บริษัทฟู้ดแพนด้า

เราให้ความสำคัญกับการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นอย่างยิ่ง เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีกับผู้ใช้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว

ไม่ว่าจะเป็นใต้คอนโดฯ หน้าร้านอาหาร หรือแม้กระทั่งตามท้องถนน โลโก้รูปหมีแพนด้าสีชมพูน่ารัก คงเป็นภาพคุ้นตาของหลายๆ คน โดยเฉพาะในยุคโควิด-19 ที่หลายร้านจำต้องงดให้บริการทานที่ร้าน เหลือเพียงการซื้ออาหารกลับบ้าน จึงทำให้บริการเดลิเวอรี่ผสานเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของผู้คนอย่างเลี่ยงไม่ได้

เป็นเวลาเกือบ 10 ปีที่ ‘foodpanda’ แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่จากเยอรมนีเปิดให้บริการในไทย จนตอนนี้กลายเป็นบริการเดลิเวอรี่อาหารเจ้าแรกที่ให้บริการครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดของประเทศ

บริษัทฟู้ดแพนด้า
บริษัทฟู้ดแพนด้า

อุตสาหกรรมธุรกิจเดลิเวอรี่อาหารเป็นหนึ่งในสมรภูมิที่มีการแข่งขันดุเดือดที่สุด โดยมีทั้งผู้เล่นรายใหญ่ระดับโลก ไปจนถึงสตาร์ทอัพหน้าใหม่เจ้าเล็กๆ การอยู่ให้รอดแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ง่ายแล้ว แต่การอยู่ให้ได้เป็นระยะเวลาเกือบ 1 ทศวรรษนั้น คือสิ่งที่ยากยิ่งกว่า

วันนี้ The Cloud มีนัดหมายพิเศษกับ แชมป์-อุรุรัตน์ ผลชีวิน และ อาย-ณิชาภัทร คงไพศาลนที สอง Senior Product Specialist ประจำ foodpanda ประเทศไทย เพื่อชวนผู้อ่านทุกท่านมาค้นหาหัวใจเบื้องหลังความสำเร็จ ว่าอะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฟู้ดเดลิเวอรี่แพลตฟอร์มรายหนึ่ง อยู่ในสมรภูมิที่ดุเดือดนี้มากว่า 9 ปี อีกทั้งยังตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้ตรงใจ แม้ว่าทุกสิ่งในโลกธุรกิจจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา

บริษัทฟู้ดแพนด้า
บริษัทฟู้ดแพนด้า

กำเนิดแพนด้า

หากย้อนเวลาไปเมื่อราว 10 ปีก่อน ขณะนั้นบริการส่งอาหารในประเทศไทยมีค่อนข้างน้อย ที่เราคุ้นตาก็จะเป็นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไม่กี่เจ้าที่มีบริการเดลิเวอรี่ และร้านอาหารในยุคนั้นก็ยังไม่มีแพลตฟอร์มให้สั่งซื้ออาหารผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างครบครัน

ทว่า ณ ขณะนั้นเอง ด้วยเทคโนโลยีที่ค่อยๆ พัฒนาขึ้น ไลฟ์สไตล์การกินดื่มของคนไทยก็ค่อยๆ เปลี่ยนไป เริ่มเคยชินกับการพึ่งพิงเทคโนโลยี เพื่อความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันมากขึ้น 

นี่คือโอกาสที่ foodpanda เห็นว่าในอนาคต ธุรกิจบริการส่งอาหารจะกลายเป็นบริการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมืองอย่างแน่นอน

foodpanda จึงถือกำเนิดใน พ.ศ. 2555 ด้วยความตั้งใจแก้ปัญหาของลูกค้าที่พบเจอในตอนนั้น เช่น ความไม่สะดวกที่ต้องออกไปซื้อของเอง การเสียเวลานานเพื่อรออาหาร หรือแม้กระทั่งปัญหาสภาพอากาศ ที่จอดรถ และการจราจร ซึ่งล้วนมีผลต่อการเดินทางไปทานอาหารที่ร้าน เพื่ออำนวยความสะดวกและมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ทั้งเรื่องความรวดเร็วและสะดวกสบาย เปิดตัวพร้อมโลโก้รูปหมีแพนด้าสีส้มหน้าตาน่ารัก ช่วยสร้างภาพจำให้กับธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ก่อนจะรีแบรนด์เปลี่ยนเป็นสีชมพู ให้ความรู้สึกสนุกสนาน สดใส และเข้าถึงง่ายในเวลาต่อมา

