เทคโนโลยีบล็อกเชน blockchain หมายถึงอะไร ใครเป็นผู้ริเริ่มนํามาใช้เป็นครั้งแรก

Show

History & Evolution of Blockchain

ผู้เขียน : Waranyu Suknantee | Dec 07

เทคโนโลยีบล็อกเชน blockchain หมายถึงอะไร ใครเป็นผู้ริเริ่มนํามาใช้เป็นครั้งแรก

เทคโนโลยีเบื้องหลัง Bitcoin อย่าง Blockchain กำลังถูกนำมาประยุกษ์ใช้กับหลายๆอุตสาหกรรม ไม่ใช่แค่เรื่องของการเงินเท่านั้น สำหรับบทความนี้เราจะมาเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของบล็อกเชนไปพร้อมๆกัน

ก่อนจะมาเป็น Bitcoin

คอนเซ็ปท์ของ Blockchain เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1991 โดยนักวิทยาศาสตร์นามว่า Stuart Haber และ W. Scott Stornetta ได้เสนอให้ใช้วิธีบันทึกเวลา (Time-Stamps) ลงบนเอกสารดิจิทัล เพื่อให้เอกสารดังกล่าวไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขได้

จากนั้นในปี 1992 ได้มีการนำเสนอระบบ Merkle trees หรือ Hash tree เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลหรือเอกสารหลายๆชุดเข้าด้วยกันเป็นบล็อกได้ แต่ระบบนี้ไม่เป็นนิยมเท่าไหร่นักจึงไม่ค่อยมีการใช้งานจริง

จนกระทั้งในปี 2004 นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์การเข้ารหัสนามว่า Hal Finney ได้คิดค้นระบบที่เรียกว่า Reusable Proof Of Work ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นระบบต้นแบบ (Prototype) ให้กับระบบ Proof Of Work ของ Bitcoin

Blockchain รุ่นที่ 1: กำเนิด Bitcoin

ในปี 2008 Satoshi Nakamoto ที่เป็นนามแฝงของบุคคลหรือองค์กรได้เปิดเผย White Paper ของ Bitcoin ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการบันทึกธุรกรรม เกิดเป็นสกุลเงินดิจิทัลแบบกระจายศูนย์ตัวแรกของโลก โดย Blockchain รุ่นแรกนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับการบันทึกธุรกรรมโดยเฉพาะ และธุรกรรมแรกของ Bitcoin คือ Satoshi Nakamoto ส่ง Bitcoin จำนวน 10 เหรียญ ให้กับ Hal Finney

Blockchain รุ่นที่ 2: กำเนิด Smart Contract

Blockchain รุ่นที่ 2 ก็คือ Ethereum ที่ใช้ Smart Contract โดยคอนเซ็ปท์ของ Smart Contract คือข้อตกลงที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเองเมื่อเงื่อนไขครบตามที่ตกลงเอาไว้ได้อย่างอัตโนมัติ ทำให้สามารถตัดคนกลางทำหน้าที่ตรวจสอบเอกสารออกไปได้ และยังมีความปลอดภัยสูงเนื่องจากอยู่บน Blockchain

การมาของ Ethereum และ Smart Contract ทำให้เหล่าผู้พัฒนาสามารถสร้าง Application บน Blockchain ได้ จึงเกิดเป็น Decentralized Application (dApp) ต่างๆที่มีตั้งแต่ โซเชียลมีเดีย, กระดานซื้อขาย, บริการกู้ยืม, รวมไปถึง เกม

Blockchain รุ่นที่ 3: แก้ปัญหา Scalability

จุดอ่อนสำคัญของทั้ง Bitcoin และ Ethereum คือปัญหาในด้าน Scalability หรือความสามารถในการรองรับจำนวนธุรกรรมที่สูงขึ้น ทำให้เกิดปัญหาอย่าง ความล่าช้าในการทำธุรกรรม หรือปัญหาคอขวด (Bottlenecking)

เพื่อที่จะแก้ไขปัญหานี้ Blockchain รุ่นที่ 3 อย่าง Cardano, EOS, และ IOTA เป็นต้น จึงมีการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไป เช่น Sharding, Sidechain, Lightning Network รวมไปถึงการเปลี่ยนระบบจาก Proof Of Work ไปเป็น Proof Of Stake และเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งก็ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไป

Blockchain รุ่นที่ 4: AI หรือ Mass Adoption?

ณ ปัจจุบัน ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า Blockchain รุ่นที่ 4 จะพัฒนาไปในทิศทางใด เนื่องจาก Blockchain รุ่นที่ 3 เองก็ยังไม่ค่อยลงตัวดีนัก บ้างก็ว่ารุ่นที่ 4 จะเป็นการประสาน Blockchain เข้ากับเทคโนโลยี AI บ้างก็ว่ารุ่นที่ 4 จะมาแก้ไขปัญหา Mass Adoption ที่จะทำให้ Blockchain สามารถเข้าถึงคนทั่วไป สถานศึกษา หรือธุรกิจขนาดเล็ก ได้ง่ายยิ่งขึ้น

สำหรับ Blockchain ที่ระบุตัวเองว่าเป็นรุ่นที่ 4 ก็เริ่มมีออกมาให้เห็นกันบ้างแล้ว เช่น Multiversum, SOOM, Aergo, และ Insolar ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีเป้าหมายหลักคือ Mass Adoption

ในส่วนของการประสาน AI เข้ากับ Blockchain ปัจจุบันก็มีโปรเจ็คที่พยายามประสานเทคโนโลยีทั้ง 2 นี้เข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่ Gainfy, Blackbird.AI และ Neureal เป็นต้น

สรุป

Blockchain ก็เหมือนกับเทคโนโลยีอื่นๆที่มีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาทุกครั้งจะนำมาซึ่งคุณประโยชน์และประสิทธิภาพที่สูงขึ้น โดยสำหรับ Blockchain ปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 Generations ซึ่งได้แก่

รุ่นที่ 1: ใช้สำหรับการทำธุรกรรม (Bitcoin)

รุ่นที่ 2: สามารถเขียน Smart Contract ได้ (Ethereum)

รุ่นที่ 3: แก้ไขปัญหา Scalability (Cardano, Nano, IOTA)

สำหรับ Blockchain รุ่นที่ 4 แม้จะยังไม่ได้การยอมรับอย่างชัดเจน แต่เริ่มมีสัญญาณแล้วว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาด้านการ Mass Adoption หรือไม่ก็เป็นการประสานเทคโนโลยี AI เข้ากับ Blockchain โดยไม่ว่าจะพัฒนาไปทางไหนก็เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและน่ายินดีด้วยกันทั้งสิ้น

อ้างอิง: Satoshi Nakamoto Institute, Hackernoon, GeeksforGeeks

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปกติแล้วการโอนเงินระหว่างประเทศที่มีสกุลเงินแตกต่างกัน เราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องทำธุรกรรมผ่านธนาคารตัวกลาง (Intermediary Bank) ซึ่งใช้เวลาดำเนินการค่อนข้างนาน เพื่อให้เกิดความถูกต้องและปลอดภัย แต่สำหรับในยุคดิจิทัล การโอนเงินระหว่างประเทศกำลังจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีและสะดวกขึ้น ด้วยเทคโนโลยี Blockchain นวัตกรรมที่เข้ามาตอบโจทย์คนยุคใหม่ในเรื่องความง่ายและรวดเร็วในการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์เพียงไม่กี่วินาที แม้จะไม่มีธนาคารตัวกลางแต่ยังคงความปลอดภัยเหมือนเดิม และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมจำนวนมากอย่างแต่ก่อน ดังนั้น การใช้ Blockchain ในไทยน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่จะช่วยขับเคลื่อนภาคธุรกิจยุคดิจิทัลได้ดีอย่างยิ่งครับ

