ครุฑ มหายุทธ หิมพานต์ รายได้

โดยที่ระหว่างทางก็มีเรื่องความสัมพันธ์ของตัวละคร ตลอดจนเรื่องในทางโรแมนติคใส่เข้ามา ในมุมหนึ่งก็คือ ทำให้หนังมีมิติ มีสีสันที่มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้ลงลึก และอาจรู้สึกเป็นส่วนเกินที่สามารถตัดออกไปก็ยังได้ หากเท่าที่มีอยู่ก็ไม่ถึงกับพะรุงพะรังจนเกินไป และไม่ถึงกับกวนความเป็นหนังสงคราม หรือว่าหนังแอ็คชันของหนังมากนัก แต่ถ้าหนังให้เวลากับการคลี่คลายเหตุการณ์ต่างๆ ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ ก็น่าจะทำให้เรื่องเข้มข้นมากขึ้น เพราะจากที่เห็น ครุฑ มหายุทธหิมพานต์ ดูจะแก้และจบปัญหาต่างๆ ได้ง่ายดายเหลือเกิน และทำให้ความขึงขังของหนังไม่ได้เข้มข้นอย่างที่ควรจะเป็น ส่วนอารมณ์ขันที่ใส่เข้ามา ก็น่าจะโดนผู้ชมเด็กๆ มากกว่าผู้ใหญ่ จังหวะในการเล่าเรื่อง ก็เหมือนอยู่ในระนาบเดียวกันไปหมดจนไม่รู้สึกถึง จุด ‘พีค’ ของหนัง

ที่สุดแล้วบทและการเล่าเรื่องก็ยังเป็นปัญหาสำคัญ

หากก็ทำได้ดีในเรื่องของการดีไซน์ตัวละคร แม้ในส่วนของภาพเคลื่อนไหวจะดูแข็งและไม่ลื่นไหลนัก แต่ก็พยายามสร้างภาพในมุมมองแปลกๆ ช่วยให้หนังดูหวือหวามากขึ้น และงานดนตรีประกอบก็สามารถเสริมตัวเรื่องให้ดู ‘ใหญ่’ ได้ เสียงพากย์ก็ทำได้ดี ไม่ทำให้ภาพขัดหูรู้สึกว่าเสียงขัดตามากมาย สมกับได้มือโปรหลายๆ คนมาให้เสียง

แม้จะไม่ลงตัวหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะเรื่องที่น่าจะกระชับ งานด้านภาพที่น่าจะลื่นไหลกว่านี้ แต่ทุกอย่างที่เห็นถือว่า ครุฑ มหายุทธหิมพานต์ มีต้นทุนและวัตถุดิบที่ใช้ได้ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เหลือที่ต้องมาเติมก็คือ “ประสบการณ์” ซึ่งหมายความว่าต้องเดินหน้ากันต่อไป

โดย นพปฎล พลศิลป์

ติดตามอ่านเรื่องราว ข่าวสาร ชมตัวอย่าง ชมคลิป ชม MV อ่านวิจารณ์หนังและเพลง ได้ด้วยการกดไลค์เพจสะเด่าส์ ได้ที่นี่

Sadaos – สะเด่าส์

 

ครุฑ มหายุทธ หิมพานต์ รายได้

Share

What is your reaction?

Excited

0

Happy

0

In Love

0

Not Sure

0

Silly

0

Sadaos

พบข่าวสารจากวงการหนัง-เพลง ภาพสวยของดาราสาว, วิจารณ์-แนะนำ งานเพลง, ภาพยนตร์ และรับสั่งซื้อ CD/ DVD ทั้งในและต่างประเทศ. Sadaos Is entertainment news page and online shop for people who love movie and music. We sell many entertainment items like used and new DVD, CD, postcards, accessory, souvenirs.

แอนิเมชันไทยแนวสงครามแฟนตาซี เล่าเรื่องราวยุคที่สัตว์ป่าหิมพานต์ต่างทำสงครามแย่งชิงอาณาจักรกัน เมื่อเมืองอโยธยาของ พญาวัชรครุฑ ถูก รากษส สัตว์เผ่าพันธุ์ดุร้ายเข้ามาตีประชิดเมือง ทำให้พญาวัชรครุฑต้องตีฝ่าวงล้อมข้ามมหานทีสีทันดร ไปขอความช่วยเหลือจากเหล่าสัตว์พิสดารน้อยใหญ่ในป่าหิมพานต์ มหาสงครามระหว่างเผ่าพันธุ์จึงบังเกิดขึ้น

[ท] 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์ 02-482-2013 - 15 ต่อ 0  ระบบจองบัตรจะปิดหลังภาพยนตร์เริ่มฉาย 30 นาที