ขณะนั้น foodpanda ได้ก้าวเข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์กับร้านอาหาร เพื่อเป็นช่องทางออนไลน์ในการสั่งซื้อให้กับลูกค้า และจัดส่งอาหารให้ถึงหน้าบ้าน มากไปกว่านั้น ยังทำลายความจำเจ สร้างตัวเลือกที่หลากหลายให้โดนใจลูกค้า โดยการมอบประสบการณ์การสั่งอาหารเดลิเวอรี่แบบใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทย อาหารฝรั่ง อาหารญี่ปุ่น ขนมหวาน ชาไข่มุก รวมถึงเพิ่มประเภทอาหารตามความนิยมของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสอดคล้องกับวัฒนธรรมอาหารและการกินของคนไทยที่หลากหลายเป็นอย่างมาก

นอกจากการบริการแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญมาตลอดนับตั้งแต่วันแรกคือเทคโนโลยี ทำให้เห็นโอกาสว่า ไลฟ์สไตล์แบบดิจิทัลจะไม่จำกัดอยู่แค่ในกรุงเทพฯ หรือหัวเมืองต่างๆ 

foodpanda จึงลงทุนขยายการเติบโตเรื่อยมา พร้อมกับความเชี่ยวชาญด้วยข้อมูลที่สั่งสมมาตลอด 9 ปี จนให้บริการได้ครบทั้ง 77 จังหวัด และครอบคลุมการให้บริการไปถึงสินค้าของกิน ของใช้อื่นๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าในทุกพื้นที่

บริษัทฟู้ดแพนด้า
บริษัทฟู้ดแพนด้า

แพนด้ารู้ใจ

สิ่งสำคัญที่สุดที่นำพาให้ foodpanda ประสบความสำเร็จเช่นในทุกวันนี้ได้ คงหนีไม่พ้นข้อมูลหรือ Data
สำหรับธุรกิจเดลิเวอรี่อาหาร เวลาเป็นปัจจัยสำคัญ Data ที่ดีและแม่นยำจะทำให้ธุรกิจบริหารจัดการเวลาได้อย่างลงตัว

“ด้วยบริการแบบ On-demand ทำให้ปัจจัยในการส่งอาหารมีเยอะมาก อาจจะเป็นสภาพอากาศ หรือรถพี่ไรเดอร์ยางแตก มีหลายสถานการณ์ที่เราต้องรู้ เพื่อวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา เพื่อให้ลูกค้าได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ในขณะเดียวกัน อาหารก็ยังไปถึงมือโดยคุณภาพเหมือนกับไปทานที่ร้าน”

มากไปกว่านั้น ตั้งแต่คราวที่เริ่มต้นธุรกิจจนถึงปัจจุบัน foodpanda ไม่ได้ทำตลาดแค่ในประเทศไทยเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีธุรกิจใน 12 ตลาดทั่วเอเชียแปซิฟิก คือ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไทย มาเลเซีย ปากีสถาน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ ลาว กัมพูชา เมียนมา และญี่ปุ่น

Data จึงเป็นเครื่องมือสื่อสารที่เปรียบเสมือนภาษากลางในการวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้า ทำให้ทีมในแต่ละประเทศเข้าใจลูกค้าตรงกัน จนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้อีกด้วย

“foodpanda มีทุกจังหวัด เพราะฉะนั้น Data สำคัญในการเข้าใจคนท้องถิ่น พอเราเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าว่า แต่ละภูมิภาคชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ก็จะทำให้เราสามารถ Personalize การบริการให้เหมาะกับคนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น ไม่อย่างนั้นเราจะมองทุกอย่างด้วยมุมมองของกรุงเทพฯ”

บริษัทฟู้ดแพนด้า
บริษัทฟู้ดแพนด้า

เมื่อสร้างบริการที่รู้ใจลูกค้าได้ การใช้ Data ยังเป็นประโยชน์กับพาร์ทเนอร์อีกกลุ่มก็คือเหล่าไรเดอร์

