รัฐประศาสนศาสตร์ มี ที่มา อย่างไร

ความรู้

"รัฐประศาสนศาสตร์" คืออะไร

รัฐประศาสนศาสตร์ มี ที่มา อย่างไร

"รัฐประศาสนศาสตร์"  คืออะไร สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องความหมายของคำว่า รัฐประศาสนศาสตร์ ในฉบับเข้าใจง่ายๆใน 5 นาที
หลายท่านอาจรู้จัก "นิติศาสตร์"  หรือ "รัฐศาสตร์"  แต่เดี๋ยวก่อนนะในส่วนนี้ก็ยังมี "คณะรัฐประศาสนศาสตร์" หลายท่านยังคงงงๆมึนๆว่าตัวเราควรจะศึกษาต่อในด้านอะไรดีหรือเรียนจบมาแล้วจะประกอบอาชีพอะไรได้บ้างนะ? เกิดคำถามมากมายในหัวสมอง แต่ก็มีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีความน่าสนใจและมีความหลากหลายในศาสตร์เรียนรู้ที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยดังนั้นทางผู้เขียนขออนุญาตเล่าเรื่องความน่าสนใจของคณะรัฐประศาสนศาสตร์นี้ให้ฟังกันครับ

.

รัฐประศาสนศาสตร์ มี ที่มา อย่างไร

หากกล่าวถึงสาย นิติศาสตร์ คือศาสตร์ ที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ในด้านตัว บทกฎหมายซึ่งเป็นเนื้อหากฎหมาย  และนิติวิทยาฯหรือวิธีการใช้กฎหมายเพื่อ นำไปใช้แก่คดีความและวิธีประกอบวิชาชีพนักกฎหมาย อีกทั้งยังเป็นการศึกษาข้อกฎหมายในฐานะที่เป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์หรือในสังคม โดยไม่ประเมินคุณค่าว่าถูกหรือผิด  เช่น  วิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย  หรือ "วิชาสังคมวิทยากฎหมายอาญากฏหมายแพ่งและพาณิชย์" โดยผู้เรียนจะได้ความรู้พื้นฐานความรู้ทางกฎหมาย คือ การเรียนรู้อุดมการณ์ วัตถุประสงค์ กลไก และวิธีการของศาสตร์นิติศาสตร์ นอกเหนือไปจากการศึกษาเนื้อหาของกฎหมายความรู้ทางศาสตร์อื่นซึ่งมีกฎหมายเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะนักกฎหมายต้องเข้าไปอยู่กับทุกสาขาอาชีพ และทุกหน่วยงานเพื่อการดำรงชีพ การบูรณาการความรู้กฎหมายกับความรู้ทางศาสตร์อื่นๆ จึงมีความสำคัญอาชีพที่หน้าสนใจ คือ ผู้พิพากษา,ตุลาการ,พนักงานอัยการ,ทนายความ,ผู้สอนในสถานศึกษา,ที่ปรึกษากฎหมาย,นิติกร,อาชีพอิสระ,รับราชการ เป็นต้น

.

รัฐประศาสนศาสตร์ มี ที่มา อย่างไร
หากกล่าวถึงสาย รัฐศาสตร์ ศึกษาเรียนรู้ในด้านรัฐศาสตร์โดยในชีวิตประจำวันของเรานั้นสามารถพบเห็นปัญหาต่างๆ  มากมายที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง  เช่น ปัญหายาเสพติด    ปัญหาความยากจน  ปัญหาอาชญากรรมและปัญหา ความรุนแรงสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นต้น  เป็นต้น
ปัญหาเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัญหาที่รัฐจะต้องยื่นมือเข้ามา ใช้อำนาจรัฐแก้ไขคลี่คลายปัญหาให้บรรเทาเบาบางลงซึ่งรัฐมีอำนาจกว้างขวางรัฐมีอำนาจกำหนดกรอบ นโยบายการเมืองการปกครอง  เศรษฐกิจ  มาตรการระหว่างประเทศ  รัฐยังมีอำนาจเหนือศาสนาวัฒนธรรม เชื้อชาติ  การตัดสินใจกระทำการใดๆ  หรือไม่กระทำการใดๆ  ของรัฐล้วนส่งผลกระทบมหาศาลต่อผู้อยู่ใต้ ปกครองของรัฐเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรัฐจึงเป็นเรื่องของคนทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นนักการเมือง
หรือชนชั้นสูง ฐานะร่ำรวยที่ควรมีความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง  แต่ศาสตร์วิชารัฐศาสตร์เป็นเรื่องของเราทุกคนที่ควร ศึกษาทำความเข้าใจเพื่อวัตถุประสงค์สำคัญ  คือ  "การอยู่ร่วมกันอย่างสันติและมีชีวิตอย่างมีคุณภาพ" กฏหมายทางปกครอง การดูแลทุกข์สุขของพี่น้องประชาชน การดูระเบียบปฏิบัติให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง โดยมีความยืดหยุ่นกับสถานการณ์ระหว่างรัฐกับประชาชน อาชีพที่หน้าสนใจ คือ นักการเมือง,ปลัดอำเภอ,นักการทูต,ผู้สอนในสถานศึกษา,รับราชการ เป็นต้น

.

