สถานที่ท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา

คู่มือผู้เล่าเรื่อง Karst topography : สวนหินผางาม จัดทำโดย

อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี      นายสมหมาย  เตชวาล

ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยา      นายสุรชัย  ศิริพงษ์เสถียร

สำรวจธรณีวิทยา       กองธรณีวิทยา

เกริ่นนำ

          คู่มือผู้เล่าเรื่อง “แหล่งมรดกธรณี วนอุทยานผางาม” อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย จัดทำขึ้นโดยกองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี สำหรับ มัคคุเทศก์ท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป ตาม “โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา” พ.ศ. 2563 ของกรมทรัพยากรธรณี โดยมุ่งหวังให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้ เกี่ยวกับการเกิดลักษณะรูปร่างแบบต่างๆ ของธรณีสัณฐานคาสต์ ในภูมิประเทศภูเขาหินปูน ที่ถูกกัดกร่อนจนมีลักษณะสวยงาม แปลกตา และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา

ธรณีวิทยา

ลักษณะทางธรณีวิทยาของสวนหินผางาม ประกอบด้วยหินปูน หินปูนเนื้อโดโลไมต์ เนื้อมัสสโตน (mudstone) ถึง เกรนสโตน (grainstone) สีเทาถึงเทาอ่อน ถึงสีขาว แบบมวลเนื้อหิน พบก้อนหินเชิร์ต (chert nodule) กระจายตัวอยู่ทั่วไป ในลักษณะฝั่งประบริเวณผิวของหินปูน บางส่วนเปลี่ยนเป็นหินโดโลไมต์ เนื้อจากอิทธิพลของรอยเลื่อน พบซากดึกดำบรรพ์ แบรคิโอพอด สาหร่าย ฟิวซูลินิด บ่งอายุยุคเพอร์เมียนตอนล่าง ซึ่งหินคาร์บอเนตบริเวณนี้จัดอยู่ในหมวดหินน้ำมโหฬาร (Nam Mahoran Formation) โดยพบแนวแตก รอยเลื่อนตัดผ่านเนื้อหินจำนวนมาก ในแนวเกือบเหนือ-ใต้ แนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ แนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ และในแนวเกือบตะวันตก-ตะวันออก

         �.� �ԾԾԸ�ѳ������ҵ��Է���ç���¹��ᾧ �ԾԾԸ�ѳ������ҵ��Է���ç���¹��ᾧ “��ٹ�” ���͹�¸����ѵ�� �صи��� ������������͵�駾ԾԸ�ѳ������ҵ��Է�� �ç���¹�� ᾧ�Է�� ������Ч� �ѧ��Ѵʵ�� ���ش��С�¡���֡�ҿ�ʫ�� ���ͫҡ�֡�� ��þ��������������鹷��������Ч� �ѧ��Ѵʵ�� ��ҹ�硹ѡ���¹ ��ҹ�Ѻ������ͧ��âͧ�����Ѿ�ҡøó� ��з�ǧ��Ѿ�ҡø����ҵ��������Ǵ���� ���м�ѡ�ѹ���ѧ��Ѵʵ�����ط�ҹ�ó��дѺ�š���㹾ԾԸ�ѳ���ա�ú�óҡ�á�����¹��� �Ѳ�ҹѡ���¹���Է�ҡû�ШӰҹ������ҧ�ѵ�����аҹ �ѡ���¹�Ъ���͸Ժ����С�е������Դ����ʹ� ���㨵�����ҧ�Ѵ�ʴ����ͧ�ԾԸ�ѳ�� �ա���š����¹���¹���ͧ�ѡ���¹���аҹ 

          ����Ѻ������Ȩ��������ҹ����ҧ�����Ѿ�ҡøó���ѧ�� ��ѡ�ѹ����鹷�� �.���§������ط�ҹ�ó� ��о�ǧ�������Ȩ����ҧ�ó����� ����繷�����ѡ�ǧ���ҧ �������ҧ�����ҡ��÷�ͧ����� �������鹷�� ����͹����ط�ҹϸó�㹵�ҧ����ȷ������ö���Թ������ ��鹷�����ҡ��� ��������á��ͧ����餹�����ѡ�س��Ңͧ���� �ҧ�ó�����ҹ�����¡�͹ �֧�繤������㨢ͧ�����Ѿ�ҡøóշ�������������դ��㹾�鹷��͹�����ⴴ�蹢����.