“ในแต่ละภูมิภาค พี่ไรเดอร์ก็มีคอมมูนิตี้ของตัวเอง อย่างเช่นที่เชียงใหม่ ร้านค้ารู้จักพี่ไรเดอร์ของเราแทบทุกคน คุยสนิทสนมกันเลย เป็นสังคมที่น่ารักมาก”

การสร้างสังคมที่อบอุ่นระหว่างไรเดอร์กับร้านค้าก็เกี่ยวข้องกับการนำ Data มาใช้ โดยจะช่วยให้แอปพลิเคชันรู้เทรนด์ว่าลูกค้าชอบสั่งอะไร บริษัทจะเพิ่มร้านค้าเหล่านั้นเข้าไปบนแพลตฟอร์ม วันถัดไปพอมีลูกค้ามาใช้เยอะขึ้น ไรเดอร์มีงานมากขึ้น และร้านค้าก็ได้รับออเดอร์เพิ่มขึ้น

ในช่วงโควิด-19 มีการเพิ่มฟีเจอร์ Contactless อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสื่อสารกับไรเดอร์ได้ดีขึ้น ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

“ผู้ใช้ในเมืองไทยส่วนใหญ่ใช้จ่ายเป็นเงินสด แต่ในช่วงโควิด-19 เราเริ่มเห็นว่าคนหันมาใช้ Digital Payment มากขึ้น เราเลยตั้งคำถามว่า หรือจริงๆ ลูกค้าไม่อยากเจอกับพี่ไรเดอร์แล้ว เกิดเป็นฟังก์ชัน Contactless เช่น ใช้ Online Payment ไปพร้อมๆ กับสื่อสารให้พี่ไรเดอร์เข้าใจว่า ไม่ต้องเจอกัน วางอาหารไว้ได้เลย”

บริษัทฟู้ดแพนด้า
บริษัทฟู้ดแพนด้า

คนเลี้ยงแพนด้า

สำหรับคนส่วนใหญ่ เมื่อได้ยินคำว่า Data อาจคิดว่าเรื่องนี้เป็นทักษะที่ยากจะเรียนรู้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดกลับไม่ใช่ทักษะ แต่เป็น Mindset

“หนึ่งคือ โฟกัสว่าลูกค้ามี Pain Point อะไร ไม่ใช่คิดแค่ว่าฉันจะทำให้ธุรกิจโตแบบนี้ เพราะฉะนั้น ก่อนจะไปดู Data ต้องเข้าใจก่อนว่าเป้าหมายของเราคือต้องการให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดี ไม่อย่างนั้นถ้ามี Data เยอะ จะรู้ได้ยังไงว่าต้องดูอันไหนก่อน หรืออันไหนสำคัญกว่า

“สองคือ เป็นคนเปิดกว้าง เพราะบางทีเรามอง Data แล้วมันไม่เป็นไปตามที่คิด เราจึงต้องเปิดกว้างว่า บางอย่างเราทำผิดได้”

สำหรับทั้งแชมป์และอาย การเข้ามาในสายงานด้าน Product ก็เริ่มมาจากความสนใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคและประสบการณ์ของลูกค้า ทำให้สามารถเข้าถึงปัญหา และแก้ไขออกมาได้ด้วยมือของทั้งคู่เอง

บริษัทฟู้ดแพนด้า
บริษัทฟู้ดแพนด้า

ครอบครัวแพนด้า

ธุรกิจจะโตได้ นอกจากข้อมูลแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ ทีมผู้อยู่เบื้องหลัง

foodpanda เปิดกว้างต่อความหลากหลายหรือ Diversity

“องค์กรเรามีในหลายประเทศ เนื่องจากแต่ละคนมาจากหลายแบกกราวนด์ จึงมีความคิดหรือมุมมองไม่เหมือนกัน การที่เราเปิดกว้าง ทำให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ราบรื่น เพราะเรายอมรับในความคิดเห็นของคนอื่น” อายว่า