หลังจากที่ภาพยนตร์อนิเมชั่นทุนสร้างกว่า 200 ล้านบาท ใช้เวลาสร้างยาวนานถึง 4 ปี กับ "๙ ศาสตรา" ได้เข้าฉายไปเมื่อต้นปีในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เรียกได้ว่าได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในประเทศไทย แถมเรายังได้เห็นการพัฒนาการของวงการอนิเมชั่นไทยอย่างก้าวกระโดด ทั้งในด้านการถ่ายทำ การทำเสียง sfx เพลงประกอบภาพยนตร์ ด้านการเล่าเรื่อง และในอีกหลายๆ ด้าน ทำให้เป็นการปลุกกระแสวงการอนิเมชั่นไทยอย่างแท้จริง

และในเดือนกรกฏาคมนี้เรากำลังจะได้เห็นอีกหนึ่งอนิเมชั่น แนวแอคชั่น ผจญภัย แฟนตาซี อิงประวัติศาสตร์ ภาพสวย ฝีมือคนไทยจากมหาวิทยาลัยรังสิต โดยเป็นการริเริ่มความคิดมาจาก ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่อยากจะทำอนิเมชั่นเรื่องนี้ขึ้นมา และได้ ผศ.ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ หัวหน้าหลักสูตรปริญญาโทคอมพิวเตอร์อาร์ต คณะดิจิตัลอาร์ตมหาวิทยาลัยรังสิต มากำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ และตัวเอกของเรื่องได้ดาราชื่อดังอย่าง ณเดชน์ คูกิมิยะ มาให้เสียงพากย์อีกด้วย

ครุฑ มหายุทธ หิมพานต์ รายได้

ผลงานที่ใช้เวลาสร้างสรรค์นานถึง 4 ปี ด้วยการรวมตัวของคณะดิจิทัลอาร์ต วิทยาลัยดนตรีและวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยรังสิต โดยภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับยุคก่อนที่มนุษย์จะครองพิภพ ยุคที่สัตว์ในตำนาน ป่าหิมพานต์ต่างทำศึกสงครามเพื่อแย่งชิงพิภพกัน สงครามครั้งยิ่งใหญ่ระหว่างเผ่าพันธุ์ครุฑและยักษ์รากษส มหาศึกสงครามแย่งชิงดินแดน อโยธยา "ครุฑ มหายุทธ หิมพานต์" มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของตำนานได้ที่โรงภาพยนตร์วันที่ 19 กรกฎาคมนี้ ในโรงภาพยนตร์

ตัวอย่างภาพยนตร์อนิเมชั่น "ครุฑ มหายุทธ หิมพานต์"

สามารถติดตามรายละเอียด ข่าวคราวความคืบหน้าของภาพยนตร์อนิเมชั่น "ครุฑ มหายุทธ หิมพานต์" ได้ที่ https://www.facebook.com/KrutThemovie

“ลักษณะการเคลื่อนไหวพื้นฐานของแอนิเมชั่นมันมีเบสิกของมันอยู่ แต่นอกนั้นก็ยังมีลักษณะเฉพาะตัวอยู่อีก ซึ่งเราก็ต้องตบตีให้มันเข้ามาเป็นรูปเป็นร่างให้ได้ โดยเฉพาะคาแรกเตอร์ของตัวพญาครุฑ หรือตัวเอกของเรื่องอย่าง “พญาวัชรครุฑ” ครุฑตัวสีแดง ที่เราจะต้องทำให้การเคลื่อนไหวของเขาสง่างามและแตกต่างจากขุนพลทั่วๆ ไปให้ได้


เพราะฉะนั้น เราจะแอนิเมตให้เขาเคลื่อนไหวแบบแอนิเมชั่นทั่วไป เหมือนอย่างแอนิเมชั่นของเด็กไม่ได้ แต่เราต้องเคลื่อนไหวตัวละครตัวนี้ให้มันดูใหญ่ ดูกำลังหายใจ และให้มีการแสดงอารมณ์ออกมาทางสายตาให้ชัดเจนที่สุด เน้นเป็นลักษณะการเคลื่อนไหวที่น้อยลงกว่าตัวอื่นๆ แต่ให้ภาพออกมาดูแล้วเหมือนกำลังเคลื่อนไหวเยอะ มันก็เลยทำให้การแอนิเมตเรื่องนี้ต้องคอนโทรลการเคลื่อนไหวให้มากกว่าแอนิเมชั่นปกติ เพื่อให้เราสามารถคงความเป็นคาแรกเตอร์แต่ละตัวเอาไว้ได้ครับ