เทคโนโลยีบล็อกเชน blockchain หมายถึงอะไร ใครเป็นผู้ริเริ่มนํามาใช้เป็นครั้งแรก

Blockchain คืออะไร

แม้บล็อกเชน (Blockchain) จะเป็นศัพท์ใหม่ แต่น่าจะเริ่มคุ้นหูหลาย ๆ คนกันบ้างแล้ว โดยเฉพาะคนที่ติดตามเทคโนโลยีและธุรกรรมยุคดิจิทัล เพราะบล็อกเชนคือเทคโนโลยีตัวช่วยด้านความปลอดภัย (Security) และความน่าเชื่อถือ (Trust) ในการทำธุรกรรมการเงินโดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง เช่น การโอนเงินระหว่างประเทศของธุรกิจแบบ B2B (Business to Business) สามารถโอนโดยไม่ต้องแปลงสกุลเงินได้เลย บุคคลทั้งสองฝั่งสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ แม้บุคคลทั้งสองจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน บล็อกเชนจึงเหมาะแก่การนำไปประยุกต์ใช้กับการทำธุรกรรมออนไลน์ หรือ FinTech เช่น การรับ จ่าย โอน หรือวิเคราะห์ข้อมูลหุ้นเพื่อตัดสินใจลงทุนบนออนไลน์ ซึ่งมีทั้งความสะดวก ปลอดภัย รวดเร็ว และสำคัญที่สุด คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย

Blockchain คือเทคโนโลยีว่าด้วยระบบการเก็บข้อมูล (Data Structure) ซึ่งไม่มีตัวกลาง แต่ข้อมูลที่ได้รับการปกป้องจะถูกแชร์และจัดเก็บเป็นสำเนาไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันเสมือนห่วงโซ่ (Chain) โดยทุกคนจะรับทราบร่วมกัน ว่าใครเป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลตัวจริง เมื่อมีการอัปเดตข้อมูลใด ๆ สำเนาข้อมูลในฐานเดียวกันก็จะอัปเดตตามไปด้วยทันที ทำให้การปลอมแปลงข้อมูลไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทุกคนต้องรับทราบและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลร่วมกันได้ อีกทั้งไม่มีระบบล่ม และภัยใด ๆ ก็ไม่อาจทำลายอุปกรณ์ในระบบได้พร้อมกัน เช่นเดียวกับการถูกแฮ็กข้อมูล ซึ่งต้องทำการแฮ็กทุกเครื่องในฐานเดียวกันพร้อม ๆ กัน หรืออย่างน้อยต้องแฮ็กเครื่องที่ถือสำเนาให้ได้มากกว่า 51% จึงจะแฮ็กได้สำเร็จ เทคโนโลยี Blockchain จึงนับว่ายอดเยี่ยมในแง่ของเครดิต นอกจากนี้ ยังเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามารองรับการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล เช่น บิทคอยน์ (Bitcoin) ฯลฯ ให้มีความปลอดภัยด้านข้อมูลมากยิ่งขึ้นด้วย

เทคโนโลยีบล็อกเชน blockchain หมายถึงอะไร ใครเป็นผู้ริเริ่มนํามาใช้เป็นครั้งแรก

บล็อกเชน x กรุงศรี

Krungsri Blockchain Interledger คือ นวัตกรรม Blockchain ธนาคารไทยที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาร่วมมือกับ Ripple ในการให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนของ Ripple ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “Interledger” โดยสถาบันการเงินหรือธุรกิจที่นำ Blockchain มาใช้ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมกับ Ripple ซึ่งมีสถานะเหมือนกับ Consortium Blockchain ก่อน

  เมื่อปลายปี 2017 ทางธนาคารกรุงศรีฯ ได้ลองนำนวัตกรรม Krungsri Blockchain Interledger มาให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศสำหรับลูกค้ากลุ่มธุรกิจ ซึ่งถือเป็นลูกค้า Blockchain รายแรกของไทย ระหว่างบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) กับคู่ค้าในต่างประเทศของไออาร์พีซี ซึ่งมีผลตอบรับจากกลุ่มธุรกิจค่อนข้างดี

