การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt

 
การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt

การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt
  การสื่อสารของมนุษย์

การสื่อสาร หมายถึง  วิธีการต่าง ๆ ในการติดต่อระหว่างมนุษย์  ซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายของอีกฝ่ายหนึ่ง  หรือกระบวนการของมนุษย์ในการแลกเปลี่ยนความรู้  ความรู้สึกนึกคิด  ความต้องการ  ทัศนคติ  และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

องค์ประกอบของการสื่อสาร      

การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt

การสื่อสาร มี 3 องค์ประกอบที่สำคัญ  ได้แก่  บุคคลสองฝ่าย  สาร  สื่อ
บุคคลสองฝ่าย  คือ ผู้ส่งสาร ได้แก่ผู้พูด  ผู้เขียน  หรือผู้แสดงความมุ่งหมาย และผู้รับสาร   อันได้แก่ผู้ฟัง  ผู้อ่าน  หรือผู้รับความมุ่งหมาย
สาร    คือ  เรื่องราวที่ต้องการให้รับรู้  ได้แก่  ข้อมูลที่เป็นความรู้  ประสบการณ์  และความคิดของผู้สื่อสาร
สื่อ   คือ  วิธีการติดต่อให้ข้อมูลหรือเรื่องราวต่าง ๆ ถึงผู้รับสาร  อาจใช้อุปกรณ์ช่วยนำสาร  เช่น  เครื่องรับโทรศัพท์  ตัวอักษร  วีดิทัศน์  เครื่องรับโทรสาร  เครื่องขยายเสียง  รวมทั้งสถานที่และบรรยากาศบริเวณโดยรอบ ขณะมีการส่งสาร – รับสาร

   

การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt

การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt

การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt
  ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร

ภาษา คือ  สัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการสื่อความเข้าใจระหว่างกันของคนในสังคม   ช่วยสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน  ช่วยสร้างความสัมพันธ์ของคน ในสังคม  ถ้าคนในสังคมพูดกันด้วย ถ้อยคำที่ดีจะช่วยให้คนในสังคมอยู่กันอย่างปกติสุข  ถ้าพูดกันด้วยถ้อยคำไม่ดี   จะทำให้เกิดความบาดหมางน้ำใจกัน    ภาษาจึงมีส่วนช่วยสร้างมนุษยสัมพันธ์ ของคนในสังคม   ภาษาเป็นสมบัติของสังคม ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมี  2  ประเภท  คือ  วัจนภาษาและอวัจนภาษา

การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt
1. วัจนภาษา (verbal language)  
การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt
การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt


วัจนภาษา  หมายถึง  ภาษาถ้อยคำ  ได้แก่  คำพูดหรือตัวอักษรที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม  ซึ่งหมายรวมทั้งเสียง  และลายลักษณ์อักษร  ภาษาถ้อยคำเป็นภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างมีระบบ  มีหลักเกณฑ์ทางภาษา  หรือไวยากรณ์ซึ่งคนในสังคมต้องเรียนรู้และใช้ภาษาในการฟัง  พูด  อ่าน  เขียนและคิด การใช้วัจนภาษาในการสื่อสารต้องคำนึงถึงความชัดเจนถูกต้องตามหลักภาษา  และความเหมาะสมกับลักษณะ  การสื่อสาร  ลักษณะงาน  เป้าหมาย  สื่อและผู้รับสาร
วัจนภาษาแบ่งออกเป็น  2  ชนิด  คือ

           ภาษาพูด  ภาษาพูดเป็นภาษาที่มนุษย์เปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น  นักภาษาศาสตร์ถือว่าภาษาพูดเป็นภาษาที่แท้จริงของมนุษย์  ส่วนภาษาเขียนเป็นเพียงวิวัฒนาการขั้นหนึ่งของภาษาเท่านั้น  มนุษย์ได้ใช้ภาษาพูดติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นอยู่เสมอ  ทั้งในเรื่องส่วนตัว  สังคม  และหน้าที่การงาน  ภาษาพูดจึงสามารถสร้างความรัก  ความเข้าใจ  และช่วยแก้ไขปัญหา
ต่าง ๆ  ในสังคมมนุษย์ได้มากมาย

