ภัยพิบัติใดเกิดขึ้นมากที่ในทวีปยุโรป

แม่น้ำดูส์ (Doubs) บริเวณพรมแดนฝรั่งเศส-สวิตเซอร์แลนด์แห้งขอด จนเรือนำเที่ยวไม่สามารถสัญจรได้ ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2565

หลายประเทศในยุโรปยังคงเผชิญผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่องในในปีนี้ ล่าสุด สภาวะความแห้งแล้งที่ลากยาวและรุนแรงทำให้สหราชอาณาจักรต้องประกาศมาตรการจำกัดการใช้น้ำในบางพื้นที่ และเตรียมรับมือกับการขาดแคลนไฟฟ้า เนื่องจากวิกฤตภัยแล้งกระทบการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ

ปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สำคัญของยุโรปลดลงโดยรวมราว 20% เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและแม่น้ำลดลงจนถึงระดับที่ไม่เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้า ขณะที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์บางแห่งต้องหยุดเดินเครื่องเพราะขาดแคลนน้ำสำหรับการหล่อเย็นเตาปฏิกรณ์

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานประเภทอื่นอย่างเชื้อเพลิงฟอสซิลและพลังงานแสงอาทิตย์ก็ช่วยอะไรไม่ได้มากนักในขณะนี้ เพราะเทคโนโลยีที่ใช้ในโรงงานผลิตไฟฟ้าเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพต่ำลงในภาวะอากาศร้อนจัด

หลายพื้นที่ของสหราชอาณาจักรกำลังเผชิญกับวิกฤตภัยแล้งและสภาพอากาศร้อนจัดในขณะนี้ ทางการประกาศให้ 8 พื้นที่ รวมทั้งกรุงลอนดอนเป็นเขตประสบภัยแล้ง บริษัทผลิตน้ำประปาอย่างน้อย 3 แห่ง ออกประกาศห้ามใช้น้ำสำหรับกิจกรรมที่ใช้น้ำสิ้นเปลือง (hosepipe ban) เช่น การเติมน้ำในสระว่ายน้ำ บ่อน้ำหรือน้ำพุในพื้นที่ส่วนตัว การใช้สายอย่างรดน้ำต้นไม้ ล้างรถหรือพาหนะอื่น ๆ เป็นต้น

สำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งสหราชอาณาจักรคาดว่าวิกฤตภัยแล้งจะลากยาวจนถึงปีหน้า

ที่มาของภาพ, TOLGA AKMEN/EPA-EFE/REX/Shutterstock

คำบรรยายภาพ,

อ่างเก็บน้ำแห่งหนึ่งในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ปริมาณน้ำลดลงมากจนเกือบถึงถึงก้นอ่าง

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำในประเทศอื่น ๆ อย่างอิตาลีและสเปนก็ประสบปัญหาจนต้องลดปริมาณการผลิตไฟฟ้าลงเช่นกัน

ในอิตาลี ราว 1 ใน 5 ของไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศมาจากโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ซึ่งในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาได้ลดปริมาณการผลิตลงมากถึง 40% เนื่องจากการขาดแคลนน้ำ  

ในสเปน บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงานรายงานว่า ปริมาณการผลิตไฟฟ้าโดยรวมลดลง 44% ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่มากจนน่าตกใจ

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำในนอร์เวย์ก็ประสบปัญหาไม่ต่างกัน ล่าสุดนอร์เวย์ประกาศว่าหากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำยังลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ นอร์เวย์ก็จำเป็นต้องระงับการส่งออกไฟฟ้าไปยังสหราชอาณาจักร

สภาพอากาศที่ร้อนจัดในฝรั่งเศสและระดับน้ำในแม่น้ำที่ลดลง ส่งผลให้ครึ่งหนึ่งของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่มีอยู่ทั้งหมด 56 เครื่อง ต้องหยุดเดินเครื่องชั่วคราว เพราะปริมาณน้ำไม่เพียงพอสำหรับการหล่อเย็น

คำบรรยายภาพ,

ทะเลสาบแห่งหนึ่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงลอนดอนแห้งเหือดจนเห็นดินแตกระแหง

“เมื่อน้ำในแม่น้ำมีน้อยลงและมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยหลักการเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์จะต้องหยุดนำน้ำมาใช้ในการหล่อเย็น เพราะน้ำที่ปล่อยกลับออกมานั้นจะมีความร้อนสูงในระดับที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ” ซอนยา เซเนวิราเนอ นักวิชาการประจำสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส ซูริค อธิบาย 

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขาดแคลนไฟฟ้า รัฐบาลฝรั่งเศสอนุญาตให้มีการปล่อยน้ำหล่อเย็นที่อุณหภูมิค่อนข้างสูงจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ลงสู่แหล่งน้ำได้ชั่วคราว และเดินหน้าซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งสหราชอาณาจักรซึ่งก็กำลังประสบวิกฤตเช่นกัน

“ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรต่างพึ่งพากันและกันด้านการผลิตไฟฟ้า ดังนั้นถ้าทั้งสองประเทศเจอวิกฤตพร้อมกัน ก็ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึงนี้” แคทริน พอร์เตอร์ นักวิเคราะห์จากบริษัทที่ปรึกษาด้านพลังงาน วัตต์-โลจิก ให้ความเห็นและคาดว่ารัฐบาลอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการจำกัดการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่

กรมอุตุนิยมวิทยาของอังกฤษ เผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงผลกระทบของภาวะความแห้งแล้งที่กำลังแผ่ขยายไปทั่วเกาะ ทำให้พื้นที่สีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและสีน้ำตาลเป็นบริเวณกว้าง