ต้องยอมรับว่าที่ทำให้การทำงานหลายๆ อย่างมันยากและต้องละเอียดไปกับมันมากๆ เป็นเพราะว่าเราตั้งธงกันเอาไว้ว่าจะ “เคารพบท” เป็นหลัก เลยต้องดีไซน์ตัวละครให้ได้อารมณ์ตามนั้น แต่ก็มีบางฉากเหมือนกันที่ผมขอเปลี่ยน ถ้าอ่านบทแล้ว ผมรู้สึกไม่อิน ยังไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดของตัวละครนั้นได้มากพอ ผมก็จะคุยกับคนเขียนบทเลยว่าผมยังไม่รู้สึก และมันจะทำให้ผมกำกับไม่ได้ ก็เลยทำให้การทำเรื่องนี้ต้องอาศัยความเชื่อ และต้องมีแรงผลักที่เยอะพอสมควร”
 



จินตนาการผสมประวัติศาสตร์ “ป่าหิมพานต์+กรุงอโยธยา”

ในบทมันคือเรื่องราวของโลกก่อนที่มนุษย์จะจินตนาการได้อีกครับ เป็นโลกของสัตว์หิมพานต์ที่มีการแย่งชิงดินแดนกัน มีครุฑอยู่บนดินแดนนั้น แล้วก็มียักษ์เข้ามาบุก จนเมืองของครุฑพังไป เลยต้องข้ามทะเลสาบมหานทีสีทันดร ไปที่ป่าหิมพานต์ เพื่อจะขอร้องให้สัตว์หิมพานต์มาช่วยกอบกู้เมืองเมืองนี้ แต่สัตว์ป่าหิมพานต์เป็นศัตรูเก่าของครุฑ มันเลยเป็นจุดพลิกผันที่ว่าจะทำยังไง ให้ฟากศัตรูเก่ามาช่วยร่วมรบ เพื่อกอบกู้อโยธยา ให้มาช่วยกันล้มกองทัพยักษ์ให้ได้”

ฟังเรื่องย่อจากปากของผู้กำกับภาพยนตร์เองแล้ว หลายคนคงสงสัยเหมือนๆ กันว่า ทำไมตัวละครต้องอยู่ใน “ป่าหิมพานต์” และทำไมเนื้อเรื่องต้องเกี่ยวโยงกับ “กรุงอโยธยา” คนที่อยู่ตรงหน้าจึงช่วยไขข้อข้องใจเอาไว้ให้ว่า โครงเรื่องฝั่งอิงประวัติศาสตร์นั้น มาจากความคิดของทางเจ้าของทุนโปรเจกต์ยักษ์อย่าง ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ส่วนธีมการสู้รบระหว่างสัตว์ป่าแห่งจินตนาการนั้น มาจากไอเดียของ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับภาพยนตร์และนักเขียนบทชื่อดัง ซึ่งมารับหน้าที่เขียนเส้นเรื่องทั้งหมดให้ในครั้งนี้ด้วย

“ตามโจทย์ที่ ดร.อาทิตย์ ให้มา ถ้าให้คิดถึงหนังแนวอโยธยา ความรู้สึกแรกผมรู้สึกว่าคาแรกเตอร์ที่คนส่วนใหญ่คิดถึง มันต้องเป็นคน แต่ผมคิดว่าทุกคนเห็นตัวคนกันจนชินแล้ว ถ้าทำแอนิเมชั่น 3D ตัวละครที่เป็นคนออกมาอีก คนจะไม่ค่อยอิน เพราะแม้แต่แอนิเมชั่นคนที่ฝรั่งทำ ผมยังรู้สึกว่าทำออกมาแล้วยังดูตาลอยอยู่เลย แววตามันดูไม่มีจิตวิญญาณจริงๆ อยู่ในนั้น

พอหยิบมาเทียบกับเรื่อง “อวตาร (Avatar)” แล้ว ผมว่าเขาฉลาดที่เขาดึงเอาวิญญาณของคนเข้าไปในคาแรกเตอร์นั้นได้ สื่อสารผ่านตัวมนุษย์ต่างดาวตาใหญ่ๆ ทำให้คนดูแล้วให้อภัยได้ว่า นี่มันไม่ใช่มนุษย์จริงๆ ทำให้จุดโฟกัสของเขาวิ่งไปที่เนื้อเรื่องได้เลย สุดท้ายเลยได้ไอเดียจากตรงนั้นมาคิดต่อ