‘แกรนด์แคนยอน‘ สิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังในรัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นหุบเขาขนาดใหญ่ที่ได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำโคโลราโด กัดเซาะจนเกิดการสึกกร่อนพังทะลายของหินเป็นเวลาหลายพันปี และนั่นทำให้เราเรียกขานสถานที่ท่องเที่ยวในลักษณะนี้ในประเทศไทยว่า “แกรนด์แคนยอน เมืองไทย”

7 ที่เที่ยว แกรนด์แคนยอน เมืองไทยอลังการธรรมชาติสร้าง

แม้ประเทศเราจะเป็นเพียง มินิแกรนด์แคนยอน แต่ก็สวยงามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน วันนี้เราจะพาไปชมปรากฏการณ์ธรรมชาติ 7 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ตามภาคเหนือและภาคอีสาน จะมีรูปลักษณ์แตกต่างกันอย่างไร ดูกันเลย

1. สามพันโบก จ.อุบลราชธานี

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา

สามพันโบก เป็นแก่งหินใต้ลำน้ำโขง จะปรากฏให้เห็ความงดงามแค่เพียงในยามน้ำแล้งเท่านั้น เนื่องจากในช่วงฤดูน้ำหลากแก่งหินนี้จะจมอยู่ใต้บาดาล

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา

ความสวยงามวิจิตรของหินที่ถูกกระแสน้ำกัดเซาะจนเว้าแหว่ง มองเห็นเป็นภาพศิลปะ มีรูปร่างแตกต่างกันออกไป ใหญ่บ้างเล็กบ้าง บ้างเป็นรูปวงรี รูปดาว รูปวงกลม และรูปอื่นๆ อีกมากมาย ตามแต่ที่เราจะจินตนาการจำนวนมากกว่า 3,000 แอ่ง

***********************************************************

2. “หินชมนภา” หาดชมดาว จ. อุบลราชธานี

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา

หาดชมดาว คือแก่งหินที่ถูกกัดเซาะโดยน้ำวน จนเกิดเป็นผาหิน และแอ่งหลุมรูปทรงแปลกตา มีริ้วลายหินแตกต่างกันไป จุดไฮไลท์เป็นผาหินสูงใหญ่ และเว้าแหว่งยาวคล้ายช่องแคบ มีสายน้ำไหลผ่าน  ในฤดูน้ำโขงลดจะมีหินกลางน้ำผุดขึ้นมาให้เราได้เห็น ชาวบ้านเชื่อกันว่าให้หาหินนี้ให้เจอ เพราะเป็นจุดชมท้องฟ้าที่ส่องแสงและสีสันได้สวยที่สุด

***********************************************************

3. ละลุ จ.สระแก้ว

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา

“ละลุ” เป็นภาษาเขมร แปลว่า “ทะลุ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากน้ำฝนกัดเซาะ ยุบตัวหรือพังทลายของดิน เมื่อถูกลมกัดกร่อนจึงมีลักษณะเป็นรูปต่าง ๆ อาจมีรูปร่างคล้ายกำแพงเมือง หน้าผา บ้างก็มีลักษณะเป็นแท่ง ๆ ซึ่งในทุกๆปี ละลุจะเปลี่ยนรูปร่างไปเรื่อยๆ ตามแต่ลมและฝนที่ช่วยกันตกแต่งชั้นดิน

ละลุเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-18.00 น. โดยนักท่องเที่ยวต้องจอดรถไว้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จากนั้นใช้บริการรถอีแต๊กของชาวบ้านพาเข้าไป ค่าเช่ารถประมาณ 200 บาท นั่งได้ 8-10 คน

***********************************************************

4. เสาดินนาน้อย-คอกเสือ จ.น่าน

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา

ขอบคุณภาพจาก : thainorthtour

เสาดินนาน้อย หรือที่เรียกกันในภาษาท้องถิ่นว่า “ฮ่อมจ๊อม”  มีลักษณะเป็นหุบผาและแท่งดินสีแดงปนส้มรูปทรงต่างๆ กันไป เกิดจากการกัดเซาะของน้ำและลม สั่งสมมาเป็นเวลานาน สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 10,000-30,000 ปี และบริเวณนี้เคยเป็นก้นทะเลมาก่อน นอกจากนี้ยังค้นพบกำไลหินและขวานโบราณที่นี่ ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้อาจเคยเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์ยุคหินเก่า

