คณะ สาธารณสุข ศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2558

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

8.1 นักวิชาการสาธารณสุขประจำหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับ

8.2 เป็นนักวิชาการสาธารณสุขประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

9. ชื่อ เลขประจำตัวบัตรประชาชน ตำแหน่ง และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 ที่

ชื่อ-สกุล

เลขประจำตัวประชาชน

ตำแหน่งทางวิชาการ

คุณวุฒิ

1.

นายพงษ์เดช   สารการ

3-3401-00681-xx-x

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์)

วท.ม. (สถิติประยุกต์)

2.

นางศิริพร   คำสะอาด

3-7202-00033-xx-x

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วท.บ. (พยาบาล)

ส.ม. (ชีวสถิติ)

3.

นางเนาวรัตน์  ตั้งศรีทอง

3-3607-00458-xx-x

อาจารย์

วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์)

วท.ม. (ปรสิตวิทยา)

10. สถานที่จัดการเรียนการสอน

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น    

11. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร

11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนถูกผลักดันให้มีการแข่งขันสูง ลักษณะการทำงานต้องเร่งรีบ เพื่อให้รองรับกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น คนในวัยแรงงานคือรุ่นพ่อแม่ต้องทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตโดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือดอุบัติเหตุ โรคมะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเครียด นอกจากนี้ยังส่งผลต่อโครงสร้างครอบครัว จากการที่พ่อแม่หรือลูกหลานต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ ใช้เวลากับการทำงานนอกบ้าน หรือต่างจังหวัด ทำให้ครอบครัวมีขนาดเล็กลงและขาดความแข็งแกร่ง กลุ่มเด็ก วัยรุ่น ผู้สูงอายุได้รับการดูแล เอาใจใส่จากครอบครัวน้อยลง จึงมีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพในที่สุด ดังนั้น        การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรต้องนำปัญหาสุขภาพของประชาชนมาพิจารณาอย่างรอบด้าน และให้ความสำคัญที่   สุขภาวะของประชาชนด้วย

11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ทำให้คนไทยรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และรับวัฒนธรรมจากต่างชาติมากขึ้น  ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและลักษณะโครงสร้างของครอบครัวจากครอบครัวขยายมาเป็นครอบครัวเดี่ยว การพัฒนาทางสังคมของประเทศไทยยังไม่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมีอิทธิพลต่อประชากรทั้งในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท ทำให้รูปแบบการดำรงชีวิตและบริบทอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก วัยรุ่น และผู้สูงอายุ ที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย นอกจากนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางการบริการสุขภาพ จึงมีคนต่างชาติเข้ามารับบริการสุขภาพมากขึ้นทุกปี   

12. ผลกระทบจากข้อ 11 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

12.1 การพัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาหลักสูตรจะเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ในการควบคุมป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพของตนเอง เพิ่มบทบาทของผู้สำเร็จการศึกษาในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพแก่บุคคลทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก วัยรุ่น และผู้สูงอายุ สามารถใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

บูรณาการพันธกิจด้านการวิจัยและการบริการวิชาการ ที่ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่น เข้ากับการจัดการเรียนการสอนในทุกรายวิชาทางด้านสาธารณสุขและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมการแก้ปัญหาสุขภาพเฉพาะท้องถิ่น การวิจัยและบริการวิชาการแก่ชุมชนร่วมกับอาจารย์ โดยคำนึงถึงสถานการณ์ปัญหาสุขภาพที่เฉพาะของท้องถิ่นและประเทศซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ให้เป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐานสากลที่มุ่งการพัฒนาชุมชนและสังคมให้เข้มแข็ง

13. ความสัมพันธ์ (ถ้ามี) กับหลักสูตรอื่น ที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน

13.1 การบริหารหลักสูตรนี้ 

(1) แต่งตั้งผู้ประสานงานรายวิชาทุกภาควิชา เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาในการพิจารณาข้อกำหนดรายวิชา การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผลการดำเนินการ

       (2) มอบหมายคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ขอนแก่น ควบคุมดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักสูตร

13.2 การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้ มีคณะ/ภาควิชา/สาขาวิชาอื่นในมหาวิทยาลัยร่วมด้วยหรือไม่อย่างไร

มี 

รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เปิดสอนโดยสำนักวิชาศึกษาทั่วไป 10 รายวิชา  

รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มภาษา เปิดสอนโดยสถาบันภาษา 4 รายวิชา            

รายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ หมวดวิชาพื้นฐาน เปิดสอนโดยคณะสาธารณสุขศาสตร์  29  รายวิชา

รายวิชาในหมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต เปิดสอนโดยคณะต่าง ๆ ซึ่งขึ้นกับความสนใจของนักศึกษา

13.3 รายวิชาในหลักสูตรนี้มีผู้เรียนในสาขาอื่นเรียนด้วย ได้แก่ นักศึกษาจากคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น 

