ระบบการศึกษาในประเทศไทยมีกี่รูปแบบ

โรงเรียนไทยปกติที่เราคุ้นเคย มักแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ โรงเรียนรัฐกับโรงเรียนเอกชน โดยโรงเรียนรัฐมีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือหน่วยงานอื่นๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คอยบริหารจัดการ ส่วนโรงเรียนเอกชนจมีกลุ่มบุคคล มูลนิธิต่างที่มีใบอนุญาตจัดตั้งคอยบริหารจัดการ โดยบางแห่งแบ่งนักเรียนเป็นโรงเรียนหญิงล้วน ชายล้วน หรือโรงเรียนสห(นักเรียนทั้งชายและหญิง)

แบ่งการศึกษาเป็น 4 ช่วงชั้น

  • ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3
  • ะดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6

(บางที่มีตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล)

นอกจากการศึกษาในสายสามัญแล้ว ยังมีการศึกษาในสายอาชีพด้วย ซึ่งโดยทั่วสายอาชีพมักวเตรียมพร้อมไปสู่การทำงานจริง แต่นักเรียนที่เลือกสายสามัญตั้งใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย

ตัวอย่างโรงเรียน:

  • โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
  • โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
  • โรงเรียนราชินี

ระบบการศึกษาในประเทศไทยมีกี่รูปแบบ

โรงเรียนนานาชาติ

โรงเรียนที่ใช้หลักสูตรจากต่างประเทศ และมีการเรียนการสอนด้วยภาษาต่างประเทศ มีนักเรียนจากหลากหลายประเทศ และหลากหลายเชื้อชาติ โดยหลักสูตรอยู่ภายการดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งโรงเรียนนานาขาติในไทยก็มีความแตกต่างกันตามระบบของแต่ละประเทศ

โรงเรียนนานาชาติระบบอเมริกัน

โรงเรียนนานาชาติระบบอเมริกันแต่ละโรงอาจจัดหลักสูตรที่หลากหลาย โดยจะเริ่มเข้าชั้นเรียนประมาณอายุ 5-6 ปี ในระยะแรกจะเน้นการเรียนรู้ด้วยการเล่น เช่น เล่นทราย ศิลปะ ปั้นแป้งโดว์ ประดิษฐ์สิ่งของ จากนั้นจึงเรียนเริ่มเรียนแบบวิชาการในระดับชั้นที่สูงขึ้น

ตัวอย่างโรงเรียน:

  • American School of Bangkok
  • International School Bangkok

โรงเรียนนานาชาติระบบอังกฤษ

ในโรงเรียนหลายแห่งยังมีการแต่งเครื่องแบบนักเรียนอยู่ เพราะเชื่อว่าเครื่องแบบทำให้นักเรียนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หลักสูตรเน้นการเรียนวิชาการตั้งแต่ระดับอนุบาล แต่ก็ใช้การเรียนรู้ผ่านการเล่นด้วย และมีการเน้นทักษะการเข้าสังคม การเรียนรู้เรื่องมารยาทมากกว่าหลักสูตรแบบอื่นๆ และเน้นปลูกฝังนิสัยการรักการอ่านให้เด็กตั้งแต่ยังเล็ก

ตัวอย่างโรงเรียน:

  • Shrewsbury International School
  • Harrow International School
  • Bangkok Patana School

โรงเรียนนานาชาติหลักสูตร International Baccalaureate (IB)

เป็นการนำระบบการศึกษาหลากหลายหลักสูตรจากทั่วโลกมาผสม จนกลายเป็นหลักสูตรการศึกษาที่ได้จัดตั้งโดย International Baccalaureate Organization (IBO) ซึ่งเป็นระบบที่ได้รับการยอมรับในการรับเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่ง

ตัวอย่างโรงเรียน:

  • KIS International School
  • NIST International School

โรงเรียนนานาชาติระบบเยอรมัน

โรงเรียนจะมีภาษาให้เลือกเรียนระหว่างภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมัน หรือภาษาฝรั่งเศสด้วย มีการให้นักเรียนที่อายุต่างกันเข้าเรียนในชั้นเดียวกัน เพื่อให้นักเรียนฝึกปรับตัวเข้าหากัน

ตัวอย่างโรงเรียน:
คริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่

โรงเรียนนานาชาติหลักสูตรสิงคโปร์

ส่วนใหญ่จะมีการเรียนทั้ง 3 ภาษาใน ภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษไทย และภาษาจีน โดยหลักสูตรจะเน้นวิชาการมากกว่าโรงเรียนนานาชาติแบบตะวันตก มีการความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียนในเด็กอายุ 2 ขวบครึ่งจนถึง 6 ขวบ

ตัวอย่างโรงเรียน:

  • Anglo Singapore International School
  • Singapore International School of Bangkok

ระบบการศึกษาในประเทศไทยมีกี่รูปแบบ

โรงเรียนทางเลือก

โรงเรียนที่เรียกได้ว่ามีการเรียนการสอนที่ปรับให้เหมาะกับผู้เรียน รวมไปถึงหลักสูตรและการวัดผล มีความแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไปที่การเน้นการพัฒนาทางทักษะของเด็ก และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางทางการเรียนรู้ มีพาเด็กไปเรียนรู้นอกห้องเรียน  เช่น ออกไปสัมผัสธรรมชาติ ด้วยการปลูกข้าว ดำนา เลี้ยงสัคว์ เล่นกันเป็นกลุ่มนอกห้องเรียน

ตัวอย่างโรงเรียน:

  • โรงเรียนอนุบาลนานาชาติ มอนเตสซอรี่
  • โรงเรียนวรรณสว่างจิต
  • โรงเรียนทอรัก

ระบบการศึกษาในประเทศไทยมีกี่รูปแบบ

Home School

โฮมสคูลเป็นการศึกษาทางเลือก เพราะเป็นการสร้างการเรียนรู้จากที่บ้านผ่านพ่อแม่ผู้ปกครอง สำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบโฮมสคูล มีข้อดีเพราะทำมห้เด็กได้ทำตามแนวคิดของตนเอง สร้างความมั่นใจ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องถูกวางแผนขึ้นอย่างดีสำหรับเด็ก ซึ่งกิจกรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบ้าน และมีมีพ่อแม่ผู้ปกครองคอยสอนไปตามสถานการณ์ต่างๆ และเด็กๆ ที่เรียนโฮมสคูลจะมีกลุ่มสังคมแบบเดียวกันกับเด็กปกติ เพราะมีการพาลูกๆ มาเรียนร่วมกันในบางวิชา กิจกรรม และทำให้เด็กได้ฝึกทักษะการเข้าสังคมไปด้วย

สิทธิของเด็ก Home School

หากมีการจดทะเบียนการจัดการศึกษาอย่างถูกต้อง เด็กจะมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ากับนักเรียนในปกติในโรงเรียนทั่วไป สามารถไปเรียนรด. แข่งกีฬาในนามหน่วยงาน สอบรับทุนได้ หรือสอบวัดผลเข้ามหาวิทยาลัยได้ สามารถสมัครเรียนต่อ สมัครงานโดยอ้างอิงวุฒิการศึกษาตามกฎหมาย  และรับเงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ด้วย

ในมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นิยาม ความหมายของการศึกษา มีความหมายว่า “กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต” 

และมาตรา 15 ได้กำหนดระบบการศึกษา ในการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

การศึกษาในระบบ (Formal Education) คือ การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ที่สำคัญ ในการดำเนินกิจกรรมทางการศึกษานั้น เกิดขึ้นทั้งที่ห้องเรียน รวมถึงการเรียนรู้นอกห้องเรียน  บ้าน หรือการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยยึดถือเอาห้องเรียนเป็นฐานกลางของการจัดการศึกษา การศึกษาจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคน และการที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการนั้นต้องอาศัยผลรวมของกระบวนการที่มีความสัมพันธ์กัน

การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) เป็นการศึกษาที่ไม่มีรูปแบบตายตัว ไม่มีหลักสูตรและระยะเวลาในการเรียนที่แน่นอน โดยการจัดการศึกษาในรูปแบบนี้เป็นการศึกษาองค์ความรู้ต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์ตรงที่ได้ประสบในชีวิตประจำวัน โดยการศึกษาตามอัธยาศัยจะกลายเป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิต จะเห็นได้ว่าการศึกษามีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับผู้ศึกษาว่าจะเลือกวิธีใดและความรู้แบบใด ที่เหมาะสมกับตัวผู้เรียน ทั้งนี้สามารถนำมาใช้ให้ได้เกิดประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด การศึกษาหาความรู้จึงไม่ได้จำกัดเพียงแค่การอยู่ในสถานศึกษาเท่านั้น เพราะด้วยเทคโนโลยีช่วยให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาได้ง่ายยิ่งขึ้นนั่นเอง 

การศึกษาตามพระราชบัญญัติปี 2564 แบ่งจากการศึกษากี่รูปแบบ

มาตรา ๑๕ การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาใน ระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย Page 12 หน้า 10. (๑) การศีกษาในระบบ เงินการ กษา ทําหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสําเร็จการศึกษาที่แน่นอน

ระบบการจัดการศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นแบบใด

ระบบการศึกษาไทยปัจจุบันตามที่ก าหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545 มีการจัดระบบการศึกษาขั้นประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับชั้น) การศึกษาขั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น) และการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี (3 ระดับชั้น) หรือระบบ 6-3-3.

การศึกษาในระบบมีรูปแบบอย่างไร

การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษา ที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา ของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่ง เป็นเงื่อนไข ของการสำเร็จการศึกษา ที่แน่นอน โดยการศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน – เป็นการศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า สิบสองปี ก่อน ระดับอุดมศึกษา

ระบบการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มีกี่รูปแบบ

หมวด ๓ ระบบการศึกษา มาตรา ๑๕ การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย (๑) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่ก าหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสาเร็จการศึกษาที่แน่นอน