ศรัทธา 4 หมาย ถึง อะไร มี อะไร บาง

หน้าหลัก > พจนานุกรมทั้งหมด > แปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร > ศรัทธา

ศรัทธา

ศรัทธา

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร

ศรัทธา 4 หมาย ถึง อะไร มี อะไร บาง

ศรัทธาภาษาอังกฤษ

ศรัทธาภาษาไทย ศรัทธาความหมาย Dictionary ศรัทธาแปลว่า ศรัทธาคำแปล

ศรัทธาคืออะไร

ความหมายของ ศรัทธา จากพจนานุกรมเล่มอื่นๆ

ผมกำลังเป็นคนแก่หัวดื้อ ที่มีคนใช้สำนวนเหน็บแนมว่า แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน ไม่ว่าฟังใครพูดจาอะไร ก็มีข้อ “ไม่เชื่อ” ไปเสียทั้งนั้น

ความเชื่อ ภาษาพระท่านใช้ “ศรัทธา” เป็นคนขาดศรัทธา ไม่น่าจะเป็นคนดี

ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต) กล่าวถึง สัทธา 2 (เขียนตามบาลี สันสกฤต เขียนศรัทธา)

1 ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต 2 กัมมผลสัทธา เชื่อกรรมและผลแห่งกรรม

สัทธา 2 นี้ ฟังแล้วสั้นไป ที่คุ้นเคยกว่า คนรุ่นหลังรวบรวมไว้ คือสัทธา 4

1 กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อการกระทำ 2 วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม 3 กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว 4 ตถาคตสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต

ยังมีการจำแนกไว้ในอรรถกถา สัทธามี 4 ระดับ

ระดับที่ 1 อาคมนสัทธา ความเชื่อความมั่นใจของพระโพธิสัตว์ อันสืบมาจากการบำเพ็ญสั่งสมบารมี ระดับที่ 2 อธิคมสัทธา ความเชื่อมั่นของพระอริยบุคคล ซึ่งเกิดจากการเข้าถึงด้วยการบรรธรรมเป็นประจักษ์

ระดับที่ 3 โอกัปปนสัทธา ความเชื่อหนักแน่นสนิทแน่ว เมื่อได้ปฏิบัติก้าวหน้าไปในการเห็นความจริง ระดับที่ 4 ปสาทสัทธา ความเชื่อที่เป็นเพียงความเลื่อมใส จากการได้ยินได้ฟัง

ได้ยินคำว่าศรัทธา อย่าเพิ่งสรุปว่า เป็นข้อดีทั้งหมด ใครที่มี “สัทธาจริต” พื้นนิสัยหนักในศรัทธา ท่านว่า พึงแก้ด้วยปสาทนียกถา ถ้อยคำที่นำให้เกิดความเลื่อมใส ในทางที่ถูกที่ควรและด้วยความเชื่อที่มีเหตุผล

ผมทบทวนแต่ละศรัทธา ศรัทธาในกรรม ศรัทธาพระพุทธเจ้า ฯลฯ ก็ยังเห็นว่าตัวเองยังมีศรัทธาอยู่ไม่น้อย เพิ่งจำแนกได้ ตัวเองมีจิตใจอยู่ในสัทธาระดับที่ 4

ปสาทสัทธา ความเชื่อที่เป็นความเลื่อมใสจากการได้ยินได้ฟัง

เข้าใจความหมายของคำว่า ศรัทธาปสาทะ เอาตอนนี้เอง

แม้ยังมีศรัทธามั่นคง กับพระสงฆ์ผู้ทรงคุณธรรมความรู้มากมาย แต่เมื่อฟังข่าว ตำรวจจับพระเถระผู้ใหญ่หลายๆรูป สึกแล้วเอาเข้าขังคุก ก็อดไม่ได้ที่จะหวั่นไหวและเศร้าหมอง

ต้องพยายามโน้มน้าวใจ เชื่อมั่นว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