“พอวัฒนธรรมเป็นอย่างนี้ มันเลยไม่มีกรอบ เช่น ถ้าเราอยากคุยกับ MD ก็เข้าไปคุยได้เลย ที่นี่ทุกคนเท่าเทียมกัน ทุกคนมีความพิเศษ ทุกคนให้เกียรติความคิดเห็นกันและกัน” แชมป์เสริม

บริษัทฟู้ดแพนด้า
บริษัทฟู้ดแพนด้า

ด้วยวัฒนธรรมแบบนี้ ทำให้ที่ foodpanda สามารถสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ตลอดเวลา

“บางทีเราอาจจะคลุกคลีกับธุรกิจ Food Delivery จนลืมไปว่า บางอย่างสามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นๆ การที่เราเปิดกว้างทางความคิด ทำให้ได้ไอเดียหรือมุมมองของปัญหาใหม่ๆ ถ้าไม่มีตรงนี้ เราก็จะหยุดอยู่ที่เดิม แล้วก็แก้ปัญหาด้วยด้วยวิธีเดิมๆ และการเปิดกว้างยังทำให้พนักงานรู้สึกดี พร้อมทำงานต่อไปอีกด้วย

“สิ่งหนึ่งที่เราชอบมาก เป็นประโยคที่ว่า Feeling welcome is different from being invited. ซึ่งที่นี่ทำให้รู้สึกว่าได้รับการต้อนรับจริงๆ

“ช่วง Work from Home เราก็มี Diversity Series ซึ่งเป็น Live Session เราเชิญพนักงานมาไลฟ์ในมุมมองของตัวเองว่า Diversity มีอะไรบ้าง เช่น เรื่องเพศ องค์กรไม่ได้ปิดกั้นหรือตัดสินใครที่ตรงนั้น แต่ดูกันที่ความสามารถ เราเชิญพนักงานในแต่ละแผนกมาพูดในมุมมองของตัวเองว่า เขาได้รับโอกาสยังไง เขาได้พัฒนาตัวเองยังไง”

นอกจากนี้ ที่ foodpanda ยังให้ความสำคัญกับการดูแลพนักงานให้มีความเป็นอยู่ที่ดี โดยมี Wellness Day ช่วยส่งเสริมให้พนักงานไปทำสิ่งที่ตัวเองสนใจได้ 

บริษัทฟู้ดแพนด้า
บริษัทฟู้ดแพนด้า

แพนด้าในอนาคต

แม้จะอยู่ในธุรกิจมาเกือบ 10 ปี แต่ก็ยังเจอความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงทุกๆ วัน รูปแบบการทำธุรกิจแบบนี้ทำให้พนักงานได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา

อายบอกว่า มันเป็นความท้าทายที่ทำให้ตัวเองได้ปรับเปลี่ยนวิธีคิดและการทำงาน เพราะไม่อยากทำอะไรจำเจ
เช่นเดียวกับแชมป์ที่พบว่างานนี้คือความสุข เพราะพื้นฐานเป็นนักเรียนรู้ การเจอคนที่หลากหลายทำให้รู้เรื่องใหม่ๆ กว้างขึ้นไปอีก และที่สำคัญ เขาชื่นชอบอาหารเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

ตลอดเส้นทางการเติบโตของ foodpanda สิ่งหนึ่งที่พวกเขายึดมั่นมาตลอด คือการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า และการรักษาสมดุลของระบบนิเวศธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ก้าวต่อไปนี้คือการสนับสนุนร้านค้าขนาดกลาง ขนาดเล็ก และร้านค้าท้องถิ่น โดยนำเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญที่มีมาช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจชุมชน ในขณะที่จะยังคงจุดยืนที่ ‘อาหาร’ ซึ่งพวกเขาเชี่ยวชาญไว้เหมือนเดิม

บริษัทฟู้ดแพนด้า
บริษัทฟู้ดแพนด้า

ภาพ : foodpanda

Data foodpanda startup ตั้งสติก่อนสตาร์ท สตาร์ทอัพ

Home /Business/ตั้งสติก่อนสตาร์ท

27 ธันวาคม 2565

Share on

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

2 K

เราเริ่มเห็นความเปลี่ยนแแปลงของโลกชัดขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อไม่กี่ปีมานี้

สภาพอากาศที่ฝนตกในฤดูหนาว หรือฤดูหนาวมาช้าและอยู่ไม่นาน ยังไม่หายคิดถึง

แบรนด์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกทุ่มสื่อสารเรื่องความยั่งยืนอย่างจริงจัง

ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำประกาศยกเลิกนโยบายแจกถุงพลาสติก หันมาขายถุงผ้า

มีกิจกรรมสาธารณะเกี่ยวกับความกรีนจากทั้งภาครัฐและเอกชนมากมาย

คนใกล้ตัวเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เพราะอยากเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

เราต่างหาทางช่วยโลกในแบบที่ตัวเองทำได้ แม้แต่บริษัทใหญ่อย่าง ปตท. ก็ลงสนามเข้ามาช่วยอีกแรง 

ทั้งหมดเกิดจากวิสัยทัศน์ล่าสุดที่ตั้งใจพาบริษัทให้เป็น Powering life with future energy and beyond การเลือกทำโปรเจกต์ภายในจึงเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นส่วนใหญ่ อย่าง ReAcc ที่เรานำมาเล่าให้ฟังวันนี้ ก็คือผลพวงจากโครงการ AI and Robotic ที่ประสบความสำเร็จจนสามารถทำเป็นอีกธุรกิจบริหารแบบเอกชน

ถ้าต้องเล่าว่า ReAcc คืออะไรเพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ กัส-ณัฐชาต เจิดนภาพันธ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท รี แอค จำกัด (ReAcc) เอ่ยตรง ๆ ว่า มานั่งคุยกันคงอธิบายได้ง่ายที่สุด

บริษัทฟู้ดแพนด้า
บริษัทฟู้ดแพนด้า

ถ้าบอกเล่าต่อตามคำของเขา ReAcc คือผู้หาโซลูชั่นด้านพลังงานสีเขียว โดยมีบริการบุกเบิกเป็นแพลตฟอร์มซื้อ-ขายใบรับรองการใช้พลังงานหมุนเวียน หรือ Renewable Energy Certificates : REC ซึ่งเอื้อประโยชน์ทั้งกับภาคธุรกิจและผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียน

เรานั่งคุยกับเขาในสวนของร้านกาแฟใจกลางกรุง ลมอุณหภูมิ 24 องศาเซลเซียสในเดือนธันวาคมปะทะหน้า สภาพอากาศที่คาดเดาไม่ได้อีกต่อไป เพราะเมื่อสัปดาห์ก่อนฝนเพิ่งตก

01

ในยุคที่เทรนด์เรื่องความยั่งยืนกลายเป็นเรื่องใหญ่ คำว่า Carbon Neutrality และ Net Zero ปรากฏอยู่ในแผนธุรกิจและกลยุทธ์ของบริษัทใหญ่ ๆ ReAcc เกิดขึ้นเมื่อราว ๆ 3 ปีก่อน จากโปรเจกต์เล็ก ๆ ของ ปตท. พร้อมทุน 29 ล้านบาท ทดลองทำดูถ้าไม่สำเร็จก็ยกเลิก สู่การดำเนินงานภายใต้ชื่อ บริษัท เมฆาวี จำกัด และทุนจดทะเบียน 302 ล้านบาท

“เราทำหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น Energy Management, Carbon Footprint และ REC ซึ่งต่อยอดเป็น Carbon Neutrality ได้” ไม่ใช่ครั้งแรกที่กัสพูดเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอน

เขาอธิบายต่อว่านี่คือโอกาสใหม่ของธุรกิจ ปกติเวลาคนต้องการทำเรื่องนี้ จะนึกถึงการติดโซลาร์เซลล์เป็นอย่างแรก ๆ แต่โซลาร์เซลล์ก็มีข้อจำกัด

หนึ่ง ผลิตไฟฟ้าได้ไม่แน่นอน บางวันอาจผลิตได้น้อยกว่าที่ใช้

สอง ใช้ได้แค่ตอนกลางวันถ้าไม่มีแบตเตอรี่ ซึ่งมีราคาสูงพอ ๆ กับการติดตั้ง 

“สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คนเริ่มพูดถึง Carbon Credit มากขึ้น ยิ่งเป็นบริษัทใหญ่ ๆ ที่ต้องรายงานความยั่งยืน ส่วนต่างที่เกิดขึ้นที่เขาหามาทดแทนไม่ได้ก็ต้องซื้อเครดิต”

บริษัทฟู้ดแพนด้า
บริษัทฟู้ดแพนด้า

02

กลไกของ Renewable Energy Certificates : REC ก็คล้าย ๆ กัน แต่เป็นเรื่องของการใช้พลังงานไฟฟ้า

1 REC เท่ากับไฟฟ้า 1 MWh

ใครที่ต้องการให้บริษัทเป็น Carbon Neutrality อย่างแท้จริง แต่ไม่สามารถผลิตพลังงานหมุนเวียนได้ครบถ้วน ก็ซื้อ REC ในส่วนที่เหลือเพื่อให้ยอดสุดท้ายหักลบกลบกันแล้วเป็นศูนย์

ฝั่งคนซื้อเครดิตได้ประโยชน์ ยิ่งถ้าเป็นบริษัทที่ต้องรายงานความยั่งยืนหรือเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain ที่ต้องการความกรีนในทุกกระบวนการ ก็นำไปยืนยันได้ว่าธุรกิจนี้ดำเนินงานโดยการใช้พลังงานหมุนเวียนจริง ๆ

ส่วนฝ่ายขาย แทนที่จะขายแค่ไฟจากพลังงานหมุนเวียน เขาก็ขายเครดิตได้ด้วย 

“เนื่องจากค่าไฟบ้านเราไม่ได้สูงมากเหมือนต่างประเทศ สมมติค่าไฟหน่วยหนึ่งราคา 4 บาท คุณติดโซลาร์เซลล์ที่บ้านอาจจะใช้เวลา 8-10 ปีในการคืนทุน แต่ถ้าขาย REC ด้วย จะมีโอกาสทำให้เวลาคุ้มทุนสั้นลงกว่านั้น

“เราคาดหวังว่าสิ่งนี้จะทำให้เกิดโรงงานไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ในประเทศมากขึ้น ทุกวันนี้โรงงานโซลาร์เซลล์ต้องแข่งกับโรงงานไฟฟ้าถ่ายหิน ซึ่งมีมานานมากแล้ว คืนทุนได้เร็วกว่าแน่นอน ถ้าโซลาร์เซลล์ไม่มีแต้มต่อ โอกาสที่ความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility) จะชนะถ่านหินน้อยมาก

“ปตท. อยากให้มี Renewable Energy ในกริดไฟฟ้ามากขึ้น ReAcc ก็เลยเกิดขึ้นมา”

คนผลิตในวันนี้จึงมีรายได้ 2 ทาง ทางแรกคือการขายไฟฟ้าเข้าไปในกริด ซึ่งมีโควต้ารับซื้อในกรณีที่ผลิตเองแล้วใช้ไม่หมด ทางที่สอง คือ นำเครดิตไปขึ้นทะเบียนเป็น REC แล้วนำเครดิตไปขายให้คนหรือองค์กรที่ต้องการได้

03

ก่อนจะมาเป็น Managing Director ของ ReAcc กัสเป็นวิศวกรมาก่อน

ตอนเป็นวิศวกรทำงานต้องเป็นหลักการ เป็นเหตุเป็นผล ไม่ว่าจะทำอะไรต้องไล่ตามขั้นตอน หนึ่ง สอง สาม สี่ มีบทบาทเป็นผู้ซื้อ มาตอนนี้วิธีการทำงานเปลี่ยนจากหน้าเป็นหลังมือ ย้ายจากคนซื้อมาเป็นคนขาย ทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับลูกค้า ต้องหาทางแก้ปัญหาให้เขา ยืดหยุ่นมากขึ้น

“ถ้าคุณเป็นบริษัทที่ต้องการความกรีน เข้ามาหาเรา เราจะมีโซลูชันให้” เขาลองขายงานจริงกับเราเป็นตัวอย่าง

“ทุกบริษัทใหญ่พูดเรื่อง Net Zero กับ Carbon Neutrality อยู่แล้ว การที่บริษัทหนึ่งจะชดเชยการใช้พลังงานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่อาหาร การใช้ไฟฟ้า หรือทำให้ทุกกระบวนการใน Supply Chian ไม่มีการปล่อยของเสียเลย เป็นศูนย์ ในวันนี้ยังเป็นไปได้ยากมาก ส่วนต่างก็ต้องอาศัยเครดิตหรือ REC เพื่อนำไปบอกต่อได้ว่าเราใช้ Renewable Energy”

