เลือดออกในกระเพาะอาหารรักษายังไง

เลือดออกในทางเดินอาหาร (Gastrointestinal bleeding or GI bleeding)

  • โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
  • 8 มิถุนายน 2562
  • Tweet

สารบัญ

Show

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ: คือโรคอะไร?พบบ่อยไหม?

เลือดออกในทางเดินอาหาร (Gastrointestinal bleeding ย่อว่า GI bleeding หรือ Gastrointestinal hemorrhage ย่อว่า GI hemorrhage) คือ อาการ/ภาวะผิดปกติที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบ บาดเจ็บ เสียหาย ต่อหลอดเลือดในเนื้อเยื่อของอวัยวะในระบบทางเดินอาหารส่วนใด/จุดใดก็ได้ จนส่งผลให้เกิดเลือดออกจากหลอดเลือดที่เสียหายเหล่านั้นเข้าสู่ช่องทางเดินอาหารและผ่านออกนอกร่างกายโดย การอาเจียนเป็นเลือด และ/หรือ อุจจาระเป็นเลือด ซึ่งภาวะเลือดออกจากทางเดินอาหารนี้ เป็นได้ทั้งภาวะ/อาการที่เกิดอย่างเฉียบพลัน (พบได้บ่อย) หรืออาจพบเกิดอย่างเรื้อรังต่อเนื่อง (พบได้น้อยกว่า)

อนึ่ง ระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal tract เรียกย่อว่า GI tract) ในบทความนี้ หมาย ถึงทั้ง

  • “ทางเดินอาหารตอนบน” (Upper GI tract) ประกอบด้วย หลอดอาหาร, กระเพาะอาหาร, และดูโอดีนัม/Duodenum/ลำไส้เล็กตอนบน และ
  • “ทางเดินอาหารตอนล่าง” (Lower GI tract) ประกอบด้วย ลำไส้เล็กตอนล่างที่เรียกว่า เจจูนัม /Jejunum, ไอเลียม/Ileum , ลำไส้ใหญ่ ลงมาจนถึง ทวารหนัก

อวัยวะในทางเดินอาหารตอนบนและตอนล่าง เป็นอวัยวะที่มีช่องตรงกลาง ที่เป็นทาง ผ่านของอาหาร และมีหน้าที่โดยตรงในการย่อยอาหาร ดูดซึมอาหาร และกำจัดกากอาหารและของเสียออกจากร่างกายผ่านทางอุจจาระ

อวัยวะในส่วนนี้ทั้งหมดดังได้กล่าวแล้ว สามารถเกิดภาวะมีเลือดออกได้เสมอ ทั้งที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด หรือจากที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ตรวจพบจากการตรวจอุจจาระในผู้ป่วยที่มีอาการเบื้องตัน ที่แพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีเลือดออกในทางเดินอาหาร(ชนิดมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า) เช่น ผู้ป่วยมีภาวะซีดที่หาสาเหตุไม่ได้ (แพทย์ทราบจากตรวจร่างกายและการตรวจเลือด ซีบีซี/CBC) และต้องตรวจสืบค้นด้วยวิธีเฉพาะเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร เป็นต้น

อาการเลือดออกในทางเดินอาหารตอนบนในสหรัฐอเมริกา มีรายงานว่า ใน 1 ปี พบได้ประมาณ 40-50 ครั้ง (ใน 1 คน อาจเกิดได้หลายครั้ง) ต่อประชากร 1 แสนคน ซึ่งในการนี้ พบอัตราเสียชีวิตได้ 6-10% ส่วนอาการเลือดออกในทางเดินอาหารตอนล่างใน 1 ปี พบได้ประ มาณ 20-27 ครั้งต่อประชากร 1 แสนคนต่อปี โดยมีอัตราเสียชีวิตประมาณ 4-10%

ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร เกิดได้ทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย แต่พบในผู้ชายได้สูงกว่าในผู้หญิง และภาวะนี้พบได้ในทุกอายุ แต่โดยทั่วไป เป็นภาวะที่พบในผู้ใหญ่วัยกลางคนขึ้นไป

เลือดออกในทางเดินอาหารมีสาเหตุจากอะไร?