พอเอาโครงบทอโยธยาไปคุยกับพี่วิศิษฏ์ เขาก็แนะมาว่า ไหนๆ จะทำหนัง 3 มิติแล้ว น่าจะหยิบเอา "ป่าหิมพานต์" ขึ้นมาเล่นดูไหม เอามาอิงกับประวัติศาสตร์ไทย จนกลายเป็นโครงการ "อโยธยาป่าหิมพานต์" ให้มีสัตว์ต่างๆ ออกมาให้เราได้เชยชม กลายเป็นแอนิเมชั่นป่าหิมพานต์เรื่องแรกของไทยตัวนี้แหละครับ

ฝั่งท่าน ดร.อาทิตย์ และคณะกรรมการที่ ม.รังสิต ท่านก็เห็นด้วยว่ามันจะตอบโจทย์ เพราะอ้างอิงประวัติศาสตร์ไทยไปด้วยได้พอดี ถ้าเอาไปฉายทั่วประเทศ คนน่าจะสนใจ แถมยังสามารถมาอิงเรื่องราวที่เราต้องการสื่อสารเข้าไปได้จริงๆ โดยที่ไม่ต้องผ่านความเป็นมนุษย์ แต่ผ่านสัตว์ในจินตนาการแทน”




ในเมื่อเลือกคาแรกเตอร์ให้หลุดกรอบและหลุดโลก อย่างที่ไม่เคยมีใครเคยนำเสนอเอาไว้ก่อนแบบนี้ แน่นอนว่าช่วงเวลาแห่งการออกแบบตัวละคร จึงกลายเป็นงานโหดหินอย่างมากสำหรับเอ็กซ์ เพราะถึงแม้ว่าจะสามารถอิงลักษณะสัตว์ป่าหิมพานต์จากในวรรณคดี-ตำราได้ แต่เขาก็เลือกที่จะดีไซน์คาแรกเตอร์หลายๆ อย่างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้คนดูสัมผัสได้ถึงความรู้สึกตื่นตาตื่นใจที่ได้เห็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่บนจอกว้าง ผ่านฝีมือคนไทยด้วยกันเอง

“ยกตัวอย่างตัว “คชสีห์” ถ้าจากตำนานแล้ว จะมีลักษณะหน้าเป็นสิงโต ตัวเป็นช้าง แต่ผมคิดกลับกัน โดยคิดมาจากชื่อ "คชสีห์" ว่า เกิดจากการเอาคำว่า "คชสาร (ช้าง)" นำหน้า แล้วไปผสมกับ "ราชสีห์ (สิงโต)" ผมเลยออกแบบให้ออกมาเป็น หัวเป็นช้าง ตัวเป็นสิงโต วิ่งเร็วเหมือนสิงโต แต่หนักเท่าช้าง

ก็ถือเป็นโอกาสที่ดีครับ ที่ทาง ม.รังสิต ให้ผมกับทีมคิดคาแรกเตอร์ ดีไซน์บางอย่างที่อิงกับชื่อจริงๆ ได้ แล้วค่อยดึงกลับมาอ้างอิงจากพื้นฐานในหนังสือหรือตำนาน ซึ่งมันก็สนุกดี”



“พญานาค 7 หัว” คืออีกหนึ่งไฮไลต์ที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ภูมิใจนำเสนอ ภายใต้ชื่อตัวละคร “พญาอนันตนาคราช” ผู้ยิ่งใหญ่แห่งผืนนที โดยแต่ละหัวจะมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง บางหัวหายใจทางเหงือกเหมือนปลาหมอ บางหัวพยายามจะแหวกว่ายหนีออกจากฝูงไปทางอื่น ซึ่งทั้ง 7 ลักษณะจะรวมอยู่ในรูปกายแห่งความอลังการ ภายใต้ผิวนาคสีทองที่แข็งแกร่งดั่งผิวแผ่นเหล็ก อย่างที่รับรองได้ว่าจะไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน

รวมถึง “พญาครุฑทั้ง 9” และเหล่ากองทัพสัตว์ปีกในตำนาน ที่น่าจะหยุดลมหายใจของคนดูเอาไว้ได้ ในวินาทีแห่งการสยายปีกเพื่อสู้รบ โดยเฉพาะชุดเกราะสีแดงขลิบทองลายไทย ที่ถูกดีไซน์มาเพื่อ "พญาวัชรครุฑ" ตัวเอกของเรื่องเพียงตัวเดียวเท่านั้น “เรื่องฝีไม้ลายมือในการรบของตัวนี้ ก็จะเด่นกว่าพญาครุฑตัวอื่นๆ ด้วยครับ แต่ส่วนที่เหมือนกันก็คือ ทุกตัวล้วนแล้วแต่เสียสละเพื่อกอบกู้ประเทศชาติเหมือนกันหมด” เพราะนี่คือเรื่องราวของการถ่ายทอด “ตำนานวีรบุรุษ” ตามที่ตั้งใจเอาไว้



“จุดหลักของเรื่อง เราเน้นความสามัคคีกันเพื่อชาติ หรือถ้าจะมองเป็นการสร้างความสนุก มันก็สามารถปลุกความฮึกเหิมได้ จุดเด่นของเรื่องนี้ก็คือ ถ้ายกกันไปดูเป็นครอบครัว คุณพ่อก็จะได้เห็นความยิ่งใหญ่ของครุฑ ความเท่ของสงคราม, คุณแม่ก็จะได้เห็นความสวยงามของกินรี ป่าหิมพานต์, ส่วนเด็กๆ ก็จะได้เห็นป่าหิมพานต์กับจินตนาการ


ในระหว่างทางข้างหน้าที่ตัวละครเดินทางไป คนดูจะไม่รู้เลยว่าเรากำลังจะไปเจอกับตัวอะไรภายในป่าแห่งนี้ ซึ่งมันน่าตื่นเต้นตรงนั้นแหละครับ เมื่อกี๊เจอคชสีห์แล้ว ต่อไปข้างหน้าจะได้เจอพญานาคหรือเปล่า มันจะทำให้เด็กๆ ได้ลุ้น ได้เกิดจินตนาการไปด้วย เพราะคาดเดาไม่ได้ว่าจะเจอฉากอะไรต่อไป

ด้วยตัวโครงเรื่องที่มันแข็งแรงอยู่แล้ว ผมเชื่อว่าเรื่องนี้จะสร้างความสนุกให้คนดูได้ ก็คาดหวังว่าอยากให้คนไปดูครับ เพราะเราทำไปเพื่อจะให้ทุกๆ คนได้ดูจริงๆ และเราก็อยากรู้ว่าสิ่งที่เราพยายามทำไป คนดูเขาจะสะท้อนความรู้สึกแบบไหนตอบกลับมา”
 



เทียบชั้นด้วย “หัวใจ” ไม่อาย “ฮอลลีวูด” แน่นอน

คนไทยหลายคนอาจถึงกับอ้าปากค้าง เมื่อรู้ว่าต้นทุนโปรเจกต์นี้ทุ่มเงินลงไปถึง “80 ล้านบาท” แต่ถ้าเทียบสเกลความเป็นหนังแอนิเมชั่นกับระดับ “ฮอลลีวูด” แล้ว คนในวงการนี้ด้วยกันจะรู้เลยว่า ถือเป็นการลงทุนในสเกลที่เล็กมากนัก ยังเทียบกับระดับ “Level A” ในตลาดสากลไม่ได้เลย แต่ถึงอย่างนั้น แอนิเมชั่นสัญชาติไทยก็ยังคงน่าทึ่งด้วยความมุ่งมั่นและใส่ใจ โดยเฉพาะลายเส้นและเอกลักษณ์แบบไทยๆ ที่คนเบื้องหลังกำลังพยายามผลักดันให้เป็นที่รู้จักในทุกครั้งที่ “ผลิตด้วยหัวใจ” ออกมาให้ได้ชมกัน

ที่น่าสนใจก็คือ แอนิเมชั่นแฟนตาซีเรื่อง “ครุฑ มหายุทธ หิมพานต์” เรื่องนี้ เกิดจากฝีไม้ลายมือของ “คนไทย” แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นการ “รวมพล คน ม.รังสิต” มาช่วยกันผสานศาสตร์สร้าง “ศิลปะแอนิเมชั่น” ชิ้นนี้ขึ้นมา โดยเฉพาะ “พาร์ตดนตรี” ที่เกณฑ์นักศึกษาและอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นี้ มาช่วยกันสร้างซาวนด์เอฟเฟกต์และดนตรีประกอบกันแบบแฮนด์เมด ชนิดที่พูดได้เต็มปากเลยว่า ทุกเสียงที่ได้ยินในหนังเรื่องนี้ คือเสียงที่ผลิตขึ้นใหม่เองทั้งหมดด้วยความละเมียดละไมในความคิด



“ยกตัวอย่าง ฉากที่ช้างไปดมพญาครุฑตอนสลบ ทางอาจารย์กับนักศึกษามหาวิทยาลัยดนตรี เขาก็ไปกันถึงสวนสัตว์ นั่งรอให้ช้างมาดมหญ้า ตั้งใจจะไปอัดเอาเสียงจริงๆ แต่มันไม่ได้ผลนะครับ (ยิ้ม) เลยต้องมาประดิษฐ์กันใหม่

