บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จํากัด

"สำหรับเคซีจี การสร้างสรรค์อาหารนั้นเป็นมากกว่าเพียงการผสมผสานวัตถุดิบดีๆ ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพ เพราะแท้จริงแล้วหัวใจหลักนั้นคือการสร้างสรรค์รสชาติแห่งชีวิตให้กับผู้คนทุกเพศทุกวัย ทั้งภายในประเทศและทุกภูมิภาคทั่วโลก นับตั้งแต่ก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด กิมจั๊วพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2501 จวบจนวันนี้กว่า 60 ปี เราได้พัฒนา องค์ความรู้ ศักยภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีในการผลิตและขนส่งอาหารชั้นนำมากมาย สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ที่อยู่คู่ชาวไทยกว่า 2,000 ชนิด ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของพันธมิตรทางธุรกิจทั้งใน และต่างประเทศ จนได้รับการยอมรับจากหลายภาคส่วนให้เป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำทางด้านอาหารของไทย เพื่อยืนยันความเป็นหนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมประเภทอาหารที่ผลิตจากนมของประเทศไทย กลุ่มบริษัทในเครือ เคซีจี คอร์ปอเรชั่น ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนา สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ขององค์กร อาทิ "อิมพีเรียล" และ "อลาวรี่" รวมทั้งพร้อมสนับสนุนพันธมิตรทางธุรกิจของเราในด้านต่างๆ เพื่อความก้าวหน้าทางด้าน นวัตกรรมอาหาร และยกระดับความสุขในการบริโภคของคนไทย


บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้นำด้านอาหารตะวันตกของประเทศไทย ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ อิมพีเรียล และ อลาวรี่ ตอกย้ำการเป็นผู้สร้างสรรค์ความรื่นรมย์ให้รสชาติ ยกทัพจัดขบวน ขนสินค้าแบรนด์ดังครั้งใหญ่กว่า 22 แบรนด์ดังจาก 10 ประเทศทั่วทุกมุมโลก ร่วมงานออกร้านคณะภริยาทูต ครั้งที่ 55 (The 55th Diplomatic Red Cross Bazaar) เพื่อหารายได้สบทบทุนสภากาชาดไทย

บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จํากัด

บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จํากัด
บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จํากัด

นายตง ธีระสุรณ์กิจ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด

นายตง ธีระสุรณ์กิจ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า “ เคซีจี เรายึดมั่นในการดำเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์และตอบแทนสังคมผ่านการสนับสนุนกิจกรรมการกุศลอย่างต่อเนื่อง การร่วมออกร้านภริยาทูต ถือเป็นอีกหนึ่งในกิจกรรมการกุศล เพื่อหารายได้สมทบทุนสภากาชาดไทย ที่ทาง เคซีจี ให้การสนับสนุนต่อเนื่องมากว่า 10 ปี สำหรับสินค้าที่จัดจำหน่ายในงาน เป็นสินค้าที่เราได้คัดสรรมาจากแบรนด์ชั้นนำระดับโลกกว่า 10 ประเทศ เพื่อให้คนไทยได้มีความสุขและความรื่นรมย์ในการบริโภคสินค้า ที่ดีมีคุณภาพจากทั่วทุกมุมโลก “

โดยการร่วมออกร้านภริยาทูตในครั้งนี้ “เคซีจี” นอกจากยกขบวนสินค้าจาก 10 ประเทศทั่วทุกมุมโลก มาให้สายช็อปได้ช็อปเพลินพร้อมอิ่มบุญแล้ว ยังมีสินค้าราคาพิเศษที่นำมาลดกระหน่ำสูงสุดถึง 50% อาทิ ครัวซองค์ชั้นดีที่ผลิตจากเนย คอร์แมน (CORMAN) เนยอันดับหนึ่งจากประเทศเบลเยี่ยม, ฟรีโก้ (Frico) แบรนด์ชีสธรรมชาติที่ได้จากน้ำนมวัวพันธุ์พื้นเมืองคุณภาพสูงจากประเทศเนเธอร์แลนด์, เลอ แกล (Le Gall) แบรนด์เนยและครีมชีสสุดพรีเมียมที่ผลิตด้วยน้ำนมวัวจากแคว้นบริททานี แหล่งผลิตเนยจากน้ำนมวัวคุณภาพชั้นเลิศและมีชื่อเสียงที่สุดของประเทศฝรั่งเศส  และไอศกรีม Movenpick สัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ ไอศกรีมที่สร้างสรรค์รสชาติจากความพิถีพิถันและเอาใจใส่แบบชาวสวิส พร้อมโปรโมชั่นพิเศษในงานอีกมากมาย พลาดไม่ได้!! เพียง 4 วันเท่านั้น ระหว่างวันที่ 3-6 มีนาคม 2565 นี้ ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

สามารถติดตามข่าวสาร และ กิจกรรมดีๆจาก เคซีจี หรือ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่  www.kcgcorporation.com หรือ www.facebook.com/kcgcorporation


แชร์ :

      

KCGKCG CorporationThe 55th Diplomatic Red Cross Bazaarงานออกร้านคณะภริยาทูต ครั้งที่ 55เคซีจีเคซีจี คอร์ปอเรชั่น

3 ผู้บริหาร บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ KCG เผยผลการดำเนินธุรกิจในช่วง 2 ปีระหว่างเกิดโควิด โชว์แกร่งพอร์ตธุรกิจ พร้อมเดินหน้าทรานส์ฟอร์มกิจการ ผสานการทำงานผู้บริหารมืออาชีพและประสบการณ์อันเชี่ยวชาญของกลุ่มครอบครัว ลงทุนซื้อกิจการด้านเนื้อสัตว์และซีฟู้ดสร้างความหลากหลายธุรกิจ

บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จํากัด

ตง ธีระนุสรณ์กิจ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ KCG ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ อิมพีเรียล, อลาวรี่ และสินค้ากว่า 40 แบรนด์ที่คัดสรรจากทั่วโลก เผยถึงธุรกิจของเคซีจีในห้วงเวลาของโควิด-19 ไว้ว่า ไม่ว่าธุรกิจอะไรต่างก็ได้รับผลกระทบกับสถานการณ์โควิด-19

เคซีจี อยู่ในธุรกิจอาหารระดับกลางถึงบนจากผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้เองและนำเข้า โดยสัดส่วนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้เองมีการเติบโต ส่วนธุรกิจที่นำเข้าเติบโตเพียงระดับหนึ่ง เนื่องจากซัพพลายเชนขาดตอนในช่วงสถานการณ์โควิดที่เข้ามากระทบ สำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทยังเติบโตด้านยอดขายไม่ว่าจะเป็นเนย คุ้กกี้ วัสดุผลิตเบเกอรี่ ซึ่งเคซีจีเป็นผู้นำด้านวัตถุดิบหลักในด้านนี้ นอกจากนี้วัตถุดิบข้างเคียงไม่ว่าจะเป็นแป้งสาลี ช็อกโกแลต ใส้แยม ใส้คาสตาร์ต หรือยีสเพื่อทำขนมปังยอดขายยังเติบโตได้ดี

สำหรับในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา เทรนด์ด้านการบริโภคที่เกิดขึ้นคือคุณค่าของอาหารที่ได้บริโภคเข้าสู่ร่างกาย ขณะที่ผลิตภัณฑ์ของบริษัทยังได้ตอบโจทย์ผู้บริโภค เนื่องจากเคซีจีได้ศึกษาในเรื่องของเทรนด์ที่ผู้บริโภคต้องการมาโดยตลอด “บริโภคแล้วต้องเป็นประโยชน์ มีคุณค่าทางอาหารและโภชนาการ” ตง กล่าวย้ำและเสริมว่า

ที่ผ่านมาเคซีจีออกผลิตภัณฑ์ที่ลดความหวาน ความมัน ความเค็ม ซึ่งเทรนด์เหล่านี้ผู้บริโภคคุ้นเคยกันแล้ว แต่สิ่งที่อนาคตผู้บริโภคมองหาคืออาหารที่มาจากพืชธรรมชาติที่เรียกว่า Plant Base ที่มีรสชาติเหมือนเนื้อสัตว์, อาหารที่ส่วนผสมของกัญชง, อาหารที่ทานเข้าไปแล้วไม่สะสมไขมันที่เรียกว่า Medium-chain triglyceride โดยอาหารทั้ง 3 ประเภทนี้เราได้นำเข้ามาและเปิดตัวในงาน จาก ‘THAIFEX-ANUGA ASIA 2022’ ที่ผ่านมาและได้รับรางวัลด้านผลิตภัณฑ์ innovative product ประกอบไปด้วยเนยผสมน้ำมันกัญชง, Plant Base และ ผลิตภัณฑ์ KETO

“ผลิตภัณฑ์อินโนเวชั่นของเรามีการพัตนาอย่างต่อเนื่อง เรามีศูนย์ KCG Excellence เป็นศูนย์พัฒนาและค้นคว้าทางด้านนวัตกรรม และเรายังมองไปในอนาคตโดยเรารุกเข้าสู่กลุ่มอาหารเนื้อสัตว์และอาหารทะเล อย่างล็อบสเตอร์เป็นๆ เป็นต้น โดยเราเข้าไปเทคโอเวอร์ อินโดกูนา (ประเทศไทย) บริษัทแห่งนี้ แม้ไม่ใช่บริษัทใหญ่ เพราะฉะนั้นจะเห็นได้เราเริ่มขยับขยายหมวดการเติบโตด้านอาหาร”

บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จํากัด

ตง กล่าวเสริมถึงการบริหารจัดการภายในบริษัทด้วยว่า “บริษัทเราเริ่มต้นมาจากครอบครัว และเดินหน้าธุรกิจครอบครัวโดยนำมืออาชีพจากภายนอกเข้ามาบริหารมีซีอีโออย่าง ดร.วาทิต ที่เข้ามาทำงานเป็นเวลา 3 ปี รวมไปถึงตำแหน่งระดับบริหารอื่นๆ ทำให้ เคซีจีมีการบริหารที่ผสมผสานจากกลุ่มผู้บริหารมืออาชีพและกลุ่มผู้บริหารของครอบครัวรวมถึงทายาทธุรกิจที่เตรียมเข้ามาบริหารงานตอนนี้บริษัทของเราอยู่ในช่วงทรานส์ฟอร์มองค์กรและกำลังเดินหน้าปรับเปลี่ยนองค์กรในไม่ช้า”

บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จํากัด

จากซ้าย: วาทิต ตมะวิโมกษ์, ตง ธีระนุสรณ์กิจ และ ดำรงชัย วิภาวัฒนกุล ทีผู้บริหารเคซีจี

ด้าน วาทิต ตมะวิโมกษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่นฯ ให้ข้อมูลว่าเคซีจีอยู่ในธุรกิจอาหารปีนี้เป็นปีที่ 64 เริ่มจากธุรกิจครอบครัว ปัจจุบันธุรกิจกำลังปรับเปลี่ยนจากธุรกิจครอบครัวเป็นการบริหารจัดการแบบสากล

“ธุรกิจของเราไม่เหมือนใครเราผสมผสมความน่ารักของธุรกิจครอบครัวและเอาส่วนประกอบของการบริหารจัดการแบบสากลมาผสมผสานนำทฤษฎีเข้ามาแล้วนำมาปรับใช้”

วาทิต เผยภาพรวมธุรกิจของเคซีจีซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ผลิตและจัดจำหน่ายด้วยตราสินค้าของบริษัทโดยมีแบรนด์หลักอยู่ 2 แบรนด์คือ อิมพีเรียลและอลาวรี่ และยังมีแบรนด์แกร่งอื่นๆ อีกมากมาย โดยธุรกิจกลุ่มนี้ทำรายได้ให้ธุรกิจของเราสัดส่วนร้อยละ 70 จากโรงงานการผลิต 3 แห่งที่มี ดำรงชัย วิภาวัฒนกุล รองกรรมการผู้อำนวยการ ฝ่าย Corporate Brands เคซีจี ดูแลโรงงานอยู่

อีกส่วนหนึ่งของกลุ่มเทรดดิ้งหรือการซื้อมาขายไปตามที่เคซีจีได้นำเข้าวัตถุดิบจากทั่วโลกจากการสรรหาแบรนด์คุณภาพเข้ามาจัดจำหน่ายและผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ติดป้ายบนสินค้านำเข้า “selected by KCG” ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ

สำหรับที่ผลิตภัณฑ์ที่เคซีจีจัดจำหน่ายแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือผลิตภัณฑ์ บิสกิต, แครกเกอร์, เวเฟอร์ และกำลังพัฒนากลุ่มที่เป็นขนมคบเคี้ยวในอนาคต กลุ่มที่สองคือกลุ่ม Dairy Product กลุ่มเนยและชีสซึ่งเป็นความถนัดหลักของ KCG และกลุ่มที่สามคือ กลุ่มวัตดุดิบไม่ว่าจะนำเข้าหรือผลิตได้เอง

“เราเป็นบริษัทวัตดุดิบอาหารให้กับหลายๆ บริษัทในประเทศไทย อาทิ ธุรกิจผลิตเบเกอรี่สำเร็จรูป ธุรกิจที่เป็น food service, Horeca ร้านอาหารที่ผลิตเป็นอาหารสำเร็จรูป” วาทิต กล่าว

ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายหน่ายเคซีจีแบ่งเป็น 2 ช่องทาง คือ B2B กับ B2C โดย B2B แบ่งเป็นกลุ่มลูกค้าโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตอาหารและโรงงานผลิตเบเกอรี่ อีกกลุ่มคือ Food Service อันได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร ด้าน B2C จะเป็นไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านที่เป็นขายส่งและขายปลีกที่อยู่ทั่วประเทศ

หลังจากสถานการณ์โควิดบริษัทได้พัฒนาการขายตรงผ่านการขายจากช่องทางออนไลน์ซึ่งสิ่งที่ทำให้การขายออนไลน์ของบริษัทแตกต่างจากบริษัทอื่นการจัดส่งเพราะบริษัทสามารถจัดส่งสินค้าได้แบบปกติและการจัดส่งแบบควบคุมอุณหภูมิซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญของธุรกิจ

บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จํากัด

ปรับกลยุทธ์สู่ความยั่งยืน

วาทิต กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า นโยบายการบริหารของเคซีจี กำลังเดินหน้านโยบายการบริหารเชิงกลยุทธ์ซึ่งตั้งอยู่บนรากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน

“เราบริหารเชิงกลยุทธ์เพราะสร้างความยั่งยืนเชิงธุรกิจและตอบความต้องการผู้บริโภคแต่ในขณะเดียวกันเราต้องคำนึงถึง 3 มิติคือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นี่คือนโยบายในการเดินไปข้างหน้า เราจะมีกลยุทธ์ที่ชัดเจนในแต่ละกลยุทธ์เราจะบาลานซ์ตอบโจทย์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม”

โดยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของบริษัทที่เป็นอินโนเวทีฟมาจากกลยุทธ์ สร้างความได้เปรียบเชิงธุรกิจของเราเพื่อจะเดินไปข้างหน้าโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคและมองเทรนด์ของอาหารในอนาคตคือพฤติกรรมที่ต้องตอบโจทย์ความสะดวกสบาย ตอบโจทย์ความต้องการด้านสุขภาพ อาทิโปรตีนทางเลือกจากผลิตภัณฑ์ Plant Base, ผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์จาก Omega 3, 6, 9 จากน้ำมันกัญชงซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของ อย.

สิ่งที่เคซีจีกำลังทำต่อไปในเรื่องกลยุทธ์คือพัฒนาอาหารที่ผู้คนต้องการ โดยประชากรทั่วโลกและไทยกำลังย่างเข้าสู่ Aging Society ที่เปอร์เซ็นต์ของผู้สูงอายุมากขึ้น รวมถึงคนรุ่นใหม่ ดังนั้นอาหารที่เราจะทำต้องมีส่วนช่วยเสริมคุณภาพของผู้สูงอายุ

“เรากำลังเตรียมการโปรโมตให้คุณค่าทานอาหารเป็นยาจะได้ไม่ต้องไปทานยาเป็นอาหาร โดยอาหารของเราจะทำหน้าเป็นยาและนี้คือไกด์ไลน์ที่เราให้โจทย์กับแผนกที่ผลิตสินค้าใหม่ๆ และจะค่อยๆ ทยอยสินค้าออกมาในอนาคต”

วาทิต กล่าวเสริมด้วยว่า “เรามีนักบริหารมืออาชีพเข้ามาเสริมทัพร่วมกับครอบครัวของผู้ก่อตั้งที่สร้างธุรกิจมากับมือ เราเอารวมกัน มันเป็นการบริหารจัดการที่สนุกมากหาไม่ได้ ผมเป็นมืออาชีพไปอยู่ในธุรกิจที่มีแต่มืออาชีพมันก็ไม่สนุก ทำให้เป็นคำตอบที่ว่าทำไม 4-5 ปีที่ผ่านมาเราถึงโตอย่างต่อเนื่อง”

ขยายพอร์ตสู่ธุรกิจอาหาร

ดำรงชัย วิภาวัฒนกุล รองกรรมการผู้อำนวยการ ฝ่าย Corporate Brands เคซีจี คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยอีกว่าในช่วงโควิด KCG ใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่าเดือนละ 3 ล้านบาท ในการสร้างมาตรฐานการป้องกันการแพร่กระจายของโควิดกับพนักงานในเครือเพื่อให้การดำเนินการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง เราสร้างที่พักให้พนักงานอยู่ภายในโรงงานราว 3 เดือน

สำหรับยอดขายของกลุ่มผลิตจากเนยและชีสในช่วงโควิด-19 มาจากยอดขายของกลุ่ม B2B และ B2C มีอัตราการเติบโตของยอดขายมากกว่าปกติ ขณะที่ส่วนกลุ่ม Food Service ลดลงเนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา ทำให้สัดส่วนการขายโดยภาพรวมยังไม่คงตกลงมากนัก

“เมื่อเทียบยอดขายจากปี 2562 ซึ่งเป็นปีก่อนการเกิดโควิด-19 ยอดขายรวมปี 2563 ตกลง 13% ขณะที่ปี 2564 เมื่อเทียบกับปี 2562 เราตกเพียง 3% ขณะที่ไตรมาสแรกของปี 2565 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 2564 ยอดขายรวมเพิ่มขึ้น 7%” ดำรงชัยกล่าว

วาทิตกล่าวเสริมด้วยว่ายอดขายปี 2562 รายได้รวมของเคซีจี อยู่ที่ 5.7 พันล้านบาท เป็นปีที่บริษัททำยอดขายสูงสุดในประวัติศาสตร์ โดยปี 2563 กลุ่มธุรกิจของเราที่กระทบมากๆ คือ กลุ่ม B2B เพราะไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา แต่จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เกิดพฤติกรรมการซื้อของกลับบ้านทำให้กลุ่มธุรกิจ B2C ทำยอดขายเติบโตขึ้นมาทดแทน จากพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่เป็นวัตดุดิบ โดยเฉพาะวัตถุดิบเบเกอรี่ โดยปี 2565 เราตั้งเป้ายอดขายที่ราว 6.1 พันล้านบาท

สำหรับการซื้อธุรกิจ อินโดกูนา (ประเทศไทย) นั้น วาทิต เสริมว่า “คุณตงเคยพูดกับเราอยู่เรื่อยๆ อะไรที่อยู่บนโต๊ะอาหาร เราจะค่อยๆ นำสู่ผู้บริโภค ในขณะนี้เราไม่มีเนื้อและซีฟู้ด เราเลยมองหาองค์กรที่ถนัดนี้และไปเจอองค์กรนี้และเป็นช่วงที่บริษัทอยากจะเปลี่ยนมือซึ่งเป็นการซื้อ 100% มีผลการซื้อขายกิจการเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ทำให้เราเขาไปสู่ธุรกิจเนื้อและซีฟู้ด และจะกลุ่มธุรกิจขาที่ 4 ของบริษัท”

วาทิต กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า “การทำธุรกิจต้องพึ่งธุรกิจหลายๆ ช่องทางการขาย แต่โชคดีที่เราเป็นผู้ผลิตสินค้าเอง เราสามารถควบคุมการบริหารจัดการสต็อกและวัตถุดิบ เราจึงไม่เกิดผลกระทบเมื่อขาด supply chain จากต่างประเทศที่ไม่ตรงเวลา ขณะที่ธุรกิจเรามีกลุ่มลูกค้าทั้ง B2C และ B2B ที่มีหลากหลายไม่ว่าจะเป็นธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร อุตสาหกรรมเบเกอรี่ อุตสาหกรรมทะเล เพราะตั้งแต่อดีตเรามองไกลว่าเราจะต้องไม่ไปอิงกับลูกค้าช่องทางเดียวเพื่อป้องกันความเสี่ยง นี่คือสิ่งที่เคซีจีได้เรียนรู้จากวิกฤตทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาในหลายๆ เหตุการณ์ ส่วนวิกฤตโควิด-19 เราถือว่าเรารับมือได้อยู่”