เจสัน ฮวอคส์ ช่างภาพที่มีชื่อเสียงด้านการถ่ายภาพทางอากาศ บันทึกภาพสวนสาธารณะหลายแห่งในกรุงลอนดอนที่เปลี่ยนจากสีเขียวชอุ่ม เป็นสีเหลืองอมน้ำตาลเพราะความแห้งแล้งในช่วงเวลาเพียงข้ามเดือน

ช่างภาพวัย 54 ปี กล่าวว่าเขาชอบบันทึกภาพการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล แต่ก็ไม่เคยเห็นฤดูร้อนปีไหนที่ทำให้พื้นที่สีเขียวของกรุงลอนดอนแห้งแล้งเท่าปีนี้มาก่อน

มีพื้นที่ต่ำจะจมน้ำทั้งหมด  ยกเว้นนครรัฐวาติกันที่อยู่สูงจะปลอดภัย  แผ่นดินสูง ๆ จะกลายเป็นเกาะ  เกิดแผ่นดินใหม่ทอดยาวจากเกาะชิชิลีไปจนถึงเกาซาดิเนียร์  นอกจากนี้ยังจะเกิดสงคราศาสนาในดินแดนโปแลนด์ เรื่อยไปจนถึงตุรกี แต่สงครามยุติด้วยความบริสุทธิ์ของแผ่นดินจะมาโดยไฟและน้ำ  ตุรกีด้านตะวันตกจมอยู่ใต้น้ำ  เกิดแนวชายฝั่งจากเมืองอิตันบูลไปถึงไซปรัส ส่วนใหญ่ในสมรภูมิสงครามครั้งที่ 2  จะจมอยู่ใต้ทะเล ก่อให้เกิดเกาะเล็ก ๆ ขึ้น

หน่วยกู้ภัยต้องเร่งปฏิบัติงาน เพื่อค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุน้ำท่วมรุนแรงที่ส่งผลกระทบในหลายประเทศของยุโรปตะวันตก โดยมีรายงานผู้เสียชีวิตมากกว่า 120 คนแล้ว ขณะที่ยังมีผู้สูญหายอีกหลายร้อยคน ทั้งในเยอรมนีและเบลเยียม หลังฝนที่ตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรง นอกจากนี้ยังมีฝนตกหนักในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์ ทำให้นายกรัฐมนตรี มาร์ก รูทท์ ต้องประกาศภัยพิบัติฉุกเฉิน ในจังหวัดทางตอนใต้ 1 จังหวัด

ภัยพิบัติใดเกิดขึ้นมากที่ในทวีปยุโรป

ด้านผู้นำชาติยุโรป ต่างกล่าวโทษว่าสภาพอากาศแปรปรวนรุนแรงเป็นผลมาจากสภาพอากาศเปลี่ยนและภาวะโลกร้อน เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่ระบุว่าภาวะโลกร้อน ทำให้มีฝนตกหนักมากผิดปกติ โดยอุณหภูมิของโลกอุ่นขึ้นราว 1.2 องศาเซลเซียส นับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มต้นขึ้น
ทั้งนี้ ในประเทศเยอรมนี นับเป็นประเทศที่ได้รับความเสียหายจากเหตุน้ำท่วมเป็นวงกว้าง และมียอดผู้เสียชีวิตสูงสุดกว่า 100 ศพ ส่งผลให้ประธานาธิบดี แฟรงค์ วอลเตอร์ สไตน์ไมเออร์ ถึงกับออกปากว่าเขาตกตะลึงกับความเสียหายที่เกิดขึ้น หลังจากได้ลงพื้นที่ด้วยตัวเอง และเห็นใจประชาชนที่ต้องสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างที่สร้างมาทั้งชีวิต

ด้านหน่วยกู้ภัยในเยอรมนี ยังคงเร่งปฏิบัติหน้าที่ท่ามกลางสภาพอากาศเลวร้าย ในขณะที่ญาติของผู้สูญหายต่างเฝ้ารอฟังข่าวด้วยความกังวลใจ เนื่องจากระบบโทรศัพท์ในพื้นที่ล่ม ถนนได้รับความเสียหาย และบ้านเรือนประชาชนอีกกว่า 100,000 หลัง ยังคงไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ โดยรัฐไรน์ลันด์-พาลาติเนท และรัฐไรน์-เวสต์ฟาเลียเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด มีรายงานผู้สูญหายมากถึง 1,300 คนเมื่อวันศุกร์ แต่ตัวเลขเริ่มลดลงต่อเนื่องหลังสามารถติดต่อสื่อสารกันได้มากขึ้น

ภัยพิบัติใดเกิดขึ้นมากที่ในทวีปยุโรป

ส่วนที่เบลเยียม กองกำลังทหารถูกส่งไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้การช่วยเหลือ และประเมินความเสียหาย เหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยนายกรัฐมนตรีได้ประกาศให้วันที่ 20 กรกฎาคม เป็นวันไว้อาลัยทั่วประเทศ โดยเบลเยียมมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ศพ

ขณะเดียวกันที่เนเธอร์แลนด์ ประชาชนนับพันคนต้องอพยพออกจากบ้านเรือน ในจังหวัดลิมเบอร์ก หลังระดับน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้น และทำให้เขื่อนแตก อย่างไรก็ตาม ล่าสุดระดับน้ำได้เริ่มลดลง ทำให้ประชาชนเริ่มกลับมายังบ้านเรือนของตัวเองได้แล้ว

ส่วนที่สวิตเซอร์แลนด์ ทะเลสาบและแม่น้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นหลังฝนตกหนัก จนน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ ทั้งในกรุงเบิร์น และในเมืองลูเซิร์น จนทางการต้องสั่งให้ประชาชนอยู่ห่างจากแม่น้ำในช่วงนี้เพื่อความปลอดภัย.