ตัวอย่าง การเขียนภูมิหลัง วิจัย

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
แนวคิด หลักการหรือทฤษฎี
การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา หรือภูมิหลัง หรือหลักการและเหตุผล เพื่อเล่าให้ผู้อ่านทราบถึง ความเป็นมาของการวิจัย โดยเขียนให้สัมพันธ์กับหลักการและเหตุผลที่ต้องทำการวิจัยเรื่องนั้น ๆ มักอ้างอิงหลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่สำคัญ ๆ มาประกอบการบรรยาย ทำให้ผู้อ่านมองเห็นความจำเป็นและสภาพปัญหาของการวิจัย มักจะเขียนเป็นย่อหน้า ๆ ไม่ยืดยาวเกินไป พยายามให้เนื้อความต่อเนื่องกัน มักจะเริ่มจากแนวนโยบาย หลักการ แนวคิด สภาพปัญหา และการแก้ปัญหา
การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาจะต้องเขียนให้เห็นความสำคัญของปัญหาหรือหัวข้อที่จะทำการวิจัย โดยเน้นให้เห็นประเด็นสำคัญๆ ที่จำเป็นมีส่วนเกี่ยวกับปัญหาที่ทำการวิจัยโดยตรง สิ่งที่ควรคำนึงในการเขียนมี ดังนี้
1. เขียนให้ตรงประเด็น เหตุผลที่นำเสนอควรเป็นเหตุผลที่นำไปสู่จุดเป็นปัญหาที่จะทำการวิจัย และช่วยชี้ให้เห็นความสำคัญของสิ่งที่จะวิจัย
2. ควรใช้ข้อมูลอ้างอิงเพื่อให้เหตุผลนั้นดูมีน้ำหนักสมควรที่จะทำการวิจัย
3. ควรเขียนให้เข้าใจง่ายโดยนำเสนอเป็นประเด็นๆ เป็นลำดับต่อเนื่อง
การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาอาจมีแนวทางในการเขียนเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นปัญหา กล่าวถึงสภาพปัญหาที่พบในการจัดการเรียนการสอน หรือสภาพการจัดการเรียนการสอนที่พึงประสงค์

  1. ขั้นวิเคราะห์ปัญหา ระบุถึงสภาพปัญหาของการจัดการเรียนการสอนโดยการวิเคราะห์ปัญหานั้นๆ อย่างรอบคอบ เพื่อชี้ให้เห็นประเด็นของการวิจัย หากมีตัวเลขประกอบให้นำมาระบุด้วย
    3. ขั้นสรุปแนวทางที่จะแก้ปัญหาหรือพัฒนา ระบุวิธีการหรือนวัตกรรมที่นำมาแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน

ตัวอย่าง
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในการสื่อสารทางภาษา ……………..การอ่านเป็นการสื่อสารที่สำคัญของมนุษย์ การอ่านภาษาไทยให้ถูกต้องชัดเจน จะทำให้การสื่อสาร………………..ประกอบกับแผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระยะที่ 8 ได้กำหนดความจำเป็นของการใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร…………..กระทรวงศึกษาธิการมีเป้าหมายในการ………………….กรมวิชาการจึงได้กำหนดให้วิชาภาษาไทยเป็นวิชาบังคับโดย………..ดังคำกล่าวของ…..กล่าวว่า……………………………….ทำให้เห็นว่าภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติและการสื่อสารให้ถูกต้องจึงเป็นการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทยอีกทางหนึ่งด้วย
จากการศึกษาและสำรวจสภาพปัญหาการอ่านของนักเรียน…………โดยวิธีการ…………พบว่า…………………………เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้จัดทำ…………………………ขึ้น

การเขียนบทที่ 1 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำวิทยานิพนธ์ มีหลักการว่าวิทยานิพนธ์ที่ทำมีความสำคัญและปัญหาอย่างไรถึงต้องทำเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องนี้ การแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ชัดเจน มีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้ ภูมิหลัง จุดมุ่งหมายของการวิจัย ความสำคัญของวิจัย กรอบแนวคิด ขอบเขตของงานวิจัย ท่านจะสามารถนำขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์บทที่ 1 ดังต่อไปนี้

ตัวอย่าง การเขียนภูมิหลัง วิจัย

1. การเขียนภูมิหลังที่ดี

ภูมิหลังจะทำหน้าที่แนะนำให้ผู้อ่านงานได้รู้ความเป็นมา หลักเหตุผล ความสำคัญ และปัญหาของวิทยานิพนธ์ เป็นการตอบคำถามที่ว่าทำไมถึงทำเรื่องนี้ขึ้นมา โดยทั่วไปจะเขียนประมาณ 3-5 หน้า และจะมีย่อหน้าไม่เกิน 7 ย่อหน้า ให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับชื่อเรื่องที่ทำ ต้องชี้ถึงปัญหาความสำคัญชัดเจน ชี้ถึงแนวโน้มในอนาคต ภูมิหลังที่ดีต้องอยู่ในกรอบของวิจัย ให้ภาษาที่ถูกต้องในการเขียน การเขียนภูมิหลังไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวของแค่ความชัดเจนสั้นได้ใจความที่สำคัญชี้ถึงปัญหา และให้อยู่ในกรอบของการวิจัยที่ตั้งไว้

2. การเขียนวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายของงานวิจัย

การตั้งจุดมุ่งหมายจะตั้งเป็นข้อหรือไม่เป็นข้อก็ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะทำการศึกษา จุดมุ่งหมายของงานวิจัยมาจากเรื่อง และตัวแปรของการวิจัยเอามาตั้งเป็นจุดมุ่งหมาย ส่วนให้การตั้งจุดมุ่งหมายจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เพื่อ…” แล้วตามด้วยชื่อวิจัย การตั้งจุดมุ่งหมายต้องมีความชัดเจนเข้าใจง่ายไม่ซ้ำซ้อน เป็นประโยคบอกเล่า สามารถตรวจสอบหรือทดสอบได้ และมีความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นหรือหัวข้อจุดมุ่งหมายของวิจัย

ตัวอย่าง การเขียนภูมิหลัง วิจัย

3. การเขียนความสำคัญของการวิจัย

เป็นตัวที่บ่งชี้ว่าหลังจากที่ทำเสร็จแล้วจะได้อะไรจากงานบ้าง ความสำคัญของการวิจัยเป็นผลที่คาดว่าจะได้รับ อยู่ในขอบเขตไม่ควรอ้างความสำคัญของการวิจัยเกินขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาเขียนความสำคัญให้ชัดเจน และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย

4. กรอบแนวคิดของการวิจัย

ถือว่ามีความสำคัญหรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับเรื่องที่จะศึกษา และประเภทของงานวิจัย กรอบแนวคิดต้องระบุว่ามีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรแต่ละอย่างที่เลือกมาศึกษาจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และแต่ละตัวแปรที่เลือกมาศึกษาจะต้องมีพื้นฐานทางทฤษฏีความมีเหตุมีผล หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราจะศึกษา

5. ขอบเขตของการวิจัย

เป็นการระบุว่าวิจัยนั้นจะทำในเรื่องอะไร มีขอบเขตที่กว้างหรือแคบ จะทำการศึกษากับใคร จะมีส่วนประกอบย่อยได้แก่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เนื้อหาที่ใช้ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในการวิจัยเชิงทดลอง ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยจะแบ่งเป็นตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองว่าตั้งแต่เริ่มต้นจนจบใช้เวลาเท่าไร

ตัวอย่าง การเขียนภูมิหลัง วิจัย

6. สมมติฐานของการวิจัย

จะเป็นกล่าวถึงข้อสันนิฐานคาดคะเนผลการวิจัยนั้นว่าค้นพบอย่างไร เขียนอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย กำหนดทิศทางของความสัมพันธ์ที่ชัดเจนไม่ควรเขียนในรูปของสมมติฐานสามารถทดสอบได้เขียนจากหลักการและเหตุผล และยังคงใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และรัดกุม

7. นิยามศัพท์เฉพาะ

มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะผู้ที่วิจัยไม่สามารถที่จะอธิบายข้อเท็จจริงทั้งหมดได้ การให้คำอธิบายที่จำเป็นจึงเป็นสิ่งสำคัญ ให้เลือกตัวแปรที่เกี่ยวข้องเน้นให้ผู้อ่านเข้าใจ สามารถเลือกใช้งานที่เหมาะสม ถ้ายกมาจากบุคคลอื่นควรที่จะใส่อ้างอิงถึง และต้องเขียนศัพท์ภาษาอังกฤษกำกับไว้ด้วย

หากทำตามวิธีที่บอกไว้ข้างต้นก็จะเป็นการเริ่มต้นการเขียนวิทยานิพนธ์บทที่ 1ได้อย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำ สามารถประยุกต์ใช้กับงานวิจัยที่เขียนทำให้เขียนบทที่ 1 เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นมาทันที

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: [email protected]
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

ตัวอย่าง การเขียนภูมิหลัง วิจัย

แอดเพิ่มเพื่อน

“ประชากร” กับ “กลุ่มตัวอย่าง” ต่างกันอย่างไร

การจ้างทำวิทยานิพนธ์ไม่ได้แปลว่า “โง่”

รับคีย์ข้อมูล SPSS หน้าละ 1.50 บาท ไม่จำกัดขั้นต่ำ

4 เทคนิคตั้งหัวข้อ is ตั้งอย่างไรถึงผ่านง่าย

ทำงานวิจัยเรื่องอะไรดี เป็นเรื่องที่ตนเองถนัด และอาจารย์ที่ปรึกษาอนุมัติให้ผ่าน

การทำงานวิจัยของปริญญาโท ใครว่ายาก...

บริการแปลงานวิจัย ด้วยทีมงานมืออาชีพ

5 ข้อสงสัยเกี่ยวกับบริการรับทำวิจัย ที่คุณควรรู้

Post Views: 1,078

  • Facebook iconfacebook
  • Twitter icontwitter
  • LINE iconline

การทำ Thesis (ธีสิส)การทำงานวิจัยการทำงานวิทยานิพนธ์การทำวิจัยการเขียนวิจัยบทที่ 1การเขียนวิทยานิพนธ์บทที่ 1