สุดท้าย ได้ข่าวว่าเป็นเสียงที่ประดิษฐ์จากไม้ดูดส้วม เอาไปถูกับกำแพงแล้วรูด จนออกมาเป็นเสียงเหมือนช้างหายใจ ซึ่งเป็นพาร์ตที่ทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยดนตรี ได้ความรู้ในการเสาะแสวงหาเสียงต่างๆ มาประดิษฐ์ ทำให้ได้ประสบการณ์ไปสอนลูกศิษย์ต่อไป



ผมมองว่าหนังเรื่องนี้ช่วยให้เราได้พาคนมีความรู้ทางศาสตร์ดิจิทัลอาร์ต มาร่วมกันทำในโปรเจกต์นี้กันจริงๆ ได้ทำกับทีมสร้างแอนิเมชั่นของเราจริงๆ ซึ่งมันทำให้พวกเขาได้เรียนรู้ทั้งความทรมานและความเหนื่อยยาก แต่สุดท้าย มันก็เหมือนเวลาออกกำลังกายแหละครับ ถ้าเราไม่ทำให้กล้ามเนื้อมันฉีกบ้าง ก็คงไม่สามารถสร้างให้มันใหญ่ขึ้นมาได้

จะว่าไป การสร้างหนังเรื่องนี้ เหมือนเราได้สร้างเด็ก สร้างชาติ สร้างการศึกษาขึ้นมาพร้อมๆ กันด้วย ซึ่งผมมองว่ามันคุ้มค่ามากนะครับ ถ้าเทียบกับเงิน 80 ล้านแล้ว เพราะหลังจากโปรเจกต์นี้สิ้นสุดลง เราก็ยังคงเหลือศูนย์คอมพิวเตอร์ ศูนย์ปฏิบัติการทำแอนิเมชั่นทุกอย่างให้อาจารย์กับนักศึกษารุ่นต่อๆ ไป มาใช้พื้นที่ทำต่อไปได้อีก ส่วนคนที่ได้มาเป็นหนึ่งในทีมกับเรา ก็ถือว่าเขาได้เข้ามาเรียนรู้ศาสตร์ในการทำหนัง ได้ลงสนามแอนิเมชั่นในชีวิตจริง”



[“เก่ง-ธชย” ศิลปินผู้ร้องเพลงประกอบหนัง และ “ณเดชน์” นักพากย์ตัวเอกของเรื่อง]
แม้แต่เสียงพากย์ของตัวเอกของเรื่องอย่างตัว “พญาวัชรครุฑ” ยังได้ศิษย์เก่า ม.รังสิต อย่าง ณเดชน์ คูกิมิยะ มาช่วยลงเสียงให้ หลังได้ลองดูหนังรอบทดลองแล้วรู้สึกประทับใจ จึงขออาสาสวมบทบาทผ่านตัวหัวหน้าทัพผู้หาญกล้า โดยที่พระเอกคิ้วเข้มคนดังกล่าวไม่รู้มาก่อนเลยว่า ผู้กำกับอย่างเอ็กซ์วาดฝันอยากให้เขาเป็นคนพากย์ตัวนี้ ตั้งแต่ตอนออกแบบคาแรกเตอร์ในตอนแรกเริ่มแล้ว

“ตอนที่ร่างโครงการขึ้นมา ผมก็ลองสเกตช์ดูคร่าวๆ ว่าอยากให้พระเอกเป็นณเดชน์ เพราะช่วงนั้นณเดชน์ยังเป็นนักศึกษาอยู่ ม.รังสิตด้วย ตอนที่ดีไซน์คาแรกเตอร์ สเกตซ์เป็นตัวครุฑ ผมก็เห็นภาพณเดชน์ลอยมาเลย เพราะเขาจะมีคิ้วที่หนา ผมก็รู้สึกว่าน่าจะลองเอามาเป็นแบบครุฑได้ ตอนเขียนแบบโปสเตอร์ไปเสนอ ผมยังเขียนลงชื่อเล่นๆ ไปว่าเป็นณเดชน์เลย แต่ไม่คิดว่าสุดท้ายจะได้คิวจากเขาให้มาพากย์ได้จริงๆ”



พูดจากใจว่าหนังเรื่องนี้ล้วนอัดแน่นไปด้วย “ความเหนื่อยและความภาคภูมิใจ” ของตัวเขาและทีมงานอยู่ในนั้น พอเอาพลังเหล่านั้นมาผนวกรวมกันจนออกมาเป็นผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้ มันจึงกลายเป็นเรื่องราวเหนือจินตนาการที่อยากให้คนไทยทุกคนได้เข้าไปเปิดใจลิ้มลองดู