ดื่มด่ำกับคำสอนนี้แล้วทำให้มั่นคงในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ายิ่งขึ้น

นึกถึงผู้คนในแวดวงการเมือง หลายคนจากหลายฝ่าย ที่ก่อกรรม ต่างก็รับผลกรรมกันไปแล้ว เข้าคุกไปแล้วบ้าง ถูกยึดทรัพย์บ้าง อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีบ้าง

ถ้าเชื่อว่ากรรมเวรมีจริง แม้อำนาจการเมืองจะทำให้เห็นว่า ฝนตกไม่ทั่วฟ้า

คนแก่ที่มีศรัทธาปสาทะ ระดับที่ 4 อย่างผมเชื่อว่าจะเร็วจะช้า ก็ต้องรับผลกรรมที่ทำไว้

ถ้าทุกกรรมมีผลฉับไวทันใจ บนเวทีการเมืองไทย อาจไม่มีนักการเมืองเหลือเลย ถ้าเข้าคุกกันไปหมด จะเหลือใครจะอยู่ทำงานนิติบัญญัติในสภา ทำงานบริหารในรัฐบาล

ที่เป็นห่วง ก็คือผู้คนที่อยู่กับอำนาจใหม่ บางคนทำเหมือนไม่รู้จักกฎแห่งกรรม

จะทำจะพูดอะไร ไม่ก่อศรัทธา คงเผลอไปว่าอำนาจคือศรัทธา

ลืมไปแล้วกระมังว่าอำนาจจากปากกระบอกปืนเป็นเพียงอำนาจชั่วคราว อำนาจที่ยั่งยืนและแท้จริงนั้นมาจากศรัทธาของประชาชน.

ศรัทธา 4 หมาย ถึง อะไร มี อะไร บาง

ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าโดยการรู้เห็นจากประสบการณ์ของตนโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะคำบอกเล่าหรือพบเห็นด้วยตนเอง ซึ่งใช้นำมาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจหรือแบบอย่างแนวทางการใช้ชีวิตที่เหมาะกับแต่ละบุคคลก็ได้

ศรัทธา ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่การเชื่ออย่างไม่มีเหตุผล แต่เป็นความเชื่อที่มีปัญญาประกอบด้วย ต้องใช้เหตุผลมาประกอบการพิจารณาอยู่ตลอด การจะเชื่อหรือศรัทธาในสิ่งใดจะต้องใช้เหตุและผลในการอธิบาย ให้คลายความสงสัย ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนาจึงเป็นปัจจัยต่อการพัฒนาปัญญาเพื่อการรู้แจ้งแห่งธรรม โดยแบ่งได้เป็น 4 ประการดังนี้

ศรัทธา 4 คืออะไร

ศรัทธา 4 คือ ความเชื่อทางพระพุทธศาสนาในความเป็นจริงของโลก ซึ่งมี 4 ประการ ความเชื่อเหล่านี้จะต้องใช้ปัญญาในการพิจารณาว่าเป็นจริงหรือไม่ และหากเป็นจริงก็จะเห็นได้ว่าเหตุและผลนั้นได้แสดงต่อเนื่องกันไปเป็นเหมือนภาพเรียงต่อกัน และทุกสิ่งในอดีตจะส่งผลโดยตรงต่ออนาคตเรื่อยไป