         ภาษาเขียน  ภาษาเขียนเป็นภาษาที่มนุษย์ใช้อักษรเป็นเครื่องหมายแทนเสียงพูดในการสื่อสาร  ภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ของการพูด  ภาษาเขียนนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้บันทึกภาษาพูด  เป็นตัวแทนของภาษาพูดในโอกาสต่าง ๆ  แม้นักภาษาศาสตร์จะถือว่าภาษาเขียนมิใช่ภาษาที่แท้จริงของมนุษย์   แต่ภาษาเขียนเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารของมนุษย์  มาเป็นเวลาช้านาน  มนุษย์ใช้ภาษาเขียนสื่อสารทั้งในส่วนตัว  สังคม  และหน้าที่การงาน  ภาษาเขียนสร้างความรัก  ความเข้าใจ  และช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ  ในสังคมมนุษย์ได้มากมายหากมนุษย์รู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล  โอกาส  และสถานการณ์

การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt
 2. อวัจนภาษา (non-verbal language)
การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt

อวัจนภาษา  หมายถึง  เป็นการสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ  ทั้งที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียน  เป็นภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน โดยใช้อากัปกิริยา  ท่าทาง   น้ำเสียง   สายตาหรือ ใช้วัตถุ การใช้สัญญาณ และ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ  หรือแสดงออกทางด้านอื่นที่สามารถรับรู้กันได้  สามารถแปลความหมายได้และทำความเข้าใจต่อกันได้ เช่น

      สายตา  (เนตรภาษา)  การแสดงออกทางสายตา เช่น  การสบตากันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารก็มีส่วนช่วยในการตีความหมาย  เช่น การสบตาแสดงออกถึงความจริงใจ  การหรี่ตาแสดงออกถึงความสงสัย  ความไม่แน่ใจ  ฯลฯ     การแสดงออกทางสายตาจะต้องสอดคล้องกับการแสดงออกทางสีหน้า   การแสดงออกทางสีหน้าและสายตาจะช่วยเสริมวัจนภาษาให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น  และใช้แทนวัจนภาษาได้อย่างดี

      กิริยาท่าทาง (อาการภาษา)  การแสดงกิริยาท่าทางของบุคคล  สามารถสื่อความหมายได้โดยไม่ต้องใช้คำพูด  หรือใช้เสริมคำพูดให้มีน้ำหนักมากขึ้นได้    ได้แก่  กิริยาท่าทาง   การเคลื่อนไหวร่างกายและอากัปกิริยาท่าทางต่าง ๆ   สามารถสื่อความหมายได้มากมาย  เช่น  การเคลื่อนไหวมือ  การโบกมือ   การส่ายหน้า   การพยักหน้า   การยกไหล่   การยิ้มประกอบ การพูด  การยักไหล่  การยักคิ้ว  อาการนิ่ง   ฯลฯ

        น้ำเสียง (ปริภาษา)   เป็นอวัจนภาษาที่แฝงอยู่ในภาษาพูด  ได้แก่   สำเนียงของผู้พูด ระดับเสียงสูงต่ำ  การเปล่งเสียง  จังหวะการพูด  ความดังความค่อยของเสียงพูด  การตะโกน  การกระซิบ  น้ำเสียงช่วยบอกอารมณ์และความรู้สึก  นอกจากนี้ยังช่วยแปลความหมายของคำพูด  เช่น  การใช้เสียงเน้นหนักเบา  การเว้นจังหวะ  การทอดเสียง  สิ่งเหล่านี้ทำให้คำพูดเด่นชัดขึ้น  การพูดเร็ว ๆ  รัว ๆ  การพูดที่หยุดเป็นช่วง ๆ  แสดงให้เห็นถึงอารมณ์กลัว  หรือตื่นเต้นของผู้พูด  เป็นต้น

       สิ่งของหรือวัตถุ (วัตถุภาษา)   สิ่งของหรือวัตถุต่าง ๆ  ที่บุคคลเลือกใช้  เช่น   ของใช้เครื่องประดับ  เสื้อผ้า  กระเป๋า  รองเท้า  นาฬิกา   ปากกา  แว่นตา  เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้เป็นอวัจนภาษาที่สื่อความหมายได้ทั้งสิ้น

       เนื้อที่หรือช่องว่าง  (เทศภาษา)  ช่องว่างของสถานที่หรือระยะใกล้ไกลที่บุคคลสื่อสารกัน   เป็นอวัจนภาษาที่สื่อสารให้เข้าใจได้  เช่น   ระยะห่างของหญิงชาย   พระกับสตรี   คนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์    คนสองคนนั่งชิดกันบนม้านั่งตัวเดียวกัน  ย่อมสื่อสารให้เข้าใจได้ว่า  ทั้งสองคนมีความสนิทสนมเป็นพิเศษ  เป็นต้น

       กาลเวลา  (กาลภาษา)  หมายถึง  การสื่อความหมายโดยให้เวลามีบทบาทสำคัญ  เวลาแต่ละช่วงมีความหมายในตัว  คนแต่ละคน  และคนต่างวัฒนธรรมจะมีความคิดและความหมายเกี่ยวกับเวลาแตกต่างกัน  เช่น  การตรงต่อเวลาวัฒนธรรมตะวันตกถือว่ามีความสำคัญมาก  การไม่ตรงต่อเวลานัดหมายเป็นการแสดงความดูถูก  เป็นต้น

       การสัมผัส (สัมผัสภาษา)  หมายถึง  อวัจนภาษาที่แสดงออกโดยการสัมผ้สเพื่อสื่อความรู้สึก  อารมณ์  ความปรารถนาในใจของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร  เช่น  การจับมือ การ แลบลิ้น  การลูบศีรษะ การโอบกอด  การตบไหล่  ซึ่งสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของแต่ละสังคม  เช่นคนไทยถือมิให้เด็กสัมผัสส่วนหัวของผู้ใหญ่  เป็นต้น

การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt
 อุปสรรคของการสื่อสารและวิธีแก้ไข
การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt
การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt

 การสื่อสารด้วยภาษาพูดหรือภาษาเขียนย่อมเกิดปัญหาในการสื่อสารได้  อุปสรรคของการสื่อสารและวิธีแก้ไขมีดังนี้
1.  อุปสรรคของการสื่อสาร   :  ผู้ส่งสาร-ผู้รับสาร   ขาดพื้นความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่จะสื่อสาร  ไม่สนใจ  มีทัศนคติไม่ดี

วิธีแก้ไข   :  ศึกษาข้อมูลความรู้ในเรื่องนั้น ๆ อย่างถ่องแท้  ทำใจให้เป็นกลาง ปรับทัศนคติและอารมณ์ให้มั่นคง  เพื่อเปิดใจให้พร้อมรับสาร

2. อุปสรรคของการสื่อสาร :  สาร มีความซับซ้อน  เยิ่นเย้อ  หรือมีลักษณะขัดแย้งกันเอง

วิธีแก้ไข  :  เลือกใช้ให้เหมาะสมแก่กลุ่มบุคคลเป้าหมายที่ต้องการ  วิธีการเดียวกัน ย่อมไม่สามารถเสนอให้บุคคลหลากหลายระดับความรู้  อาชีพ และประสบการณ์  มีความเข้าใจได้เท่าเทียมกัน

3. อุปสรรคของการสื่อสาร :  ภาษา  ที่ใช้ในการสื่อสารไม่ตรงประเด็น  ใช้ภาษาผิดระดับ

วิธีแก้ไข   :  ใช้ถ้อยคำชัดเจน  ไม่ใช้ศัพท์หรือคำยากโดยไม่จำเป็น  ใช้ประโยคสั้นกระทัดรัด  เข้าใจง่าย

4. อุปสรรคของการสื่อสาร :  สื่อนำสารขัดข้อง  ทำให้ผู้รับสารไม่สามารถรับสารได้หรือรับไม่สะดวก

วิธีแก้ไข  :   ให้เลือกสถานที่ใหม่ให้เหมาะสม  ใช้สื่อต่าง ๆ เพื่อให้การส่งสารน่าสนใจ และช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

5. อุปสรรคของการสื่อสาร :  กาลเทศะและสภาพแวดล้อม  ที่ไม่ถูกต้อง  ไม่เหมาะสม  เช่น  มีเสียงรบกวน ดึกเกินไป  ร้อนจัด  กำลังยุ่ง  ฯลฯ  ทำให้การสื่อสารไม่สัมฤทธิผล

วิธีแก้ไข  :   ให้ตระหนักในคำ 3 คำ  คือ  T O P  ดังนี้
เวลา (Time)  การกำหนดเวลาให้พอดีไม่มากไม่น้อยเกินไป
จุดมุ่งหมาย  (Object)  พูดให้เข้าใจตรงประเด็น  ใช้ศิลปะในการพูด
สถานที่ (Place)  พิจารณาสถานที่ในการสื่อสาร  ในกรณีที่เป็นเรื่องส่วนตัวไม่เหมาะที่จะสื่อสารต่อหน้าบุคคลที่สาม

การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt

 
การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt
  
การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt
  
การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt

มารยาทในการดูภาพยนตร์

มารยาทในการใช้สื่อสังคมออนไลน์  

การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt
บทความที่เกี่ยวข้อง      
การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt
 

 การสื่อสารที่ด้อยประสิทธิภาพ
(Communication Breakdown)

วรัท พฤกษากุลนันท์

     Keith David กล่าวว่า “การติดต่อสื่อสารของมนุษย์มักจะเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคหลายประการที่เป็นสิ่งสกัดกั้นการติดต่อสื่อสารให้ด้อยประสิทธิภาพลงหรือล้มเหลว(Communication Breakdown)”

จากคำกล่าวดังกล่าวจะเห็นว่าการติดต่อสื่อสารของมนุษย์มีอุปสรรคหลายประการการจะหลีกเลี่ยงหรือหาวิธีป้องกันแก้ไขเพื่อให้การติดต่อสื่อสารของมนุษย์เป็นไปโดยราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุดตามเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสนใจเพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารจึงขอกล่าวโดยสรุปดังนี้

การสื่อสาร                                                   

การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt

“มนุษย์ทุกคนต้องมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน เพื่อการดำรงชีวิตในสังคม และเพื่อการพัฒนาสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น การติดต่อกันของมวลมนุษย์จะมีอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย ตั้งแต่ตื่นนอนจนหลับ มนุษย์ได้ใช้ความพยายามอันยาวนานในการพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เพื่อที่จะให้ผู้อื่นเข้าใจตนและให้ตนเข้าใจผู้อื่นจนเกิดการติดต่อสื่อสารกันในรูปแบบต่างๆ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาใบ้ เป็นต้น การเกิดภาษา ที่ใช้ติดต่อกันในแบบต่างๆก็เนื่องมาจากความพยายามของมนุษย์ที่จะเอาชนะอุปสรรคต่างๆทางการสื่อสาร อันอาจเป็นเหตุให้เกิดความล้มเหลวทางการสื่อสารในการ ติดต่อสื่อสารนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความเข้าใจความหมายของสาร สามารถถอดรหัส เป็นความเข้าใจที่ตรงกันกับที่ผู้ส่งสารส่งมา การติดต่อสื่อสารของคนแต่ละกลุ่มจะใช้รหัสการติดต่อแตกต่างกันจึงทำให้เกิดภาษามากมายหลายภาษาขึ้นในโลก”(เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต .2540)

     จากคำกล่าวดังกล่าวข้างต้นจะเห็นว่าการสื่อสารของมนุษย์เป็นขบวนการที่มีพลวัตร(Dynamic) มีผลกระทบต่อกันและกันระหว่างองค์ประกอบของการสื่อสาร ดังนั้นการสื่อสารของมนุษย์จึงมีความต่อเนื่อง (Continuous) มีการเปลี่ยนแปลง (Changing)ต้องอาศัยการปรับตัวตลอดเวลา การสื่อสารเป็นกระบวนการส่งสารหรือความรู้ซึ่งเป็นสิ่งเร้าต่างๆ ให้แก่ผู้รับสารโดยผ่านพาหะซึ่งนำสื่อหรือข้อเท็จจริงต่างๆ การสื่อสารทุกระดับตั้งแต่ระดับง่ายไปจนถึงระดับซับซ้อนมากขึ้นนั้น มีขั้นตอนและผลปรากฏต่างๆที่เกี่ยวข้องดังรูปแบบต่อไปนี้

การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt

     จากโมเดลกระบวนการสื่อสารดังกล่าวจะเห็นว่า ข่าวสารในรูปแบบของข้อสนเทศต่างๆ ได้รับการจัดระบบเป็นเรื่องราวโดยต้นตอหรือผู้ส่ง ซึ่งต้องเข้ารหัส (Encode) ความคิดหรือมโนภาพให้เป็นรูปเครื่องหมายสัญญาณในรูปคลื่นเสียง ภาษา คำบรรยายเป็นรูปข่าวสารแล้ว ข่าวสารนั้นจะส่งไปยังเครื่องส่งด้วยช่องทางที่เหมาะสมไปยังผู้รับ หรือจุดหมายปลายทางใช้ประสาทรับรู้ เช่น ตา หู ฯลฯ แล้วผู้รับจะถอดรหัส (Decode) ในสมองและจะมีการแปลความหมาย(ตวงแสง ณ นคร.2542)

การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt
 ปัญหาและอุปสรรคการติดต่อสื่อสาร (Communication Breakdown)   

     การสื่อสารถ้าดำเนินไปด้วยคงามราบรื่นการสื่อสารนั้นยก็จะประสบผลสำเร็จตามที่ผู้ส่งสารต้องการแต่ถ้าการสื่อสารนั้นไม่ประสบผลสำเร็จหรือมีอุปสรรค ก็จะทำให้เกิดผลเสียหรือเกิดการแปลความหมายไปในทางที่ผิดเพี้ยนได้โดยทั่วไปการสื่อสารมักประสบกับปัญหา 2 ประการคือ

1.อุปสรรคทางกล (Mechanical Noise) หมายถึงอุปสรรคในตัวสื่อเอง เช่น ตัวพิมพ์ในหนังสือไม่ชัดเจนภาพโทรทัศน์ไม่คมชัด ภาพพร่ามัว เสียงรบกวนต่างๆ

2. อุปสรรคทางภาษา (Semantic Noise) หมายถึง อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการใช้ภาษา การใช้คำคลุมเครือไม่ชัดเจน ภาษายาก สำนวนฟัง-อ่านไม่เข้าใจ ทำให้เกิดการตีความหมายผิด

    

การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt
   ตวงแสง ณ นคร (2542) ได้แบ่งสิ่งรบกวน (Noise) อันเป็นอุปสรรคในการสื่อความหมายในการถ่ายทอดข่าวสารซึ่งมีผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการติดต่อสื่อสาร 2 ประเภทคือ

1.สิ่งรบกวนทางจิตใจ เช่น ความหิว ความกระวนกระวาย ความขัดแย้งในประสบการณ์เดิมต่อประสบการณ์ใหม่

2. สิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงรบกวน เสียงสอดแทรก แสงกระทบรบกวน การจัดที่นั่งไม่เหมาะสมทำให้ดูไม่ชัดฟังไม่ชัด ภาพยนตร์มีรอยขีดข่วนมากทำให้ภาพไม่ชัด เป็นต้น

การสื่อสารของมนุษย์ ม.4 ppt
 
การป้องกันแก้ไขเพื่อให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปโดยราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุดตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

   การติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพอันเป็นเป้าหมายของการสื่อสารนั้น มีองค์ประกอบอันเป็นปัจจัยสำคัญ ที่เกี่ยวข้องสรุปได้ดังนี้

1.ทักษะการติดต่อสื่อสาร (Communication Skill) ของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร หมายถึงความรู้ความสามารถและความชำนาญในการพูด การเขียน การฟัง และการตีความหมาย การเข้ารหัส(Encode) หรือการถอดรหัส(Decode)ของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร ยิ่งมีความรู้ความสามารถมาก ก็ยิ่งทำให้การติดต่อสื่อสารได้ผลดียิ่งขึ้น ใช้เวลาน้อย ทำให้เข้าใจง่ายและเกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้ส่งและผู้รับสารขาดทักษะหรือความชำนาญในการติดต่อสื่อสาร ก็ย่อมจะทำให้การรับข่าวสารไม่กระจ่างชัดและไม่เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสารนั้นๆได้

2.ทัศนคติ (Attitude) เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อการติดต่อสื่อสาร ทั้งทัศนคติของผู้ส่งสารและผู้รับสารเองซึ่งจะต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเอง และความมั่นใจในเนื้อหาและวิธีการที่จะถ่ายทอด

3. ความรู้ (Knowledge) การติดต่อสื่อสารจะเป็นผลดีขึ้นอยู่กับความรู้ของผู้ส่งสารด้วย ถ้าผู้ส่งสารมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่ถ่ายทอดไปยังผู้รับสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าผู้ที่ไม่มั่นใจในเนื้อหาความรู้นั้นทั้งนี้ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหายิ่งมีระดับสูงเท่าไหร่ ก็จะมีผลทำให้การถ่ายทอดข่าวสารได้มากขึ้น

4.ลักษณะของสาร การติดต่อสื่อสารจะมีประสิทธิภาพเพียงใดขึ้นอยู่กับลักษณะของสารที่ อันเป็นปัจจัยในการติดต่อสื่อสาร ดังนี้

– เนื้อหาหรือข่าวสารต้องเป็นที่สนใจของผู้รับสาร
– ข่าวสารควรใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ร่วมของผู้รับสาร ให้เข้าใจง่าย หรือเกิดการเรียนรู้ ภาษา ภาพหรือความคิดรวบยอดต่างๆ ที่เสนอต้องเข้าใจง่าย ไม่สลับซับซ้อนเกินกว่าระดับความสามารถของผู้รับสาร
– ข่าวสารต้องเร้าความต้องการ (Need) ของผู้รับและต้องมีการแนะแนวทางในการสนองความต้องการนั้นๆได้
– ต้องมีการสร้างสภาวะที่ก่อให้เกิดความดึงดูด ความสนใจของผู้รับ (Attention) โดยจะต้องมีวิธีการที่จะกระตุ้นหรือจูงใจให้ผู้รับตื่นตัวอยู่เสมอ มีความพร้อมที่จะรับ

5. การติดต่อสื่อสารเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่จะได้ผลดี ควรมีการกระทำแบบต่อเนื่อง มีความสม่ำเสมอ

6. การติดต่อสื่อสารจะมีประสิทธิภาพเมื่อเลือกใช้ช่องทางหรือสื่อที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับผู้รับสาร การเลือกและการใช้สื่อจะต้องมีระบบ จึงจะทำให้การติดต่อสื่อสารได้ผลดี

7. ควรสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมในการติดต่อสื่อสาร เช่น บรรยากาศแบบเป็นกันเอง มีความอบอุ่น และอิสระเป็นต้น

8. ผู้ถ่ายทอดข่าวสาร ควรจะต้องรู้จักใช้วิธีการแก้ปัญหา อุปสรรคของการสื่อสารต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการแก้ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลทางกายภาพ เช่น ปัญหาการได้ยิน สายตา การมองเห็นได้ไม่ชัดการรับรู้การตอบสนองต่อสิ่งเร้า รวมทั้งการแก้ไขปัญหาเทคนิคการสื่อสารในประเด็นย่อยๆ เช่น การขจัดปัญหาการพูดที่ใช้ศัพท์สูงเกินไป การใช้ศัพท์วิชาการสูงเกินไป ปัญหาการอธิบายวกวนปัญหาการพูดเสียงราบเรียบจนน่าเบื่อ เป็นต้น