องค์กรสหประชาชาติมีความสําคัญด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไร

วันที่นำเข้าข้อมูล 1 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 12 พ.ย. 2565

| 10,595 view

1.

สมัชชาสหประชาชาติ (United Nations General Assembly - UNGA): ที่ประชุมของประเทศสมาชิกทั้งหมด เพื่อปรึกษาหารือและตัดสินใจประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาระดับโลกร่วมกัน โดยฉันทามติหรือการลงคะแนนเสียง

หน้าที่ของสมัชชาสหประชาชาติ

1.1

อภิปรายปัญหาเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงาน

1.2

ศึกษาและจัดทำคำแนะนำเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเมือง กฎหมายระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษาและอนามัย

1.3

พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณขององค์การและกำหนดส่วนเฉลี่ยค่าบำรุงของสมาชิก

1.4

เลือกตั้งสมาชิกองค์กรหลักอื่นๆ องค์กรย่อย โครงการหรือกองทุนของสหประชาชาติ

ข้อมติสมัชชาสหประชาชาติ (Resolution): คำแนะนำแก่ประเทศสมาชิก มิใช่การบังคับทางกฎหมาย แต่ก็มีน้ำหนักทางการเมือง เพราะถือเป็นความเห็นโดยทั่วไปของประเทศส่วนใหญ่ในโลก หรือประชาคมระหว่างประเทศที่สมัชชาเป็นตัวแทน

การลงมติในสมัชชาสหประชาชาติ

การออกเสียงลงคะเเนน

ก.

แบบชูมือ: นิยมใช้ในการประชุมของคณะกรรมการใหญ่ในเรื่องที่ไม่ยุ่งยากนัก หรือในห้องประชุมที่ไม่มีอุปกรณ์กดลงคะแนนเสียง การออกเสียงแบบนี้ไม่มีการบันทึกเป็นหลักฐาน

ข.

แบบ Record Vote: คณะผู้แทนกดปุ่มออกเสียง และ เจ้าหน้าที่บันทึกไว้เป็น หลักฐาน โดยมีปุ่ม 3 ปุ่ม ได้แก่ ปุ่มสีเขียว (เห็นด้วย) ปุ่มสีเหลือง (งดออกเสียง) และปุ่มสีแดง (ไม่เห็นด้วย)

ค.

แบบเรียกชื่อ (Roll call vote): จะมีการจับฉลากชื่อประเทศเพื่อเป็นประเทศแรกใน การกล่าวออกเสียงเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรืองดออกเสียง จากนั้นจะเป็นประเทศต่อไปตาม ลำดับตัวอักษร ผู้แทนประเทศที่กล่าวออกเสียงจะต้องกดปุ่มออกเสียงไปด้วย

ง.

แบบลับ (Secret Ballot): ปกติใช้ในการออกสียงลงคะเเนนเลือกตั้งสำคัญต่างๆ ซึ่งใช้หลักการออกเสียง 2 ใน 3 (Two-thirds Majority)

* การลงคะเเนนเสียง โดยปกติใช้หลักเสียงข้างมากธรรมดา (Simple Majority) ของสมาชิก ซึ่งเข้าประชุมออกเสียง เว้นแต่ปัญหาสำคัญตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับข้อ 85 ของสมัชชาฯ

** สมาชิกอาจอธิบายท่าทีของตน หรือมีข้อสงวนใดๆ ก่อนลงมติหรือหลังลงมติได้

การผ่านข้อมติโดยไม่ออกเสียงหรือฉันทามติ (Consensus) ในกรณีที่ร่างข้อมติไม่มีปัญหาขัดแย้งระหว่างสมาชิก

คณะกรรมการหลักภายใต้สมัชชาสหประชาชาติ

  • การประชุมเต็มคณะ (Plenary)
  • คณะกรรมการ 1 (การลดอาวุธ และความมั่นคง)
  • คณะกรรมการ 2 (เศรษฐกิจ การคลัง และสิ่งแวดล้อม)
  • คณะกรรมการ 3 (สังคม มนุษยธรรม และวัฒนธรรม)
  • คณะกรรมการ 4 (การเมืองพิเศษ และการปลดปล่อยอาณานิคม)
  • คณะกรรมการ 5 (การบริหารและงบประมาณ)
  • คณะกรรมการ 6 (กฎหมาย)

2.