  กระทั่งล่าสุดทางกรุงศรีฯ ได้ประกาศถึงความสำเร็จอีกครั้ง เกี่ยวกับการนำร่องการโอนเงินระหว่างประเทศไทย-สิงคโปร์แบบเรียลไทม์ ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน Interledger ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก MUFG Bank (มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนลเชียล กรุ๊ป) สถาบันการเงินใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และธนาคาร Standard Chartered ประเทศสิงคโปร์ ตลอดจนได้รับการทดสอบระบบใช้งานนานถึง 9 เดือน ผ่าน Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เรียบร้อยแล้ว ว่าสามารถประหยัดต้นทุนได้ถึง 50% ทำให้เกิดสภาพคล่องด้านธุรกรรมการเงินของกลุ่มบริษัทในเครือ ตรวจสอบง่าย รวดเร็วเพียงไม่กี่วินาที และไม่ต้องเสี่ยงกับอัตราผันผวนของค่าเงิน ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นตัวอย่างการใช้ Blockchain ในไทยที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

  ซึ่งในอนาคตบล็อกเชนน่าจะเข้ามามีบทบาทตั้งแต่ระดับธุรกิจต่อธุรกิจ (B2B) และธุรกิจต่อลูกค้ากลุ่มผู้บริโภคทั่วไป (B2C : Business-to-Consumer) เพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงิน ตลอดจนกระบวนการถอนเงินจาก Blockchain เข้าธนาคารมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่ง Krungsri Blockchain Interledger จะเป็นหนึ่งในบริการบล็อกเชนที่กลุ่มธุรกิจควรจับตามอง เพื่อการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างเท่าทันยุคดิจิทัล

  ขอบคุณข้อมูลจาก: aware.co.th , siamblockchain.com , blockchain.fish , techsauce.co

ใครเป็นผู้ริเริ่มนําเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้เป็นครั้งแรก

บุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้ใช้นามแฝงว่า ซาโตชิ นากาโมโตะ ได้ประดิษฐ์บล็อกเชนขึ้นในปี 2008 (พ.ศ. 2551) เพื่อใช้กับเงินคริปโทสกุลบิตคอยน์ โดยเป็นบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย บล็อกเชนทำให้บิตคอยน์เป็นเงินดิจิทัลสกุลแรกที่แก้ปัญหาการใช้จ่ายสินทรัพย์เกินกว่าครั้งเดียว (double spending problem) ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีบุคคลที่สามซึ่ง ...

Blockchain นํามาใช้อย่างไร

การประยุกต์ใช้ Blockchain ยกตัวอย่างเช่น งานด้านธุรกรรมหรือสัญญา เช่น การเงินโดยสามารถใช้งานแทนเอกสารในรูปแบบเดิมๆได้เลย ปลอดภัย และลดค่าใช้จ่าย และในอุตสาหกรรมประกันภัย Blockchain จะเข้ามาช่วยเพิ่มความโปร่งใสและป้องกันปัญหาการทุจริตในวงการประกันภัย

เทคโนโลยีพื้นฐานของบล็อกเชนประกอบด้วยอะไรบ้าง

โดยสรุป บล็อคเชน เทคโนโลยี เป็นการบันทึกบัญชีแยกประเภทแบบสาธารณะ ที่มีความปลอดภัยในระดับสูง ไม่มีใครสามารถควบคุมหรือปลอมแปลงได้ ซึ่งเทคโนโลยี บล็อคเชน นี้จะประกอบไปด้วยเทคโนโลยี 3 อย่างเข้าด้วยกัน 1) การเข้ารหัสลับ 2) เครือข่ายแบบ เพียร์ ทู เพียร์ (เครือข่ายที่ไม่มีเซิร์ฟเวอร์กลาง) 3) โปรแกรม หรือ โปรโตคอล สำหรับการให้ ...

บล็อกเชนแปลว่าอะไร

Blockchain คือวิธีการเก็บข้อมูลบัญชีรูปแบบหนึ่ง นึกภาพง่าย ๆ ว่า พอมีธุรกรรม Transaction ใหม่ ๆ เข้ามา มันก็จะถูกกองรวม ๆ กันไว้ พอได้จำนวนหนึ่งเราก็จะจัดบรรจุธุรกรรมเหล่านั้นลงกล่องบัญชี (Block) และทำการปิดกล่อง พอเราปิดกล่องเสร็จ เราก็จะได้กล่องใหม่หรือ Block ใหม่ขึ้นมานั้นเอง