โครง งาน นวัตกรรมลดโลกร้อน

โครง งาน นวัตกรรมลดโลกร้อน

เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการช่วยลดโลกร้อน

เป็นเวลากว่าหลายศตวรรษที่มนุษย์ได้มีการคิดค้นและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อดำเนินกิจกรรมและผลักดันให้โลกเข้าสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี โดยใช้ความรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ มาปรับปรุงแก้ไขเทคนิค วิธีการ กระบวนการทำงานเพื่อพัฒนาสู่มนุษย์รุ่นถัดไปอย่างต่อเนื่องมาจวบจนถึงปัจจุบัน

.

เมื่อมีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ในไม่ช้าสิ่งเหล่านี้จะถูกปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสะดวก รวดเร็ว ง่ายต่อการใช้งาน ทันสมัย รวมทั้งมีต้นทุนที่ลดลง

.

ในปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, Governance : ESG)” กำลังเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง โดยมุ่งให้เกิดผลกระทบทางบวกใน 3 ประเด็นดังกล่าว ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจลงได้

.

Climate tech start-ups หรือเทคโนโลยีที่จะควบคุมหรือลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำลังเป็นสิ่งที่ผู้คนในวงการเทคโนโลยีและองค์กรธุรกิจ อาจแบ่งได้เป็น 2 ด้าน ดังนี้

1.ด้านคมนาคมขนส่ง

  • รถยนต์ไฟฟ้า นับเป็นการนำเทคโนโลยีใหม่ โดยใช้พลังงานไฟฟ้าทดแทนการใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิลหรือน้ำมันเชื้อเพลิง
  • โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีชั่วโมงที่แสงแดดส่องถึงอย่างยาวนานติดต่อกันหลายชั่วโมง
  • นวัตกรรมด้านแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถกักเก็บแบตเตอรี่ได้ยาวนานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

2.ด้านอาหาร การเกษตร และการใช้ที่ดิน

  • โปรตีนทางเลือก เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ช่วยลดกระบวนการทางด้านปศุสัตว์ ลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทน (Methane : CH4)
  • การทำฟาร์มแนวตั้งและในเมือง มีประโยชน์ในการเพิ่มพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจและการสร้างสภาพแวดล้อมที่สวยงามภายในเมือง

.

ถัดมา จากข้อมูลของ TNN Online (2022) ได้เผยข้อมูลการคาดการณ์มูลค่าเงินลงทุนใน Climate Technology ปี 2021-2025 ดังนี้

  • ยานยนต์ไฟฟ้า (Electrification) 700-1,000 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ภาคการเกษตร (Agriculture) 400-600 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • โครงข่ายไฟฟ้า (Power grid) 200-250 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • เทคโนโลยีไฮโดรเจน (Hydrogen) 100-150 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  • การดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน (Carbon capture) 10-50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

.

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ช่วยลดโลกร้อนในปัจจุบันเป็นที่นิยมและใช้อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ทั้งยังมีต้นทุนที่ลดลง ซึ่งประเด็นเรื่องของต้นทุนยังคงมีความสัมพันธ์ต่อการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทั้งในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ถ้าหากต้นทุนมีราคาลดลง ความต้องการและการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเพิ่มมากยิ่งขึ้น

.

สำหรับในประเทศไทย การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในปัจจุบัน เป็นเทคโนโลยีในการช่วยลดโลกร้อนที่มีความโดดเด่นทั้งมีต้นทุนลดลงกว่าช่วงเริ่มต้นถึงกว่า 90% อีกทั้งศักยภาพของประเทศไทยทั้งสภาพอากาศ การมีแสงแดดส่องถึงยาวนานติดต่อกันหลายชั่วโมง

.

นอกจากนี้ยังมี เทคโนโลยีและนวัตกรรมอื่น ๆ ที่มีความหลากหลาย สามารถเป็นทางเลือกให้กับบุคคล หน่วยงานหรือองค์กรที่มีความห่วงใยสิ่งแวดล้อม เช่น การเกษตรแม่นยำ เทคโนโลยีลดของเสียจากอาหาร การผลิตเหล็ก, เหล็กกล้าที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน

.

สิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนเพื่อพัฒนาองค์กรที่คำนึงถึงส่วนรวม เมื่อทุกภาคส่วนร่วมมือ ส่งเสริม และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะช่วยลดโลกร้อนเหล่านี้อาจทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย NDC ที่ร้อยละ 40 ได้ตามเป้าหมาย ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมโลกในปัจจุบัน ที่นานาประเทศทั่วโลกกำลังตื่นตัวอย่างกว้างขวาง หากเริ่มต้นช้าอาจเป็นผลเสียต่อความร่วมมือทางการค้าที่อาจมีการกีดกันทางการค้าสำหรับประเทศที่ไม่อาจผลิตสินค้าส่งออกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

.

.

HiddenChess เขียน

เอกสารอ้างอิง

TNN Online. เปิดเทรนด์ เทคโนโลยีลดโลกร้อน (ออนไลน์). สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2565, จาก

Library website Login

Username:

Password:

โครง งาน นวัตกรรมลดโลกร้อน

  • Advanced
  • Basket: 0 items

Search in search for

Panyapiwat Institute of Management Library

  Back to results

  • Cite
    • Export to RefWorks
    • Export to EndNote
    • Export to MARC
    • Export to RDF
    • Export to BibTeX
    • printer
  • Add to Favorites
  • Share
  • Place Hold
  • Add to Basket

Main Author ธิติ แจ่มนามLanguageThai
Published กรุงเทพมหานคร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 2558

Access

Available online

  • Read Online

Subjects

บัตร 7- Card
ถุงผ้าลดโลกร้อน

Bibliographic information

Publication date2558

Similar Items

  • โครงงานนวัตกรรม บัตร One Smart Card Author: นายณัตพล สมประยูร
  • โครงงานนวัตกรรม App 7 – Card เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้บัตรและผลักดันยอดขาย Author: ชาญรัตน์ สมพงษ์ผึ้ง
  • โครงงานนวัตกรรม ถุงใจกว้าง Author: สุนิษา สารธิราช
  • โลกร้อน สถานการณ์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ Author: ชัยวัฒน์ คุประตกุล
  • ทางเลือกในการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งผลิตเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน Author: กษิดิศ หนูทอง

Librarian view