ข้อสอบ ลํา ดับ และอนุกรม อนันต์ พร้อมเฉลย

ลำดับและอนุกรม เป็นเนื้อหาคณิตศาสตร์ที่น้อง ๆ หลายคนเคยได้เรียนมาแล้วในชั้นประถมศึกษา ไปจนถึงโจทย์แข่งขันระดับม.ต้น และเราก็ได้มาเรียนแบบจริงจังอีกทีตอน ม.ปลาย ซึ่งพี่ ๆ ATHOME ขอบอกเลยว่าเนื้อหาบทนี้สำคัญมากเลยนะคะ เพราะเป็นหนึ่งในบทเรียนที่ออกสอบมากที่สุดบทหนึ่งเลยในสนามแข่งขันและสนามสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นบทที่สามารถนำไปประยุกต์ได้กับอีกหลายบท ไม่ว่าจะเป็น สถิติ, เมทริกซ์, จำนวนจริง ถ้าน้องคนไหนยังเรียนในห้องไม่เข้าใจก็ขอให้พี่ ๆ ได้มีส่วนช่วยน้อง ๆ เองนะคะ

อนุกรม คือ อะไร 

ลําดับและอนุกรม สรุป

อนุกรม ผลจากการบวกสมาชิกทุกตัวของลำดับไม่จำกัดเข้าด้วยกัน หากกำหนดให้ลำดับของจำนวนเป็น

อนุกรมของลำดับนี้ก็คือ อนุกรมสามารถเขียนแทนได้ด้วย

สัญลักษณ์ของผลรวม ∑ (ซิกม่า)

ลำดับ คือ อะไร

ลำดับ คือ ฟังก์ชันที่มีโดเมนเป็นเซตของจำนวนเต็มบวก n ตัวแรกหรือเซตของจำนวนเต็มบวก
เรียกลำดับที่มีโดเมนเป็นเซตของจำนวนเต็มบวก n ตัวแรกว่า ลำดับจำกัดและเรียกลำดับที่มีโดเมนของจำนวนเต็มบวกว่า ลำดับอนันต์

 ลําดับและอนุกรม มีอะไรบ้าง

  • ลำดับจำกัด
  • ลำดับอนันต์
  • ลำดับเลขคณิต
  • ลำดับเรขาคณิต
  • ลำดับพหุนาม
  • ลำดับหลายชั้น
  • ลำดับเว้นระยะ
  • ลำดับแบบมีค่าแตกต่างกันเป็นชุด
  • ลำดับกำลัง
  • ความสัมพันธ์เวียนเกิด

ลำดับจำกัด คือ

ลำดับจำกัด คือ ลำดับซึ่งมีจำนวนพจน์จำกัด โดยฟังก์ชันจะเป็นลำดับที่มีโดเมนเป็น { 1, 2, 3, …, n } สามารถบอกได้ว่าลำดับนั้นมีพจน์ทั้งหมดกี่พจน์ได้อย่างแน่นอน

ตัวอย่างเช่น 2, 4, 6, 8, … , 36  (สามารถบอกจำนวนพจน์ได้แน่นอน)

ลำดับอนันต์ คือ

ลำดับอนันต์ คือ ลำดับซึ่งมีจำนวนพจน์ไม่จำกัด โดยฟังก์ชันเป็นลำดับที่มีโดเมนเป็น { 1, 2, 3, … } ไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่าลำดับนั้นมีจำนวนพจน์กี่พจน์

ตัวอย่างเช่น  2, 4, 6, 8 , ….
(ไม่สามารถบอกจำนวนพจน์ได้แน่นอน)

ลำดับเลขคณิต คือ

ลำดับเลขคณิต (Arithmetic Sequence) คือ ลำดับของตัวเลขที่ผลต่างซึ่งได้จากพจน์สองพจน์ที่อยู่ติดกัน มีค่าคงตัวเป็นค่าเดียวกัน โดยเราเรียกค่าคงตัวนั้นว่า ผลต่างร่วม (Common Difference) เขียนแทนด้วย d

ตัวอย่างเช่น -2 , -4, -6, … , -8

ซึ่งมีผลต่างร่วม d = -2

ลำดับเรขาคณิต คือ

ลำดับเรขาคณิต คือ ลำดับของจำนวนซึ่งอัตราส่วนของสมาชิกสองตัวที่อยู่ติดกันในลำดับเป็นค่าคงตัวที่ไม่เป็นศูนย์ ซึ่งอัตราส่วนนั้นเรียกว่า อัตราส่วนร่วม (common ratio) 

ตัวอย่างเช่น ลำดับ 2, 6, 18, 54

มีอัตราส่วนร่วม คือ r = 3 เป็นต้น

ลำดับพหุนาม คือ

ลำดับพหุนาม คือ ลำดับที่สามารถเขียนพจนทั่วไปได้เป็นฟังก์ชันพหุนาม

ตัวอย่าง 

พิจารณาลำดับ

ข้อสอบ ลํา ดับ และอนุกรม อนันต์ พร้อมเฉลย

ลำดับหลายชั้น คือ

ลำดับหลายชั้น คือ ลำดับเลขอนุกรม ที่ผลต่างของเลขจะมีลักษณะเป็นเลขอนุกรมด้วย 

ตัวอย่างเช่น 

ข้อสอบ ลํา ดับ และอนุกรม อนันต์ พร้อมเฉลย

จากตัวอย่างน้อง ๆ จะเห็นว่าถ้าเราลองหาความสัมพันธ์ของลำดับชั้นแรก จะยังไม่เห็นว่ามีผลต่างร่วมกัน แต่เมื่อมองผลต่างนั้นจะเห็นว่าผลต่างกลายเป็นลำดับเลขคณิตนั่นเอง การต้องมองหาความสัมพันธ์มากกว่าชั้นเดียว จึงเป็นที่มาของชื่อ ลำดับหลายชั้น นั่นเอง

ลำดับเว้นระยะ คือ

ลำดับเว้นระยะ คือ ลำดับเลขอนุกรม ซึ่งประกอบด้วยอนุกรมมากกว่า 1 ซ้อนกันอยู่ภายในโจทย์เดียวกัน

ตัวอย่างเช่น

ข้อสอบ ลํา ดับ และอนุกรม อนันต์ พร้อมเฉลย

จากตัวอย่างเราจะเห็นว่าไม่เพียงแค่พจน์ที่อยู่ติดกันจะมีความสัมพันธ์กันเท่านั้น เพราะพจน์ที่ห่างกันไปอีก 2 พจน์ก็สามารถมีความสัมพันธ์ในเชิงลำดับได้เช่นกัน นี่จึงเป็นที่มาของชื่อ ลำดับเว้นระยะ ที่มีการเว้นไปของตัวเลขนั่นเอง

ลำดับแบบมีค่าแตกต่างกันเป็นชุด คือ

ลำดับแบบมีค่าแตกต่างกันเป็นชุด คือ ลำดับอนุกรมที่เกิดจากค่าความแตกต่างที่เป็นชุด คือหลายตัวประกอบขึ้นมา และใช้ค่าต่างกันนั้นเป็นชุดดังกล่าวในการพิจารณาเลขอนุกรมลำดับถัดไป

ตัวอย่างเช่น

ข้อสอบ ลํา ดับ และอนุกรม อนันต์ พร้อมเฉลย

จากตัวอย่างจะเห็นว่า ลำดับนั้นมีทั้ง ผลต่างร่วม และ อัตราส่วนร่วม ที่เท่ากัน สลับกันไป ทำให้เรารู้ได้ว่าตัวต่อไปต้องเป็นผลต่างร่วมหรืออัตราส่วนร่วมค่าเท่าไร และจะทำให้รู้ด้วยว่าตัวเลขตัวต่อไปจะเป็นอะไร

ลำดับยกกำลัง คือ

ลำดับยกกำลัง คือ ลำดับเลขอนุกรม ที่เกิดจากการยกกำลังของตัวเลขต่าง หรือ อาจเกิดจากค่าความแตกต่างที่เป็นเลขยกกำลังก็ได้

ตัวอย่างเช่น

ข้อสอบ ลํา ดับ และอนุกรม อนันต์ พร้อมเฉลย

(ลำดับที่เกิดจากการยกกำลังของตัวเลข)

ข้อสอบ ลํา ดับ และอนุกรม อนันต์ พร้อมเฉลย

(ลำดับที่เกิดจากค่าความแตกต่างที่เป็นเลขยกกำลัง)

ความสัมพันธ์เวียนเกิด คือ

สมการที่แสดงความสัมพันธ์ของพจน์ an กับพจน์ก่อนหน้า

เพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น เรามาดูตัวอย่างกันนะคะ

กำหนดให้ an = 2an-1 – an-2  เมื่อ n มากกว่าหรือเท่ากับ 2 , a0 = 4 , a1 = 1 จงหา a6

วิธีทำ  a2 = 2a1 – a0 = -2

a3 = 2a2 – a1 = -5

a4 = 2a3 – a2 = -8

a5 = 2a4 – a3 = -11

ดังนั้น a6 = 2a5 – a4 = -14


ลําดับและอนุกรม สูตร ทั้งหมดที่ควรรู้

ข้อสอบ ลํา ดับ และอนุกรม อนันต์ พร้อมเฉลย

แบบฝึกหัด ลําดับและอนุกรม พร้อมเฉลย

  1. บริษัทนำเที่ยวแห่งหนึ่งซื้อรถมินิบัส รำคำ 2,000,000 บำท เพื่อใช้ในกิจกำรนำเที่ยว ถ้ำในแต่ละปีมูลค่ำของรถมินิบัสลดลงด้วยอัตราคงที่ ดังตาราง
ข้อสอบ ลํา ดับ และอนุกรม อนันต์ พร้อมเฉลย

แล้วมูลค่าของรถมินิบัสจะเหลือน้อยกว่า 500,000 บาท เมื่อเวลาผ่านไปอย่างน้อยที่สุดกี่ปี
[O-NET (ก.พ. 2565/11)]

วิธีทำ จะเห็นว่ามูลค่าลดลงปีละ 120,000 บำท เท่ากันทุกปี

ดังนั้น มูลค่า จะเป็นล ำดับเลขคณิต ที่มี 𝑎1 = 1,880,000 

และ 𝑑 = −120,000

จากสูตร     an = a1 + (n-1) d 

จะได้มูลค่าเมื่อผ่านไป 𝑛 ปี คือ 1,880,000 + (𝑛 − 1)(−120,000)

ดังนั้น มูลค่าน้อยกว่า 500,000 บาท 

เมื่อ 1,880,000 + (𝑛 − 1)(−120,000) < 500,000

1,380,000 < (𝑛 − 1)(120,000)

11.5 < 𝑛 − 1

12.5 < n

แต่จำนวนปี ต้องเป็นจำนวนเต็ม → จะได้ 𝑛 มีค่าอย่างน้อย 13 ปี


  1. จากตารางที่กำหนดให้
ข้อสอบ ลํา ดับ และอนุกรม อนันต์ พร้อมเฉลย

จำนวนนับในแต่ละแถว เป็นลำดับเลขคณิต ซึ่งมีผลต่างร่วมเท่ากับ 3 และ จำนวนนับในแต่ละหลักเป็น ลำดับเลขคณิตซึ่งมีผลต่างร่วมเท่ากับ 5 ถ้า 𝑚 เป็นจำนวนนับ ซึ่งอยู่ในแถวที่ 25 และหลักที่ 25 แล้ว 𝑚 มีค่าเท่ากับเท่าไร

วิธีทำ

ตัวสุดท้ายของแถวแรก คือ พจน์ที่ 25 ของลำดับเลขคณิต 2 , 5 , 8 , 11 , … ที่มี 𝑎1 = 2 และ 𝑑 = 3

ใช้สูตรอนุกรมเลขคณิต 𝑎n = 𝑎1 + (𝑛 − 1)𝑑 โดยแทน 𝑛 = 25 จะได้ 𝑎25 = 2 + (25 − 1)3 = 74

ดังนั้น หลักขวาสุด จะเป็นลำดับเลขคณิตที่มี 𝑎1 = 74 และมี 𝑚 เป็นพจน์ที่ 25 โดยโจทย์กำหนดให้ทุกหลักมี 𝑑 = 5

ใช้สูตร 𝑎n = 𝑎1 + (𝑛 − 1)𝑑 ในลำดับหลักขวาสุด จะได้ 𝑚 = 𝑎25 = 74 + (25 − 1)5 = 194


คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

ลําดับและอนุกรม คือ

ตอบ ลำดับคือพจน์ของตัวเลขต่าง ๆ ที่เรียงกันโดยอาจมีความต่างร่วมเรียกว่า ลำดับเลขคณิต แต่ถ้ามีอัตราส่วนร่วม เรียกว่า ลำดับเรขาคณิต
อนุกรม คือ ผลบวกของลำดับเรขาคณิต หรือ ลำดับเลขคณิต

ผลต่างร่วม กับ อัตราส่วนร่วมต่างกันยังไง

ผลต่างร่วมคือการเอาพจน์หน้ากับพจน์หลังลบกันแล้วได้ค่าที่เท่ากันในทุกพจน์ที่อยู่ถัดกัน จะพบในลำดับเลขคณิต อัตราส่วนร่วมคือการนำพจน์ท้ายหารด้วยพจน์ก่อนหน้า มีค่าเท่ากันในทุกพจน์ที่อยู่ถัดกัน จะพบในลำดับเรขาคณิต

เนื้อหาคณิตศาสตร์เรื่องลำดับและอนุกรมของระดับชั้นม.ปลาย หลัก ๆ น้อง ๆ ก็จะได้เรียนเกี่ยวกับลำดับเลขคณิตและลำดับเรขาคณิตเป็นหลัก แต่ในสนามสอบแข่งขันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความถนัดคณิตศาสตร์ หรือข้อสอบกสพท. พาร์ทเชาว์นั้นก็สามารถออกลำดับแบบอื่น ๆ เพิ่มเติม ตามที่พี่ ๆ ATHOME ได้กล่าวไว้ข้างต้น ในช่วงแรกน้อง ๆ หลายคนอาจรู้สึกว่าเรื่องนี้ค่อนข้างซับซ้อนพอสมควร ต้องอาศัยประสบการณ์การทำโจทย์ค่อนข้างมากก็อย่าเพิ่งท้อไปน้า มาฝึกทำข้อสอบพร้อมพี่ ๆ ติวเตอร์ชั้นนำที่ ATHOME อย่างสม่ำเสมอ รับรองว่าได้คะแนนดีขึ้นแน่นอน