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา

ห่างจากเสาดินนาน้อยมาประมาณ 300 เมตร ก็จะพบกับคอกเสือ ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งลึกจากเนินดินด้านบนประมาณ10 เมตร เมื่อลงไปจะพบว่าบริเวณรอบๆ หุบผามีลักษณะเป็นหลืบม่าน รวมถึงมีแท่งดินรูปร่างต่างๆ กระจัดกระจายเหมือนกับที่เสาดินนาน้อย

***********************************************************

5. แพะเมืองผี จ.แพร่

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา

แพะเมืองผี เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติจากดิน และหินทราย ที่ถูกกัดเซาะด้วยกระแสน้ำเป็นเวลานาน จนเกิดเป็นหน้าผาสูงต่ำสลับกัน และเกิดเป็นเสาดินรูปร่างลักษณะแตกต่างกัน เช่น ดอกเห็ดยักษ์ หน้าผา เสาม่าน แล้วแต่จิตนาการของผู้พบเห็น

คำว่า “แพะ” เป็นภาษาพื้นเมือง แปลว่า ป่าละเมาะ ส่วน “เมืองผี” หมายถึงความเงียบเหงาวังเวง ซึ่งชื่อนี้อาจได้มาจากสภาพภูมิประเทศที่ดูเร้นลับน่ากลัว

แพะเมืองผีเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น ไม่เสียค่าธรรมเนียม

***********************************************************

6. ผาช่อ จ.เชียงใหม่

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา

ผาช่อ เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกิดจากการกัดเซาะของลมฝน จนทำให้แผ่นดิน เชื่อกันว่าเมื่อหลายร้อยปี หรือพันปีก่อนบริเวณแห่งนี้ เคยเป็นทางเดินของแม่น้ำปิง ซึ่งสังเกตได้จากก้อนกรวดหินกลมมนกระจัดกระจายอยู่ในเนื้อดินจำนวนมาก

จนกระทั่งแม่น้ำปิงได้เปลี่ยนสายย้ายทิศไหลผ่านไปที่อื่น บริเวณนี้ก็ได้ถูกยกตัวเป็นเนินเขาสูง ตะกอนแม่น้ำปิงก่อตัวทับถมกันเป็นชั้นๆ ผ่านกาลเวลา และถูกกัดเซาะจนกลายเป็นหน้าผา และเสาดินที่มีรูปร่างแปลกตา มีลวดลายที่สวยงาม อีกทั้งยังสูงใหญ่ ราวๆ 30 เมตร เทียบเท่าเรือนยอดไม้  ครอบคลุมพื้นที่อาณาบริเวณกว้าง

***********************************************************

7. กองแลน (ปายแคนย่อน) จ.แม่ฮ่องสอน

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา

กองแลน มีลักษณะเป็นภูเขาดินแดงในป่าเต็งรังสลับป่าสน เมื่อเดินขึ้นไปถึงด้านบนยอดจะพบหน้าผาสูงชันถูกกัดเซาะคล้ายปรากฏการณ์ดินทรุดตัว บางส่วนยุบตัวมากกลายเป็นเหวลึก บางส่วนยังเหลือเป็นแนวสันเขาที่เป็นทางแคบๆ พอให้เดินได้ทีละคนเท่านั้น เวลาที่เหมาะสมในการเข้าชมคือช่วงเช้า และช่วงเย็น เพราะอากาศจะเย็นสบายกว่าช่วงกลางวัน

ที่มา : TAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง

กองแลนที่เที่ยวธรรมชาติผาช่อละลุสามพันโบกหาดชมดาวเสาดินนาน้อยแกรนด์แคนยอนแก่งชมดาวแพะเมืองผี

Share

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา

ABOUT THE AUTHOR

suchaya.t

“รักการท่องเที่ยว หลงใหลการกิน อินกับการถ่ายภาพ” สาวห้าว พูดน้อยแต่ชอบเขียน มีกล้องเป็นอวัยวะที่ 33 คอยสรรหาที่เที่ยวโดนใจ ที่พักเจ๋งๆ ทริคท่องเที่ยวเด็ดๆ มาเสิร์ฟถึงหน้าจอ