เลือดออกในกระเพาะอาหารรักษายังไง

สาเหตุของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร ได้แก่

1. สาเหตุของการมีเลือดออกในทางเดินอาหารตอนบน ได้แก่

  • โรคของหลอดอาหาร ที่พบได้บ่อย คือ หลอดเลือดดำในหลอดอาหารโป่งพอง เช่น จากภาวะมีความดันสูงในระบบไหลเวียนเลือดของตับ, หลอดอาหารอักเสบ, มีแผลในหลอดอาหาร, โรคกรดไหลย้อน, มะเร็งหลอดอาหาร, ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ส่งผลให้เลือดออกง่าย เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาแอสไพริน หรือยาวาร์ฟาริน (Warfarin ) เป็นต้น
  • โรคของกระเพาะอาหาร ที่พบได้บ่อย คือ โรคแผลในกระเพาะอาหาร, โรคกระ เพาะอาหารอักเสบ, โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร, โรคความผิดปกติของหลอดเลือดในกระเพาะอา หาร (Gastric antral vascular ectasia), ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ก่อให้เกิดกระเพาะอา หารอักเสบ และ/หรือแผลในกระเพาะอาหาร เช่น ยาแก้ปวด/ยาต้านการอักเสบ/ยาแก้อักเสบในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs, Non steroidal anti-inflammatory drugs), ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ส่งผลให้เลือดออกง่าย ดังกล่าวแล้วในหัวข้อของหลอดอาหาร
  • โรคของลำไส้เล็กดูโอดีนัม ที่พบได้บ่อย คือ โรคแผลในลำไส้เล็กตอนบน (โรคแผลเปบติค), ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ส่งผลให้เลือดออกง่าย ดังกล่าวแล้วในหัวข้อของหลอดอาหาร, และโรคความผิดปกติของหลอดเลือดในดูโอดีนัม

2. สาเหตุของการมีเลือดออกในทางเดินอาหารตอนล่าง ได้แก่

  • โรคของลำไส้เล็กไอเลียม ภาวะเลือดออกจากลำไส้ส่วนนี้ พบได้น้อยมากๆ โดยอาจจากมีความผิดปกติของหลอดเลือด หรือมีเนื้องอก
  • โรคของลำไส้ใหญ่ ที่พบได้บ่อย คือ ลำไส้ใหญ่อักเสบ เช่น โรคลำไส้ใหญ่อัก เสบเป็นแผลเรื้อรัง, โรคบิด, ติ่งเนื้อเมือกลำไส้ใหญ่, มะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis), ผลข้างเคียงจากยาต้านการอักเสบดังกล่าวแล้ว, ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ส่งผลให้เลือดออกง่าย ดังกล่าวแล้ว
  • โรคของทวารหนัก ที่พบได้บ่อย คือ โรคริดสีดวงทวาร, โรคแผลรอยแยกขอบทวารหนัก, ทวารหนักอักเสบติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, ทวารหนักฉีกขาด เช่น จากเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

ใครมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร?

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร ได้แก่

  • เป็นโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด เช่น โรคเลือด โรคตับ โรคไต
  • มีโรคของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้อักเสบเรื้อรัง แผลในกระเพาะอาหาร โรคริดสีดวงทวาร โรคมะเร็งระบบทางเดินอาหาร (เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่)
  • กินยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาแอสไพริน ยาวาร์ฟาริน
  • กินยาแก้ปวดในกลุ่มเอ็นเสดเรื้อรัง
  • กินยาสเตียรอยด์ปริมาณสูง หรือเรื้อรัง
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเป็นสาเหตุของโรคตับแข็ง (ตับสร้างสารช่วยการแข็งตัวของเลือดลดลง และตัวโรคเองก่อให้เกิดภาวะหลอดเลือดดำขอดในหลอดอาหาร) และภาวะหลอดเลือดดำขอดในหลอดอาหาร (หลอดเลือดแตกได้ง่าย)
  • มีปัญหาด้านอารมณ์/จิตใจ เพราะส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ง่ายจากมีกรดสูงมากในกระเพาะอาหาร

เลือดออกในทางเดินอาหารมีอาการอย่างไร?

อาการจากมีเลือดออกในทางเดินอาหาร คือ

1. อาการจากเลือดออกในทางเดินอาหารตอนบน ที่พบได้บ่อย คือ

  • อาเจียนเป็นเลือด ซึ่งอาจเป็นเลือดสด หรือถ้าเป็นเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กดูโอดีนัม บางครั้งเมื่อเลือดโดนกับกรดในกระเพาะอาหาร สีของเลือดจะเปลี่ยนสีคล้ายกาแฟดำได้
  • บางครั้ง ผู้ป่วยบางราย อาจไม่มีอาเจียนเป็นเลือด แต่จะมี ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ที่มีลักษณะ ดำ เปียก เหนียว เหมือนกับยางมะตอย (Black tarry stool) และมีกลิ่นเหม็นรุนแรงผิดไปจากกลิ่นทั่วไปของอุจจาระ ทั้งนี้เนื่องจากเลือดที่ผ่านกรดในกระเพาะอาหาร จะมีปฏิ กิริยากับกรดในกระเพาะอาหาร เปลี่ยนให้สีของเลือดกลายเป็นสีดำและมีลักษณะดังกล่าว
  • บางครั้งพบเกิดร่วมกันได้ทั้งอาเจียนเป็นเลือด และถ่ายอุจจาระดำเหมือนยางมะตอย
  • อาการอื่นๆที่อาจพบร่วมด้วยได้ คือ มีอาการปวดท้องช่วงตอนบนเหนือระดับสะดือ อาจคลื่นไส้ เบื่ออาหาร และถ้าเลือดออกมากก็จะมีภาวะซีด อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็วและเบา อาจเป็นลม และหมดสติได้ เพราะเมื่อเลือดออกมาก จะส่งผลให้มีความดันโลหิตต่ำ จึงเกิดการหมดสติ/โคม่าได้

2. อาการจากมีเลือดออกในทางเดินอาหารตอนล่าง ที่พบได้บ่อย คือ

  • อุจจาระเป็นเลือด หรือเรียกอีกอย่างว่า เลือดออกทางทวารหนัก ซึ่งอาจเป็นเลือดสด (มักออกจากแผล) หรือมีมูกปนเลือดก็ได้ (มักเกิดจากมีการอักเสบของลำไส้ร่วมด้วย)
  • อาการอื่นๆที่อาจพบร่วมด้วยได้ คือ ปวดท้องตอนล่าง (ปวดในตำแหน่งต่ำกว่าสะ ดือลงมา) ปวดเบ่งอุจจาระ อุจจาระอาจเหลว หรืออาจเป็นก้อนก็ได้ ภาวะซีดกรณีเลือดออกมาก อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว แต่เบา เป็นลม หมดสติ เพราะเมื่อเลือดออกมากจะส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำ จึงเกิดการหมดสติ/โคม่าได้

อนึ่ง บางครั้ง การมีเลือดออกในทางเดินอาหารทั้งตอนบนละตอนล่าง อาจไม่พบการอา เจียนเป็นเลือด อุจจาระดำ หรือ อุจจาระเป็นเลือด แต่ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์จากการมีภาวะซีด ทั้งนี้เกิดจากภาวะเลือดทยอยออกครั้งละน้อยมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่มีเลือดออกต่อเนื่องเรื้อรัง จึงส่งผลให้เกิดภาวะซีด เรียกเลือดออกในลักษณะนี้ว่า ‘Occult GI bleeding’ ซึ่งแพทย์วินิจฉัยได้จากการตรวจพบเม็ดเลือดแดงในอุจจาระจากการตรวจอุจจาระ

นอกจากนั้น ประมาณ 5% ของผู้ป่วยเลือดออกในทางเดินอาหาร ภายหลังการตรวจต่าง ๆแล้ว แพทย์อาจไม่สามารถหาพบตำแหน่งที่เกิดเลือดออกได้ เรียกว่า ภาวะนี้ว่า ‘Obscure GI bleeding’ แต่ถ้าต่อมามีเลือดออกซ้ำอีก โอกาสที่จะตรวจพบตำแหน่งเลือดออกจะสูงขึ้น ซึ่งกรณีเช่นนี้ ประมาณ 75% เป็นเลือดออกในลำไส้เล็ก

แพทย์วินิจฉัยเลือดออกในทางเดินอาหารได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยว่ามีเลือดออกในทางเดินอาหาร ทั้งทางเดินอาหารตอนบนและตอนล่างได้ด้วยวิธีการเดียวกัน คือ

  • จากการซักถามประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย ที่สำคัญ เช่น จากประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประวัติการใช้ยาต่างๆ
  • การตรวจร่างกาย
  • การตรวจอุจจาระ
  • อาจส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารตอนบน และ/หรือตอนล่าง (โดยเฉพาะกรณีมีภาวะซีดที่ไม่มีอาเจียนเป็นเลือดหรืออุจจาระเป็นเลือด)
  • การดูดน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร เพื่อตรวจดูอาการเลือดออก กรณีอุจจาระดำเหมือนยางมะตอย เพื่อแยกว่าเป็นเลือดออกในทางเดินอาหารตอนบนหรือตอนล่าง
  • การตรวจเลือดดูค่า ซีบีซี/CBC ค่าเกลือแร่ /Electrolyte ค่าการทำงานของตับและของไต เพื่อดูปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
  • บางครั้งอาจมีการตรวจพิเศษอื่นๆเพิ่มเติมทั้งนี้ขึ้นกับ อาการผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ เพื่อหาจุดเลือดออกที่แน่นอนที่ไม่สามารถตรวจพบจากการส่องกล้อง เช่น
    • ตรวจที่เรียกว่า 99mTechnetium-labelled red blood cell scintigraphy
    • หรือการตรวจภาพหลอดเลือดในระบบทางเดินอาหารด้วยการฉีดสี/สารทึบแสง (Angiography) เป็นต้น

รักษาเลือดออกในทางเดินอาหารอย่างไร?

แนวทางการรักษาภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารทั้งตอนบนและตอนล่างจะเหมือนกัน คือ การรักษาเพื่อหยุดการเลือดออก การรักษาสาเหตุ และการรักษาประคับประคองตามอาการ

  • การรักษาเพื่อหยุดการเลือดออก จะขึ้นกับความรุนแรงของอาการเลือดออก สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ ทั้งนี้อาจรักษาเป็นผู้ป่วยนอกเมื่ออาการไม่รุนแรง แต่หากมีอาการรุนแรง การรักษาจำเป็นต้องเป็นแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล ตัวอย่างวิธีรักษา เช่น
    • การกินอาหารอ่อน (ประเภทอาหารทางการแพทย์) ในกรณีเลือดออกไม่รุนแรง
    • การงดอาหารและน้ำในกรณีเลือดออกรุนแรง อาจร่วมกับการใส่สายดูดของเหลว/น้ำย่อยอาหารออกจากกระเพาะอาหาร
    • การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
    • การหยุดยาและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เลือดออก (เช่น ปรับยาประจำที่ลดการแข็งตัวของเลือด หยุดสูบบุหรี่ หยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์)
    • การใช้ยาต่างๆเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเกิดเลือดออกฯ (เช่น ยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะ ยาคลายเครียด)
    • อาจส่องกล้องดูจุดที่เลือดออกแล้วจี้ด้วยไฟฟ้า หรือใช้ยาให้เลือดหยุด
    • ในรายที่เลือดออกรุน แรงมาก อาจต้องใส่สารอุดตันเข้าในหลอดเลือด เพื่ออุดจุดรั่วของหลอดเลือด (เป็นการรักษาทางด้านรังสีร่วมรักษา)
    • และในบางครั้งเมื่อรักษาทุกวิธีการดังกล่าวแล้ว ยังไม่สามารถหยุดเลือดออกได้ อาจต้องผ่าตัดเพื่อการผูกหลอดเลือดที่เกิดเลือดออก หรือบางครั้งอาจต้องผ่า ตัดอวัยวะในส่วนที่มีเลือดออก
  • รักษาสาเหตุ เช่น
    • การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ (เช่น โรคเลือด โรคตับ โรคไต)
    • การหยุดยาที่เป็นสาเหตุ
    • การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร
    • หรือการรักษาโรคมะเร็งต่างๆในระ บบทางเดินอาหารที่เป็นสาเหตุ เช่น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น
    • ให้ยาคลายเครียดเพื่อให้ผู้ป่วยสงบ นอนหลับ ไม่เครียด
    • การให้เลือดเมื่อผู้ป่วยมีภาวะซีด
    • และการให้สารน้ำ/อาหารทางหลอดเลือดดำ เมื่อแพทย์ให้งดอาหารทางปาก เป็นต้น

เลือดออกในทางเดินอาหารรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอย่างไร?

ความรุนแรง/ การพยากรณ์โรคของภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร เป็นภาวะที่มีความรุนแรง จึงควรต้องรีบไปโรงพยาบาลฉุกเฉินเสมอเมื่อมีอาการดังกล่าวในหัวข้อ อาการ ทั้งนี้เพราะเลือดอาจออกมากจนช็อก และเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้

ส่วนผลข้างเคียงสำคัญของการมีเลือดออกในทางเดินอาหาร คือ

  • ภาวะซีด
  • และถ้าเลือด ออกมาก จะเกิดความดันโลหิตต่ำมากอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดอาการช็อกและโคม่า

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?ควรพบแพทย์ก่อนนัด/ฉุกเฉินเมื่อไหร่?

