บุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

สถานประกอบการ หมายถึง สถานที่หรือส่วนของสถานที่ ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอยู่ในที่ ตั้งที่แน่นอน ไม่ว่ากิจกรรมนั้นจะดำเนินงานโดยบุคคลที่เป็นเจ้าของ หรือควบคุมกิจการโดยนิติบุคคลก็ตาม

สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT ได้จัดแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ศาสตร์คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ 2. กลุ่มสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์ อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์กำลัง อิเล็กทรอนิกส์ 3. กลุ่มสาขาวิชาสารสนเทศ ได้แก่ การจัดการระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ ระบบสารสนเทศทางการบัญชี คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออุตสาหกรรม ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติ วิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ วิทยาการสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศทางการจัดการ สารสนเทศศาสตร์ 4. กลุ่มสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ประยุกต์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรม วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ – มัลติมีเดีย 5. กลุ่มสาขาวิชาโทรคมนาคม ได้แก่ การบริหารโทรคมนาคม โทรคมนาคม วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม เทคโนโลยีโทรคมนาคม วิศวกรรมโทรคมนาคม 6. กลุ่มสาขาวิชาสถิติ ได้แก่ การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ สถิติศาสตร์ สถิติประยุกต์ สถิติคณิตศาสตร์

โดยทั่วไปภายในหน่วยงานหรือองค์การที่มีระบบคอมพิวเตอร์จะแบ่งบุคลากร เป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบ ฝ่ายโปรแกรม และฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ

ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบ

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่วางระบบงานคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับหน่วยงาน ซึ่งพิจารณาจากความต้องการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์(User) บุคลากรในฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบมีดังนี้

1.นักวิเคราะห์ระบบ(System Analyst)

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยศึกษาปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในระบบ ตลอดจนหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงระบบงานเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สาขาวิชาที่สนับสนุนการประกอบอาชีพนักวิเคราะห์ระบบ ได้แก่ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ นักวิเคราะห์ระบบแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.1 นักวิเคราะห์ระบบที่เป็นบุคลากรภายในองค์การ(Staff employee within the organization)

1.2นักวิเคราะห์ที่เป็นที่ปรึกษาภายนอก(Outside or external consultant)

นักวิเคราะห์ระบบจะต้องประสานงานกับโปรแกรมเมอร์ เพื่อให้โปรแกรมเมอร์สร้างงานได้ตรงกับที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มากที่ สุด นักวิเคราะห์ระบบควรมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์(Hardware)

โปรแกรมคำสั่งงาน(Software)

ระบบข้อมูลสารสนเทศ(Information System)

2.ผู้จัดการโครงการ(Project Manager)

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่บริหารโครงการให้ดำเนินไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ ในขณะที่โครงการดำเนินการอยู่นั้น ผู้จัดการโครงการจะต้องคอยควบคุมให้ระบบงานดำเนินไปอย่างปกติไม่ให้เกิดข้อ ผิดพลาดใดๆ

3.ผู้บริหารฐานข้อมูล(DBA: Database Administrators)

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลและจัดการเกี่ยวกับฐานข้อมูลที่เก็บรวบรวมข้อมูล ไว้ที่ศูนย์กลางให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกต่อการเรียกใช้ข้อมูล

4.ผู้จัดการฝ่ายสารสนเทศ(IT/IS Manager)

เป็นผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจในระบบบริหารขององค์กรเป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถจัดวางบุคลากรให้เหมาะสมกับตำแหน่งงาน

5.ผู้จัดการระบบเครือข่าย(System or Network Manager) ผู้บริหารระบบ(System Administrators) หรือผู้บริหารเครือข่าย(Network Administrators)

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาระบบเครือข่ายให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยแก้ปัญหาในกรณีที่ระบบเกิดขัดข้อง

ฝ่ายโปรแกรม

ฝ่ายโปรแกรม(Programing) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่รับระบบงานจากฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบจัดทำไว้มา เขียนโปรแกรม เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ออกแบบไว้ บุคลากรที่อยู่ในฝ่ายนี้ ได้แก่ โปรแกรมเมอร์(Programmer) เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาจาวา(JAVA) ภาษาซี(C) ภาษาวิชวลเบสิก(VISUAL BASIC) ภาษาเอสคิลแอล(SQL) และภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆที่สามารถสร้างโปรแกรมและมอดูลการทำงานเพื่อสั่งให้ คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โปรแกรมเมอร์แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ โปรแกรมเมอร์ระดับต้น(Junior Programmer) และโปรแกรมเมอร์ระดับอาวุโส(Senior Programmer) ในหน่วยงานที่มีขนาดใหญ่บางแห่งอาจแบ่งโปรแกรมเมอร์เป็นกลุ่มๆดังนี้

1.โปรแกรมเมอร์ด้านโปรแกรมระบบ(System Programmer)

ทำหน้าที่ดูแล ปรับปรุง และแก้ไขเกี่ยวกับโปรแกรมระบบ รวมไปถึงการจัดการ การดูแล และการตรวจสอบให้โปรแกรมระบบและโปรแกรมประยุกต์สามารถใช้งานร่วมกันได้

2.โปรแกรมเมอร์ด้านโปรแกรมประยุกต์(Application Programmer)

ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมเฉพาะงาน โดยมุ่งเน้นให้โปรแกรมนั้นเหมาะสมและตรงกับความต้องการของหน่วยงานมากที่สุด

3.โปรแกรมเมอร์ด้านการดูแลโปรแกรม(Maintenance Programmer)

ทำหน้าที่ดูแลและเก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับโปรแกรม และโปรแกรมที่ผ่านการทดสอบหรือโปรแกรมที่ใช้งานได้แล้ว

ฝ่ายปฏิบัติงานด้านเครื่องและบริการ

ฝ่ายปฏิบัติงานด้านเครื่องและบริการ(Operation and Service) ทำหน้าที่ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการจะต้องให้บริการด้านการใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมการทำงานและดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามระบบที่ฝ่ายโปรแกรมผลิต ขึ้นมา

1.เว็บมาสเตอร์(Web Master)

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่สร้างเว็บไซต์สำหรับเผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงานหรือ งอค์กรทางอินเทอร์เน็ต มีความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต สามารถใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เขียนหรือสร้างงานเกี่ยวกับโฮมเพจ เช่น ภาษาจาวา(JAVA) ภาษาเอเอสพี(ASP) และภาษาเอชทีเอ็มแอล(HTML)

2.ผู้ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์(Computer Trainer) หรือเทรนเนอร์(Trainer)

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ที่เข้ารับ การอบรม ผู้ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ที่ดีจะต้องมีความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และแสวงหาความรู้ให้ทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา

3.ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงฮาร์ดแวร์(Hardware Maintenance Technician)

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาและซ่อมแซมคอมพิวเตอร์ เนื่องจากปัจจุบันคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่จำเป็นของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน จึงมีปัญหาในเรื่องความเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดไปยังระบบการทำงานได้

บุคลากร People หมายถึงอะไร

บุคลากร(People) หมายถึง คนที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆทางด้านบุคลากร ในองค์กรต้องให้ความสำคัญใน เรื่องบุคลากรเป็นสำคัญ เพราะบุคลากร เป็นทรัพยากรที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะ บุคลากรเป็นผู้ใช้และเป็นผู้สร้างสารสนเทศ ดูแลกำกับ ปกติบุคลากรทั้งองค์กรจะเกี่ยวข้อง

บุคลากรทางสารสนเทศมีใครบ้าง

บุคลากร (Peopleware).
ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User).
ผู้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter).
ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer).
ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis).
ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System Manager).

ใครมีหน้าที่ เป็นบุคลากรสารสนเทศที่อยู่สูงที่สุด

ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer : CIO) มีอำนาจหน้าที่ดูแลรับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในองค์กร ซึ่งหมายรวมถึงการดูแลเกี่ยวกับมาตรฐาน กฎเกณฑ์ โครงสร้าง งบประมาณ กระบวนการให้ความรู้ บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศ โดย CIO เป็นผู้ให้คำแนะนำแก่ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร (Chief Executive ...

ผู้ใช้ End

ผู้ใช้ขั้นปลายหมายถึง ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่คนอื่นสร้างหรือเขียนไว้แล้วมาใช้ (ไม่ได้เขียนโปรแกรมเอง)