บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จำกัด



ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย หรือ HPT เผยถึงความร่วมมือกับคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนด้านโลจิสติกส์และการขนส่งทางทะเล พร้อมทั้งโอกาสในการฝึกงาน รวมถึงความร่วมมือในด้านงานวิจัยและออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมต่อการเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างศักยภาพแก่นักศึกษาให้มีโอกาสได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงและต่อยอดสู่การเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต

Go Green เป็นอีกหนึ่งโครงการของ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ภายใต้แผนงาน “อนาคตแห่งความยั่งยืนของเรา (Our Sustainable Future)” ที่จัดทำขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก รวมถึงสภาพสังคมและบรรทัดฐานในการดำเนินธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนไปในปัจจุบัน แผนงานดังกล่าวครอบคลุม 3 แกนหลักที่สำคัญขององค์กร ได้แก่ สิ่งแวดล้อม บุคลากร และธุรกิจ โดยการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือทางวิชาการของฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ที่ต้องการสนับสนุนให้สถาบันระดับอุดมศึกษาได้มอบการศึกษาที่มีคุณภาพสูงสุด ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาสู่ตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และการขนส่งทางทะเลอีกด้วย

มร. สตีเฟ้นท์ อาร์ชเวิรท (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทย และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “การทำงานร่วมกับชุมชนของเราเพื่อสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เราทำ มีความสำคัญต่อฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย และการพัฒนาความร่วมมือกับคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย เรามีความพร้อมที่จะต้อนรับนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยสู่ท่าเทียบเรือของเรา เพื่อแบ่งปันความรู้แก่พวกเขาอันจะเป็นการเสริมความเข้าใจในเนื้อหาของหลักสูตรที่พวกเขากำลังศึกษาอยู่ และยังเป็นการเสริมความเข้าใจในหน้าที่การงานและธุรกิจของเรามากยิ่งขึ้นอีกด้วย”


ผศ.ดร. ศรินยา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา คณบดีคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา กล่าวว่า “เรามีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการท่าเทียบเรือระดับโลกอย่าง ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย เพราะนักศึกษาจะได้รับประสบการณ์ การทำงานในชีวิตจริง เพื่อเติมเต็มในสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ในรั้วมหาวิทยาลัย ขณะที่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้กระตุ้นให้ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือเปลี่ยนวิธีการดำเนินงาน ซึ่งจากโครงการนี้นักศึกษาจะได้รับประสบการณ์ตรงจากผู้นำในอุตสาหกรรมว่าได้ริเริ่มและดำเนินการอย่างไรเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ สิ่งนี้นับเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่าสำหรับนักศึกษาและบุคลากรของเราเป็นอย่างมาก”


ความร่วมมือในโครงการ Go Green 2022 ระหว่าง ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะเริ่มด้วย 2 กิจกรรมหลัก คือ การปลูกต้นไม้ และการรีไซเคิลหรือการมอบชีวิตใหม่ให้กับวัสดุที่เหลือใช้แล้ว

ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานด้านการริเริ่มพัฒนาทั้งหมดของคณะกรรมการด้านความยั่งยืนของกลุ่มบริษัทฮัทชิสัน ที่มีเป้าหมายในการแบ่งปันความรู้เพื่อให้เกิดการดําเนินแนวปฏิบัติที่ดีต่อโลกอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ได้รับการออกแบบก่อสร้างขึ้นเป็นพิเศษเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจขนส่งตู้สินค้าของประเทศไทย บริษัทฯ ตั้งอยู่ในบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยบนชายฝั่งของจังหวัดชลบุรีที่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ลงมาเพียง 130 กิโลเมตร HPT ให้บริการอำนวยความสะดวกเต็มรูปแบบ รวมถึง บริการสถานีขนถ่ายสินค้า ระบบรถไฟขนส่งรางคู่และมีเส้นทางเชื่อมต่อที่ดีกว่าสู่ทางหลวงสายหลักเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางในที่ต่างๆ ในประเทศไทย โดยปัจจุบันเปิดให้บริการในท่าเทียบเรือ A2 A3 C1 C2 D1 และกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาส่วนที่เหลือของท่าเทียบเรือชุด D

