ค่านายหน้า (Commission)

ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุนจะต้องชำระให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นนายหน้าในอัตราที่ตกลงกันระหว่างลูกค้าและบริษัท

​เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)

มาตรการที่นำมาใช้หยุดการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราว ในกรณีที่สภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์มีความผันผวนรุนแรง ราคาหลักทรัพย์โดยรวมลดลงมาเพื่อให้ผู้ลงทุนมีเวลาตรวจสอบข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการลงทุนอย่างครบถ้วน

ดอกเบี้ยค้างรับ (Accrued Interest)

ดอกเบี้ยสะสมที่เกิดจากการลงทุนในตราสารหนี้ นับจากวันจ่ายดอกเบี้ยงวดล่าสุดจนถึงวันคำนวณดอกเบี้ย

​ดัชนี SET50 (SET50 INDEX)  ​​

ดัชนีราคาหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดทำขึ้นเพื่อใช้แสดงระดับและความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญ 50 หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูง และการซื้อขายมีสภาพคล่องอย่างสม่ำเสมอ

ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET INDEX)

ดัชนีราคาหุ้นที่คำนวณโดยการถัวเฉลี่ยราคาหุ้นสามัญแบบถ่วงน้ำหนักด้วยจำนวนหุ้นจดทะเบียน โดยใช้หุ้นสามัญจดทะเบียนทุกหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange)

หนังสือตราสาร ซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า "ผู้สั่งจ่าย" สั่งบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า "ผู้จ่าย" ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "ผู้รับเงิน"

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives)

ตราสารทางการเงินที่มูลค่าหรือราคาของตราสารนั้นเกี่ยวเนื่องกับมูลค่าของสินทรัพย์ที่ตราสารนั้นอ้างอิงอยู่ (Underlying Asset) ซึ่งอาจเป็นตราสารทุน ตราสารหนี้ เงินตราต่างประเทศ สินค้าโภคภัณฑ์ หรือสินทรัพย์อ้างอิงประเภทอื่น ๆ

ตราสารหนี้ที่ไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย ​(Zero Coupon Bonds) 

ตราสารหนี้ที่ไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย (Coupon) ในช่วงอายุของตราสารนั้น ๆ โดยจะออกเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนในราคาที่ต่ำกว่าราคาหน้าตั๋ว และผู้ลงทุนจะได้รับเงินตามหน้าตั๋วเมื่อตราสารหนี้ครบกำหนดชำระ

​ตลาดการเงิน (Financial Market)

แหล่งการลงทุนและระดมทุนซึ่งแบ่งเป็นตลาดเงิน (ระยะสั้น) และตลาดทุน (ระยะยาว)

​ตลาดเงิน (Money Market)

แหล่งระดมเงินออมและให้สินเชื่อระยะสั้นที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี ตราสารทางการเงินที่ซื้อขาย ได้แก่ เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วเงินคลัง

ตลาดทุน (Capital Market)

แหล่งระดมเงินออมและให้สินเชื่อระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ซึ่งโดยปกติการหาเงินทุนสามารถกระทำได้จาก 2 แหล่ง คือ จากตลาดตราสารทุน และตลาดตราสารหนี้

​ตลาดแรก (Primary Market)

แหล่งกลางที่ผู้ต้องการระดมเงินทุนจะนำตราสารทางการเงินออกใหม่ประเภทต่าง ๆ เสนอขายให้แก่นักลงทุนทั้งที่เป็นสถาบันและประชาชนทั่วไป

ตลาดรอง (Secondary Market)

แหล่งกลางสำหรับการซื้อขายเปลี่ยนมือความเป็นเจ้าของตราสารทางการเงินที่ได้ผ่านการซื้อในตลาดแรกมาแล้

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ​(The Stock Exchange of Thailand : SET) 

จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 เพื่อทำหน้าที่เป็นแหล่งระดมทุนระยะยาวที่มีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์และให้บริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนควบคุมดูแลให้การซื้อขายหลักทรัพย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระเบียบ คล่องตัวและยุติธรรม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518

ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ  ​(Market for Alternative Investment : MAI)

จัดตั้งภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเป็นตลาดทางเลือกในการระดมทุนระยะยาวของธุรกิจ เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2542  โดยมีพันธกิจในการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

-  สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน

-  เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยความโปร่งใส มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

-  เสริมสร้างเครือข่ายเพื่อความพร้อมในการแข่งขัน

ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill)

ตราสารหนี้ระยะสั้นไม่เกิน 12 เดือนที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกจำหน่ายโดยวิธีประมูล โดยผู้ที่ชนะการประมูลชำระเงินในราคาส่วนลด (discount) จากราคาที่ตราไว้ เมื่อถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน ผู้ถือตั๋วเงินคลังจะได้รับเงินคืนเต็มจำนวนตามราคาที่ตราไว้

ตั๋วสัญญาใช้เงิน  (Promissory Note)​

ตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่า "ผู้ออกตั๋ว" ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่า "ผู้รับเงิน"

นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker)

บริษัทหลักทรัพย์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุน โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่านายหน้าจากผู้ลงทุนเป็นผลตอบแทน 

บัญชีเงินสด (Cash  Account)

บัญชีเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุนวางหลักประกันไว้จำนวนหนึ่ง โดยบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นนายหน้าให้แก่ผู้ลงทุนนั้น จะอนุมัติวงเงินในการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เหมาะสมกับฐานะการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ลงทุน

​ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง  (Depository Receipt : DR)

ตราสารที่ออกและเสนอขายโดย บริษัท สยามดีอาร์ จำกัด ผู้ลงทุนที่ถือใบแสดงสิทธิฯ ดังกล่าว จะได้รับผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์ทางการเงิน (Financial Right) หรือสิทธิในการออกเสียงลงคะแนน (Voting Right) ซึ่งผู้ถือจะต้องมีสัญชาติไทย และออกเสียงลงคะแนนโดยผ่านบริษัท สยามดีอาร์ จำกัด เท่านั้น

​ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ (Warrant)

ตราสารการเงินที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์ที่ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ นั้นอ้างอิงอยู่ (Underlying Securities)  ในจำนวน ราคา และตามระยะเวลาที่กำหนดไว้  ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเลือกใช้หรือไม่ใช้สิทธิได้  

ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ​(Transferable Subscription Rights : TSR)

ตราสารทางการเงินที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่แต่ละรายถืออยู่ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นเดิมที่ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว สามารถขายหรือโอนสิทธิให้แก่ผู้อื่นได้

ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depository Receipt : NVDR)

ตราสารประเภททุนที่ออกโดย บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด มีสถานะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยอัตโนมัติ และมีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายได้ในลักษณะเช่นเดียวกับการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนทั่วไป และจะได้รับผลตอบแทนทางการเงินเช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ แต่จะไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น

​ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrant : DW)

ตราสารการเงินที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหรือขายดัชนีหลักทรัพย์ (Index) หรือหลักทรัพย์อ้างอิง (Underlying Securities) ซึ่งอาจเป็นหุ้นของบริษัทอื่น ในราคาและระยะเวลาใช้สิทธิที่กำหนดไว้ โดยบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์เป็นผู้กำหนดว่าจะเลือกการส่งมอบเป็นหลักทรัพย์หรือเงินสดก็ได้

​ผู้ค้าหลักทรัพย์ (Dealer)

สถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตทำธุรกรรมด้านการค้าตราสารหนี้จากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยทั่วไปแล้ว Dealer จะมีรายได้จากกำไรส่วนต่างระหว่างราคาซื้อ และราคาขาย (Spread)

ผู้ประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter)

บริษัทหลักทรัพย์ที่ทำหน้าที่ในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ให้แก่บริษัทที่ต้องการกระจายหลักทรัพย์ให้แก่ประชาชนทั่วไป  โดยบริษัทหลักทรัพย์รายหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งทำข้อตกลงในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์กับบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์  และรับเอาหลักทรัพย์ออกมาเสนอขายต่อประชาชน

พันธบัตรหรือหุ้นกู้ (Bond) 

ตราสารแห่งหนี้ระยะยาวซึ่งผู้ออกมีข้อผูกพันตามกฎหมายที่จะชำระดอกเบี้ยและเงินต้นแก่ผู้ซื้อตามเวลาที่กำหนด  ทั้งนี้

-  ในต่างประเทศจะใช้คำว่า Bond สำหรับตราสารหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Secured Bond)  และจะใช้คำ ว่า Debenture สำหรับตราสารหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Unsecured Bond)

-  ในประเทศไทยนิยมใช้ Bond หรือพันธบัตรในการเรียกตราสารหนี้ภาครัฐ และใช้ Debenture หรือหุ้นกู้ในการเรียกตราสารหนี้ภาคเอกชน 

พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ​(BOT Bond)

ตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อใช้เป็นเครื่องมือเพื่อดำเนินนโยบายการเงิน

พันธบัตรภาครัฐ (Government Bond)

ตราสารหนี้ที่ออกโดยกระทรวงการคลังเพื่อระดมเงินทุนจากนักลงทุนและประชาชน  

มูลค่าตามบัญชี (Book Value) 

มูลค่าของหุ้นสามัญหรือมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (Net Asset Value) ตามงบดุลล่าสุดของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ที่คำนวณได้จากการนำสินทรัพย์รวมหักด้วยหนี้สินรวม (ส่วนของผู้ถือหุ้น)

ระบบไร้ใบหุ้นหรือไร้ใบหลักทรัพย์  (Scripless System)

วิธีการระบุหลักทรัพย์ที่มีอยู่ในครอบครองโดยการบันทึกข้อมูลไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องมีใบหุ้นที่มีลักษณะเป็นกายภาพ เช่น กระดาษ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ช่วยลดการสูญหาย การถูกทำลาย และการปลอมแปลงใบหุ้น รวมถึงสะดวกต่อการส่งมอบหลักทรัพย์หลังการซื้อขาย โดยไม่ต้องมีการส่งมอบหรือรับมอบใบหุ้นจริง เพียงแต่เป็นการโอนและรับโอนหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกันทางบัญชีเท่านั้น  ระบบฯ พัฒนาและให้บริการโดย บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด

ระบบบาทเนท ​​(Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network : BATHNET)

ระบบเครือข่ายทางอิเลคทรอนิกส์ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อการรับส่งข้อความทางการเงิน และคำสั่งโอนเงินในลักษณะ on-line กันระหว่างสถาบันที่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้การโอนเงินและการติดต่อธุรกิจทางการเงินเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย

สัญญาซื้อขายฟิวเจอร์ส (Futures Contract)

สัญญาระหว่างคู่สัญญาสองฝ่ายที่ตกลงราคากัน ณ ปัจจุบัน และจะมีการส่งมอบสินทรัพย์และชำระเงินในอนาคตตามราคาที่ตกลงไว้ ไม่ว่าราคาในขณะนั้นจะเป็นเท่าไร

สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (Association of Investment Management Companies)

สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ พ.ศ. 2535 ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2537 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทบริษัทจัดการลงทุน ในอันที่จะสร้างมาตรฐานและพัฒนาการประกอบธุรกิจ พัฒนาการลงทุนและตลาดทุนไทย รักษาผลประโยชน์และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนในกองทุนรวม

​สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (Association of Securities Companies)

สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ พ.ศ. 2535 จดทะเบียนตามกฎหมายดังกล่าวเมื่อ 17 กันยายน 2535  มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมของบริษัทหลักทรัพย์ทุกประเภท ในอันที่จะร่วมมือกันและให้ความร่วมมือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ในการส่งเสริมพัฒนาตลาดทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ของไทย

สัญญาฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 (SET50 Index Futures)

สัญญา Futures ซึ่งมีสินค้าอ้างอิงเป็น SET50 Index  โดยทำการซื้อขายในบริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (TFEX) ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเปิดบัญชีและซื้อขายผ่านบริษัทโบรกเกอร์ที่เป็นสมาชิกของ TFEX

สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่ (RIGHTS หรือ Subscription Right)​

สิทธิที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์มอบให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ในการที่จะจองซื้อหุ้นสามัญ และ/หรือหุ้นบุริมสิทธิ ที่ออกใหม่จากการเพิ่มทุนของบริษัท  โดยผู้ถือหุ้นจะได้สิทธิตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครองอยู่

หุ้นกู้ (Debenture)

ตราสารหนี้ที่บริษัทนำออกจำหน่ายเพื่อเป็นการกู้เงินจากผู้ลงทุน หุ้นกู้จะมีกำหนดเวลาไถ่ถอนคืนที่แน่นอน โดยผู้ถือหุ้นกู้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท และได้รับดอกเบี้ยตอบแทนเป็นงวด ๆ ตามอัตราที่กำหนดไว้ตลอดอายุของหุ้นกู้ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับฐานะกิจการของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ และระดับอัตราดอกเบี้ยในตลาดขณะที่นำหุ้นกู้ออกจำหน่ายครั้งแรก

หุ้นกู้ชนิดทยอยคืนเงินต้น (Amortizing Debenture)​

หุ้นกู้ที่ทยอยชำระคืนเงินต้นบางส่วนให้แก่ผู้ถือ โดยกำหนดจำนวนเงินและงวดที่จะชำระไว้ล่วงหน้าในหนังสือชี้ชวน

หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated Debenture)

หุ้นกู้ที่ผู้ถือมีสิทธิได้รับชำระคืนเงินภายหลังเจ้าหนี้ทั่วไปและภายหลังหุ้นกู้ชนิดอื่น ในกรณีที่บริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้นล้มละลาย

​หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture)

หุ้นกู้ประเภทที่ระบุให้สิทธิผู้ถือที่จะแปลงสภาพหุ้นกู้นั้นไปเป็นหุ้นสามัญของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้นตามอัตราราคาแปลงสภาพ และเวลาที่กำหนดไว้ได้

​หุ้นกู้ภาคเอกชน  (Corporate Bond)

หุ้นกู้ที่ภาคเอกชนเป็นผู้ออกเพื่อการระดมทุนจากนักลงทุนและประชาชนทั่วไปเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการ

หุ้นกู้ไม่มีประกัน (Unsecured Bond)​

หุ้นกู้ที่ผู้ออกหุ้นกู้มิได้จัดให้มีหลักประกันเพื่อการชำระหนี้

​หุ้นกู้ระยะสั้น (Short-term Debenture)

หุ้นกู้ที่มีกำหนดเวลาชำระคืนไม่เกิน 270 วัน แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้ที่มีการจัดให้มีผู้แทนถือหุ้นกู้ หุ้นกู้ด้อยสิทธิ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ

​หุ้นกู้อนุพันธ์ (Structure Note)

ตราสารหนี้ประเภทหนึ่งที่อัตราผลตอบแทนหรือมูลค่าเงินต้นไปอิงหรือเชื่อมโยงกับสิ่งอื่น เช่น ดัชนีต่าง ๆ ตลอดจนสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล

​หุ้นทุนซื้อคืน / หุ้นคงคลัง (Treasury Stock)

หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และตราสารทุนอื่นที่มีสิทธิและลักษณะเทียบเท่าหุ้นสามัญของกิจการ ซึ่งกิจการหรือบริษัทย่อยของกิจการได้ซื้อคืนกลับมาจากผู้ถือหุ้น หุ้นทุนซื้อคืนนี้ไม่ถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ แต่เป็นการลดสิทธิเรียกร้องของผู้ถือหุ้นในสินทรัพย์ของกิจการ

หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)​

หลักทรัพย์ประเภทตราสารทุนที่บริษัทออกจำหน่ายเพื่อเป็นการระดมเงินทุนมาดำเนินกิจการ  ผู้ถือหุ้นฯ มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของเช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นสามัญ และมีสิทธิพิเศษอื่น ๆ เช่น ได้รับเงินปันผลในอัตราที่กำหนดไว้แน่นอนและก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ แต่จะไม่ได้รับสิทธิลงคะแนนเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น

หุ้นสามัญ (Common Stock)​

หลักทรัพย์ประเภทตราสารทุนที่บริษัทออกจำหน่ายเพื่อเป็นการระดมเงินทุนมาดำเนินกิจการ  ผู้ถือหุ้นฯ มีสถานะเป็นเจ้าของบริษัทตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือ มีสิทธิออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น (ตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ตนถืออยู่) รวมทั้งจะได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผลเมื่อบริษัทมีกำไรเพียงพอที่จะจ่ายปันผล และได้สิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นออปชั่น (Options)​ตราสารสิทธิที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการที่จะซื้อหรือขายสินค้าหรือหลักทรัพย์ตามจำนวน เวลา และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ออปชั่นแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

(1) ตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือซื้อทรัพย์สินอ้างอิง "Call Options"

(2) ตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือขายทรัพย์สินอ้างอิง "Put Options"

ผู้ซื้อออปชั่นจะต้องจ่ายเงิน "ค่าพรีเมี่ยม" (Premium) ให้กับผู้ขายออปชั่น ซึ่งผู้ซื้อเลือกที่จะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ แต่ผู้ขายออปชั่นมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาหากผู้ซื้อขอใช้สิทธิ  โดยราคาที่ผู้ซื้อสามารถใช้สิทธิซื้อหรือขายตามสัญญาออปชั่น เรียกว่า "ราคาใช้สิทธิ" (Exercise Price หรือ Strike Price)​


อื่น ๆ​

การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ : Clearing and Settlement

การชำระค่าซื้อขายแบบยอดสุทธิ : Net Settlement

การซื้อขายรายใหญ่ : Big Lot

การซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต : Internet Trading

การบันทึกมูลค่าทางบัญชีตามมูลค่ายุติธรรม : Mark-to-Market

การเปิดเผยข้อมูล : Disclosure

กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย : Earnings before Interest, Taxes, Depreciation and Amortization (EBITDA)

กำไรสุทธิต่อหุ้น : Earning Per Share (EPS)

เงินปันผล : Dividend

บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ : Listed Companies

ปริมาณการซื้อขาย : Volume

ผู้ออกหลักทรัพย์ : Issuer

มูลค่าที่ตราไว้ : Face Value หรือ Par value

มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ : Net Asset Value (NAV)

ราคาตลาด : Market Price

ราคาเปิด : Opening Price

ราคาปิด : Closing Price

ราคาเสนอซื้อ : Bid

ราคาเสนอขาย : Offer

ราคาเสนอซื้อ(สูงสุด) / เสนอขายสูงสุด(ต่ำสุด) ของหลักทรัพย์ : Ceiling & Floor

วันครบกำหนดอายุของตราสารหนี้ : Maturity Date

วันจ่ายดอกเบี้ย : Coupon Payment Date

วันชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ : Settlement Date

ส่วนต่างระหว่างราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขาย : Bid-Offered Spread

หนังสือชี้ชวน : Prospectus

หน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือ : Credit Rating Agency

หน่วยย่อยของอัตราผลตอบแทน : Basis Point

หน่วยลงทุน : Unit Trust

อัตราดอกเบี้ย : Coupon Rate

อัตราผลตอบแทน : Yield

อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล : Dividend Yield

อัตราผลตอบแทนถึงวันครบกำหนด : Yield to Maturity (YTM)​


ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง 
ธุรกิจหลักทรัพย์ ภาษาอังกฤษ

ธุรกิจหลักทรัพย์ ภาษาอังกฤษ

​ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย​ ในหัวข้อห้องเรียนนักลงทุน/มือใหม่ลงทุน/ศัพท์ลงทุน และ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย​