การ คืน เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กสิกร

ภาพหน้าจอ iPhone

K-My PVD (Provident Fund)
บริการ Online สำหรับสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลต่างๆของสมาชิก
- สถานะเงินกองทุนของสมาชิก
- รายการเคลื่อนไหวเงินกองทุนของสมาชิก
- ใบแจ้งยอดเงินสมาชิก

มีอะไรใหม่

General bug fixes and performance improvements.

การจัดอันดับและความเห็น

2.1 จาก 5

135 รายการจัดอันดับ

เข้าใช้งานไม่ได้ ios 15.4

เกิดข้อผิดพลาด SSL และไม่สามารถสร้างการเชื่อมต่อแบบปลอดภัยกับเซิร์ฟเวอร์ได้

เข้าไม่ได้ครับ

เข้าไม่ได้เลย หลายวันแล้ว
ลองลบ ลงใหม่ก็เข้าไม่ได้เลย

App เข้าไม่ได้

App เข้าไม่ได้หลังจาก update IOS 16.0.2

ความเป็นส่วนตัวของแอป

นักพัฒนาแอป Kasikorn Asset Management Co., Ltd. ได้ระบุว่าแนวปฏิบัติด้านความเป็นส่วนตัวของแอปอาจรวมถึงการจัดการข้อมูลตามที่อธิบายไว้ด้านล่างสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ให้ดูที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวของนักพัฒนา

ไม่ได้เก็บข้อมูล

นักพัฒนาไม่ได้เก็บข้อมูลใดๆ จากแอปนี้

แนวทางปฏิบัติด้านความเป็นส่วนตัวอาจแตกต่างกันไป เช่น ตามคุณสมบัติที่คุณใช้หรือตามอายุของคุณ เรียนรู้เพิ่มเติม

ข้อมูล

ผู้เผยแพร่

KASIKORN ASSET MANAGEMENT COMPANY LIMITED

ขนาด

58.1 MB

ประเภท

การเงิน

ใช้ได้กับ iPhone ต้องมี iOS 12.0 หรือใหม่กว่า iPod touch ต้องมี iOS 12.0 หรือใหม่กว่า

เหมาะสำหรับอายุ

4+

ลิขสิทธิ์

© 2019 Kasikorn Asset Management

ราคา

ฟรี

  • บริการช่วยเหลือเกี่ยวกับแอป
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว

  • บริการช่วยเหลือเกี่ยวกับแอป
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว

เพิ่มเติมโดยนักพัฒนารายนี้

การ คืน เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กสิกร

คุณอาจจะชอบ

ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของกสิกรกี่วันถึงจะได้เงินคืนครับ

กระทู้คำถาม

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ธนาคารกสิกรไทย มนุษย์เงินเดือน

ตามหัวข้อเลยครับ ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทที่ทำงานอยู่กี่วันถึงจะได้รับเงินคืนครับ ผมลาออกจากกองทุนของบริษัทเมื่อตอนสิ้นเดือนสิงหา นี่ก็ครบ 45 วันแล้วแต่ยังไม่ได้เงินคืนเลยครับ อยากทราบว่าอีกนานมั้ยครับกว่าจะได้เงินส่วนนี้ ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้าครับ

0

0

การ คืน เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กสิกร

สมาชิกหมายเลข 2927120

​​​​PVD มีดี มากกว่าที่คิด

          กองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือที่เรียกสั้นๆ ว่า PVD นั้น หลายคนอาจจะไม่ค่อยนึกถึงหรือให้ความสำคัญกับสิ่งนี้สักเท่าไหร่ ทั้งๆ ที่ PVD นั้น มีความสำคัญและมีประโยชน์กับเราอย่างมาก แต่กว่าที่เราจะเห็นถึงประโยชน์ก็อาจจะเป็นตอนที่เราอยู่ในช่วงท้ายของชีวิตการทำงานแล้ว จะดีกว่าไหม ถ้าเราหันมาให้ความสำคัญและบริหารจัดการให้เงินใน PVD ของเราเริ่มทำงานตั้งแต่วันนี้ รายละเอียดจะเป็นอย่างไร K-Expert มีคำแนะนำในเรื่องนี้มาฝาก​

• ก่อนอื่นผู้เขียนมีเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนใน PVD มาเล่าให้ฟังค่ะ 

o เนื่องจากช่วงเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา ผู้เขียนทำงานบริษัทและได้มีการหักเงินเดือนส่วนหนึ่งเข้าไปเก็บสะสมไว้ใน PVD มาตลอดและเป็นการสะสมเงินในลักษณะขั้นบันได(ทยอยเพิ่มอัตราสะสมตามอายุงาน) ซึ่งผู้เขียนก็สะสมไป แต่ไม่เคยสนใจมาก่อนว่ากองทุนเอาเงินไปลงทุนอะไร จะได้รับผลตอบแทนเท่าไหร่ จนกระทั่งได้ยินเพื่อนๆ บ่นว่า “ทำไมปีนี้ได้กำไรน้อยลง” ผู้เขียนจึงถามว่า ทำไมแต่ละปีถึงได้กำไรมากน้อยแตกต่างกัน จึงได้คำตอบว่า การที่เราหักเงินไปเก็บสะสมทุกเดือนใน PVD นั้น สามารถนำไปลงทุนในนโยบายการลงทุนแบบอื่นๆ นอกจากตราสารหนี้ได้ด้วย เช่น ตราสารทุน เหมือนกับเพื่อนที่เลือกนโยบายการลงทุนในตราสารทุนแล้วกองทุนทำกำไรให้ โดยบางปีกำไรสูงถึง 10% ด้วยกัน ในขณะที่ผู้เขียนเพิ่งมาทราบภายหลังว่าลงทุนในตราสารหนี้นั้นได้กำไรเฉลี่ยแล้วแค่ปีละประมาณ 2%-3% เท่านั้นเอง ทำให้จำนวนเงินสะสมของผู้เขียนและเพื่อนมีความแตกต่างกันอย่างมาก นี่จึงเป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนเห็นว่าการสะสมเงินใน PVD นั้น เราสามารถบริหารให้เงินเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับเงินสะสมในช่วงบั้นปลายชีวิตของเรา

          o แล้วคุณทราบหรือไม่ว่าในระหว่างทางที่เราเก็บเงินสะสมเข้าไปทุกเดือนๆ นั้น เงินของเราไม่ได้ถูกเก็บไว้เฉยๆ เพราะเงินส่วนนี้จะถูกนำไปลงทุนตามนโยบายการลงทุนที่เราได้เลือกไว้ โดยมีผู้จัดการกองทุนซึ่งเป็นมืออาชีพเป็นผู้บริหารจัดการเงินลงทุนให้เรา ซึ่งในปัจจุบันหลายบริษัทได้เปิดโอกาสให้ลูกจ้างได้เลือกรูปแบบหรือนโยบายการลงทุนที่เรียกว่า “Employee’s Choice” ทำให้สามารถเลือกแผนการลงทุนได้ว่าจะให้มีสัดส่วนของสินทรัพย์ลงทุนเท่าไหร่บ้าง โดยหลักๆ แล้วจะมีการลงทุนทั้งหมด 3 รูปแบบด้วยกันคือ เน้นลงทุนในตราสารทุน เน้นลงทุนในตราสารหนี้ และลงทุนผสมระหว่างตราสารทุนและตราสารหนี้ แต่จากสถิติที่ผ่านมาการลงทุนในตราสารทุนมักจะให้ผลตอบแทนในกรณีที่ถือลงทุนระยะยาวได้สูงสุด แต่ก็มีโอกาสขาดทุนได้สูงเช่นกัน​

​         o สำหรับอาวุธลับที่ทำให้เงินสะสมใน PVD มีโอกาสถึงเป้าหมายสูงขึ้นนั้น การเลือกสะสมต่อเดือนให้เหมาะสม โดยเราสามารถสะสมได้ตั้งแต่ 2%-15% ของเงินเดือนขึ้นกับนายจ้าง เมื่อพิจารณาจากรายรับรายจ่ายแล้ว แนะนำให้สะสมเงินใน PVD ให้มากที่สุดเท่าที่เราจ่ายไหว เพราะจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราสะสมเงินได้มากและมีเงินเก็บเพียงพอไว้ใช้ในวัยเกษียณ

• ประโยชน์ของ PVD มีอะไรบ้าง

o สร้างวินัยการเก็บเงินอย่างสม่ำเสมอแบบกึ่งบังคับนิดๆ เพื่อไว้ใช้ในยามเกษียณ 

o เงินเก็บของเราได้รับการบริหารจัดการโดยมืออาชีพ

o ใช้เป็นค่าลดหย่อนทางภาษีได้​

• ในส่วนของสิทธิประโยชน์ทางภาษีของ PVD นั้นมีดังนี้

• 1. เงินสะสมที่เราจ่ายไปทุกเดือนสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินเดือน และสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท 

• 2. เงินที่เราได้รับจากกองทุน ส่วนที่เป็นเงินสะสมจะได้รับยกเว้นภาษี แต่สำหรับเงินสมทบ ผลประโยชน์เงินสะสม และผลประโยชน์เงินสมทบนั้น จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีก็ต่อเมื่อออกจากงานเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และอายุงาน 5 ปีขึ้นไป

• กรณีออกจากงานก่อนอายุ 55 ปี จะเลือกขอคงเงิน หรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจำนวนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(ขึ้นอยู่กับนายจ้าง) หรือโอนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพสำหรับ PVD เพื่อรออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

• นอกจากเงินสะสมของเราแล้ว นายจ้างเองก็จ่ายเงินสมทบร่วมด้วยในทุกเดือนเช่นกัน ซึ่งถือเป็นสวัสดิการที่นายจ้างมอบให้แก่ลูกจ้าง ส่วนนายจ้างจะจ่ายเงินสมทบให้ลูกจ้างเท่าไร ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท เงินในส่วนนี้จึงเป็นเงินเก็บที่ในบางครั้งเราอาจจะลืมไปว่าสามารถกลายมาเป็นเงินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งที่จะเอาไว้ใช้ในอนาคตได้​

          จะเห็นได้ว่า เงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นเป็นเงินก้อนหนึ่งที่เราไม่ควรละเลยที่จะกลับมาทบทวนการลงทุนในทุกๆ ปี รวมถึงทุกช่วงอายุของเราที่เปลี่ยนแปลงไปทุกๆ ปีด้วย เพื่อไม่ให้เสียโอกาส เสมือนกับเรามีการปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนของเราเวลาที่นำเงินไปลงทุนในช่องทางอื่นๆ และยังเป็นตัวช่วยในการเก็บเงินสม่ำเสมอได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่ลืมที่จะบริหารเงินทุกๆ ส่วนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดก็จะทำให้เป้าหมายการเก็บเงินเพื่อเอาไว้ใช้ตอนเกษียณของเราประสบความสำเร็จได้

บทความที่เกี่ยวข้อง :

- ดีอย่างไรเมื่อออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ​

- เก็บเงินผ่าน PVD และ RMF พอหรือไม่สำหรับใช้ในยามเกษียณ​