ข้อมูลหลักสูตรระดับปริญญาตรี

1. ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณทิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
(ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Public Health Program in Community Public Health
คณะ สาธารณสุข ศาสตร์ ภาษาอังกฤษ
  1.  ชื่อปริญญา
    (ภาษาไทย) ชื่อเต็ม : สาธารณสุขศาสตรบัณทิต (สาธารณสุขชุมชน)
    ชื่อย่อ : ส.บ. (สาธารณสุขชุมชน)
    (ภาษาอังกฤษ) ชื่อเต็ม : Bachelor of Public Health (Community Public Health)
    ชื่อย่อ : B.P.H. (Community Public Health)
ภาพรวมของหลักสูตร
ประเภทของหลักสูตรหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการจำนวนหน่วยกิต135 หน่วยกิตระยะเวลาการศึกษา / วงรอบหลักสูตร4 ปีสถานภาพของหลักสูตรและกำหนดการเปิดสอนหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561
เปิดสอนภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561การให้ปริญญาให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว (Single Degree)สถาบันผู้ประสาทปริญญา
(ความร่วมมือกับสถาบันอื่น)มหาวิทยาลัยมหิดลข้อมูลเฉพาะของหลักสูตรเป้าหมาย / วัตถุประสงค์
Purpose / Goals / Objectivesเป้าหมายของหลักสูตร
บัณฑิตจบจากหลักสูตรมีคุณธรรม จริยธรรม สามารถปฏิบัติงานด้านวิชาชีพสาธารณสุขศาสตร์ได้อย่างมีคุณภาพ มีความมุ่งมั่นรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้รับบริการสุขภาพ ชุมชน และวิชาชีพ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อพัฒนาสุขภาพของบุคคลและชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดลวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
จัดการเรียนการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถและคุณลักษณะ ดังนี้
1) ปฏิบัติตนด้วยความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพสาธารณสุข มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎระเบียบทางสังคมและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
2) คิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุผลวิเคราะห์และสังเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพของชุมชนชนบท ชุมชนเมือง และชุมชนอุตาสาหกรรมได้อย่างเป็นองค์รวม
3) วางแผนแก้ไขปัญหาทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนดได้อย่างสร้างสรรค์
4) มีมนุษยสัมพันธ์และทักษะการสื่อสาร สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคคลอื่นได้เหมาะสมกับสถานการณ์
5) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้และการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพ
6) มีทักษะการให้บริการวิชาการด้านสุขภาพ การส่งเสริม ป้องกัน ควบคุม การรักษาโรคเบื้องต้น และการฟื้นฟูสุขภาพ ตลอดจนมีทักษะกระบวนการแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชนได้อย่างเป็นองค์รวมลักษณะเฉพาะของหลักสูตร
Distinctive Features1. ผลิตบัณฑิตทางด้านสาธารณสุขที่เข้าใจบริบทของการทำงานจริงในแต่ละหน่วยงาน ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ/จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถทำงานได้ทันที
2. นักศึกษามีสมรรถนะด้านการวิจัย (Research Competency) และจัดการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner center Education) บูรณาการความรู้และการฝึกปฏิบัติงานจริง (Learning by Doing) ตลอดหลักสูตร ระบบการศึกษาแบบหน่วยกิตทวิภาค
มีการฝึกงาน/ฝึกประสบการณ์ในภาคฤดูร้อน
(ลงทะเบียนภาคฤดูร้อน ชั้นปีที่ 3)เส้นทางความก้าวหน้าของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีพสามารถประกอบได้1. นักวิชาการสาธารณสุข/เจ้าพนักงานสาธารณสุข ในหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ศูนย์บริการสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้นหรือหน่วยงานภาคเอกชน
2. นักวิจัย/ผู้ช่วยนักวิจัยทางด้านสุขภาพในองค์กรวิจัยทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรอิสระการศึกษาต่อสามารถศึกษาในสาขาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตลอดจนสาขา อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและต่างประเทศปรัชญาการศึกษาในการบริหารหลักสูตรปรัชญาการศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome based Education) โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner center Education) และเน้นการเรียนรู้จากภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติด้วยตนเองจนเกิดเป็นทักษะหรือองค์ความรู้เพิ่มเติมใหม่ที่สร้างได้ด้วยตนเอง (Constructionism) ทำให้บัณฑิตสามารถประกอบวิชาชีพสาธารณสุขได้อย่างมีคุณภาพ พร้อมทำงานได้ทุกสถานการณ์และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนสมรรถนะที่เสริมสร้างให้นักศึกษาของหลักสูตรGeneric Competences1) มีทักษะการคิดวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการวางแผน จัดการแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจด้วยมุมมองที่หลากหลาย
2) คิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ทำวิจัยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยการประยุกต์ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
3) มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือ
4) เลือกใช้วิธีการสื่อสาร ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนที่มีประสิทธิภาพกับกลุ่มเป้าหมาย
5) ทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม โดยเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล
6) รู้เท่าทันตนเองและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีความเป็นอิสระแห่งตัวตนภายใต้กฎระเบียบของสังคมและรับผิดชอบต่อส่วนรวมSubject-specific Competences1) มีความรู้ ความเข้าใจศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุขศาสตร์ ได้แก่ ความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปัจจัยกำหนดสุขภาพระบบสุขภาพของประเทศไทย หลักการส่งเสริมสุขภาพและพฤติกรรมศาสตร์ การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคเบื้องต้น การส่งต่อผู้ป่วย การฟื้นฟูสุขภาพ ระเบียบวิธีวิจัยทางสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ศึกษาชุมชนหลักการแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน การวางแผนและการประเมินผลโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน ตลอดจนจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสาธารณสุข
2) ประยุกต์ใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อปฏิบัติงานในบทบาทนักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือนักวิจัย/ผู้ช่วยนักวิจัยทางด้านสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพและรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพผลลัพธ์การเรียนรู้ของบัณฑิต PLOsSub PLOsPLO1
ให้บริการความรู้ทางวิชาการ คำแนะนำ สุขศึกษา ที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพแก่ประชาชนได้ทั้งระดับบุคคลและชุมชน
1.1 อธิบายหลักการ วิธีการ ในการดูแลตนเอง เพื่อการป้องกันและหลีกเลี่ยงจากพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพให้แก่ประชาชนได้ถูกต้องตามหลักการ1.2 นำเสนอข้อมูลความรู้ทางด้านสุขภาพด้วยวิธีการที่เหมาะสมและตรงกลุ่มเป้าหมายPLO2
ตรวจวินิจฉัยโรคและรักษาโรคเบื้องต้นได้ภายใต้ขอบเขตพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๖ พร้อมทั้งส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นระบบ และมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
 
