หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้ ร่วม รับผิดชอบ แตก ต่างจาก หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย อย่างไร

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมี 10 หลักการที่สำคัญ ดังนี้

2.1 การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) เป็นหลักการที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศอย่างมีดุลยภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องเกื้อกูลและไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งต่อกัน โดยการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีการพัฒนาอย่างมีคุณภาพและแข่งขันได้ ต้องคำนึงถึงขีดจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต้องสงวน และรักษาไว้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยาวนาน โดยมีการใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพสูงสุด และไม่ส่งผลกระทบต่อความต้องการของสังคม ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

2.2 การบริหารจัดการเชิงระบบนิเวศ (Ecosystem Approach) เป็นหลักการที่คำนึงถึงความสัมพันธ์เชิงระบบหรือองค์รวม (Holistic Approach) เพื่อการดำรงอยู่ของระบบนิเวศอย่างสมดุล และตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยมีการบูรณาการด้านการจัดการที่ดิน น้ำ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ให้เกิดความสมดุล ทั้งการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม

2.3 การระวังไว้ก่อน (Precautionary Principle) เป็นหลักการจัดการเชิงรุกที่เน้น การป้องกันผลกระทบล่วงหน้า โดยสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีระบบนิเวศที่เปราะบางและพื้นที่เสี่ยง เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น และคำนึงถึงกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม

2.4 ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluters Pay Principle: PPP) เป็นหลักการของการนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยผู้ก่อมลพิษหรือผู้ก่อความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพของมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม

2.5 ผู้ได้รับผลประโยชน์เป็นผู้จ่าย (Beneficiaries Pay Principle: BPP) เป็นหลักการการส่งเสริมความรับผิดชอบ โดยสร้างแรงจูงใจให้ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์เป็นผู้จ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ให้บริการด้านระบบนิเวศทั้งที่อยู่ต้นทาง และปลายทาง รวมถึงสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้เสียประโยชน์ เพื่อลดความขัดแย้งทางสังคมอันเกิดจากการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ และทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ร่วมกัน

2.6 ความเป็นหุ้นส่วนของรัฐ - เอกชน (Public - Private Partnership: PPP) เป็นหลักการที่ใช้สร้างการร่วมรับผิดชอบ และควรนำมาใช้ควบคู่กับหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนและมีบทบาทในการจัดการสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมทั้งเป็นหลักการการดำเนินโครงการแบบการบริการสาธารณะให้เกิดความสำเร็จ รวมถึงเกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างรัฐและภาคส่วนอื่นที่ไม่ใช่รัฐ

2.7 ธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นหลักการการบริหารจัดการที่ดีที่ทุกหน่วยงานควรนำมาใช้เป็นแนวทางในการบริหารงาน ทั้งในด้านศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ เพื่อส่งผลให้องค์กรมีความสร้างสรรค์ มีศักยภาพและประสิทธิภาพ และทำให้บุคคลภายนอกศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กร โดยองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลมี ๖ ประการ คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า

2.8 การขยายความรับผิดชอบแก่ผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility: EPR) เป็นหลักการเพิ่มขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ผลิตให้ครอบคลุมในแต่ละช่วงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ผลิตมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตและส่งผลให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้น ตั้งแต่การรับคืน การรีไซเคิล และการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ รวมทั้งมุ่งเน้นให้ผู้ผลิตมีการปรับปรุงและพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์และระบบการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้ผลิตภัณฑ์มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

2.9 การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Resource Decoupling/Resource Efficiency) เป็นหลักการลดอัตราการใช้ทรัพยากรต่อหน่วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และเป็นการลดการใช้ปริมาณทรัพยากรในส่วนของวัสดุ พลังงาน น้ำ และทรัพยากรต่างๆ ที่จะต้องนำไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เป็นไปในระดับปกติ ส่งผลให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และลดปริมาณการเกิดมลพิษโดยรวมจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าว

2.10 สิทธิมนุษยชน (Human Rights) เป็นหลักการที่คำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ มีความเสมอภาค เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะแตกต่างกัน หรือมีความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและสังคมมากน้อยเพียงใดก็ตาม หลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สิทธิและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ คุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม สิทธิในการที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีคุณภาพ และสิทธิในการได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ

Main Article Content

Abstract

บทคัดย่อ

            ปัญหามลพิษทางน้ำและสภาพเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำในแม่น้ำที่สำคัญของประเทศต่างๆ มีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากการระบายน้ำเสียไม่เป็นไปตามการกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิด อีกทั้งความสามารถในการรองรับน้ำเสียของแหล่งน้ำและอัตราการรองรับมลพิษจากกิจกรรมต่าง ๆ มีขีดจำกัด ทำให้ต้องมีการกำหนดมาตรการด้านกฎหมาย โดยให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียตามหลักเศรษฐศาสตร์ที่กำหนดให้ผู้ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมต้องรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายในการป้องกันและควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม ตลอดจนทำให้สิ่งแวดล้อมกลับคืนสู่สภาพเดิม  ดังนั้นบทความนี้จะแสดงถึงการใช้หลักเศรษฐศาสตร์มาช่วยในการดำเนินการเพื่อจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียของประเทศอียิปต์ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเป็นแบบอย่างในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมสำหรับกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น ๆ ตามหลัก“ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” (Polluter Pays Principle: PPP) จากผลการศึกษา พบว่า
1) หน่วยงานหลักที่ควรดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย ควรเป็นรัฐบาลท้องถิ่นซึ่งสำหรับประเทศไทย คือ กรุงเทพมหานครและเทศบาล โดยรวมอยู่ในบิลเดียวกันกับค่าใช้น้ำประปา และ 2) การคิดอัตราการบำบัดน้ำเสีย ทั้งกรุงเทพมหานครและเทศบาล ควรคิดตามปริมาณการใช้น้ำประปา โดยทั้งกรุงเทพมหานครและเทศบาลควรมีการปรับรูปแบบการประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้การดำเนินงานต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่การการยอมรับและเต็มใจในการจ่ายค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียต่อไป

คำสำคัญ: การบำบัดน้ำเสีย; การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย; หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย

Abstract

            The problems of water pollution and tater quality degradation in major rivers of the country are becoming serious due to discharges of wastewater below the water quality standard and the natural limits of the holding capacity of waterways. The problems require legal measures which solicit popular participation into the acceptance of the Polluter Pays Principle. This academic article demonstrates the use of an economic principle,i.e., the Polluter Pays Principle (PPP), to assist in calculating a charge or fee for treatment of discharged wastewater in Bangkok and other provinces, with Egypt, France, Malaysia, Singapore, and Indonesia as examples. The following are recommended:  1) Local governments, such as municipalities and Bangkok Metropolitan Administration, should be responsible for collecting the wastewater treatment fee, which should be placed in the same bill as the charge for tap water usage, and 2) The wastewater treatment fee charged by municipalities and Bangkok Metropolitan Administration should be based on the amount of tap water usage. In addition, municipalities and the BMA will have to adjust their public relations work and should seek collaboration from other agencies to increase public participation, which will lead to acceptance and willingness to pay for such a fee.

Keywords: Wastewater Treatment; Wastewater Treatment Fee; Polluter Pays Principle: PPP


Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite

สุมิตตรา เจิมพันธ์ S. J. (2014). การจัดการเพื่อจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย ตามหลัก“ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” (Polluter Pays Principle: PPP) ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย Management fee to Wastewater Treatment Storage on a Polluter Pays Principle: PPP of Thailand. JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT, 10(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/25857

Section

บทความวิชาการ Viewpoint