บริษัทฟู้ดแพนด้า
บริษัทฟู้ดแพนด้า

กระบวนการขึ้นทะเบียนพลังงานหมุนเวียนเพื่อทำการซื้อ-ขายต่อนั้นยุ่งยาก ReAcc จึงมองตัวเองเป็น One-stop Service เรื่อง REC บริการจัดการให้ทุกอย่าง เพราะต้องการให้เกิดตลาดขึ้นมาจริง ๆ 

“ทุกคนอยากทำ อยากเป็น แต่มันไม่มีโซลูชัน เราเชื่อว่าแต่ละบริษัทมีองค์ประกอบ มีองคาพยพไม่เหมือนกัน เราไม่สามารถเอาโซลูชั่นหนึ่งไป Fits all ได้ เราต้องเข้าไปพูดคุยกับเขา”

04

เขาเล่าต่อว่า ปตท. ตั้งเป้าว่าจะเป็น Carbon Neutrality ในปี 2040 และเป็น Net Zero ในปี 2050 ส่วนประเทศไทยวางแผนว่าในปี 2050 จะเป็น Carbon Neutrality และก้าวสู่ Net Zero ในปี 2065

Carbon Neutrality คือ ​การที่ปริมาณการปล่อยคาร์บอนปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณที่ดูดซับกลับคืนผ่านวิธีการต่าง ๆ

Net Zero คือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ 

ฟังดูเหมือนจะเป็นไปได้ยากมาก แม้ในระดับระยะเวลากว่า 20 ปี แต่พอกัสอธิบายก็ทำให้เห็นถึงความเป็นไปได้ เพราะนั่นก็คือสิ่งที่ ReAcc กำลังผลักดัน

บริษัทฟู้ดแพนด้า
บริษัทฟู้ดแพนด้า

“จะทำแบบนั้นได้ต้องให้กริดของไฟฟ้าส่วนกลางเป็น Renewable Energy ทั้งหมด ทุกวันนี้ในกริดมีพลังงานหมุนเวียนอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นสัดส่วนไม่มากที่เราสามารถพูดได้ว่าใช้พลังงานหมุนเวียนอยู่ 

“REC เป็นกลไกทำให้ตัวเลขนั้นเพิ่มขึ้น เพราะพอผู้ผลิตสามารถขายพลังงานพร้อมขายเครดิตได้ จุดคุ้มทุนของการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนก็มีเร็วขึ้น คนก็จะหันมาผลิตมากขึ้น”

05

ยอดขาย ReAcc โตขึ้น 10,000% หรือ 100 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน แสดงให้เห็นว่าองค์กรต่าง ๆ เริ่มหันมาเอาใจใส่เรื่องนี้อย่างจริงจัง อย่างงานทายาทรุ่นสอง : ESG ที่ The Cloud จัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ก็ใช้พลังงานหมุนเวียนในการจัดกิจกรรมทั้งหมด โดยซื้อเครดิต REC เช่นกัน

บริษัทฟู้ดแพนด้า
บริษัทฟู้ดแพนด้า

“แต่ก่อนคนมองว่าจะทำเรื่องความยั่งยืนคือภาคสมัครใจ ตอนนี้เป็นความสมัครใจกึ่งบังคับ ยังไม่ได้บังคับด้วยกฎหมาย แต่บังคับด้วยโลกใบนี้”

Climate Change กลายเป็นเรื่องใหญ่ที่กระทบกับชีวิตประจำวันขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น PM 2.5 ภาวะน้ำท่วม อากาศไม่ตรงฤดู ภาคธุรกิจก็ได้รับผลกระทบ อาทิ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าที่ไม่สามารถคาดเดาสภาพอากาศเพื่อผลิตคอลเลกชันได้

หรืออย่างแบรนด์ใหญ่ ๆ ระดับนานาชาติที่มีข้อบังคับทางกฎหมายต้องปฏิบัติเรื่องความยั่งยืน ก็ต้องดูแลทุกกระบวนการทั้ง Supply Chain ต่อเนื่องมาถึงส่วนที่อยู่ในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นการบริการหรือโรงงานรับผลิตส่วนประกอบ 

“สมมติโรงงานผลิตโทรศัพท์มือถือสั่งชิพจากบ้านเรา โรงงานนี้ต้องการความกรีนทุกขั้นตอน เขาก็ต้องมาดูว่าซัพพลายเออร์ที่ผลิตชิพกรีนไหม ใช้วัสดุยังไง ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไหม ถ้าไม่ก็เลิกใช้เจ้านี้ หรือถ้ายกตัวอย่างใกล้ตัวไปอีก สมมติวันนี้คุณช่างภาพต้องไปถ่ายรูปงานอีเวนต์ แล้วเป็นงานอีเวนต์เกี่ยวกับความยั่งยืนที่เข้มงวดมาก ๆ เขาอาจต้องการให้ทุกอย่างที่เกิดขึ้นจากงานนี้กรีน รูปที่ถ่าย กล้องที่ใช้ ก็ต้องชาร์จแบตจากพลังงานกรีน ก็ซื้อ REC เพื่อชดเชยตรงนั้นได้

บริษัทฟู้ดแพนด้า
บริษัทฟู้ดแพนด้า

“ถ้าถามว่าสเกลเล็กระดับบุคคลทำได้ไหม ทำได้ แต่ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะยังไม่คุ้มค่า เราเลยพยายามฝังความกรีนนี้ลงในสินค้า ในกระเป๋า เสื้อผ้า ของใช้ ที่จับต้องได้เป็นชิ้นเป็นอัน”

กัสยกตัวอย่างให้ฟังถึงสตรอว์เบอร์รี่ Harumiki ที่ล่าสุดได้ติดสติกเกอร์ว่าปลูกโดยพลังหมุนเวียนแล้ว เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภคให้เขารู้ว่าเรื่องนี้ใกล้ตัวกว่าที่คิด 

“เป็นสตรอว์เบอร์รี่สีแดงที่ใช้พลังงานสีเขียวปลูก” กัสว่าอย่างนั้น

06

อนาคตจะมีคนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ 

ระดับบุคคลเวลาซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ก็จะเอาใจใส่เรื่องนี้และยกให้เป็นเหตุผลในการใช้จ่าย

เมื่อโลกเปลี่ยน เราจะปรับ

กัสเข้าใจว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย และยังเป็นเรื่องใหม่ คำว่า Carbon Credit ยังไกลตัว ไม่ต้องพูดถึง REC ที่แทบจะไม่มีคนรู้จัก 

บริษัทฟู้ดแพนด้า
บริษัทฟู้ดแพนด้า

แต่ด้วยตัวเลขยอดขายที่ขึ้นกว่า 100 เท่าน่าจะการันตีว่า ReAcc เดินมาถูกทาง คนซื้อให้ความสนใจมากขึ้นทำให้มีลูกค้าใหญ่ ๆ อย่าง Harumiki ที่ทำเรื่องสตอเบอรี่จากพลังงานสีเขียว การชาร์จรถไฟฟ้าด้วย Renewable energy ของ On-ion การให้เช่ารถไฟฟ้าแบบ Green fleet ของ Evme หรือแม้กระทั่ง Siam Piwat ที่มีการใช้ใบรับรองพลังงานสะอาดชดเชยการใช้พลังงานของส่วนในตึกออฟฟิส Siam Discovery ขณะเดียวกันฝั่งผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียนอย่างฟาร์มโซลาร์เซลล์ก็มีทางเลือกในการหารายได้มากขึ้น โอกาสมากขึ้น ทำให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน

เขาเชื่อว่าเรื่องนี้จะเข้มข้นขึ้นไปอีกในขวบปีหน้า และปีต่อ ๆ ไป และ REC น่าจะเข้ามามีบทบาทในภาคธุรกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ 

“ง่ายสุดคือเรามานั่งคุยกัน ค่อย ๆ ไล่ทีละเปราะ จะค่อย ๆ เห็นภาพขึ้นเรื่อย ๆ” นี่คือสิ่งที่ MD คนนี้ฝากไว้ให้ลูกค้าที่สนใจ