โขนเรื่องรามเกียรติ์

โขนเรื่องรามเกียรติ์

Double click on above image to view full picture

โขนเรื่องรามเกียรติ์

โขนเรื่องรามเกียรติ์

มุมมองเพิ่มเติม

  • โขนเรื่องรามเกียรติ์

รายละเอียด

โขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน หนุมานชาญสมร

การ แสดงโขนชุดใหญ่ เรื่องรามเกียรติ์ ชุดหนุมานชาญสมร ซึ่งนายเสรี หวังในธรรม ได้จัดทำบทขึ้นนี้ จะแสดงให้เห็นเฉพาะเรื่องราวของตัว "หนุมาน" ซึ่งเป็นตัวละครเอกตัวหนึ่ง นายเสรี หวังในธรรม ได้ให้ทัศนะและแนวความคิดตามหลักฐานที่ปรากฏในบทโขนชุดนี้ว่า หนุมานมีชาติกำเนิดเป็นอย่างไร ใครเป็นบิดา มารดา แล้วเหตุใดจึงตกมาเป็นทหารเอกแห่งองค์พระราม อันนี้มีเนื้อเรื่องเบื่องต้น โดย มีเรื่องที่จัดแสดงดังนี้

องค์ที่ 1 กำเนิดหนุมาน

ตอนที่ 1 บิดามารดา

พระ อิศวรแจ้งว่านางสวาหะถูกนางอัจนาสาปให้ไปยืนตีนเดียวเหนี่ยวกินลมอยู่บนยอด เข้าในป่าใหญ่ก็ทรงเห็นเป็นโอกาสที่จะให้นางสวาหะพ้นคำสาป โดยให้กำเนิดบุตรเพื่อเตรียมไว้เป็นข้าทหารพระราม โดยบัญชาให้พระพายเป็นบิดา นำเทพศาสตราและพละกำลังของพระองค์ไปซัดใส่ปากนางสวาหะให้บังเกิดบุตรเป็น วานรและประทานนามว่า "หนุมาน" ครั้งได้ฤกษ์ดี นางสวาหะก็ให้กำเนิดบุตรเป็นวานรผิวเผือกผ่องเผ่นโผนออกมาจากปาก แล้วเหาะขึ้นท้องฟ้าแผลงฤทธิ์หาวเป็นดาวเดือน นางสวาหะได้บอกกับหนุมนว่าหากมีผู้ใดแลเห็นและมาทักทายถึง กุณฑล ขนเพชร เขี้ยวแก้วที่มีประจำกาย ผู้นั้นคือองค์พระนารายณ์ อวตารให้เข้าสวามิภักดิ์ฝากตัวเป็นข้ารับใช้

ตอนที่ 2 ต้องสาป

หนุ มานได้สำแดงฤกษ์เดชเหาะเหินเดินอากาศ จึงหลงเข้าไปในอุทยานพระอุมา เนื่องด้วยเยาว์วัยกำลังคึกคะนอง หนุมานจึงเข้าเหนี่ยวโน้มหักปลิดผลไม้กินและทิ้งขว้างเล่นเป็นที่สนุกสนานทำ ให้พระอุมาทรงพระพิโรธ ถงกับสาปให้หนุมานเสียพละกำลังไปครึ่งหนึ่ง ต่อเมื่อได้พบพระรามและทรงเมตตาลูบหลังสามครั้งจึงให้พ้นคำสาป

องค์ที่ 2 ถวายพล

ครั้งหนึ่งทศกัณฑ์รู้ข่าวความงามของนางสีดามเหสีพระรามจากนางสำมนักขาก็เกิด ความหลงไหลจึงเข้าลักพานางเหาะไปยังกรุงลงกา นกสดายุเห็นเหตุการณ์จึงเข้าขัดขวาง แต่ก็ถูกทศกัณ์ใช้แหวนของนางสีดาขว้างจนปีกหักต้องร่วงลงสู่พื้นดิน พระรามกับพระลักษณ์อนุชาเสด็จออกติดตามนางสีดา จึงได้พบกับนกสดายุ สดายุทูลถวายแหวนของนางสีดาและกราบทูลเรื่องทศกัณฑ์ลักพานางไปกรุงลงกาให้ พระรามทรงทราบก่อนที่จะสิ้นใจตาย ในเวลานั้นหนุมานซึ่งอยู่บนต้นไม้ก็แกล้งหักกิ่งไม้ขว้างปาใส่พระลักษณ์ แต่เมื่อพระรามทรงเห็นหนุมานมีรูปร่างลักษณะเป็นที่ต้องพระทัย จึงตรัสเรียกให้ลงมาเฝ้า พระรามทรงลูบหัวตลอดหลังสามครั้งด้วยความเมตตา หนุมานจึงได้พละกำลังกลับคืน แล้วสำแดงฤกธิ์หาวเป็นดาวเดือน แล้วขอถวายตัวเป็นข้าทหารพร้อมทั้งพาพวกพลวานรเข้าเฝ้าถวายตัวเป็นไพร่พลของ พระราม เพื่อช่วยทำสงครามกับทศกัณฐ์

องค์ที่ 3 ยกพล

เมื่อพระรามทรงได้รถทรงพระอินทร์เป็นราชพาหนะข้ามไปลงกาแล้ว จึงเสด็จพร้อมด้วยพระลักษณ์และขบวนพลวานร ยกกองทัพข้ามไปกรุงลงกา ครั้นทศกัณฐ์รู้ข่าวว่าพระรามข้ามสมุทรมาได้แล้ว จึงเตรียมไพร่พลยักษ์เพื่อยกทัพออกทำสงครามกับพระราม

นำแสดงโดย: ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ(ศิลปินแห่งชาติ)
และวันทนีย์ ม่วงบุญ พร้อมศิลปินกรมศิลปากรกว่า 100 ชีวิต
เขียนบทโดย: อ.เสรี หวังในธรรม(ศิลปินแห่งชาติ)
กำกับการแสดงโดย: อ.ปกรณ์ พรพิสุทธิ์


* การแสดงโขนรามเกียรติ์ ตอนหนุมานชาญสมร ชุดนี้ ทางบริษัทโอเชี่ยนมีเดีย ได้จัดแสงต่อเนื่องเป็นลำดับที่ ๗ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมการแสดงชั้นสูงของไทยไว้ โดยผู้แสดงชั้นนำแนวหน้าของเมืองไทยเพื่ออรรถรสในการรับชม จึงได้มีการบันทึกด้วยภาพที่คมชัด ระบบเสียง Stereo หากชมในระบบ DVD จะเป็นระบบเสียง Stereo Serround 5.1 เสมือนท่านได้เข้าไปนั่งชมการแสดงสดหน้าเวทีทางบริษัทฯ ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่ได้ให้กำลังใจด้วยการอุดหนุนผลิตภัณฑ์ของบริษัท และรับชมผลงานผลงานจากแผ่นลิขสิทธิ์ของแท้

โขน

การแสดงอีกอย่างหนึ่งให้ท่ารำ และแสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับ วิธีการทุกอย่างเหมือนละคร แต่ไม่เรียกว่า ละคร การแสดงที่จะกล่าวนี้ เรียกว่า "โขน"โขน เป็นการแสดงที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แต่เพิ่มท่ารำที่มีตัวแสดงแปลกออกไป กับเปลี่ยนทำนองเพลง ที่ดำเนินเรื่อง ไม่ให้เหมือนละคร

โขนเรื่องรามเกียรติ์

การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ : โขนชุดพระรามรบกับ ทศกัณฐ์ ตอนขึ้นลอยสูง
โขน มีลักษณะสำคัญอยู่ที่ ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนหมดทุกตัว ยกเว้นตัวนาง พระ และเทวดา ในสมัยโบราณตัวพระและตัวเทวดา ก็สวมหัว ภายหลังจึงเปลี่ยนแปลงให้ตัวพระ และตัวเทวดาไม่ต้องสวมหัว คงใช้หน้าของผู้แสดงเช่นเดียวกับละคร

หัวโขน เป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูตรงตาให้มองเห็น สร้างตามลักษณะของตัวนั้นๆ เช่น ยักษ์ ลิง เทวดา และอื่นๆ ตบแต่งด้วยสี ปิดทอง ประดับกระจก สวยงาม บางท่านก็เรียกว่า "หน้าโขน"

หัวโขนที่ใช้แสดงในเรื่องรามเกียรติ์

โขนเรื่องรามเกียรติ์

โขนเรื่องรามเกียรติ์

โขนเรื่องรามเกียรติ์

พระราม

พระลักษณ์

พระพรต

โขนเรื่องรามเกียรติ์

โขนเรื่องรามเกียรติ์

โขนเรื่องรามเกียรติ์

พระสัตรุด

สุครีพ

หนุมาน

โขนเรื่องรามเกียรติ์

โขนเรื่องรามเกียรติ์

โขนเรื่องรามเกียรติ์

องคต

ชมพูพาน

ชามพูวราช

โขนเรื่องรามเกียรติ์

โขนเรื่องรามเกียรติ์

โขนเรื่องรามเกียรติ์

ชมพูพาน - หมี

มหาชมพู

สหัสเดชะ

โขนเรื่องรามเกียรติ์

โขนเรื่องรามเกียรติ์

โขนเรื่องรามเกียรติ์

ทศกัณฐ์ (หน้าทอง)

ทศกัณฐ์

พิเภก

โขนเรื่องรามเกียรติ์

โขนเรื่องรามเกียรติ์

โขนเรื่องรามเกียรติ์

เปาวนาสูร

วิรุญจำบัง

พญาขร

โขนเรื่องรามเกียรติ์

โขนเรื่องรามเกียรติ์

โขนเรื่องรามเกียรติ์

ตรีเศียร

ไมยราพ

มโหทร

โขนเรื่องรามเกียรติ์

โขนเรื่องรามเกียรติ์

 
 กุมภกรรณ สำมนักขา   
เรื่องดำเนินไปด้วยการกล่าวลำนำเล่าเรื่อง เป็นทำนองเรียกว่า "พากย์" อย่างหนึ่ง กับ เจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง บทพากย์เป็นกาพย์ยานี และกาพย์ฉบัง การพูดของตัวโขน ไม่ว่าจะเป็นทำนองพากย์ ทำนองเจรจา หรือพูดอย่างสามัญชน มีผู้พูดแทนให้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นตัวที่สวมหน้า หรือไม่สวมหน้า ผู้พูดแทนตัวโขนนี้ เรียกว่า "คนเจรจา"เครื่องแต่งตัว เป็นแบบเดียวกับละครใน นอกจากบางตัวสวมหัวโขนตามเนื้อเรื่อง เสื้อของตัวพระ และตัวยักษ์สมัยโบราณมักมี ๒ สี คือ เป็นเสื้อกั๊กสีหนึ่ง กับแขนสีหนึ่ง นัยว่า เสื้อกั๊กนั้นแทนเกราะ ส่วนตัวลิง ตัวเสื้อ และแขนลายวงทักษิณาวรรต สมมติเป็นขน ของลิงหรือหมี ตัวยักษ์จะต้องมีห้อยก้นเป็นผ้าปักผืนสั้นๆ ปิดชายกระเบน

เรื่องที่แสดง โขนของไทยเราแสดงแต่เรื่องรามเกียรติ์เรื่องเดียว

วิธีการแสดงโขนมีหลายชนิด แตกต่างกันด้วยวิธีการแสดง ดังจะอธิบายไปตามลำดับดังนี้

โขนกลางแปลงโขนกลางแปลง เป็นโขนที่แสดงกับพื้นดิน ที่เป็นลานกว้างใหญ่ สมมติพื้นที่นั้นเป็นกรุงลงกาด้านหนึ่ง เป็นพลับพลาพระรามด้านหนึ่ง ด้านกรุงลงกาสร้างเป็นปราสาทราชวัง มีกำแพงจำลองด้วยไม้และกระดาษ ด้านพลับพลา ก็สร้างพลับพลามีรั้วเป็นค่ายจำลอง เช่นเดียวกัน ปลูกร้านสูงประมาณ ๒ เมตร ตั้งวงปี่พาทย์ด้านละวง คนเจรจามีด้านละ ๒ คนเป็นอย่างน้อย วงปี่พาทย์บรรเลง ประกอบกับการแสดงด้านที่วงประจำอยู่ แต่ถ้าเป็นส่วนกลาง เช่น การรบกันกลางสนามหรืออื่นๆ ก็แล้วแต่ วงไหนอยู่ใกล้ ก็เป็นผู้บรรเลง โขนกลางแปลงมีแต่พากย์กับเจรจาเท่านั้นโขนนั่งราวโขนนั่งราว เป็นการแสดงบนโรง เลียนแบบโขนกลางแปลง คือ ปลูกโรงสูงพอตาคนยืนดู ปูกระดานพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฉากแบ่งเป็น ๓ ส่วน ส่วนกลางยาวประมาณ ๑๐ เมตร ทำภาพนูน เขียนสีเป็นป่าเขา ส่วนนอกด้านขวา (ของโรง) ยาวประมาณ ๓ เมตร ทำภาพนูนเขียนสี เป็นรูปพลับพลาและรั้ว สมมติเป็นพลับพลาพระราม ส่วนนอกด้านซ้ายยาวประมาณ ๓ เมตร ทำภาพนูน เขียนสีเป็นปราสาทราชวังมีกำแพงสมมติเป็นกรุงลงกา มีประตูเข้าออก ๒ ประตู อยู่คั่นระหว่างฉากส่วนกลางกับส่วนนอก ข้างละประตู ตรงหน้าฉากออกมา ห่างฉากประมาณ ๑.๕ เมตร ทำราวไม้กระบอก มีเสารับสูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ยาวเสมอขอบประตูข้างหนึ่งมาถึงขอบประตูอีกข้างหนึ่ง หัวท้ายของโรงทั้ง ๒ ข้าง ปลูกร้านให้สูงกว่าพื้น โรงประมาณ ๑ เมตร ตั้งวงปี่พาทย์ข้างละวง
โขนเรื่องรามเกียรติ์

เครื่องแต่งตัวพระ
(ยืนเครื่อง ไว้หางหงส์)
วิธีแสดง ราวไม้กระบอกที่อยู่หน้าฉากนั้น เป็นที่สำหรับนั่ง วิธีนั่ง ถ้าหันหน้าไปทางขวาหรือซ้าย ก็เอาเท้าข้างนั้นพับนั่งบนราว อีกเท้าหนึ่งห้อยลงเหยียบพื้นโรง ฝ่ายพระรามจะนั่งค่อนมาข้างขวา พระราม (ตัวประธานฝ่ายมนุษย์) นั่งสุดราวด้านขวา หันหน้าไปทางซ้าย บริวารทั้งหมดนั่งบนราวตามลำดับเรียงไป หันหน้ามาทางขวา และฝ่ายลงกา (ฝ่ายยักษ์) ตัวประธาน นั่งสุดราวด้านซ้าย หันหน้ามาทางขวา บริวารทั้งหมดนั่งหันหน้ามาทางซ้าย ส่วนการแสดง ในตอนที่ไม่นั่ง ก็แสดงได้ทั่วพื้นโรง
ดำเนินเรื่องด้วยพากย์กับเจรจาเท่านั้น เหมือนโขนกลางแปลง

ท่ารำ เป็นท่ารำที่ครบถ้วนตามแบบแผนศิลปะการรำ ทำบทตามถ้อยคำ และรำหน้าพาทย์ตามเพลงปี่พาทย์
วิธีบรรเลงปี่พาทย์ ทั้ง ๒ วงจะผลัดกันบรรเลงวงละเพลง ตั้งแต่โหมโรงเป็นต้นไปจนจบการแสดง

โขนโรงใน โขนโรงใน คือโขนผสมกับละครในสถานที่แสดงเป็นโรงอย่างโรงละครใน มีฉากเป็นม่านผืนเดียว มีประตูออก ๒ ข้าง แต่เตียงสำหรับนั่งมี ๒ เตียง ตั้งขวางใกล้กับประตูข้างละเตียง มีปี่พาทย์ ๒ วง อาจตั้งตรงหลังเตียงออกไป หรือกระเถิบมาทางหน้าโรงนิดหน่อย แล้วแต่สถานที่จะอำนวย
ดำเนินเรื่องด้วยบทพากย์ บทเจรจา และบทร้อง มีทั้งคนพากย์ คนเจรจา ต้นเสียง ลูกคู่ และคนบอกบท (ร้อง)
โขนเรื่องรามเกียรติ์

เครื่องแต่งตัวนาง (จีบหน้านาง)
วิธีแสดง เริ่มต้นอย่างละครใน คือ ตัวเอกออกนั่งเตียง แล้วร้องหรือพากย์ดำเนินเรื่องการแสดงต่อไป ก็แล้วแต่ว่า ตอนใดจะแสดงแบบโขน ตอนใดจะแสดงแบบละคร เช่น

ปี่พาทย์ทำเพลงวา พลลิงออกมานั่งตามที่พระรามพระลักษมณ์ออกมานั่งเตียง ต้นเสียงร้องเพลงช้า ปี่ใน ส่งเพลง ๑ เพลง ร้องร่าย และปี่พาทย์บรรเลงเพลงเสมอ ท้ายเพลงเสมอตัวโขนเข้าโรงหมด ปี่พาทย์ทำเลงกราวนอก โขนลิงออก แล้วสิบแปดมงกุฎ และพญาวานรออก พระลักษมณ์ พระรามออก รำกราวนอกเสร็จแล้ว พากย์ชมรถ และปี่พาทย์บรรเลงเพลงเชิด ฯลฯ

โขนเรื่องรามเกียรติ์

เครื่องแต่งตัวยักษ์
(จีบโจงก้นแป้น)
อุปกรณ์ที่สำคัญในการแสดงโขน ซึ่งต่างจากการแสดงละคร ก็คือ ราชรถมีตัวม้าหรือราชสีห์เทียม และกลด มีผู้ถือกางให้ตัวเอก
เข้าใจว่า การที่โขนในสมัยหลังๆ มาจนปัจจุบัน ตัวพระ และตัวเทวดาไม่สวมหัวโขน คงจะเริ่มมาตั้งแต่โขนมาร่วมผสมกับละครใน เป็นโขนโรงในนี้เอง

โขนหน้าจอ โขนหน้าจอ วิธีการแสดงทุกๆ อย่างเหมือนโขนงโรงในทุกประการ ผิดกันแต่สถานที่แสดงเท่านั้น เป็นโรงที่มีลักษณะต่างกัน

โรงของโขนหน้าจอ ก็คือ โรงหนังใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงให้สะดวกแก่การแสดงโขนเท่านั้น สิ่งที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากโรงหนังใหญ่ ก็คือ มีประตูเข้าออก ๒ ประตู ใต้จอตอนกลางมีมู่ลี่ หรือลูกกรงถี่ๆ เพื่อให้คนร้อง ซึ่งนั่งอยู่ภายในมองเห็นตัวโขน จอตอนนอกประตูทั้ง ๒ ข้าง เขียนภาพ ข้างขวาเขียนภาพพลับพลาพระราม ข้างซ้ายเขียนภาพปราสาทราชวัง สมมติเป็นกรุงลงกา ตั้งเตียงห่างจากประตูออกมาพอสมควร ๒ เตียง ข้างละเตียง วงปี่พาทย์สมัยก่อนตั้งด้านหน้าของที่แสดง สมัยปัจจุบัน ยกไปตั้งหลังจอตรงหลังคนร้อง

โขนเรื่องรามเกียรติ์

เครื่องแต่งตัวลิง (หนุมาน)
โขนทุกประเภท ตั้งแต่โขนกลางแปลงมาจนถึงโขนหน้าจอ มีเครื่องดนตรีพิเศษ อย่างหนึ่งประกอบ คือ "โกร่ง"เป็นไม้ไผ่ลำโต ยาวประมาณ ๓ - ๔ เมตร มีเท้ารองหัวท้ายสูงประมาณ ๘ เซนติเมตร วางกับพื้น ผู้ที่นั่งเรียงกันประมาณ ๔-๕ คน ถือไม้กรับทั้งสองมือตีตามจังหวะ ใช้เฉพาะเพลงที่ต้องการความครึกครื้น เช่น เพลงกราวนอก กราวใน เชิด ตั้งอยู่หลังฉากหรือจอ พวกแสดงโขนที่มิได้แสดงเป็นผู้ตี
โขนฉาก โขนฉาก มีลักษณะดังนี้ คือ

โขนฉากแสดงบนเวที เปลี่ยนฉากตามเนื้อเรื่อง เช่นเดียวกับละครดึกดำบรรพ์

วิธีการแสดงเหมือนโขนโรงในทุกประการ นอกจากแบ่งเนื้อเรื่องให้เป็นตอนเข้ากับฉาก แต่ละฉากเท่านั้น ถ้าสถานที่แสดงมีที่แสดงที่หน้าม่านได้ เวลาปิดม่านก็อาจมีการแสดงหน้าม่าน เพื่อเชื่อมเนื้อเรื่องให้ติดต่อกันก็ได้