โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพใน ต่าง ประเทศ

ความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการแสวงหาพลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน เพื่อใช้แทนแหล่งพลังงานดั้งเดิม คือ น้ำมัน และถ่านหิน แต่แหล่งพลังงานในประเทศ บางประเภทยังมีข้อจำกัด ทั้งด้านภูมิศาสตร์ และเชิงเศรษฐกิจ

พลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นแหล่งพลังงานที่สามารถนำมาผลิตไฟฟ้า แต่ถือเป็นพลังงานที่มีข้อจำกัด หากจะมีการนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าในปริมาณมาก

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพใน ต่าง ประเทศ

พลังงาน ความร้อนใต้พิภพเป็นแหล่งพลังงานอีกประเภทที่สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ โดยได้จากพลังงานความร้อนตามธรรมชาติที่อยู่ใต้ผิวโลก มาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า ถือเป็นพลังงานหมุนเวียนที่ใช้ไม่หมด และเป็นแหล่งพลังงานที่ต้นทุนต่ำ อีกทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

พลังงานความร้อนใต้พิภพพลังงานความร้อนที่อยู่ใต้ผิวโลก

พลังงาน ความร้อนใต้พิภพเป็นพลังงานความร้อนที่อยู่ใต้ผิวโลก ที่มีการกักเก็บในรูปของน้ำร้อน หรือ ไอน้ำร้อน ซึ่งเกิดจากน้ำไหลซึมเข้าไปในบริเวณรอยแตกชั้นหินใต้ผิวโลก และได้รับความร้อนจากชั้นหินที่มีความร้อน จนเกิดน้ำร้อนและไอน้ำ

น้ำร้อนและไอน้ำที่เกิดขึ้น จะพยายามแทรกตัวมาตามรอยแตกของชั้นหิน ขึ้นมาบนผิวดิน ซึ่งปรากฏให้เห็นในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งบ่อน้ำร้อน น้ำพุร้อน ไอน้ำร้อน บ่อโคลนเดือด และแก๊ส

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพใน ต่าง ประเทศ

เทคโนโลยีผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ ใช้หลักการเบื้องต้น โดยการนำน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิสูงมาก ๆ ขึ้นมา แยกสิ่งเจือปนออก แล้วทำให้ความดัน และอุณหภูมิลดลง ซึ่งจะได้ไอน้ำ จากนั้นเอาแรงอัดของไอน้ำที่ได้ไปหมุนกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้า

ไอน้ำที่ไหลออกจากกังหันจะถูกทำให้เย็นลง แล้วนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือปล่อยกลับลงไปใต้ดินใหม่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับทางเทคนิคของแต่ละโรงไฟฟ้าที่อาจมีการใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้สูงขึ้น

การผลิตกระแสไฟฟ้าจาก พลังงาน ความร้อนใต้พิภพ ในประเทศไทย

การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงาน ความร้อนใต้พิภพในประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณี และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ร่วมกันศึกษาโดยเน้นพื้นที่ภาคเหนือ 2 แหล่ง คือ ที่อำเภอสันกำแพง และอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ในปี 2532 กฟผ. ได้เลือกอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ก่อสร้าง โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ แห่งแรกของไทย มีขนาดกำลังผลิต 300 กิโลวัตต์ เนื่องจากพบว่า น้ำร้อนจากหลุมเจาะระดับตื้นของแหล่งอำเภอฝาง มีอัตราการไหลอย่างต่อเนื่อง และมีอุณหภูมิสูง ระหว่าง 118-130 องศาเซลเซียส อัตราการไหลรวมกันได้ประมาณ 30 ลิตรต่อวินาที มีความเหมาะสมต่อการนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้

ตั้งแต่ปี 2532-2562 สามารถผลิตไฟฟ้าได้รวม 44.26 ล้านหน่วย ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงาน ความร้อนใต้พิภพแห่งเดียวในประเทศไทย โดยต้นทุนการผลิตไฟฟ้าพลังงาน ความร้อนใต้พิภพ จะถูกกว่าการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลถึง 8 เท่า รวมถึงค่าบำรุงรักษา และดูแลระบบยังถูกกว่าหลายเท่า รวมไปถึงอายุการใช้งานก็ยังยาวนานกว่า

อีกทั้งผลพลอยได้จากโรงไฟฟ้าพลังงาน ความร้อนใต้พิภพ น้ำร้อนที่ผ่านระบบการผลิตไฟฟ้า จะมีอุณหภูมิต่ำลงเหลือประมาณ 80 องศาเซลเซียส สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการอบแห้งพืชผลทางการเกษตร ในฤดูกาลที่พืชผลล้นตลาด เช่น หัวหอม กระเทียม ลำไย พริกแห้ง และยังสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมงาน ด้านท่องเที่ยวของวนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงได้อีก เช่น ใช้ในกิจกรรมกายภาพบำบัด

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพใน ต่าง ประเทศ

ท้ายที่สุด คือ น้ำทั้งหมดซึ่งยังมีสภาพเป็นน้ำอุ่นอยู่เล็กน้อย จะถูกปล่อยลงไปผสมกับน้ำตามธรรมชาติในลำน้ำ เป็นการช่วยเพิ่มปริมาณน้ำให้กับเกษตรกรในฤดูแล้งได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้กำหนดเป้าหมายให้มีการผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานความร้อนใต้พิภพ ขนาด 1 เมกะวัตต์ โดยจากผลการศึกษาของ ในปี 2549 พบว่า ประเทศไทยมีศักยภาพแหล่งน้ำพุร้อนประมาณ 112 แหล่ง กระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีอุณหภูมิน้ำร้อนที่ผิวดินอยู่ในช่วง 40-100 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่จะพบแหล่งน้ำพุร้อนที่มีต้นกำเนิดมาจากหินแกรนิต โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นแนวรอยเลื่อน ส่วนใหญ่อยู่ในแถบภาคเหนือ เช่น แหล่งน้ำพุร้อนแม่จัน จังหวัดเชียงราย และ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

สถานภาพการใช้พลังงาน ความร้อนใต้พิภพในประเทศไทย โดยภาพรวมแล้วยังถือว่าค่อนข้างน้อยมาก เมื่อเทียบกับหลาย ๆ ประเทศ และภาครัฐยังไม่มีนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังความร้อนใต้พิภพเพิ่มเติม ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการสำรวจศักยภาพของแหล่งพลังงานเหล่านี้ ที่มีศักยภาพสูงพอที่จะสามารถใช้เป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ ในปัจจุบันนี้มีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น

แหล่งพลังงาน ความร้อนใต้พิภพในประเทศไทย แม้จะมีอยู่ในหลายพื้นที่ แต่ที่มีศักยภาพค่อนข้างสูง มีอยู่ 5 แห่ง คือ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย และอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่

จากข้อจำกัดของแหล่งพลังงาน ความร้อนใต้พิภพ ที่มีค่อนข้างน้อย ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจไฟฟ้าภาคเอกชนของไทย ออกไปแสวงหาโอกาสการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงาน ความร้อนใต้พิภพในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่มีศักยภาพแหล่งความร้อนใต้พิภพ และรัฐบาลในประเทศนั้น ๆ ให้การสนับสนุน เพราะจะทำให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน

กล่าวโดยสรุป “พลังงาน ความร้อนใต้พิภพ” เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน ที่สามารถนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งมีข้อจำกัดในการนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า การมีแหล่งพลังงานเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีแหล่งพลังงานหลากหลาย ที่สามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้ แม้แต่ละประเภทจะยังมีข้อจำกัดในการนำมาใช้เพื่อผลิตไฟฟ้า