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council - UNSC): มีหน้าที่ดำเนินการกับปัญหาเรื่องสงครามและสันติภาพของโลก

  • สมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ: 15 ประเทศ
  • สมาชิกถาวร (Permanent Members) 5 ประเทศ
  • จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา
  • สามารถใช้สิทธิยับยั้ง (Veto)
  • สมาชิกไม่ถาวร (Non-Permanent Members)
  • การจัดสรรโควต้าของแต่ละภูมิภาค: แอฟริกา (3 ที่นั่ง) / เอเชีย (2 ที่นั่ง) / ละตินเอมริกาและแคริบเบียน (2 ที่นั่ง)/ ยุโรปตะวันตก (2 ที่นั่ง) / ยุโรปตะวันออก (1 ที่นั่ง)
  • สมาชิก 10 ประเทศ ปัจจุบัน: Angola / Egypt / Japan / Malaysia / New Zealand / Senegal / Spain / Ukraine / Uruguay / Venezuela (สถานะล่าสุด : วันที่ 28 ตุลาคม 2559)
  • ได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาสหประชาชาติ
  • วาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี และไม่มีสิทธิเข้ารับเลือกตั้งซ้ำโดยทันที
  • สมาชิกไม่ถาวรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในปัจจุบัน

CountriesRegionsTerm expires
Angola African 2016
Egypt African 2017
Japan Asia-Pacific 2017
Malaysia Asia-Pacific 2016
New Zealand Western European and Others Group 2016
Senegal African 2017
Spain Western European and Others Group 2016
Ukraine Eastern Europe 2017
Uruguay Latin America and Caribbean 2017
Venezuela Latin America and Caribbean 2016

3.

หน้าที่ของ UNSC

3.2

การดำเนินการเกี่ยวกับการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ และการกระทำการรุกราน

  • พิจารณาให้คำแนะนำหรือวินิจฉัยว่าจะใช้มาตรการใดเพื่อฟื้นฟูสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ
  • ใช้ หรือ ไม่ใช้กำลัง
  • การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ การห้ามเดินทาง การตัดความสัมพันธ์ทางการทูต
  • ขอให้รัฐสมาชิกดำเนินการโดยใช้กำลังทางบก ทางทะเล หรืออากาศ
  • ส่งข้อขัดแย้งทางกฎหมายระหว่างรัฐคู่กรณีให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice - ICJ) พิจารณา

3.3

ตามข้อบทที่ 25 ของกฎบัตรสหประชาชาติ รัฐสมาชิกสหประชาชาติมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรการและผลการตัดสินใจของ UNSC

4.

คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Economic and Social Council - ECOSOC): ศึกษาและรายงานเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และสาธารณสุขระหว่างประเทศ

5.

สมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม: 54 ประเทศ

  • เลือกโดยสมัชชาสหประชาชาติ
  • วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี และมีสิทธิ เข้ารับตำแหน่งซ้ำโดยทันที
  • ไทยเคยเป็นสมาชิกมาแล้ว 6 ครั้งคือ ปี พ.ศ. 2517-2519, 2523-2525 , 2526-2528 , 2532-2534 , 2538-2540 และ 2548-2550

6.

หน้าที่ของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม

6.1

ปรับปรุงฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และสาธารณสุข และให้คำแนะนำ เรื่องดังกล่าวต่อสมัชชาสหประชาชาติ รัฐสมาชิกและทบวงการชำนาญพิเศษที่เกี่ยวข้อง

6.2

ให้ข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมการเคารพเเละปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน

6.3

จัดเตรียมร่างอนุสัญญาและเรียกประชุมระหว่างประเทศในเรื่องทั้งหลายที่อยู่ในขอบอำนาจของคณะฯ

6.4

ทำความตกลงและประสานกิจกรรมกับทบวงการชำนัญพิเศษ

UNEP มีหน้าที่สําคัญอย่างไร

1. โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme : UNEP) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน และเร่งรัดให้มีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมโดยความร่วมมือ กับองค์การอื่นๆ ของสหประชาชาติและองค์การระหว่างรัฐบาล สำนักงานภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกของ UNEP.

องค์กรสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติตั้งขึ้นมามีวัตถุประสงค์ใด

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations Environment Programme หรือ UNEP) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1972 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินแนวโน้มที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ตลอดจนเสริมสร้างการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างชาญฉลาด ผ่าน ...

หน่วยงานใดขององค์การสหประชาชาติที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับโครงการด้านสิ่งแวดล้อม

UN Environment. โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ เป็นหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมระดับนำของโลก มีหน้าที่กำหนดวาระระดับโลกด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการดำเนินงานของระบบสหประชาชาติที่สอดคล้องกับมิติด้านสิ่งแวดล้อมของการพัฒนาที่ยั่งยืน และยังทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมโลกอย่างแท้จริง

ผลงานของ UNEP มีอะไรบ้าง

ขอบเขตงานของยูเนปมี ๓ ประการ คือ ๑) ประเมินสภาพสิ่งแวดล้อม ๒) จัดการกับสิ่งแวดล้อม และ ๓) สนับสนุนมาตรการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม จุดหมายปลายทางคือ ช่วยเหลือประเทศสมาชิกให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ โดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ช่วยจัดสรรสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมแก่การมีชีวิตที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะสำหรับประเทศ ...