จ่ายประกันสังคม ช้าได้กี่วัน มาตรา33

1. ค่าปรับอาญา กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภพ.30
    – ยื่นแบบเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน ปรับ 300 บาท
    – ยื่นแบบเกินกำหนดเวลาและเกิน 7 วัน ปรับ 500 บาท

2. เงินเพิ่ม

    – คิดในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
    – กรณีไม่มีภาษีต้องเสีย ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม           

     เงินเพิ่ม คือ

  • ไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีภายในกำหนด
  • เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) ไม่รวมเบี้ยปรับ
  • อธิบดีอนุมัติให้ขยายเวลา ให้ลดเหลือ 0.75% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)
  • เริ่มนับเมื่อพ้นเวลายื่นแบบฯ ถึงวันชำระ
  • เงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนภาษี
  • หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม

3. เบี้ยปรับ

    3.1 กรณียื่นเพิ่มเติม คือเคยยื่นแบบเดือนนั้นแล้ว  คิดเบี้ยปรับในอัตรา 2% – 20%

    – ชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2%
    – ชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5%
    – ชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10%
    – ชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20%

    3.2 กรณีไม่ได้ยื่นแบบของเดือนนั้นมาก่อน

    – ชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2% x 2 เท่า
    – ชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5% x 2 เท่า
    – ชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10% x 2 เท่า
    – ชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20% x 2 เท่า
    – กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ ก็ไม่เสียค่าเบี้ยปรับ แต่ยังคงต้องเสียค่าปรับอาญา

        เบี้ยปรับ จากกรณีต่างๆ ดังนี้

  • ประกอบกิจการโดยมิได้จดทะเบียน เบี้ยปรับ 2 เท่า หรือเงิน 1 พันบาทต่อเดือน แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
  • มิได้ยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลา เบี้ยปรับ 2 เท่า
  • ยื่นแบบฯ ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่จะต้องเสียคลาดเคลื่อนไป เบี้ยปรับ 1 เท่า
  • ยื่นแบบฯ ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้ภาษีขายหรือภาษีซื้อคลาดเคลื่อนไป เบี้ยปรับ 1 เท่า
  • กรณีผู้เสียภาษีได้ยื่นแบบฯ โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนเป็นหนังสือ ตามกรณีที่กล่าวมาข้างต้น ให้ลดเบี้ยปรับลง คงเสียดังนี้
  • มิได้จัดทำใบกำกับภาษี และส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เบี้ยปรับ 2 เท่า
  • ออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิที่จะออก เบี้ยปรับ 2 เท่า
  • นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ เบี้ยปรับ 2 เท่า
  • มิได้เก็บสำเนาใบกำกับภาษีขาย เบี้ยปรับ 2% ของภาษีตามใบกำกับ
  • มิได้เก็บใบกำกับภาษีซื้อที่ใช้เครดิตภาษี เบี้ยปรับ 2% ของภาษีที่นำมาเครดิต
  • มิได้ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เบี้ยปรับ 2 เท่า

จ่ายประกันสังคม ช้าได้กี่วัน มาตรา33

09 Sepไม่ยื่นประกันสังคมให้พนักงาน ผิดกฎหมาย หรือไม่

Posted at 17:25h in All, ค่าจ้างสวัสดิการพนักงาน by admin_pnk

นายจ้างไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคมและลูกจ้างเลยไม่ได้เป็นผู้ประกันตน และไม่ได้รับสิทธิจากประกันสังคมนั้น ตามกฎหมายประกันสังคมนายจ้างจะถือว่ามีความผิด แต่หากไม่มีใครไปแจ้งกับสำนักงานประกันสังคมก็คงจะไม่เกิดอะไรขึ้น หากมีผู้ไปแจ้งกับประกันสังคมทางประกันสังคมจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบที่สถานที่ประกอบการของบริษัทนั้น ๆ

ข้อกำหนดของประกันสังคมได้กำหนดไว้ว่า  “ นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่  1 คนขึ้นไป จะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง พร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนด้วยกับทางประกันสังคม โดยต้องขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีการจ้างงาน เมื่อมีการจ้างลูกจ้างใหม่ก็จะต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายในกำหนด 30 วัน เช่นเดียวกันและเมื่อมีลูกจ้างลาออกไปนายจ้างก็มีหน้าที่ต้องแจ้งเอาชื่อลูกจ้างออกจากประกันสังคมด้วยเช่นเดียวกัน โดยต้องระบุสาเหตุของการออกจากงาน ต้องแจ้งภายใน 15 วันของเดือนถัดไป หักเงินสมทบและนำส่งประกันสังคม ”

นายจ้างไม่ยื่นประกันสังคม ไม่นำส่งเงินสมทบประกันสังคม มีความผิดอย่างไร ?