  1. กัมมสัทธา คือ ความเชื่อในเรื่องกรรม กฎแห่งกรรม ว่ากรรมมีอยู่จริง เชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องชั่วหรือดี เมื่อกระทำไปแล้วโดยมีเจตนา จงใจทำ การกระทำนั้นย่อมเป็นกรรม และกรรมนั้นย่อมเป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีและผลร้ายสืบเนื่องต่อไป และเชื่อว่าผลที่ต้องการจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยการสวดมนต์หรืออ้อนวอนขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  2. วิปากสัทธา คือ เชื่อในเรื่องวิบากว่าผลของกรรมมีจริง กรรมที่ทำแล้วต้องมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว ซึ่งกรรมบางอย่างก็ส่งผลได้โดยตรง กรรมบางอย่างก็ส่งผลเร็วทันที และกรรมบางอย่างก็ส่งผลช้าข้ามภพข้ามชาติ
  3. กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของกรรม คือการกระทำ แต่ละคนจะต้องรับผิดชอบผลกรรมของตน ต้นทุนของแต่ละคนก็แตกต่างกันไปตามแรงกรรมพื้นฐานแต่อดีตชาติ
  4. ตถาคตโพธิสัทธา คือเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ตรัสธรรมและบัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นที่แสดงให้เห็นว่า เราทุกคนหากฝึกตนด้วยดี ก็บรรลุธรรม หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญไว้เป็นแบบอย่าง

ศรัทธา 4 นี้ หากเราใช้ปัญญาพิจารณาโดยแยบคายแล้วก็จะสามารถนำมาอธิบายธรรมชาติของความแตกต่างของการเกิดของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานที่เกิด สภาพแวดล้อม ความสมบูรณ์ของครอบครัว ฐานะ รูปร่างหน้าตา นิสัยใจคอ สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนมีเหตุปัจจัยจากอดีตทั้งสิ้น แต่การเกิดขึ้นนั้น เกินความสามารถของสมองของมนุษย์ ไม่อาจที่จะเข้าใจได้เพราะเป็นเรื่อง อจินไตย คิดไปก็บ้าเปล่า

จำเป็นอย่างไร

ศรัทธานั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นตามหลักพุทธศาสนาหรือศรัทธาในความหมายทั่วไป เนื่องจากเป็นหลักในการดำเนินชีวิต คำว่าศรัทธานั้นสามารถใช้ได้ทั้งกับคน และคำสั่งสอน รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆที่เราเคารพนับถือ หากเราไม่มีศรัทธา ก็จะไม่มีแนวทางหรือสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ใช้ชีวิตอย่างไร้แก่นสาร แต่แน่นอนว่าหากเราศรัทธาโดยไม่มีข้อโต้แย้งสงสัยในสิ่งนั้นๆ ก็อาจกลายเป็นความงมงายเพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นปัญญาก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันอย่างยิ่ง

สนับสนุนบทความโดย WIN365

ศรัทธา 4 หมายถึงอะไร

กัมมสัทธา : เชื่อในเรื่องกรรม = กรรมมีอยู่จริง วิปากสัทธา :เชื่อในผลของกรรม = ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว ทำะไรไว้ ย่อมได้รับ ผลอย่างนั้น กัมมัสสกตาสัทธา : เชื่อในเรื่องที่สัตว์มีกรรมเป็นของตนเอง = รับผิดชอบในการกระทำของตนเอง ตฤาคตโพธิสัทธา : เชื่อว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้จริง = พระองค์ทรงค้นพบหลักธรรมด้วยตนเอง

หลักศรัทธา 4 สอนให้ชาวพุทธเชื่อมั่นในเรื่องใด

1. กัมมสัทธา คือ เชื่อในกฏแห่งกรรม 2. วิปากสัทธา คือ เชื่อผลของกรรม 3. กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง 4. ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

วิบากศรัทธาคืออะไร

วิปากสัทธา เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน

ศรัทธาในพระพุทธศาสนาหมายถึงอะไร

ศรัทธา คือ ความเชื่อ ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ความเชื่อที่ประกอบด้วย เหตุผล ผ่านการกลั่นกรองแล้วจากปัญญา (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), 2551) ศรัทธาและการสร้างศรัทธาถือเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา นอกจากนี้ศรัทธามีลักษณะ 2 ประการ คือ 1) มีลักษณะทำใจให้ผ่องใส 2) มีลักษณะทำให้ แล่นไปด้วยดี ...