การดูแลตนเองและการพบแพทย์/มาโรงพยาบาลที่สำคัญ คือ

  • เมื่อมีอาการดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ ‘อาการฯ’ ควรต้องรีบไปโรงพยาบาลฉุกเฉินเสมอ เพราะเลือดอาจออกมากจนช็อกได้

ส่วนเมื่อพบแพทย์และได้รับการวินิจฉัยว่ามีเลือดออกในทางเดินอาหาร และมีสาเหตุจากอะ ไรแล้ว การดูแลตนเองเมื่ออยู่บ้าน คือ

  • ปฏิบัติตาม แพทย์ พยาบาล แนะนำ
  • กินยาต่างๆที่แพทย์แนะนำให้ครบถ้วนถูกต้อง ไม่ขาดยา
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง/สาเหตุต่างๆดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ ‘สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง ฯ’
  • กินอาหารอ่อน (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ประเภทอาหารทางการแพทย์) จนกว่าอาการต่างๆจะหายเป็นปกติอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ
  • ไม่ซื้อยากินเอง แต่ถ้าจำเป็นต้องซื้อยากินเอง ต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาถึงผลข้างเคียงของยาเสมอ
  • พบแพทย์/มาโรงพยาบาลตามนัดเสมอ
  • รีบพบแพทย์ก่อนนัด หรือไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ
    • เมื่อกลับมามีอาการต่างๆดังกล่าวอีก โดยเฉพาะอุจจาระดำเหมือนยางมะตอย อุจจาระเป็นเลือด หรือ อาเจียนเป็นเลือด
    • อาการต่างๆเลวลง เช่น ซีด , อ่อนเพลีย, กินอาหารได้น้อยลง
    • และ/หรืออาการต่างๆผิดปกติไปจากเดิม เช่น ปวดท้องมาก คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับไม่ผายลม
    • มีผลข้างเคียงจากยาที่แพทย์สั่งจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ขึ้นผื่น ท้องผูกมาก วิงเวียนศีรษะมาก
    • และ/หรือ เมื่อกังวลในอาการ

ป้องกันเลือดออกในทางเดินอาหารอย่างไร?

การป้องกันภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารทั้งตอนบนและตอนล่าง จะเช่นเดียวกัน คือ การหลีกเลี่ยง สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง ซึ่งที่สำคัญ คือ

เลือดออกในกระเพาะอาหาร รักษาอย่างไร

1. การรักษากรณีที่มีสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่หลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหาร จะได้รับการรักษาด้วยวิธีต่อไปนี้ เช่น วิธีการรักษาโดยผ่านกล้องส่อง (endoscopic therapy) การฉีดอะดรีนาลิน (adrenaline) การฉีดสารสเคอโรแซนท์ (sclerosants) การใช้กาวไฟบริน (fibrin glue) การจี้โดยใช้ความร้อน (heater probe) เลเซอร์ (laser) ...

เลือดออกในกระเพาะมีอาการอย่างไร

อาการภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร อาการร่วมอื่นๆ เช่น ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว สามารถเป็นลม หมดสติ เข้าสู่ภาวะโคม่า และเกิดอาการช็อกได้

เลือดออกในทางเดินอาหารเกิดจากอะไร

1.เลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้น อาจมีอาการอาเจียนออกมาเป็นเลือด มักมีสาเหตุมาจากแผลในกระเพาะอาหาร รองลงมาคือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น นอกจากนี้หลอดอาหารอาจมีความผิดปกติ เช่น เส้นเลือดดำที่หลอดอาหารโป่งพองแตกออกจึงทำให้มีเลือดออกได้ หรืออาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ถ่ายมีดำ ลักษณะเหลว มีกลิ่นเหม็น เป็นต้น

เลือดออกในลำไส้ อันตรายไหม

ตอบ เลือดออกทางเดินอาหารส่วนบน อาจเกิดเลือดออกหลังทางออกกระเพาะก็ได้ ซึ่งบริเวณถัดมานั้นคือ ลำใส้เล็กส่วนต้น ทางออกกระเพาะส่วนนี้คล้ายหูรูด อาจปิดสนิทมากจนเลือดที่ออกด้านล่าง ไม่มีการย้อนของเลือดขึ้นมา จึงทำให้ล้างท้องตรวจไม่พบก็ได้ รู้ได้อย่างไรว่าเลือดที่ออกรุนแรงมาก อันตรายอาจเสียชีวิตได้