 2.1 ซักประวัติโรคตามหลักการอย่างถูกต้อง เพื่อให้การวินิจฉัยเบื้องต้นแก่ผู้ป่วย2.2 เลือกวิธีการรักษาโรคเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง ภายใต้ขอบเขตพระราชบัญญัติวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๖2.3 ตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ PLO3
วางแผนประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน และการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพของคนในชุมชน โดยพิจารณาตามบริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อม
 3.1 ใช้ความรู้เกี่ยวกับการสาธารณสุขและโครงสร้างระบบการบริหารงานสาธารณสุขในการสร้างเครือข่ายและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.2 วางแผนในการดำเนินการส่งเสริม ป้องกัน ควบคุม และฟื้นฟูสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม 3.3 ทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพได้ทั้งในบทบาทผู้นำและสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริม ป้องกัน ควบคุมและฟื้นฟูสุขภาพของคนในชุมชน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับบริบทพื้นที่PLO4
พูดโน้มน้าว จูงใจ สื่อสารข้อมูลทางด้านสาธารสุขให้ผู้รับบริการทางด้านสุขภาพและทีมสหวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ภาษาที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาท้องถิ่น ตามสถานการณ์
 4.1 สื่อสารได้ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาท้องถิ่น โดยใช้ภาษาเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการได้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์4.2 สื่อสารข้อมูลทางด้านสาธารณสุขให้กับผู้รับบริการหรือทีมสหวิชาชีพเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน ตรงประเด็นPLO5
ผลิตงานวิจัยทางสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานระเบียบวิธีวิจัย และจริยธรรมการวิจัย



5.1 ใช้หลักการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ในการกำหนดหัวข้อวิจัย5.2 กำหนดรูปแบบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง เลือกใช้สถิติ และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้อง เหมาะสมกับประเด็นปัญหาและถูกต้องตามมาตราฐานระเบียบวิธีวิจัย5.3 ดำเนินการวิจัยตามแผนที่กำหนดเพื่อสรุปผลในการตอบคำถามวิจัยได้อย่างถูกต้องตามหลักการ5.4 ผลิตงานวิจัยด้านสาธารณสุขได้ด้วยตนเอง ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นและรับผิดชอบต่อสังคมPLO6
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลทางด้านสาธารณสุขที่น่าเชื่อถือ เพื่อการเรียนรู้และแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานที่ตนรับผิดชอบ


6.1 สืบค้นและตรวจสอบข้อมูลสารสนเทศ และเข้าถึงจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพื่อใช้ประโยชน์เชิงวิชาการสาธารณสุข6.2 คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางสาธารณสุขที่ได้รับมาอย่างมีเหตุผล6.3 ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและไม่ตกเป็นเหยื่อหรือกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีPLO7
ประเมินและวางแผนพัฒนาตนเองโดยอาศัยการสะท้อนความคิดและข้อมูลย้อนกลับจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
 7.1 สะท้อนความคิดและประเมินตนเองอย่างเท่าทัน เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นในชีวิตประจำวัน 7.2 คิดวิเคราะห์ข้อมูลทั้งจากตนเองและข้อมูลย้อนกลับจากแหล่งต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล เพื่อประเมินและระบุสิ่งที่ตนเองต้องปรับปรุง 7.3 กำหนดเป้าหมายและวางแผนพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ช่องทางติดต่อ1) งานการศึกษา กลุ่มวิชาการและหลักสูตร โคงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ 086-445-6406
2) Facebook Page
https://www.facebook.com/PublicHealthMUNA/