รัฐประศาสนศาสตร์ มี ที่มา อย่างไร

หากกล่าวถึงสาย รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นศาสตร์วิชาที่มีเอกลักษณ์ โดยมีความแตกต่างจาก "รัฐศาสตร์" ไนมุมมองที่ว่า เรียนรู้และศึกษาถึงโครงสร้าง
พฤติกรรมของระบบราชการ รวมทั้งเป็นศาสตร์ที่มีระเบียบและวิธีการศึกษาของตนเอง มีความแตกต่างจากศาสตร์การบริหารทั่วๆไปในมุมมองที่ว่า ศึกษาเรื่องขององค์การของรัฐที่ไม่ได้มุ่งแสวงหากำไร เหมือนองค์การธุรกิจเอกชน โดยศึกษาโครงสร้าง กลไลการตัดสินใจและพฤติกรรมของข้าราชการที่เกื้อกูลต่อการให้ "บริการสาธารณะ" โดยยึดหลัก กฏหมายท้องถิ่น พรบ.ท้องถิ่น เทศบัญญัติ โดยดูแลพี่น้องในท้องถิ่นนั้นด้วยหลักการบริหารโดยคนในท้องถิ่นนั้นเอง เช่น การดูแลรักษาผลประโยชน์ ถนนหนทาง ไฟฟ้าส่องสว่างการกำจัดขยะในท้องถิ่นการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนการเข้าถึงการบริการขั้นพื้นฐานจากภาครัฐ การพัฒนาชุมชนการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการระหว่างคนในชุมชนและหน่วยงานของภาครัฐหรือภาคเอกชน ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีในท้องถิ่นการปรับปรุงแหล่งภูมิทัศน์ท้องถิ่นให้อยู่คู่กับชุมชนไปนานแสนนาน อาชีพที่ไปต่อคือ นักการเมืองท้องถิ่น ปลัดอำเภอ, ผู้สอนในสถานศึกษา วิเคราะห์นโยบายและแผน,นักทรัพยากรบุคคล,นักพัฒนาชุมชน,เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์,เจ้าหน้าที่ดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในท้องถิ่นนั้นๆ เป็นต้น

.

รัฐประศาสนศาสตร์ มี ที่มา อย่างไร

ทางผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า การเรียนในด้าน "รัฐประศาสนศาสตร์" นั้นมีข้อดีหลักๆ คือ การดูแลท้องถิ่นการเข้าถึงชุมชนเพื่อพัฒนาคนในชุมชน การเสริมสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น ความรู้ความเข้าใจในกฏหมายท้องถิ่น การเข้าถึงสิทธิ์ขั้นพื้นฐานด้านการรักษาพยาบาลรวมถึงการบริการสาธารณะท้องถิ่นเพื่อให้ได้รับผลประโยช์มากที่สุด "โดยคนท้องถิ่น" นั้นเอง  และนี้คือ 5 นาที "รัฐประศาสนศาสตร์" คืออะไร (ขอบคุณที่ติดตามครับ)

โปรดติดตามข่าวสารดีๆ : Kreangkai E.

***ขอบคุณ***

แหล่งข้อมูล : อาจารย์ กฤตภัทร  บุญญรัตน์  คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันรัชตภาคย์

เครดิตรูปภาพ

-รูปภาพ- ประกอบหน้าปก  Kreangkai E.(ผู้เขียนบทความ)

-รูปภาพ-ประกอบที่ 1Kreangkai E.(ผู้เขียนบทความ)

-รูปภาพ- ประกอบที่ 2 คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-รูปภาพ- ประกอบที่ 3 คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

-รูปภาพ- ประกอบที่ 4ห้องเรียนKreangkai E.(ผู้เขียนบทความ)

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี

ความคิดเห็น

รัฐประศาสนศาสตร์ มี ที่มา อย่างไร

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์

รปศ เกิดจากอะไร

คณะรัฐประศาสนศาสตร์จึงได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.. 2498 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การจัดการศึกษาเริ่มสอนรัฐประศาสนศาสตร์ใน ปี พ.. 2499 ถึง 2503 รัฐบาลสหรัฐได้ส่งคณาจารย์จากมหาวิยาลัยอินเดียนามาร่วมวางหลักสูตร และสอน จนกระทั่งดำเนินการสอนเป็นจำนวนถึง 15 รุ่น โดย รุ่นแรกทำการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งช่วงเวลาเดียวกัน ...

รัฐประศาสนศาสตร์ คืออะไร มีความ สําคัญ อย่างไร

สรุปได้ว่าเป็นวิชาที่ศึกษาถึง 1) ความพยามร่วมกันของกลุ่มคนในทางสาธารณะ 2) เป็นความสัมพันธ์กันของกิจกรรมฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ 3) มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการทางการเมือง 4) มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดของการบริหารงานของรัฐและเอกชน

รัฐประศาสนศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอะไร

รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในภาครัฐโดยบูรณาการความรู้ จากหลายๆ ศาสตร์มาใช้ในการบริหารจัดการทั้งรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และ สังคมศาสตร์อื่นๆ จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นสหวิทยาการสังคมศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์ประยุกต์ โดยแต่ละ มหาวิทยาลัยก็จะเรียกแตกต่างกัน เช่น คณะรัฐศาสตร์คณะ ...

รัฐประศาสนศาสตร์มีความเป็นศาสตร์และศิลป์ในการบริหารอย่างไร

รัฐประศาสนศาสตร์ไม่ได้เป็นศิลปะ ศิลปะหมายถึง การท างานที่ต้องอาศัยความสามรถของแต่ละคนในการที่ จะสอดแทรกอารมณ์ลงไปในผลงานของตนอย่างเต็มที่เพื่อจะให้ได้งานที่ ดีที่สุดออกมา นักบริหารไม่ได้ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือวัดการท างาน นักบริหารใช้การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพเป็นเครื่องมือชี้วัด ดังนั้น รปศ. จึงไม่ใช่ศิลปะ