HPT เป็นหนึ่งในเครือสมาชิกของกลุ่มฮัทชิสัน พอร์ท ซึ่งเป็นส่วนงานหนึ่งของบริษัท ซีเค ฮัทชิสัน โฮลดิ้งส์ จำกัด (CK Hutchison Holdings Limited) ที่ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านท่าเทียบเรือและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ฮัทชิสัน พอร์ท เป็นผู้ลงทุน พัฒนาและประกอบการด้านท่าเทียบเรือชั้นนำของโลก มีเครือข่ายท่าเทียบเรือถึง 52 แห่ง กระจายอยู่ใน 26 ประเทศทั่วโลก ทั้งใน เอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ฮัทชิสัน พอร์ท ได้ขยายกิจการครอบคลุมไปถึงธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ในด้านอื่นๆ ด้วย อาทิ ท่าเทียบเรือโดยสาร บริการท่าอากาศยาน ศูนย์กระจายสินค้า บริการขนส่งด้วยระบบรางและอู่ซ่อมเรือ



  • พาณิชยนาวีนานาชาติ
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • โลจิสติกส์
  • ฮัทชิสัน พอร์ท
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ความยั่งยืน

หากอ้างอิงตาม รายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนพฤษภาคม 2564 โดย สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ จะเห็นได้ชัดว่า แม้วิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้ตลาดสินค้าหลายประเภทในประเทศ ยังคงซบเซาต่อเนื่อง แต่สถานการณ์การส่งออกของไทยเดือนพฤษภาคม 2564 ยังคงขยายตัวสูงถึงร้อยละ 41.59 นับเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงสุดในรอบเกือบ 11 ปี โดยมีมูลค่าถึง 23,057.91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแน่นอนว่าในขั้นตอนการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ มีสินค้าจำนวนไม่น้อยทีเดียวที่ขนส่งไปทางทะเล และในจำนวนนี้ต้องผ่านท่าเทียบเรือ ซึ่งอยู่ในความดูแลของ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) บริษัทผู้ประกอบการท่าเทียบเรือชั้นนำในประเทศไทย อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ จากงานแถลงข่าว ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ที่ได้เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจปี 2564 ได้ยืนยันแนวโน้มการส่งออกสินค้าของไทยที่มีความสดใสแม้ในยุคโควิด ว่า ในปี 2564 ด้วยยอดการขนส่งสินค้าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้นกว่า 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่ภาคธุรกิจการนำเข้าของประเทศไทยเติบโตขึ้นกว่า 26.2เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 15.5 เปอร์เซ็นต์ ด้วยอานิสงส์จากการที่ธุรกิจส่งออกของไทยฟื้นตัวจากปี 2563  จนทำให้ภาพรวมด้านการส่งออกของประเทศไทยมีมูลค่ารวมที่ 132.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในครึ่งแรกของปีนี้
และในงานแถลงข่าวนี้ นอกจากจะมีการนำเสนอเรื่องทิศทางการดำเนินธุรกิจของ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว ยังมีการกล่าวถึงความคืบหน้าของการสร้างท่าเทียบเรือสินค้าและคอนเทนเนอร์ Terminal D ซึ่งเป็นท่าเรือ Flagship แห่งใหม่ของ ฮัทชิสัน พอร์ท ที่มีขนาดใหญ่เท่ากับสนามฟุตบอลของทีมพรีเมียร์ลีกรวมกันถึง 4 สนาม ตลอดจนนวัตกรรมต่างๆ ที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสินค้าและคอนเทนเนอร์ที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาคแห่งนี้ด้วย

บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จำกัด


อัปเดตทิศทางการดำเนินธุรกิจของ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย กับโอกาสเติบโตสวนกระแสวิกฤต

มร.สตีเฟ้นท์ อาร์ชเวิรท กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทย และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เริ่มกล่าวถึง การวางกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินธุรกิจของ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า
“Hutchison Ports (Hutchison Port Holdings Limited) เป็นบริษัทในเครือของ CK Hutchison Holdings Ltd (CK Hutchison) บริษัทข้ามชาติด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีฐานธุรกิจอยู่ใน Hong Kong มีสำนักงานกระจายไปมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก โดยดำเนินธุรกิจอย่างหลากหลาย แบ่งเป็น 6 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ ท่าเรือและการบริการที่เกี่ยวข้อง การเงินและการลงทุน การค้าปลีก โครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน และโทรคมนาคม”
บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จำกัด
มร.สตีเฟ้นท์ อาร์ชเวิรท กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทย และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“สำหรับศักยภาพของ ฮัทชิสัน พอร์ท กรุ้ป เรามีเครือข่าย Worldwide เป็นท่าเทียบเรือ 52 แห่ง ทั่วโลก กระจายอยู่ใน 26 ประเทศทั่วโลก ทั้งในเอเชีย ตะวันออกกลาง อาฟริกาใต้ ยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย โดยในปี 2020 ทางฮัทชิสัน พอร์ท ได้ให้บริการครอบคลุมในระดับโลกถึง 11 เปอร์เซ็นต์ Global Container Volume”
“และในส่วนของ กลุ่มบริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT) ในปี 2020 ที่ผ่านมา เราได้รองรับการขนส่งตู้สินค้าได้มากกว่า 3 ล้าน TEU โดยคิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ ของส่วนแบ่งการตลาดทั้งหมดของประเทศไทย บริษัทฯ มีการจ้างงานมากกว่า 1,300 ตำแหน่ง มีการใช้งานปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าจำนวน 23 คัน ในท่าเทียบเรือต่างของบริษัท HPT เป็นผู้ประกอบการด้านท่าเทียบเรือขนถ่ายตู้สินค้าที่ใหญ่ที่สุดในท่าเรือแหลมฉบัง และวางแผนที่จะขยายศักยภาพการดำเนินงานของท่าเทียบเรือต่างๆ โดยมีเป้าหมายประมาณ 6.75 ล้าน TEU ภายใน 2-3 ปีข้างหน้านี้”
“ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย ท่าเรือแหลมฉบัง ถือว่าเป็นท่าเรือหลักของประเทศ และยังเป็นประตูหลัก ( Main Gateway) ของการนำเข้า-ส่งออกของประเทศ ในปี 2563 ท่าเรือแหลมฉบังมีตู้สินค้าผ่านท่าถึง 7.6 ล้าน TEU จากปริมาณตู้สินค้าทั้งหมดของประเทศไทย 10.5 ล้าน TEU และถือเป็นท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 20 ของโลก และอันดับที่ 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จำกัด

ศักยภาพของ ท่าเรือแหลมฉบัง เปรียบเทียบกับท่าเรือต่างๆ ในประเทศอาเซียน

ประเด็นต่อมา มร.สตีเฟ้นท์ อาร์ชเวิรท ยังได้ให้อัปเดตความรู้เพิ่มเติมถึงศักยภาพของท่าเรือที่อยู่ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งท่าเรือแหลมฉบังของไทยที่มีความใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในกลุ่มประเทศอาเซียน ด้วยว่า
“ท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคนี้ คือ ท่าเรือ Port of Singapore ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่า ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็ก ทำไมจึงมีท่าเรือขนส่งสินค้าและคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาคได้”

“นั่นเพราะ ท่าเรือของสิงคโปร์ จัดอยู่ในท่าเรือประเภท Transshipment container terminal เป็นท่าเรือสำหรับเรือขนส่งจากทางยุโรป อเมริกา มาขนถ่ายสินค้าเปลี่ยนเรือ ไปยังประเทศที่สาม ซึ่งต่างจากประเทศไทย ที่เป็นท่าเรือหลักสำหรับการนำเข้าและส่งออกจริงๆ เพราะสินค้าและคอนเทนเนอร์นั้นจะถูกนำเข้าจากประเทศต่างๆ มาที่ประเทศไทย ขณะที่มีการส่งออกสินค้าและคอนเทนเนอร์จากไทยไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกโดยมีต้นทางอยู่ที่ท่าเรือแหลมฉบัง”

“ที่ผ่านมา มีเรือขนส่งตู้สินค้ามากกว่า 500 ลำ เลือกใช้บริการจาก HPT ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นเรือขนส่งตู้สินค้าที่มีขนาดใหญ่พิเศษ (Ultra Large Container Vessel) มีระวางบรรทุกตู้สินค้ามากกว่า 12,500 TEU”
“และในปีเดียวกันนี้ HPT ได้ทำการขนถ่ายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินให้กับโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT และขนถ่ายรถไฟฟ้าระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติให้กับโครงการรถไฟฟ้า BTS สายสีทอง รวมถึงการสนับสนุนการขนถ่ายชิ้นส่วนก่อสร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันลงบนเรือขนส่งสินค้าแบบพิเศษด้วย”

บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จำกัด

จากนั้น เป็นการอัปเดตสำคัญ ที่เปรียบเทียบให้เห็นศักยภาพของ ท่าเรือแหลมฉบัง กับท่าเรืออื่นๆในอาเซียน ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2020 ถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงกิจการท่าเรือขนส่งสินค้าด้วยเช่นกัน
“ถ้าเปรียบเทียบ กิจการท่าเรือในประเทศในภูมิภาคอาเซียน ตั้งแต่ ท่าเรือแหลมฉบังของไทย, ท่าเรือในกรุงย่างกุ้ง เมียนมา, ท่าเรือในจาร์กาตา อินโดนีเชีย, ท่าเรือในมาเลเชีย และท่าเรือในเวียดนาม ในกลุ่มท่าเรือที่กล่าวมานี้ ท่าเรือในย่างกุ้ง เมียนมา มีอัตราการเติบโตติดลบอย่างชัดเจนตั้งแต่ในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา”
“โดยในปี 2020 มีอัตราติดลบ -1.5 เปอร์เซ็นต์ และในปี 2021 ในช่วงครึ่งปีแรก มีอัตราการเติบโตติดลบสูงถึง -42.5 เปอร์เซ็นต์ สาเหตุหลักมาจากวิกฤตการเมืองในประเทศเมียนมา”
“ขณะที่สัดส่วนการเติบโตของ ท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย ในปี 2020 ตกลงมาติดลบ -5.5 เปอร์เซ็นต์ ทว่า ในช่วงปี 2021 ที่ผ่านมา กลับมีอัตราเติบโตบวกถึง 14.9 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ไม่ต่างกันในประเทศอย่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย”
“สาเหตุเป็นเพราะในช่วงต้นของวิกฤตโควิดเมื่อปีที่แล้ว ก็มีหลายท่าเรือปิดให้บริการไปด้วย แต่ด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีต่างๆ ของแต่ละประเทศ ทำให้เกิดการขนส่งสินค้ามากขึ้นได้”
“แต่อัตราการเติบโตของกิจการท่าเรือที่น่าสนใจที่สุด คือ ประเทศเวียดนาม ที่กล่าวได้ว่าเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าในภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญในระดับที่ไม่ใช่แค่ของอาเซียนแล้ว แต่เป็นระดับเอเชีย ที่ไปเทียบกับทางจีนได้”
“เพราะที่เวียดนามเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตแบรนด์ชื่อดังหลายแบรนด์ เช่น ซัมซุง อะดิดาส ซึ่งแม้ในปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตโควิด-19 ระบาดทั่วโลก แต่ในท่าเรือที่เวียดนาม ยังมีอัตราการเติบโตสูงถึง 17.9 เปอร์เซ็นต์ และมาในปี 2021 นี้ มีอัตราการเติบโตสูงถึง 44.4 เปอร์เซ็นต์ ทีเดียว”

“ต่อมา สำหรับสินค้าส่งออกของประเทศไทยที่ส่งไปทั่วโลก ทั้งในอเมริกา ญี่ปุ่น ผ่านท่าเรือแหลมฉบัง ในช่วงครึ่งปีแรก 2021 มีตัวเลขที่น่าพอใจมาก โดยสินค้าที่ส่งออกไป 5 อันดับแรก ก็มี ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์  ที่มีอัตราส่งออกสูงถึง 55.46 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาเป็น เครื่องป้อนข้อมูลคอมพิวเตอร์, ผลิตภัณฑ์จากยาง, ผลิตภัณฑ์โพลีเมอร์ เอทิลีน และ โพรพิลีน และผลิตภัณฑ์เคมิคอล ซึ่งตัวเลขการส่งออกที่มีแนวโน้มที่ดีนี้เป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะกระตุ้นอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยให้ค่อยๆกลับมาเพิ่มขึ้นในช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดยังไม่คลี่คลายนี้”
“นอกจากนั้น ที่ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ยังมีความโดดเด่นที่เราให้ความสำคัญนอกเหนือจากการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษาแล้ว นั่นคือ ประเด็นเรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียมกันของบุคลากร โดยในตอนนี้ มีจำนวนพนักงานหญิงทำงานในองค์กรของเรากว่า 15 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานทั้งหมด รวมทั้งในตำแหน่งคนขับรถบรรทุกหญิงด้วย”

บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จำกัด

เจาะความโดดเด่น นวัตกรรมการจัดการท่าเทียบเรือสินค้าและคอนเทนเนอร์ ฮัทชิสิน พอร์ท ประเทศไทย

ดังที่เกริ่นไว้ว่า ในการแถลงข่าวครั้งนี้ ยังได้มีการอัปเดตเกี่ยวกับ การสร้าง ‘ท่าเทียบเรือสินค้าและคอนเทนเนอร์’ Terminal D ของ ฮัทชิสิน พอร์ท ประเทศไทย ที่ มร.สตีเฟ้นท์ อาร์ชเวิรท ได้เทียบให้เห็นถึงความใหญ่มหึมาไว้ว่า “เทียบเท่าได้กับสนามโอลด์แทรฟฟอร์ด ของสโมสรฟุตบอลทีมแมนยูไนเต็ด 4 สนาม” ทีเดียว ซึ่งนอกเหนือจากความใหญ่โตแล้ว ที่ Terminal D นี้ ยังมีการบริการจัดการด้วยนวัตกรรมล้ำสมัย ซึ่ง อาณัติ มัชฌิมา ประธานบริหารงานทั่วไป บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท (ประเทศไทย) จำกัด อัปเดตให้ฟังว่า
“สำหรับ Terminal D เรือลำแรกที่เข้ามาเทียบท่าในเดือนมิถุนายน ปี 2018 เป็นเรือขนาดใหญ่ ที่เข้ามาเปิดการใช้เครนขนาดใหญ่ที่ติดตั้งอยู่ที่ Terminal D นี้ ซึ่งเป็นเครนขนาดใหญ่ที่สุดที่มีในโลก จนมาในเดือนมกราคม 2019 เป็นการเปิดท่าเทียบเรือ Terminal D เป็นครั้งแรก”
“และที่ ท่าเรือ Terminal D นี้ก็สามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ที่มีความยาว 399 เมตร มีระวางบรรทุกตู้สินค้า 14,000 ตู้สั้น ถัดมาเป็นเรือขนาด 366 เมตร โดยเรือที่จะมาเข้าในท่าเทียบเรือ Terminal D ของเรานั้น จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้การขนส่งมีประสิทธิภาพทั้งในเรื่อง Economic of scale ที่คุ้มค่า และ Scope ซึ่งจุดเด่นนี้ตอบโจทย์ลูกค้าสายเดินเรือทั่วโลก ที่จะเข้ามาใช้บริการท่าเทียบเรือที่ไทยมากขึ้น”
บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จำกัด
อาณัติ มัชฉิมา ประธานบริหารงานทั่วไป บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท (ประเทศไทย) จำกัด
“ดังนั้นการที่เราสร้าง ท่าเทียบเรือ Terminal D ให้มีขนาดใหญ่ และมีขีดความสามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ในระดับโลก นับเป็นการนำเสนอนวัตกรรมท่าเทียบเรือสินค้า เปิดโลกทัศน์ด้านอุตสาหกรรมท่าเทียบเรือสินค้าและคอนเทนเนอร์ให้ประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยได้อยู่ในชั้นแนวหน้าของการทำธุรกิจท่าเทียบเรือในภูมิภาคได้ในอนาคตอันใกล้”

“นวัตกรรมสำคัญ ที่เราใช้ในท่าเทียบเรือของ ฮัทชิสัน พอร์ท คือ เครื่องมือยกตู้สินค้าในลานและหน้าท่า โดยใช้ระบบการควบคุมระยะไกลจากอาคารสำนักงาน โดยการนำสัญญาณไฟเบอร์ออฟติก และมีแบ็คอัพโดยใช้ Wifi และเมื่อเร็วๆ นี้เรามีการทดลองการใช้เทคโนโลยี 5G ในไทยด้วย”

“ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ได้รับคัดเลือกให้เป็น Experimental and living center ของ ฮัทชิสัน พอร์ท กรุ้ป ซึ่งศูนย์เรียนรู้และทดลองนี้ เราจะเห็นว่า เทคโนโลยีที่เรานำมาใช้ในปัจจุบัน มีทั้งเรื่องของ Remote control equipment และมีเรื่องของเทคโนโลยีต่างๆเป็นระบบใหม่ ที่คนไทยเองมีความสามารถในการพัฒนา”
“และมีเรื่องที่น่าภาคภูมิใจ คือ ทาง ฮัทชิสัน พอร์ท กรุ้ป เองก็มีความสนใจที่จะนำโมเดลเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จในท่าเรือที่ไทยไปใช้ในอีก 52 พอร์ท นี่เป็นบทพิสูจน์ว่าคนไทยมีความสามารถไม่แพ้ชาติใด”
“สำหรับ Terminal D ในตอนนี้ พื้นที่ส่วนหน้าท่า เรามีความพร้อมในพื้นที่ส่วนหน้าท่าที่จะรับเรือในขนาด 1,700 เมตร และในส่วนงานตู้สินค้ากำลังดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าในอีกไม่เกิน 2-3 ปี จะมีความเรียบร้อยในการสร้างพื้นที่วางตู้สินค้าในส่วนหลังท่า”

บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จำกัด

“ส่วนพื้นที่จอดเรือ เราเตรียมพื้นที่ให้มีความลึกขนาด 16 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง รวมเบ็ดเสร็จแล้ว ขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าในพื้นที่ D1 D2 D3 มีถึง 3.5 ล้าน TEU หรือ 3.5 ล้านตู้ (ขนาด 20 ฟุต) และจะทยอยติดตั้ง The shore crane ให้ครบ 17 cranes และมีเครื่องมือยกตู้สินค้าในลาน อีก 43 เครื่อง”
“นอกจากนั้น ยังมีนวัตกรรมรถบรรทุกขนส่งสินค้าในระบบไร้คนขับ ซึ่งถือว่าล้ำสมัยมาก โดยใช้ Smart AI ควบคุม และรถเหล่านี้ยังขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก และเรายังมีแผนว่าในปีหน้า จะนำรถที่ใช้ในระบบไฟฟ้ามาใช้งานเพิ่มเติมในท่าเทียบเรือของเราด้วย”
“ในการลงทุนด้านนวัตกรรม การบริหารจัดการที่กล่าวมานี้ เป็นการลงทุนมูลค่า 20,000 ล้านบาท ที่เรามองว่ามีความคุ้มค่าอย่างยิ่งเพราะนอกจากจะตอบโจทย์การพัฒนาธุรกิจท่าเรือขนส่งสินค้าแล้ว ยังเป็นการเติบเต็มอีกหนึ่งวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจของเรา ที่ต้องการธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนด้วย”
“อย่างไรก็ตาม เป้าหมายในการสร้างท่าเทียบเรือ เราต้องสร้างเพื่ออนาคต ไม่ได้สร้างแค่เพื่อรองรับเรือขนส่งสินค้าในปัจจุบันที่มีอยู่ในตลาด เพราะอายุการใช้งานของหน้าท่ามีถึง 50-100 ปี ถ้าจะมองย้อนเกี่ยวกับการสร้างท่าเรือในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาอย่างในประเทศอังกฤษ มีถึง 100 ปี ซึ่งนี่คือวิสัยทัศน์ของผู้ลงทุน ที่เป็นการลงทุนเพื่ออนาคตอย่างแท้จริง”
“นอกจากนั้น การใช้นวัตกรรมยังเพื่อการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ปลอดภัยและสะดวกให้กับบุคลากรที่ควบคุมเครื่องจักรในลานตู้สินค้าด้วย โดยพนักงานจะควบคุมเครนสินค้าจากหน้าจอมอนิเตอร์ซึ่งมีออปชันต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกให้พนักงานทำงานได้ง่ายขึ้น มีกล้อง CC TV โดยรอบกว่า 20 ตัว เพื่อให้มีมุมมองการทำงานที่ปลอดภัย”

บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จำกัด

“ตอนนี้ เครนหน้าท่า กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ทำงานด้วยระบบการมอนิเตอร์ ส่วนอีก 50 เปอร์เซ็นต์ ในการทำงานเพื่อส่งมอบตู้สินค้ายังต้องอาศัยคนทำงานอยู่ เนื่องจากจำนวนตู้และประเภทของตู้ที่แตกต่างกัน จึงต้องใช้คนคอยตรวจ คอยมอง”
“ปัจจุบัน ท่าเทียบเรือชุด D (Terminal D) ของ ฮัทชิสัน พอร์ท ยังรองรับการให้บริการด้วยปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งบริษัทฯ มุ่งมั่นในการทำธุรกิจเพื่อก้าวสู่การเป็นหนึ่งในท่าเทียบเรือตู้สินค้าแนวหน้าของโลก ที่ปฏิบัติงานด้วยปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่า” 
“และปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางซึ่งควบคุมการปฎิบัติงานจากระยะไกลพร้อมเทคโนโลยีอัตโนมัติอันทันสมัย  โดยภายในปี 2565 จะมีปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าเข้าประจำการที่ท่าเทียบเรือแห่งนี้อีก 4 คัน เพื่อเป็นการเสริมความมั่นใจได้ว่า HPT จะเป็นผู้ดำเนินกิจการท่าเทียบเรือที่สามารถรองรับเรือขนส่งตู้สินค้าที่มีขนาดใหญ่มากกว่า ULCV ได้”

บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จำกัด

ความต้องการบุคลากร ด้านการจัดการท่าเทียบเรือขนส่งสินค้าและตู้คอนเทรนเนอร์ ยังมีอย่างต่อเนื่อง

ประเด็นทิ้งท้ายที่น่าสนใจ ที่ มร.สตีเฟ้นท์ ได้ตอบไว้ คือ ความต้องการบุคลากรที่มาทำงานในกิจการท่าเทียบเรือขนส่งสินค้า ที่ในอนาคตเชื่อแน่ว่าจะมีดีมานด์เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความสามารถและทักษะในด้านนี้มารองรับ เพื่อตอบโจทย์อุปสงค์ที่มีมาจากต่างประเทศ
โดยในส่วนของการเทรนนิ่ง ทางบริษัทก็เปิดกว้าง พร้อมที่จะรับบุคลากรที่มีทักษะพื้นฐานด้านนี้เข้ามาเทรนนิ่งโดยบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Operation A ในส่วนของ Operator และที่สำคัญบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการจัดการเทคโนโลยี Autonomous และ Remote control หรือเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ ที่ในอนาคตจะมีการนำมาปรับใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วย

เรียนรู้การทำธุรกิจในภาวะวิกฤตจากหลากหลายแบรนด์

ฟังกูรู ‘ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย’ ชี้ทางรอดและโอกาสไปต่อ ที่มาพร้อมวิกฤต

เหตุใด “การขนส่งทางถนน” จึงเป็นโลจิสติกส์ที่ร้อนแรง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ถอดบทเรียนสร้างโอกาสในวิกฤต ‘Tune Protect Thailand’ มุ่งสู่ Digital Insurer ประกันเดินทาง-สุขภาพ ครบจบที่เดียว

Post Views: 1,789

  • TAGS
  • Hutchison Port
  • ท่าเทียบเรือสินค้าและคอนเทนเนอร์
  • ท่าเรือแหลมฉบัง

Previous articleเตรียมบรรจุ ‘แนวคิดสี จิ้นผิง’ ให้ชาวจีนยุคใหม่ได้เรียน สืบสานอุดมการณ์ สังคมนิยม สร้างชาติ

Next articleของหายได้คืน! เบื้องหลังสุดยอดบริการ Lost & Found ของญี่ปุ่น

บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จำกัด

Praornpit Katchwattana

https://www.salika.co

เริ่มต้นขีดเขียนในฐานะ สื่อมวลชน กับงานผู้สื่อข่าวประจำกองประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ในปี 2546 ก่อนไปหาประสบการณ์ชีวิตที่เมลเบิร์น ออสเตรเลียมา 1 ปี และกลับมายึดอาชีพ “นักเขียน” จริงจัง กับการเป็น กองบรรณาธิการนิตยสารชีวจิต 3 ปี หลังจากนั้นคิดว่าน่าจะเปลี่ยนสายไปทำงานในบริษัท PR agancy ได้ 6 เดือน เมื่อรู้ว่าไม่ถูกจริต เลยออกมาเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ประจำกองบรรณาธิการนิตยสารฟีลกู้ดอย่าง Happy+ อยู่ 1 ปี สัมภาษณ์ทั้งดาราและคนบันดาลใจ ก่อนเข้าสู่ระบบงานประจำอีกครั้งกับนิตยสาร MBA กับการเป็นนักเขียนที่รับผิดชอบในเซคชั่นหลักสูตร MBA ของสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ สั่งสมประสบการณ์อยู่ 3 ปี ก็ได้เวลา Upskill สู่งาน Online content writer ที่ใช้ความชอบและความหลงใหลในการถ่ายทอดเรื่องราวดีๆ ความรู้ใหม่ๆ ในยุค Education 4.0 อุตสาหกรรมทางการแพทย์ ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์