ประวัติประเพณีลอยกระทงสุโขทัย

�ѧ��Ѵ��⢷�� ��������Ѵ���ླ���¡�з� ����¹ ���� ������ ���� �������������÷�ͧ����� �աԨ�����ҡ����� ����ʴ��ʧ �� ���§ ����ʴ�⢹ ����ʴ���� ���� 俾���§ ����ʴ��ӹҹ������ը����ѡɳ� �ԸշӺح�ѡ�ҵ��Ѻ�����س��觤����آ �Ըպǧ��ǧ��þ��ѵ������⢷�� ��СǴ��з���� �����ҡ ����͡���

ประวัติประเพณีลอยกระทงสุโขทัย

��ǹ��з��˭� ��з���� ���ѡ ���ǹ �����ҡ ����͡��� ��ǹ���ҧ�Ѳ����� ���ླ� �ҹ�Զժ��Ե�����⢷�� ��Ҵ��˹����Թ��Ҫ����

 เดิมพิธีลอยกระทง เรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคมลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานทีประเทศอินเดีย

เมื่อถึงฤดูน้ำหลากเดือนสิบสอง วิถีซีวิตไทยริมสองฟากฝั่งแม่น้ำ ลำคลองต่างเฝ้ารอคอยคืนวันจันทร์เต็มดวง หรือที่เรียกกันว่าคืนเดือนเพ็ญ เพราะแสงนวลของดวงจันทร์จะส่องประกายลงมาบนผิวน้ำอันใสสะอาด สร้างบรรยากาศสวยงามสดชื่นเยือกเย็น กลายมาเป็นประเพณีลอบกระทงบูชาขอขมาพระแม่คงคา บ้างเป็นการสะเดาะเคราะห์ตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์

จังหวัดสุโขทัย ถือเป็นต้นกำเนิดของประเพณีลอยกระทง เนื่องจากมีการจัดงานประเพณีสืบทอดติดต่อกันมาหลายสิบปี จนกลายเป็นประเพณีระดับประเทศ และสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลกในชื่อ “งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย” 

ในทุกปีจังหวัดสุโขทัยได้จัดงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ แบบโบราณ ขึ้นบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เอกลักษณ์ประเพณีนี้เป็นที่เลื่องลือโดยมีทั้งกระทงทรงพุ่มข้าวบิณฑ์งานฝีมืออันวิจิตรที่สะท้อนความประณีตของช่างศิลป์เมืองสุโขทัย ตลาดโบราณ หรือ ตลาดแลกเบี้ย การจำลองบรรยากาศการซื้อขายแบบโบราณ ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสถึงกลิ่นอายวัฒนธรรม ด้วยการแลหอยเบี้ยแทนเงินสด เพื่อใช้ซื้อขายอาหารพื้นเมือง และการแสดงแสงสี เสียง สัมผัสเรื่องราว ประวัติศาสตร์มนต์เสน่ห์แห่งอารยธรรมเมืองมรดกโลก

กิจกรรมในภาคกลางวันจะมีขบวนแห่นางนพมาศ และการออกร้าน การจัดนิทรรศการต่างๆ ส่วนในเวลากลางคืนจะมีการประดับไฟจุดเที่ยนตามโบราณสถานต่างๆ ซึ่งมีความสวยงาม และเป็นเอกลักษณ์ของงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย การจัดประกวดกระทง การประกวดโคมชักโคมแขวน พนมหมาก พนมดอกไม้ การแสดงแสงเสียงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์กรุงสุโขทัย ณ บริเวณวัดมหาธาตุ ตลอดจนการแสดงนาฏศิลป์ และ มหรสพต่างๆ ที่บ่งบอกถึงความละเอียดอ่อนของความเป็นไทยอีกมากมายน่าเดินทางไปสัมผัสเที่ยวชม โดยกำหนดจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

ประเพณีลอยกระทง ตามปฏิทินทางจันทรคติ จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี โดยมีคติตามความเชื่อที่ว่า เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ทั้งเพื่อชำระร่างกาย ดื่มกิน รวมไปถึงทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงไปในแหล่งน้ำ นอกจากนี้ยังถือเป็นการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้าต่างๆ ให้ลอยหายไปกับแม่น้ำอีกด้วย

ประวัติประเพณีลอยกระทงสุโขทัย

แต่ถ้าหากถามถึงประวัติของวันลอยกระทงแล้วละก็... ตามมาเลย เราจะเล่าให้คุณฟังเอง แม้ในประเทศไทยจะไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ว่ากันว่าการลอยกระทง เป็นประเพณีโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง โดยในตอนนั้นเรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียง" หรือ "การลอยพระประทีป" นอกจากนี้ยังมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟอีกว่า เป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย จึงทำให้เชื่อกันว่า งานดังกล่าวนี้น่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน จนได้มีการสืบต่อกันเรื่อยมา ถึงกรุงรัตนโกสินทร์อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบันนี้

ประวัติประเพณีลอยกระทงสุโขทัย

ทิ้งท้ายกันไปด้วยคำกล่าวบูชาขอขมาในวันลอยกระทงก็แล้วกันนะคะ เผื่อใครยังไม่รู้ โดยบทสวดที่เรานำมาฝากนี้แปลว่า...ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระพุทธบาทของพระศรีศากยมุนี อันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทราย แห่งนัมมทานทีอันไกลโพ้น ขอให้การบูชารอยพระพุทธบาทด้วยประทีปนี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ และประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าสิ้นกาลนานเทอญ

อะหัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ

นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน ฐิตัง

มุนิโท ปาทวลัญชัง อะภิปูชะยามิ อะยัง

ปะทีเปนะ มุนิโท ปาทวลัฐชัง ปูชา

มัยหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ

คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป

มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมะทายะ

นะทิยา ปุเลเนฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ

อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ บูชา

อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังฆวัตตะตุ

ประวัติประเพณีลอยกระทงสุโขทัย

ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง จะมีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด จนถือเป็นประเพณีที่สำคัญของไทยอย่างหนึ่ง ซึ่งนอกจากการลอยกระทงแล้ว ยังมีการประกวดนางนพมาศและกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายให้ได้ร่วมสนุกกันอีกด้วย ว่าแล้ว...คืนพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ก็อย่าลืมชวนคนในครอบครัว ชวนเพื่อน รวมไปถึงคนรู้ใจไปลอยกระทงด้วยกันนะคะ

งานประเพณีเผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย เป็นงานที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ภาพการจุดประทีป และการทำกระทงสายลอยในแม่น้ำ ประชันความสวยงามของกระทง และประกวดขบวนแห่กระทง ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทุกสารทิศ

ประเพณีลอยกระทงที่จังหวัดสุโขทัย มีบันทึกอยู่ในจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในด้านที่ 2 บรรทัดที่ 8-23 กล่าวถึงอัตลักษณ์วิถีของชาวสุโขทัยที่ปฏิบัติในช่วงเทศกาลลอยกระทง ทางจังหวัดสุโขทัยจึงรื้อฟื้นประเพณีให้เหมือนกับ 700 กว่าปีที่แล้ว โดยกำหนดวันจัดงานเป็นเลขคี่ ครอบคลุมวันเพ็ญเดือนสิบสอง ที่ตรงกับวันลอยกระทง

การจัดงานกิจกรรมเผาเทียนเล่นไฟ ที่หน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 โดยใช้พื้นที่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งตรงกับแหล่งโบราณที่เคยจัดกิจกรรมนี้เมื่อ 700 ปีที่แล้ว และในปี พ.ศ. 2534 อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้รับการพิจารณาจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UN) ให้เป็นมรดกโลก จึงยิ่งเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ

กิจกรรมงานเผาเทียนเล่นไฟ สุโขทัย

ประวัติประเพณีลอยกระทงสุโขทัย

ระยะเวลาการจัดงานเผาเทียนเล่นไฟ อาจใช้เวลา 3, 5, 7 หรือ 9 วัน และปี พ.ศ. 2561 ถือว่ามีระยะเวลาจัดงานมากที่สุดคือ 10 วัน ส่วนใหญ่นิยมเป็นเลขคี่ โดยกิจกรรมต่างๆ ที่นิยมจัดทุกปี มีดังนี้

1. พิธีรับรุ่งอรุณแห่งความสุข

พิธีรับรุ่งอรุณแห่งความสุข เป็นพิธีตักบาตรรับอรุณ จัดที่อุโบสถวัดตระพังเงิน โดยประชาชนและข้าราชการ พ่อค้า รัฐวิสาหกิจ ร่วมกันตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง ตั้งแต่เวลา 05.30-07.00 น. ตักบาตรพระสงฆ์ 9 รูป ในวันแรกของเทศกาลลอยกระทง

2. พิธีบวงสรวงบูรพกษัตริยาธิราชเจ้าสุโขทัย

พิธีบวงสรวงบูรพกษัตริยาธิราชเจ้าสุโขทัยทุกพระองค์ จัดขึ้น ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในวันแรกของวันงานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ โดยประธานถวายเครื่องบวงสรวง และถวายพวงมาลัยคล้องพระแสง มีการแสดงนาฏศิลป์รำ หรือ ระบำสุโขทัย ด้วยผู้แสดง 200-700 คน เป็นพิธีที่สวยงาม อลังการ

ขบวนแห่กระทงเผาเทียน เล่นไฟ แต่ละขบวนจัดแสดงนางนพมาศซึ่งเชื่อว่าเป็นผู้ทำกระทงคนแรก ล้อกับเรื่องราวในอดีต และมีโคมชัก โคมแขวน สวยงาม ขบวนแห่มาจาก 4 ฝั่งของประตูเมือง ได้แก่

  • ทิศเหนือ ประตูหลวง
  • ทิศใต้ ประตูนะโม
  • ทิศตะวันออก ประตูกำแพงหัก
  • ทิศตะวันตก ประตูอ้อ

การทำขวัญข้าว วันเล่นไฟ ทำในก่อนวันลอยกระทง 1 วัน โดยเป็นการรับประทานอาหารร่วมกันของผู้มาร่วมงานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ ที่จังหวัดสุโขทัย หน้าวัดมหาธาตุ ชวนกันรับประทานอาหารพื้นบ้านของสุโขทัย ชมการแสดง แสง สี เสียง ตระการตา

การแสดงแสง สี เสียง ในงานลอยกระทงสุโขทัย จัดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2526 นำเทคนิคการใช้แสงไฟแสดงยามค่ำคืนมาบรรยายเรื่องราวตามธีมต่างๆ ของงาน ณ ลานกลางแจ้ง และโบราณสถานต่างๆ

การเล่นเผาเทียน เล่นไฟ คือกิจกรรมหลังเสร็จงานกฐินของชาวสุโขทัย ประชาชนเดินทางกลับเข้าเมืองผ่านประตูทั้งสี่ เพื่อมาดูการเผาเทียนเล่นไฟ ซึ่งหมายถึงการจุดพลุเฉลิมฉลอง เป็นแสงสว่างบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือนั่นเอง

งานเผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย เป็นประเพณีที่สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม มีการปรับเปลี่ยนเทคนิคการจัดแสดงให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อความสนุกสนาน และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาร่วมสัมผัสบรรยากาศดั้งเดิมของขาวสุโขทัยช่วงปลายปี