“ถือว่าผมคาดหวังไว้เยอะเหมือนกันครับ เพราะถ้าตอนที่ทำ เราไม่คาดหวังอะไรเลย เราคงทำไม่เสร็จ เพราะแอนิเมชั่นมันยาก ยิ่งแอนิเมชั่นที่เป็นหนัง เป็นโปรเจกต์ใหญ่ที่ทำออกมายาวชั่วโมงกว่า มันยิ่งเหนื่อยและยิ่งยาก ถ้าเกิดเราไม่มีความคาดหวังหรือแรงกระตุ้น เราจะเลิกกลางคันแน่นอน

ผมเลยอยากให้คนไทยภูมิใจในแอนิเมชั่นไทย ในกลุ่มคนที่ทำแอนิเมชั่นไทย ที่ต้องการสานต่อตรงนี้ เพราะศิลปะที่เราทำไป การวาดรูปทุกอย่าง บางส่วนเราก็ถ่ายทอดผ่านศิลปะไทยออกไป ซึ่งมันจะช่วยให้สิ่งที่เราอยากจะสื่อสารเรื่อง “ความเป็นไทย” มันแข็งแรงยิ่งขึ้นในตลาดโลก



คนเบื้องหลังทุกคนที่ลงสนามไปสู้เพื่อแอนิเมชั่นไทย เขาต้องเผชิญกับความยากลำบากเยอะมาก เพราะข้อจำกัดมันยังเยอะอยู่ แต่เราก็ลงไปสู้ มีทั้งบาดเจ็บบ้าง ประสบความสำเร็จบ้าง ก็อยากให้ทุกคนช่วยกัน

คนอาจจะตอบกลับมาว่า จะให้ช่วยอะไรแอนิเมชั่นไทย ในเมื่อบทมันยังไม่ดี แต่ผมอยากจะบอกว่าบทของเราก็ใช้ได้นะ เพียงแต่บางทีคนไทยเอง กลัวความเป็นไทยของตัวเอง หรือแม้แต่ตอนเห็นว่าเพื่อนบ้านเราทำแอนิเมชั่นออกมา เรายังไม่มีความเชื่อเลย เหมือนเป็นทัศนคติที่ถูกล็อกไว้ แต่พอฝรั่งทำออกมา คนกลับชื่นชม

เอาจริงๆ แล้ว ถ้าเราจะไปเทียบกันเรื่องอุปกรณ์หรือเทคโนโลยี เราคงไปเทียบชั้น “ฮอลลีวูด” เขาไม่ได้ แต่ถ้าวัดกันจาก "เนื้อเรื่อง" และ "ความพยายาม" ผมพูดได้เลยว่าเรา "เทียบเท่าฮอลลีวูด" ได้แน่นอน โดยเฉพาะเรื่อง "ใจ" ของพวกเรา ที่อาจจะเหนือกว่า-ใหญ่กว่าฮอลลีวูดด้วยซ้ำไป”



รอวัน..คนไทยภูมิใจ “แอนิเมชั่นไทย”

การทำแอนิเมชั่นสัญชาติไทย จริงๆ แล้วผมมองว่าเราไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นลายเส้นไทยก็ได้ ทำให้ออกมาเป็นสากลก็ได้ เพียงแต่ให้บรรยากาศมันยังเป็นของคนไทย อย่างประเทศไทย แค่ใส่บรรยากาศไทยๆ เข้าไป เดินไปตามข้างทาง เจอแม่ค้าทำกับข้าว ขายของริมถนน มันก็ทำให้ได้บรรยากาศของเราได้แล้ว พอหลายๆ บริษัทช่วยกันทำให้เห็นแบบนี้บ่อยๆ เข้า ฝรั่งและชาวต่างชาติก็จะเข้าใจแล้วว่า แบบนี้แหละคือแอนิเมชั่นไทย

แต่พอมันขาดความต่อเนื่อง อุตสาหกรรมตรงนี้ก็เลยกระตุกอยู่แบบนี้ เดี๋ยวลุกขึ้นมาได้ เดี๋ยวบาดเจ็บ เดี๋ยวก็หายไป แล้วเดี๋ยวก็ขึ้นมาใหม่ วนเวียนไปแบบหยุดๆ ต่อๆ แบบที่เห็น ผมเลยอยากให้หลายๆ บริษัทช่วยกันผลัดกันทำเยอะๆ ครับ ไม่เคยคิดเลยครับว่าจะมาเป็นคู่แข่งกัน เพราะยิ่งมีพื้นที่มาก แอนิเมเตอร์ก็จะยิ่งมีที่หายใจมากขึ้น ทำให้เราได้มีทางเลือกมากขึ้น เหมือนอย่างในญี่ปุ่นหรืออเมริกาเป็น

แต่ถ้าตอนนี้คนไทยกันเองไม่สนับสนุนกัน เราคงต้องตายกันทั้งอุตสาหกรรมแน่นอน เพราะเราจะไม่เหลือตลาดให้ปล่อยของ สุดท้าย ความรู้ที่คนสายนี้เรียนมาก็ไม่ได้ใช้ เพราะไม่มีพื้นที่ให้ทดลองทำกันจริงๆ ในอนาคต เนื่องจากอุตสาหกรรมแอนิเมชั่นมันตายไปหมดแล้ว

ทั้งที่จริงๆ แล้ว ไทม์ไลน์การผลิตในบ้านเรา ถ้าเทียบกับระดับสากลแล้ว ก็ใช้ระยะเวลาเท่าๆ กันเลยครับ ประมาณ 4-5 ปีผลิตออกมาเรื่องนึง แต่สำหรับบ้านเขา ทั้งบริษัท Pixar และ DreamWorks อุตสาหกรรมเขามีตลาดรองรับตรงนี้อย่างชัดเจน ทำให้สายพานของเขาได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง จนแฟนๆ ของเขาได้เห็นผลงานกันแทบจะทุกปี

เทียบกับบ้านเราแล้ว พอคนทำแอนิเมชั่นเรื่องนึงออกมาเสร็จ แทนที่จะผลิตเรื่องต่อไปได้เลย เขาก็ต้องไปหาทุน ทำเรื่องใหม่ต่อ หรือไม่ก็บาดเจ็บจากการทำ ต้องพักไปก่อน ซึ่งถ้าเป็นไปได้ ในขณะที่ทางฟากผมหาทุนทำเรื่องใหม่ ก็อยากให้มีบริษัทอื่นในไทยส่งแอนิเมชั่นตัวอื่นออกมาให้ชมได้ และถ้าเราทำต่อเนื่องกันไปได้แบบนี้ สักพักนึงอุตสาหกรรมเราก็จะไปได้เหมือนกับฟากตะวันตก



“ขยัน” ก่อน เดี๋ยว “พรสวรรค์” ตามมา

ผมเลือกทำแอนิเมชั่นตั้งแต่สมัยแรกๆ ตั้งแต่ตอนกลับมาจากอเมริกาใหม่ๆ (หลังรับปริญญาโท ด้านดิจิทัลอาร์ต ม.โอเรกอน และชนะเลิศรางวัลแอนิเมชั่นโลก "World Animation Celebration") ตอนนั้นผมเลือกแอนิเมเตอร์จากสายงานอื่นหมดเลย คนจบนิเทศมา ผมก็เอามาร่วมทีมด้วย เพราะเราเลือกจาก "ความรัก" ในแอนิเมชั่นก่อนเป็นข้อสำคัญที่สุด

ทุกวันนี้ เวลาผมสอนเด็ก (จากการเป็นอาจารย์และผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท คณะดิจิทัลอาร์ต ม.รังสิต) ผมจะบอกเสมอว่าถ้าอยากเป็นแอนิเมเตอร์ สำคัญมากคือต้อง “รัก” มันก่อน แล้วก็ต้องขยันเยอะๆ พอ "ขยัน" ปุ๊บ เดี๋ยว "พรสวรรค์" ก็จะตามมาเอง พอทำไปเรื่อยๆ เดี๋ยวพรสวรรค์ที่เราเก็บไว้ มันจะออกมาเอง

แต่ต้องหัดสังเกตการเคลื่อนไหวในการผลิตแอนิเมชั่นเอาไว้มากๆ แล้วจะเห็นว่าจังหวะยืดหดบางอย่าง ใช้กับเรื่องนี้ไม่ได้นะ แต่บางอย่างเอามาใช้ได้ ผมจะบอกน้องๆ เสมอว่า ถ้าเกิดเราทำทุกอย่างเต็มที่ในทุกวัน และทำมันด้วยความรัก ทำให้เหมือนเวลางานของคนปกติ ตั้งแต่เช้าถึงเย็น 8 โมงเช้าถึง 3 ทุ่ม แล้วมาลองดูผลกัน ถ้าทำแล้วมันไม่เวิร์กจริงๆ ปีแรกไม่เวิร์ก 2-3 ปีก็ไม่เวิร์ก ผมจะซื้อร้านขายบะหมี่ให้ละกัน (ยิ้ม) มันแปลว่าเราขยันผิดที่แล้ว