1. แจ้งเข้า – แจ้งออก ล่าช้า

  • นายจ้างทำการแจ้งขึ้นทะเบียนให้กับลูกจ้างล่าช้า เกินกว่า 30 วันหลังจากรับเข้าทำงาน มีผลทำให้ประกันสังคมอาจมีการจ่ายเงินชดเชยการว่างงานเกินสิทธิที่ผู้ประกันตนควรได้รับในกรณีที่ลูกจ้างยังอยู่ในระหว่างการขอรับสิทธิ์ชดเชยรายได้จากการว่างงาน นายจ้างจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • แจ้งนำชื่อของลูกจ้างออกล่าช้า เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ทำให้มีผลทำให้ลูกจ้างอาจได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากไม่สามารถยื่นขอรับสิทธิชดเชยรายได้จากการว่างงานได้ เพราะในระบบประกันสังคมยังอยู่ในสถานะของลูกจ้างในสถานประกอบการ นายจ้างจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

2. ไม่นำส่งเงินสมทบประกันสังคม

  • นายจ้างไม่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมให้กับลูกจ้าง นายจ้างจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • นายจ้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคมล่าช้า เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป นับจากเดือนที่จ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้าง จะต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน นับจากวันที่ครบกำหนด ยกตัวอย่างเช่น ค่าจ้างงวดเดือนมีนาคม นายจ้างจะต้องหักเงินสมทบและนำส่งประกันสังคมภายในวันที่ 15 เมษายน แต่นายจ้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคมในวันที่ 30 เมษายน ดังนั้นนายจ้างจะต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละ 2 เป็นเวลา 15 วัน (ครึ่งเดือน)
  • นายจ้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคมไม่ครบถ้วน จะต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนของเงินสมทบที่จ่ายขาด

ขั้นตอนการยื่นประกันสังคมให้ลูกจ้าง

ในปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถเลือกได้ว่าจะยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต หรือจะเดินทางไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมท้องที่ก็ได้

จ่ายประกันสังคมออนไลน์ มาตรา 33 ได้ถึงวันไหน

สำนักงานประกันสังคม ขยายเวลาให้นายจ้างยื่นแบบและนำส่งเงินสมทบผ่าน e-Payment ออกไปอีก 7 วันทำการ นับจากวันที่พ้นกำหนด วันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบ โดยมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ถึง ธันวาคม 2566 เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนและรองรับความสะดวกในการประกอบธุรกิจของนายจ้าง อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกัน ...

ประกันสังคมขาดส่งได้กี่เดือน ม.33

อย่างที่เราทราบกันว่าในการขาดส่งประกันสังคมติดต่อกัน 3 เดือนนั้นคุณจะถูกตัดสิทธิ์

ประกันสังคมจ่ายช้าได้กี่เดือน

สำนักงานประกันสังคม ระบุ ไม่อยากสิ้นสภาพ อย่าพลาด ขาดส่ง ขาดสิทธิ์ เพราะหากขาดส่ง เงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือส่งไม่ครบ 9 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน (1 ปี) ก็หมดสิทธิ์ในการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ทันที

จ่ายประกันสังคมได้ไม่เกินกี่วัน

เมื่อมีพนักงานใหม่เข้าทำงานในบริษัท ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมภายใน 30 วัน ในแต่ละเดือนต้องนำส่งเงินประกันสังคมที่หักจากเงินเดือนพนักงาน พร้อมทั้งจ่ายสมทบเพิ่มให้กับพนักงาน และยื่นต่อสำนักงานประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป