หน่วยการ เรียน รู้ ที่ 4 พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยประชาธิปไตย

ประวัติศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยประชาธิปไตย

               นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่  ๒๔  มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕  เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้ย่างเข้าสู้สมัยประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศโดยมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขของประเทศและทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

หน่วยการ เรียน รู้ ที่ 4 พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยประชาธิปไตย

สรุปย่อพัฒนาการประชาธิปไตยของไทย
การเมืองไทยยุคประชาธิปไตย นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ วิเคราะห์การเมืองการปกครอง เป็น 4 สมัย
คือ 1) สมัยระบอบกึ่งประชาธิปไตย (พ.ศ. 2475 - 2500) 2) สมัยระบอบประชาธิปไตยแบบไทย (พ.ศ. 2501 -
2516) 3) สมัยระบอบประชาธิปไตยแบบแบ่งปันอำนาจ (2516- 2544) และ 4) สมัยประชาธิปไตยแบบรัฐบาล
พรรคเดียว (2544 - 2549)

1.สมัยระบอบกึ่งประชาธิปไตย ( พ.ศ. 2475 - 2500)
พัฒนาการทางการเมืองไทยมีลักษณะของระบอบกึ่งประชาธิปไตย อธิบายได้ตามเหตุการณ์ต่อไปนี้
- เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
รัฐบาลภายใต้คณะราษฎร
ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะบุคคลที่เรียกว่า “คณะราษฎร” นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนาได้
ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมี
รัฐธรรมนูญฉบับแรกในประวัติศาสตร์การเมืองแบบประชาธิปไตยของไทย เรียกว่า “พระราชบัญญัติ
ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475” เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 มีอายุการใช้งานเพียงห้า
เดือนเศษ ซึ่งปรากฏแนวคิดประชาธิปไตย ดังปรากฏในมาตรา 1 ของธรรมนูญฉบับนี้ว่า “อำนาจสูงสุดของ
ประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” โดยใช้อำนาจแทนราษฎรตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ
กษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการราษฎร (คณะรัฐมนตรี) และศาล ซึ่งเป็นหลักใกล้เคียงกับแนวคิด
ประชาธิปไตยตามหลักสากล คือ การแบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร ตุลากร และนิติบัญญัติ
ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในสังคมไทย
ต่อมารัฐธรรมนูญฉบับถาวรได้ถูกนำมาใช้ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 และใช้งานไปถึง พฤษภาคม
2489 ยังคงมีหลักการประชาธิปไตย แต่มีความแตกต่างในเรื่องการใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งระบุว่าราษฎรได้มอบ
อำนาจอธิปไตยให้แก่พระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงรับเอาและทรงแบ่งให้คณะบุคคลอื่น ๆ คือ สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี และศาล ซึ่งเท่ากับกษัตริย์อยู่เหนือสถาบันทั้งสาม
ปรากฏว่าหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2475 นายปรีดี พนมยงค์ ได้เสนอ
“เค้าโครงเศรษฐกิจ” ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรกับกลุ่มอำนาจเดิม เนื่องจากกลุ่มอำนาจเดิม
มองว่าเค้าโครงเศรษฐกิจดังกล่าวมีลักษณะแนวคิดสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ฝ่ายอำนาจเดิมได้
แต่ในที่สุดก็ไม่สำเร็จ ความขัดแย้งนี้ยุติลงหลังจากพระบาทสมเด็กพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสละพระราช
สมบัติ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2477 แต่เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงมีพระชนมายุ
เพียง 9 พรรษาและยังทรงประทับอยู่ต่างประเทศ ส่งผลให้ในช่วงเวลาดังกล่าว ต้องทรงกระทำผ่านคณะ
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
-รัฐบาลภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (ช่วงที่หนึ่ง)
นอกจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มราษฎรกับกลุ่มอำนาจเดิมเกี่ยวกับเค้าโครงเศรษฐกิจแล้ว ยังมีความ
ขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรด้วยกันเอง อันส่งผลให้ฝ่ายคณะราษฎรฝ่ายทหารมีบทบาทางการเมืองในเวลา
ต่อมา และได้ปูพื้นฐานให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2481 และอยู่ในตำแหน่ง
ยาวนานกว่าสองทศวรรษ แม้จะมีการสะดุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองจนสิ้นสุดสงคราม
การบริหารงานภายใต้จอมพล ป. พิบูลสงครามได้ใช้อำนาจจากตำแหน่งบริหารในรัฐบาลและกองทัพ
กำจัดผู้ที่มีความเห็นต่างทางการเมือง การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อขยายบทเฉพาะกาล (สิงหาคม 2483) เพื่อให้
สมาชิกประเภทที่สอง เป็นฐานเสียงสนับสนุนรัฐบาล และความเป็นอำนาจนิยมรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อเข้าร่วม
สงครามโลกครั้งที่สองร่วมกับฝ่ายอักษะ แต่อำนาจได้ลดลงเมื่อฝ่ายอักษะแพ้สงคราม พร้อม ๆ กับการมี
บทบาทของขบวนการเสรีไทยซึ่งสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตร ส่งผลให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องลาออก
จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายหลังการพ่ายแพ้ในการลงมติพระราชกำหนดระเบียบบริหารราชการนครเพ็ชร
บูรณ์และพระราชกำหนดจัดสร้างพุทธบุรีมณฑล ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487
ภายหลังการหมดอำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ส่งผลให้นายปรีดี พนมยงค์ แกนนำขบวนการ
เสรีไทยขึ้นมามีอำนาจทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ขบวนการเสรีไทยก็ยังมีความคิดแตกต่างเกี่ยวกับแนวคิด
ประชาธิปไตย ซึ่งต่างพยายามสร้างขึ้นหลังสงคราม ในที่สุดจึงร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 สมัยรัฐบาล ม.ร.ว.
เสนีย์ ปราโมช เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ทั้งนี้เพื่อให้การปกครองเป็น
“ประชาธิปไตยที่แท้จริง” ในที่สุดรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 ได้ผ่านมติของรัฐสภา สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ
ฉบับนี้ คือ การยกเลิกบทเฉพาะกาล การแยกข้าราชการประจำออกจากการเมือง เพื่อป้องกันมิให้ระบอบการ
ปกครองแบบอำนาจนิยมเกิดขึ้นอีก การกำหนดให้สภานิติบัญญัติประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการ
เลือกตั้งโดยตรง และพฤฒสภา (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวุฒิสภา) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม การยกเลิก
บทบัญญัติมาตรา 11 ที่กำหนดให้พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปโดยกำเนิดหรือโดยแต่งตั้ง อยู่
ในฐานะเหนือการเมือง คือ ไม่มีสิทธิดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม เกิดปัญหาระหว่างนายปรีดี กับนายควง อภัยวงศ์ และ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ใน
ประเด็นเรื่องอำนาจของพฤฒสภา ในขณะที่สมาชิกสภาผู้แทนส่วนหนึ่งนำโดยนายควง และ ม.ร.ว. เสนีย์ ซึ่ง
มีสภาชิกซึ่งประกอบด้วยขุนนางในระบอบเก่าและผู้ที่มีแนวคิดในทางอนุรักษ์นิยมต้องการจะจำกัดบทบาท
รัฐบาลชุดนายควง อภัยวงศ์ ได้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แต่ก่อนจะร่าง
เสร็จ นายควงจำต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามการบีบบังคับของคณะรัฐประหาร พร้อมกับได้
แต่งตั้งจอมพล ป. พิบูลสงครามขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีแทน รัฐธรรนูญฉบับนี้ได้ประกาศใช้เมื่อ
มีนาคม พ.ศ. 2492 โดยรักษาหลักการให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับ
รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2490 แต่ขณะเดียวกันยังยึดการแยกข้าราชการประจำและข้าราชการการเมือง ให้
สิทธิการจัดตั้งพรรคการเมือง และห้ามข้าราชการประจำลงสมัครรับเลือกตั้ง
ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ พ.ศ. 2492 นี้ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ได้อภิปรายถึงความสัมพันธ์
ระหว่างระบอบรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยกับพระมหากษัตริย์ ว่าจะยังคงมีการปกครองแบบกษัตริย์ไว้
หรือไม่ และเรื่องนี้ได้สืบเนื่องมาจนถึงการระบุข้อความว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ผลของการอภิปรายดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงพื้นฐานทางความคิดของหลักการ
ที่ว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” และมีอิทธิพลต่อ
มโนทัศน์ว่าด้วยการปกครองไทยในปัจจุบัน
ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 นี้ทำให้รัฐสภามีอำนาจในการควบคุมฝ่ายบริหาร ทำให้จอมพล ป. พิบูล
สงครามซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคณะรัฐประหารวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ต้องปรับคณะรัฐมนตรีหลาย
ครั้งเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มและพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร และเพื่อรักษาภาพพจน์ความเป็นรัฐบาล
ประชาธิปไตยต่อสายตานานาประเทศ แต่กติกาความเป็นประชาธิปไตยในสมัยจอมพล ป. เป็นเรื่องยุ่งยาก
ดังนั้นในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2494 จึงได้เกิดรัฐประหารผ่านวิทยุกระจายเสียง เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.
2492 และต่อมาจึงได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ซึ่ง
ทำให้ “ประชาธิปไตย” กลับไปตั้งต้นใหม่ที่ พ.ศ. 2475 อีกครั้งหนึ่ง
สรุป บรรยากาศทางการเมืองภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐธรรมนูญได้รับรอง
ให้ราษฎรมีสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง แต่ต้องอยู่ “ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย” และสื่อมวลชนถูกจำกัด
รัชกาลที่ 7 กับแนวคิดการเตรียมการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ร.7 มีพระราชดำริในการพระราชทานรัฐธรรมนูญ โดยช่วง พ.ศ. 2474 ดังพระราชดำรัสของ
พระองค์ที่ว่า “ ... เรามีความประสงค์ที่จะทดลองและปลูกฝังการศึกษาในวิธีการปรึกษาโต้เถียงให้สำเร็จเป็น
มติ... ถ้าหากถึงเวลาอันควรที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองประเทศต่อไปก็จะทำได้โดยสะดวก” พระองค์
ทรงมอบหมายให้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นและคาดว่าจะพระราชทานในวันที่ 6 เม.ย. พ.ศ. 2475 แต่ผู้ร่าง
รัฐธรรมนูญได้คัดค้านการพระราชทาน และยังได้รับการคัดค้านจากอภิรัฐมนตรี จึงทำให้การพระราชทาน
รัฐธรรมนูญได้เกิดขึ้น
การปฎิวัติ พ.ศ. 2475 กับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ณ ยามเช้าของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรอันประกอบด้วยฝ่ายทหารและพลเรือน ได้
กระทำการยึดอำนาจโดยอาศัยวิธีวางกลลวงว่าเกิดการจลาจลขึ้นในกรุงเทพฯ และใช้บารมีของนายทหารชั้น
ผู้ใหญ่ในการระดมทหารไปรวมพลที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งทหารที่มารวมพลอยู่ต่างก็มิได้รู้ว่ากำลัง
มีส่วนร่วมในการปฏิวัติยึดอำนาจแต่อย่างใด
หลังจากทหารมารวมพลหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมได้เรียบร้อย พอเวลา 6 นาฬิกาตรง พันเอกพระ
ยาพหลพลพยุหเสนาก็ได้อ่านประกาศแถลงการณ์ของคณะราษฎร มีใจความสำคัญบางส่วนว่า
...คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้นจึ่งได้ขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่ง
กษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้...
ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประทับอยู่ ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน
ประจวบคีรีขันธ์ ทางคณะราษฎรจึงได้ส่งนาวาตรีหลวงศุภชลาศัย เดินทางไปเจ้าเฝ้า ฯ พร้อมกับหนังสือกราบ
บังคมทูลที่มีเนื้อความค่อข้างรุนแรง มีข้อความบางส่วนดังนี้
... (คณะราษฎร - ผู้เขียน) มีสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นต้น ไว้
เป็นประกัน ถ้าหากคณะราษฎรนี้ถูกทำร้ายด้วยประการใด ๆ ก็ต้องทำร้ายเจ้านายที่คุมไว้เป็นการตอบแทน...
(คณะราษฎร – ผู้เขียน) ขอเชิญใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทกลับคืนสู่พระนคร ทรงเป็นกษัตริย์ต่อไป โดยอยู่
ภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ซึ่งคณะราษฎรได้สร้างขึ้น ถ้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทตอบปฏิเสธก็ดี
หรือไม่ตอบภายใน 1 ชั่วนาฬิกา นับแต่ได้รับหนังสือก็ดี คณะราษฎรก็จะได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครอง
ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงทราบข่าวก็ทรงได้ประชุมกับพระบรมวงศานุวงศ์
และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่าที่มีอยู่หัวหินในขณะนั้น และทรงตัดสินพระราชหฤทัยโดยเห็นแก่ประเทศและ
ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และได้ทรงเสร็จกลับกรุงเทพ ฯ ในวันที่ 26 มิถุนายน และวันเดียวกันก็
โปรดเกล้า ฯ ให้คณะราษฎรเข้าเฝ้า และทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดนิรโทษกรรมให้แก่บรรดา
สมาชิกคณะราษฎร และคณะราษฎรได้ถวายร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามด้วย แต่
พระองค์ทรงขอตรวจร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวก่อน ซึ่งพระองค์ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยในวันรุ่งขึ้น
คือ วันที่ 27 มิถุนายน 2475 โดยทรงพระอักษรกำกับต่อท้ายชื่อพระราชบัญญัตินั้นว่า “ชั่วคราว” แม้
คณะราษฎรจะประสบความสำเร็จในการก่อการปฏิวัติ แต่ในที่สุดก็เกิดความขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรกับ
กลุ่มนิยมเจ้า และนำไปสู่การสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในที่สุด
ภายหลังการประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจของคณะราษฎร จึงมีธรรมนูญปกครองแผ่นดิน
สยามชั่วคราว 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการลงพระปรมาภิไธย ส่งผลให้เกิดสภาผู้แทนราษฎร และ
ประชุมกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ซึ่งในที่ประชุมได้เลือกพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธาน
คณะราษฎร อันเป็นตำแหน่งเทียบเท่านายกรัฐมนตรี ต่อมาระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่คณะราษฎร
จึงได้จัดระเบียบกองทัพใหม่ โดยปลดนายทหารชั้นผู้ใหญ่ถึง 41 นาย อันก่อให้เกิดการโกรธเคืองเป็นอย่าง
มาก ในที่สุดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จึงได้ประกาศรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้นซึ่งพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่ได้ให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อประคับประคองพระราชอำนาจ
(ให้นักศึกษาดูภาพพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ของ ร.7)
อย่างไรก็ตาม ภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร เกิดความขัดแย้งทางความคิดทางการเมือง
เกิดขึ้น ระหว่างกลุ่มอนุรักษ์นิยม นำโดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมซึ่งได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ ซึ่งไม่
นิยมการเปลี่ยนแปลงการปกครองอย่างรวดเร็วของคณะราษฎร กลุ่มนี้ได้เข้าเป็นเป็นคณะรัฐมนตรีครึ่งหนึ่ง
หรือจำนวน 10 คน ปัญหาความขัดแย้งมีความรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงศ์)
ได้เสนอ “เค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ” ส่งผลให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดาคัดค้านในที่ประชุม และในที่สุด
พระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้นำพระราชบันทึกพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่คัดค้าและวิจารณ์ว่า เค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติดังกล่าว เหมือนกับของรัสเซีย
สถานการณ์เริ่มกดดันอีกครั้งในเรื่องเกี่ยวกับการสั่งห้ามข้าราชการเป็นสมาชิกสมาคมการเมือง และ
ต่อมาก็มีมติว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญและให้ถอนคำสั่งดังกล่าว สถานการณ์เริ่มกดดัน พระยามโนปกรณ์จึง
ตัดสินใจตราพระรากฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาใน 1 เมษายน 2476 และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ถือเป็นการ
ทำรัฐประหารโดยพระราชกฤษฎีกา และเป็นการทำรัฐประหารครั้งแรก
ภายหลังการทำรัฐประหารได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ ส่งผลให้หลวงประดิษฐ์
มนูธรรมถูกฝ่ายรัฐบาลกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ต้องเดินทางออกนอกประเทศ ส่วนทางคณะราษฎรกลับ
ท่ามกลางความแย้งทางการเมืองหลังจากการเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม
ส่งผลให้สี่ทหารเสือยื่นหนังสือลาออกจากราชการ บรรยากาศทางการเมืองจึงกลับไปสู่สภาวะกดดันอีกครั้ง
ทำให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดาโยกย้ายนายทหาร แต่ในที่สุดก็พลาดพลั้งจากการไว้ใจพลโทหลวงพิบูล
สงคราม ต่อมาเกิดความขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายคณะราษฎร ส่งผลให้วันที่ 20 มิถุนายน 2476
พันโทหลวงพิบูลสงครามทำการรัฐประหารล้มรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา และแต่งตั้งพระยาพหลพล
พยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี นับเป็นจุดสิ้นสุดของรัฐบาลที่มาด้วยรัฐประหารและไปด้วยการรัฐประหาร
การสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภายหลังการทำรัฐประหารของพลโทหลวงพิบูลสงครามแล้ว สร้างความมั่นคงทางการเมืองให้กับ
คณะราษฎรอีกครั้ง และเกิดความกดดันต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเนื่องจากพระองค์เลือกข้าง
สนับสนุนพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ต่อมาในวันที่ 11- 25 ตุลาคม 2476 พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช และคณะบุคคลทั้งฝ่ายทหาร
และฝ่ายพลเรือน เรียกตัวเองว่า “คณะกู้บ้านเมือง” ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมตัวกันจากการไม่พอใจที่ถูกปลดออกจาก
ราชการโดยคณะราษฎรกับพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ที่ต้องการกอบกู้เกียรติของความเป็นเจ้าคืนมา ก็
ได้พยายามยึดอำนาจจากรัฐบาล แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และฝ่ายรัฐบาลจึงขนานนามเหตุการณ์นั้นว่า “กบฏ
บวรเดช” ช่วงที่มีการปะทะกันนั้นพระบาทสมเด็จสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ที่หัวหินและทรง
ตัดสินพระราชหฤทัยเสด็จโดยเรือเร็วขนาดเล็กจากหัวหินไปยังสงขลา ภายหลังการปราบกบฏแล้ว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชบันทึกถึงรัฐบาลเกี่ยวกับความข้องพระราชหฤทัยเกี่ยวกับสิทธิ
เสรีภาพของประชาชน และเรื่องอื่น ๆ ซึ่งต้องได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลครบทุกข้อ มิฉะนั้นพระองค์จะ
ไม่เสด็จกลับประเทศและต้องการให้รัฐบาลถวายคำตอบภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2477 ด้วย มิฉะนั้น
พระองค์จะสละพระราชสมบัติ ในที่สุดรัฐบาลได้ถวายคำตอบผ่านทางเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร์ที่อยู่กรุง
ลอนดอนว่า ทางรัฐบาลขอปฏิเสธข้อเรียกร้องของพระองค์โดยเด็ดขาด จึงทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระราชหฤทัยสละราชสมบัติในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477
ในหลวงอานันท์ และการสวรรคต
ภายหลังจากการสละราชสมบัติของ ร.7 ทางรัฐบาลก็ได้พิจารณาอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันท
มหิดลเป็นกษัตริย์ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ เนื่องจากพระองค์ยังทรงพระเยาว์ และประทับอยู่ประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์ จึงมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการทำหน้าที่แทน ช่วงที่กษัตริย์ไม่ได้ประทับอยู่ในประเทศ กลุ่ม
การเมืองต่าง ๆ ได้พยายามช่วงชิงอำนาจระหว่างกัน จนในที่สุดจอมพล ป. พิบูลสงคราม เริ่มยึดอำนาจไว้ที่
ตนเองสำเร็จในปลายปี 2481 นำไปสู่การสถาปนารัฐนิยมที่ยึดมั่นในลัทธิชาตินิยมและลัทธิบูชาผู้นำ คือ จอม
การอัญเชิญมาประทับประเทศไทย เพื่อต้องการความเป็นเอกภาพภายในประเทศ และเชิญพระองค์
เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งพระองค์ทรงตอบรับการอัญเชิญครั้งที่ 2 นี้ ความสัมพันธ์ระหว่างพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลกับนายปรีดี พนมยงค์ เป็นไปอย่างดีมาก ถึงขนาดยกย่องนายปรีดี พนมยงค์เป็น
รัฐบุรุษอาวุโส แต่กลุ่มอนุรักษ์นิยมนำโดยนายควง อภัยวงศ์ มองนายปรีดีอย่างไม่ไว้วางใจ จึงใช้กลลวงให้
นายปรีดี เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อให้พบกับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ อันเป็นหนทางทำลายความนิยมและบารมีของ
นายปรีดี พนมยงค์ แต่นายปรีดี มิได้สงสัยในกลลวงนี้และรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีวันที่ 24 มีนาคม 2489
ซึ่งในที่สุด นายปรีดีพบจุดจบทางการเมืองเมื่อสำนักพระราชวังมีแถลงการณ์ทางวิทยุกระจายเสียงแห่ง
ประเทศไทยในวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตโดยพระ
แสงปืนจากอุปัทวเหตุ การสอบสวนกรณีสวรรคตของพระองค์ดำเนินไปท่ามกลางการถกเถียงมากมาย
การขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ได้อธิบายแนวคิด “ประชาธิปไตย” ที่แพร่หลายอยู่ในสังคมไทยสมัยนั้นว่า
แบ่งได้เป็น 2 แนวคิด คือ
1.แนวคิดประชาธิปไตยสำนักประเพณี เช่น หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ .,พระองค์เจ้าธานีนิ
วัติ,หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช , หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช มีจุดเริ่มต้นในกลุ่มนักคิดสาย
ราชวงศ์และขุนนางรุ่นแรกที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากตะวันตก แนวคิดหลักของสำนักนี้
อธิบายว่า ระบอบประชาธิปไตยมีมาช้านานแล้ว โดยเฉพาะเมื่อระบอบกษัตริย์ได้รับแนวคิดพุทธ
ศาสนาเรื่อง “เอนกนิกรสโมสรสมมติ” มาใช้ในการปกครอง แนวคิดดังกล่าวคือการอธิบายว่า
พระมหากษัตริย์ทรงขึ้นครองราชย์โดยความเห็นชอบของชุมชนการเมือง พระองค์ทรงอยู่เหนือ
ราษฎรเพียงพระองค์เดียว ส่วนราษฎรทุกคนที่เหลือมีความเท่าเทียมกันหมดไม่มีการแบ่งชนชั้น
วรรณะ และแนวคิดนี้มีอิทธิพลต่อระบบราชการและทหาร
2.แนวคิดประชาธิปไตย แบบสำนักคิดตะวันตก เริ่มอยู่ในกลุ่มนักเรียนนอกพวกที่ไม่สามารถ
ปรับตัวเข้ากับระบบราชการภายหลังการปฏิรูปการปกครองได้
ทั้งสองสำนักคิดนี้ได้พัฒนาขึ้นต้นพุทธศตวรรษที่ 25
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะเสด็จขึ้นครองราชย์สืบราชสันตติวงศ์ตั้งแต่วันที่ 9
มิถุนายน 2489 และเสด็จกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ วันที่ 19 สิงหาคม 2489 เพื่อทรงศึกษาต่อ และทรง
เสด็จนิวัติสู่พระนครเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2493 และทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว ส่งผลให้ผู้สำเร็จราชการแทน
รัฐประหารและความวุ่นวายทางการเมืองของไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
หลังการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มทหารกับกลุ่มรัฐบาลพลเรือน ของนาย
ปรีดี พนมยงค์ ขณะที่ในรัฐสภาก็เกิดความวุ่นวายเช่นกันโดยเกิดการแข่งขันระหว่งพรรรคสหชีพของนาย
ปรีดี กับพรรคประชาธิปัตย์ของนายควง อภัยวงศ์ มีความรุนแรงมาตั้งแต่ก่อนการเสด็จขึ้นครองราชย์ของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ แล้ว
การสวรรคตของ ร. 8 ส่งผลให้รัฐบาลนายปรีดี ถูกโจมตีอย่างมากว่าไม่สามารถพิทักษ์ราชบัลลังก์ไว้
ได้ แม้มีคำสั่งดำเนินการสืบสวนเรื่องดังกล่าวแล้ว นายปรีดีก็ยังถูกสังคมมองว่ามีส่วนรู้เห็นในการลอบปลง
พระชมน์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นผลให้นายปรีดีขอลาออกจากตำแห่งนายกรัฐมนตรี
ในวันที่ 23 สิงหาคม 2489 ผู้ที่มาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อมาคือ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ในระยะแรกถูก
กดดันจากพรรคประชาธิปัตย์จนต้องลาออก แต่เมื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ก็สามารถกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้
อีกครั้ง ในระยะนี้มีข่าวการทำรัฐประหาร แต่ไม่สามารถสกัดกั้นได้ ส่งผลให้ พลโทผิน ชุณหะวัณ เข้ายึด
อำนาจในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 อย่างไรก็ตาม คณะรัฐประหารก็ให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลนายควง ได้จัดการเลือกตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2491 และผลการเลือกตั้งทำให้นายควง เป็น
นายกรัฐมนตรีคนต่อไป แต่หลังจากนั้นคณะรัฐประหารได้ส่งคนไปจี้ ให้นายควงลาออกจากตำแหน่งเพื่อ
เปลี่ยนรัฐบาล ผลปรากฏว่านายควงยินยอมปฏิบัติตาม และทำให้จอมพล ป. กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
ในเดือนเมษายน 2491
สถานะของพระมหากษัตริย์กับบทบาทจอมพล ป. พิบูลสงคราม
การกลับคืนสู่อำนาจของจอมพล ป. นำไปสู่รูปแบบการปกครองที่เน้นความสำคัญของตัวผู้นำ ช่วง
2481 – 2487 สิ่งที่จอมพล ป. พยายามทำมาตลอดคือ การเคลื่อนย้ายบทบาทและอำนาจ จากราชสำนักและ
พระมหากษัตริย์ สู่ตนเองในฐานะผู้นำ ปลูกฝังอุดมการณ์ให้แก่ประชาชนว่าจอมพล ป. เป็น “บิดา” ของ
ประชาชนด้วยการเปรียบเทียบจอมพล ป. กับพ่อขุนรามคำแหง ท้ายที่สุด จอมพล ป. ยังได้อาศัยภาพพจน์ของ
การเป็นผู้นำอุปถัมภ์พุทธศาสนาโดยพฤตินัย มาเสริมสร้างสถานะตนอีกด้วย
อย่างไรก็ตามสถานการณ์ภายหลังรัฐประหาร 2490 แม้จะเต็มไปด้วยความรุนแรง แต่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงสนพระทัยสถานการณ์บ้านเมือง และสมัยนี้ได้จัดตั้ง “สภาร่างรัฐธรรมนูญ” เป็นครั้งแรก
และนายควงสามารถวางเงื่อนไขในกระบวนการร่างรัฐธรรมได้สำเร็จก่อน เป็นรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492
รัฐธรรมนูญนี้มีหลักการสำคัญ คือ การเพิ่มอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการมีส่วนร่วมบริหารบ้านเมืองมาก
การทำรัฐประหารของจอมพล ป. ส่งผลให้บทบาททางการเมืองของจอมพล ป. มีความมั่นคงยิ่งขึ้น
บัญญัติในรัฐธรรมนูญให้มีสภาเดียว โดยแบ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1
ที่มาจากเลือกตั้งและ ประเภทที่ 2 ที่มาจากการแต่งตั้ง สมาชิกประเภทที่สองจึงกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญใน
การค้ำจุนอำนาจของจอมพล ป. ไว้
ในระยะนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้ฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์โดยได้พระราชดำเนิน
ประพาสต่างจังหวัดและมีโครงการตามพระราชดำริ แต่ก็ทรงมิได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากจอม
พล ป. ทำให้สถานะของพระองค์มีความมั่นคงมากขึ้น แต่ก็ส่งผลให้สัมพันธภาพระหว่างพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวกับจอมพล ป. ไม่ราบรื่น ทำให้สถานการณ์รุนแรงยิ่งขึ้นในช่วง 2499 - 2500 จนนำไปสู่จุดจบของ
จอมพล ป. เอง
การที่จอมพล ป. พยายามไม่สนับสนุนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ส่งผลให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะ
รัชต์ เริ่มถอยห่างจากจอมพล ป. ด้วยการไม่ยอมเข้าร่วมรัฐบาลและขัดแย้งกับพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์
อย่างรุนแรง ขณะที่เลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2500 ก็ถูกประชาชนโจมตีว่าเป็นการเลือกตั้งสกปรก
การไฮด์ปาร์คต่อต้านจอมพล ป. เกิดขึ้นมากมาย แต่ตัวจอมพล ป. ยังพยายามรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลและ
เดินหน้าจัดงาน 25 พุทธศตวรรษต่อไป แต่ปรากฏว่าวันปิดงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้มาเป็นองค์
ประธานทำให้ประชาชนมองว่างานดังกล่าวเป็นงานพื้น ๆ ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของจอมพล ป. ส่งผลให้
จอมพล ป. สิ้นสุดอำนาจลงในที่สุด ด้วยการทำรัฐประหารของจอมพลสฤษด์ นะรัช์ ในวันที่ 16 กันยายน
2500 ทำให้จอมพล ป. ต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ และเป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์บทใหม่ของการ
เมืองไทย และจะนำไปสู่พัฒนาการก้าวที่สำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์

2.สมัยระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ( พ.ศ. 2501 - 2516)
ภายหลังการทำรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ วันที่ 16 กันยายน 2500 ได้มอบหมายให้
นายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2500 ขึ้นเป็นผลให้นาย
พนจน์ สารสินลาออกจากตำแหน่ง ส่งผลให้จอมพลสฤษดิ์ ต้องหาบุคคลมาเป็นนายกรัฐมนตรี คือ พลโท
ถนอม กิตติขจร รัฐบาลชุดนี้ต้องเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์และได้มีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล แต่ก็
ไม่เป็นผลสำเร็จ ประกอบกับปัญหาข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหารระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ที่ผล
การตัดสินของศาลโลกให้เขาพระวิหารเป็นของประเทศกัมพูชา ทำให้รัฐมนตรีหลายคนตัดสินใจลาออก
สาเหตุของการทำรัฐประหารครั้งนี้ของจอมพลสฤษดิ์ คือ
1.การคุกคามของกลุ่มคอมมิวนิสต์ภายในประเทศ ด้วยการจะ”กำจัดราชบัลลังก์ ทำลายพุทธศาสนา
และโค่นสถาบันต่าง ๆ ทุกรูปแบบซึ่งชาติไทยเรายึดมั่น”
2.พรรคการเมืองหลายพรรคได้ใช้อภิสิทธิ์และเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยที่บัญญัติไว้ใน
รัฐธรรมนูญในทางที่มิชอบ อันเป็นอุปสรรคต่อความเจริญก้าวหน้าของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชน
กลายเป็นศัตรูซึ่งกันและกัน
3.ปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับเขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่อาจกลายเป็นปัญหาสำคัญจาก
ภายนอกประเทศ
ดังนั้นเพื่อให้ประเทศเจริญก้าวหน้า จึงจำเป็นต้อง “สร้างเสถียรภาพให้แก่ชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับหลัก
ประชาธิปไตยอันมั่นคง ระบบเศรษฐกิจและสังคมอันเหมาะสมสำหรับการอยู่รอดของชาติและของประชาชน
คนไทย” การทำรัฐประหารครั้งที่ 2 นี้แตกต่างจากการทำรัฐประหารครั้งที่ 1 กล่าวคือการทำรัฐประหารครั้งที่ 2
เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารประเทศที่เกิดความยุ่งยากที่ทำให้รัฐบาลพลเอกถนอมต้องเผชิญกับ
ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองจนเป็นอุปสรรคในการบริหารประเทศในขณะนั้น ส่วนรัฐประหารครั้งที่ 1
เป็นรัฐประหารเพื่อเปลี่ยนตัวรัฐบาลซึ่งไม่เป็นที่นิยมของประชาชนอันเนื่องมาจากการฉ้อราษฎร์บังหลวง
จึงหันมาสู่การสร้างระบบการปกครองแบบใหม่ขึ้นมาทดแทน เพื่อใช้ในการปกครองประเทศเป็นการเฉพาะ
นั่น คือ “การสร้างประชาธิปไตยแบบไทย”
จอมพลสฤษดิ์ เห็นว่าปัญหาการบริหารประเทศมีสาเหตุมาจากการที่คณะราษฎรนำระบอบ
ประชาธิปไตยตะวันตกมาใช้ซึ่งเห็นว่าไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง
และเห็นว่าการจัดระเบียบการปกครองของไทยต้องอาศัยหลัก 3 ประการ คือ การเมืองการปกครองต้องอาศัย
หลักการของไทยเราเอง จะต้องละทิ้งอุดมการณ์ของต่างประเทศ และจะต้องฟื้นฟูอุดมการณ์แบบไทยให้เป็น
อุดมการณ์หลักของชาติ ประชาธิปไตยแบบไทยที่เหมาะสม คือ รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารมีอำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติ และมี
อำนาจสูงสุด ไม่ใช่รัฐบาลของพรรคการเมือง ดังนั้น พรรคการเมืองและการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนจึง
ไม่ใช่เป็นสิ่งจำเป็นต่อระบบการเมืองไทย
ระเบียบการเมืองการปกครองแบบใหม่ แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ รัฐ/รัฐบาล,ข้าราชการ และประชาชน
กล่าวคือรัฐบาลมีอำนาจสูงสุด แล้วมีระบบราชการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและปฏิบัติตามคำบัญชาของ
ผู้ปกครองโดยตรง ยอมรับการชี้แนวทางจากรัฐบาล โดยเฉพาะจากตัวผู้นำเป็นสำคัญ ส่วนประชาชนก็อยู่ใน
ฐานะกำกับดูแลจากรัฐบาลหรือได้รับความยินยอมจากรัฐบาลเท่านั้น และยังเสนอให้ประยุกต์การปกครองให้
จอมพลถนอม กิตติขจร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อมา บริหารประเทศตามแบบจอม
พลสฤษดิ์ ทั้งการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบไทย และนโยบายต่างประเทศที่ผูกความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ
อเมริกา และผลจากการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 สร้างความเจริญก้าวหน้าตามมา
แต่ก็สร้างปัญหาตามมาด้วย รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังต้องเผชิญกับความ
กดดันจากประชาชน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับรัฐบาลถนอม กิตติขจร
ภายหลังจากเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 จอมพลถนอมได้กลับเข้ามาดำรงแหน่ง
นายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง แต่ต่อมาเริ่มได้รับการปฏิเสธจากสภาผู้แทนราษฎร และต่อต้านรุนแรงขึ้นใน พ.ศ.
2513 ไม่ว่าจะเป็นการวิพากษ์นโยบายรัฐบาล การยับยั้งพระราชบัญญัติงบประมาณ ดังนั้น จอมพลถนอม จึง
ไม่พอใจกับแรงต่อต้าน จนกลายเป็นความขัดแย้ง จอมพลถนอมจึงทำรัฐประหารรัฐบาลของตนเอง เมื่อ พ.ศ.
2514
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
สภาพการณ์ของเหตุการณ์
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เริ่มต้นด้วยการแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญของกลุ่มนักศึกษาและ
อาจารย์กลุ่มหนึ่ง แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมวันที่ 6 ตุลาคม จำนวนทั้งสิ้น 11 คน โดยตั้งข้อหาว่า
“ชักชวนให้มีการชุมนุมทางการเมือง” ขัดขืนคำสั่งปฏิวัติ ฉบับที่ 4 และ”ขบถภายในราชอาณาจักร” ตาม
กฎหมายมาตรา 116 หลังจากนั้นศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์คัดค้านการจัด
กุมของรัฐบาลเผด็จการ “ถนอม – ประภาส” ต่อมาในวันที่ 7 ตุลาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลได้เข้าจับกุม
นักศึกษาเพิ่มอีกคนหนึ่ง คือ นายก้องเกียรติ คงคา นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และต่อมาเจ้าหน้าที่
สันติบาลได้ออกหมายจับนายไขแสง สุกใส อดีต ส.ส. นครพนม เนื่องจากเห็นว่ามีส่วนในการชักใยอยู่
เบื้องหลังการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
การประท้วงการกระทำดังกล่าว เริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยการปิดโปสเตอร์และการ
อภิปรายโจมตีการกระทำของรัฐบาล การประท้วงเริ่มขยายวงกว้างและเกิดขึ้นในเกือบทุกมหาวิทยาลัย ใน
เวลาต่อมาจึงได้มีการนัดรวมตัวชุมนุมใหญ่กันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีผู้ประท้วงจำนวนมากต่างทยอย
กันมาเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณเพื่อกดดันให้รัฐบาลปฏิบัติตามข้อเรียกร้องให้ปล่อยตัวทั้ง 13 คน แต่ได้รับการ
ปฏิเสธจากทางฝ่ายรัฐบาล ส่งผลให้กลุ่มผู้ประท้วงต้องตัดสินใจที่จะเดินขบวนประท้วง และต่อสู้ด้วยวิธี
“อหิงสา” จนกว่าจะประสบผลสำเร็จ โดยมุ่งไปชุมนุมประท้วงกันที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
กลุ่มนักศึกษาพยายามเรียกร้องโดยเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ 2475 โดยโยงการต่อสู้ของตนกับการ
ต่อสู้ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้สามารถปลุกระดมได้เป็นอย่างมาก และกลุ่มนักศึกษา
ชื่อว่า “กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ” ได้หยิบยกข้อความจากพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งสละราชสมบัติมาตำหนิพฤติกรรมการปกครองแบบเผด็จการของจอมพลถนอมอีกด้วย
ข้อความดังกล่าวถูกนำมาตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นปกหน้าหนังสือของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม
โดยมีข้อความว่า “ ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่
ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้กีผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด
และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร”
ในเวลาต่อมาข้อความดังกล่าวยังถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ทางใบปลิวของกลุ่มนักศึกษา และถูก
นำไปใช้กล่าวอ้างอย่างสม่ำเสมอตลอดช่วงการชุมนุมประท้วง จนข้อความดังกล่าวกลายเป็นส่วนสำคัญใน
การเชื่อมโยงสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความใกล้ชิดกับระบอบประชาธิปไตย และช่วยเสริมสร้างภาพพจน์
ของกษัตริย์ประชาธิปไตยในสังคมไทย นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่ง
ประเทศไทย ตัวแทนนักศึกษาส่งตัวแทนขอเข้าเฝ้า ฯ เพื่อให้พระองค์ทรงช่วยเหลือจัดการกับปัญหานี้ ข้อ
เรียกร้องได้รับการยินยอมปฏิบัติตามจากฝ่ายรัฐบาล โดยยอมปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 13 คน โดยไม่มีเงื่อนไข
และจะจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้ภายในเดือน ตุลาคม 2517 แต่เนื่องจากปัญหาการขาดการติดต่อ
กับกลุ่มที่เข้าเฝ้า ฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ กลุ่มประท้วงที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจึงไม่ทราบ
ถึงการยินยอมของรัฐบาล และได้เดินขบวนมายังพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
ในเวลา 04.30 น. ของวันที่ 14 ตุลาคม 2516 พ.ต.อ. วิสิษฐ์ เดชกุญชร ได้อัญเชิญพระบรมราโชวาท
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ มาอ่าน เพื่อเตือนสติกลุ่มนิสิตนักศึกษาและข้อเรียกร้องให้ยกเลิกการ
ชุมนุมประท้วง เมื่ออ่านพระบรมราโชวาทแล้ว เหตุการณ์กลับไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมต้อง
เผชิญหน้ากับตำรวจในขณะที่กำลังจะสลายตัว และเกิดการต่อสู้กันขึ้น จนนำไปสู่การกวาดล้างผู้ชุมนุมครั้ง
ใหญ่จากตำรวจและทหาร ภายใต้การบังคับบัญชาของจอมพลถนอมและจอมพลประภาส เหตุการณ์ครั้งนี้ทำ
ให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก
ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงเข้ามาเป็นผู้ระงับเหตุการณ์โดยที่ พลเอกกฤษณ์ สีวะรา ผู้
บัญชาการทหารบก ก็มีความเห็นคล้อยตามด้วย พระองค์ทรงขอให้จอมพลถนอมลาออกจากตำแหน่ง

3.สมัยระบอบประชาธิปไตยแบบแบ่งปันอำนาจ (2516- 2544)
การสลายลงของการผูกขาดอำนาจนับตั้งแต่ 14 ตุลาคม นำพาให้ระบอบประชาธิปไตยในไทย
เดินทางไปสู่ยุคสมัยใหม่ ที่เปิดกว่างให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น
สภาพทางการเมืองหลังการสลายลงของการผูกขาดอำนาจ
เมื่ออำนาจว่างลงกลุ่มต่าง ๆ ทางการเมืองพยายามพยายามเข้ามามีอำนาจ รัฐบาลนายสัญญา ธรรม
ศักดิ์ เป็นรัฐบาลที่อิสระจากอิทธิพลจากกลุ่มข้าราชการ มีความชัดเจนทางการเมืองมากขึ้นเนื่องจากมี
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 กลุ่มนักธุรกิจเรื่องผันตัวเองเข้าสู่การเมืองผ่านพรรคการเมือง ส่วนกลุ่มนักศึกษาและ
กรรมกรมีบทบาทมากที่สุด สองกลุ่มนี้เริ่มเคลื่อนไหวมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ได้รับอิทธิพลและถูกแทรกซึม
จากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอีกด้วย
กลุ่มนักศึกษาได้รับการตอบสนองอย่างดีจากรัฐบาลนายสัญญา และมีส่วนร่วมในการเผยแพร่
ประชาธิปไตย ขณะเดียวกันกลุ่มข้าราชการและนักธุรกิจไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเท่าใดนัก แต่ดำรง
อยู่เพียงระยะชั่วคราวเท่านั้น
การร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 ได้นำสมัชชาแห่งชาติ อันเนื่องเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเรียกว่า “ สภาสนามม้า” เนื่องจากจัดการประชุมสมัชชาที่ราชตฤณมัยสมาคม หรือสนามม้า
นางเลิ้ง สภานี้มาจากกลุ่มทางการเมืองที่หลากหลาย เช่น ข้าราชการ นักธุรกิจ นักวิชาการ กรรมกร เกษตรกร
ตลอดจนนักศึกษา ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่งของประเทศไทย มีบัญญัติ
เรื่องสิทธิเสรีภาพไว้ในหมวดที่ 3 จึงเป็นที่พอใจของประชาชนโดยเฉพาะนักศึกษา
กลุ่มนักธุรกิจเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ขณะเดียวกันกลุ่มนักศึกษาและกรรมกรก็มีบทบาทเคลื่อนไหว
นอกรัฐสภา มีการประท้วง 731 ครั้ง ช่วงปี 2517 - 2519 สิทธิเสรีภาพที่มีอย่างเต็มที่ในรัฐธรรมนูญเป็นการ
เปิดทางให้กลุ่มสังคมนิยม หรือซ้ายจัด สามารถออกมาเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผย
สถานการณ์เริ่มไม่เป็นที่พอใจของกลุ่มอนุรักษ์นิยม และกลุ่มขวาจัด นำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มนวพ
ลและกลุ่มกระทิงแดง เพื่อเคลื่อนไหวต่อต้านกลุ่มซ้ายจัดอย่างรุนแรง กลุ่มขวาจัดได้รับการสนับสนุนจาก
กลุ่มข้าราชการที่กังวลต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและไม่พอใจบทบาทตนเอง ซึ่งถูกกีดกันออกจากการเมือง
ด้วยมาตรา 118 มิให้ข้าราชการเข้ามามีตำแหน่งทางการเมือง
ในที่สุดสถานการณ์เริ่มมาถึงขีดสุด เมื่อเกิดความวุ่นวายในรัฐสภาและนอกรัฐสภา กลุ่มซ้ายจัดได้เริ่ม
เคลื่อนไหวทางการเมืองในทิศทางที่ล่อแหลมและยั่วยุกลุ่มขวาจัดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลุ่มขวาจัดเริ่มใช้ความ
รุนแรงในการจัดการกับกลุ่มซ้ายจัดอย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เป็นเหตุการณ์ประท้วง และนำไปสู่การทำรัฐประหาร โดยคณะปฏิรูป
การปกครองแผ่นดินภายใต้การนำของพลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ และคณะนายทหาร ทหารสามารถเข้ายึด
อำนาจได้ มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีอย่างเด็ดขาดคล้ายกับรัฐธรรมนูญฉบับ
พ.ศ. 2502 ของจอมพลสฤษดิ์ และแต่งตั้งให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
ส่วนคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินก็ได้กลายสภาพตนเองไปเป็นสภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี คณะปฏิรูป
การปกครองแผ่นดินยังจัดตั้งสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมาทำหน้าที่นิติบัญญัติ โดยมีสมาชิกทั้งหมด 340
คน ประกอบด้วยข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือน
สภาพการณ์ก่อนเหตุการณ์
ใน พ.ศ. 2518 – 2519 เป็นช่วงเวลาที่มีความผันผวนในภูมิภาคอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงของ
ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาวและกัมพูชา สร้างความวิตกต่อภัย “คอมมิวนิสต์” และกลัวว่าไทยกำลังเป็น
เป้าหมายต่อไปตามทฤษฎีโดมิโน พร้อมกับปัญหาทางการเมืองภายในที่มีความแตกแยกทางความคิดระหว่าง
แนวคิดอนุรักษ์นิยมและสังคมนิยม รวมทั้งความขัดแย้งในชนบท
กลุ่มอนุรักษ์นิยมได้เตรียมปลูกฝังความคิดอุดมการณ์ให้กับมวลชนจัดตั้ง ได้แก่ ลูกเสือชาวบ้าน กลุ่ม
กระทิงแดง กลุ่มนวพล ชมรมแม่บ้าน ให้มีความหวาดวิตกภัยคอมมิวนิสต์และพร้อมเผชิญหน้ากับแนวคิด
สังคมนิยม ตลอดจนความขัดแย้งในกลุ่มชนชั้นนำทางอำนาจและกลุ่มทหารเองที่พยายามสร้างเงื่อนไขในการ
ยึดอำนาจ เช่น การสนับสนุนให้จอมพลถนอม และจอมพลประภาส เดินทางกลับมาไทย เป็นชนวนให้
นักศึกษาและประชาชนต่อต้าน และเป็นโอกาสให้เกิดการทำรัฐประหาร ผู้นำทหารโดยพลเรือเอกสงัด ชลอ
อยู่ ได้กราบบังคมทูลขอคำปรึกษาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อกราบบังคมทูลให้ทรงทราบถึง
สถานการณ์บ้านเมืองว่าเป็นที่น่าวิตก ถ้าปล่อยไว้อาจเป็นเหมือนเขมรและลาวจึงเห็นควรปฏิวัติ และหลัง
ปฏิวัติแล้วจึงอยากให้พลเรือนมาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยพลเรือเอกสงัด ได้กราบทูลรายชื่อบุคคลที่น่าจะเป็น
นายกรัฐมนตรีจำนวน 15 คน แต่มิได้มีคำสั่งสนับสนุนผู้ใด แต่ก่อนออกจากที่เฝ้า ในหลวงทางได้รับสั่งว่า
จะทำอะไรลงไปก็ควรปรึกษานักกฎหมาย คือ คุณธานินทร์ กรัยวิเชียร ผู้พิพากษาศาลฎีกา
นักศึกษาและประชาชนได้ประท้วงการกลับมาของจอมพลถนอมและจอมพลประภาส นำไปสู่การ
ปราบปรามในเช้าตรู่วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มที่มีส่วนในเหตุการณ์
ประกอบด้วย ตำรวจตระเวนชายแดน ลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มกระทิงแดง กลุ่มนวพล ส่งผลให้นักศึกษาและ
ประชาชนถูกสังหาร จำนวน 41 ราย และมีการจับกุมแกนนำหลายคน อีกทั้งการกวาดจับนิสิตนักศึกษาและ
ประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หลายพันคน ท่ามกลางความวุ่นวายของเหตุการณ์
การปราบปรามและกวาดจับผู้ชุมนุมและความไร้เสถียรภาพในการสั่งการของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ในช่วง
เย็นนั้นเอง มีกลุ่มทหารที่เรียกตัวเองว่า “ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” ได้เข้ารัฐประหารยึดอำนาจจาก
รัฐบาลได้สำเร็จ ต่อมาพระบาทเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร (2519 - 2520)
ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ
ภายหลังเหตุการณ์ การรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 รัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้าบริหารประเทศ
ไม่นาน ได้เกิดการรัฐประหารรัฐบาลธานินทร์ ในวันที่ 20 ตุลาคม 2520 นำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งและช่วง
ชิงอำนาจกันในกลุ่มผู้นำทหารภายในคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ระหว่างพลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ กับพล
เอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และกลุ่มทหารอื่น ๆ เช่น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นอกจากกลุ่มภายในคณะ
รัฐประหารแล้วยังมีกลุ่มนายทหารระดับนายพันที่กุมกำลังให้การสนับสนุน คือ “กลุ่มยังเติร์ก” หรือ จปร.7
นำโดยพันเอกมนูญ รูปขจร พันเอกประจักษ์ สว่างจิตร และพันเอกจำลอง ศรีเมือง เป็นต้น กลุ่มยังเติร์ก
สนับสนุนให้พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ขณะนั้นเป็นเลขาธิการคณะปฏิรูป ฯ เป็นนายกรัฐมนตรี แทนพลเรือ
เอกสงัด หัวหน้าคณะปฏิรูป ฯ ขณะนั้น หลังการทำรัฐประหารรัฐบาลนายธานินทร์แล้ว นายเกรียงศักดิ์
ชมะนันท์ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ได้จัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 และ
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ถูกขนานนามว่าเป็น “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” การที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ถูกขนานนาม
ว่าเป็น “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” คือ เป็นการจัดวางดุลอำนาจทางการเมืองระหว่างพลังประชาธิปไตยกับพลัง
กองทัพ ให้กองทัพสามารถควบคุมทิศทางการเมืองได้ เช่น ข้าราชการประจำสามารถควบตำแหน่งทาง
การเมืองได้ และสมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง
กบฏเมษาฮาวาย
พ.ศ. 2523- 2531 เป็นช่วงสมัยพลเอกเปรม ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีและตำแหน่งผู้
บัญชาการทหารบก ภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มยังเติร์กและถอนการสนับสนุนพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
โดยใน พ.ศ. 2523 ได้มีความพยายามในการต่ออายุราชการพลเอกเปรม เนื่องจากเหตุเกษียณอายุราชการ ให้
สามารถดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกได้อีก 1 ปี แต่ถูกคัดค้านจากกลุ่มยังเติร์ก หลังจากนั้นพลเอกเปรม
ได้เรียกประชุมพรรคร่วมรัฐบาลทำให้ท่าทีของพรรคร่วมรัฐบาลเปลี่ยนไปเป็นการให้การสนับสนุน
นอกจากนี้เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนอย่างกว้างขวาง นำมาซึ่งปัญหาความขัดแย้ง
ทางการเมืองในกลุ่มทหารเองและกับประชาชน
มีนาคม 2524 พลเอกเปรม ได้ปรับคณะรัฐมนตรีและมีข่าวว่ามีการต่ออายุราชการอีก 1 ปี ทำให้เกิด
การเผชิญหน้ากันระหว่างระหว่างนายกรัฐมนตรีกับกลุ่มยังเติร์ก ส่งผลให้กลุ่มยังเติร์ก ก่อการรัฐประหารใน
วันที่ 1 เมษายน 2524 เรียกว่า “กบฏเมษาฮาวาย” แต่ไม่สำเร็จ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติการของ”
กองบัญชาการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” หลังจากเหตุการณ์นี้ทำให้อำนาจของพลเอกเปรมมี
ความมั่นคง
อย่างไรก็ตามในวันที่ 9 กันยายน 2528 กลุ่มยังเติร์ก ได้พยายามก่อรัฐประหารรัฐบาลพลเอกเปรม
อีกครั้ง ต่อก็ไม่ประสบความสำเร็จ แต่รัฐบาลพลเอกเปรมยังคงเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนและ
สื่อมวลชนในปีที่ 8 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พลเอกเปรมเป็นองคมนตรีและ
ประธานองคมนตรีในเวลาต่อมา
เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ 2535
หลังจากพลเอกเปรมยุติบทบาททางการเมืองในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว พลเอกชาติชาย ชุณหะ
วัณ ได้รับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนถัดมา ( 2531- 2534) การเมืองไทยไร้เสถียรภาพอีกครั้ง เมื่อเกิดรัฐ
ประหาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยกลุ่มผู้นำทางทหารที่เรียกตัวเองว่า “ คณะรักษาความสงบ
เรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)” นำโดยพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ พลเอกสุจินดา คราประยูร พลเอกอิสระพงษ์ หนุน
ภักดี พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ฯลฯ ได้เข้าทำรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย โดยอ้างว่า รัฐบาลทุจริต
แทรกแซงข้าราชการ เผด็จการรัฐสภา ทำลายสถาบันทหาร กับการลอบสังหารบุคคลสำคัญและคิดล้มล้าง
สถาบันพระมหากษัติรย์ แต่ปัญหาที่แท้จริง คือ การโยกย้ายตำแหน่งในกองทัพทำให้เกิดการแบ่งปันอำนาจที่
ไม่มีความสมดุลในกลุ่มทหารระหว่างกลุ่ม จปร. 5 และ จปร. 7 และหลังจากการยึดอำนาจเสร็จแล้ว รสช. ได้
สัญญาว่าจะคืนอำนาจให้ประชาชนโดยเร็ว ต่อมาเมื่อ รสช. ยึดอำนาจสำเร็จแล้วได้ประกาศใช้ธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้โปรดเกล้าให้นายอานันท์ ปันยารชุน
เป็นนายกรัฐมนตรี ( 2534 - 2535) การบริหารประเทศและดำเนินการ่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2534 จนสามารถเลือกตั้งทั่วไปได้ ผลการเลือกตั้งปรากฎว่าพรรคสามัคคีธรรมได้เป็นแกนนำในการ
จัดตั้งรัฐบาล แต่บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมิได้ระบุว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจาก
สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ดังนั้น พรรคสามัคคีธรรมได้เชิญพลเอกสุจินดา เป็นนายกรัฐมนตรี แต่พรรค
การเมืองฝ่ายค้านและประชาชนคัดค้าน เนื่องจากก่อนหน้านี้พลเอกสุจินดา เคยกล่าวว่า การรัฐประหารที่ได้
ทำไปนั้นหาได้มีความต้องการเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ภายหลังกลับยอมรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยการให้
เหตุผลว่ายอม “ เสียสัตย์เพื่อชาติ”
การยอมรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีส่งผลให้ประชาชนไม่พอใจมากและเริ่มชุมนุมกัน ซึ่งมีพลตรี
จำลอง ศรีเมือง เป็นแกนนำสำคัญ เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และให้นายกรัฐมนตรีมาจาก
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประชาชนจำนวนหลายแสนคนได้เข้าร่วมชุมนุมบริเวณถนนราชดำเนิน การ
ประท้วงและเหตุการณ์ได้ลุกลามจนกลายเป็นเหตุจลาจลเกิดความเสียหายทั่วกรุงเทพ ฯ และมีท่าทีเสียหายอีก
มากและนำไปสู่การเผชิญหน้าระหว่างกองทัพและกลุ่มผู้ชุมนุมในช่วง 17 – 20 พฤษภาคม 2535 จนนำไปสู่
ความรุนแรง มีประชาชนบาดเจ็บ เสียชีวิตและสูญหายจำนวนมาก
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้พลเอกสุจินดา นายกรัฐมนตรี กับพลตรี
จำลอง ผู้นำการประท้วง เข้าเฝ้า ณ ตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 หลังการปะทะกัน
ระยะหนึ่ง เหตุการณ์การเข้าเฝ้า ฯ ได้รับการเผยแพร่ภาพและเสียงทางวิทยุโทรทัศน์ทั่วประเทศ หลังจากนั้น
ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2535 พลเอกสุจินดา ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรค
สามัคคีธรรมได้เสนอ พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่ง
ยังคงมีกระแสต่อต้าน สุดท้ายวันที่ 10 มิถุนายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ
ให้นายอานันท์ ปันยารชุน กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ตามการเสนอชื่อโดยนายอาทิตย์ อุไรรัตน์
ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อสร้างความปรองดองในสังคมการเมือง และดำเนินการจัดการเลือกตั้งให้
เป็นไปตามความต้องการของประชาชนชาวไทย อันนำไปสู่กระบวนการปฏิรูปการเมืองที่เริ่มต้นจากการริเริ่ม
ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2535 เพื่อดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ในเวลาต่อมา
การปฏิรูปการเมือง พ.ศ. 2540
ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ มีความเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง จนนำไปสู่
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 และการเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 (รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน)
ซึ่งมีสาระประกอบไปด้วยข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมพฤติกรรมนักการเมือง ระบบการตรวจสอบและ
ถ่วงดุลอำนาจขององค์กรการเมือง การจัดตั้งองค์กรอิสระ การทำให้องค์กรการเมืองมีประสิทธภาพ และการ
ทำให้องค์กรของฝ่ายบริหารสามารถบริหารนโยบายได้โดยมีความเป็นผู้นำที่มีความเข้มแข็ง

4.สมัยประชาธิปไตยแบบรัฐบาลพรรคเดียว (2544 - 2549)
เหตุใดรัฐบาลพรรคไทยรักไทย จึงมีเสถียรภาพทางการเมือง
รัฐบาลพันตำ รวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ดำ รงรงตำ แหน่งเป็น
นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของประเทศ ได้สร้างประวัติศาสตร์โฉมหน้าใหม่ให้กับการเมืองไทย คือ เป็นรัฐบาล
ที่มาจากการเลือกตั้งรัฐบาลแรกที่มีผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคไทยรักไทยเพียงพรรคเดียว
ชนะเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ถึงสองสมัยติดต่อกันผ่านการ
เลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2544 และการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548
สาเหตุของการชนะเลือกตั้ง
ผู้นำพรรครวมทั้งคณะผู้บริหารของพรรคได้เลือกนำเสนอภาพลักษณ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากพรรค
การเมืองอื่น ๆ โดยมีแนวคิดที่นำลักษณะการบริหารงานธุรกิจมาปรับใช้กับการบริหารบ้านเมือง ด้วย
สโลแกน “คิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อคนไทยทุกคน” ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2544 สโลแกน “4 ปี ซ่อมความ
หายนะจากวิกฤติ 4 ปี สร้างชาติให้แข็งแกร่ง” ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 เพื่อสานต่อนโยบายเดิม
จุดเด่นของพรรคไทยรักไทย
1. นโยบายพรรคที่มีลักษณะพิเศษ คือ ความสามารถในการเอานโยบายสาธารณะมาสร้างกระแส
ความนิยมทางการเมือง โดยใช้หลักจิตวิทยามวลชนในแบบประชานิยม (Populism) ที่นำเสนอออกมาเป็น
รูปธรรมและปรากฏเป็นจริงทำให้คนรากหญ้ารู้สึกว่าตนเองได้รับ หรือกำลังจะได้รับการดูแลจากผู้นำและ
ได้รับการแบ่งปันทรัพยากรทางการเงินหรืองบประมาณจากรัฐบาลอย่างเท่าเทียม หรือเสมอ ๆ กับกลุ่มคนที่มี
สถานภาพดีกว่าในกลุ่มอื่น ๆ ภายใต้การนำทางนโยบายของพรรคไทยรักไทยโดยรวมที่ไม่ได้เน้นให้เกิด
ความรู้สึกว่าประเทศมีชนชั้น ซึ่งทำให้คนรากหญ้าเห็นว่าพรรคไทยรักไทยเป็นความหวังเดียวทางการเมือง
2. ภาพลักษณ์ (Image) ของพันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร ที่มีดีกรีดอกเตอร์ เป็นนักบริหารที่มี
วิสัยทัศน์กว้างไกล คิดไว ทำไว และเป็นตัวอย่างของบุคคลที่ประสบความสำเร็จในเรื่องธุรกิจและชีวิต
ครอบครัว จนยากที่จะทำให้ผู้นำพรรคการเมืองใดมาเทียบเคียง
ลักษณะการบริหารประเทศ
มีลักษณะการบริหารประเทศที่มีแนวโน้มรวบอำนาจเบ็ดเสร็จของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย
นักวิชาการจึงให้คำจำกัดความรูปแบบการบริหารประเทศว่า “การเมืองระบอบทักษิณ” “ทักษิณาธิปไตย
(Thaksinocracy)” “ทรราชเสียงข้างมาก (Tyranny of the majority)” “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์จากการ
เลือกตั้ง” และเรียกระบบเศรษฐกิจซึ่งมีการดำเนินการและเกิดมีผลประโยชน์จากนโยบายรัฐบาลในสมัยนี้ว่า
“ระบบทักษิโณมิกส์ (Thaksinomics)”
สาเหตุที่เกิดการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ เนื่องจากหัวหน้าพรรคและนายทุนของพรรคล้วนมีพื้นฐานมา
จากกลุ่มธุรกิจสัมปทานขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีประสบการณ์และมีความคุ้นเคยกับการผูกขาดมาแล้วใน
ลักษณะหนึ่ง ได้แก่ ธุรกิจสื่อสาร – โทรคมนาคม กลุ่มอุตสาหกรรมพิเศษบางประเภท ส่งผลให้พรรคไทยรัก
ไทยมีฐานอำนาจทางการเงินที่แข็งแกร่ง และที่สำคัญคือนโยบายประชานิยมที่ให้ผลประโยชน์โดยตรงให้แก่
ชาวบ้านโดยไม่ต้องผ่านระบบอุปถัมภ์ของนักการเมืองในระดับจังหวัด รวมทั้งนักการเมืองท้องถิ่น ดังนั้น จึง
มีผลสืบเนื่องกลายเป็นการสลายฐานอำนาจของนักการเมืองในระบบหัวคะแนนแบบที่เคยเป็นมา
นักเศรษฐศาสตร์การเมืองบางท่าน ได้อธิบายการเมืองการปกครองในแบบดังกล่าวว่าเป็นระบบของ
“ธนกิจการเมือง” (Money Politics) คือ กลุ่มทุนขนาดใหญ่กลุ่มใหม่ได้เข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจและ
การเมืองทดแทนกลุ่มการเมืองเดิม หรือกลุ่มทุนเก่า ที่ล้มละลาย อ่อนกำลังลง และสูญเสียกิจการของตนไป
ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540
สภาวะการนำทางการเมืองของระบอบทักษิณ ได้เลิกพึ่งพาเทคโนแครต ผู้เชี่ยวชาญที่เคยเป็นหลัก
ของการบริหาประเทศ รวมทั้งปัญญาชนและนักวิชาการที่เคยเป็นตัวกลางของความรู้และมีบทบาทวิพากษ์
นโยบายระหว่างรัฐกับประชาชน ปัญญาชน นักวิชาการอิสระ และเอ็นจีโอ เครือข่ายประชาชน สมัชชาคนจน
ลักษณะเช่นนี้ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรียกว่า “เสียงเดียวในความเงียบ” เนื่องมาจากประเด็นสาธารณะในสังคมไทย
มาจากพันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร และถูกนำเสนอผ่านสื่อไปยังประชาชน ประกอบกับแหล่งผลิตญัตติ
บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540
ข้อได้เปรียบทำให้รัฐบาลพรรคไทยรักไทยมีเสถียรภาพ นอกจากจะเกิดจากความสามารถในการนำ
และการจัดการภายในพรรคไทยรักไทยแล้ว ยังเกิดจากปัจจัยสำคัญ คือ ข้อได้เปรียบภายใต้โครงสร้าง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่มุ่งสร้างฝ่ายบริหารให้มีความเข้มแข็ง ทำให้พันตำรวจโท ดร.
ทักษิณ มีอำนาจเหนือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคไทยรักไทย และมีอำนาจเหนือฝ่ายรัฐสภาไปด้วย
นอกจากนี้ข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้ ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมืองก่อนการเลือกตั้งก่อน
90 วัน ส่งผลให้พันตำรวจโททักษิณ สามารถรวบรวมอำนาจเบ็ดเสร็จได้ภายในไทยรักไทย โดยใช้บทบัญญัติ
ในรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือควบคุมทางการเมืองกับ ส.ส. ให้อยู่ภายใต้อาณัติอย่างเคร่งครัด เพราะอนาคต
ทางการเมืองจะขึ้นอยู่กับว่าหัวหน้าพรรคจะส่ง ส.ส. ผู้นั้น ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งต่อไปหรือไม่
นอกจากนี้ผลลัพธ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 อีก คือ การเสริมอำนาจให้พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ
ผ่านมาตรการปลดรัฐมนตรี เนื่องจาก ส.ส. ที่เข้ารับตำแหน่งต้องพ้นจากสมาชิกภาพ ส.ส. ไปตามบทบัญญัติ
รัฐธรรมนูญ และเมื่อถูกปลดออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นต้น
สรุปได้ว่า วิธีการบริหรกรเมืองภายในและภายนอกพรรคของ พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ รวมทั้ง
โครงสร้างของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เป็นปัจจัยทำให้รัฐบาลพรรคไทยรักไทยมีเสถียรภาพมั่นคงและอำนาจ
รวมศูนย์มาอยู่ที่ตัวนายกรัฐมนตรี
ในช่วง 5 ปี ที่คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลพรรคไทยรักไทยต้องเผชิญกับการตรวจสอบของฝ่ายนิติ
บัญญัติ จะได้รับความไว้วางใจจากเสียงข้างมากของ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลทุกครั้งเช่น กรณีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
กับกรณีจัดซื้อ CTX 9000 กรณีนายเนวิน ชิดชอบ กับกรณีกล้ายางและไข้หวัดนก นายอดิสัย โพธามิกกับกรณี
การบริหารงานที่กระทรวงศึกษาธิการ แต่ไม่สามารถสั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาลได้ เพียงแต่ปรับสมดุล
กระแสของภาคสังคมให้อ่อนลง ด้วยการปรับคณะรัฐมนตรีและปลดรัฐมนตรี นอกจากนี้ฝ่ายค้านมีไม่ถึง 200
เสียง จึงไม่มีโอกาสในการตรวจสอบการทำงานของนายกรัฐมนตรี
การทำงานของคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถทำงานตรวจสอบการทำงานของ
รัฐบาลได้ เนื่องจากคณะกรรมาธิการมาจากตัวแทนแต่ละพรรคการเมือง โดยแต่งตั้งตามสัดส่วนของแต่ละ
พรรคที่มี ส.ส. อยู่ในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อสมาชิกของพรรครัฐบาลเป็นเสียงข้างมากในคณะกรรมาธิการ จึง
ส่งผลให้กลไกการตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาลโดยคณะกรรมาธิการไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด
ส่วนของวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ใน พ.ศ. 2543 ถูกรัฐบาลครอบงำ เนื่องจากรัฐบาลได้เข้ามา
จัดตั้งวุฒิสภาสายรัฐบาลและเสนอผลประโยชน์ให้แก่สมาชิกวุฒิสภาบางคน ทั้งนี้เพื่อให้กฎหมายที่เสนอโดย
รัฐบาลได้รับความเห็นชอบ
รัฐบาลพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า เข้าไปครอบงำองค์กรอิสระ เช่น ปปช. กกต.
สตง. กรณีแต่งตั้งคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
นอกจากนี้ ช่วง “ขาลง” รัฐบาลพรรคไทยรักไทยได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ เช่น ปัญหาคอรัปชั่นเชิง
นโยบาย การแทรกแซงสื่อและองค์กรอิสระ ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ การละเมิดสิทธิมนุษยชน จน
ออกมาเป็นข้อเขียนของนักวิชาการ เช่น รู้ทันทักษิณ ทักษิโณมิกส์ เป็นต้น
สิ่งที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของพันตำรวจโท ดร. ทักษิณ คือ ปัญหาจริยธรรมทางการเมืองโดยเฉพาะ
กรณีการขายหุ้นชินคอร์ป ให้แก่กองทุนเทมาเส็ก ประเทศสิงคโปร์ เป็นจำนวน 73,000 ล้านบาท โดยไม่เสีย
ภาษี ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นครอบครัวของพันตำรวจโท ดร. ทักษิณ และเครือญาติ ปัญหาดังกล่าวนำไปสู่การ
ยุบสภาของพันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 และก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์จาก
สังคมตามมา ว่านายกรัฐมนตรีหนีการซักฟอกจากสภาผู้แทนราษฎร ข้อกล่าวหาดังกล่าวยังไม่มีคำตอบให้กับ
ประชาชนอย่างชัดเจน และทำให้เกิดข้อสงสัยตามมา ทั้งหมดนี้เป็นผลพวงมาจากระบบการตรวจสอบในสภา
ผู้แทนราษฎรและในองค์กรอิสระ
ด้วยเหตุนี้การต่อสู้คัดค้านอำนาจพันตำรวจโท ดร.ทักษิณ และรัฐบาลไทยรักไทย ในวงนักวิชาการ
ประชาชน สมาชิกวุฒิสภาสายเอ็นจีโอ และกลุ่มวิชาชีพสื่อมวลชน นำไปสู่การต่อสู้ทางการเมืองครั้งยิ่งใหญ่
และขยายผลไม่เอาพันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ไปสู่การไม่เอาระบอบทักษิณ
ด้วยเหตุนี้จึงเกิด “ปรากฏการณ์สนธิ” นำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าของสื่อในเครือผู้จัดการ พัฒนา
ไปสู่ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ที่รวมเอาการต่อสู้หลวม ๆ ของ นิสิตนักศึกษา ประชาชน
นักเรียน นักวิชาการ ข้าราชการ กลุ่มทุนนอกเครือข่ายทักษิณ รัฐวิสาหกิจ องค์กรภาคเอกชน และทำการต่อสู่
แบบอารยขัดขืน (Civil Disobedience)
การต่อสู้ระหว่างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับฝ่ายรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ไม่มีทีท่าจะ
ลดลง แม้ว่าภายหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้มีการเลือกตั้ง วันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะ เนื่องจาก
เป้าหมายสูงสุดของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คือ ต้องการให้พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ เว้นวรรค
ทางการเมือง ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลพรรคไทยรักไทยยืนยันว่า เป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลและให้เป็นไปตาม
กติกาของรัฐธรรมนูญ
ทั้งสองฝ่ายพยายามดึงเอาสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ทางการเมือง เช่น การชู
คำขวัญ “ ถ้ารักพ่ออย่าทะเลาะกัน” “ เราจะสู้เพื่อในหลวง” การฟ้องร้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การขอ
พระราชทานนายกรัฐมนตรีโดยใช้มาตรา 7 และความพยายามชี้นำกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น
ทั้งสองฝ่ายพยายามแย่งชิงมวลชน โดยการใช้สื่อต่าง ๆ ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลได้โต้ตอบด้วยการฟ้องร้องหมิ่นประมาท ส่ง ส.ส. ไปชี้แจงกับ
ประชาชนในพื้นที่ ใช้สื่อต่าง ๆ
ความขัดแย้งทั้งสองฝ่ายทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และได้กลายเป็นข้ออ้างอันชอบธรรมของทหารในการ
ทำรัฐประการยึดอำนาจจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ด้วยเหตุผล คือ รัฐบาล
ทำให้เกิดความขัดแย้งภายในชาติ การบริหารราชการแผ่นดินส่อไปในทางทุจริต เกิดการแทรกแซงองค์กร
อิสระ และการกระทำที่หมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งพ้องกับความเห็นของประชาชนและกลุ่ม
ต่อต้านรัฐบาล ด้วยเหตุนี้การก่อรัฐประหารจึงเต็มไปด้วยเสียงชื่นชม
ตลอดระยะเวลา 5 ปีเศษ พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ เน้นย้ำเกี่ยวกับประชาธิปไตย คือการเลือกตั้ง
เคารพเสียงข้างมากและดำเนินไปตามกติกา ส่วนเสียงข้างน้อย ที่อ้างว่าละเมิดกติกา คือ อุปสรรคของการ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ปัญหาประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเป็นบทเรียนสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่า
ฉันทานุมัติทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยยังไม่ใช่สิ่งที่มาแอบอ้างกันมาได้ตามใจชอบ หากจะสะท้อน
ความพอใจที่แท้จริงกลุ่มพลังต่าง ๆ ที่ดำรงอยู่ในสังคมเดียวกัน หรือค้นหาจุดสมดุลที่ทุกฝ่ายพอใจออกมาให้
ได้ หาไม่แล้วจะก่อให้เกิดสถานการณ์ขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชน หรือกลุ่มประชาชนที่มี
ผลประโยชน์หรือความคิดเห็นแตกต่างกัน